หลังจากที่พาร์ทที่แล้วเราอธิบายเกี่ยวกับ Profitability ratios ต่างๆไป รวมถึง Return on equity (ROE) ที่มีสูตรอย่างง่ายคือการนำกำไรสุทธิ (Net profit) ส่วนด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholder’s equity) ในพาร์ทนี้เราจะมาเจาะลึกอัตราส่วนนี้ให้มากขึ้นด้วยระบบ DuPont

Original (3-Way) DuPont Approach

การวิเคราะห์ด้วยระบบ DuPont เป็นการแจกแจงสูตรอย่างง่ายของ ROE ออกมาเป็นอัตราส่วนย่อยต่างๆ ซึ่งทำให้เห็นว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่สามารถส่งผลกระทบต่อค่า ROE ได้ โดยสมการ DuPont แบบดั้งเดิมสามารถแยกสูตร ROE ออกเป็น 3 อัตราส่วนย่อยได้ดังนี้

Return on equity (ROE) = Net profit / Average equity

Return on equity (ROE) = (Net profit / Revenue) * (Revenue / Average equity)

จากการแยกเป็น 2 อัตราส่วน จะได้เป็น 

Return on equity (ROE) = Net profit margin x Equity turnover ratio

จากนั้นแยกออกเป็น 3 อัตราส่วน

Return on equity (ROE) = (Net profit / Revenue) * (Revenue / Average total assets) * (Average total assets / Average equity)

มีชื่อเรียก 3 อัตราส่วนย่อยเป็น

Return on equity (ROE) = Net profit margin x Asset turnover ratio x Leverage ratio

เมื่อเราแยกสูตรของ ROE ออกมาได้เป็น 3 ส่วนย่อยแล้ว  หากค่า ROE ปรับตัวลง ก็แปลว่ามีอย่างน้อย 1 ใน 3 สมมติฐานดังต่อไปนี้ที่เป็นจริง (1) บริษัทมีอัตรากำไรสุทธิ (Net profit margin) แย่ลง (2) บริษัทมีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ (Asset turnover) ที่แย่ลง (3) บริษัทมีสัดส่วนหนี้สินที่น้อยลง

Extended (5-Way) DuPont Equation

เป็นการแยก Net profit margin ในสมการ DuPont แบบดั้งเดิมออกมาเพิ่มเป็น 3 อัตราส่วนย่อย รวมทั้งหมดเป็น 5 อัตราส่วนย่อยดังนี้

จากสมการแบบดั้งเดิม

Return on equity (ROE) = (Net profit / Revenue) * (Revenue / Average total assets) * (Average total assets / Average equity)

แยกอัตราส่วนออกมาเป็น 5 อัตราส่วนย่อย

Return on equity (ROE) = (Net profit / EBT) * (EBT / EBIT) * (EBIT / Revenue) * (Revenue / Average total assets) * (Average total assets / Average equity)

มีชื่อเรียก 5 อัตราส่วนย่อยเป็น

Return on equity (ROE) = Tax burden x Interest burden x EBIT margin x Asset turnover ratio x Leverage ratio

ประโยชน์ของการแยก Net profit margin ออกมาเป็น 3 อัตราส่วนย่อยทำให้เราสามารถวิเคราะห์ภาระของภาษี และดอกเบี้ยจ่ายได้ด้วย หากบริษัทต้องจ่ายภาษีหรือดอกเบี้ยสูง จะส่งผลให้ค่าของ Tax burden และ Interest burden ต่ำลง รวมถึงค่า ROE ที่ต่ำลงไปด้วยนั่นเอง

จบกันไปแล้วกับเนื้อหาเกี่ยวกับอัตราส่วนทางการเงินทุกกลุ่ม อย่างไรก็ตามยังมีอัตราส่วนอื่นๆที่ไม่ได้จัดอยู่ใน 6 พาร์ทนี้ อาทิ ค่าการเติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainable growth) ที่คำนวณได้จากค่า ROE และค่าสัมประสิทธิ์ของการแปรปรวน (CV) ที่ใช้วัดความเสี่ยงในด้านต่างๆ ซึ่งเราจะมาอะไรอธิบายในพาร์ทถัดไป

บทความที่เกี่ยวข้อง