ROC คือ

Rate-of-Change (ROC) คือ Indicator ที่หาอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคา เป็นการดูโมเมนตัมอย่างตรงไปตรงมามากที่สุด สามารถประยุกต์ใช้งานในการเทรดได้หลากหลาย ถึงแม้จะดูเรียบง่าย แต่ประสิทธิภาพสูง

สูตรการคำนวณ

ในการคำนวณ ROC แทบจะคำนวณง่ายที่สุดในบรรดา Indicator ทั้งหมด เพราะการคำนวณ ROC นั้นตรงไปตรงมาอย่างมาก เหมือนกับการหาเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของราคา แค่เทียบต่าง Period กันออกไป

ROC = [(Close – Close n periods ago) / (Close n periods ago)] * 100

ตารางตัวอย่างการคำนวณ

12 day roc calculation

สามารถ Download ตัวอย่าง Excel การคำนวณ ROC ได้ที่นี่ (คลิ๊ก)

set roc example

กราฟ และ ตารางข้างต้น เป็นการแสดงตัวอย่างการคำนวณ ROC ในรอบ 12 วัน ในช่วงเดือน Oct-Nov 2019 โดยเราจะใช้ราคาปิดของปัจจุบัน เทียบกับ ราคาปิด 12 วันก่อนหน้า แล้วนำมาเข้าสูตรเพื่อหาค่า ROC 

การเทรด

Rate-of-Change หรือ ROC indicator เป็นเครื่องมือที่วัดโมเมนตัมโดยเนื้อแท้ โดยดูจากเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงการขึ้นลงของราคาตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งตามหลักทั่วไป 

TIP : เครื่องมือที่วัดโมเมนตัม มักจะเหมาะกับตลาดที่เป็น Sideway 

ดูแนวโน้ม

เราสามารถปรับค่า Period ของ ROC ให้ยาวขึ้น เพื่อที่จะสามารถดูแนวโน้มของราคาได้ โดยทั่วไปจะค่า Period ที่ 250 วัน แทนระยะเวลา 1 ปี (กรณีดูแนวโน้มระยะยาว), 125 วัน แทน ครึ่งปี, 63 วัน แทน 1 ไตรมาส และ 21 วัน แทน 1 เดือน  

โดยการดูแนวโน้มนั้นเพียงสังเกตว่า

  • ROC > 0 = แนวโน้มขาขึ้น
  • ROC < 0 = แนวโน้มขาลง
roc 250 set

ตัวอย่างกราฟ SET Index กับ ROC 250 วัน จะเห็นได้ว่าในช่วงที่ ROC ลงต่ำกว่าระดับ 0 แสดงถึงแนวโน้มขาลง จนกระทั่ง ROC กลับขึ้นมาเหนือระดับ 0 ดึงภาพของรอบขาขึ้นกลับเข้ามาอีกครั้ง

Overbought/Oversold

ธรรมชาติของราคาหุ้นทุกตัวจะเกิดการแกว่งตัวของราคาเกิดขึ้น ไม่ว่าจะขาขึ้น ขาลง หรือ Sideway แม้ในช่วงขาขึ้น จะเห็นได้ว่าก็จะมีจังหวะการย่อตัวสั้นๆ แล้วค่อยขึ้นต่อ ตรงกันข้ามกับขาลง ก็จะมีการฟื้นตัวสั้นๆ แล้วค่อยลงต่อ ซึ่งจังหวะการแกว่งตัวของราคานี้ เราสามารถใช้เป็นโอกาสในการเข้าทำกำไรได้

ทั้งนี้ ROC สามารถดู Overbought/Oversold เพื่อหาจุดกลับตัวในระยะสั้น

cpf obos

ตัวอย่างกราฟหุ้น CPF กับ ROC 12 วัน โดยใช้ระดับ Oversold ที่บริเวณ -5% จะเห็นได้ว่าเมื่อ ROC ลงมาต่ำกว่าระดับ -5% มักจะเป็น Low ของรอบการแกว่งตัว สามารถใช้จับจังหวะในการสร้างกำไรได้

ทั้งนี้ การ Set ระดับ Overbought/Oversold บน ROC ของหุ้นในแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน บางตัวผันผวนมากก็อาจใช้ระดับ -15% เป็นระดับ Oversold หรือบางตัวผันผวนน้อยก็อาจใช้ระดับ -5% เป็นระดับ Oversold ต้องดูพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นที่ผ่านมาประกอบด้วย

การเทรด Overbought/Oversold ใน ROC จะมีอยู่ 3 อย่างหลักๆ คือ

  1. ในแนวโน้มขาลง : ดู Overbought ในรอบการฟื้นตัว เพื่อหาจังหวะขาย (Short)
  2. ในแนวโน้มขาขึ้น : ดู Oversold ในรอบการย่อตัว เพื่อหาจังหวะซื้อ (Long)
  3. ในแนวโน้ม Sideway : ดูทั้ง Overbought และ Oversold เพื่อจับจังหวะ Trading เล่นรอบ

อย่างที่ 1 และ 2 เป็นการเทรดแนวโน้มหลัก อย่างในช่วงแนวโน้มขาขึ้น การย่อตัวจะสั้นกว่าการปรับตัวขึ้น และในช่วงแนวโน้มขาลง การดีดตัวจะสั้นกว่า การอ่อนตัวลง ซึ่งถ้าเราอยู่ฝั่งซื้อ ในช่วงที่แนวโน้มเป็นขาขึ้น เราก็จะได้เปรียบกว่า การซื้อ ในช่วงที่แนวโน้มเป็นขาลง (ส่วนในฝั่งขาย ก็ตรงกันข้าม)

Divergence

เช่นเดียวกัน ROC สามารถดูการเกิด Divergence ระหว่างราคากับ Indicator ได้ ซึ่งจะเป็นสัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้มในอนาคต

dtac divergence roc

ตัวอย่างการเกิดสัญญาณ Bullish divergence ระหว่างราคาหุ้น DTAC กับ ROC 20 วัน จะเห็นได้ว่าในช่วงที่ราคาทำ Lower Low (Low ใหม่) แต่ ROC กลับยกฐานสูงขึ้น (Higher Low) เป็นสัญญาณ Bullish divergence แสดงถึงโมเมนตัมการลงที่อ่อนแรง ราคามีโอกาสเปลี่ยนแนวโน้ม

สรุป ROC

Rate-of-Change oscillator เป็นเครื่องมือที่วัดอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคา สามารถดูโมเมนตัมการแกว่งตัวของราคาได้เป็นอย่างดี เพราะ ROC เป็นเครื่องมือที่ใช้หลักการของ Momentum แบบ 100% เลย สามารถวิเคราะห์ได้หลากหลาย นำไปใช้เพื่อสร้างกำไรในการเทรดได้เป็นอย่างดี

แหล่งข้อมูลอ้างอิง