ถ้าหากว่าบริษัทมีต้นทุนสินค้าเท่ากันทุกงวด เราสามารถคำนวณทั้งต้นทุนขาย (Cost of goods sold) และสินค้าคงเหลือสิ้นงวด (Ending inventory) ได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่นำต้นทุนต่อหน่วยคูณด้วยจำนวนที่ขายก็จะได้ COGS และนำไปคำนวณ Ending inventory ต่อได้

แต่ในความเป็นจริงราคาต้นทุนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นบริษัทจึงต้องเลือกวิธีการคำนวณต้นทุน โดยระบบ IFRS ที่ใช้กันทั่วโลกอนุญาตให้ใช้วิธีการดังนี้

  1. แบบเจาะจงชิ้นสินค้า (Specific identification)
  2. First-in, first-out (FIFO)
  3. แบบต้นทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted average cost)

อย่างไรก็ตาม ในระบบ U.S. GAAP ของสหรัฐฯนอกจากจะอนุญาตให้ใช้ทั้ง 3 วิธีด้านบนแล้ว ยังสามารใช้วิธี Last-in, first-out (LIFO) ได้อีกด้วย ซึ่งวิธีนี้จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทในช่วงที่เกิดเงินเฟ้อ ซึ่งเราจะมาอธิบายในบทความต่อๆไป

Specific Identification

Source: https://www.double-entry-bookkeeping.com/inventory/specific-identification-inventory-method/

วิธีนี้เป็นการบันทึก COGS แบบเจาะจงต้นทุนสินค้าแต่ละชิ้นที่ซื้อมา จึงจำเป็นต้องใช้เวลาบันทึกต้นทุนเป็นรายชิ้น เหมาะกับธุรกิจที่เน้นขายสินค้าที่มีราคาสูง และมีความแตกต่างกันในแต่ละชิ้น ตัวอย่างเช่น ธุรกิจเครื่องประดับหรู นอกจากนี้วิธีนี้ยังเหมาะกับงานพิเศษนอกเหนือจากงานปกติของบริษัทอีกด้วย

FIFO

Source: https://www.double-entry-bookkeeping.com/inventory/fifo-vs-lifo/

เป็นวิธีที่มีสมมติฐานว่า สินค้าที่ซื้อเข้ามาก่อนจะถูกขายออกไปก่อน ดังนั้นปริมาณ Ending inventory จึงขึ้นกับกลุ่มราคาสินค้าล่าสุดที่ซื้อเข้าไป หลายๆคนเรียกว่าเป็นวิธีที่สามารถประเมินมูลค่าสินค้าในคลังได้ดีที่สุด ดังนั้นในสภาวะเงินเฟ้อ COGS จากวิธี FIFO จะมีค่าต่ำกว่าต้นทุนปัจจุบัน ส่งผลให้บริษัทมีตัวเลขกำไรสุทธิสูง

LIFO

Source: https://www.double-entry-bookkeeping.com/inventory/fifo-vs-lifo/

เป็นวิธีตรงกันข้ามกับ FIFO โดยคำนวณ COGS จากต้นทุนสินค้าที่ซื้อเข้าไปล่าสุดแทนที่จะเป็นสินค้าที่เก่าที่สุดในคลัง ดังนั้นในสภวะเงินเฟ้อ COGS ของวิธี LIFO จะสูงกว่า FIFO และส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทต่ำกว่าด้วยเช่นกัน

Weighted Average Cost

Source: https://www.double-entry-bookkeeping.com/inventory/average-cost-method/

เป็นวิธีที่ตรงไปตรงมาที่สุด เนื่องจากเป็นการเฉลี่ยต้นทุนของสินค้าทั้งหมดในคลัง จากการคำนวณราคาต่อหน่วยโดยนำต้นทุนสินค้ารวม (ปริมาณสินค้าต้นงวด + ปริมาณสินค้าที่ซื้อเข้ามาเพิ่ม) หารด้วยจำนวนสินค้าทั้งหมด เมื่อขายสินค้าออกไปได้จำนวนเท่าไหร่ ก็นำจำนวนนั้นคูณด้วยราคาต่อหน่วยก็จะได้ออกมาเป็น COGS โดยตรง ส่วนปริมาณสินค้าสิ้นงวดก็คำนวณได้จากการนำราคาต่อหน่วยคูณด้วยจำนวนสินค้า ณ สิ้นงวด

ในเมื่อระบบบัญชีของแต่ละประเทศอนุญาติให้ใช้วิธีการต่างๆได้เกือบทุกวิธี แต่ละบริษัทจึงจำเป็นต้องเลือกวิธีการที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของตัวเองมากที่สุด แต่ในมุมของนักลงทุนและนักวิเคราะห์ เราอาจไม่สามารถนำบริษัทที่ใช้วิธีต่างกันมาเปรียบเทียบกันได้โดยตรง ดังนั้นในบทความถัดๆไปเราจะมาอธิบายเกี่ยวกับวิธีการเปรียบเทียบระหว่างบริษัทที่ใช้วิธีการบันทึก COGS ที่แตกต่างกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง