เบนจามิน เกรแฮม กับการถอดรหัสงบการเงิน

สั่งซื้อหนังสือ “เบนจามิน เกรแฮม กับการถอดรหัสงบการเงิน” ได้ที่นี่ : คลิ๊ก

หนังสือ : เบนจามิน เกรแฮม กับการถอดรหัสงบการเงิน

The Interpretation of Financial Statements

  • ผู้เขียน : Benjamin Graham และ Spencer B.Meredith
  • ผู้แปล  : ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์

หนังสือการแนะนำการอ่านงบการเงินให้เข้าใจว่าส่วนใดในงบการเงินมีความสำคัญอย่างไรสำหรับการลงทุน ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จึงแตกต่างจากหนังสือที่เกี่ยวกับการเงินทั่วไปที่เขียนโดยนักบัญชี เพราะหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืองบการเงิน ซึ่งเขียนโดยนักลงทุนผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของการลงทุนเน้นคุณค่า เบนจามิน เกรแฮม เพื่อนักลงทุนโดยเฉพาะ

ส่วนที่ 1 : งบดุลและงบกำไรขาดทุน

1: งบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงิน (Balance sheets in general)

เป็นสิ่งที่จะแสดงสถานะของบริษัทณเวลานั้นๆ ซึ่งจะแสดง 2 ส่วน คือ สินทรัพย์ และหนี้สิน ซึ่งทั้งสองส่วนจะเท่ากันเสมอเพราะว่าเงินทุนและส่วนเกินมูลค่าจะเป็นส่วนที่ทำให้ทั้งสองด้านสมดุลกัน โดยอาจจะดีกว่าถ้าศึกษาควบคู่กับบัญชีรายได้หรืองบกำไรขาดทุนเปรียบเทียบกับงบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงินที่เกี่ยวเนื่องกัน

2: เดบิตและเครดิต (Debit and Credits)

เป็นรายงานทางการเงินที่มีพื้นฐานการบันทึกตามสองแนวคิดหลักของ เดบิตและเครดิต โดยวิธีการบันทึกบัญชีในธุรกิจจะเรียกว่าระบบบัญชีคู่ (Double-entry system) เมื่อมีรายการเดบิตเกิดขึ้นก็จะต้องมีรายการเครดิตที่สอดคล้องกันเกิดขึ้นซึ่งหมายความว่าสินทรัพย์รวมจะเท่ากับหนี้สินเสมอ

  • เดบิต (Debit/dr.) คือ รายการที่ทำให้บัญชีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นหรือในทางตรงกันข้ามรายการที่ทำให้บัญชีหนี้สินลดลง
  • เครดิต (Credit/cr.) คือ รายการที่ทำให้บัญชีสินทรัพย์ลดลงหรือในทางตรงกันข้ามรายการที่ทำให้บัญชีหนี้สินเพิ่มขึ้น

3: สินทรัพย์รวมและหนี้สินรวม (Total assets and total liabilities)

สินทรัพย์รวมและหนี้สินรวมที่ปรากฏในงบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงินจะบอกถึงขนาดโดยประมาณของบริษัทเท่านั้น บางครั้งงบดุลหรืองบแสดงฐานะทางการเงินอาจมีมูลค่ามากเกินความเป็นจริงซึ่งเป็นผลจากมูลค่าของสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน

ดังนั้นเราจึงต้องหามูลค่าแท้จริงของสินทรัพย์ของบริษัทซึ่งมีความแตกต่างจากที่ปรากฏในงบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงินโดยสิ้นเชิง โดยขนาดของบริษัทสามารถวัดได้ทั้งในแง่ของสินทรัพย์หรือยอดขายของบริษัทซึ่งตัวเลขจากทั้งสองกรณีก็จะมีความสัมพันธ์กัน และจะต้องพิจารณาบนพื้นฐานของอุตสาหกรรมนั้นๆด้วย

4: ทุนและส่วนเกินมูลค่า (Capital and Surplus)

ในรูปแบบธุรกิจต่างๆจำนวนเงินที่จ่ายโดยผู้ถือหุ้นจะถูกเรียกว่าทุน (capital) และกำไรที่ไม่ได้จ่ายออกเป็นเงินปันผลก็จะเก็บสะสมในส่วนเกินมูลค่า (surplus) ทุนจะอยู่ในรูปแบบของหุ้นซึ่งบางครั้งจะมีเพียงชนิดเดียว หรือบางครั้งก็จะมีหลายชนิด เช่น หุ้นบุริมสิทธิ หรือหุ้นสามัญซึ่งบางครั้งอาจจะเรียกในชื่ออื่นๆตามวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน

หุ้นแต่ละชนิดอาจจากกำหนดมูลค่าหุ้นที่แน่นอน (ราคาพาร์: par value) หรือไม่มีกำหนดราคาพาร์โดยทั่วไปราคาของหุ้นจะบอกว่าหุ้นที่ผู้ซื้อหุ้นตอนเริ่มแรกชำระสำหรับแต่ละหุ้นมีจำนวนเท่าไหร่ อย่างไรก็ตามการก่อตั้งบริษัทสมัยใหม่ไม่ว่าจะเป็นจำนวนหุ้นหรือราคาพาร์มักจะกำหนดให้มีระดับต่ำที่สุดเท่าที่มีในข้อกำหนดการก่อตั้ง ซึ่งส่วนใหญ่ก็เพื่อจะลดค่าทำเนียมในการก่อตั้งและภาษีในการโอนหุ้นดังนั้นการแบ่งระหว่างทุนและส่วนเกินมูลค่าในปัจจุบันจึงไม่ค่อยมีความหมาย สิ่งที่ดีที่สุดคือการรวมทุนและส่วนเกินมูลค่าในรูปแบบต่างๆเข้าด้วยกันเป็นตัวเลขเดียวของส่วนของเจ้าของทั้งหมด

5: บัญชีทรัพย์สิน (Property Account)

ทรัพย์สินถาวร (Fixed assets) ของบริษัทจะประกอบไปด้วย เช่น ที่ดิน อาคารอุปกรณ์ เครื่องมือทุกชนิด เครื่องตกแต่งสำนักงาน ยานยนต์ โดยจะถูกจัดให้อยู่ทางด้านสินทรัพย์ของงบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงิน และเป็นเรื่องยากที่จะประเมินราคายุติธรรมของสินทรัพย์ถาวรเนื่องจากไม่ค่อยมีราคากำหนดในตลาด ส่วนใหญ่จะกำหนดราคาตามต้นทุนยกเว้นจะมีราคายุติธรรม ณ เวลาที่รายงาน อย่างไรก็ตามบัญชีทรัพย์สินสามารถปรับมูลค่าได้ตามเวลาที่กำหนด ดังนั้นมูลค่าที่แสดงในงบดุลอาจจะสูงกว่าหรือต่ำกว่าราคาทุน

ในปัจจุบันผู้ซื้อหุ้นโดยทั่วไปจะไม่ค่อยให้ความสนใจกับบัญชีทรัพย์สิน โดยน้ำหนักความสำคัญจะมุ่งไปที่กำไรในอดีต  แต่ในการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ของบริษัทนั้นๆ ควรพิจารณามูลค่าทรัพย์สินอย่างมีเหตุผล

6: ค่าเสื่อมราคาและค่าสูญสิ้น (Depreciation and Depletion)

สินทรัพย์ถาวรทุกชนิดยกเว้นที่ดินจะมีมูลค่าลดลงอย่างต่อเนื่องตามกาลเวลา และการใช้งาน ซึ่งการสำรองสำหรับการลดลงของมูลค่าเหล่านี้จะมีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น ค่าเสื่อมราคา ค่าความล้าสมัย ค่าสูญสิ้นโดยการคำนวณค่าเสื่อมราคาที่จะถูกตัดจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละปีขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์ โดยปกติจะใช้ตามราคาทุน อายุ และการใช้งานที่คาดการณ์มูลค่าซากหรือราคาซากเมื่อหมดอายุการใช้งานแล้ว

อัตราค่าเสื่อมราคาสำหรับสินทรัพย์ประเภทสำคัญที่กำหนดเป็นมาตรฐานมีดังนี้ อัตราสำหรับอาคาร 2-5% เครื่องจักร 7-20% เฟอร์นิเจอร์ 10-15% รถยนต์และรถบรรทุก 20-25% เป็นต้น

การสำรองค่าเสื่อมราคาในแต่ละปีจะปรากฏเป็นค่าใช้จ่ายหรือรายการที่หักลบในบัญชีรายได้ และจะปรากฏเป็นส่วนเพิ่มของค่าเสื่อมราคาสะสมในงบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงิน เมื่อทรัพย์สินถูกเลิกใช้หรือหมดอายุการใช้งานมูลค่ารวมของทรัพย์สินจะถูกหักออกจากบัญชีทรัพย์สิน และค่าเสื่อมราคาสะสมจนถึงวันที่เลิกใช้ก็จะถูกหักออกจากบัญชีสำรองค่าเสื่อมราคา

7: เงินลงทุนไม่หมุนเวียน (Non-current Investments)

เป็นการลงทุนโดยมีจุดประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท โดยลงทุนในหุ้นสามัญ หรือหุ้นกู้ของบริษัทในเครือหรือบริษัทลูก หรือให้กู้เงินหรือชำระเงินล่วงหน้าแก่บริษัทเหล่านั้น ซึ่งในงบดุลรวมหรืองบแสดงฐานะการเงินรวมจะตัดรายการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทลูกที่ถือหุ้นทั้งหมดออกแล้วจะรวมสินทรัพย์และหนี้สินต่างๆของบริษัทลูกราวกับเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทแม่โดยจะบันทึกเป็นรายการ “เงินลงทุนไม่หมุนเวียนและเงินจ่ายล่วงหน้า (non-current investments and Advances)”

และเป็นการยากที่จะประเมินมูลค่าที่แท้จริงของการลงทุนลักษณะนี้รายการเหล่านี้ที่แสดงในงบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงินเป็นรายการที่สำคัญมากจึงควรใช้ความพยายามในการหารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนเหล่านี้

8 : สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)

โดยทั่วไปได้แก่ ค่าความนิยม เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร และสิทธิการเช่า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่พ่วงมากับธุรกิจที่ก่อตั้งมานานจนประสบความสำเร็จส่วนเครื่องหมายการค้า และตราสินค้าเป็นค่าความนิยมประเภทหนึ่งที่มักจะถูกอ้างอิงเป็นส่วนหนึ่งของค่าความนิยม

วิธีการลงบัญชีของค่าความนิยมในงบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงินของแต่ละบริษัทจะแตกต่างกันมาก และในอนาคตมีแนวโน้มที่จะไม่กำหนดมูลค่าของค่าความนิยมในงบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงิน หลายบริษัทที่เริ่มต้นด้วยการมีค่าความนิยมมูลค่าสูง มักมีการตัดจ่ายจนค่าความนิยมมีมูลค่าลดลงเหลือเพียง 1 เหรียญ โดยปรับลดในบัญชีส่วนเกินมูลค่าหรือบัญชีทุนเพื่อให้สอดคล้องกัน

9: ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses)

บ่อยครั้งที่บริษัทจะจ่ายเงินล่วงหน้าสำหรับบริการ ที่จะได้รับตลอดช่วงเวลาที่กำหนด เช่น อาจจะจ่ายค่าเช่าอาคาร สำหรับการเช่าหนึ่งปี ในงบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงินตอนต้นปียอดเงิน จะแสดงเป็นรายการสินทรัพย์ค่าเช่าล่วงหน้า ในแต่ละเดือนจำนวนนี้ก็จะถูกลดลง โดยหักจากกำไรสะสมของเดือนนั้นนั้นและหากจำนวนเดียวกันนี้ออกจากบัญชีค่าเช่าล่วงหน้า

โดยปกติงบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงินของบริษัทขนาดใหญ่จะแสดงค่าใช้จ่ายล่วงหน้าหลากหลายทั้งหมดรวมกันเป็นรายการจ่ายล่วงหน้าหรือค่าใช้จ่ายล่วงหน้าเพียงรายการเดียว ธรรมชาติของค่าใช้จ่ายล่วงหน้าจึงไม่ควรจะมีมูลค่ามากนักเมื่อเทียบกับสินทรัพย์รวมของบริษัท

10: ค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชี (Deferred Charges)

ค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชี และค่าใช้จ่ายล่วงหน้ามีลัษณะที่คล้ายกันอย่างมาก ในความเป็นจริงการชำระเงินล่วงหน้าเป็นค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชีประเภทพิเศษเนื่องจาก

  1. บริษัทมีสิทธิ์ตามกฎหมายที่จะรับบริการที่มีการชำระเงินไปแล้วล่วงหน้า
  2. ค่าใช้จ่ายจะถูกตัดจ่ายตลอดช่วงเวลาที่ระบุของการบริการ ค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชีทั่วไปจะไม่มีสิทธิ์ตาม

กฎหมายในการที่จะไปรับบริการสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแล้วและจะถูกตัดจ่ายจากกำไรในอัตราที่บริษัท

กำหนดค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชีเหล่านี้ แม้จะแสดงอยู่ในด้านสินทรัพย์ของงบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงินก็

ตาม แต่ก็ไม่ใช่สินทรัพย์ที่มีตัวตน จริงๆแล้วค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชีทั่วไปเกือบจะจับต้องไม่ได้เช่นเดียวกับค่า

ความนิยม

11: สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets)

สินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ในทันที หรือเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ในเวลาอันสั้น ปกติไม่ควรเกินหนึ่งปีโดยถูกแบ่งเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ

  1. เงินสดหรือที่เทียบเท่าเงินสด เช่น เงินสดในมือหรือธนาคาร พันธบัตรรัฐบาล เงินกู้ที่มีกำหนดเวลา
  2. ลูกหนี้หรือเงินที่บริษัทควรได้รับจากการขายสินค้าและบริการ เช่น ลูกหนี้การค้า ตั๋วเงินรับ ดอกเบี้ยค้างรับ
  3. สินค้าคงคลัง มีไว้เพื่อขายหรือเปลี่ยนเป็นสินค้าและบริการ เช่น สินค้าสำเร็จรูป สินค้าระหว่างผลิต วัตถุดิบ

และส่วนประกอบต่างๆ

เป็นเรื่องปกติที่จะรวมลูกหนี้การค้าที่มีการชำระเงินเป็นงวตามจำนวนเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน แม้ว่าหนี้ดีบางส่วนก็จะถึงกำหนดชำระเกินกว่าหนึ่งปี เช่นเดียวกับสินค้าคงคลังทั้งหมดก็รวมอยู่ในสินทรัพย์หมุนเวียนแม้บ้างรายการจะมีการเคลื่อนไหวช้าก็ตาม

12: หนี้สินหมุนเวียน (current liabilities)

ส่วนใหญ่ก็คือหนี้สินของบริษัทที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจตามปกติและมีกำหนดชำระภายในเวลาหนึ่งปี นอกจากนี้หนี้สินทุกชนิดที่ต้องชำระภายในเวลาหนึ่งปีก็จะถูกรวมเป็นหนี้สินหมุนเวียนยกตัวอย่างหนี้สินหมุนเวียนที่สำคัญ เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงิน ใบสั่งซื้อค้างจ่าย เจ้าหนี้การค้า เงินปันผลและดอกเบี้ยค้างจ่าย เงินสำรองสำหรับการจ่ายภาษี

13: เงินทุนหมุนเวียน (Working Capital)

เงินทุนหมุนเวียนเป็นปัจจัยสำคัญในการตรวจสอบความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัท คำนวณโดยหักหนี้สินหมุนเวียนออกจากสินทรัพย์หมุนเวียน เงินทุนหมุนเวียนทำให้สามารถประเมินความสามารถของบริษัทในการดำเนินธุรกิจอย่างราบรื่นโดยไม่มีปัญหาทางการเงิน รวมทั้งสามารถขยายกิจการได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้แหล่งเงินทุนใหม่

การขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนทำให้การชำระหนี้ล่าช้าและระดับความน่าเชื่อถือแย่ลง การดำเนินการลดลง และถูกปฏิเสธธุรกิจที่ต้องการ โดยทั่วไปก็ไม่สามารถฟื้นฟูและทำให้เกิดความก้าวหน้าได้ ผลร้ายแรงที่ตามมาก็คือการมีหนี้สินที่เกินขอบเขตความสามารถในการชำระของบริษัท

14: อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)

คือตัวเลขหนึ่งที่นิยมใช้มากที่สุดในการวิเคราะห์งบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงิน โดยคำนวณจากการหารสินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหมดด้วยหนี้สินหมุนเวียนทั้งหมด เมื่อบริษัทมีฐานะดีก็ควรมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน เพื่อแสดงว่าบริษัทจะไม่มีปัญหาในการชำระหนี้สินหมุนเวียนเมื่อครบกำหนดชำระ

อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนระดับที่เหมาะสมจะแตกต่างกันตามประเภทธุรกิจ โดยทั่วไปหากสินทรัพย์หมุนเวียนยิ่งมีสภาพคล่องสูงมาเท่าไหร่ความจำเป็นที่ต้องมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียนก็มีน้อยลงเท่านั้น

15: สินค้าคงคลัง (Inventories)

สินค้าคงคลัง ถูกจัดว่าเป็นสินทรัพย์และโดยทั่วไปบริษัทยิ่งมีสินทรัพย์มากก็ยิ่งดีอย่างไรก็ตามสินค้าคงคลังที่มีมากมักก่อให้เกิดปัญหาตามมาซึ่งอาจทำให้ต้องกู้ยืมจำนวนเงินมากขึ้นเพื่อซื้อสินค้าหรือไม่ก็อาจจะต้องใช้เงินสดของบริษัทและอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือขาดทุนอย่างมากในกรณีที่ราคาสินค้านั้นลดลง

16: ลูกหนี้ (Receivables)

การศึกษาลูกหนี้ต้องศึกษาความสัมพันธ์กับยอดขายประจำปีที่เกี่ยวข้อง และยังเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระหว่างปี หากลูกหนี้มีมูลค่าสูงกว่าปกติเมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนของยอดขาย หรือเปรียบเทียบกับรายการอื่นๆ อาจจะเป็นการบอกว่านโยบายสินเชื่อที่ใช้นั้นไม่เหมาะสมและนั่นก็จะเป็นผลให้เกิดความเสียหายจากหนี้เสียตามมาภายหลัง

การขายสินค้าในระบบการชำระเงินระยะยาวหรือขายเชื่อ ต้องมีการตรวจสอบลูกหนี้อย่างระมัดระวังซึ่งธุรกิจผ่อนชำระส่วนใหญ่มักทำธุรกรรมผ่านสถาบันการเงินซึ่งจะชำระเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้จำหน่ายโดยมีการค้ำประกันหรือออกตัวสัญญาใช้เงิน

17: เงินสด (Cash)

ในทางทฤษฎีบริษัทจะไม่ถึงเงินสดในมือมากเกินกว่าที่จำเป็นจะต้องใช้ในการดำเนินงาน เงินสดส่วนเกินมักจะถือในรูปแบบของหลักทรัพย์ที่มีอยู่ในความต้องการของตลาด การขาดเงินสดในช่วงสั้นสามารถดูแลจัดการได้ด้วยเงินกู้ยืมจากธนาคาร ดังนั้นหากสถานการณ์เงินไม่ดีโดยปกติในงบการเงินจะแสดงยอดเงินกู้ธนาคารจำนวนที่สูงมากกว่าจะแสดงรายการเงินสดในมือติดลบ

การถือเงินสดจำนวนมากผิดปกติเมื่อเทียบกับราคาตลาดของหลักทรัพย์ เป็นปัจจัยที่ควรให้ความสนใจ ในกรณีดังกล่าวหุ้นสามัญอาจจะมีมูลค่ามากกว่ากำไรที่บันทึกไว้เพราะเงินสดในมือส่งผลต่องบกำไรขาดทุน

18: ตั๋วสัญญาใช้เงิน/ตั๋วเงินจ่าย (Notes Payable)

รายการหนี้สินหมุนเวียนที่สำคัญที่สุดก็คือตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตั๋วเงินจ่าย ซึ่งโดยทั่วไปก็คือเงินกู้จากธนาคารแต่อาจจะเกิดจากบัญชีการค้า หรือเงินกู้ยืมจากบริษัทในเครือ หรือจากบุคคล

ในความเป็นจริงการที่บริษัทกู้ยืมเงินจากธนาคารไม่ได้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความอ่อนแอของบริษัท การกู้ยืมเงินเป็นฤดูกาล ซึ่งสามารถชำระเงินคืนทั้งหมดได้ภายหลังจากหมดฤดูการขาย เป็นสิ่งที่ทั้งบริษัทและธนาคารต้องการ แต่การกู้ยืมเงินระยะยาวไม่ว่าจะมากหรือน้อยแม้จะสามารถชำระคืนได้ด้วยสินทรัพย์หมุนเวียน เป็นการบ่งบอกว่าบริษัทมีแนวโน้มที่จะต้องการเงินทุนระยะยาวในรูปของหุ้นกู้หุ้นสามัญ

การศึกษาเงินกู้ธนาคารก็ควรพิจารณาระยะเวลาตลอดทั้งปี เพื่อดูว่าเงินกู้ธนาคารมีอัตราการเติบโตเร็วกว่ายอดขายและกำไรหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็ควรเป็นสัญญาณของความอ่อนแอในธุรกิจ

19: การสำรอง (Reserves)

แบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้

  1. การสำรองที่แสดงถึงการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของหนี้สินที่กำหนด

กำหนดขึ้น สำหรับการชำระภาษี สำหรับเผื่อการเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ สำหรับการคืนเงินแก่ลูกค้า เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้สินหมุนเวียนอย่างแท้จริง

  1. การสำรองเพื่อเป็นการชดเชย

กำหนดขึ้นซึ่งจะหักลบจากสินทรัพย์บางประเภท เช่น การตั้งสำรองสำหรับค่าเสื่อมราคาค่าสูญสิ้นบัญชีสำรองเผื่อหนี้เสีย รวมถึงการสำรองสำหรับการด้อยค่าของสินค้าคงคลัง

  1. การสำรองที่เป็นส่วนหนึ่งของส่วนเกินมูลค่า

ตั้งขึ้นเพื่อรองรับมูลค่าที่อาจจะลดลงในอนาคตถือว่าเป็นการสำรองเผื่อกรณีจำเป็นที่คาดว่าจะเกิดความเสียหายในอนาคต เช่น สำรองสำหรับการปรับปรุงโรงงาน สำรองสำหรับการไถ่ถอนหุ้นบุริมสิทธิ เป็นต้น

20: มูลค่าตามบัญชีหรือส่วนของเจ้าของ (Book Value or Equity)

ส่วนใหญ่จะเป็นมูลค่าที่กำหนดขึ้นหรือไม่ใช่มูลราคาที่แท้จริง ซึ่งเป็นการสมมุติว่าหากมีการชำระบัญชีหรือเลิกกิจการและขายสินทรัพย์ที่มีตัวตนก็จะได้รับเงินสดตามมูลค่าที่บันทึกไว้ในบัญชี

ในความเป็นจริงหากบริษัทต้องการชำระหรือเลิกกิจการมูลค่าของสินทรัพย์ส่วนใหญ่มักจะต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีที่แสดงในงบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงินค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่เกิดจากการขายสินค้าคงคลังและการลดลงอย่างรุนแรงของมูลค่าสินทรัพย์ถาวร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่สถานการณ์เร็วร้ายจนนำไปสู่การตัดสินใจปิดกิจการเป็นไปไม่ได้ที่จะขายโรงงานหรือเครื่องจักรได้ในราคาที่ใกล้เคียงกับราคาทุนหรือราคาทดแทน

ดังนั้นมูลค่าตามบัญชีจึงไม่สามารถวัดสิ่งที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับจากธุรกิจของพวกเขาได้อย่างแท้จริง แต่จะเป็นสิ่งที่พวกเขาลงทุนในกิจกรรมรวมทั้งกำไรที่ยังไม่ได้จัดสรรมากกว่า

21: การคำนวณมูลค่าตามบัญชี (Calculating Book Value)

การคำนวณมูลค่าตามบัญชีจะสมมุติว่าสินทรัพย์ของบริษัทมีมูลค่าเท่ากับตัวเลขที่แสดงในงบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงิน ซึ่งจริงๆแล้วมูลค่าตามบัญชีก็คือราคาที่แสดงในงบสมุดบัญชีหรืองบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงินนั่นเอง

แต่หากพูดถึงมูลค่าตามบัญชีของหุ้นแล้วโดยทั่วไปมักจะหมายถึงมูลค่าตามบัญชีสุทธิที่มีตัวตนเท่านั้น ตัวเลขที่มากกว่าอาจจะหมายถึงมูลค่าตามบัญชีที่รวมสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

22: ตามบัญชีของหุ้นกู้และหุ้นสามัญ (Book Value of Bonds and Stocks)

การคำนวณมูลค่าตามบัญชีของหุ้นสามัญในกรณีที่มีหุ้นบุริมสิทธิ ขั้นแรกคือการคำนวณหามูลค่าการชำระบัญชีของหุ้นบุริมสิทธิ ซึ่งโดยทั่วไปการชำระบัญชีหรือการเลิกกิจการหุ้นบุริมสิทธิมักจะมีสิทธิ์ได้รับเงินมากกว่ามูลค่าที่ตราไว้ และแน่นอนในกรณีหุ้นไม่มีมูลค่าที่ตราไว้ก็ยังคงต้องหามูลค่าการชำระบัญชี

23: รายการอื่นๆในมูลค่าตามบัญชี (Other Items in Books Value)

ในการคำนวณหามูลค่าตามบัญชีสุทธิควรหักสินทรัพย์ไม่มีตัวตนออกทั้งหมดรวมทั้งค่าใช้จ่ายรอการตัดจ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายในการก่อตั้งองค์กร และส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นที่ยังไม่มีการตัดจ่ายก็ควรหักออกเช่นกัน

ในการคำนวณมูลค่าตามบัญชีของหลักทรัพย์ส่วนเกินมูลค่าในรูปแบบต่างๆก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับส่วนเกินมูลค่าทั้งสิ้นซึ่งรายการเหล่านี้รวมกันเป็นบัญชีส่วนเกินราคา

24: ราคาขายสินทรัพย์เพื่อชำระบัญชีและมูลค่าสินทรัพย์หมุนเวียนสุทธิ (Liquidating Value and Net Current Asset Value)

ราคาขายสินทรัพย์เพื่อชำระบัญชีแตกต่างจากมูลค่าตามบัญชีในแง่ที่ต้องมีการเผื่อสำหรับการลดลงของมูลค่าในการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นเงินสด

ดังนั้นมูลค่าสินทรัพย์หมุนเวียนสุทธิของหลักทรัพย์ เป็นการวัดหรือประเมินราคาขายสินทรัพย์เพื่อชำระบัญชีโดยประมาณเท่านั้น ซึ่งคำนวณโดยการใช้ตัวเลขสินทรัพย์หมุนเวียนสุทธิหักลบด้วยสิทธิเรียกร้องทั้งหมดของตราสารที่มีสิทธิ์เหนือกว่า

25: ความสามารถในการทำกำไร (Earning Power)

ใช้ในการพิจารณาความหมายของกำไรที่อาจคาดหมายได้อย่างสมเหตุสมผลตลอดระยะเวลาหนึ่งในอนาคต โดยเนื่องจากอนาคตไม่สามารถบอกได้ล่วงหน้าจึงมักจะใช้กำไรในอดีตและกำไรในปัจจุบันเป็นแนวทาง และใช้ตัวเลขเหล่านี้เป็นฐานในการคาดการณ์กำไรในอนาคต

หากเงื่อนไขทางธุรกิจโดยทั่วไปในช่วงเวลานั้นของปีดีพอสมควร กำไรโดยเฉลี่ยในช่วงเวลานั้นก็อาจจะสามารถบ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไรได้ดีกว่าการใช้เฉพาะตัวเลขในปัจจุบันเพียงอย่างเดียว

26: การคำนวณกำไร (Calculating Earnings)

กำไรสำหรับหุ้นสามัญมักจะแสดงเป็นจำนวนต่อหุ้น และจะคำนวณภายหลังจากการหักเงินปันผลทั้งปีที่จะต้องจ่ายให้แก่หุ้นบุริมสิทธิรวมทั้งการมีส่วนร่วมในกำไร หากมีการกำหนดไว้ในเงื่อนไข โดยเงินปันผลย้อนหลังของหุ้นบุริมสิทธิจะไม่นำมาหักออกจากกำไรในปัจจุบันสำหรับหุ้นสามัญ

27: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับค่าซ่อมบำรุงและค่าเสื่อมราคา (The Maintenance and Depreciation Factor)

เป็นการจัดสรรเงินสำหรับรายการค่าซ่อมบำรุงและค่าเสื่อมราคาเหล่านี้หากสำรองเงินมากเกินไปหรือน้อยเกินไปอาจมีผลทำให้กำไรสุทธิสูงเกินไปหรือต่ำไปได้ โดยสำหรับในอุตสาหกรรมต่างๆการสำรองสำหรับค่าซ่อมบำรุงและ ค่าเสื่อมราคาไม่ค่อยมีความสำคัญมาก แต่ก็ยังมีแนวโน้มการปรับลดมูลค่าเครื่องจักรให้น้อยลงเพื่อประหยัดค่าเสื่อมราคาต่อปี และทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นซึ่งเหมือนเป็นการหลอกลวงผู้ถือหุ้นโดยไม่คำนึงถึงตัวเลขทางบัญชี จึงทำให้กำไรที่ควรจะถูกหักด้วยค่า ซ่อมบำรุงและค่าเสื่อมราคาที่เกิดขึ้นจริงในระหว่างปีถูกประเมินด้วยมูลค่าที่ต่างไป

28: ความปลอดภัยของดอกเบี้ยและเงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิ (The Safety of Interest and Preferred Dividends)

ความสามารถในการชำระค่าใช้จ่ายประจำทางการเงินเป็นหลักเกณฑ์ตัดสินใจที่สำคัญ ในกรณีของหุ้นบุริมสิทธิเกรดดีการทดสอบเชิงเปรียบเทียบเพื่อพิจารณาความสามารถในการชำระค่าใช้จ่ายประจำทางการเงินบวกกับเงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิที่ดีที่สุดค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 10 ปี

ในการลงทุนมีปัจจัยเกี่ยวกับงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จที่ควรให้ความสนใจเพิ่มเติมดังนี้

  1. อัตราส่วนการดำเนินงาน คำนวณโดยการหาค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้วยรายได้รวมหรือยอดขายรวม
  2. อัตราส่วนค่าใช้จ่ายประจำทางการเงินต่อยอดขายรวม
  3. ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงและค่าเสื่อมราคา
  4. ลักษณะและจำนวนของค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ยังไม่ได้บันทึกในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

29: แนวโน้ม (Trends)

การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของปัจจัยสำคัญในงบกำไรขาดทุนตลอดช่วงเวลาหนึ่งเรียกว่า แนวโน้ม แน่นอนแนวโน้มที่สำคัญที่สุดคือแนวโน้มของความสามารถในการชำระดอกเบี้ยและเงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิรวมถึงแนวโน้มของกำไรสำหรับหุ้นสามัญ

โดยทั่วไปเมื่อหลักทรัพย์ของบริษัทมีแนวโน้มไม่ดีก็ไม่ควรซื้อเพื่อการลงทุน เว้นแต่จะถูกโน้มน้าวด้วยแนวโน้มที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาอันสั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งการยึดติดกับแนวโน้มที่ดีมากจนเกินไปก็เป็นอันตรายเนื่องจากจะทำให้เข้าใจผิดได้ง่ายในกรณีของการลงทุนสิ่งที่นักลงทุนต้องการในทุกกรณีก็คือ กำไรโดยเฉลี่ยที่เพียงพอต่อการชำระดอกเบี้ยและเงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ

30: ราคาและมูลค่าของหุ้นสามัญ (Common Stock Prices and Values)

โดยทั่วไปราคาหุ้นสามัญจะถูกกำหนดโดยกำไรในอนาคต ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการประมาณการหรือการคาดการณ์และลักษณะการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้น มักถูกควบคุมโดยแนวโน้มที่บ่งชี้ในทางกลับกันแนวโน้มก็จะพิจารณาจากข้อมูลในอดีตและปัจจุบัน ดังนั้นราคาของหุ้นสามัญจึงขึ้นกับกำไรในอดีตและปัจจุบัน

ในกรณีปกติราคาของหุ้นสามัญจะเป็นผลจากระดับกำไรที่คาดการณ์ในระยะเวลาอนาคตข้างหน้า หรือแม้แต่อนาคตของอนาคต การคาดการณ์บางอย่างอาจจะไม่ถูกต้องเลยและบางอย่างอาจแม่นยำเป็นอย่างมากโดยแนวคิดที่ยอมรับโดยทั่วไปก็คือ หุ้นสามัญควรขายในราคาที่เป็นสัดส่วนกับกำไรในปัจจุบันของบริษัท หุ้นสามัญของบริษัทที่มีความเป็นไปได้ว่ากำไรจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยโดยปกติราคาซื้อขายจะอยู่ในระดับ P/E ที่ต่ำและหุ้นสามัญของบริษัทที่มีกำไรอยู่ในแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นดี ราคาซื้อขายมักจะอยู่ในระดับ E/P ที่สูง

การเลือกหุ้นสามัญโดยธรรมชาติแล้วเป็นศิลปะที่ยุ่งยาก และจะให้ผลตอบแทนอย่างงดงามหากประสบความสำเร็จ ซึ่งต้องอาศัยทักษะทางอารมณ์ในการถ่วงดุลระหว่างข้อเท็จจริงในอดีตความเป็นไปได้ในอนาคต

ส่วนที่ 2 : การวิเคราะห์งบแสดงฐานะการเงินและงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จโดยวิธีการใช้อัตราส่วนทางการเงิน

A: อัตราส่วนกำไร (Margin of Profit)

  • รายได้หรือกำไรจากการดำเนินงาน / ยอดขาย

B: ผลตอบแทนต่อเงินลงทุน (Earning on Invested Capital)

  • รายได้รวมสำหรับค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย / (หุ้นกู้หุ้นบุริมสิทธิหุ้นสามัญ + กำไรสะสม)

C: ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (Time Interest Charges Earned)

  • รายได้รวม / ดอกเบี้ยจ่าย

D: ความสามารถในการชำระดอกเบี้ยและเงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ (Time Interest Charges and Preferred Dividend Earned)

  • รายได้รวม / (ดอกเบี้ยจ่าย + เงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ)

E: กำไรต่อหุ้นของหุ้นสามัญ (Earning per Share on the Common Stock)

  • กำไรสุทธิสำหรับหุ้นสามัญ / จำนวนหุ้นสามัญ

F: ค่าเสื่อมราคา คิดเป็นสัดส่วนของมูลค่าเครื่องจักรตามราคาทุน (Depreciation as a Percentage of Plant)

  • ค่าเสื่อมราคา / มูลค่าเครื่องจักรตามราคาทุน

G: ค่าเสื่อมราคาคิดเป็นสัดส่วนของยอดขายหรือรายได้รวม (Depreciation as a Percentage of Sales or Gross Revenues)

  • ค่าเสื่อมราคา / ยอดขาย

H: กำไรสุทธิคงเหลือยกไปคิดเป็นสัดส่วนของกำไรสุทธิสำหรับเงินปันผล (Net Income Transferred to Surplus as a Percentage of Net Income Available for Dividends)

  • จำนวนกำไรสุทธิคงเหลือยกไป / กำไรสุทธิสำหรับเงินปันผล

I: อัตราหมุนเวียน สินค้าคงคลัง (Inventory Turnover)

  • ยอดขาย / สินค้าคงคลัง

J: ระยะเวลาในการเก็บหนี้ (Number of Days Average Account Receivable is Outstanding)

  • ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้ตรวจรับเงิน / ยอดขายสุทธิเฉลี่ยต่อวัน

K: อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)

  • สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน

L: อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Asset Ratio)

  • (สินทรัพย์หมุนเวียน – ด้วยสินค้าคงคลัง) / หนี้สินหมุนเวียน

M: ตามบัญชีของหุ้นสามัญ (Book Value of Common Stock)

  • (หุ้นสามัญ + กำไรสะสม) / ด้วยจำนวนหุ้นสามัญ

N: อัตราส่วนราคาต่อกำไรหรืออัตราส่วนตลาด Price – Earning Ratio or Market Ratio)

  • ราคาขายของหุ้น / กำไรสุทธิต่อหุ้น

บทสรุป (Conclusion)

คุณจะได้เห็นปัจจัยที่หลากหลายที่ถูกนำมาพิจารณาในการอ่านงบการเงิน การตรวจสอบงบการเงิน ทำให้สามารถให้ความเห็นเกี่ยวกับฐานะในปัจจุบันและศักยภาพ รวมถึงมูลค่าสินทรัพย์ ความสามารถในการทำกำไรของบริษัท และฐานะทางการเงิน ด้วยการเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน

อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอื่นๆที่อยู่นอกเหนือความควบคุมของบริษัทซึ่งบางทีก็มีอิทธิพลต่อมูลค่าของหลักทรัพย์ของบริษัท อาจมีความสำคัญเทียบเท่ากับแนวโน้มของอุตสาหกรรม เงื่อนไขทางธุรกิจ และภาวะตลาดหลักทรัพย์ โดยทั่วไปเศรษฐกิจรุ่งเรืองหรือซบเซา อิทธิพลที่เกิดจากตลาดความโด่งดังและความนิยมของหลักทรัพย์ เหล่านี้ไม่สามารถวัดในรูปแบบของส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัยได้อย่างชัดเจน

นักลงทุนที่ซื้อหลักทรัพย์เมื่อเห็นว่าราคาในตลาดถูกเมื่อเปรียบเทียบกับงบการเงินของบริษัท และขายเมื่อดูเหมือนราคาจะสูงเมื่อเทียบกับงบการเงิน เช่นกันบางครั้งอาจทำกำไรได้ไม่มากนักแต่ในทางตรงกันข้ามก็สามารถจะหลีกเลี่ยงการขาดทุนในจำนวนที่มากเท่ากันได้ และได้รับผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจกว่าค่าเฉลี่ยโดยทั่วไป นี่แหละคือวัตถุประสงค์หลักของการลงทุนอย่างชาญฉลาด

@uptoread

สั่งซื้อหนังสือ “เบนจามิน เกรแฮม กับการถอดรหัสงบการเงิน” ได้ที่นี่ : คลิ๊ก