ทฤษฎีดาว Dow Theory

Dow Theory คืออะไร ?

ทฤษฎีการเคลื่อนไหวของราคา ถือเป็นต้นกำเนิดการวิเคราะห์ทางเทคนิคคอล คิดค้นโดย Charles H. Dow (ชาร์ลส์ เอช ดาว) บิดาแห่งการวิเคราะห์ทางเทคนิค ทฤษฎีนี้มีอายุมานานมาเกือบ 100 ปีแล้ว แต่หลักการต่างๆยังสามารถใช้ได้มาจนถึงยุคปัจจุบัน และ ยังคงสะท้อนพฤติกรรมของราคาในตลาดออกมาให้นักลงทุนเห็นโครงสร้างได้อย่างชัดเจน

Charles H. Dow (ชาร์ลส์ เอช ดาว )

ก่อนจะเข้าทฤษฎีดาว มารู้จักโครงสร้างของราคาเบื้องต้นกันก่อนครับ ต้องบอกก่อนว่าราคาจะมีการเคลื่อนไหวเป็นวัฏจักรโดยจะเคลื่อนที่ขึ้นอย่างต่อเนื่องจนราคาถึงจุดสิ้นสุดการขึ้น และ กลับตัวเคลื่อนที่ลง เมื่อเกิดการเคลื่อนที่ลง ก็จะลงอย่างต่อเนื่องจนถึงจุดสิ้นสุดการลง และ กลับตัวขึ้น เป็นแบบนี้เรื่อยไปจึงเกิดเป็นโครงสร้างของราคาให้เห็นดังภาพ

โครงสร้างราคา

ประโยชน์ของของ Dow เมื่อนำมาใช้งานจะสามารถทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น เช่น

  • ทำให้มองเห็นโครงสร้างของตลาด
  • มองเห็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน
  • รับรู้ถึงสภาวะอารมณ์ของตลาดในแต่ละช่วง
  • เข้าใจพฤติกรรมของราคาที่เกิดขึ้น
  • วิเคราะห์แนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
  • วางแผนรับมือกับสถานการณ์ตลาดได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังช่วยให้นักลงทุนรู้ว่าแนวโม้มแบบไหน ควรทำอย่างไร ยกตัวอย่าง

แนวโน้มขาขึ้น Up Trend

สามารถพิจารณาในการเปิดออเดอร์ Buy ในตอนที่ราคาย่อตัวลงเพื่อขึ้นต่อ

แนวโน้มขาลงDown Trend

สามารถพิจารณาเปิดออเดอร์ Sell ในตอนที่ราคาเด้งขึ้นมาเพื่อลงต่อ

แนวโน้มออกข้าง Side Way

ในช่วงที่ราคาไม่เลือกทิศทางแบบนี้ วิธีการที่ปลอดภัยที่สุด คือการรอให้ราคาเลือกทิศทางที่ชัดเจนเสียก่อนจึงค่อยหาจังหวะเข้าเทรด

โดย ทฤษฎี Dow Theory จะมีหลักการทั้งหมด 6 ข้อ ดังนี้

  1. ราคาได้สะท้อนทุกอย่างแล้ว

ทั้งในเรื่องของข่าวสาร สภาวะอารมณ์ของตลาด พฤติกรรมราคา ทิศทางการเคลื่อนไหวของราคา หรือแม้กระทั่ง อารมณ์ของนักลงทุนในตลาด

ก็ถูกสะท้อนออกมาเป็นราคาในช่วงเวลานั้นๆอย่างมีนัยสำคัญ

เชื่อว่ากราฟของโครงสร้างราคาที่เราเห็นกันอยู่เป็นประจำนี้ Dow Theory

สามารถทำให้เห็นภาพรวมและเข้าใจถึงความเป็นไปของตลาดได้ทั้งหมดแล้ว

  1. ราคาเคลื่อนที่เป็นแนวโน้ม หรือ Trend

แนวโน้มก็จะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบให้เรามองเห็นง่ายๆก็คือ เทรนด์ขาขึ้น เทรนด์ขาลง

และ วิ่งออกข้างไม่มีเทรนด์ ซึ่งทั้งสามรูปแบบนี้ ก็จะมีหน้าตาเหมือนกับภาพตัวอย่างก่อนหน้า

ที่ได้แสดงให้ดูเป็นตัวอย่างแล้วในหัวข้อโครงสร้างของราคา ต่อไปจะเป็นตัวอย่างในภาพของกราฟราคาจริง จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ไปดูพร้อมๆกันได้เลยครับ

แนวโน้มขาขึ้น (Up Trend)

เป็นการเคลื่อนที่ขึ้นโดยจะยกจุดสูงสุดใหม่ และ จุดต่ำสุดใหม่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือเรียกว่า ราคาทำ Higher High (HH) และ Higher Low (HL)

แนวโน้มขาขึ้น (Up Trend)

นวโน้มขาลง (Down Trend)

เป็นการเคลื่อนที่ลงโดยราคาจะลดระดับจุดสูงสุดใหม่ และ จุดต่ำสุดใหม่ลงอย่างต่อเนื่อง หรือเรียกว่า ราคาทำ Lower High (LH) และ Lower Low (LL)

แนวโน้มขาลง (Down Trend)

และ ยังมีสภาวะตลาดที่อยากจะเสริมให้อีกสักนิด คือ

แนวโมออกข้าง (Side Way)  เป็นสภาวะตลาดที่เคลื่อนที่ออกด้านข้าง มีสุดสูงสุด และ จุดต่ำสุดที่เท่าๆกัน ไม่ขึ้น และ ไม่ลง โดยพื้นฐานเทคนิคเราจะไม่เทรดในสภาวะตลาดนี้ ควรจะรอให้ราคาเลือกทิศทางอย่างชัดเจนเสียก่อน จึงค่อยพิจารณาเข้าเทรดอย่างมีเหตุผล

แนวโมออกข้าง (Side Way)

Trend แบ่งออกเป็นแนวโมได้อีก 3 แนวโน้ม ได้แก่

  • Primary Trend หรือแนวโน้มหลัก ใช้ระยะเวลา  1 ปีขึ้นไป (มีความสำคัญมากที่สุด)
  • Secondary Trend หรือแนวโน้มรอง  ใช้ระยะเวลา 1-6 เดือน (มีความสำคัญรองลงมา)
  • Minor Trend หรือ แนวโน้มย่อย  ใช้ระยะเวลาต่ำกว่า 1 สัปดาห์ (ไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าไรนัก)

Trend แบ่งออกเป็นแนวโมได้อีก 3 แนวโน้ม

  1. เทรนด์แบ่งเป็นช่วงสำคัญ 3 ระยะด้วยกัน

ในแต่ละระยะนักลงทุนจะให้ความสำคัญในเชิงพฤติกรรม และ อารมณ์ของตลาดในช่วงเวลานั้นๆ

ว่าระยะนี้เกิดอะไรขึ้น ตลาดมีทิศทางเป็นอย่างไร นักลงทุนในตลาดกำลังทำอะไร เพื่อให้รู้ว่าจะเตรียมรับมือ วางแผนดารลงทุนอย่างไรต่อไป

  • ช่วงเก็บของ (Accumulation phase) เป็นช่วงที่นักลงทุน เริ่มเก็บสะสมหุ้น สินทรัพย์ หรือ หลักทรัพย์ต่างๆเพื่อคาดหวังการทำกำไรในอนาคต ทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า ซื้อถูก ขายแพงใช่ไหมครับ ช่วงที่เก็บของในความหมายของตลาดการลงทุนก็คือ ช่วงที่นักลงทุนสะสมซื้อหุ้น สินทรัพย์ต่างๆในราคาที่คิดว่าคุ้มค่าแก่การลงทุนมากที่สุด เป็นการสะสมกำลังของกราฟในช่วงนี้ไปโดยอัตมัติ
  • ช่วงเกิดเทรนด์ (Absorption phase) เป็นช่วงที่ตลาดมีความเชื่อมั่นและนักลงทุนสนใจเข้าทำการซื้อขายเป็นจำนวนมหาศาล เหมือนคลื่นมหาชนหลั่งไหลเข้ามาในตลาด หลังจากที่มีการสะสมของกันไปแล้วจนปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นสูง ราคาจึงวิ่งเป็นเทรนด์ให้เห็นชัดเจน นักลงทุนที่ไม่ได้สะสมของมาก่อนหน้า จึงทยอยเข้ามาทำการซื้อขายตามแนวโน้มที่เกิดขึ้น ทำให้ราคามีการปรับตัวไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งอย่างต่อเนื่อง
  • ช่วงทิ้งของ – แจกจ่าย (Distribution  phase)  จะเป็นช่วงที่นักลงทุนทิ้งของหรือปิดทำกำไร Take profit เป็นจำนวนมาก หลังจากที่มีการรันเทรนด์มาตั้งแต่ช่วงเก็บของ ในช่วงนี้มักจะได้เห็นการกลับตัวของโครงสร้างราคาตามมาด้วยเช่นกัน ในช่วงนี้ ก็จะเห็นว่า ราคานั้นมีการเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้ามอย่างรุนแรง เพราะมีการเก็บกำไรเป็นจำนวนมหาศาลจนทำให้เกิดอาการวิตกกังวลของนักลงทุนอีกมากมาย ทำให้ทิ้งของตามๆกัน จนราคามีการเปลี่ยนแนวโน้มในที่สุด

4. ราคาต้องสอดคล้องกัน

หมายความว่า เมื่อหุ้นหรือสินทรัพย์ มีการปรับระดับราคาขึ้นหรือลง ราคาของหุ้นหรือสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันด้วย เปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนภาพรวมของเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจเติบโต อุตสาหกรรมอื่นๆก็เติบโตไปตามๆกัน เมื่อเศรษฐกิจถดถอย อุตสากรรมอื่นๆก็ซบเซาลงตามไปด้วย เป็นหลักเหตุและผลที่สามารถอธิบายได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์ ราคาหุ้น และหลักทรัพย์ในตลาด ก็เช่นกัน

ตัวอย่างเช่น SET เกิดการทะลุขึ้นทำ High ใหม่ SET50 ก็ควรต้องเกิดการทะลุขึ้นทำ High ใหม่เช่นเดียวกัน ถึงจะยืนยันทิศทางที่สอดคล้องกัน หากในทางตรงกันข้าม SET ทะลุขึ้น แต่ SET50 กลับยังไม่ทะลุขึ้น อย่างงี้ต้องระวัง

  1. วอลุ่ม หรือ ปริมาณการซื้อขายต้องสัมพันธ์กัน

โดยวอลุ่มการซื้อ และ การขาย จะต้องเพิ่มปริมาณขึ้นไปตามแนวโน้มราคา

เทรนด์ขาขึ้นวอลุ่มซื้อเพิ่มขึ้นตามแนวโน้ม เทรนด์ขาลงวอลุ่มการขายเพิ่มขึ้นตามแนวโน้ม

เช่น เทรนด์ขาขึ้น จะต้องมีวอลุ่มแรงซื้อที่เพิ่มขึ้นมากเพียงพอที่จะกระทำให้ราคามีการดีดตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เทรนด์ขาลง จะต้องมีวอลุ่มแรงขายมากเพียงพอที่จะกระทำให้ราคามีการลดตัวต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ถ้าหากวอลุ่มการซื้อขายน้อย แต่ราคามีการดีดตัวหรือร่วงลงอย่างไร้เหตุผล นั่นจะบ่งบอกว่า วอลุ่มกับราครา ไม่สัมพันธ์กัน

  1. แนวโน้มจะเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแนวโน้ม (การขึ้น จะขึ้นจนกว่าจะไม่ขึ้น และ การลง จะลงจนกว่าจะไม่ลง)

หมายถึง ราคาวิ่งจะเป็นเทรนด์อย่างต่อเนื่อง ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง จนกว่าจะเกิดการ กลับตัวของราคา และ เปลี่ยนทิศทางแนวโน้มของราคา เรียกว่าราคามีการเปลี่ยนโครงสร้าง หรือเปลี่ยนเทรนด์

แนวโน้มจะเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแนวโน้ม

สรุป

สรุปได้ว่า การใช้ทฤษฎี Dow Theory จะทำให้เทรดเดอร์นักลงทุน เข้าใจถึงภาพรวมของตลาดได้ดียิ่งขึ้น มองเห็นแนวโน้มมของราคา รู้ว่าราคามีการปรับตัวไปในทิศทางใด และมีแนวโน้มว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป พฤติกรรม อารมณ์ของตลาดในขณะนั้น ควรที่จะทำอยางไร

สามารถเตรียมตัวรับมือกับสถานณ์ของตลาด ณ ปัจจุบัน ได้อย่างเข้าใจและมีเหตุผล

ถือเป็นทฤษฎีที่เทรดเดอร์ นักลงทุนต้องมีเป็นวิชาติดตัว และ ไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง

ที่อยากจะขอฝากไว้ให้เห็นถึงความสำคัญ ส่วนวิธีใช้งาน การวางกลยุทธ์ในการเทรด สามารถนำทฤษฎี Dow ไปปรับใช้ให้เหมาะสมตามสไตล์ และ แผนการเทรดของทุกท่านได้เลยครับ

อย่าลืมบริหารความเสี่ยง และ ทำตามระบบเทรดอย่างใจเย็นด้วยนะครับ