ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงเกี่ยวกับการบันทึกค่าของ Inventory ในแต่ละงวดว่ามีวิธีการประเมินมูลค่าสินค้าในคลังอย่างไร ในประเทศไทยเราใช้มาตรฐานบัญชีแบบ IFRS จะบันทึกมูลค่า Inventory จาก ต้นทุน หรือ มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ (Net realizable value) 2 อย่างนี้อะไรต่ำกว่าใช้ค่านั้น โดยที่ Net realizable value (NRV) คำนวณได้จากการนำราคาที่คาดว่าจะขายได้ ลบด้วยต้นทุนในการขายต่างๆ มีสูตรคำนวณดังนี้

NRV = Expected sales price – Selling costs-Completion costs

ซึ่งหากมูลค่าที่คำนวณได้ต่ำกว่ามูลค่า Inventory ใน Balance sheet มูลค่าสินค้านั้นๆก็จะถูกลดค่า (Written-down) ลงไป และบันทึกส่วนขาดทุนลงใน Income statement หากมูลค่าสินค้ามีการฟื้นตัวหลังจากที่ถูก Write down ไป สามารถ Write up มูลค่ากลับขึ้นมาได้ แต่จะต้องไม่เกินค่าที่เคย Write down ไปก่อนหน้านี้

Source: https://www.wallstreetmojo.com/inventory-write-down/

อย่างไรก็ตามสำหรับมาตรฐานบัญชีแบบ U.S. GAAP ที่ใช้ในสหรัฐฯ จะไม่อนุญาตให้บริษัท Write up มูลค่ากลับขึ้นมาได้เหมือนกับในมาตรฐาน IFRS โดยหากบริษัทใช้วิธีบันทึก Inventory แบบ FIFO หรือ Weighted average cost จะบันทึกมูลค่าสินค้าในคลังจากค่าที่ต่ำกว่าระหว่างต้นทุน หรือ NRV เหมือนกับ IFRS

แต่หากบริษัทใช้วิธีแบบ LIFO จะบันทึกมูลค่าสินค้าในคลังจากค่าที่ต่ำกว่าระหว่างต้นทุน หรือราคาตลาด (Market) ซึ่งมักจะเป็นค่าเปลี่ยนสินค้าใหม่ (Replacement cost) แต่ค่านี้จะไม่สามารถสูงกว่า NRV หรือต่ำกว่า NRV ลบด้วยอัตรากำไรปกติ (Normal profit margin) ได้  ถ้า Replacement cost สูงกว่า NRV ให้ใช้ค่า NRV และถ้าต่ำกว่า NRV ลบด้วย Normal profit margin ก็ให้ใช้ค่า NRV ลบด้วย Normal profit margin นั่นเอง

การบันทึก Write down สามารถทำได้ 2 แบบ (1) ถ้าหากค่า Written-down ไม่สูง จะบันทึกเป็น COGS (2) บันทึกเป็นส่วนขาดทุนจากการ Write down แยกออกไปจาก COGS หากค่า Written-down สูง

การบันทึก Write down หากค่าไม่มีนัยสำคัญมาก

การบันทึก Write down หากค่ามีนัยสำคัญ

Source: https://www.wallstreetmojo.com/inventory-write-down/

การปรับมูลค่า Inventory จะมีผลต่อตัวเลขอัตราส่วนทางการเงินต่างๆด้วย ซึ่งในบทความถัดไปเราจะมาอธิบายเรื่องนี้อย่างละเอียด

บทความที่เกี่ยวข้อง