Activity ratios เป็นประเภทอัตราส่วนทางการเงินที่วัดประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ของบริษัท อัตราส่วนที่ควรรู้จักเป็นตัวแรกคือ Receivables turnover ratio เป็นการเปรียบเทียบระหว่างรายได้ทางเครดิตทั้งหมดที่บริษัททำได้ กับปริมาณลูกหนี้การค้าเฉลี่ย (Average accounts receivable) ที่มี คำนวณได้ดังนี้:
Receivables turnover = Net credit sales / Average receivables
โดยที่ Average receivables = (Receivables ต้นปี + Receivables สิ้นปี) / 2
ค่า Receivables turnover ที่สูงหมายความว่า ลูกหนี้ใช้เวลาไม่นานในการจ่ายค่าสินค้าและบริการ อาจเป็นผลมาจากการให้ส่วนลดจากบริษัท ส่งผลให้บริษัทสามารถเก็บเงินได้ในเวลาที่สั้นลง ซึ่งเมื่อนำ Receivables turnover ไปหาร 365 วัน จะได้เป็น Days of sales outstanding หรือจำนวนวันเฉลี่ยนในการเก็บหนี้ คำนวณได้ดังนี้:
Days of sales outstanding = 365 / Receivables turnover
เช่นเดียวกับ Receivables turnover อัตราส่วนสำหรับวัดประสิทธิภาพในการใช้สินค้าคงเหลือให้หมดไป คำนวณได้จาก Inventory turnover ratio และนำไปคำนวณเป็น Days of inventory on hand คือจำนวนวันเฉลี่ยในการขายหรือใช้สินค้าคงเหลือให้หมดไป
Inventory turnover = Cost of goods sold / Average inventory
Days of inventory on hand = 365 / Inventory turnover
สำหรับอัตราส่วนวัดความรวดเร็วในการจ่ายหนี้ของบริษัทสามารถคำนวณได้จาก Payables turnover ratio ซึ่งคำนวณเป็นจำนวนวันเฉลี่ยที่บริษัทใช้จ่ายหนี้ (Days of payables) ได้เช่นกัน
Payables turnover = Net credit purchases / Average payables
Days of payables = 365 / Payables turnover
นอกจากอัตราส่วน Turnover ratios จากสินทรัพย์และหนี้สินหมุนเวียนด้านบนแล้ว เรายังสามารถคำนวณ Turnover ratio จากสินทรัพย์รวมได้อีกด้วย หลักประกอบด้วยอัตราส่วนด้านล่างนี้
Total asset turnover = Revenue / Average total assets
Fixed asset turnover = Revenue / Average net fixed assets
Working capital turnover = Revenue / Average working capital
โดยที่ Working capital = Current assets – Current liabilities
การที่มีตัวเลข Turnover ratios สูงไม่ได้ดีเสมอไป เช่น หากบริษัทมี Fixed asset turnover สูง เป็นไปได้ว่าบริษัทกำลังใช้เครื่องจักรที่เก่ามากๆ และจำเป็นต้องใส่เงินลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่เข้ามาภายหลัง และค่าที่เหมาะสมของ Turnover ratios ในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมก็ไม่เท่ากัน อาทิ อุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องใช้เงิยลงทุนสูงอย่างสายการบิน หรืออสังหาริมทรัพย์ อาจมี Asset turnover ratios ใกล้เคียง 1 ในขณะที่กลุ่มบริษัทค้าปลีกอาจมีตัวเลขไปได้ถึง 10 ดังนั้นอัตราส่วนต่างควรใช้สำหรับเปรียบเทียบกับธุรกิจที่ใกล้เคียงกันเท่านั้น
บทความที่เกี่ยวข้อง
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: อัตราส่วนทางการเงิน (Part 1) บทนำ
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: อัตราส่วนทางการเงิน (Part 2) Activity Ratios
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: อัตราส่วนทางการเงิน (Part 3) Liquidity Ratios
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: อัตราส่วนทางการเงิน (Part 4) Solvency Ratios
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: อัตราส่วนทางการเงิน (Part 5) Profitability Ratios
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: อัตราส่วนทางการเงิน (Part 6) DuPont Analysis
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: อัตราส่วนทางการเงิน (Part 7) อัตราส่วนอื่นๆ