Source: https://corporatefinanceinstitute.com/resources/valuation/npv-vs-irr/
Net Present Value (NPV)
NPV เป็นผลรวมของกระแสเงินสดของโครงการทั้งหมดที่จะเกิดขึ้น โดยคำนวณกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบันโดยวิธีการคิดลด (Discount) ซึ่งอัตราที่ใช้ในการคิดลดก็คือค่าของทุน (Cost of capital) หรือ WACC นั่นเอง ซึ่งตามปกติแล้วกระแสเงินสดที่เกิดขึ้นในช่วงแรกสุดของโครงการจะเป็นเงินที่ใช้ลงทุนไปกับโครงการ โดยจะมีเครื่องหมายลบแสดงถึงกระแสเงินสดไหลออก สวนทางกับรายรับจากโครงการที่เป็นกระแสเงินสดไหลเข้า มีสูตรคำนวณดังนี้
การที่ค่า NPV ออกมาเป็นบวกแปลว่าโครงการนั้นๆจะมาเพิ่มมูลค่าให้กับทั้งบริษัทและผู้ถือหุ้น แต่ถ้าหากมีค่าเป็นลบแปลว่าจะมาลดมูลค่าของบริษัทลง ไม่ควรลงทุนกับโครงการนั้นๆ ส่วนกรณีที่มีค่าเป็นศูนย์แปลว่าโครงการไม่ส่งผลใดๆต่อมูลค่าบริษัท
ตัวอย่างการคำนวณค่า NPV จากโครงการที่มีกระแสเงินสดปีที่ 0, 1, 2, และ 3 อยู่ที่ -100, 25, 50 และ 75 ล้านบาท ตามลำดับ มีค่าของทุนที่ 9% เราจะหา NPV ได้ดีงนี้
NPV = 22.93
Internal Rate of Return (IRR)
จากที่ NPV เป็นการหามูลค่าปัจจุบันของโครงการตรงๆ IRR เป็นการหาอัตราที่ใช้คิดลดกระแสเงินสดของโครงการที่ทำให้ NPV มีค่าเป็นศูนย์ หมายความว่ามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดไหลเข้าจะมีค่าเท่ากับกระแสเงินสดที่ใช้ลงทุนในช่วงเริ่มต้นโครงการ มีสูตรคำนวณดังนี้
ในการคำนวณหาค่า IRR โดยไม่ใช้เครื่องคิดเลขทางการเงินจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีลองผิดลองถูกในการใส่ค่าที่คาดว่าจะเป็น IRR เข้าไป แต่เครื่องคิดเลขทางการเงินสามารถหา IRR ออกมาได้โดยตรง เราจะตีความค่า IRR ได้จากการเทียบกับอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่ต้องการ (Required rate of return(RRR)) ซึ่งควรตัดสินใจที่จะลงทุนในโครงการเมื่อค่า IRR สูงกว่า RRR เนื่องจากให้กระแสเงินสดที่สูง
จากตัวอย่างการคำนวณ NPV หากกำหนดให้ RRR มีค่าเท่ากับ 9% เราสามารถหาค่า IRR ได้ดังนี้
ข้อดีและข้อเสียของ NPV และ IRR
ข้อดีของการใช้ NPV คือเป็นการวัดมูลค่าบริษัทที่จะเพิ่มขึ้นมาโดยตรง ซึ่งว่ากันว่าเป็นวิธีการคำนวณที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตามวิธีนี้ยังมีจุดอ่อนตรงที่ค่า NPV ไม่ได้บอกสัดส่วนมูลค่าที่จะได้เพิ่มขึ้นมาเมื่อเทียบกับปริมาณเงินที่ต้องลงทุนไป เช่น โครงการอาจมี NPV 100 บาท มีค่าเป็นบวกก็จริง แต่อาจต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 1 ล้านบาท ซึ่งดูไม่คุ้มค่าที่จะลงทุน
ส่วนข้อดีของการใช้ IRR ก็จะมาลบข้อเสียของ NPV โดยค่าที่ได้เป็นอัตราผลตอบแทบเมื่อเทียบกับเงินที่ใช้ลงทุนแล้ว ซึ่งยังเป็นการบอกส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัยที่มีอยู่อีกด้วย นั่นก็คือส่วนต่างระหว่าง IRR กับ RRR ที่ยังทำให้ค่า NPV เป็นบวกอยู่ แต่ IRR ก็มีข้อเสียตรงที่ไม่สามารถใช้เปรียบเทียบระหว่างหลายๆโครงการที่จำเป็นต้องเลือกทำเพียงโครงการเดียว (Mutually exclusive) เนื่องจาก IRR ใช้เพียงแค่เพื่อดูว่าโครงการนั้นๆน่าลงทุนหรือไม่ โดยโครงการที่ใช้เงินลงทุนสูงกว่าอีกโครงการหนึ่งอาจมี IRR ที่ต่ำกว่า แต่มี NPV ที่สูงกว่านั่นเอง
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง