นักลงทุนสามารถใช้อัตราส่วนต่างๆเพื่อประเมินความมั่นคงทางการเงิน, แนวโน้มการดำเนินงาน, และเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมและคู่แข่งได้ อัตราส่วนหลักที่ใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ Leverage Ratios และ Coverage Ratios
ในการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรและกระแสเงินสด นักวิเคราะห์มักดู 4 สิ่งนี้ ได้แก่:
- EBITDA (กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย) เป็นตัวชี้วัดที่นิยมใช้ แต่มีข้อจำกัดคือไม่รวมรายจ่ายลงทุนและการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนหมุนเวียน
- FFO (เงินทุนจากการดำเนินงาน) คล้ายกับกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน แต่ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนหมุนเวียน
- กระแสเงินสดอิสระก่อนจ่ายเงินปันผล คำนวณโดยหักรายจ่ายลงทุนออกจาก FFO
- กระแสเงินสดอิสระหลังจ่ายเงินปันผล แสดงถึงเงินสดที่สามารถนำไปชำระหนี้หรือสะสมในงบดุล
Leverage และ Coverage Ratios
สำหรับ Leverage Ratios ก่อนคำนวณควรปรับปรุงหนี้สินที่รายงานในงบการเงินโดยรวมภาระผูกพันอื่น ๆ เช่น ภาระบำเหน็จบำนาญที่ไม่ได้รับการสนับสนุนเต็มจำนวน และสัญญาเช่าดำเนินงาน Leverage Ratios ที่นิยมใช้ ได้แก่ D/E ratio, อัตราส่วนหนี้สินต่อ EBITDA, อัตราส่วน FFO ต่อหนี้สิน และอัตราส่วนกระแสเงินสดอิสระหลังจ่ายเงินปันผลต่อหนี้สิน
ส่วน Coverage Ratios วัดความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดเพื่อชำระดอกเบี้ย โดยที่นิยมใช้คือ EBITDA ต่อดอกเบี้ยจ่าย และ EBIT ต่อดอกเบี้ยจ่าย ซึ่งอัตราส่วนที่สูงกว่าบ่งชี้ถึงความเสี่ยงด้านเครดิตที่ต่ำกว่า
ตัวอย่างการวิเคราะห์เครดิตบริษัท
ตัวอย่างการวิเคราะห์บริษัท A และ B เทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม พบว่า
A | B | ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม | |
EBIT | 550,000 | 2,250,000 | 1,400,000 |
FFO | 300,000 | 850,000 | 600,000 |
Interest expense | 40,000 | 160,000 | 100,000 |
Total debt | 1,900,000 | 2,700,000 | 2,600,000 |
Total capital | 4,000,000 | 6,500,000 | 6,000,000 |
- อัตราส่วน EBIT ต่อดอกเบี้ยจ่ายของทั้งสองบริษัทใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม
- อัตราส่วน FFO ต่อหนี้สินรวมของ B (31.5%) สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม (23.1%) ในขณะที่ A (15.8%) ต่ำกว่า
- อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อทุนรวมของ A (47.5%) สูงกว่าทั้ง B (41.5%) และค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม (43.3%)
สรุปได้ว่า B มีความน่าเชื่อถือทางเครดิตสูงกว่า A เนื่องจากมีความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเทียบกับระดับหนี้ที่ดีกว่า และมีสัดส่วนการก่อหนี้ที่ต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ที่ดีควรครอบคลุมควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆประกอบด้วย เช่น แนวโน้มของอัตราส่วนเหล่านี้ในอดีต, คุณภาพของสินทรัพย์, และลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมที่บริษัทดำเนินธุรกิจอยู่