Source: https://www.investopedia.com/articles/fundamental-analysis/financial-statement-manipulation.asp
ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการต่างๆที่เป็นไปได้ ที่ผู้บริหารสามารถใช้เพื่อตกแต่งบัญชีให้งบการเงินออกมาตามต้องการ อย่างไรก็ตาม การที่บริษัทใช้วิธีเหล่านี้ไม่ได้แปลว่าบริษัทต้องการที่จะตกแต่งงบการเงินเสมอไป แต่เป็นเพียงสัญญาณเตือนให้นักวิเคราะห์และนักลงทุนกลับมาทบทวนงบการเงินอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงที่บริษัทตัดสินใจใช้วิธีนั้นๆในการดำเนินธุรกิจ ถ้าหากว่าเราไม่สามารถหาเหตุผลที่สมควรที่บริษัทตัดสินใจทำสิ่งที่ดูผิดปกติได้ การละเว้นการลงทุนในบริษัทแบบนี้ก็เป็นทางเลือกที่สมควรกระทำ ประกอบด้วยสัญญาณเตือนดังต่อไปนี้:
การรับรู้รายได้
– การเปลี่ยนวิธีการรับรู้รายได้
– การขายสินค้าให้ลูกค้าแล้ว แต่ลูกค้าให้เก็บสินค้าเอาไว้ก่อน (Bill-and-hold transactions)
– การใช้วิธีแลกเปลี่ยนสิ่งของ (Barter transactions)
– การขาดความโปร่งใสในการบันทึกส่วนต่างๆของรายได้จากคำสั่งซื้อลูกค้า
– การเติบโตของรายได้ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับบริษัทอื่นๆที่ทำธุรกิจเหมือนๆกัน
– Receivable turnover ลดลงติดต่อกันหลายงวด
– Total asset turnover ลดลง โดยเฉพาะจากการควบรวมกิจการอื่นเข้ามา
– การใส่รายการที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินงาน หรือการใส่รายได้พิเศษก้อนใหญ่เข้ามา
สินค้าคงเหลือ
– Inventory turnover ที่ลดลง
– เกิดการขายสินค้าที่ซื้อเข้ามาใหม่ที่มีต้นทุนสูงออกไปก่อนในบริษัทที่ใช้วิธี LIFO (LIFO liquidation)
การแปลงค่าใช้จ่ายเป็นทุน
– การแปลงค่าใช้จ่ายที่ตามปกติจะไม่นำมาแปลงเป็นทุน
ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับกระแสเงินสด
– อัตราส่วนระหว่างกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (CFO) และกำไรสุทธิ มีค่าต่ำกว่า 1 เป็นเวลาหลายงวด หรือลดลงเรื่อยๆ
สัญญาณเตือนอื่นๆ
– วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคามีความแตกต่างจากบริษัทอื่นๆที่ทำธุรกิจแบบเดียวกัน
– บริษัทมีรายการธุรกรรมกับบริษัทในเครือเป็นจำนวนที่มีนัยสำคัญ
– ผลประกอบการไตรมาสที่ 4 มีรูปแบบการขึ้นลงแตกต่างไปจากอุตสาหกรรม
– ค่าใช้จ่ายที่จัดเป็นประเภทไม่เกิดซ้ำ แต่เกิดขึ้นอยู่ประจำ
– อัตรากำไรขั้นต้นหรืออัตรากำไรจากการดำเนินงานมีค่าสูงกว่าบริษัทอื่นๆที่ทำธุรกิจแบบเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญ
– ฝ่ายบริหารมักจะให้ข้อมูลในการรายงานงบการเงินที่น้อยนิด
– บริษัทมีการเน้นเกี่ยวกับการใช้รายได้นอกมาตรฐานบัญชี หรือกำไรพิเศษในการดำเนินกิจการ
– การเติบโตโดยการคงบรวมกิจการจำนวนมากเปิดช่องโหว่ให้บริษัทสามารถปรับเปลี่ยนมูลค่าสินทรัพย์ และค่าเสื่อมราคาในอนาคต
เมื่อเกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรขึ้น นักลงทุนควรปรับงบการเงินเดิมให้กลายเป็นรูปแบบองค์กรแบบใหม่เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ และคาดการณ์ผลประกอบการของแต่ละบริษัทในอนาคต
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง