Return on Invested Capital (ROIC)

Source: https://mymoneysorted.com.au/guide-to-return-on-invested-capital-roic/

นอกจากการวิเคราะห์ความน่าสนใจในการลงทุนในโครงการต่างๆด้วย NPV และ IRR ที่เราเราอธิบายไปในบทความก่อนหน้าแล้ว ยังสามารถวิเคราะห์ว่าผู้บริหารกำลังทำให้บริษัทมีมูลค่าสูงขึ้นหรือไม่ ด้วยการเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนที่ได้จากเงินทุนที่ลงทุนไป (Return on invested capital) กับค่าของทุน (Cost of capital) โดย Return on invested capital (ROIC) มีสูตรคำนวณดังนี้

ROIC = Net operating profit after tax  (NOPAT) / Average book value of total capital

NOPAT คือ กำไรสุทธิที่บวกดอกเบี้ยจ่าย (Interest expense) กลับเข้าไป

Average book value of total capital คือเงินทุนเฉลี่ยที่ใช้ลงทุนไป

ในเมื่อเราต้องการที่จะเปรียบเทียบผลตอบแทนที่ได้กับทุน (หนี้และหุ้น) ที่ใช้ทั้งหมด ดังนั้นค่าผลตอบแทนที่เราใช้คำนวณจึงต้องรวมดอกเบี้ยจ่ายเข้าไปด้วยกลายเป็น NOPAT

ถ้าหากค่า ROIC ที่เราคำนวณได้มีค่าสูงกว่า WACC ซึ่งเป็นค่าของทุนแบบเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก หมายความว่าฝ่ายบริหารกำลังสร้างมูลค่าเพิ่มเติมให้กับบริษัทนั่นเอง แต่ถ้าหาก ROIC มีค่าต่ำกว่า WACC ก็แปลว่ามูลค่าบริษัทกำลังถูกลดทอนลง

Real Options

Real options คือสิ่งที่บริษัทอาจจะทำต่อไปในอนาคตหลังจากที่เริ่มลงทุนในโครงการต่างๆไปแล้ว ซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกับ Options ที่เป็นอนุพันธ์ตรงที่ Options ทั้ง 2 แบบสามารถเลือกที่ทำหรือไม่ทำสิ่งต่างๆในอนาคตได้ เนื่องจากเป็นสิทธิในการเลือกที่จะทำหรือไม่ทำ ไม่ใช่ภาระผูกพัน แต่ว่ามูลค่าที่จะได้รับจาก Real options จะต้องถูกรวมเข้าไปใน NPV ของโครงการตั้งแต่แรกเริ่มแล้ว อย่างไรก็ตาม หากมีทางเลือกใดที่ทำให้มูลค่าบริษัทลดลงจะไม่ถูกนำไปรวมใน NPV เนื่องจากบริษัทสามารถเลือกที่จะไม่ทำสิ่งนั้นได้นั่นเอง

Source: https://marketbusinessnews.com/financial-glossary/real-options-theory-definition-meaning/

ประเภทของ Real options ประกอบด้วย:

Timing options คือทางเลือกที่บริษัทสามารถเลื่อนการลงทุนออกไป เนื่องจากมีข้อมูลในอนาคตที่ดีกว่าในปัจจุบัน

Abandonment options คือทางเลือกในการล้มเลือกโครงการใหม่ เนื่องจากโครงการเดิมมีกระแสเงินสดส่วนที่จะเพิ่มในอนาคตที่ดีกว่า

Expansion (Growth) options คือทางเลือกในการลงทุนเพิ่มเติมเมื่อต้องการเพิ่มมูลค่าบริษัท

Flexibility options คือทางเลือกที่บริษัทจะปรับราคาสินค้า หรือปรับการผลิตในอนาคตเมื่อเห็นสมควร

Fundamental options คือโครงการต่างๆที่ทำหน้าที่เป็นทางเลือกในตัว เช่น การปิดเหมืองทองเมื่อราคาทองลดลงไปต่ำเกินที่จะดำเนินงาน และกลับมาเปิดเมื่อราคาทองกลับมาสูงแล้ว

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง