สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible assets) คือสินทรัพย์ระยะยาวที่เราไม่สามารถมองเห็นไปชิ้นเป็นอันได้ เช่น แบรนด์สินค้า, สิทธิบัตร, และแฟรนไชส์ เป็นต้น ซึ่งสินทรัพย์ประเภทนี้มีทั้งที่มีอายุจำกัด และที่มีอายุไม่สิ้นสุด

Source: https://www.wallstreetmojo.com/intangible-assets-list/

Intangible assets ที่มีอายุจำกัดจะมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆจากการตัดจำหน่าย (Amortization) ส่วนที่มีอายุไม่จำกัดจะไม่ถูกตัดจำหน่าย แต่จะต้องมีการตรวจสอบการด้อยค่า (Impairment) อย่างน้อยปีละครั้ง ซึ่งก็สามารถมีมูลค่าลดลงได้เช่นกันหากมีการด้อยค่าลง

Intangible assets แบ่งได้เป็น 2 แบบคือ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่สามารถระบุได้ (Identifiable intangible assets) ซึ่งมีสมบัติดังนี้

  1. สามารถแยกตัวสินทรัพย์กับบริษัทออกจากกันได้
  2. ถูกควบคุมโดยบริษัท
  3. คาดว่าจะให้ประโยชน์กับบริษัทได้ในอนาคต

ส่วน Intangible assets อีกประเภทหนึ่งคือ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ไม่สามารถระบุได้ (Unidentifiable intangible assets) ซึ่งจะไม่สามารถแยกออกจากตัวบริษัทได้ และอาจมีอายุไม่จำกัด ตัวอย่างที่คุ้นเคยกันมากที่สุด ได้แก่ ค่าความนิยม (Goodwill) ซึ่งเป็นมูลค่าส่วนเกินจากการซื้อกิจการอื่นเข้ามา

Intangible assets สามารถมาได้จากหลายที่มา และจะมีวิธีการบันทึกที่แตกต่างกัน และไม่ได้มีเพียงแค่การบันทึกลง Balance sheet เพียงอย่างเดียว แบ่งเป็น 3 ที่มาได้ดังนี้

  1. Intangible assets ที่สร้างขึ้นภายในบริษัท โดยปกติแล้วต้นทุนที่ใช้ในการสร้าง Intangible assets จะถูกบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับต้นทุนในการวิจัยและพัฒนา (Research and development costs) โดยที่ต้นทุนในการวิจัยจะไม่สามารถนำมาแปลงเป็นทุน (Capitalization) ได้ เนื่องจากเป็นเพียงช่วงเริ่มต้นในการสร้างทรัพย์สินขึ้นมา และจะต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย ส่วนต้นทุนในการพัฒนา อาจนำมา Capitalize ได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมที่การพัฒนานั้นๆจะสามารถออกมาเป็นสินค้าใหม่ได้สำเร็จหรือไม่ หากใช้ ก็สามารถ Capitalize ต้นทุนในการพัฒนาได้
  2. Intangible assets ที่ซื้อเข้ามา จะเหมือนกับการซื้อสินค้าที่มีตัวตน ก็คือบันทึกลงใน Balance sheet ตามต้นทุนที่ซื้อมา (ราคาตลาด ณ เวลาที่ซื้อ) ถ้าหากว่า Intangible assets ที่ซื้อมาเป็นการมัดรวมสินทรัพย์หลายๆอย่างเข้าด้วยกัน ราคารวมที่ซื้อเข้ามาก็จะถูกแบ่งไปในแต่ละสินทรัพย์ตามราคาตลาดของแต่ละชิ้นนั่นเอง

ตามปกติแล้ว นักวิเคราะห์และนักลงทุนจะไม่ได้สนใจการแบ่งมูลค่าที่บันทึกลง Balance sheet มากนัก แต่จะให้ความสำคัญกับชนิดของสินทรัพย์ที่ซื้อเข้ามามากกว่า ตัวอย่างเช่น การซื้อสิทธิแฟรนไชส์เข้ามาจะทำให้บริษัทสามารถทำกำไรในอนาคตได้มากขึ้นหรือไม่

  1. Intangible assets ที่ได้มาจากการควบรวมกิจการ เงินที่ใช้สำหรับซื้อกิจการเข้ามา (Purchase price) จะถูกหักลบโดยสินทรัพย์ที่สามารถระบุได้สุทธิ (Net identifiable assets) ซึ่งมาจากการนำสินทรัพย์ที่สามารถระบุได้ ลบด้วยหนี้สินที่สามารถระบุได้ ผลลัพธ์ก็จะได้ออกมาเป็นค่าความนิยม มีสูตรคำนวณดังนี้

Goodwill = Purchase price – (Identifiable assets-Identifiable liabilities)

มีเพียงแค่ Goodwill จากการควบรวมกิจการเท่านั้นที่สามารถนำมา Capitalize ได้ ส่วน Goodwill แบบอื่นๆจะต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย ณ งวดที่เกิดขึ้น

ในบทความถัดไป เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับผลกระทบต่องบการเงินส่วนต่างๆ ในการ Capitalize ค่าใช้จ่าย หรือการเลือกที่จะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายไปตรงๆ ซึ่งผลสุดท้ายแล้วกำไรสุทธิรวมทุกปี (Total net profit) จะออกมาเท่ากันทั้ง 2 วิธี แต่จะมีความแตกต่างกันในแต่ละงวด

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง