Liquidity ratios เป็นอัตราส่วนที่วัดความสามารถในการชำระหนี้สินระยะสั้นเมื่อถึงครบกำหนดชำระ อัตราส่วนที่นิยมใช้ที่สุดคือ Current ratio มีสูตรคำนวณดังนี้
Current ratio = Current assets / Current liabilities
ซึ่งยิ่งมีค่าสูง แปลว่าบริษัทยิ่งมีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น ถ้าหากบริษัทมี Current ratio ต่ำกว่า 1 หมายความว่ามีค่า Net working capital ติดลบ เนื่องจากเป็นการนำ Current assets ลบด้วย Current liabilites นั่นเอง
นอกจาก Current ratio แล้ว ยังมีอีก 2 อัตราส่วนที่คล้ายกัน แต่มีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย Quick ratio และ Cash ratio มีสูตรคำนวณดังนี้
Quick ratio = (Cash + Marketable securities + Receivables) / Current liabilities
Cash ratio = Cash + Marketable securities / Current liabilities
จากสูตรคำนวณของทั้ง 2 อัตราส่วนจะเห็นว่าส่วนสินทรัพย์มีความเข้มงวดกว่า Current ratio เพราะว่าไม่ได้ใช้ Current assets ทั้งก้อน แต่นำแค่เงินสด, หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด, และลูกหนี้การค้ามาใช้คำนวณ Quick ratio เท่านั้น ส่วน Cash ratio ก็ยิ่งเข้มงวดขึ้นไปอีกขั้น เนื่องจากตัดลูกหนี้การค้าออกไปด้วย ส่งผลให้อัตราส่วนมีค่าต่ำลงไปอีก ใช้ประเมินความสามารถในการชำระหนี้ที่มีระยะสั้นมากๆได้
อัตราส่วนต่อมาคือ Defensive interval ratio เป็นการประเมินสภาพคล่องของบริษัทเทียบกับรายจ่ายรายวัน เพื่อคำนวณจำนวนวันที่บริษัทสามารถนำสินทรัพย์สภาพคล่องสูงไปใช้ได้จนหมด มีสูตรคำนวณดังนี้
Defensive interval ratio = (Cash + Marketable securities + Receivables) / Average daily expenditure
ซึ่งรายจ่ายในสูตรเป็นรายจ่ายที่ใช้เงินสด เช่น ต้นทุนขาย, ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร, และค่าวิจัยและพัฒนา ส่วนรายการที่ไม่ใช่เงินสดต่างๆ เช่น ค่าเสื่อมราคา เราจะต้องบวกกลับเข้าไปเหมือนกับกับใน Cash flow statement
อัตราส่วนสุดท้ายคือ Cash conversion cycle เป็นการคำนวรจำนวนวันที่เงินที่ใช้ลงทุนในสินค้าในคลัง (Inventory) ถูกเปลี่ยนกลับมาเป็นเงินสดเหมือนเดิม ดังนั้นบริษัทยิ่งมีค่า Cash conversion cycle ต่ำจะยิ่งมีสภาพคล่องสูง มีสูตรคำนวณดังนี้
Cash conversion cycle = Days of sales outstanding + Days of inventory on hand – Days of payables
ค่าทั้ง 3 อย่างในสูตร Cash conversion cycle เราได้อธิบายไว้ในพาร์ทที่แล้ว เมื่อแปลงเป็นสูตรของแต่ละค่าจะได้เป็นสูตรดังนี้
Cash conversion cycle= (365 / Receivables turnover) + (365 / Inventory turnover) – (365 / Payables turnover)
พาร์ทนี้เป็นการประเมินเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้สินในระยะสั้นเท่านั้น บทความต่อไปเราจะมาพูดถึงอัตราส่วนทางการเงินต่างๆที่ใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะยาว ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กัน นักลงทุนจำเป็นที่จะต้องใช้อัตราส่วนทั้งสองแบบในการวิเคราะห์หุ้นแต่ละตัว
บทความที่เกี่ยวข้อง
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: อัตราส่วนทางการเงิน (Part 1) บทนำ
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: อัตราส่วนทางการเงิน (Part 2) Activity Ratios
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: อัตราส่วนทางการเงิน (Part 3) Liquidity Ratios
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: อัตราส่วนทางการเงิน (Part 4) Solvency Ratios
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: อัตราส่วนทางการเงิน (Part 5) Profitability Ratios
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: อัตราส่วนทางการเงิน (Part 6) DuPont Analysis
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: อัตราส่วนทางการเงิน (Part 7) อัตราส่วนอื่นๆ