WHY WE SLEEP

สรุปหนังสือ WHY WE SLEEP

นอนเปลี่ยนชีวิต

ไขความลับสุขภาพด้วยวิทยาศาสตร์แห่งการนอน

ภาคที่ 1 ว่าด้วยการนอนหลับ

บทที่ 1 นอนหลับ

ในประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลาย มีผู้ใหญ่ 2 ใน 3 ที่นอนไม่ถึงคืนละ 8 ชั่วโมง การนอนหลับน้อยกว่านี้เป็นประจำ จะทำลายระบบภูมิคุ้มกัน และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งมากกว่า 2 เท่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ มีแนวโน้มที่หลอดเลือดหัวใจจะอุดตันหรือเปราะ ภาวะหัวใจล้มเหลว และเกิดภาวะทางจิต สำคัญ ๆ สารพัดรูปแบบ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล และแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายมิหนำซ้ำคุณภาพชีวิตยังแย่ลงอีกต่างหาก

การอดนอนส่งผลต่อชีวิตได้ใน 2 ประเด็น

1. มีความผิดปกติทางพันธุกรรม เริ่มต้นจากโรคนอนไม่หลับ แล้วรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จะปรากฏในวัยกลางคน หลังจากนอนไม่หลับมาหลายเดือนผู้ป่วยจะหยุดนอนหลับอย่างสิ้นเชิง เมื่อถึงขั้นนี้จะเสียการทำงานพื้นฐานของสมอง และร่างกายไปแล้วไม่น้อย ยาที่มีอยู่ไม่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยหลับได้ หลังจากอดนอนอย่างสิ้นเชิงอยู่ 12-18เดือน ผู้ป่วยจะเสียชีวิต แม้ความผิดปกตินี้จะพบได้น้อย แต่ก็ช่วยยืนยันว่าการอดนอนคร่าชีวิตมนุษย์ได้

2. คือสถานการณ์ที่อันตรายถึงชีวิตอย่างการขับรถยนต์ทั้งที่นอนหลับไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นสาเหตุที่น่าหวั่นวิตก ที่เกิดอุบัติเหตุจากยวดยานพาหนะ มีอัตราสูงกว่าอุบัติเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์และการเสพยารวมกันเสียอีก มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียว ที่จงใจอดนอนโดยเปล่าประโยชน์ สาเหตุส่วนหนึ่งที่สังคมเพิกเฉยต่อการนอนหลับนั้น เป็นเพราะในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาวิทยาศาสตร์ล้มเหลว ที่จะอธิบายว่าทำไมจึงจำเป็นต้องนอนหลับ

การนอนหลับก็ดูเหมือนจะเป็นปรากฏการณ์ทางชีววิทยาที่โง่เขลาที่สุดเสมอ ขณะที่หลับหาอาหารไม่ได้ เข้าสังคมไม่ได้ หาคู่และสืบพันธุ์ไม่ได้ ฟูมฟักหรือปกป้องลูกก็ไม่ได้ ทำร้ายการนอนหลับยังทำให้เสี่ยงต่อการถูกล่าอีกต่างหาก ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการนอนหลับ นับเป็นพฤติกรรมที่น่าฉงนที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์

สิ่งมีชีวิตทุกสปีชีส์ที่ศึกษากันมาจนถึงทุกวันนี้ ล้วนนอนหลับทั้งนั้น ข้อเท็จจริงอันเรียบง่ายนี้เป็นบทพิสูจน์ว่า การนอนหลับมีวิวัฒนาการขึ้นบนดาวเคราะห์ของเราพร้อม ๆ กับสิ่งมีชีวิต การนอนหลับยังให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ได้รับการเยียวยาแบบนี้ซ้ำได้ทุก 24ชั่วโมงอีกด้วย การนอนหลับส่งเสริมการทำงานหลายประการภายในสมอง ซึ่งรวมถึงความสามารถที่จะเรียนรู้จดจำ ตลอดจนตัดสินใจและเลือกอย่างมีเหตุมีผล การนอนหลับส่งผลดีต่อสุขภาพจิต โดยช่วยปรับวงจรสมองส่วนควบคุมอารมณ์ ทำให้รับมือกับความท้าทายทางสังคม และทางจิตใจในวันต่อไปได้อย่างใจเย็น

ทั้งยังเริ่มเข้าใจประสบการณ์การรับรู้ (conscious experience) ที่เข้าถึงยากและเป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดนั่นคือความฝัน การฝันให้ประโยชน์ที่ไม่เหมือนใคร กับทุกสปีชีส์ที่โชคดีพอจะได้มีประสบการณ์นี้ ซึ่งมนุษย์ก็เป็นหนึ่งในนั้น พรสวรรค์เหล่านี้รวมถึงการหลั่งสารเคมีในสมอง ที่ช่วยปลอบประโลมมาบรรเทาความทรงจำอันเจ็บปวด และพื้นที่เสมือนจริงที่สมองผนวกความรู้ในอดีตกับปัจจุบันเข้าด้วยกัน อันเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ตามมา

การนอนหลับเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเพียงอย่างเดียวที่เราทำได้เพื่อตั้งค่าสุขภาพของสมองและร่างกายใหม่ในแต่ละวันเป็นความพยายามต้านทานความตายอย่างดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาของธรรมชาติผู้ให้กำเนิด

บทที่ 2 การสูญเสียและการพัฒนาความสามารถที่จะควบคุมจังหวะการนอนหลับ

ร่างกายของเรารู้ได้อย่างไรว่าถึงเวลานอนแล้ว มีปัจจัย 2 ประการที่กำหนดว่าอยากหลับเมื่อไหร่และอยากตื่นตอนไหน อิทธิพลต่อจิตใจและร่างกายอย่างมหาศาล ปัจจัยแรกคือสัญญาณที่ส่งออกมาจากนาฬิกา 24 ชั่วโมง ซึ่งตั้งอยู่ลึกเข้าไปในสมอง นาฬิกานี้สร้างจังหวะกลางวัน-กลางคืนหมุนเวียนเป็นวัฏจักร ซึ่งทำให้รู้สึกอ่อนเพลียหรือตื่นตัวเป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอ ตอนกลางคืนและกลางวันตามลำดับ

ปัจจัยที่ 2 คือสารเคมีที่สะสมอยู่ในสมองและก่อให้เกิดแรงกระตุ้นให้หลับ ยิ่งตื่นอยู่นานเท่าไหร่แรงกระตุ้นให้หลับจากสารเคมีดังกล่าว จะยิ่งสะสมมากขึ้นส่งผลให้ง่วงนอนยิ่งขึ้น ความสมดุลระหว่างปัจจัยทั้งสองนี่เอง ที่กำหนดว่าจะตื่นตัวและมีสมาธิจดจ่อแค่ไหนในตอนกลางวัน จะรู้สึกอ่อนเพลียและพร้อมเข้านอนเมื่อไหร่ในตอนกลางคืน ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งที่กำหนดว่าจะนอนหลับสนิทแค่ไหนอีกด้วย

สำหรับสัตว์ที่หากินตอนกลางวันเช่นมนุษย์ จังหวะรอบวันจะขับเคลื่อนกลไกทางสมองและร่างกาย ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ตื่น และตื่นตัวอยู่เสมอ จากนั้นกระบวนการเหล่านี้จะค่อย ๆ ผ่อนลงในตอนกลางคืน อิทธิพลที่ทำให้ตื่นตัวจึงจางหายไปด้วย

นับตั้งแต่กำเนิดเครื่องยนต์ไอพ่น ซึ่งเป็นการปฏิวัติวงการขนส่งมวลชนของมนุษยชาติ ซึ่งช่วยให้เดินทางไปที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เครื่องยนต์ชนิดนี้ก่อให้เกิดมหันตภัยทางชีววิทยา ที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ทำให้สามารถพุ่งผ่านเขตเวลาไปอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่นาฬิกาชีวภาพ 24 ชั่วโมงจะตามทันหรือปรับตัวได้ ก่อให้เกิดช่วงรอยต่อของเวลาชีวภาพที่เรียกกันว่าเจ็ตแล็ก ด้วยเหตุนี้จึงรู้สึกอ่อนเพลียและง่วงนอนตลอดตอนกลางวัน เมื่ออยู่ในเขตเวลาที่ห่างไกล เพราะนาฬิกาชีวภาพยังคิดว่าเป็นเวลากลางคืน และปรับตัวตามไม่ทัน มิหนำซ้ำเมื่อถึงตอนกลางคืนมักนอนไม่หลับหรือหลับหลับตื่น ๆ เพราะคราวนี้นาฬิกาชีวภาพดันเชื่อว่าเป็นเวลากลางวัน

จากผลกระทบแสนอันตรายเหล่านี้ คนที่ต้องเผชิญกับอาการเจ็ตแล็กบ่อย ๆ ซึ่งรวมถึงนักบินและพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน จึงอยากจำกัดความทุกข์ทรมานลักษณะนี้ให้น้อยลง บ่อยครั้งที่พวกเขาพึ่งเมลาโทนินชนิดเม็ด เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าว ด้วยเหตุนี้สมองจึงถูกหลอกให้เชื่อว่าเป็นเวลากลางคืนแล้ว และเล่ห์กลที่อาศัยสารเคมีนี้ก็ช่วยส่งสัญญาณว่าได้เวลานอนหลับ แม้จะยังเป็นเรื่องยากที่จะกระตุ้นให้หลับลงได้ในเวลาที่ผิดปกติ สัญญาณบอกเวลาดังกล่าวก็เพิ่มแนวโน้มที่จะนอนหลับได้มากทีเดียว เมื่ออยู่ในสภาวะที่มีอาการเจ็ตแล็กเช่นนี้

สัญญาณที่บอกเวลากลางวันและกลางคืนซ้ำแล้วซ้ำเล่าไปยังสมองและร่างกาย โดยอาศัยผู้นำสารที่เรียกว่าเมลาโทนี (melatonin) ซึ่งจะไหลเวียนไปยังส่วนต่าง ๆ เมลาโทนินยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ ด้วยซึ่งรวมถึงฮอร์โมนแห่งความมืดและฮอร์โมนแวมไพร์ คำสั่งจากนิวเคลียสซูพราไคแอสเมติก (Suprachiasmatic Nucleus : SCN) จะส่งผลให้เมลาโทนินเริ่มเพิ่มระดับขึ้นหลังพลบค่ำไม่นานนัก โดยหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดจากต่อมไพเนียล (pineal gland) อันเป็นบริเวณที่อยู่ลึกเข้าไปทางด้านหลังสมอง เมลาโทนินทำหน้าที่เหมือนโทรโข่งทรงพลัง ที่ตะโกนบอกสมองและร่างกายเสียงดังฟังชัดว่ามืดแล้ว เมื่อบอกถึงเวลากลางคืนพร้อมกับคำสั่งทางชีววิทยาให้เตรียมตัวเข้านอน

กระตุ้นให้หลับ สารเคมีที่เรียกว่าอะดีนูซีน (adenosine) กำลังสะสมในสมองมันจะเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ทุกนาทีที่ผ่านไปในขณะที่ตื่นอยู่ ยิ่งตื่นอยู่นานเท่าไหร่ก็ยิ่งมีอดีโนซีนสะสมมากเท่านั้น ผลลัพธ์อย่างหนึ่งของปริมาณอะดีโนซีนที่เพิ่มขึ้นในสมองคือ จะรู้สึกอยากนอนหลับมากขึ้น นี่คือสิ่งที่รู้จักกันในนามแรงกระตุ้นให้หลับ ที่คอยกำหนดช่วงเวลาที่จะรู้สึกง่วงและควรเข้านอน

สามารถปิดสัญญาณนอนหลับของอะดีโนซีนโดยอาศัยสารเคมีที่ทำให้รู้สึกตื่นตัว และตื่นเต้นเต็มที่ยิ่งขึ้น นั่นคือคาเฟอีน ซึ่งไม่ใช่อาหารเสริม แต่เป็นสารกระตุ้นจิตประสาทที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดในโลก เป็นสินค้าที่ซื้อขายกันมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากน้ำมันด้วย อาจมีคู่แข่งเพียงอย่างเดียวคือแอลกอฮอล์ คาเฟอีนทำงานได้โดยเข้าแย่งการยึดครองตำแหน่งรับ หรือตัวรับอะดีโนซีนในสมอง คาเฟอีนจะขัดขวางและทำให้ตัวรับหยุดทำงานอย่างสิ้นเชิง โดยทำหน้าที่เป็นศาลกำบังเหมือนกับการอุดหูไม่ให้ได้ยินเสียงนั่นเอง

การนอนหลับอย่างเพียงพอเป็นประจำ มีหลักการง่าย ๆ ให้ยึดถือโดยตอบคำถามเรียบง่าย 2 ข้อ ข้อแรกหลังจากตื่นนอนตอนเช้า สามารถกลับไปนอนต่อได้อีกในช่วง 10 ถึงหรือ 11โมงหรือไม่ ถ้าคำตอบคือได้ก็มีแนวโน้มว่านอนหลับไม่เพียงพอในแง่ปริมาณและหรือคุณภาพ ข้อ 2 ทำงานต่าง ๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องพึ่งคาเฟอีนก่อนเที่ยงวันหรือเปล่า ถ้าคำตอบคือไม่ได้ ก็เป็นไปได้มากว่ากำลังเยียวยาตัวเอง จากภาวะอดนอนเรื้อรังอยู่ โดยทั่วไปแล้วความรู้สึกไม่สดชื่นที่บังคับให้คนเราต้องนอนต่อตอนสาย หรือต้องอาศัยคาเฟอีนช่วยกระตุ้นให้ตื่นตัว มักเป็นเพราะพวกเขาไม่ให้โอกาสตัวเองได้นอนหลับอย่างเพียงพอ

บทที่ 3 คำนิยามของการนอนหลับและการนอนหลับเกิดขึ้นได้อย่างไร

สัญญาณของการหลับ คนเราต่างเชี่ยวชาญการสังเกตสัญญาณต่าง ๆ ที่สื่อว่าใครอีกคนกำลังหลับอยู่ สัญญาณเหล่านี้เชื่อถือได้แม่นยำ มีลักษณะที่สังเกตได้ชุดหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้การนอนหลับในมนุษย์และสัตว์อื่น ๆ คือ

ประการแรกสิ่งมีชีวิตที่กำลังหลับ มีท่าทางที่เป็นแบบฉบับคล้ายคลึงกันในสัตว์บก ท่านอนมักอยู่ในแนวราบ

ประการที่ 2 ซึ่งเกี่ยวข้องกันก็คือ สิ่งมีชีวิตที่กำลังหลับจะมีความตึงตัวของกล้ามเนื้อต่ำลง ลักษณะดังกล่าวเห็นได้ชัดที่สุด จากการคลายตัวของกล้ามเนื้อโครงร่าง ที่ช่วยคงรูปภาพร่างท่าทาง ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ทำให้ทรงตัวอยู่ตรง อยู่ได้ และไม่ล้มลงไปกองกับพื้น เมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้คลายความตึงตัวลงระหว่างการหลับตื้น และตามมาด้วยตามหลับลึก ร่างกายจะโน้มงอลง สิ่งมีชีวิตที่หลับอยู่จะพาดตัวไปบนอะไรก็ตาม ที่รองรับมันอยู่เบื้องล่าง

ประการที่ 3 คนที่หลับอยู่จะไม่แสดงออกถึงการสื่อสาร หรือการโต้ตอบที่ชัดเจน

ประการที่ 4 ย้อนกลับไปสู่ตอนตื่นได้อย่างง่ายดาย ซึ่งทำให้มันแตกต่างจากภาวะโคม่า ภาวะสลบ การจำศีลและความตาย

ประการที่ 5 การนอนหลับยึดโยงกับรูปแบบเวลาที่แน่นอนตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งสั่งการโดยจังหวะรอบวันจากนิวเคลียสซูพราไคแอสเมติก ที่เปรียบเสมือนเครื่องให้จังหวะในสมอง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตอนหลับจะไม่สามารถเชื่อมโยงกับเวลาได้ โดยรู้สึกตัว แต่ในระดับที่ไม่รู้สึกตัวนั้น สมองยังคงบันทึกเวลาอย่างเที่ยงตรงเหลือเชื่อ มั่นใจได้ว่าคงเคยมีประสบการณ์ที่จำเป็นต้องตื่นในเวลาที่เฉพาะเจาะจง ในเช้าวันรุ่งขึ้นตัวอย่างเช่น บางทีอาจต้องไปให้ทันเที่ยวบินในตอนเช้าตรู่ก่อนเข้านอน จึงตั้งนาฬิกาให้ปลุกตอน 6 โมงเช้า แต่กลับตื่นขึ้นมาตอน 5:58 น. ก่อนที่นาฬิกาจะปลุกพอดิบพอดีราวกับปฏิหาริย์ โดยไม่ต้องพึ่งตัวช่วยใด ๆ เลยด้วยซ้ำ ทั้งหมดนี้ทำงานอยู่ภายใต้สติสัมปชัญญะ โดยจะปรากฏขึ้นต่อเมื่อจำเป็นเท่านั้น

มนุษย์ไม่ได้หลับไปเฉย ๆ แต่ไหลเวียนไปในการหลับ 2 แบบที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยอาศัยลักษณะลูกตาเป็นตัวบ่งชี้ อันได้แก่การหลักที่ไม่มีการกรอกตาอย่างรวดเร็ว หรือ NREM (non rapid eye movement) การหลับที่มีการกรอกตาอย่างรวดเร็ว หรือ REM (rapid eye movement) ได้มีการแบ่งการหลับแบบ NREM ออกเป็นระยะย่อย ๆ อีก 4 ระยะ โดยตั้งชื่อว่า NREM ระยะที่ 1-4 โดยแบ่งตามระดับความลึกที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นระยะที่ 3 และ 4 จึงเป็นการหลักแบบ NREM ที่ลึกที่สุด ที่จะมีได้โดยคำจำกัดความของความลึกที่ว่านี้ มีที่มาจากระดับความยากที่เพิ่มขึ้น เมื่อต้องการปลุกใครสักคนให้ตื่น จากการหลับแบบ NREM ระยะที่ 3 และ 4 เมื่อเทียบกับการหลับแบบ NREM ระยะที่ 1 หรือ 2

วัฏจักรการหลับ

การหลับทั้ง 2 ระยะอันได้แก่ NREM และ REM จะคอยแย่งกันควบคุมสมองซ้ำแล้วซ้ำเล่าไปตลอดทั้งคืน ในระหว่างการหลับทั้งสองระยะนี้ จะมีการครอบงำสมองทุก ๆ 90 นาที การหลับแบบ NREM เป็นฝ่ายคุมก่อน จากนั้นการหลับแบบ REM ก็ได้คุมต่อ ยุติลงได้ไม่ทันไรก็เริ่มใหม่อีกครั้ง เป็นเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าไปทุก ๆ 90 นาที วัฏจักร 90 นาที ส่วนใหญ่เป็นการหลับแบบ NREM และมีการหลับแบบ REM เพียงช่วงสั้น ๆ เท่านั้น การหลับนั้นจำเป็นต่อการปรับโครงสร้าง และปรับปรุงวงจรประสาทอย่างชาญฉลาดในช่วงกลางคืน ซึ่งจะช่วยจัดการพื้นที่จัดเก็บอันจำกัดภายในสมองไปในตัว

ก่อนเข้านอน กิจกรรมทางสมองขณะตื่นจะดูสับสนอลหม่าน ซึ่งเรียกว่ากิจกรรมทางสมองแบบความถี่สูง อีกทั้งคลื่นสมองยังไม่มีรูปแบบที่แน่นอน และยังไม่สม่ำเสมอด้วย รูปแบบกิจกรรมของสมองเหล่านั้นจะแตกต่างจากรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งตื่นอยู่จึงมีสติสัมปชัญญะในภาวะหนึ่ง ไม่มีสติสัมปชัญญะในอีกภาวะหนึ่ง และมีสติสัมปชัญญะลวง ๆ ในภาวะที่สาม เมื่อเข้านอนแรกทีเดียวจะเข้าสู่เขตหลับตื้นแบบ NREM ในระยะที่ 1 และ 2 จากนั้นจะเข้าสู่เขตหลับลึกขึ้น ของการหลับแบบ NREM ระยะที่ 3 และ 4 ซึ่งเรียกรวมกันว่าการหลับแบบคลื่นช้า (slow wave sleep) กิจกรรมคลื่นสมองขณะหลับแบบ REM กลับเป็นกิจกรรมคลื่นสมองขณะตื่นตัว และมีสมาธิจดจ่อระหว่างนอนหลับแบบ REM มีสมองบางส่วนที่กระฉับกระเฉง กว่าตอนตื่นถึง 30%  ด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ การหลับแบบ REM จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การหลับแบบย้อนแย้ง กล่าวคือสมองดูเหมือนตื่นอยู่แต่ร่างกายนั้นเห็นได้ชัดว่ากำลังหลับ รายละเอียดเกี่ยวกับการนอนหลับแบบ REM ได้แก่เหตุผลอันเป็นที่มาของชื่อเรียกนั่นคือ การกรอกตาอย่างรวดเร็วและสอดคล้องกัน ตาจะอยู่ในเบ้าตานิ่ง ๆ ระหว่างหลับลึกแบบ NREM ทว่าเมื่อเริ่มฝันระหว่างการหลับแบบ REM จะมีช่วงที่ลูกตาพุ่งอย่างรวดเร็วจากซ้ายไปขวาซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่อย่างนั้น การเคลื่อนไหวรัวเร็วของลูกตาในลักษณะนี้ สอดคล้องกับภาพเหตุการณ์ที่ประสบพบเจอในฝัน แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น การเคลื่อนไหวของลูกตาเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิด กับขั้นตอนที่ก่อให้เกิดการหลับแบบ REM ในทางสรีรวิทยาต่างหากทั้งยังสะท้อนถึงสิ่งที่พิเศษมากขึ้น ยิ่งกว่าการรับรู้ถึงวัตถุที่เคลื่อนที่อยู่ในฝันอีกด้วย

บทที่ 4 เราหลับอย่างไรและหลับมากแค่ไหน

สัตว์ทุกสปีชีส์ที่ศึกษากันจนถึงทุกวันนี้ ล้วนแล้วแต่นอนหลับ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งที่คล้ายการนอนหลับอย่างน่าทึ่งโดยไม่มีข้อยกเว้น เมื่อย้อนเวลาเชิงวิวัฒนาการกลับไปไกลยิ่งขึ้น ค้นพบว่าสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่เรียบง่ายที่สุด ที่มีชีวิตอยู่นานกว่า 24 ชั่วโมง เช่น แบคทีเรียมีช่วงกระฉับกระเฉงและเฉยชา ซึ่งสอดคล้องกับวัฏจักรสว่าง-มืดบนดาวเคราะห์ของเรา นี่คือแบบแผนที่ทุกวันนี้ที่เชื่อว่าเป็นต้นแบบจังหวะรอบวันของเราเอง รวมทั้งการตื่นและการหลับที่มากับจังหวะดังกล่าว

การหลับมีมาแต่โบราณการแล้วโดยปรากฏขึ้นพร้อม ๆ กับสิ่งมีชีวิตรูปแบบแรกสุดที่ดำรงอยู่บนโลก การหลับยังคงเป็นสายใยร่วมที่ยึดโยงสัตว์ทุกตัว ในอาณาจักรสัตว์ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน แต่ไม่ใช่ว่าสัตว์ทุกสปีชีส์จะมีประสบการณ์การหลับครบทุกระยะ ทุกสปีชีส์ล้วนมีการหลับแบบ NREM หรือระยะไม่ฝัน อย่างไรก็ดีสัตว์ส่วนใหญ่ไม่ได้แสดงสัญญาณที่ชัดเจนของการหลับแบบ REM ซึ่งเกี่ยวข้องกับการฝันในมนุษย์ มีเพียงนกกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งปรากฏขึ้นในระยะหลังของแผนผังวิวัฒนาการของอาณาจักรสัตว์เท่านั้นที่มีการหลับแบบ REM  เต็มรูปแบบ นั่นแสดงว่าการหลับฝันเป็นน้องใหม่ในวิวัฒนาการ ดูเหมือนการหลับแบบ REM จะปรากฏขึ้น เพื่อส่งเสริมหน้าที่บางอย่างซึ่งการหลับแบบ NREM เพียงอย่างเดียวทำไม่ได้ หรือเป็นสิ่งที่การหลับแบบ REM ทำได้ดีกว่า

วิถีการนอนหลับของมนุษย์ไม่ได้เป็นไปตามที่ธรรมชาติตั้งใจไว้ ทั้งจำนวนช่วงที่นอนหลับ ระยะเวลาที่นอนหลับ และช่วงเวลาที่นอนหลับ ล้วนถูกบิดเบือนไปแทบทั้งสิ้น อันเป็นผลจากความเป็นสมัยใหม่นั่นเอง ทุกวันนี้ผู้ใหญ่ส่วนมากทั่วทั้งกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว นอนหลับแบบช่วงเดียว (monophasic) สังคมสมัยใหม่แยกเราจากการนอนหลับสองช่วง ซึ่งเป็นสิ่งที่กำหนดไว้ให้มาแต่ไหนแต่ไร ไม่ว่าอย่างไรรหัสพันธุกรรมของเรา ก็ยังพยายามจะจุดประกายการนอนหลับลักษณะนี้อีกครั้ง ทุก ๆ บ่ายมนุษย์เราแยกจากการนอนหลับสองช่วงนี้พร้อม ๆ กับที่เราเปลี่ยนจากการยังชีพด้วยเกษตรกรรม มาสู่การยังชีพด้วยอุตสาหกรรม

การนอนหลับแบบสองช่วงที่แท้จริงซึ่งมีหลักฐานทางมนุษยวิทยา ชีววิทยาและพันธุศาสตร์รองรับ  และยังตรวจวัดได้ในมนุษย์ทั้งหลายตราบจนปัจจุบันคือ รูปแบบที่ประกอบไปด้วยการนอนหลับอย่างต่อเนื่องยาวนานในตอนกลางคืน ตามด้วยการงีบหลับเป็นช่วงสั้น ๆ ตอนบ่าย การนอนหลับจึงเข้มข้นกล่าวคือ กินเวลาสั้นลงและต่อเนื่องยิ่งขึ้น ทั้งยังอัดแน่นด้วยการหลับคุณภาพสูง ซึ่งไม่ใช่แค่การหลับประเภทใดก็ได้ แต่เป็นการหลับแบบ REM ที่เอิบอาบไปทั่วสมอง จึงช่วยทวีความซับซ้อนและเพิ่มการเชื่อมต่ออย่างรวดเร็ว

สัตว์บางสปีชีส์มีการหลับแบบ REM รวมกันนานกว่า แต่ไม่มีสปีชีส์ใดที่เดินเครื่องยกระดับ และจัดเต็มเรื่องปริมาณการหลับแบบ REM ในสัดส่วนมากถึงเพียงนี้ให้กับสมองที่ซับซ้อน และเชื่อมต่อกันอย่างรุ่มรวยอย่างเช่นที่ชาวโฮโม เซเปี้ยนทำ ควรถือว่าความสามารถอันล้ำเลิศของสมองส่วนควบคุมอารมณ์ ซึ่งได้จากการหลับแบบ REM นั้น มีอิทธิพลต่อการกำหนดความสำเร็จของโฮมินิดอย่างเรา ๆ มากกว่าประโยชน์  อย่างการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ จึงอยู่ที่ว่าความคิดสร้างสรรค์คือ เครื่องมืออันทรงพลังในเชิงวิวัฒนาการ แต่ก็เป็นเครื่องมืออยู่กับปัจเจกบุคคลเป็นส่วนใหญ่ นอกเสียจากว่าจะสามารถแบ่งปันวิธีการ และสร้างสรรค์ปัจเจกบุคคล ที่มุ่งเน้นประโยชน์ส่วนรวม และเปี่ยมล้นด้วยอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่การหลับแบบ REM ส่งเสริมให้เกิดขึ้น มีแนวโน้มสูงมากในความคิดสร้างสรรค์ จะจำกัดอยู่กับปัจเจกบุคคลมากกว่าจะแพร่หลายสู่มวลชน ถึงตอนนี้คงตระหนักถึงสิ่งที่เชื่อว่า เป็นวัฏจักรวิวัฒนาการเชิงบวก ที่สมบูรณ์ด้วยตัวมันเอง

บทที่ 5 การนอนหลับที่เปลี่ยนไปในช่วงชีวิต

การหลับก่อนลืมตาดูโลก การที่ทารกขยับแขนและเตะขาพร้อมกันอย่างที่แม่รู้สึกได้นั้น น่าจะเป็นผลจากกิจกรรมในสมองที่พุ่งสูงขึ้นโดยไม่มีรูปแบบแน่ชัด อันเป็นลักษณะทั่วไปของการหลับแบบ REM  สมองของทารกซึ่งพัฒนาไม่เต็มที่ ยังไม่ได้สร้างระบบขัดขวางการขยับตัว ของกล้ามเนื้อขนาดหลับแบบ REM  ขึ้นมาอย่างที่ผู้ใหญ่มีระบบระดับลึกอื่น ๆ ในสมองทารกก็พร้อมทำงานแล้ว ซึ่งรวมถึงระบบที่ทำให้นอนหลับด้วย

การหลับแบบ REM ไม่ใช่สิ่งที่จะเลือกทำหรือไม่ทำก็ได้ในช่วงแรกของชีวิตมนุษย์ แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำทุกชั่วโมงที่หลับแบบ REM ดูจะมีความสำคัญ ดังจะเห็นได้จากความพยายามอย่างยิ่งยวดของทารกในครรภ์ หรือทารกเกิดใหม่เพื่อฟื้นฟูการหลับแบบ REM  ที่ขาดหายไปให้กลับคืนมา น่าเสียดายที่ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ว่าอะไรคือผลกระทบระยะยาว หากการหลับแบบ REM  ของทารกในครรภ์ หรือทารกเกิดใหม่ถูกรบกวน ไม่ว่าจากแอลกอฮอล์หรือสาเหตุอื่นก็ตาม รู้แต่เพียงว่าการขัดขวาง หรือลถทอนการหลับแบบ REM  ในสัปดาห์แรกเกิด จะยับยั้งและบิดเบือนพัฒนาการของสมอง ทำให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความผิดปกติทางสังคม

การหลับในวัยเด็กทารกและเด็กเล็กนอนหลับหลายช่วงโดยประกอบไปด้วยการหลับเป็นช่วงสั้น ๆ หลายช่วงตลอดทั้งวันทั้งคืน ช่วงที่ตื่นหลายช่วงสูงมาก มาพร้อมเสียงร้องงอแงควบคู่กัน เมื่อพัฒนามาได้ 1 ปี นาฬิกานิวเคลียสซูพราไคแอสเมติกของทารก ก็ควบคุมจังหวะรอบวันได้แล้ว นั่นหมายความว่าบัดนี้เด็กจะตื่นตอนกลางวันมากขึ้น คั่นด้วยช่วงงีบหลับหลาย ๆ ครั้ง และหลับตอนกลางคืนมากกว่าเดิม การสร้างจังหวะอันคงที่อย่างค่อยเป็นค่อยไปนี้ ซ่อนเร้นบางสิ่งที่สับสนหลายเท่า นั่นคือการแย่งควบคุมระหว่างการหลับแบบ NREM กับ REM  แม้ปริมาณการหลับโดยรวมจะค่อย ๆ ลดลงตั้งแต่ลืมตาดูโลก โดยมีแบบแผนชัดเจนและคงที่ขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าว่าสัดส่วนเวลาที่เด็กนอนหลับ กลับไม่ได้ลดลงอย่างคงที่ตามไปด้วย

ในช่วงเวลา 14 ชั่วโมงที่ทารกวัย 6 เดือนนอนหลับสนิทในแต่ละวัน จะแบ่งเป็นช่วงที่หลับแบบ NREM กับ REM อย่างละครึ่ง ขณะที่เด็กวัย 5 ขวบจะหลับแบบ NREM กับ REM ในสัดส่วน 70 ต่อ 30 จากเวลา 11 ชั่วโมง ที่พวกเขานอนหลับในแต่ละวัน กล่าวอีกในหนึ่งคือสัดส่วนการหลับแบบ REM  ลดลงในช่วงวัยเด็กตอนต้น และขณะที่สัดส่วนการหลับแบบ NREM  เพิ่มขึ้น แม้ว่าระยะเวลาโดยรวมที่เด็กนอนหลับจะลดลงก็ตาม สัดส่วนการหลับแบบ REM  จะลดลงตลอดช่วงวัยเด็กตอนต้นและตอนกลาง ในที่สุดสมดุลนี้จะคงที่โดยสัดส่วนการหลับแบบ NREM กับ REM จะอยู่ที่ระดับ 80-20

การหลับในวัยรุ่น สมองมนุษย์เผชิญกับการแปลงโฉมที่อาศัยการใช้งานเป็นเกณฑ์ในทำนองเดียวกันนี้ ในช่วงวัยเด็กตอนปลายและวัยรุ่นโครงสร้างเดิมที่วางไว้ในช่วงแรกของชีวิต จะยังคงอยู่เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเมื่อถึงตอนนี้ ธรรมชาติได้เรียนรู้ที่จะสร้างการเชื่อมต่อขั้นแรกของสมอง ที่ค่อนข้างเที่ยงตรงหลังจากความพยายามนับพันล้านครั้ง ในช่วงหลายพันปีของวิวัฒนาการ แต่ในระหว่างกระบวนการปั้นแต่งสมองโดยรวม ได้ละเว้นบางอย่างไว้อย่างชาญฉลาด นั่นคือการขัดเกลาให้มีลักษณะเฉพาะตัว ประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใครของเด็กคนหนึ่ง ในช่วงพัฒนาการปีแรก ๆ จะแปลงเป็นสถิติการใช้งานส่วนบุคคล และประสบการณ์หรือสถิติเหล่านั้น จะกลายเป็นพิมพ์เขียวที่สั่งทำพิเศษ สำหรับการปรับแต่งสมองขั้นสุดท้าย โดยใช้ประโยชน์จากโอกาสที่ธรรมชาติเปิดค้างไว้ ให้สมองที่เหมือนกันไปหมด จึงเริ่มมีลักษณะเฉพาะตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีพื้นฐานจากการใช้งานส่วนบุคคลของเจ้าของสมองนั่นเอง พ่อแม่มักพวงเกินกว่าเหตุว่าการนอนหลับทำให้วัยรุ่นขาดอะไรไปบ้าง โดยไม่ฉุกคิดว่ามันอาจเพิ่มเติมอะไรให้พวกเขาได้บ้าง

การหลับในวัยกลางคน วัยชรา และผู้สูงวัย ต้องการการนอนหลับมากพอ ๆ กับในช่วงวัยกลางคน แต่เพียงแต่พวกเขานอนหลับได้ยากขึ้น แม้จะหลับได้น้อยลง แต่ผู้สูงวัยก็ให้ข้อมูลว่าต้องการ และอันที่จริงก็พยายามที่จะนอนหลับให้ได้เท่ากับคนหนุ่มสาว ตระหนักว่ากระดูกของพวกเขาเสื่อมสภาพไปตามวัย เช่นเดียวกับศูนย์ควบคุมทั้งหลายในสมอง ทำหน้าที่ผลิตการนอนหลับ ยอมรับว่าการเสื่อมสภาพนี้เป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพมากมาย ควรยอมรับและดูแลการนอนหลับที่ถูกต้องในผู้สูงวัย โดยยอมรับว่าอันที่จริงพวกเขาต้องการนอนหลับมากพอ ๆ กับผู้ใหญ่ในช่วงวัยอื่น ๆ ความจริงแล้วผู้สูงวัยอาจต้องการการนอนหลับ มากกว่าที่พวกเขาจะรับได้เองตามธรรมชาติ เพราะพวกเขาได้ประโยชน์จากคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้น แม้จะมาจากวิธีที่ไม่เป็นธรรมชาติก็ตาม หากผู้สูงวัยไม่ได้ต้องการการหลับลึกมากกว่านี้ พวกเขาก็น่าจะพึงพอใจแล้ว และไม่ได้รับประโยชน์เพิ่มเติมแม้จะได้หลับลึกมากขึ้น เพราะว่าพวกเขากลับได้ประโยชน์จากการหลับที่เพิ่มขึ้น หรือพูดให้ถูกก็คือการหลับที่ฟื้นฟูกลับมา

ภาคที่ 2 เหตุใดเราจึงควรนอนหลับ

บทที่ 6 การนอนหลับมีประโยชน์ต่อสมองอย่างไร

การหลับไม่ใช่แค่ช่วงที่การตื่นหายไป แต่มีอะไรมากกว่านั้น การหลับตอนกลางคืนของเราคือระยะต่าง ๆ อันเป็นเอกลักษณ์ ที่เรียงลำดับกันอย่างจงใจ มีรายละเอียดซับซ้อนอย่างยิ่ง และกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญ การนอนหลับนั้นคอยฟื้นฟูและเป็นตัวกำหนดการทำหน้าที่หลายอย่างของสมอง ไม่มีการหลับแบบใดแบบหนึ่งที่ทำได้ครบถ้วนทุกอย่าง การหลับแต่ละระยะไม่ว่าจะเป็นการหลับตื้นแบบ NREM การหลับลึกแบบ NREM หรือการหลับแบบ REM ล้วนให้ประโยชน์ที่แตกต่างกันไปต่อสมอง ในแต่ละช่วงเวลายามค่ำคืน ดังนั้นจึงไม่มีการหลับแบบใดจำเป็นกว่าการหลับแบบอื่น หากสูญเสียการหลับแบบใดแบบหนึ่งดังกล่าวมานี้ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อสมอง ในบรรดาประโยชน์มากมายของการหลับที่มีต่อสมอง ประโยชน์ด้านความจำนั้นน่าทึ่งเป็นพิเศษ และเป็นแง่มุมที่ผู้คนเข้าใจกันดี การหลับได้พิสูจน์ตัวเองว่าเป็นตัวช่วยเรื่องความจำ ทั้งในช่วงก่อนการเรียนรู้เพื่อเตรียมสมอง ให้พร้อมเริ่มสร้างความจำใหม่ และในช่วงหลังการเรียนรู้เพื่อผลิตความจำเหล่านั้น ให้แนบแน่นและป้องกันไม่ให้ลืม

หลับให้ลืม ในบางบริบทความสามารถที่จะลืมก็สำคัญพอ ๆ กับความจำเป็นต้องจดจำ ไม่ว่าจะในชีวิตประจำวัน เช่น ลืมจุดจอดรถเมื่อสัปดาห์ก่อน เพื่อจดจำจุดจอดในวันนี้แทน ยิ่งไปกว่านั้น การลืมไม่เพียงมีประโยชน์ในการลบข้อมูลที่เก็บไว้ ซึ่งเราไม่ต้องการอีกต่อไป แต่ยังช่วยลดระดับทรัพยากรในสมองที่เราจำเป็นต้องใช้ เพื่อเรียกคืนความจำที่เราต้องการเก็บรักษาไว้ การนอนหลับช่วยเก็บรักษาทุกสิ่งที่ต้องการ และไม่เก็บสิ่งที่ไม่ต้องการ ทำให้ระลึกความจำได้ง่ายขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าการลืมคือราคาที่เราต้องจ่ายเพื่อแลกกับการจำนั่นเอง

ประโยชน์ของการนอนหลับสำหรับความจำประเภทอื่น การเรียนรู้การเคลื่อนไหวและกิจกรรมทางกายภาพทั่วไป ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตตั้งแต่เรื่องธรรมดา ๆ ไปจนถึงเรื่องสำคัญยิ่ง ดังนั้นจึงยังต้องการและพึ่งพาการหลับแบบ NREM เพื่อปรับปรุงและบำรุงรักษาทักษะการเคลื่อนไหวเหล่านั้น สิ่งที่น่าสนใจสำหรับบรรดาพ่อแม่คือ ในชีวิตมนุษย์ทุกคนช่วงเวลาที่เราจะได้เรียนรู้ การเคลื่อนไหวแบบใช้ทักษะอย่างเข้มข้นที่สุดคือ ช่วงปีแรกแรกหลังคลอดซึ่งเราเริ่มยืนและเดิน จึงไม่น่าแปลกใจที่เราพบว่าการหลับแบบ NREM ระยะที่ 2 ที่ทารกเริ่มเปลี่ยนจากคลานไปเป็นหัดเดิน มีหลายอย่างที่การนอนหลับทำได้ แต่ในวงการแพทย์ปัจจุบันทำไม่ได้ ตราบใดที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ ก็ควรใช้เครื่องมือดูแลสุขภาพอันทรงพลังอย่างการนอนหลับให้เป็นประโยชน์ ต่อการรักษาผู้ป่วยให้หายจากความป่วยไข้

ประโยชน์ของการนอนหลับในด้านความคิดสร้างสรรค์ ประโยชน์ประการสุดท้ายของการนอนหลับ ที่ส่งผลต่อความจำอาจเป็นแง่มุมที่น่าทึ่งที่สุดก็ว่าได้ การนอนหลับสร้างโรงละครยามค่ำคืน ที่สมองจะได้ทดสอบและเชื่อมต่อชุดข้อมูลขนาดใหญ่ งานนี้เกิดขึ้นได้โดยอาศัยอัลกอริทึมอันแปลกประหลาด ซึ่งมีแนวโน้มจะมองหาความเชื่อมโยงให้ห่างไกล และไม่ชัดเจนเอาเสียเลยคล้ายกับด้านตรงข้ามของการสืบค้นด้วย google นั่นเอง สมองขณะหลับจะหลอมรวมชุดความรู้ที่แตกต่างเข้าด้วยกัน ซึ่งส่งเสริมให้เกิดความสามารถในการแก้ปัญหาอันน่าทึ่ง อย่างที่สมองขณะตื่นไม่มีวันพยายามทำด้วยซ้ำ อาจไม่แปลกใจที่รู้ว่ามันเกิดขึ้นระหว่างภาวะฝัน ซึ่งก็คือการหลับแบบ REM นั่นเอง ข้อมูลซึ่งการหลับฝันในระยะ REM บันดาลขึ้นนี้ ได้นำไปสู่แนวคิดอันเป็นผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบางประการ ซึ่งนับเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ

บทที่ 7 การอดนอนกับสมอง

การนอนหลับไม่เพียงพอฆ่าคนเราได้หลายทาง บ้างก็ใช้เวลา บ้างก็ฉับไวกว่านั้นมาก การทำหน้าที่ของสมองอย่างหนึ่งที่พังพินาศได้ แม้จะอดนอนเพียงเล็กน้อยคือการตั้งสมาธิ ผลลัพธ์ทางสังคมที่มีอันตรายถึงตาย อันเนื่องมาจากเราไม่สามารถตั้งสมาธิได้นั้น ปรากฏชัดเจนที่สุดและเป็นอันตรายถึงชีวิตมากที่สุดในโลก การขับรถขณะง่วงนอนมีตัวการหลัก ๆ 2 ประการที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการขับรถขณะง่วงนอน

ประการแรกคือ คนขับผล็อยหลับคาพวงมาลัย อย่างไรก็ดีนี่ไม่ใช่สาเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และคนผู้นั้นมักจะต้องอดนอนอย่างหนักคือ การถ่างตาตื่นมาไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมง

ประการที่ 2 ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยกว่าคือ การเสียสมาธิชั่วคราวหรือที่เรียกว่าภาวะหลับใน (microsleep) ภาวะดังกล่าวจะกินเวลาเพียงไม่กี่วินาที โดยในระหว่างนั้นเปลือกตาอาจปิดลงมาบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้ ภาวะนี้มักเกิดขึ้นกับคนที่ได้นอนหลับอย่างจำกัดเรื้อรัง โดยมีคำจำกัดความว่านอนหลับน้อยกว่าคืนละ 7 ชั่วโมงเป็นประจำ

ความไร้เหตุผลทางอารมณ์ การนอนหลับไม่เพียงพอส่งผลร้ายต่ออารมณ์ของเรา หรือแม้กระทั่งสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ของคนอื่น ๆ ด้วยหากนอนหลับไม่เต็มอิ่มในคืนก่อนหน้า จะนำไปสู่ท่าทีบูดบึ้ง และปฏิกิริยาเจ้าอารมณ์ในวันต่อมา แม้ว่าปรากฏการณ์ที่มักใช้อารมณ์อย่างไร้เหตุผล หลังจากอดนอนเป็นความรู้สึกที่ผู้คนมักพูดถึงกันบ่อย ๆ การอดนอนมีอิทธิพลต่อสมองส่วนควบคุมอารมณ์ในระดับประสาท แม้จะเห็นถึงผลกระทบด้านอาชีพการงาน จิตเวช และสังคมก็ตาม ดังนั้นการนอนหลับไม่เพียงพอ จึงไม่ได้ผลักดันสมองเข้าสู่ภาวะอารมณ์เป็นลบแล้วกักไว้ ณ ตำแหน่งนั้น แต่จะเหวี่ยงอย่างรุนแรงไปยังสุดปลายของความประทับใจทางอารมณ์ทั้งสองด้าน นั่นคือทั้งบวกและด้านลบ

ถ้าเหนื่อยล้าจะลืม สมองส่วนฮิปโปแคมปัสซึ่งเป็นกล่องรับข้อมูล เมื่อสมองได้รับข้อมูลใหม่ ๆ มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากมายเกิดขึ้น ในฮิปโปแคมปัสของผู้คนที่ได้นอนหลับในคืนก่อนหน้า แต่พอมองดูโครงสร้างสมองส่วนเดียวกัน ในผู้ที่อดนอนกลับไม่พบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สำคัญใด ๆ ทั้งสิ้น ราวกับว่าการอดนอนปิดกล่องรับความจำของพวกเขา และทำให้ข้อมูลใหม่ ๆ ที่เข้ามากระดอนกลับไปเสียเฉย ๆ ไม่จำเป็นต้องอาศัยแรงกระแทกของการอดนอนทั้งคืนด้วยซ้ำ เพียงแค่รบกวนระดับความลึกระหว่างหลับแบบ NREM ด้วยเสียงที่ดังขึ้นนาน ๆ ครั้ง ซึ่งจะส่งผลขัดขวางการหลับลึก และทำให้สมองอยู่ในภาวะหลับตื้นตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องปลุกใครคนนั้นขึ้นมา เท่านี้ก็จะก่อให้เกิดความบกพร่องของสมอง และส่งผลเสียด้านการเรียนรู้

ในทำนองเดียวกันได้แล้ว ถึงตอนนี้คงคาดเดาได้แล้วว่าการนอนหลับหนึ่งคืน สร้างความแข็งแกร่งให้กับความจำที่พึ่งเรียนรู้ใหม่โดยกระตุ้นให้จำได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยิ่งคนนั้นได้นอนหลับหลายคืนก่อนการทดสอบความจำของพวกเขาก็ยิ่งดีขึ้น เป็นเช่นนี้ทั้งหมด ยกเว้นผู้เข้าร่วมกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่ง ผู้เข้าร่วมเหล่านี้ได้เรียนรู้ภาพในวันแรกและเรียนรู้ได้ดีพอ ๆ ในอีก 3 คืนต่อมา เช่นเดียวกับกลุ่มที่ 3 ที่กล่าวไปข้างต้น ต่างกันตรงที่พวกเขาอดนอนในคืนแรกหลังจากเรียนรู้ ไม่ได้ให้พวกเขาทดสอบในวันต่อมา แต่ให้นอนพักฟื้น 2 คืนเต็มก่อนเข้ารับการทดสอบ ผลปรากฎว่าพวกเขาไม่ได้แสดงให้เห็นหลักฐานใด ๆ ว่าสมองสร้างเสถียรภาพแก่ความจำได้ดียิ่งขึ้น

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ถ้านอนไม่หลับในคืนแรกหลังจากเรียนรู้ จะเสียโอกาสสร้างเสถียรภาพให้ความจำเหล่านั้น แม้ว่าหลังจากนั้นจะนอนหลับชดเชยมากแค่ไหนก็ตาม ดังนั้นในแง่ของความจำ การนอนหลับจึงไม่เหมือนธนาคาร ไม่สามารถสะสมหนี้ไว้ และหวังจะล้างหนี้ในภายหลัง การนอนหลับเพื่อสร้างเสถียรภาพแก่ความจำนั้น เป็นเรื่องที่จะทำแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไม่ได้

การนอนหลับกับโรคอัลไซเมอร์ โรคสองชนิดที่ผู้คนในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วหวาดกลัวที่สุดคือ โรคสมองเสื่อมกับโรคมะเร็ง ทั้งสองโรคนี้มีความเกี่ยวข้องกับการนอนหลับไม่เพียงพอ การนอนหลับเป็นตัวเลือกใหม่ที่ให้ความหวังในประเด็นทั้ง 3 ด้านนี้ อันได้แก่การวินิจฉัย การป้องกัน และวิชาการรักษาโรค การนอนหลับที่บกพร่องกับโรคอัลไซเมอร์ ส่งผลต่อกันเป็นวังวนที่ทำให้สถานการณ์แย่ลง ซึ่งอาจก่อให้เกิดหรือเร่งให้เกิดภาวะดังกล่าวหรือทั้งสองกรณี โรคอัลไซเมอร์นั้นเกี่ยวข้องกับการสะสมโปรตีนเป็นพิษ ซึ่งมีชื่อว่าบีตา-แอมีลอยด์ (beta-amyloid) โดยจับตัวกันเป็นก้อนหรือแผ่นเหนียว ๆ ภายในสมอง

แผ่นบีตา-แอมีลอยด์เป็นพิษต่อเซลล์ประสาท และจะสังหารเซลล์สมองโดยรอบ อย่างไรก็ดีน่าแปลกที่แผ่นบีตา-แอมีลอยด์ ส่งผลกระทบต่อสมองเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งสาเหตุยังไม่ปรากฎแน่ชัด ภายในสมองที่บีตา-แอมีลอยด์สะสมตัวในช่วงแรกที่เกิดโรคอัลไซเมอร์ และสะสมระยะรุนแรงที่สุดในระยะท้าย ๆ ของภาวะดังกล่าว บริเวณนั้นคือตรงกลางของสมองกลีบหน้า ตำแหน่งเดียวกันนี้คือ บริเวณของสมองที่จำเป็นต่อการผลิตคลื่นไฟฟ้าขณะหลับลึกแบบ NREM  ในคนหนุ่มสาวสุขภาพดี

บทที่ 8 การอดนอนกับร่างกาย

ผลกระทบของการอดนอน คืบคลานเข้าไปบ่อนทำลายสุขภาพในระดับลึกกว่านั้นมาก ไม่ว่าจะเป็นระบบการทำงานหลัก เนื้อเยื่อ และอวัยวะสำคัญทั้งหมดของร่างกาย ล้วนได้รับผลกระทบเมื่อนอนหลับไม่เพียงพอ ไม่มีแง่มุมใดของสุขภาพที่จะถอยร่น เมื่อเห็นป้ายสัญญาณการอดนอนแล้วหนีรอดไปได้อย่างปลอดภัย ผลกระทบจากการอดนอนก็เหมือนกับน้ำจากท่อที่แตกในบ้าน มันจะแทรกซึมเข้าสู่ทุกซอกทุกมุมของชีววิทยา ลึกลงไปถึงเซลล์ กระทั่งเปลี่ยนแปลงตัวตนในระดับพื้นฐานที่สุดนั่นคือ DNA

การอดนอนกับระบบหัวใจและหลอดเลือด การนอนหลับที่ไม่มีประสิทธิภาพ ย่อมนำไปสู่หัวใจที่ไม่มีประสิทธิภาพ นี่เป็นหลักการง่าย ๆ และเป็นความจริง การนอนน้อยกับภาวะหัวใจล้มเหลว ยังคงเกี่ยวพันกันอย่างแนบแน่น แม้จะควบคุมปัจจัยที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจอย่างอื่น ๆ ที่รู้จักกันดี เช่น การสูบบุหรี่ กิจกรรมทางร่างกาย และมวลกายแล้วก็ตาม การอดนอนโจมตีหัวใจได้สำเร็จอย่างงดงาม โดยไม่ต้องพึ่งปัจจัยอื่น นอกจากเร่งอัตราการเต้นของหัวใจ และเพิ่มความดันโลหิตแล้ว การอดนอนยังค่อย ๆ ทำลายโครงสร้างของหลอดเลือดที่ตึงตัวเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลอดเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจ ซึ่งเรียกว่าหลอดเลือดโคโรนารี (coronary artery) ทางเดินชีวิตเหล่านี้จำเป็นต้องสะอาด และเปิดโล่งเพื่อนำเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจตลอดเวลา ถ้าเส้นทางเหล่านี้ตีบแคบหรืออุดตัน อาจนำไปสู่ภาวะขาดออกซิเจนในเลือด ทำให้หัวใจเสียหายเป็นบริเวณกว้าง และมักเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังที่เรียกกันทั่วไปว่ากล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นบริเวณกว้าง

การอดนอนกับกระบวนการเผาผลาญ สำหรับโรคเบาหวานและน้ำหนักขึ้นนั้น การนอนหลับน้อยกว่าคืนละ 7 หรือ 8 ชั่วโมง เพิ่มความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำหนักตัวมากขึ้น มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วน และยังส่งผลให้แนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือด หรือค่ากลูโคสที่สูงเกินพอดี ติดต่อกันเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายปี ส่งผลร้ายอย่างน่าเหลือเชื่อต่อเนื้อเยื่อ และอวัยวะร่างกายทำให้สุขภาพย่ำแย่ และทำให้อายุขัยสั้นลง โรคตาซึ่งอาจจบลงด้วยอาการตาบอด โรคทางประสาทซึ่งมักส่งผลให้ต้องตัดอวัยวะ และภาวะไตวายซึ่งจำเป็นต้องล้างไตหรือปลูกถ่ายไต รวมถึงภาวะความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ

ล้วนแล้วแต่เป็นผลจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงอยู่เป็นระยะเวลานาน แต่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 คือภาวะที่เกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิดที่สุดและพบบ่อยที่สุด เมื่อพูดถึงน้ำตาลในเลือดที่ไร้การควบคุม ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าการอดนอนเรื้อรังเป็นหนึ่งในปัจจัยหลัก ที่ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ในประเทศโลกที่ 1 เพิ่มจำนวนขึ้น และนี่เป็นปัจจัยที่ป้องกันได้

น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและโรคอ้วน เมื่อนอนน้อยน้ำหนักจะเพิ่มขึ้น อิทธิพลหลายอย่างรวมตัวกันเพื่อขยายขนาดรอบเอว โดยตัวการแรกเกี่ยวกับฮอร์โมน 2 ชนิดที่ควบคุมความอยากอาหารได้แก่ เลปติน (leptin) และเกรลิน (ghrelin)  เลปตินทำหน้าที่ส่งสัญญาณความรู้สึกอิ่ม เมื่อเลปตินที่ไหลเวียนในกระแสเลือดอยู่ในระดับสูง ความอยากอาหารจะถูกระงับไว้ทำให้ไม่รู้สึกอยากกิน ในทางตรงข้ามเกรลินกระตุ้นความรู้สึกหิวอย่างรุนแรง เมื่อระดับเกรลินเพิ่มขึ้น ความรู้สึกอยากกินก็สูงขึ้นเช่นกัน หากฮอร์โมนชนิดใดใน 2 ชนิดนี้ไม่สมบูรณ์ ก็จะกระตุ้นให้กินมากขึ้น น้ำหนักตัวจึงเพิ่มตามไปด้วย และหากทำให้ฮอร์โมนทั้งสองปั่นป่วน ก็ยิ่งมีความเป็นไปได้สูงที่น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้น

การอดนอนกับระบบภูมิคุ้มกัน การนอนหลับต่อสู้กับการติดเชื้อ และความเจ็บป่วย โดยระดมภูมิคุ้มกันมาปกป้อง เมื่อล้มป่วยระบบภูมิคุ้มกันจะกระตุ้นระบบการนอนหลับอย่างกระตือรือร้น โดยสั่งให้พักผ่อนอยู่บนเตียงมากขึ้น เพื่อช่วยเสริมกำลังรบ หากนอนน้อยลงเพียงคืนเดียว การฟื้นตัวซึ่งเปรียบเหมือนชุดเกราะล่องหน ที่ระบบภูมิคุ้มกันมอบให้ จะถูกกระชากออกไปจากร่างกายทันที

การอดนอนยีนและ DNA การอดนอนเรื้อรังยังบ่อนทำลายเนื้อแท้ของชีวิต ในทางชีววิทยานั่นคือรหัสพันธุกรรม และโครงสร้างที่บรรจุรหัสดังกล่าวไว้ภายใน ยีนนับพัน ๆ ภายในสมอง ต้องอาศัยการนอนหลับเพียงพออย่างสม่ำเสมอ เพื่อจัดระเบียบให้มันอยู่ในสภาวะมั่นคง นอกจากการนอนหลับไม่เพียงพอ จะเปลี่ยนแปลงกิจกรรมและการถอดรหัสยีนแล้ว มันยังโจมตีโครงสร้างทางกายภาพของสารพันธุกรรมด้วย ยิ่งนอนน้อยแค่ไหน หรือมีคุณภาพการนอนหลับย่ำแย่เพียงใด องค์ประกอบสำคัญของโครโมโซมอย่างเทโลเมียร์ก็ยิ่งเสียหาย

ภาคที่ 3 เราฝันอย่างไรและเพราะเหตุใด

บทที่ 9 การฝันขณะหลับแบบ REM

ขณะที่เคลิ้มหลับหรือกำลังฟื้นจากนิทรา มักได้สัมผัสประสบการณ์คล้ายความฝันที่เห็นเป็นภาพ หรือมีอากับกิริยา ทว่าประสบการณ์ความฝัน ซึ่งทำให้เห็นภาพหลอน มีการเคลื่อนไหว เต็มไปด้วยความอารมณ์ความรู้สึก ทั้งยังแปลกประหลาด และเปี่ยมด้วยเรื่องราวอันรุ่มรวยนั้น มาจากช่วงเวลาที่เราหลับแบบ REM สมองยามหลับฝัน กิจกรรมในสมองที่เกิดขึ้น เมื่อผู้คนเข้าสู่ภาวะหลับแบบ REM และเริ่มฝันได้เห็นแม้กระทั่งโครงสร้างลึกที่สุด ซึ่งมีชีวิตชีวาขึ้นมาได้ เมื่อการหลับแบบ REM และการฝันเริ่มต้นขึ้น

เนื่องจากการหลับแบบ REM เกี่ยวโยงกับการฝัน ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่สมองทำงานอย่างกระตือรือร้น และมีสติสัมปชัญญะ จึงอาจคาดเดาได้ว่าการหลับแบบ REM ก็น่าจะมีรูปแบบกิจกรรมในสมองที่เพิ่มขึ้นอย่างกระตือรือร้น ลักษณะเดียวกันเพราะว่าที่น่าแปลกใจคือเห็นได้ชัดว่าบริเวณอื่นๆของสมองกลับอยู่ทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ด้านซ้ายสุดและขวาสุดของ cortex กรีกหน้าอาจส่วนมาก

ความหมายและเนื้อหาของความฝัน ก่อนที่วิทยาศาสตร์รูปแบบใหม่เกี่ยวกับการฝันจะถือกำเนิดขึ้น และก่อนที่ฟลอยด์จะลงมือศึกษาหัวข้อนี้อย่างไม่เป็นระบบ ความฝันนั้นมีที่มาสารพัดรูปแบบ ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าความฝันคือ สิ่งที่ส่งมาจากทวยเทพเบื้องบน ชาวกรีกมีความเชื่อคล้าย ๆ กันโดยมองว่า ความฝันคือการมาเยือนของเทพเจ้าผู้นำสารศักดิ์สิทธิ์ เมื่อคำนึงถึงความเชื่อในอดีตที่กล่าวมาข้างต้น ฟลอยด์ยืนหยัดเพียงลำพัง ขณะกระชากความฝันมาจากการครอบครองของเทพเจ้าบนสวรรค์ และจากตำแหน่งที่อยู่อันคลุมเครือของจิตวิญญาณในเชิงกายวิภาค ผลการกระทำดังกล่าวคือ ฟลอยด์ทำให้ความฝันกลายเป็นขอบเขตความรู้ที่ชัดเจน อันเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่จะกลายมาเป็นประสาทวิทยาศาสตร์ ซึ่งเปรียบประดุจรากฐานอันมั่นคงในสมองสิ่งที่เป็นความจริงแท้ และน่าทึ่งคือทัศนะที่เขาเสนอว่า ความฝันกำเนิดจากสมอง

ความฝันไม่ใช่การนำชีวิตตอนตื่นมาฉายซ้ำขนานใหญ่ ไม่ได้แค่กดปุ่มกรอวีดีโอที่บันทึกประสบการณ์ในวันนั้น แล้วฉายซ้ำตอนกลางคืนบนจอขนาดใหญ่ในคอร์เทค อาจจะมีสิ่งที่เรียกว่าเศษตกค้างของรารวันอยู่จริง ก็คงมีเพียงไม่กี่หยด ในความฝันอันแห้งแล้ง หากมีบางสิ่งที่เปรียบเหมือนเส้นด้ายที่ผูกโยงเรื่องราวระหว่างชีวิตยามตื่นกับชีวิตยามฝันแล้วล่ะก็ สิ่งนั้นคงจะเป็นความกังวลทางอารมณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ไม่มีตัวตรวจสอบ ไม่มีผ้าคลุมปกปิด ไม่มีการพรางตัวใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งตรงข้ามกับข้อสันนิษฐานของฟลอยด์ ที่มาของความฝันนั้นโปร่งใส และกระจ่างชัดมากพอ ชนิดที่ไม่ว่าใครก็สามารถระบุ และรับรู้ถึงที่มาเหล่านั้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยใครตีความ

ความฝันมีหน้าที่ การหลับแบบ REM ซึ่งเป็นช่วงที่ความฝันส่วนใหญ่ปรากฏขึ้นนั้น มีหน้าที่หลายอย่าง การวัดกิจกรรมในสมองประกอบกับการทดสอบ โดยอาศัยการทดลองอย่างพิถีพิถัน ทำให้ในที่สุดก็เริ่มเข้าใจความฝันของมนุษย์ในเชิงวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบเนื้อหาหรือแหล่งที่มา ถ้าว่ายังมีบางอย่างขาดหายไป การหลับแบบ REM จริง ๆ แล้ว ความฝันทำหน้าที่อะไรให้เราบ้างหรือไม่ ถ้าว่ากันตามข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์แล้วล่ะก็ คำตอบคือใช่

บทที่ 10 การฝันคือการบำบัดยามค่ำคืน

เป็นที่เข้าใจกันมาช้านานว่า ความฝันเป็นเพียงอนุปรากฏการณ์ (epiphenomena) ของการหลับแบบ REM  ซึ่งเป็นช่วงระยะที่มันปรากฏขึ้น เพื่ออธิบายแนวคิดเรื่องอนุปรากฏการณ์ ในทำนองเดียวกันวิวัฒนาการ อาจพยายามอย่างหนักเพื่อสร้างวงจรประสาทในสมอง ซึ่งผลิตการหลับแบบ REM และหน้าที่การทำงานที่การหลับแบบ REM  คอยสนับสนุน อย่างไรก็ดีเมื่อสมองมนุษย์ผลิตการหลับแบบ REM  ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงนี้ ก็อาจก่อให้เกิดสิ่งที่เราเรียกว่าการฝันขึ้นมาด้วย ความฝันอาจไม่มีหน้าที่ใด ๆ ทั้งสิ้น เช่นเดียวกับความร้อนจากหลอดไฟ ความฝันอาจเป็นเพียงอนุปรากฏการที่ไร้ซึ่งประโยชน์ หรือผลกระทบใด ๆ เป็นเพียงผลพลอยได้ที่ไม่ได้ตั้งใจของการหลับแบบ REM เป็นความคิดที่ค่อนข้างน่าผิดหวังใช่ไหม หลายคนรู้สึกว่าความฝันมีความหมาย และมีจุดประสงค์ที่เป็นประโยชน์บางประการ การฝันถือเป็นส่วนสำคัญของการนอนหลับ หรือรวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของประโยชน์ ด้านการปรับตัวที่ได้จากการนอนหลับด้วย

กรอบแนวคิดที่ว่านี้ ทำให้เราพบประโยชน์หลัก ๆ 2 ประการของการหลับแบบ REM  โดยเงื่อนไขที่ทำให้ประโยชน์ทั้งสอง ซึ่งส่งผลต่อหน้าที่การทำงานในร่างกายเกิดขึ้นได้คือ ไม่เพียงต้องหลับแบบ REM  เท่านั้น แต่ยังต้องฝันด้วย และเป็นการฝันถึงอะไรบางอย่างที่เฉพาะเจาะจง การหลับแบบ REM  เป็นสิ่งจำเป็น แต่การหลับแบบ REM เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ หน้าที่ประการแรกเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพจิตและสุขภาพทางอารมณ์ หน้าที่ประการที่ 2 คือการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์

การฝันเพื่อถอดรหัสประสบการณ์ยามตื่น การอ่านสีหน้าและอารมณ์ที่แสดงออกทางใบหน้าได้อย่างถูกต้อง เป็นคุณสมบัติที่ขาดไม่ได้สำหรับการเป็นมนุษย์ ที่สามารถทำหน้าที่ต่าง ๆ และอันที่จริงก็รวมถึงไพรเมตชั้นสูงส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ ได้ด้วยสีหน้า เป็นสัญญาณสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในสภาพแวดล้อม สีหน้าสื่อสารสภาวะอารมณ์และเจตนาของบุคคล และถ้าตีความได้ถูกต้อง ย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมที่ตอบสนองกลับไป มีหลายส่วนในสมองที่ทำหน้าที่อ่าน และถอดรหัสคุณค่า รวมทั้งความหมายของสัญญาณทางอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบหน้าและส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งนับเป็นเครือข่ายอันสำคัญยิ่งในสมองก็คือ สิ่งที่การหลับแบบ REM  เข้ามาปรับเปลี่ยนตอนตอนกลางคืนนั่นเอง

หากขาดความสามารถรับรู้อารมณ์ที่แม่นยำ ซึ่งตามปกติจะได้รับเมื่อการหลับแบบ REM  เข้ามาแสดงทักษะปรับแต่งยามค่ำคืน ผู้ที่อดนอนจะตกอยู่ในสภาพตั้งรับ ด้วยความหวาดกลัวไว้ก่อน โดยเชื่อว่าแม้แต่ใบหน้าที่ดูอ่อนโยนหรือเป็นมิตร ล้วนเป็นใบหน้ามุ่งร้าย โลกภายนอกกลายเป็นสถานที่ที่มีภัยคุกคาม และน่าถอยห่างมากขึ้น เมื่อสมองขาดการหลับแบบ REM  ทั้งที่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น ความจริงกับความจริงที่เรารับรู้ไม่เหมือนกันอีกต่อไป ในสายตาของสมองที่อดนอน คราวนี้ลองนึกถึงอาชีพที่ทำให้คนเราต้องอดนอน เช่น เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย และเจ้าหน้าที่ทางทหาร แพทย์ พยาบาล และผู้ทำงานในหน่วยบริการฉุกเฉิน ยังไม่ต้องพูดถึงงานดูแลที่สำคัญที่สุดนั่นคือ พ่อแม่มือใหม่

ทุกบทบาทเหล่านี้ ต้องอาศัยความสามารถในการอ่านอารมณ์ของผู้อื่นอย่างเที่ยงตรง เพื่อตัดสินใจเรื่องสำคัญ หรือแม้กระทั่งเรื่องคอขาดบาดตาย เช่น การตรวจจับภัยคุกคามที่แท้จริง ซึ่งจำเป็นต้องใช้อาวุธ การประเมินความรู้สึกไม่สบายใจ หรือความเจ็บปวดทรมาน ซึ่งอาจเปลี่ยนผลการวินิจฉัย และระดับการจ่ายยาบรรเทาปวด หรือการตัดสินใจว่า เมื่อไหร่ควรแสดงความสงสาร หรืออบรมสั่งสอนอย่างใจเย็น หากปราศจากการหลับแบบ REM  และความสามารถของมัน ที่คอยปรับเข็มทิศทางอารมณ์ให้กับสมอง ความเข้าใจทางสังคม และอารมณ์ที่คนเหล่านั้นมีต่อโลกรอบตัว ก็จะคลาดเคลื่อนจนนำไปสู่การตัดสินใจ และการกระทำที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจกลายเป็นหายนะได้

บทที่ 11 ความคิดสร้างสรรค์จากความฝันและการควบคุมความฝัน

การฝันศูนย์บ่มเพราะความคิดสร้างสรรค์ การหลับลึกแบบ NREM ช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้ความจำแต่ละอย่าง แต่การหลับแบบ REM ต่างหาก ที่คอยประสานส่วนผสมเหล่านั้น เข้าด้วยกันอย่างเชี่ยวชาญจนเสร็จสมบูรณ์ ด้วยวิธีที่เป็นนามธรรมและแปลกใหม่อย่างยิ่ง ระหว่างอยู่ในภาวะหลับฝัน สมองจะใคร่ครวญความรู้ขนาดใหญ่ที่ได้รับ จากนั้นจึงสกัดหลักเกณฑ์ และลักษณะรูปร่วมที่ครอบคลุมอย่างครบถ้วน ซึ่งก็คือสาระสำคัญออกมา เมื่อตื่นนอนพร้อมกับเครือข่ายจิตใจฉบับปรับปรุงใหม่ ที่สามารถหาทางออกให้กับปัญหาที่ก่อนหน้านั้นแก้ไม่ตก ในแง่นี้นับว่าการฝันขณะหลับแบบ REM คือการเล่นแร่แปรธาตุเชิงข้อมูลนั่นเอง

การถอดรหัสและการแก้ปัญหา นอกจากการฝันขณะหลับแบบ REM  จะหลอมรวมข้อมูลเข้าร่วมกันได้อย่างสร้างสรรค์แล้ว มันยังก้าวหน้าไปมากกว่านั้นอีกขั้นหนึ่ง ด้วยการหลับแบบ REM  สามารถสร้างความรู้เชิงนามธรรม ที่ครอบคลุมรวมทั้งแนวคิดที่ยกระดับให้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยชุดข้อมูลต่าง ๆ การหลับแบบ REM  และการฝันพยายามนำสิ่งที่เราได้เรียนรู้ในฉากประสบการณ์หนึ่ง ไปประยุกต์ใช้กับประสบการณ์อื่น ๆ ที่เก็บรักษาไว้ในความทรงจำ ต่างจากการฝึกความจำให้เป็นปึกแผ่น ซึ่งตอนนี้รู้แล้วว่าเป็นหน้าที่ของการหลับแบบ NREM

การควบคุมความฝัน การฝันแบบรู้ตัวเกิดขึ้นเมื่อใครคนหนึ่งตระหนักว่า เขาหรือเธอกำลังฝัน อย่างไรก็ดีคำนี้มักใช้พูดถึงการควบคุม สิ่งที่คนคนหนึ่งกำลังฝันถึงได้ดั่งใจ ตลอดจนความสามารถที่จะบงการประสบการณ์นั้น เช่น การตัดสินใจจะบิน หรือแม้กระทั่งกำหนดหน้าที่ของความฝัน เช่น การแก้ปัญหา นี่เป็นความจริงที่ไม่มีข้อโต้แย้ง นักวิทยาศาสตร์ได้บทพิสูจน์ที่อ้างอิงข้อมูล การทำงานของสมองตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่าขณะกำลังฝัน ผู้ฝันแบบรู้ตัวควบคุมได้ว่าจะฝันเมื่อไรและฝันเห็นอะไร งานศึกษาอื่น ๆ ที่อาศัยรูปแบบการสื่อสารผ่านการกรอกตาคล้าย ๆ กันนี้ยังแสดงให้เห็นด้วยว่า ผู้เข้าร่วมทดลองจงใจทำให้ตัวเองบรรลุจุดสุดยอดทางเพศได้ ตามเวลาที่กำหนดไว้ระหว่างฝันแบบรู้ตัว ผลการทดลองนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ชาย เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ยืนยันได้จริง โดยอาศัยมาตรวัดทางสรีรวิทยา

ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า การฝันแบบรู้ตัวเป็นผลดีหรือผลเสีย เพราะประชากรทั่วไปกว่า 80% ไม่ได้ฝันแบบรู้ตัวตามธรรมชาติ หากการควบคุมความฝันได้ดั่งใจมีประโยชน์มากจริง ๆ ธรรมชาติคงปลูกฝังทักษะเช่นนี้ให้แก่คนหมู่มากแล้วเป็นแน่ อย่างไรก็ดีทัศนะที่ว่านี้ตั้งอยู่บนข้อสันนิษฐานแบบผิด ๆ ว่าหยุดวิวัฒนาการแล้ว เป็นไปได้ไหมว่าผู้ฝันแบบรู้ตัวคือ รูปแบบต่อไปในวิวัฒนาการของโฮโม เซเปียนส์ หรือว่าในอนาคตคนเหล่านี้ จะมีโอกาสผ่านการคัดสรรมากกว่า โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากความสามารถในการฝันที่ไม่ธรรมดานี้ ซึ่งอาจเปิดโอกาสให้พวกเขาดึงจุดเด่น เรื่องการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของการฝัน ไปใช้กับความท้าทายตอนตื่น ที่ตนเองหรือมนุษย์ชาติต้องเผชิญ และควบคุมพลังของมันให้เกิดประโยชน์ได้ตามต้องการมากขึ้น

ภาคที่ 4 จากยานอนหลับสู่สังคมที่เปลี่ยนไป

บทที่ 12 ความผิดปกติด้านการนอนหลับและการเสียชีวิตเนื่องจากอดนอน

แทบไม่มีการแพทย์สาขาใดที่พบความผิดปกติอันน่าหวั่นวิตก หรือน่าประหลาดใจหลากหลายรูปแบบ ยิ่งกว่าความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับอีกแล้ว ความผิดปกติเหล่านี้มีความหมาย เกี่ยวกับความลึกลับของการนอนหลับและการฝัน ทั้งอาการละเมอเดิน คำว่าอาการละเมอเดิน (somnambulism) หมายถึงความผิดปกติด้านการนอนหลับ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ความผิดปกตินี้ครอบคลุมหลากหลายภาวะ เช่น ละเมอเดิน ละเมอคุย ละเมอกิน ละเมอส่งข้อความ ละเมอมีเพศสัมพันธ์ และในกรณีที่หาได้ยากคือละเมอฆ่าคน ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่คนส่วนใหญ่จะเชื่อว่า เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นระหว่างที่ใครคนหนึ่งกำลังฝัน ขณะหลับแบบ REM โดยเฉพาะตอนที่กำลังสวมบทบาท ตามเหตุการณ์ที่ดำเนินอยู่ในฝัน ถ้าว่าเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดตอนหลับฝัน (REM) แต่เกิดจากระยะที่ลึกที่สุดของการนอนหลับแบบไม่ฝัน (NREM) ต่างหาก ถ้าปลุกคนที่กำลังละเมอให้ตื่นแล้วถามว่าเกิดอะไรขึ้นในหัวบ้าง พวกเขาจะแทบไม่ให้ข้อมูลอะไรเลย ไม่มีฉากในฝันหรือประสบการณ์ทางจิตใด ๆ ทั้งสิ้น

โรคนอนไม่หลับ สำหรับคนจำนวนมากในปัจจุบัน ต้องทนทุกข์จากโรคนอนไม่หลับ ขณะเดียวกันคนอีกจำนวนหนึ่งเชื่อว่า ตนเป็นโรคนี้ทั้งที่พวกเขาไม่ได้เป็น กล่าวคือมีความสามารถไม่เพียงพอที่จะหลับ แม้จะให้โอกาสตัวเองเพียงพอที่จะนอนหลับแล้วก็ตาม ดังนั้นผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับ จึงไม่สามารถผลิตการนอนหลับได้อย่างเพียงพอ ทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ แม้จะให้เวลาตัวเองมากพอที่จะนอนหลับแล้วก็ตาม โรคนี้มีชนิดย่อยที่แตกต่างกันอยู่หลายชนิด มีข้อแตกต่างประการหนึ่งที่แบ่งโรคนอนไม่หลับออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือ โรคนอนไม่หลับที่มีปัญหาตอนเริ่มนอน (sleep onset insomnia) ซึ่งผู้ป่วยจะเคลิ้มหลับได้ยากประเภทที่ 2 คือโรคนอนไม่หลับที่มีปัญหาระหว่างคงสภาพการหลับ (sleep maintenance insomnia) หรือหลับต่อเนื่องได้ยาก ปัจจัยกระตุ้นโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง ที่พบบ่อยที่สุด 2 ประการเป็นปัจจัยด้านจิตวิทยาได้แก่ 1.ภาวะห่วงกังวลทางอารมณ์หรือความพะวักพะวง และ 2.ภาวะตึงเครียดทางอารมณ์หรือความวิตกกังวล

โรคลมหลับ การกระทำที่สำคัญอย่างแท้จริงครั้งใดในชีวิต ที่ไม่ได้ควบคุมด้วยหลักง่าย ๆ  2 ข้อนั้นคือ จงอยู่ห่างสิ่งที่จะทำให้รู้สึกแย่เข้าไว้ และพยายามทำสิ่งที่จะทำให้รู้สึกดีให้สำเร็จ กฎการเข้าหาและหลีกเลี่ยงนี้ เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์และสัตว์ ตั้งแต่วัยแรกเริ่ม พลังที่บังคับใช้กฎนี้คืออารมณ์เชิงบวกและลบ อารมณ์ (emotion) สั่งให้ทำสิ่งต่าง ๆ หากกล่าวในทางจิตวิทยาและชีววิทยาคือ อารมณ์ทำให้ดำรงอยู่อย่างสุขภาพดีและมีชีวิตชีวา เมื่อไม่มีอารมณ์จะเพียงดำรงอยู่ แต่มิได้มีชีวิตอยู่ น่าเศร้าที่สถานการณ์เช่นนี้คือความจริง ที่ผู้ป่วยโรคลมหลับจำนวนมากต้องยอมรับ ในทางการแพทย์ถือว่าโรคลมหลับ หรือภาวะง่วงเกิน (narcolepsy) เป็นความผิดปกติทางประสาทวิทยา นั่นหมายความว่า มันมีต้นกำเนิดภายในระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมอง ภาวะดังกล่าวมาปรากฏขึ้นในช่วงอายุ 10-20 ปี

โรคลมหลับมีพื้นฐานทางพันธุกรรมบางอย่าง แต่สืบทอดกันไม่ได้ สาเหตุทางพันธุกรรมนั้น ดูเหมือนจะเกิดจากการกลายพันธุ์ (mutation) ความผิดปกตินี้จึงไม่ถ่ายทอดทางพ่อหรือแม่สู่ลูก ความผิดปกติดังกล่าวประกอบไปด้วยอาการหลัก ๆ อย่างน้อย 3 ข้อได้แก่ 1. ง่วงเกินขนาดตอนกลางวัน 2. อาการผีอำ 3. อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการแรกอย่างความง่วงเกินขนาดตอนกลางวัน มักเป็นอาการที่สร้างความปั่นป่วน และเป็นปัญหาต่อสุขภาพชีวิตประจำวันของผู้ป่วยโรคลมหลับมากที่สุด อาการนี้รวมถึงภาวะโงกหลับกะทันหันตอนกลางวัน อันเป็นความง่วงนอนรุนแรงจนไม่อาจต้านทานอย่างสิ้นเชิง ทั้งที่เวลานั้นอยากตื่นตัว เช่น ขณะกำลังทำงานอยู่ที่โต๊ะ ขับรถ หรือกินอาหารกับครอบครัวหรือเพื่อน ๆ เป็นต้น

ความหวังที่จะมีชีวิตที่เติมเต็มทางอารมณ์นั้นเลิกคิดไปได้เลย นอกเสียจากว่าผู้ป่วยเต็มใจยอมรับการล้มทรุดอย่างกะทันหัน ซึ่งเจ้าตัวไม่มีโอกาสหลบเลี่ยงเหล่านั้น ผู้ป่วยโรคลมหลับถูกผลักไสให้มีชีวิตอยู่อย่างราบเรียบ จำต้องรักษาระดับอารมณ์ให้นิ่งเฉย ไร้รสชาติเหมือนเดิมวันแล้ววันเล่า คงนึกภาพออกอย่างชัดเจนว่าชีวิตที่สูญเสียอรรถรสเช่นนั้นเป็นอย่างไร โดยรวมแล้ว ความหวังด้านการรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคลมหลับในปัจจุบันนั้น ริบหรี่เต็มทีและยังมองไม่เห็นหนทางที่จะหายขาด สำหรับตอนนี้ผู้ป่วยทำได้เพียงพยายามจัดการชีวิต ที่ต้องอยู่ร่วมกับความผิดปกติดังกล่าว และใช้ชีวิตให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

โรคนอนไม่หลับจนถึงแก่กรรมที่เป็นกรรมพันธุ์ในครอบครัว หรือ (fatal familia insomnia : FFI) ไม่มีวิธีรักษาความผิดปกตินี้และไม่มีทางหายขาด ผู้ป่วยทุกคนที่ถูกวินิจฉัยว่ามีความผิดปกตินี้ จะเสียชีวิตภายใน 10 เดือน บ้างก็เร็วกว่านั้น นี่คือหนึ่งในภาวะที่ลึกลับที่สุดในบันทึกประวัติศาสตร์ทางการแพทย์ ซึ่งให้บทเรียนอันน่าตกตะลึงกับเรานั่นคือ การอดนอนจะฆ่าชีวิตมนุษย์ เมื่อนักวิทยาศาสตร์ชันสูตรสมองของผู้ป่วย FFI ระยะแรกพวกเขาค้นพบทารามัสที่มีรูพรุนแบบจะคล้ายกับก้อนชีส โปรตีนพรีออนเจาะรูไปทั่วธาลามัส และทำลายโครงสร้างอันเป็นเอกภาพของมันลงอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะบริเวณชั้นนอกของธารามัส ซึ่งก่อตัวเป็นประตูความรู้สึกที่ควรปิดสนิททุกค่ำคืน การจู่โจมเข้าเจาะของโปรตีน ทำให้ประตูความรู้สึกของธารามัสติดอยู่ในตำแหน่งเปิดอย่างถาวร ผู้ป่วยไม่มีวันปิดสวิตช์สติรับรู้โลกภายนอกได้เลย และเพราะเหตุนี้จึงไม่มีทางเข้าสู่ภาวะหลับอย่างที่ต้องการ ไม่ว่ายานอนหลับหรือยาอื่น ๆ ในปริมาณมากเพียงใด ก็ไม่สามารถผลักประตูความรู้สึกให้ปิดลงได้ ปัจจุบันความเป็นไปได้ในการรักษาโรคนี้ยังมีน้อยมาก เริ่มมีบางคนหันมาสนใจยาปฏิชีวนะชื่อ doxycycline) ซึ่งดูเหมือนจะช่วยลดอัตราการสะสมของโปรตีน ในกรณีความผิดปกติชนิดอื่น ๆ ที่เกิดจากโปรตีน สำหรับการบำบัดที่อาจช่วยรักษาโรคนี้ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

บทที่ 13 อะไรขัดขวางไม่ให้นอนหลับ

ในวิถีสมัยใหม่สิ่งที่เป็นปัจจัย ที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการนอนหลับตามธรรมชาติ และขัดขวางไม่ให้นอนหลับสนิทตลอดทั้งคืน นอกจากการผลัดเวลานอนออกไป เพื่อชมรายการโทรทัศน์ และความบันเทิงผ่านสื่อดิจิทัลยามดึก ยังมีปัจจัยหลัก ๆ อีก 5 ประการได้แก่ 1. หลอดไฟฟ้าและหลอด LED ที่ส่องสว่างตลอดเวลา 2. อุณหภูมิที่มีการควบคุม 3. คาเฟอีน 4. แอลกอฮอล์และ 5. มรดกตกทอดจากการตอกบัตร ปัจจัยที่สังคมสร้างขึ้นชุดนี้เอง ที่เป็นเหตุให้คนจำนวนมากมีความเชื่อผิด ๆ ว่าพวกเขาเป็นโรคนอนไม่หลับในทางการแพทย์

ด้านมืดของแสงสว่างในโลกสมัยใหม่ มนุษย์เป็นสัตว์ที่พึ่งพาการมองเห็นเป็นหลักสมองของเราเกิน 1 ใน 3 อุทิศให้กับการประมวลผลข้อมูลจากการมองเห็น ซึ่งนับว่ามากกว่าสมองส่วนที่อุทิศให้กับเสียงหรือกลิ่น หรือส่วนที่รองรับภาษาและการเคลื่อนไหวหลายเท่า สำหรับโฮโม เซเปียนส์ยุคแรก ๆ กิจกรรมส่วนใหญ่น่าจะสิ้นสุดลงหลังอาทิตย์ตก อิทธิพลของแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น ก็เริ่มเข้ามาปรับเปลี่ยนรูปแบบการนอนหลับของมนุษย์ และอิทธิพลดังกล่าวมีแต่จะยิ่งยกระดับมากขึ้นเรื่อย ๆ ในไม่ช้าจังหวะยามค่ำคืนของทั้งสังคม ไม่ใช่เพียงปัจเจกบุคคลหรือครอบครัวเดียว กลับกลายมาขึ้นอยู่กับแสงสว่างตอนกลางคืน

นับแต่นั้นมาเราก็เริ่มเดินหน้านอนดึกขึ้นเรื่อย ๆ หนทางที่จะช่วยจำกัดปริมาณ การสัมผัสแสงประดิษฐ์ตอนค่ำเป็นเรื่องท้าทาย เพราะแสงชนิดนี้ปรากฏอยู่ทุกหนแห่ง จุดเริ่มต้นที่ดีคือเปิดแสงสลัว ที่ลดระดับความเข้มในห้องที่ใช้เวลาตอนค่ำ เพื่อกรองแสงสีน้ำเงินอันแสนอันตราย ซึ่งระงับการหลั่งเมลาโทนิน การรักษาสภาพแวดล้อมให้มืดสนิทตลอดทั้งคืน เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน ทางออกที่ง่ายที่สุดในเรื่องนี้คือใช้ม่านทึบแสง และประการสุดท้ายอาจติดตั้งซอฟต์แวร์ในคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และอุปกรณ์แท็บเล็ต ซึ่งจะค่อย ๆ ปรับลดแสง LED สีน้ำเงินที่เป็นอันตรายลงทีละน้อยเมื่อล่วงเข้ายามค่ำ

ปฏิเสธเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน แอลกอฮอล์จัดอยู่ในกลุ่มยาระงับประสาทมันจับกับตัวรับภายในสมอง แล้วขัดขวางไม่ให้เซลล์ประสาทปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมา การกล่าวว่าแอลกอฮอล์เป็นยาระงับประสาท หากใช้ปริมาณปานกลาง ช่วยให้มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น และชอบเข้าสังคมมากกว่าเดิม ข้อเท็จจริงที่ว่าพฤติกรรมชอบเข้าสังคมที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากการระงับประสาทในบริเวณหนึ่งของสมอง คนจำนวนมากชอบดื่มไวน์สักแก้วก่อนมื้อค่ำ หรือแม้กระทั่งดื่มเรียกน้ำย่อยหลังจากนั้น ทว่าตับและไตต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงที่จะย่อยสลาย และขับถ่ายแอลกอฮอล์ออกจากร่างกาย แม้ว่าจะมีเอนไซม์ที่ย่อยสลายเอทานอลได้อย่างรวดเร็วก็ตาม การเปลี่ยนแอลกอฮอล์ทุกคืนจะรบกวนการนอนหลับได้

สัมผัสอากาศเย็นยามค่ำคืน อุณหภูมิภายในห้อง เครื่องนอน และชุดนอนคือ ปัจจัยกำหนดกรอบความร้อนที่ห่อหุ้มร่างกายตอนกลางคืน อุณหภูมิภายในห้องนี้เองคือสิ่งที่ถูกโจมตีอย่างรุนแรงจากโลกสมัยใหม่ ความเปลี่ยนแปลงนี้ ส่งผลให้วิถีปฏิบัติด้านการนอนหลับของมนุษย์สมัยใหม่ แตกต่างจากมนุษย์ในวัฒนธรรมก่อนอุตสาหกรรม และแตกต่างจากสัตว์อย่างชัดเจนหากจะเข้าสู่ห้วงการหลับไหล อุณหภูมิภายในร่างกายจำเป็นต้องลดลง 2-3 องศาฟาเรนไฮต์หรือประมาณ 1 องศาเซลเซียส ด้วยเหตุนี้จึงมักรู้สึกว่าเวลาอยู่ในห้องที่เย็นเกินไป จะนอนหลับได้ง่ายกว่าในห้องที่ร้อนเกินไป เพราะอย่างน้อยห้องที่เย็นเกินไป ก็ฉุดดึงอุณหภูมิของสมองและร่างกายให้ลดลง ไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับการนอนหลับ

สิ่งที่น่าตื่นตระหนกคือการบังคับให้ตื่น สิ่งที่มาพร้อมกับรุ่งอรุณแห่งยุคอุตสาหกรรม และการทำงานของโรงงานขนาดใหญ่คือ ความท้าทายที่ว่าจะรับประกันได้อย่างไร ว่าคนงานจำนวนมากจะมาถึงพร้อมกันหมด ทางออกของเรื่องนี้มาในรูปของหวูดโรงงาน เป็นนาฬิกาปลุกเวอร์ชั่นแรกสุด เสียงหวูดที่ดังไปทั่วหมู่บ้านคนงาน มีไว้เพื่อฉุดคนจำนวนมากขึ้นจากการหลับใหล ในเวลาเดียวกันทุกเช้าวันแล้ววันเล่า ต่อมาผู้คอยปลุกให้ตื่นนี้ก็คืบคลานเข้ามาถึงห้องนอน ในคราบของนาฬิกาปลุกสมัยใหม่ ที่ผ่านมาเราได้คิดค้นหนทางอันสร้างสรรค์ โดยแม้กระทั่งเจ็บปวดเพื่อปลุกตัวเองให้ตื่นในยามเช้า ความจริงข้อนี้บ่งบอกได้อย่างครบถ้วนว่า สมองคนเราในยุคสมัยใหม่นอนน้อยเกินควรแค่ไหน เมื่อถูกบีบคั้นด้วยน้ำมืออันทรงพลังของค่ำคืน ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าและเวลาเริ่มงานตอนเช้าตรู่ ทั้งยังสูญเสียวัฏจักรอุณหภูมิ 24 ชั่วโมง แถมมีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ปริมาณมากบ้างน้อยบ้าง ที่คอยแล่นผ่านไปทั่วร่างกาย จึงสมควรแล้วที่พวกเราทั้งหลายจะรู้สึกอ่อนเพลีย และโหยหาสิ่งที่ดูจะได้มายากเย็นเสมอ นั่นคือการหลับลึกตามธรรมชาติ ที่ผ่อนคลายเต็มอิ่มตลอดคืน

บทที่ 14 ยานอนหลับปะทะการบำบัด

ยานอนหลับไม่ช่วยให้นอนหลับได้ตามธรรมชาติ ทั้งยังหาทำลายสุขภาพและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคภัยที่คุกคามชีวิต ในบรรดายานอนหลับในอดีตถึงปัจจุบัน ที่วางขายในท้องตลาดไม่มีชนิดใด ที่ช่วยให้นอนหลับได้เองตามธรรมชาติ ลักษณะอันไม่น่าอภิรมย์อย่างยิ่งอีกประการหนึ่งของยานอนหลับคือ โรคนอนไม่หลับที่ย้อนกลับมา เมื่อผู้คนเลิกใช้ยาเหล่านี้ พวกเขามักหลับได้แย่กว่าเดิมหลายเท่า บางครั้งก็แย่กว่าการนอนหลับคุณภาพต่ำ ที่ทำให้พวกเขาเรียกร้องหายานอนหลับในตอนแรกเสียอีก สาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยอย่างหนึ่งคือ อัตราการติดเชื้อที่สูงกว่าปกติ การนอนหลับตามธรรมชาติ เป็นหนึ่งในตัวกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันที่ทรงพลังที่สุด ซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อ ถ้าเช่นนั้นเหตุใดผู้ใช้ยานอนหลับ ซึ่งดูเหมือนจะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น จึงมีอัตราการติดเชื้อหลากหลายรูปแบบสูงกว่า ทั้งที่ความจริงน่าจะตรงข้าม สาเหตุการเสียชีวิตอีกประการหนึ่งที่เกี่ยวโยงกับการใช้ยานอนหลับคือ ความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่ร้ายแรงถึงชีวิต เรื่องนี้มีความเป็นไปได้สูงว่า มีที่มาจากการนอนหลับแบบที่ไม่ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัว อันเป็นผลจากยาเหล่านั้น

แทนที่จะกินยานอนหลับลองวิธีต่อไปนี้ดู ปัจจุบันวิธีที่ได้ผลที่สุดในกลุ่มนี้เรียกว่า การบำบัดด้วยปรับเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรมสำหรับโรคนอนไม่หลับ (cognitive behavioral therapy for insomnia) หรือ CBT-I ให้ซึ่งเป็นวิธีที่แวดวงการแพทย์กำลังอ้าแขนรับอย่างรวดเร็ว เพื่อนำไปใช้เป็นหนทางรักษา เทคนิคที่ออกแบบมาเฉพาะบุคคล เพื่อขจัดนิสัยการนอนหลับที่ไม่เหมาะสม และรับมือกับความวิตกกังวล ซึ่งขัดขวางการนอนหลับ วิธีที่เห็นได้ชัดเจน มีทั้งลดการบริโภคคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ ขจัดอุปกรณ์เทคโนโลยีหน้าจอทั้งหลายไปจากห้องนอน และปรับอุณหภูมิห้องนอนให้เย็นเข้าไว้

แนวปฏิบัติทั่วไปเกี่ยวกับการนอนหลับที่ดี มีอะไรมากมายที่ทำได้ เพื่อให้นอนหลับยามค่ำคืนได้ดีกว่าที่เป็นอยู่หลายเท่า โดยอาศัยสิ่งที่เรียกว่าแนวปฏิบัติสุขอนามัยด้านการนอนหลับที่ดี ที่ปฏิบัติตามได้ทุกวัน ขอให้เป็นข้อที่ว่า พยายามเข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดิม ไม่ว่าในสถานการณ์ใด นี่อาจเป็นหนทางหนึ่งเดียวที่จะช่วยยกระดับการนอนหลับได้อย่างได้ผลที่สุด แม้จะต้องใช้นาฬิกาปลุกก็ตาม

ที่เกี่ยวกับกิจกรรมทางร่างกายคือ พยายามอย่าออกกำลังกายก่อนนอน เพราะอุณหภูมิร่างกายอาจยังสูงอยู่ในช่วง 1-2 ชั่วโมงหลังจากออกกำลังกาย ซึ่งหากใกล้เวลาเข้านอนเกินไป อาจเป็นเรื่องยากที่จะลดอุณหภูมิภายในร่างกายลงให้มากพอที่จะนอนหลับได้ อย่างไรก็ดีเพื่อให้นอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักฐานทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่า ควรหลีกเลี่ยงการเข้านอนขณะอิ่มหรือหิวเกินไป และงดอาหารที่เน้นหนักไปทางคาร์โบไฮเดรต โดยเฉพาะน้ำตาลมากจนเกินควร

บทที่ 15 การนอนหลับกับสังคม

การอดนอนบั่นทอนความสามารถหลัก ๆ หลายประการที่จำเป็นต่อการจ้างงาน ส่วนใหญ่ผู้ที่นอนน้อยกว่าในช่วงหลายวันก่อนหน้านั้นคือ คนเดียวกับที่เลือกปัญหาที่ท้าทายน้อยกว่าเสมอ พวกเขาเลือกทางออกที่ง่ายดาย และคิดหาวิธีแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ได้น้อยกว่า ในระหว่างดำเนินงาน ด้วยเหตุนี้พนักงานที่นอนหลับไม่เพียงพอ จะไม่ขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้า ด้วยนวัตกรรมที่ผลิดอกออกผล ทุกคนต่างดูเหมือนกำลังปั่นจักรยานอยู่ ทว่าทิวทัศน์กลับไม่เคยเปลี่ยนแปลง ทำนองเดียวกับคนที่ปั่นจักรยานออกกำลังกายอยู่กับที่ เรื่องตลกร้ายที่พนักงานไม่ทันสังเกตคือ เมื่อนอนหลับไม่เพียงพอ จะมีประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง จึงต้องทำงานนานขึ้นเพื่อให้ได้ตามเป้า นั่นหมายความว่ามักจะต้องทำงานนานขึ้น และดึกขึ้น กลับถึงบ้านดึกขึ้น เข้านอนดึกขึ้น และต้องตื่นเช้าขึ้น ส่งผลเสียต่อเนื่องเช่นนี้ไม่รู้จบ

การนอนหลับกับการบริการดูแลสุขภาพ ถ้ากำลังจะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ขอแนะนำอย่างยิ่งให้ถามแพทย์ว่า คุณหมอได้นอนหลับมากแค่ไหนในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา หากคำตอบของแพทย์จะเป็นตัวกำหนดว่า การรักษาที่ได้รับจะก่อให้เกิดข้อผิดพลาดทางการแพทย์อย่างร้ายแรงหรือแม้กระทั่งถึงแก่ชีวิตหรือไม่ มีข้อมูลผลกระทบที่สร้างความเสียหายบันทึกไว้อย่างชัดเจน โดยระบุว่าแพทย์ประจำบ้านที่อยู่เวร 30 ชั่วโมงติดต่อกัน มีโอกาสจะทำผิดพลาดทางการแพทย์อย่างร้ายแรง ตัวอย่างเช่น สั่งยาโดยระบุปริมาณยาผิด หรือเผลอทิ้งเครื่องมือผ่าตัดไว้ในร่างกายคนไข้ โดยคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 36%  เมื่อเทียบกับแพทย์ประจำบ้านที่ทำงานไม่เกิน 16 ชั่วโมง นอกจากนี้หลังจากอยู่เวร 30 ชั่วโมงโดยไม่ได้นอน แพทย์ประจำบ้านยังวินิจฉัยผู้ป่วยในแผนกอภิบาลผู้ป่วยวิกฤตหรือ ICU ผิดพลาดมากกว่าเวลาที่พวกเขาได้พักผ่อนนอนหลับอย่างเต็มที่ โดยคิดเป็นส่วนต่างที่สูงถึง 46 0% ทีเดียว

เป็นเรื่องน่าเศร้าที่การมองข้ามการนอนหลับ ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติระดับโลกที่เลวร้ายที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์มาแล้วหลายครั้ง เหตุการณ์หนึ่งเมื่อเตาปฏิกรณ์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลเกิดระเบิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 1986 รังสีจากมหันตภัยนี้รุนแรงกว่าระเบิดปรมาณูในสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึง 100 เท่า เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ผู้อดนอน ซึ่งทำงานในกะอันน่าเหน็ดเหนื่อย และไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่มันเกิดขึ้นตอนตีหนึ่ง ผู้คนนับพันเสียชีวิตจากผลกระทบระยะยาวของรังสีในช่วงหลายทศวรรษอันยาวนานหลังจากนั้น และอีกหลายหมื่นคนต้องทนทุกข์กับความเจ็บป่วยทางการแพทย์และการพัฒนาการ ซึ่งทำให้ร่างกายอ่อนแอไปตลอดชีวิต

นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่เรือบรรทุกน้ำมันเอ็กซ์ซอนวัลเดช ชนเข้ากับแนวปะการังไบลจ์ (Bligh Reef) ในอะแลสกาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 1989 จนเป็นเหตุให้ท้องเรือปริแตกน้ำมันดิบราว 10 ล้านถึง 40 ล้านแกลลอนรั่วไหลสู่แนวชายทะเลโดยรอบเป็นระยะทาง 1,300 ไมล์ ฆ่าชีวิตนกทะเลมากกว่า 5 แสนตัว นาก 5,000 ตัว แมวน้ำ 300 ตัว นกอินทรีย์หัวขาวกว่า 200 ตัว และวาฬเพชรฆาต 20 ตัว ระบบนิเวศชายฝั่งไม่เคยฟื้นตัวดังเดิมได้อีกเลยนับแต่นั้น เหตุเพราะกัปตันผู้มีสติครบถ้วน ได้ผลัดเปลี่ยนหน้าที่ควบคุมเรือให้ผู้ช่วยต้นเรือ ซึ่งได้นอนหลับเพียง 6 ชั่วโมง ในช่วง 48 ชั่วโมงก่อนหน้านั้น ทำให้เขาเดินเรือผิดพลาดจนเกิดความพินาศตามมา โศกนาฏกรรมระดับโลกทั้งสองครั้งนี้ เป็นเรื่องที่เราป้องกันได้อย่างสิ้นเชิง เช่นเดียวกับทุกสถิติการนอนที่กล่าวไป

บทที่ 16 วิสัยทัศน์แห่งการนอนหลับในทศวรรษที่ 21

หากเรายอมรับว่าการอดนอนคือ การทำการุณยฆาตตนเองอย่างช้า ๆ เช่นนั้นแล้ว จะทำอะไรกับเรื่องนี้ได้บ้าง การแก้ปัญหานี้ต้องอาศัยการใช้เหตุผล 2 ขั้น ตอนขั้นแรกต้องเข้าใจว่าเหตุใดปัญหาการนอนหลับไม่เพียงพอ จึงดูจะไม่สะทกสะท้านต่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เอาเสียเลย นั่นทำให้ปัญหานี้ยังอยู่ และมีแต่จะย่ำแย่ลง ขั้นที่ 2 ต้องคิดค้นรูปแบบอันเป็นระบบ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในทุกจุด ยกระดับที่เป็นไปได้ ไม่มีทางออกใดเพียงหนึ่งเดียวที่แก้ปัญหานี้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ ในเมื่อเหตุผลที่ทำให้ผู้คนในสังคมนอนน้อยเกินไปนั้น ไม่ได้มีเพียงข้อเดียวแต่มีอยู่หลายข้อด้วยกัน

ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยี ทำให้มีอุปกรณ์ติดตามการนอนหลับ และจังหวะรอบวันของแต่ละบุคคลด้วยความแม่นยำสูง ให้ซื้อหาในราคาที่จับต้องได้ เมื่อเวลานั้นมาถึง ก็สามารถผนวกอุปกรณ์ติดตามการนอนหลับส่วนบุคคลเข้ากับการปฏิวัติเครือข่ายอุปกรณ์ภายในบ้าน อย่างตัวควบคุมอุณหภูมิและแสงไฟ อุปกรณ์ลักษณะนี้สามารถวัดการนอนหลับของสมาชิกครอบครัวแต่ละคนในห้องนอนแต่ละห้อง แล้วเปรียบเทียบกับอุปกรณ์กับอุณหภูมิในห้องนั้น ๆ ที่ตัวควบคุมอุณหภูมิรับรู้ได้ ก็สามารถคัดสรรสภาพแวดล้อมสำหรับนอนหลับได้อย่างชาญฉลาด โดยกำหนดอุณหภูมิอย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อให้เข้ากับจังหวะรอบวันของแต่ละคนในห้องนอนแต่ละห้อง ทั้งหมดนี้ช่างแตกต่างจากสภาพแวดล้อมแบบอุณหภูมิคงที่ ซึ่งนอกจากจะไม่เอื้อประโยชน์อันใดแล้ว ยังรบกวนการนอนหลับของผู้คน ส่วนใหญ่ที่ใช้คุมอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิภายในบ้านแบบมาตรฐานทั่วไป การปรับเปลี่ยนแปลงทั้ง 2 อย่างนี้ ไม่ต้องอาศัยความพยายามจากตัวบุคคล และน่าจะทำให้สมาชิกทุกคนในครัวเรือนเคลิ้มหลับได้เร็วขึ้น นอนหลับได้งานขึ้น แม้กระทั่งเพิ่มระดับการหลับลึกแบบ NREM ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

การเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา มีคน 0% ที่เคยได้รับข้อมูล หรือสื่อการสอนใด ๆ เกี่ยวกับการนอนหลับ แม้กระทั่งในวิชาสุขศึกษา และการเรียนเรื่องสุขภาวะส่วนบุคคล ที่ไม่มีวี่แววที่สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการนอนหลับ ต่อสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตเลยแม้แต่นิดเดียว หากคนเหล่านี้คือ ตัวแทนคนทั่วไปก็แสดงว่าการนอนหลับไม่มีที่ยืนในระบบการศึกษา ที่ลูก ๆ เราได้รับ เยาวชนรุ่นแล้วรุ่นเล่ายังคงไม่ตระหนักถึงอันตรายที่เกิดขึ้น จากผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว จากการนอนหลับไม่เพียงพอ การให้ความรู้เรื่องการนอนหลับเป้าหมายมีอยู่ 2 ต่อ นั่นคือเปลี่ยนชีวิตเด็ก ๆ เหล่านั้น แล้วให้เด็ก ๆ ถ่ายทอดค่านิยมเรื่องการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ ไปสู่ลูก ๆ ของพวกเขาต่อไป โดยอาศัยการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการนอนหลับ และแนวปฎิบัติด้านการนอนหลับที่ดีขึ้น ไม่เพียงมีอายุขัยยืนยาวขึ้น แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือมีสุขภาพดียืนยาวขึ้นเช่นกัน โดยปราศจากความผิดปกติในวัยกลางคนและวัยชรา ที่รู้ว่ามีสาเหตุมาจากการนอนน้อยเรื้อรัง

การเปลี่ยนแปลงระดับองค์กร การที่มีสมาธิจดจ่อเต็มที่เมื่ออยู่ในที่ทำงาน และตัดสินใจได้ดีขึ้น ย่อมส่งผลต่อรากฐานสำคัญของธุรกิจอย่างยิ่ง หากหวังจะได้รับประโยชน์จากการนอนหลับทั้งในด้านสุขภาพ ร่างกาย และจิตใจ ความต่อเนื่องของการนอนหลับ ย่อมมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเวลานอนหลับโดยรวมเลย ดังนั้นคะแนนเครดิตการนอนหลับ จะคำนวณจากปริมาณและความต่อเนื่องของกิจวัตรการนอนหลับในแต่ละคืน ประกอบการผู้ที่เป็นโรคนอนไม่หลับอย่าเพิ่งรู้สึกว่าถูกลงโทษ อันที่จริงการติดตามการนอนหลับเป็นประจำด้วยวิธีนี้ จะช่วยบ่งชี้ปัญหาให้พวกเขารับทราบ และยังสามารถรับการบำบัดโดยปรับเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรมทางสมาร์ทโฟนได้ด้วย องค์กรอาจสร้างแรงจูงใจให้พวกเขารักษาโรคนอนไม่หลับ โดยให้รางวัลเป็นคะแนนเครดิตแบบเดียวกันนี้ เพื่อยกระดับสุขภาพบุคลากร ตลอดจนผลิตภาพความคิดสร้างสรรค์ และความสำเร็จของธุรกิจ

การเปลี่ยนแปลงระดับสังคมและนโยบายสาธารณะ สำหรับในระดับสูงสุดจำเป็นต้องมีการรณรงค์ต่อสาธารณชนที่ดีกว่านี้ เพื่อให้ความรู้ประชากรเกี่ยวกับการนอนหลับ ให้ตระหนักถึงอันตรายของการขับรถขณะง่วงนอน เทียบกับการรณรงค์และความพยายามนับครั้งไม่ถ้วน เพื่อให้ผู้คนตื่นตัวเรื่องอุบัติเหตุที่เชื่อมโยงกับยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์ ทั้งที่ในความเป็นจริงการขับรถขณะง่วงนอน เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุมากกว่าปัญหาทั้งสองข้อนี้ และทำให้สูญเสียชีวิตมากกว่าด้วย รัฐบาลจะรักษาชีวิตผู้คนไว้ได้ปีละหลายแสนคน ถ้าพวกเขาขับเคลื่อนการรณรงค์ลักษณะนี้ ซึ่งจะคืนทุนอย่างง่ายดายเมื่อคำนึงถึงเม็ดเงินที่ประหยัดได้ จากค่าบริการดูแลสุขภาพและบริการฉุกเฉิน ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากการขับรถขณะง่วงนอน อีกทั้งยังช่วยลดอัตราและเบี้ยประกันสุขภาพ รวมถึงประกันรถยนต์ได้อย่างแน่แท้

บทสรุปนอนหรือไม่นอน

ภายในเวลาเพียง 100 ปี มนุษย์ได้ละทิ้งความจำเป็นอันเป็นประกาศิตทางชีววิทยา ที่กำหนดให้นอนหลับอย่างเพียงพอ ความจำเป็นที่มีวิวัฒนาการใช้เวลา 3,400,000 ปี ปั้นแต่งให้สมบูรณ์แบบเพื่อทำหน้าที่อุ้มชูชีวิต ด้วยเหตุนี้ การนอนหลับที่เสื่อมถอยลงชนิดดิ่งเหว ซึ่งเกิดขึ้นทั่วกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม จึงกำลังสร้างความพินาศให้ทั้งในด้านสุขภาพ อายุขัย ความปลอดภัย และผลิตภาพ ตลอดจนการศึกษาของลูกเราด้วย

ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว การอดนอนที่กำลังแพร่ระบาดอย่างเงียบเชียบนี้ เป็นความท้าทายทางสาธารณสุขอันใหญ่หลวงที่สุด ที่เราเผชิญในศตวรรษที่ 21 รวมถึงการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่มันยัดเยียดให้ และสุขภาพอันทรุดโทรมที่มันชักนำมา เช่นนั้นแล้ว การตระหนักถึงคุณค่าของการนอนหลับในระดับบุคคล วัฒนธรรม วิชาชีพ และสังคม ต้องเปลี่ยนแปลงไปชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ จะกลับไปรวมเป็นหนึ่งเดียวกับสุขภาวะ และกำลังวังชาตามเส้นทางชีวภาพทุกทางที่จินตนาการได้ เมื่อนั้นเราอาจจดจำได้ว่า รู้สึกอย่างไรยามได้ตื่นเต็มตาอย่างแท้จริงตอนกลางวัน พร้อมสัมผัสถึงการมีชีวิตอย่างบริบูรณ์อันลึกลึกซึ้งสุดพรรณนา