Source: https://www.educba.com/public-company-vs-private-company/

จากพาร์ทที่แล้วที่เราอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของธุรกิจประเภทต่างๆ ตั้งแต่กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole proprietorship) ที่มักจะมีขนาดเล็ก ไปจนถึงบริษัทจำกัด (Limited company) และบริษัทมหาชน (Public company) ในบทความนี้เราจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับทั้งบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนกันว่ามีเรื่องอะไรที่เราจำเป็นต้องรู้บ้าง

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนอยู่ที่วิธีการระดมทุน และวิธีการซื้อขายแลกเปลี่ยนหุ้นของเจ้าของบริษัท โดยบริษัทจำกัดสามารถเพิ่มทุนโดยการขายหุ้นใหม่นอกตลาด และสามารถซื้อขายหุ้นกันได้หลังจากที่เจ้าของบริษัทอนุญาต บริษัทจำกัดไม่จำเป็นต้องรายงานงบการเงินออกมาสู่สาธารณะ และองค์กรที่มีหน้าที่กำกับดูแล

การที่บริษัทเอกชนจะกลายมาเป็นบริษัทมหาชนได้ จำเป็นต้องเพิ่มทุนโดยการ Initial public offering (IPO) เพื่อเข้าไปซื้อขายในตลาดหุ้น ซึ่งหลังจากที่หุ้นของบริษัทเข้าไปซื้อขายในตลาดหุ้นแล้ว ผู้ถือหุ้นก็สามารถซื้อขายหุ้นในตลาดได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของบริษัท อย่างไรก็ตามผู้ที่มีหน้าที่กำกับดูแลตลาดหุ้นก็มีการกำหนดให้บริษัทมหาชนต้องรายงานงบการเงินออกมาเป็นงวดๆ เช่น ไตรมาสละครั้ง รวมถึงการระบุข้อมูลการซื้อขายหุ้นของผู้บริหาร

นอกจากเจ้าของกิจการจะสามารถนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นด้วยการ IPO แล้ว ยังมีอีก 2 วิธีที่สามารถนำเข้าได้ ปรกอบด้วย (1) การเข้าตลาดโดยตรง (Direct listing) เป็นการที่ตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้หุ้นสามารถเข้าตลาดได้โดยที่ไม่ต้องทำการเพิ่มทุน (2) การใช้บริษัทที่มีวัตถุประสงค์พิเศษเพื่อการเข้าซื้อกิจการ (Special purpose acquisition company (SPAC)) เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นมาเพื่อที่จะซื้อบริษัทอื่นในอนาคต โดยขั้นแรก SPAC จะเข้าตลาดหุ้นโดยการ IPO จากนั้นก็นำเงินที่ระดมทุนมาได้ไปลงทุนในทรัสต์เพื่อนนำไปซื้อบริษัทต่อไป ซึ่งบริษัทที่ซื้อเข้ามาก็จะอยู่ในตลาดหุ้นโดยอัตโนมัติ

บริษัทมหาชนสามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นบริษัทจำกัดธรรมดาได้ หนึ่งในวิธีการเรียกว่า Leverage buyout (LBO) ซึ่งเป็นการที่นักลงทุนจากภายนอกเข้ามาซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัทไปและนำออกจากตลาดหุ้น และวิธี Management buyout (MBO) ที่ผู้บริหารเป็นคนซื้อหุ้นไป

Source: Gollier, Christian. (2007). The determinants of the insurance demand by firms. 

เจ้าหนี้ (Lenders) และผู้ถือหุ้น (Equity holders) ต่างเสียผลประโยชน์หากบริษัทเกิดล้มละลายขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นจะเป็นผู้ที่รับส่วนแบ่งเป็นกลุ่มสุดท้าย (Residual claim) หลังจากที่เจ้าหนี้เรียกร้องสิทธิไปจนหมดแล้ว ในกรณีที่แย่ที่สุดที่ทั้งเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นไม่ได้รับอะไรคืนเลย จะเสียหายมากที่สุดที่มูลค่าที่แต่ละคนลงทุนไปเท่านั้น

ความต้องการในทิศทางการบริหารบริษัทของเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นมักจะมีความขัดแย้งกัน เนื่องจากเจ้าหนี้จะได้ประโยชน์สูงสุดเพียงแค่การได้รับดอกเบี้ยและเงินต้นคืนตามที่ตกลงเอาไว้ ดังนั้นเจ้าหนี้จึงต้องการใช้ผู้บริหารดำเนินกิจการให้ปลอดภัยที่สุด ตรงกันข้ามกับผู้ถือหุ้นที่มีโอกาสในการรับผลประโยชน์จากกำไรบริษัทไม่จำกัด ผู้ถือหุ้นจึงมีความต้องการให้ผู้บริหารรับเสี่ยงในการสร้างหนี้สินเพิ่มเติมเพื่อให้ผลกำไรของบริษัทมีการเติบโตนั่นเอง

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง