Bollinger Band คือ 1 ในเครื่องมือ Technical analysis ที่โด่งดัง ถูกคิดค้นโดยนาย John Bollinger หลายคนจะรู้จักว่าเป็นเครื่องมือที่ไว้วัดความผันผวนของราคา โดยในช่วงที่ความผันผวนมาก กรอบ Bands จะกว้างขึ้น และในช่วงที่ความผันผวนน้อย กรอบ Bands จะแคบลง ซึ่งต้องบอกเลยว่าเป็น Indicator ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบการเทรด และในหลากหลายสินค้าการเทรด ไม่ว่าจะใช้ดูหุ้น , ทองคำ , Index , น้ำมัน และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งทำให้เจ้า Bollinger Bands เป็นที่นิยมในหมู่เทรดเดอร์ทั่วโลก

Bollinger Band คือ

Bollinger Bands โดยทั่วไปจะประกอบด้วยเส้น 3 เส้น คือ

  1. เส้นค่าเฉลี่ย (SMA) 20 วัน — Middle band
  2. SMA 20 วัน + 2 S.D. — Upper band
  3. SMA 20 วัน – 2 S.D. — Lower band

S.D. (Standard Deviation) คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน … ที่ไว้วัดความผันผวนในทางสถิติ

Bollinger Band

การใช้งาน Bollinger Bands

วิธีการใช้งาน Bollinger Bands ค่อนข้างหลากหลาย สามารถดู Pattern ในการแกว่งตัว เช่น M-Tops และ W-Bottoms หรือ ดู High และ Low ของรอบ หรือ ดูประกอบกับ Indicator อื่น

บางคนใช้ Bollinger Bands เทรดแบบ Momentum
บางคนใช้ Bollinger Bands เทรดแบบ Mean-reversion

… ซึ่งจะเห็นได้ว่าเครื่องมือนี้ค่อนข้างมีความหลากหลายในการใช้งาน

ดู High และ Low ของรอบ

นาย John Bollinger ได้กล่าวไว้ว่า เราสามารถหา High กับ Low เชิงเปรียบเทียบ จากพฤติกรรมการแกว่งตัวของราคาระหว่างกรอบ Bands ได้ 

  • ในช่วงที่ราคาแตะกรอบด้านล่าง ก็สามารถอนุมานได้ว่า ราคาช่วงนั้นลงมามากเกินไป (อาจเป็น Low ของรอบการแกว่งตัว)
  • ในช่วงที่ราคาขึ้นไปแตะกรอบ Bands ด้านล่าง ก็สามารถอนุมานได้ว่า ราคาขึ้นไปมากเกินไปในช่วงนั้น (อาจเป็น High ของรอบการแกว่งตัว)
Relative High Low Bolinger Band

 

W-Bottoms

หน้าตารูปแบบนี้จะคล้ายตัว “W” เป็นการหารูปแบบการกลับตัวของราคา โดยใช้เครื่องมือ Bollinger Bands โดยหลักสำคัญของรูปแบบนี้คือ … ดูช่วงการทำ Low ที่ 2 ของราคา ต้องต่ำกว่า Low แรก แต่สามารถประคองตัวเหนือกรอบล่างของ Bollinger bands

4 เงื่อนไขในการยืนยันรูปแบบ W-Bottoms

  1. ราคาทำ Low แรกก่อน … Low นี้ มักจะลงต่อกว่ากรอบล่างของ Bollinger Bands (มักจะ … ไม่จำเป็นที่เสมอไป)
  2. จากนั้นราคาฟื้นตัวขึ้นมาที่โซนบริเวณเส้นกลาง (middle band)
  3. ราคาลงไปทำ Low ใหม่อีกครั้ง (Low ที่ 2) และที่สำคัญ การทำ Low นี้ต้องเหนือกรอบล่างของ Lower band … แสดงถึงโมเมนตัมการลงที่อ่อนแอลง
  4. ยืนยันรูปแบบ W-bottom ด้วยการปรับตัวขึ้นจาก Low ที่ 2 ได้อย่างแข็งแกร่ง และ ทะลุ High ของรอบการฟื้นตัวก่อนหน้า

เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน มาดูตัวอย่างกราฟด้านล่างนี้

W-Bottom
  1. ทำ Low ใหม่ บวกหลุดกรอบ Lower band
  2. Rebound กลับไปหาเส้นกลาง
  3. อ่อนตัวทำ Low ใหม่อีกครั้ง แต่รอบนี้สามารถยืนเหนือกรอบ Lower band ได้
  4. ยืนยันรูปแบบ ด้วยการทะลุแนวต้าน High เดิมขึ้นมาได้

M-Tops

จะตรงกันข้ามกับ W-Bottoms คือจะเป็นการหาจุดกลับตัวจากขาขึ้น สู่ขาลง … ลักษณะคล้ายกันเลย แค่กลับฝั่ง ประกอบด้วย 4 เงื่อนไขเช่นเดียวกัน คือ

  1. ราคาขึ้นทำ High ใหม่ (มักจะเหนือกรอบ Upper band)
  2. ราคาย่อตัว (Pullback) ลงมาแตะเส้นกลาง 
  3. ราคาฟื้นตัวกลับขึ้นไปทำ High ใหม่ (High ที่ 2) แต่รอบนี้จะไม่สามารถแตะกรอบ Upper band ได้ … แสดงถึงแรงการขึ้นที่อ่อนแอ
  4. ยืนยันรูปแบบด้วยการหลุด Low
M-Top

Walk the Bands

ไม่จำเป็นที่ว่า เมื่อราคาแตะกรอบ Band แล้วต้องเด้งกลับ ไปแตะอีกฝั่ง ในบางครั้งที่ช่วงราคาเคลื่อนไหวเป็นเทรนอย่างแข็งแกร่ง ราคาก็สามารถไต่กรอบ Bollinger ขึ้นหรือลงต่อเนื่องเลยก็ได้ 

Walk the Band

ตัวอย่างกราฟด้านบน ในช่วงแนวโน้มราคาที่เป็น Bearish ราคาปรับตัวลงต่อเนื่อง แตะกรอบล่างของ Bollinger bands ตลอด การฟื้นตัวเต็มที่ก็แค่เส้นกลาง แต่สุดท้ายก็ไต่กรอบล่างลงต่อ 

วิธีการดูในลักษณะนี้ต้องอาศัย Indicator , Price pattern และ Price action อื่นๆ ประกอบในการช่วยตัดสิน เพื่อดูว่าความแข็งแกร่งของราคาช่วงนั้นเป็นอย่างไร มีโอกาสกลับตัวไหม หรือ มีโอกาสขึ้นหรือ หรือลงต่อเนื่อง เป็นต้น


%b Indicator

เป็น Indicator ที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ Bollinger band เพราะค่า %b ได้ถูกคำนวณมาจาก Bollinger band

การคำนวณ

%b = (Price – Lower band) / (Upper band- Lower band)

ความสัมพันธ์ %b และ Bollinger band

… มีด้วยกัน 6 ข้อ

  1. %b จะต่ำกว่า 0 เมื่อราคาต่ำกว่ากรอบล่าง (Lower band) ของ Bollinger band
  2. %b เท่ากับ 0 เมื่อราคาอยู่ที่ระดับกรอบล่าง (Lower band) ของ Bollinger band
  3. %b จะอยู่ในช่วง 0 – 0.50 เมื่อราคาเคลื่อนไหวระหว่าง Lower และ Middle band 
  4. %b จะอยู่ในช่วง 0.50 – 1 เมื่อราคาเคลื่อนไหวระหว่าง Upper และ Middle band
  5. %b เท่ากับ 1 เมื่อราคาอยู่ที่ระดับกรอบบน (Upper band) ของ Bollinger band
  6. %b มากกว่า 1 เมื่อราคาอยู่สูงกว่ากรอบบน (Upper band) ของ Bollinger band

สัญญาณ Overbought / Oversold ใน %b

%b สามารถบ่งชี้ถึงสัญญาณ Overbought และ Oversold ได้ คล้ายๆกับ Momentum indicator ที่จะใช้งานได้ดีเมื่อจังหวะที่เทรนระยะกลางเป็นขาขึ้น แต่ระยะสั้นเกิด Oversold (จังหวะ Long) หรือ เทรนระยะกลางเป็นขาลง แต่ระยะสั้นเกิด Overbought (จังหวะ Short)

… กราฟตัวอย่างจังหวะการเข้าซื้อ

%b

%b ดูเทรน 

John ได้ใช้ %b กับ Money Flow Index (MFI) ในการใช้เทรดระบบ trend-following 

โดยนิยามไว้ว่า

  • Uptrend จะเริ่มต้นเมื่อ %b > 0.80 และ MFI(10) > 80
  • Downtrend จะเกิดขึ้นเมื่อ %b < 0.20 และ MFI(10) < 20
%b ดูเทรน

ตัวอย่างกราฟข้างต้น … Uptrend เริ่มต้นเมื่อปลายเดือน July ตอนนั้น %b ขึ้นเหนือ 0.80 และ MFI เหนือ 80 (เส้นประสีเขียวอันแรก) และหลังจากนั้นสัญญาการเกิด Uptrend ได้ตอกย้ำ 2 ครั้งเมื่อช่วงต้น September (เส้นประสีเขียวอันที่สอง) และ กลางเดือน November (เส้นประสีเขียวอันที่สาม) 

เทรดเดอร์สามารถเทรดรันเทรดกินคำใหญ่ หรือหาจังหวะดู Overbought/Oversold เพื่อเล่นรอบก็ได้ 

สรุป

Bollinger band ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือ Technical Analysis ที่ทรงประสิทธิภาพ มีความหลากหลายในการใช้งาน สามารถสร้างกลยุทธ์ได้หลากหลาย เทรดเดอร์ที่สนใจใช้เครื่องมือนี้ ให้ศึกษามันอย่างเข้มข้น รับรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอนครับ 

… กฏ 22 ข้อในการเทรด Bollinger bands … (คลิ๊ก)

… มาฟังการใช้เครื่องมือ Bollinger bands จากปากคนสร้าง … (คลิ๊ก)

… การเทรด Scalping โดยใช้ Bollinger bands … (คลิ๊ก)

แหล่งข้อมูลอ้างอิง :