Heikin-Ashi คือ

Heikin-Ashi เป็นรูปแบบแท่งเทียนที่ถูกพัฒนาต่อยอดจากรูปแบบปกติขึ้นมา จุดเด่นคือจะสามารถลด Noise การแกว่งตัวของราคาออก เพื่อที่จะทำให้มองแนวโน้มได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

Heikin (平均) ในภาษาญี่ปุ่นหมายความว่า “ค่าเฉลี่ย” ส่วน Ashi (足) หมายความว่า “เท้า” เมื่อรวมกันก็จะสามารถสื่อความหมายถึง “การเคลื่อนไหวค่าเฉลี่ยของราคา” 

บางที่จะสะกดว่า Heikin-Ashi และบางที่จะสะกดว่า Heiken-Ashi ซึ่งเหมือนกัน

สูตรการคำนวณ

Heikin-Ashi Candlesticks จะใช้ค่า open-close ของวันก่อนหน้า กับค่า open-high-low-close ของวันปัจจุบัน มาสร้างรูปแบบแท่งเทียนนี้ 

โดยจะมีพื้นฐานการคำนวณอยู่ 3 ส่วน คือ 

  • open-high-low-close ของราคาปัจจุบัน
  • ค่า Heikin-Ashi ปัจจุบัน 
  • ค่า Heikin-Ashi ก่อนหน้า

การคำนวณ ( 0 = แท่งปัจจุบัน , -1 = แท่งก่อนหน้า และ HA = Heikin-Ashi )

ปกติ 1 แท่งเทียนทั่วไปจะประกอบด้วย 4 ค่า คือ open-high-low-close ซึ่ง Heikin-Ashi ก็เช่นเดียวกันจะประกอบด้วย 4 ค่า ดังต่อไปนี้

1. Heikin-Ashi Close คือ ค่าเฉลี่ยของ open-high-low-close ของแท่งปัจจุบัน

HA-Close = (Open(0) + High(0) + Low(0) + Close(0)) / 4

2. Heikin-Ashi Open คือ ค่าเฉลี่ยของ ราคาเปิดของ Heikin-Ashi ในแท่งก่อนหน้า และ ราคาปิดของ Heikin-Ashi ในแท่งก่อนหน้า

HA-Open = (HA-Open(-1) + HA-Close(-1)) / 2

3. Heikin-Ashi High คือ ค่าสูงสุดของ 3 ค่าต่อไปนี้

  • ราคา High ปัจจุบัน
  • ราคาเปิดของ Heikin-Ashi ปัจจุบัน
  • ราคาปิดของ Heikin-Ashi ปัจจุบัน

HA-High = Maximum of the High(0), HA-Open(0) or HA-Close(0)

4. Heikin-Ashi Low คือ ค่าต่ำสุดของ 3 ค่านี้

  • ราคา Low ปัจจุบัน
  • ราคาเปิดของ Heikin-Ashi ปัจจุบัน
  • ราคาปิดของ Heikin-Ashi ปัจจุบัน

HA-Low = Minimum of the Low(0), HA-Open(0) or HA-Close(0)

สังเกตได้ว่า การคำนวณ Heikin-Ashi จะใช้แท่ง Heikin-Ashi ก่อนหน้าด้วย ซึ่งในการคำนวณ Heiken-Ashi แท่งแรกสุดเพื่อเริ่มการคำนวณ จะใช้ค่า Close เท่ากับ (O+H+L+C)/4 ส่วนค่า Open จะใช้ (O+C)/2 (ซึ่งจะเห็นได้ว่าการคำนวณแท่งแรกสุดของ Heikin-Ashi นั้นต่างแตกจากปกติ แต่ผลกระทบนี้จะค่อยๆหายไปเมื่อเกิดแท่ง Heikin-Ashi ขึ้นมาเรื่อยๆ โดยปกติประมาณ 7-10 แท่ง)

ตัวอย่างการคำนวณ

Heiken-Ashi excel
Normal candlestick vs Heikin-Ashi

จากกราฟข้างต้น เป็นตัวอย่างการเปรียบเทียบระหว่างกราฟแท่งเทียนทั่วไป กับ กราฟ Heikin-Ashi 

การตีความหมาย

Heikin-Ashi มีส่วนที่คล้ายกับ แท่งเทียนทั่วไป และมีบางส่วนที่แตกต่าง

ส่วนที่คล้ายกับ แท่งเทียนทั่วไป คือ Heikin-Ashi เป็นสี ขาว/เขียว เมื่อราคาปิด สูงกว่า ราคาเปิด และ Heikin-Ashi เป็นสี ดำ/แดง เมื่อ ราคาปิด ต่ำกว่า ราคาเปิด … ซึ่งเหมือนกับแท่งเทียนปกติทั่วไป

แต่ในส่วนที่แตกต่างนั้น คือ Heikin-Ashi จะแตกต่างจากแท่งเทียนปกติทั่วไป ในช่วงที่แท่งเทียน Heikin-Ashi มีลักษณะสีขาว/เขียว ยาวๆ ก็จะชี้ให้เห็นถึงแรงซื้อที่หนาแน่นในช่วง 2 วันก่อนหน้า และการยก Low ที่สูงขึ้นเรื่อยๆของแท่งเทียน Heikin-Ashi ก็แสดงถึงความแข็งแกร่งของแรงซื้อเช่นเดียวกัน ในทางตรงกันข้าม หาก Heikin-Ashi เกิดลักษณะสีแดง/ดำ ก็จะชี้ให้เห็นถึงแรงขายที่หนาแน่นในช่วง 2 วันก่อนหน้า และการทำ High ที่ต่ำลงเรื่อยๆของแท่งเทียน Heikin-Ashi ก็แสดงถึงความแข็งแกร่งของแรงขายเช่นเดียวกัน

QQQ Heikin-Ashi

จากกราฟข้างต้น หุ้น QQQ ในกราฟ Heikin-Ashi และกราฟแท่งเทียนทั่วไป

ลูกศรสีน้ำเงิน แสดงถึงช่วงที่ Heikin-Ashi สะท้อนถึงแรงซื้อและแรงขายที่ต่อสู้กัน (ยังไม่รู้ว่าใครชนะ) ในขณะที่แท่งเทียนปกติทั่วไปเป็นลักษณะ สีขาวและดำ 2 แท่ง ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณในการกลับตัวของราคา 

ลูกศรสีแดง เป็นช่วงที่แท่งเทียน Heikin-Ashi ปรับตัวลงต่อเนื่อง โดยสังเกตจากการทำ High ที่ต่ำลงต่อเนื่องของแท่งเทียน (ไม่มีไส้เทียนด้านบนเลย) แสดงถึงแนวโน้มขาลง

ลูกศรสีเขียว แสดงถึงช่วงที่ราคาปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง แท่งเทียน Heikin-Ashi ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ยก Low สูงขึ้นต่อเนื่อง (ไม่มีไส้เทียนด้านล่าง) แสดงถึงแนวโน้มขาขึ้น

Doji และ Spinning Tops ใน Heikin-Ashi

รูปแบบแท่งเทียนใน Heikin-Ashi มีไม่เยอะเท่า รูปแบบแท่งเทียนปกติทั่วไป โดยจะมีเพียง 2 รูปแบบเท่านั้น ก็สามารถหาสัญญาณการกลับตัวของราคา คือ

  • Doji
  • Spinning Tops
dojispin

คล้ายกับรูปแบบแท่งเทียนปกติที่ 2 รูปแบบนี้สะท้อนให้เห็นถึง การต่อสู้ระหว่างแรงซื้อและแรงขายที่ยังไม่รู้ว่าใครชนะ ซึ่งมักจะเป็นจุดกลับตัวของรอบการแกว่งตัวนั่นเอง

เมื่อใช้กราฟ Heikin-Ashi เมื่อเกิด Doji หรือ Spinning Tops ยังไม่ได้เป็นตัวยืนยันว่าแนวโน้มต้องเปลี่ยน จะต้องถูกยืนยันการ Breakout ผ่านแนวรับหรือแนวต้านก่อน ถึงจะยืนยันรอบการกลับตัวนั้น 

hashi-catdoji

ตัวอย่างกราฟด้านบน หุ้น CAT 

  1. เกิดแท่งเทียนรูปแบบ Spinning Top ในช่วงขาลง จากนั้นทะลุแนวต้านขึ้นมาก็จริง แต่สุดท้ายเป็นแค่ Failed Break (ไม่มีสัญญาณใดที่สมบูรณ์แบบ) 
  2. เกิด Doji ก่อนในรอบขาลง แล้วจากนั้นทะลุแนวต้านขึ้นมาได้ จากนั้นเข้าสู่รอบการขึ้นเต็มตัว
  3. เกิด Doji ในช่วงปลายของขาขึ้น จากนั้นหลุดแนวรับลงมา เป็นการยืนยันรอบการลง
  4. เกิด Spinning Top ในรอบของขาลง แต่ไม่มีการ Breakout ผ่านแนวต้านขึ้นมา ทำให้การกลับตัวในถูกยืนยัน มีแนวโน้มที่จะลงต่อ

การยืนยันการกลับตัวของราคาเป็นสิ่งสำคัญในการเทรดแท่งเทียน Heiken-Ashi

การตี Trend line ใน Heiken-Ashi

การดูกราฟ Heiken-Ashi ก็สามารถใช้การลากเส้น Trend line ในการหาแนวโน้มของราคาได้เช่นเดียวกัน

Trend line Heiken-Ashi

ตัวอย่างกราฟหุ้น MON 

ราคาฟอร์มตัวในกรอบ Downtrend channel จากนั้นเกิดการ Breakout ผ่านกรอบดังกล่าวขึ้นมา ก็สามารถใช้เป็นสัญญาณการยืนยันการขึ้นรอบใหม่ (จบรอบการพักตัว)

สรุป

Heikin-Ashi ประโยชน์หลักของการใช้งานคือช่วยกรอง Noise ของราคาออกไป และ สามารถบ่งชี้ถึงสัญญาณการกลับตัว ซึ่งนักเทคนิคสามารถใช้เครื่องมืออื่นมาเพิ่มประสิทธิภาพการเทรดจากรูปแบบแท่งเทียนนี้ได้อีกด้วย เช่นการดู Volume, ใช้ Indicator ประกอบ ก็จะยิ่งช่วยให้การเทรดของเราแม่นยำมากยิ่งขึ้น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง