ธุรกิจประเภทซื้อมาขายไปและค้าปลีก จะซื้อสินค้าในคลัง (Inventory) เป็นประเภทที่พร้อมขายแล้วเท่านั้น ดังนั้นจะมีการบันทึกสินค้าคงเหลือรวมกันไว้เพียงบรรทัดเดียว ต่างกับบริษัทที่ซื้อวัตถุดิบดิบต่างๆมาผลิตเพื่อขาย จะมีการแยกสินค้าคงเหลือในหมายเหตุประกอบงบออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆคือ วัตถุดิบ (Raw materials), สินค้าในขั้นตอนการผลิต (Work-in-process), และสินค้าพร้อมขาย (Finished goods)

ต้นทุนขาย หรือ Cost of goods sold (COGS) เป็นต้นทุนในการผลิตโดยตรง ซึ่งไม่นำค่าใช้จ่ายอื่นๆ อาทิ ค่าบริหาร มารวมด้วย คำนวณได้จากการนำปริมาณสินค้าคงเหลือช่วงต้นงวด บวกด้วยสินค้าที่ซื้อเข้ามาเพิ่ม แล้วลบด้วยปริมาณสินค้าคงเหลือช่วงสิ้นงวด มีสูตรดังนี้

COGS = Beginning inventory + Purchases + Ending inventory

ซึ่งสามารถปรับสูตรเพื่อหาค่าของอีกทั้ง 3 ตัวแปรได้ดังนี้

Purchases = COGS + Ending inventory – Beginning inventory

Beginning inventory = COGS – Purchases + Ending inventory

Ending inventory = Purchases – COGS + Beginning inventory

การที่จะนำค่าใช้จ่ายต่างๆมาแปลงให้เป็นทุน (Capitalize) จะต้องนำเฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตมารวมกันเท่านั้น (Product costs) ประกอบด้วย

  1. สินค้าที่ซื้อมา หักลบด้วยส่วนลด
  2. ต้นทุนการผลิตต่างๆ
  3. ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายสินค้าไปที่จุดขายหรือจุดเก็บ (ไม่ใช่ค่าส่งสินค้าไปให้ลูกค้า)

เมื่อบริษัท Capitalize ค่าใช้จ่ายมาเป็นสินทรัพย์แล้ว จะเกิดต้นทุนขาย (COGS) ก็ต่อเมื่อสินค้านั้นๆถูกขายออกไปแล้วเท่านั้น

ต้นทุนของสินค้าคงเหลือบางอย่างมีการจ่ายเฉพาะในช่วงเวลาที่ใช้เท่านั้น จะไม่ถูกนำไป Capitalize เรียกว่าเป็น Period costs ประกอบด้วย

  1. การสูญเสียวัตถุดิบ, แรงงาน, และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามปกติ
  2. ค่าจัดเก็บสินค้า
  3. ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
  4. ค่าใช้จ่ายในการขาย เช่น ค่าโฆษณา

จะเห็นว่าเพียงแค่สินค้าคงเหลือ (Inventory) เพียงรายการเดียวใน Balance sheet มีความซับซ้อนในการประเมินมูลค่ามาก ในพาร์ทถัดไปเราจะมาเจาะลึกถึงวิธีการคำนวณ COGS ของ Inventory ด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทมีตัวเลข COGS ออกมาต่างกัน และเอื้อประโยชน์ให้บริษัทในสถานการณ์ที่ต่างกันออกไป

บทความที่เกี่ยวข้อง