สินทรัพย์ที่มีอายุยืนยาว (Long-lived assets) ประกอบด้วยทั้งสินทรัพย์ที่มีตัวตน (Tangible assets), สินทรัพย์ไม่มีตัวตอน (Intangible assets), และสินทรัพย์ทางการเงิน (Financial assets) ซึ่งหากมีต้นทุนบางประเภทที่ใช้จ่ายสำหรับสินทรัพย์เหล่านี้สามารถแปลงมาเป็นทุน (Capitalize) ได้ โดยเราจะมาอธิบายกันในบทความนี้
Source: https://www.wallstreetmojo.com/capitalization-cost/
Capitalization vs Expensing
เมื่อบริษัทมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับ Long-lived assets สามารถเลือกบันทุกต้นทุนดังกล่าวได้ 2 แบบ คือ แปลงต้นทุนนั้นๆมาเป็นสินทรัพย์ (Capitalize) ลงใน Balance sheet หรือบันทึกเป็นรายจ่ายลง Income statement ตามปกติ โดยไม่ใช่ว่ารายจ่ายทุกอย่างจะถูก Capitalized ได้ แต่จำเป็นต้องเป็นรายจ่ายที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ในอนาคตด้วย ตัวอย่างเช่น ค่าอะไหล่เครื่องจักรที่ยืดอายุการใช้งานเครื่องจักรออกไปได้อีกหลายปี เป็นต้น
เคสตัวอย่าง บริษัท A ซื้อเครื่องจักรมาราคา 10,000,000 ล้านบาท มีค่าขนส่ง 10,000 บาท, ภาษี 700,000 บาท, ค่าติดตั้ง 50,000 บาท, ค่าฝึกพนักงานใช้เครื่องจักร 10,000 บาท, ค่าเปลี่ยนมอเตอร์เมื่อหมดอายุการใช้งาน 1,000,000 บาท, และค่าบำรุงรักษา 100,000 บาท จะมีค่าใดที่นำมา Capitalized ได้บ้าง?
ค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมา Capitalized ได้ประกอบด้วยค่าเครื่องจักร, ค่าขนส่ง, ภาษี, ค่าติดตั้ง, และค่าเปลี่ยนมอเตอร์ เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถทำประโยชน์ให้บริษัทในอนาคตได้ คำนวณเป็น Assets ได้มูลค่าดังนี้
10,000,000 + 10,000 + 700,000 + 50,000 + 1,000,000 = 11,760,000 บาท
ส่วนค่าฝึกพนักงานไม่ถูกนำไป Capitalized เนื่องจากไม่ได้ช่วยให้ตัวเครื่องจักรพร้อมทำงาน ส่วนค่าบำรุงรักษาจัดเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานซึ่งไม่ได้ช่วยยืดอายุการใช้งานเครื่องจักร
เมื่อบริษัทสร้างทรัพย์สินขึ้นมาเอง เช่น สร้างอาคารโรงงาน ดอกเบี้ยจากหนี้ต่างๆสำหรับใช้ในการสร้างสามารถนำมา Capitalized ได้ เพื่อที่จะวัดมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินนั้นๆได้อย่างเที่ยงตรง โดยเมื่อดอกเบี้ยจ่ายถูก Capitalized แล้วจะไม่ถูกบันทึกเป็น Interest expense แต่จะบันทึกเป็น Depreciation expense (กรณีที่บริษัทใช้ทรัพย์สินนั้นเอง) หรือ COGS (กรณีที่ทรัพย์สินนั้นเปาไว้สำหรับขาย) และบันทึกใน Cash flow statement ในส่วน Cash flow from investing activities แทนที่จะเป็น Operating activities
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Long-Lived Assets (Part 1) Cost Capitalization
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Long-Lived Assets (Part 2) Intangible Assets
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Long-Lived Assets (Part 3) ผลของ Capitalization
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Long-Lived Assets (Part 4) Depreciation
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Long-Lived Assets (Part 5) Impairment of Assets with Definite Life
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Long-Lived Assets (Part 6) Impairment Analysis
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Long-Lived Assets (Part 7) Investment Property