Standard Deviation คือ

Standard Deviation (S.D.) หรือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ที่ในทางสถิติวัดการกระจายตัวของข้อมูล ซึ่งเทรดเดอร์ส่วนมากนำมาประยุกต์ใช้ในการ วัดความผันผวน ของราคา

การดูความผันผวน ไม่ได้เป็นการคาดการณ์ทิศทางราคาว่าจะขึ้นหรือลง แต่จะเป็นการดูว่า ราคามีความผันผวนมากหรือน้อย ในกรณีหุ้นที่มีความผันผวนมาก แปลว่า หุ้นนั้นแกว่งตัวค่อนข้างรุนแรง ส่วนในกรณีหุ้นที่มีความผันผวนน้อย แปลว่า หุ้นนั้นแกว่งตัวค่อนข้างแคบ

ความผันผวน

ตัวอย่าง ความผันผวนน้อย และความผันผวนมาก

advanc S D

จะเห็นได้ว่าในช่วงที่ราคาแกว่งตัวในกรอบแคบ แสดงถึงความผันผวนที่น้อย ค่า S.D. 20 วัน ซึมตัวเป็นแนวราบ (ซ้ายมือ) ส่วนในช่วงที่ผันผวนมาก ราคาแกว่งตัวในกรอบกว้าง ค่า S.D. ดีดตัวสูงขึ้นอย่างชัดเจน

สูตรการคำนวณ

ขั้นตอนการคำนวณ

  1. หาค่าเฉลี่ยของราคาในช่วง Period ที่ต้องการคำนวณ … (μ)
  2. นำราคาปิด แต่ละวัน ลบด้วยค่าเฉลี่ยที่ได้ … (Xi – μ)
  3. นำผลลัพธ์ที่ได้ ในแต่ละวัน ยกกำลังสอง … (Xi – μ)^2
  4. นำค่า (Xi – μ)^2  ที่ได้ในแต่ละวัน มารวมกัน Σ(Xi – μ)^2
  5. จากนั้นหารด้วย จำนวน Period … (Σ(Xi – μ)^2) / N
  6. แล้วถอด Square root (√) ก็จะได้ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D หรือ σ)

ตัวอย่างการคำนวณ S.D.

S D calculation

ใน Excel สามารถใช้คำสั่ง STDEVP ในการคำนวณ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

excel s d

สามารถ Download ไฟล์ Excel ตัวอย่างการคำนวณ Standard Deviation ได้ที่นี่ (คลิ๊ก)

trading view s d

กราฟจาก Tradingview ที่แสดง Standard Deviation ของรอบ 20 วัน บนดัชนี Set Index

ค่า S.D. 

ค่า Standard Deviation ที่ได้จะขึ้นอยู่กับราคาหุ้นอ้างอิงที่คำนวณ ถ้าราคาหุ้นสูง เช่น SCC เทรดอยู่ที่ราว 300++ บาท ค่า S.D. ที่ได้ก็จะสูง หากไปดูค่า S.D ในหุ้นที่ราคาต่ำ อย่างพวก SIRI ที่เทรดอยู่ราว 1 บาท +/- ค่า S.D ที่ได้ก็จะต่ำ

ดังนั้นในการดูค่า S.D. ว่าสูงหรือต่ำ ให้ดูพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของค่า S.D. ในอดีตบนหุ้นแต่ละตัว ว่าเคลื่อนไหวเป็นอย่างไร ไม่ควรนำค่าที่ได้มาเทียบระหว่างหุ้นกัน

การใช้งาน

คาดการณ์ความกว้างการแกว่งตัวของราคา

ในทางสถิติ การกระจายข้อมูลแบบปกติ (Normal distribution) 

  • 1 S.D. จะครอบคลุมข้อมูลอยู่ที่ 68.27%
  • 2 S.D. จะครอบคลุมข้อมูลอยู่ที่ 95.45%
  • 3 S.D. จะครอบคลุมข้อมูลอยู่ที่ 99.73%

สมมติถ้า ราคาหุ้น 199 บาท มีค่า S.D. ในรอบ 20 วัน เท่ากับ 6

s d 6

นั่นหมายความว่า ในอนาคต 20 วัน ข้างหน้า

  • มีโอกาส 68% ที่ราคาจะแกว่งตัวในช่วง +/- 6 (ช่วงบริเวณ 193-205 บาท)
  • มีโอกาส 95% ที่ราคาจะแกว่งตัวในช่วง +/- 12 (ช่วงบริเวณ 187-211 บาท)
  • มีโอกาส 99% ที่ราคาจะแกว่งตัวในช่วง +/- 18 (ช่วงบริเวณ 181-217 บาท)

โดย Bollinger bands ได้นำหลักการนี้ไปใช้ โดยใช้ค่า 2 S.D. ซึ่งตามหลักการคือ 95% การแกว่งตัวของราคา เคลื่อนไหวในกรอบดังกล่าว 

เจาะลึกการเทรด Bollinger Bands และ %b ที่มาและการใช้งาน (คลิ๊ก)

ปกติส่วนมากจะนำหลักการนี้ไปใช้ในการต่อยอดกลยุทธ์การเทรดรูปแบบ Mean reversion คือในช่วงที่ราคาฉีกออกจากกรอบของ S.D. ออกไปมากๆ มีโอกาสที่จะกลับเข้ามาในกรอบดังกล่าว

ดูความผันผวน

ในช่วงที่ค่า S.D. เคลื่อนไหวเป็นแนวราบ แสดงถึงความผันผวนของราคาที่ต่ำ ส่วนในช่วงที่ค่า S.D. ปรับตัวสูงขึ้น แสดงถึงความผันผวนของราคาที่สูง

s-d-ความผันผวน.

เราสามารถต่อยอดจากการวิเคราะห์ความผันผวนในการเทรดได้ด้วย เช่น ในช่วงความผันผวนต่ำ ก็อาจจะวางเป้าหมาย และ Stop loss ให้แคบลง และใช้การเพิ่ม Size การเทรดเอา ส่วนในช่วงความผันผวนสูง ก็อาจจะวางเป้าหมาย และ Stop loss ให้กว้างขึ้น และลด Size ในการเทรดลง เป็นต้น

Tip : โดยปกติ ช่วงขาลง ผันผวน สูงกว่า ช่วงขาขึ้น (อารมณ์กลัว รุนแรงกว่า อารมณ์โลภ)

สรุป

Standard deviation (S.D.) หรือในภาษาไทยเรียกกันกว่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งเป็นหลักการทางสถิติไว้วัดความผันผวนการแกว่งตัวของราคา ดูว่าช่วงไหนราคาผันผวนมาก หรือผันผวนน้อย  และยังสามารถคาดการณ์ในกรอบการแกว่งตัวในอนาคตของราคาว่าควรอยู่ในช่วงประไหน

ความผันผวนถือเป็นหนึ่งรูปแบบในการวิเคราะห์พฤติกรรมของราคา เทรดเดอร์ควรเข้าใจในส่วนนี้ เพื่อนำไปสร้างกลยุทธ์การเทรดที่มีประสิทธิภาพ โดยจะมีประโยชน์อย่างมากในการเทรด 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง