สรุปหนังสือ : ชีวิตติดปีกด้วยศิลปะแห่งการช่างแม่ง

The Subtle Art of Not Giving A F*ck

มองโลกในมุมกลับ เพื่อทำให้ชีวิตคุณดีขึ้น

By Mark Manson

สั่งซื้อหนังสือ “ชีวิตติดปีกด้วยศิลปะแห่งการช่างแม่ง” ได้ที่นี่ : คลิ๊ก

บทที่ 1 อย่าพยายาม

วัฒนธรรมของเราทุกวันนี้ หมกมุ่นอยู่กับความโลกสวย จงมีความสุขมากขึ้น จงมีสุขภาพที่ดี จงเป็นที่หนึ่ง แต่ถ้าลองหยุดฝันแล้วหันกลับมาคิดดูให้ดี คำแนะนำการใช้ชีวิตที่เราเห็น ๆ กันทั่วไป พวกวิธีคิดบวกวิธีมีความสุขทั้งหลายแหล่ วิธีคิดพวกนี้มุ่งเป้าไปที่ความล้มเหลว และสิ่งที่คุณคิดว่าตัวเองกำลังขาด แล้วเน้นย้ำสิ่งเหล่านี้ให้ชัดเจนขึ้นไปอีกขั้น

ผู้ชายที่มั่นใจอยู่แล้วไม่เห็นจะต้องพิสูจน์ให้คนอื่นเห็นว่ามั่นใจ ผู้หญิงที่รวยอยู่แล้วไม่เห็นจะต้องคอยบอกคนอื่นว่ารวย มันอยู่ที่ว่าเป็นแบบนั้นหรือไม่ได้เป็นแบบนั้นก็เท่านั้นเอง ถ้าฝันอยากจะเป็นอะไรสักอย่างอยู่ตลอดเวลา ก็เท่ากับว่ายิ่งกำลังตอกย้ำซ้ำไปซ้ำมา ภายในจิตใต้สำนึกของตัวเองว่าไม่ได้เป็นสิ่งนั้น การแคร์ให้น้อยลงแค่เฉพาะสิ่งที่จริงแท้ สิ่งที่เป็นปัจจุบัน และสิ่งที่สำคัญเท่านั้น

วังวนอุบาทว์จากนรก สมองมีความแปลกประหลาดซ่อนอยู่ ซึ่งถ้าปล่อยให้มันโผล่ออกมา มันจะทำให้กลายเป็นบ้าได้ สมมุติว่าตอนนี้กำลังมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ โมโหกับเรื่องไร้เหตุผล แต่ไม่รู้ว่าทำไม พอนึกถึงการที่ตัวเองโมโหง่าย ก็เริ่มโมโหมากขึ้น เกลียดตัวเองไปอีก จนกระทั่งรู้สึกโมโหตัวเอง เลยกลายเป็นว่ากำลังโมโหตัวเองที่กำลังโมโห มันคือสิ่งที่เรียกว่าวังวนอุบาทจากนรก

เชื่อหรือไม่ว่านี่คือความสวยงามอย่างหนึ่งของการเป็นมนุษย์ เราเหนือกว่าสัตว์อื่น ๆ ตรงที่สามารถคิดเกี่ยวกับความคิดของตัวเองได้ วังวนอุบาทว์จากนรกกำลังกลายเป็นโรคติดต่อร้ายแรง ที่ทำให้หลาย ๆ คนเครียดจนเกินไป กังวลจนเกินไป และเกลียดตัวเองมากจนเกินไป นี่คือเหตุผลที่การชั่งแม่งได้มีความสำคัญมาก นี่คือเหตุผลที่การช่างแม่งจะกอบกู้โลกของเรา

ความต้องการที่จะมีความคิดเชิงบวกคือความคิดเชิงลบ การยอมรับความคิดเชิงลบคือความคิดเชิงบวก นี่คือสิ่งที่นักปราชญาอย่างอลัน วัตส์เรียกว่ากฎแห่งการย้อนกลับ ซึ่งหมายถึงยิ่งตามหาความรู้สึกดี ๆ มากขึ้น ก็ยิ่งรู้สึกพอใจน้อยลง เพราะการตามหาสิ่งหนึ่งเป็นการตอกย้ำถึงความจริงที่ว่าขาดสิ่งนั้นอยู่ เคยลองสังเกตไหมว่าเวลาที่แคร์อะไรบางอย่างน้อยลง กลับทำสิ่งนั้นได้ดีขึ้น คงเคยเห็นว่าบ่อยครั้งที่คนที่ไม่ได้ใส่ใจกับความสำเร็จ มักจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีค่าในชีวิต เป็นผลมาจากการเอาชนะความคิดเชิงลบทั้งหลาย

ศิลปะแห่งการช่างแม่ง เวลาพูดถึงคำว่าช่างแม่ง คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการอยู่นิ่ง ๆ มองเฉย ๆ ต่อทุกสิ่งทุกอย่าง หรือจะเรียกว่าความสงบสยบความเคลื่อนไหวก็คงได้ การช่างแม่งหมายถึงเคล็ดลับ 3 ประการดังนี้ คือ

เคล็ดลับทื่ 1 การช่างแม่งไม่ได้หมายถึง การเมินเฉย แต่หมายถึงการยอมรับว่าตัวเองนั้นแตกต่าง คนที่มองข้ามอุปสรรค ความล้มเหลว ความอาย หรือแม้แต่ความผิดพลาดหลายต่อหลายครั้งไปได้ คนที่หัวเราะแล้วทำตามสิ่งที่ตัวเองเชื่อต่อ ก็เพราะว่าคนเหล่านี้รู้สิ่งที่ตัวเองทำนั้นถูกต้อง พวกเขารู้ว่าสิ่งนี้สำคัญกว่าตัวเอง สำคัญกว่าความรู้สึกของตัวเอง เขาไม่ได้พูดว่าไม่สนกับทุกอย่างในชีวิต แต่พูดเฉพาะกับสิ่งที่ไม่สำคัญในชีวิต คนเหล่านี้เลือกที่จะแคร์เฉพาะในสิ่งที่สำคัญ และมีความหมายจริง ๆ เท่านั้น คนอื่น ๆ ซึ่งแคร์พวกเขาเช่นกัน

เคล็ดลับที่ 2 หากจะมองข้ามอุปสรรค ก็ต้องแคร์อะไรก็ตามที่สำคัญกว่าอุปสรรคก่อน การค้นหาสิ่งสำคัญและมีความหมายต่อชีวิต เป็นการใช้เวลาและพลังงานของคุณได้อย่างมีประโยชน์ที่สุด ถ้าหาสิ่งมีความหมายนั้นไม่เจอ คนที่จะเกิดตามมาก็คือ จะไปแคร์กับเรื่องที่ไร้ความหมาย และไร้สาระแทน

เคล็ดลับที่ 3 กำลังเลือกว่าจะแคร์อะไรบ้างอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม คนเราไม่ได้เกิดมาเพื่อมองข้ามสิ่งต่าง ๆ แต่เราเกิดมาเพื่อแคร์สิ่งต่าง ๆ มากเกินความจำเป็นด้วยซ้ำ การเรื่องมากกับสิ่งที่เราจะแคร์ นี่คือสิ่งที่เรียกว่าวุฒิภาวะ ซึ่งหมายถึงการที่เราเรียนรู้ที่จะแคร์เฉพาะเรื่องที่ควรจะแคร์เท่านั้น ชีวิตก็คือชีวิตเราต้องยอมรับมันทั้งเรื่องดีและไม่ดี เราเหลือพลังงานที่จะแคร์น้อยลง และเราก็จะเก็บมันไว้เพื่อสิ่งที่ควรค่าแก่การแคร์ที่สุดในชีวิตของเรา ความเรียบง่ายนี้เอง ที่ทำให้เรามีความสุขอยู่ตลอดเวลา

หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้นอีกนิด ว่ากำลังเลือกอะไรที่มีความสำคัญ และอะไรที่ไม่สำคัญในชีวิต หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด ไม่ใช่คู่มือไปสู่ความยิ่งใหญ่ มันไม่มีทางเป็นไปได้ ในทางกลับกันหนังสือเล่มนี้จะเปลี่ยนความเจ็บปวด ให้กลายเป็นเครื่องมือเตรียมพร้อมรับความบอบช้ำ แล้วเปลี่ยนให้เป็นพลัง และเปลี่ยนปัญหาที่ประสบอยู่ ให้เป็นปัญหาที่ดีขึ้นอีกนิด นี่แหละคือความก้าวหน้าที่แท้จริง

ให้มองหนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือแนะนำ เกี่ยวกับความทุกข์และวิธีเป็นทุกข์ได้อย่างมีความสุขมากขึ้น มีเป้าหมายมากขึ้น มีความเห็นใจ และมีความอ่อนน้อมถ่อมตน หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ชีวิตเบาลง แม้จะต้องรับภาระอันหนักหนา จะผ่อนคลายได้เต็มที่แม้ต้องเผชิญกับความกลัว และจะสามารถหัวเราะไปกับน้ำตาแห่งความเศร้าได้ หนังสือเล่มนี้จะสอนให้แคร์ในสิ่งต่าง ๆ น้อยลง และสอนให้รู้จักกับการไม่พยายาม

บทที่ 2 ความสุขคือปัญหา

หลายคนเชื่อว่าความสุขนั้นมีความเป็นขั้นเป็นตอน สามารถทำตามขั้นตอนเพื่อนำมาซึ่งความสุขได้ หลักการนี้เองที่เป็นปัญหา ความสุขไม่ใช่สมการที่จะมาถอดแก้ไขคำตอบได้ ความไม่พอใจและและความไม่สบายใจ เป็นสิ่งที่ฝังอยู่ในธรรมชาติของมนุษย์

เราเป็นทุกข์ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ความทุกข์มีประโยชน์ในทางชีววิทยาด้วยเหมือนกัน ความทุกข์คือวิธีที่ธรรมชาติเลือกใช้ ในการผลักดันให้เปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง สมองของเราปลูกฝังด้วยความคิดที่ว่า เราจะไม่พอใจกับอะไรก็ตามที่เรามีอยู่ ความไม่พอใจอยู่ตลอดเวลานี่เอง ที่ทำให้เผ่าพันธุ์ของเราต่อสู้ ดิ้นรนสร้างสรรค์ และเอาชนะมาโดยตลอด การหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด การตามหาความสุข จึงไม่ได้มีประโยชน์เสมอไป เพราะในบางครั้งความเจ็บปวดก็สำคัญต่อสุขภาพของเรามากเลยทีเดียว

ความเจ็บปวดทางใจก็เหมือนกับความเจ็บปวดทางกาย มันเป็นการบ่งบอกให้เรารู้ว่า มีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้น หรือมีการล้ำเส้นของข้อจำกัดบางอย่าง ชีวิตก็คือปัญหาที่ไหลเข้ามาไม่หยุดหย่อน คำตอบของปัญหาหนึ่งก็แค่นำไปสู่ปัญหาใหม่ อย่าไปคาดหวังว่าชีวิตจะปราศจากปัญหาเลย ชีวิตแบบนั้นไม่มี สู้ไปหวังว่าชีวิตจะมีแต่ปัญหาดี ๆ มหาเศรษฐีอย่าง วอเร็น บัฟเฟต์ ก็ยังมีปัญหาเรื่องเงิน ขี้เมาไร้บ้านที่นอนอยู่ใต้สะพานลอย ก็มีปัญหาเรื่องเงิน เพียงแต่เศรษฐีแบบวอเรนมีปัญหาเรื่องเงินที่ดีกว่าปัญหาของพ่อคนไร้บ้านแค่นั้นเอง ชีวิตมันก็เป็นแบบนี้

ความสุขเกิดจากการแก้ปัญหา ปัญหาเกิดขึ้นตลอดเวลาในชีวิตคนเรา ปัญหาไม่เคยหายไป แค่เปลี่ยนจากปัญหาหนึ่งเป็นอีกปัญหาหนึ่ง หรืออัปเกรดตัวเองเป็นปัญหาอีกระดับหนึ่งเท่านั้น ความสุขเกิดจากการแก้ปัญหา ถ้าเราจะมีความสุขเราก็จำเป็นต้องมีอะไรบางอย่างให้แก้ การไม่ยอมรับความจริงว่าตัวเองมีปัญหา จึงมักจะต้องหลอกตัวเอง หรือเบี่ยงเบนความสนใจของตัวเอง ออกจากโลกแห่งความเป็นจริงอยู่เสมอ

การคิดว่าตัวเองเป็นผู้รับเคราะห์ หลายคนเชื่อว่าไม่มีอะไรที่จะแก้ปัญหาได้อีกแล้ว มักจะโทษคนอื่นว่าเป็นต้นเหตุของปัญหา หรือโทษสถานการณ์อย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง คนเราไม่ยอมรับปัญหาและโทษคนอื่นด้วยเหตุผลง่าย ๆ คือมันสะดวกและทำให้รู้สึกดี ในขณะที่การแก้ปัญหาเป็นสิ่งที่ยากและมักจะทำให้รู้สึกแย่

อารมณ์ถูกให้ความสำคัญมากเกินไป อารมณ์วิวัฒนาการขึ้นเพื่อช่วยให้เราใช้ชีวิต และสืบพันธุ์ได้ง่ายขึ้นอีกนิด อารมณ์เป็นเสมือนกับกลไกตอบสนอง บอกให้เรารู้ว่ามีอะไรที่น่าจะถูกต้อง หรือมีอะไรที่น่าจะผิดปกติกับเรา อารมณ์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเรา แต่ไม่ใช่ทั้งหมดเท่านั้นเอง การที่ทำอะไรบางอย่างแล้วรู้สึกดี ไม่ได้หมายความว่ามันเป็นสิ่งที่ดี การที่ทำอะไรบางอย่างแล้วรู้สึกแย่ ก็ไม่ได้หมายความว่ามันเป็นสิ่งที่แย่ เป็นเพียงแค่ป้ายบอกทาง เป็นแค่คำแนะนำ เป็นสิ่งที่สมองบอกกับเราเท่านั้น

ความหมกมุ่นและการเชื่อในอารมณ์มากเกินไป ทำให้เราต้องผิดหวังด้วยเหตุผลง่าย ๆ นั่นคืออารมณ์เป็นสิ่งไม่แน่นอน การที่รู้สึกว่ามันยังไม่พอ นักจิตวิทยาบางคนเรียกภาวะนี้ว่าลู่วิ่งความสุข (Hedonic Treadmill) ซึ่งหมายถึงว่าเราทำงานหนัก เพื่อที่จะเปลี่ยนชีวิตของเรา แต่จริง ๆ แล้วเรากลับไม่ได้รู้สึกแตกต่างไปจากเดิมเลย ไม่อยากยอมรับความจริงนี้ เราชอบคิดว่าโลกนี้มีความสุขที่แท้จริงกำลังรอเราอยู่ ชอบคิดว่าเราสามารถที่จะรู้สึกเต็มอิ่ม และพอใจกับชีวิตของเราได้ตลอดกาล แต่มันเป็นไปไม่ได้เลย

การเลือกความยากลำบากที่ต้องเผชิญ ทุกคนชื่นชอบอะไรก็ตามที่ทำให้รู้สึกดี ทุกคนอยากมีชีวิตที่ไม่ต้องห่วงอะไร มีความสุขสะดวกสบาย ทุกคนอยากได้สิ่งเหล่านี้มันง่าย เส้นทางสู่ความสุขคือ เส้นทางที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวดและความอับอาย จำเป็นต้องเลือกอะไรบางอย่าง ที่ไม่สามารถมีชีวิตที่ปราศจากความเจ็บปวดได้ ชีวิตไม่มีทางโรยด้วยกลีบกุหลาบไปตลอดกาล การเลือกความสุขเป็นเรื่องง่าย และคนส่วนใหญ่ก็มีคำตอบเดียวกัน ตัวตนถูกกำหนดโดยความยากลำบากที่เต็มใจจะเผชิญ

มันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับกับพลังใจหรือความกล้าเลย ความยากลำบากคือสิ่งที่กำหนดความสำเร็จ ปัญหาคือบ่อเกิดแห่งความสุข และต้องมาพร้อมกับปัญหาที่ดีขึ้นกว่าเดิม ทั้งหมดนี้วนไปมาไม่มีที่สิ้นสุด ความสุขมาจากการปีนขึ้นไปนั่นเอง

บทที่ 3 คุณไม่ได้พิเศษกว่าคนอื่น

การมีคุณค่าในตัวเองสูง ซึ่งหมายถึงการมีความคิดและความรู้สึกเชิงบวกต่อตัวเอง เริ่มมีการสอนพ่อแม่มือใหม่ เกี่ยวกับแนวทางการฝึกลูกหลาน ให้ตระหนักถึงคุณค่าในตัวเอง แต่เมื่อคนรุ่นนี้เติบโตขึ้น เพราะได้เห็นอะไรบางอย่างที่ชัดเจน ไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นที่หนึ่ง ในที่สุดก็เห็นแล้วว่าการรู้สึกดีกับตัวเองไม่ได้มีความหมายอะไรเลย ถ้าไม่มีเหตุผลที่ดีที่จะรู้สึกแบบนั้นกับตัวเอง

เราได้เห็นว่าอุปสรรคและความล้มเหลวนั้น มีประโยชน์และจำเป็นเสียด้วยซ้ำ คนหลงตัวเองมักเป็นไปด้วยภาพลวงของความมั่นใจในตัวเอง แต่ปัญหาของความรู้สึกหลงตัวเองก็คือ มันทำให้คนเหล่านั้นจำเป็นต้องรู้สึกดีกับตัวเองตลอดเวลา แม้จะต้องทำให้คนรอบข้างลำบากใจก็ตาม หลังจากที่คน ๆ หนึ่งกลายเป็นคนที่เห็นโลกหมุนรอบตัวเอง มันยิ่งเป็นเรื่องยากที่จะทำให้เขาเลิกนิสัยนี้

การพยายามที่จะอธิบายด้วยเหตุผล จะถูกมองเป็นเพียงแค่ความประสงค์ร้าย จากคนที่รับไม่ได้กับความฉลาด ความเก่ง ความหน้าตาดี และความสำเร็จของเขา คนที่รู้สึกว่าตัวเองพิเศษ จะไม่สามารถเปิดรับปัญหาของตัวเองได้อย่างจริงใจ เขาจึงไม่สามารถแก้ไขชีวิตของตัวเองให้ดีขึ้นได้

สิ่งที่คนเรานี้ทำได้ก็คือ การตามหาความมึนเมาไปกับความสุขซ้ำแล้วซ้ำเล่า และปฏิเสธความจริงต่อไปเรื่อย ๆ ในที่สุดแล้วความจริงก็จะสำแดงออกมา และปัญหาทั้งหมดที่เก็บซ่อนไว้ก็จะโผล่ขึ้นมาอีกครั้ง นี่คือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ทุกอย่างย่อมพังทลายลงมา การมองทุกอย่างในชีวิตให้ดูเหมือนกับว่า ตัวเองเป็นผู้รับเคราะห์อยู่ตลอดเวลานั้น ต้องใช้ความเห็นแก่ตัวไม่ต่างกับการคิดว่าตัวเองเก่งที่สุดตลอดเวลา การหลอกตัวเองให้เชื่อว่ามีปัญหาที่แก้ไม่ตกนั้น ต้องใช้ความพยายามในระดับเดียวกัน กับการคิดว่าตัวเองนั้นไม่มีปัญหาอะไรต้องแก้เลย

เราไม่มีสิทธิ์ที่เรียกว่าปัญหาของฉัน ต้องเคยมีคนอีกไม่รู้กี่ล้าน คนที่เคยผ่านปัญหานี้มาแล้ว กำลังมีปัญหานี้อยู่ หรือจะต้องเจอกับปัญหานี้ในอนาคต ซึ่งก็ไม่แน่ว่าอาจจะเป็นคนใกล้ตัวก็ได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าปัญหานั้นไม่สำคัญ หรือก็ทำให้เจ็บปวด และไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ได้เป็นผู้รับเคราะห์ จริง ๆ มันก็แค่หมายความว่า คุณไม่ได้พิเศษกว่าคนอื่นเท่านั้นเอง

ถ้าฉันไม่มีวันเป็นคนพิเศษแล้วจะพยายามไปทำไมกัน ความเชื่อหนึ่งที่สังคมสมัยนี้ส่งเสริมก็คือ เราทุกคนเกิดมาเพื่อเก่งในเรื่องอะไรสักเรื่อง เราทุกคนเป็นคนพิเศษได้ เราทุกคนสมควรที่จะได้รับความยิ่งใหญ่ คนส่วนใหญ่มองข้ามข้อเท็จจริงที่ว่า คำพูดนี้ขัดแย้งกันเองไปเสียสนิท เพราะถ้าทุกคนพิเศษก็แสดงว่าไม่มีใครพิเศษ แทนที่จะตั้งคำถามว่าเราสมควรได้หรือไม่สมควรได้อะไร เรากับหลงงมงายไปกับคำพูดนี้แล้วเรียกร้องมากขึ้น

การเป็นคนธรรมดาได้กลายเป็นมาตรฐานใหม่ ความล้มเหลวคือมันแย่มาก ที่เป็นคนธรรมดาที่อยู่ตรงกลาง ในเมื่อมาตรฐานความสำเร็จของสังคมคือการเป็นคนพิเศษ คนส่วนใหญ่กลัวที่จะยอมรับในความธรรมดา เพราะเชื่อว่าถ้ายอมรับในสิ่งนี้ พวกเขาจะไม่มีวันประสบความสำเร็จ ไม่มีวันที่จะพัฒนา และชีวิตก็จะไม่มีคุณค่าอีกต่อไป

คนที่ประสบความสำเร็จก็เพราะรู้ดีว่าตัวเองยังไม่เก่ง คนเหล่านี้รู้ว่าตัวเองเป็นแค่คนธรรมดาทั่วไป และสามารถพัฒนาตัวเองให้เป็นได้มากกว่านั้น แรงกดดันที่บีบบังคับให้ต้องเป็นคนที่เก่งกาจ เป็นคนที่ยิ่งใหญ่ได้ถูกยกออกจากอก จะเลิกเครียด และเลิกกังวล ว่าตัวเองไม่เคยดีพอ จะเริ่มตระหนักรู้และยอมรับชีวิตที่แสนจะธรรมดา จะเริ่มรักชีวิตที่ธรรมดาและเรียบง่ายมากขึ้น

บทที่ 4 คุณค่าของความทุกข์

มนุษย์มักจะเลือกอุทิศชีวิตส่วนใหญ่ของตัวเองไปกับอุดมการณ์ที่ดูเหมือนจะไม่มีประโยชน์ หรืออาจเป็นอันตรายต่อตัวเอง ถ้ามองกันแค่ภายนอกอุดมการณ์เหล่านี้ ช่างไม่สมเหตุสมผล ไม่ว่ามันจะดูไร้เหตุผลเพียงใดก็ตาม ความทุกข์มีความหมายอะไรบางอย่าง ทุกข์ที่เติมเต็มอุดมการณ์ที่ยิ่งใหญ่ คนเราจึงสามารถทนต่อมันได้ หรือแม้แต่มีความสุขกับมัน ถ้าคนเราหลีกเลี่ยงความทุกข์ไม่ได้ ถ้าปัญหาในชีวิตของเราคือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น คำถามที่ควรถามน่าจะเป็นคำถามที่ว่าทำไมฉันจึงต้องทนทุกข์

หัวหอมแห่งการเข้าใจตัวเอง การเข้าใจตัวเองสามารถเปรียบได้กับหัวหอม เพราะมันมีหลายชั้น และยิ่งปอกลึกลงไปเรื่อย ๆ ก็ยิ่งเสี่ยงกับการเสียน้ำตาในเวลาที่ไม่สมควร ลองสมมุติกันว่า

ชั้นแรกของหัวหอมแห่งการเข้าใจตัวเองคือ การเข้าใจอารมณ์ของตัวเอง สิ่งนี้ทำให้มีความสุข สิ่งนี้ทำให้เศร้า สิ่งนี้ให้ความหวัง น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่ไม่สามารถแม้แต่จะเข้าถึง ชั้นที่ง่ายที่สุด เราทุกคนล้วนมีจุดอับทางอารมณ์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นอารมณ์ ที่เราถูกสอนมาตั้งแต่เด็กว่าไม่ควรแสดงออกมา เราจึงต้องพยายามฝึกฝนอย่างหนัก เพื่อให้รู้ตัวเองว่าเรากำลังรู้สึกอย่างไร แล้วค่อยเลือกวิธีแสดงออกถึงอารมณ์ดังกล่าวอย่างเหมาะสม การทำแบบนี้สำคัญมาก และคุ้มค่ากับที่เราพยายามจนรู้จักอารมณ์ของตัวเอง

ชั้นที่ 2 ของหัวหอมแห่งการตระหนักรู้ตัวเองคือ การเข้าใจว่าทำไมเราจึงรู้สึกถึงอารมณ์นั้น ๆ คำถามว่าทำไมนี่เองที่เป็นเรื่องยาก และมักต้องใช้เวลาหลายเดือน หรืออาจจะหลายปี เพื่อตอบคำถามได้อย่างถูกต้องและตรงไปตรงมา การตั้งคำถามในชั้นนี้ จะช่วยให้เราเข้าใจถึงสาเหตุพื้นฐานของอารมณ์ ที่ครอบงำจิตใจเราอยู่ในขณะนั้น หลังจากที่เราเข้าใจสาเหตุพื้นฐานแล้ว เราก็จะลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อแก้ไขมันได้

ชั้นที่ 3 นี้ก็คือค่านิยมของเรา การลงมาถึงในชั้นนี้เป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก แต่ชั้นนี้เป็นชั้นที่สำคัญที่สุด เพราะค่านิยมคือสิ่งที่เป็นตัวกำหนดลักษณะปัญหาของเรา และลักษณะปัญหาของเราก็คือตัวกำหนดคุณภาพชีวิตของเรา สำหลับหลายคนทั้งหมดนี้ก็ถือว่าเป็นการเข้าใจตัวเองแล้ว แต่ถ้าลองดำดิ่งลงไปให้ลึกกว่านี้ และมองกันที่ค่านิยมพื้นฐาน พวกเขาจะเห็นได้ว่าการวิเคราะห์ตัวเองในตอนนี้ เป็นแค่การพยายามหลีกเลี่ยงปัญหา แทนที่จะเป็นการระบุปัญหาที่แท้จริง

ค่านิยมไม่ดีที่เรามักจะเห็นกันบ่อย ๆ ว่านำไปสู่ปัญหาที่เลวร้าย ซึ่งเป็นปัญหาที่แก้ยากได้แก่

1.รักสนุก ความสนุกเป็นสิ่งที่ดีก็จริง แต่เป็นค่านิยมที่ไม่ดีอย่างมาก งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า คนที่ทุ่มเทพลังงานไปกับความสนุกแบบผิวเผิน มักจะลงเอยด้วยความรู้สึกกังวลมากขึ้น อารมณ์ไม่มั่นคงมากขึ้น และซึมเศร้ามากขึ้นกว่าเดิม มักหาความสนุกได้ง่ายที่สุด แต่ก็สูญเสียมันได้ง่ายที่สุดเช่นกัน

  1. ความสำเร็จทางวัตถุ คนส่วนใหญ่วัดคุณค่าของตัวเอง โดยดูจากเงินที่หาได้ หรือรถที่ขับ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า หลังจากที่คน ๆ หนึ่งมีปัจจัยสี่ครบทั้งหมดแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขกับความสำเร็จเชิงวัตถุ จะเข้าใกล้ศูนย์อย่างรวดเร็ว
  2. ต้องถูกเสมอ สมองของเราเป็นเครื่องจักรที่ไร้ประสิทธิภาพที่สุด เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์เราย่อมทำผิดอยู่แทบตลอดเวลา คนที่วัดคุณค่าของตัวเอง โดยดูจากการต้องถูกเสมอ ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม มักจะเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเองไม่ค่อยได้
  3. คิดบวกตลอดเวลา เรายังมีคนที่วัดคุณค่าของชีวิต โดยดูจากความสามารถในการคิดบวก ถึงแม้ว่าการคิดแบบโลกสวยจะเป็นเรื่องดี แต่ความจริงที่เราหนีไม่พ้นก็คือ บางครั้งชีวิตมันก็แย่ และสิ่งที่ดีที่สุดที่สามารถทำได้ก็คือยอมรับมัน เคล็ดลับในการจัดการกับอารมณ์ทางโลกได้แก่
  4. แสดงอารมณ์เหล่านี้ออกมา ในลักษณะที่สังคมยอมรับได้ และส่งผลดีต่อตัวเอง
  5. แสดงอารมณ์เหล่านี้ออกมา ในทิศทางเดียวกันกับค่านิยม

นี่คือเหตุผลที่ทำให้ความสนุก ความสำเร็จทางวัตถุ การต้องถูกเสมอ และการคิดบวกตลอดเวลา ถือเป็นค่านิยมที่เลวร้ายสำหรับชีวิตเรา เพราะช่วงเวลาที่ดีที่สุดของเราหลาย ๆ ครั้ง ไม่น่าสนุก ไม่มีความสำเร็จ ไม่สามารถคาดเดาได้ และไม่ได้เป็นเรื่องบวก ต้องเลือกค่านิยมและตัวชี้วัดที่เหมาะสม จากนั้นความสุขและความสำเร็จจะเกิดขึ้นตามมาเอง ทั้งสองสิ่งนี้คือผลพลอยได้จากค่านิยมที่ดี

ค่านิยมที่ดีและค่านิยมที่เลว ค่านิยมที่ดีจะต้อง1. อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง 2. เป็นที่ยอมรับของสังคม 3. ส่งผลโดยตรงและควบคุมได้

ค่านิยมที่เลวคือ 1. อยู่บนพื้นฐานของความเชื่อ 2. สังคมรังเกียจ 3. ไม่ส่งผลโดยตรงหรือควบคุมไม่ได้

ความเด่นดังจัดเป็นค่านิยมที่เลวเพราะว่า

  1. ถ้ายึดถือค่านิยมนี้และตัวชี้วัดคือการเป็นชายหรือหญิงที่เด่นดังที่สุดในปาร์ตี้คืนนี้ ก็แทบจะควบคุมสถานการณ์ด้วยตัวเองไม่ได้เลย
  2. ค่านิยมหรือตัวชี้วัดนี้ ไม่ได้มีพื้นฐานอยู่บนความเป็นจริง อาจจะรู้สึกว่าตัวเองโดดเด่นหรือไม่มีใครสนใจ แต่ในความเป็นจริงไม่รู้เลยว่าใครคิดอะไรยังไงบ้าง

ค่านิยมที่ดีต่อชีวิตนั้นมาจากภายใน ค่านิยมที่เลวมักจะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก ทั้งหมดนี้คือแก่นแท้ของสิ่งที่เรียกว่าการพัฒนาตัวเอง นั่นคือการให้ความสำคัญกับค่านิยมที่ดี และการเลือกสิ่งที่สมควรจะแคร์ เพราะเมื่อเลือกแคร์ในสิ่งที่ควรค่า และเลือกสนใจสิ่งที่ไม่สำคัญ จะได้ปัญหาที่ดีขึ้น และเมื่อได้ปัญหาที่ดีขึ้น ย่อมมีชีวิตที่ดีขึ้น

บทที่ 5 คุณกำลังเลือกเสมอ

ถ้าเราเป็นคนเลือกปัญหาด้วยตัวเอง เราจะรู้สึกมีอำนาจเหนือปัญหา แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราถูกบังคับให้เผชิญกับปัญหานั้นโดยไม่เต็มใจ เราจะรู้สึกไร้พลังเหมือนกับตกเป็นผู้รับเคราะห์ทันที ทางเลือกจึงเป็นความจริงที่เรียบง่ายเพียงอย่างเดียว ที่เป็นสาเหตุให้คนเราพัฒนาตัวเอง และเติบโตขึ้น เราทุกคนย่อมต้องรับผิดชอบต่อทุกสิ่งในชีวิต ไม่ว่าปัจจัยภายนอกจะเป็นอย่างไรก็ตาม  เราอาจจะควบคุมทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับเราไม่ได้เสมอไป แต่เราเลือกได้ว่าจะคิดและตอบสนองอย่างไร ไม่ว่าเราจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่เราพบเจอในชีวิต ล้วนเป็นผลจากการกระทำของตัวเราเอง เรากำลังเลือกอยู่เสมอ ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เรากำลังเลือกอยู่ตลอดเวลา

พลังที่ยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบที่ใหญ่ยิ่ง มันก็เป็นประโยคที่จริงอยู่ แต่ยังมีอีกเวอร์ชั่นหนึ่งที่ดีกว่าประโยคนี้ ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่ลึกซึ้งอย่างแท้จริง สิ่งที่ต้องทำก็แค่สลับที่คำนามเท่านั้นเป็น ความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่มาพร้อมกับพลังที่ใหญ่ยิ่ง หากเราเลือกที่จะรับผิดชอบชีวิตของเรามากขึ้นเท่าใด ชีวิตของเราก็มีพลังมากขึ้นเท่านั้น

การรับผิดชอบต่อปัญหาคือ ขั้นแรกในการแก้ปัญหานั้น คนส่วนใหญ่ไม่กล้ารับผิดชอบปัญหาของตัวเอง เพราะพวกเขากลัวว่าการรับผิดชอบปัญหาของตัวเอง จะทำให้ตัวเองกลายเป็นคนผิดไปด้วย ความรับผิดชอบและความผิดมักจะมาคู่กันอยู่บ่อย ๆ ในสังคม แต่ทั้งสองอย่างนี้ไม่เหมือนกัน

มีบางปัญหาที่เราไม่ได้เป็นคนผิด แต่เราก็ยังต้องรับผิดชอบด้วยเหมือนกัน ผู้พิพากษาเลือกไม่ได้ว่าตัวเองจะได้ตัดสินคดีไหน เมื่อคดีมาถึงชั้นศาล ผู้พิพากษาที่ได้รับมอบหมายให้ตัดสินคดีนั้น ไม่ได้เป็นคนก่อคดี ไม่ได้เป็นพยานในคดี และไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากคดีนี้ แต่ผู้พิพากษาก็ยังคงต้องรับผิดชอบคดีนี้อยู่ดี ผู้พิพากษาจากต้องเลือกตัวชี้วัดที่จะใช้ประเมินคดีนี้ และตัดสินคดีตามตัวชี้วัดดังกล่าว เรามีหน้าที่รับผิดชอบต่อเรื่องราวต่าง ๆ ที่บางครั้งเราก็ไม่ได้เป็นคนผิด นี่คือส่วนหนึ่งของชีวิต

การรับมือกับเรื่องเศร้า เมื่อไม่กี่ปีก่อนผู้เขียนเคยเขียนบล็อกเกี่ยวกับแนวคิดหลาย ๆ ข้อที่พูดถึงในบทนี้ มีผู้ชายคนหนึ่งมาคอมเม้นทิ้งไว้ว่า ผู้เขียนเป็นคนมองอะไรแบบผิวเผิน พร้อมทั้งเสริมว่าไม่เข้าใจอะไรเลยกับปัญหาของชีวิต หรือความรับผิดชอบในฐานะมนุษย์ ยังเล่าต่อว่าเพิ่งเสียลูกชายไปไม่นานจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ กล่าวหาว่าไม่เข้าใจถึงความเจ็บปวดที่แท้จริง รวมทั้งด่าว่าเลวที่ไปบอกเขาว่าต้องรับผิดชอบ กับความรู้สึกเจ็บปวดต่อการเสียชีวิตของลูกชาย ชายคนนี้ทนทุกข์กับความเจ็บปวดที่รุนแรงยิ่งกว่าที่คนส่วนใหญ่เคยสัมผัส เขาไม่ได้เลือกให้ลูกชายตาย และไม่ใช่ความผิดของเขาที่ลูกชายของเขาตาย

ความรับผิดชอบในการรับมือกับความสูญเสียดังกล่าวถูกส่งต่อมาถึงมือเขา ซึ่งทุกคนย่อมรู้และเข้าใจว่าเขาไม่ได้ต้องการมัน แต่เขาก็ยังคงต้องรับผิดชอบต่ออารมณ์ ความเชื่อ และการกระทำของตัวเอง ปฏิกิริยาที่เขามีต่อการตายของลูกชายนั้น เป็นสิ่งที่เขาเลือกเอง ความเจ็บปวดล้วนแต่เป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อย่างน้อยเราก็เลือกได้ว่าจะให้ความหมายกับความเจ็บปวดนั้นอย่างไร

ในตอนแรกผู้เขียนรู้สึกแย่มาก แต่หลังจากนั้นไม่กี่นาทีเขาก็เริ่มรู้สึกโกรธ และบอกกับตัวเองว่าคอมเม้นต์ของผู้ชายคนนี้ แทบไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการจะสื่อเลย เขาจึงพยายามที่จะเข้าใจผู้อ่านให้ลึกซึ้งขึ้น และนึกถึงชายคนนี้ทุกครั้งที่เขียนบทความ ที่เกี่ยวกับความเจ็บปวดและความบอบช้ำนับตั้งแต่นั้น และนั่นคือสิ่งที่พยายามทำ ผู้เขียนตอบกลับสั้น ๆ ว่าเสียใจด้วยกับความสูญเสีย เขาเขียนไปแค่นั้นเพราะไม่มีประโยคไหนดีกว่านี้ ที่จะบอกกับเขาได้อีกแล้ว

กรรมพันธุ์และไพ่ในมือเรา โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obessive-Compulsive Disorder) หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่าโอซีดี เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ที่เกี่ยวกับระบบประสาทที่น่ากลัว และไม่สามารถรักษาให้หายได้ อย่างมากก็ทำได้แค่คุมอาการเท่านั้น คนที่เกิดมาด้อยโอกาสส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นโอซีดี ตัวเตี้ย หรืออะไรก็ตาม มักจะมองว่าตัวเองถูกแย่งสิ่งที่มีค่าไปจากชีวิต พวกเขามักจะรู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ พวกเขาจึงมักพยายามหนีจากความรับผิดชอบต่อสถานการณ์ของตัวเอง

เราทุกคนรับไพ่มา คนหนึ่งอาจจะได้ไพ่ดีกว่าอีกคนหนึ่ง การโทษไพ่แย่ ๆ และการคิดว่าตัวเองซวยนั้นเป็นเรื่องง่าย แต่เกมที่แท้จริงนั้นอยู่ที่การเลือกว่าเราจะทำอะไรกับไพ่ที่ได้มา ความเสี่ยงที่เราตัดสินใจยอมรับ และผลลัพธ์ที่เราเลือกที่จะอยู่กับมัน คนที่ตัดสินใจเลือกได้ดีที่สุดอย่างสม่ำเสมอในทุกสถานการณ์คือ คนที่จะเป็นผู้ชนะในเกมโป๊กเกอร์ ในชีวิตเองก็ไม่ต่างกัน ผู้ชนะไม่จำเป็นจะต้องเป็นคนที่ถือไพ่ดีที่สุดเสมอไป

เป็นผู้รับเคราะห์สิถึงจะกิ๊บเก๋ ผลข้างเคียงอย่างหนึ่งของอินเตอร์เน็ต และโซเชียลมีเดียก็คือ การผลักความรับผิดชอบไปให้คนอื่น มันกลายเป็นเรื่องง่ายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แม้มันจะเป็นแค่เรื่องเล็กที่สุดของที่สุดก็ตาม ที่จริงแล้ววัฒนธรรมการกล่าวโทษ หรือสร้างความอับอายให้กับผู้อื่นต่อหน้าสาธารณะ กลายเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยม จนถึงขนาดที่คนบางกลุ่มมองเป็นเรื่องเท่ การแชร์ความอยุติธรรมออกสู่สาธารณะ มักจะได้รับความสนใจและอารมณ์ร่วมมากกว่าโพสต์อื่น ๆ แถมยังทำให้คนที่คิดว่าตัวเองเป็นผู้รับเคราะห์ตลอดเวลา ได้รับรางวัลเป็นความสนใจและความสงสารแบบไม่รู้จบ

การเป็นผู้รับเคราะห์จึงเป็นเทรนที่กำลังมาแรง ไม่ว่าจะเป็นคนหัวใหม่หรือหัวโบราณ ไม่ว่าจะรวยหรือจน จริง ๆ แล้วนี่อาจเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์เลยก็ได้     แต่ส่วนหนึ่งของการอยู่ในสังคมประชาธิปไตย ที่มีอิสระทางความคิดก็คือ เราต้องรับมือกับมุมมอง และคนที่เราอาจจะไม่ชอบสักเท่าไหร่ นั่นคือราคาที่เราต้องจ่ายไป เราควรเลือกสนามรบอย่างฉลาดพร้อม ๆ กับพยายามทำความเข้าใจศัตรู ควรเสพข่าวสารและสื่อต่าง ๆ ด้วยการตั้งข้อสงสัย และต้องอย่าเหมารวมว่า คนที่ไม่เห็นตรงกับเราจะเป็นเหมือนกันทั้งหมด

ไม่มีคำว่ายังไง มันเป็นการเลือกอยู่แล้วในทุกวินาทีของทุกวันว่า มีเรื่องอะไรที่ต้องแคร์บ้าง ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงตัวเองก็ง่าย ๆ แค่เลือกที่จะแคร์อะไรอย่างอื่นแทน และแน่นอนที่สุดจะต้องเผชิญกับการปฏิเสธความสัมพันธ์ส่วนใหญ่ในชีวิต ซึ่งมีพื้นฐานมาจากค่านิยมที่เชื่อมาตลอด ผลข้างเคียงเหล่านี้แม้จะเจ็บปวด แต่มันเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งเกิดจากการเลือกที่จะแคร์ในเรื่องอื่นแทน เรื่องที่สำคัญกว่าและคุ้มค่ามากกว่า กับพลังงานที่ต้องเสียไป

ในระหว่างที่กำลังประเมินค่านิยมใหม่ ก็จะพบกับการต่อต้าน ทั้งภายในและภายนอกตัวเอง ที่สำคัญที่สุดจะรู้สึกไม่แน่ใจในตัวเอง แล้วตั้งคำถามกับตัวเองว่า สิ่งที่ทำมันถูกต้องจริงหรือเปล่า

บทที่ 6 คุณผิดหมดทุกเรื่องนั่นแหละ (ผมก็ด้วยเหมือนกัน)

เราไม่ควรหาคำตอบสุดท้ายที่ถูกสำหรับตัวเรา แต่เราควรเรียนรู้ที่จะทำผิดพลาดน้อยลงต่างหาก เมื่อมองจากมุมนี้การเติบโตของแต่ละคน จึงคล้ายกับวิทยาศาสตร์ ความเชื่อของเราคือสมมติฐาน จึงตั้งสมมติฐานว่าพฤติกรรมแบบนี้ดีและสำคัญ ส่วนพฤติกรรมอื่นนั้นอาจจะไม่ การกระทำของเราคือการทดลอง คืออารมณ์และรูปแบบความคิดที่เกิดขึ้น นั้นก็คือข้อมูลจากผลการทดลองของเรา

คนส่วนใหญ่มักจะหมกมุ่นอยู่กับการใช้ชีวิตอย่างถูกต้อง จนกระทั่งในที่สุดคนเหล่านี้ไม่เคยได้ใช้ชีวิตของตัวเองเลย ความแน่ใจคือศัตรูของการเติบโต โลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน จนกว่ามันจะเกิดขึ้นจริง ๆ แต่ถึงจะเกิดขึ้นไปแล้ว เราก็ยังสามารถคิดพิจารณาถึงมันได้อยู่ เราจึงต้องยอมรับว่าค่านิยมของเรานั้น มีข้อบกพร่องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อที่จะได้เดินหน้าต่อ แทนที่เราจะยึดติดกับความแน่ใจ เราควรตั้งข้อสงสัยตลอดเวลา ว่าความเชื่อ ความรู้สึก กับอนาคตที่จะเกิดขึ้น แทนที่จะคิดว่าตัวเองถูกตลอดเวลา แต่ควรพยายามมองว่าทำไมถึงผิดพลาดอยู่ตลอดเวลา เพราะเราย่อมผิดพลาดอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

เราคือผู้ออกแบบความเชื่อของเราเอง สมองของเราเป็นเครื่องจักรแห่งการค้นหาความหมาย สิ่งที่เราเข้าใจว่าเป็นความหมาย ถูกสร้างขึ้นจากการที่สมอง  พยายามเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ ตั้งแต่สองเหตุการณ์ขึ้นไป ความคิดของเราแล่นอยู่ตลอดเวลา ปัญหาสำคัญข้อที่ 1. สมองของเราไม่ได้สมบูรณ์แบบ เราเข้าใจผิดกับสิ่งที่เราเห็นหรือได้ยิน เราคงลืมและตีความเหตุการณ์แบบผิด ๆ ได้ง่ายมาก ข้อที่ 2.หลังจากที่เราสร้างความหมายให้กับตัวเราเองแล้ว สมองของเรายังถูกออกแบบมาให้ยึดติดกับความหมายนั้น ความเชื่อส่วนใหญ่ของเรานั้นผิด แต่เพียงความเชื่อบางอย่างอาจจะผิดน้อยกว่าความเชื่ออื่น เป็นหนึ่งในแนวคิดที่สำคัญอย่างมากที่เราต้องยอมรับ

ระวังในสิ่งที่คุณเชื่อ จากประสบการณ์ในอดีต สมองจึงพยายามหาความเชื่อมโยงให้ได้ และบางครั้งสมองก็เลือกที่จะสร้างความทรงจำเท็จขึ้นมา การเชื่อมโยงประสบการณ์ในปัจจุบัน ให้เข้ากับอดีตที่สร้างขึ้นเอง ทำให้สมองยังคงรักษาความเชื่อที่มีอยู่แล้วเอาไว้ได้ มีคำสอนมากมายที่กำลังบอกให้เชื่อตัวเอง หรือทำตามที่รู้สึกที่ฟังดูดีเสียเหลือเกิน แต่ไม่แน่ว่าคำตอบที่ต้องการคือ เชื่อในตัวเองให้น้อยลง เพราะถ้าสมองและความคิดเชื่อถือไม่ได้ ก็ควรตั้งคำถามกับเจตจำนงและแรงจูงใจให้มากขึ้น ถ้าทุกคนผิดพลาดอยู่ตลอดเวลา นั่นย่อมแสดงว่าการตั้งข้อสงสัยกับตัวเอง และการท้าทายความคิดตัวเองทุกครั้ง ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ที่จะช่วยให้เราพัฒนาตัวเองต่อไปได้

อันตรายของความแน่ใจ ในช่วงกลางทศวรรษ 1990 นักจิตวิทยา รอย เบาไมส์เตอร์ เริ่มทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแนวคิดของความชั่วร้าย คือ เขาศึกษาคนที่ทำเรื่องเลวร้ายและเหตุผลที่คนเหล่านี้ทำมัน เวลานั้นคนส่วนใหญ่คิดว่า คนที่ทำความชั่วนั้น พวกเขาทำไปเพราะรู้สึกแย่กับตัวเอง หรืออีกในหนึ่งคือ คนเหล่านี้ไม่ค่อยเห็นคุณค่าของตัวเอง ซึ่งมีการค้นพบว่ามันไม่จริง การที่คนคนหนึ่งจะรู้สึกว่าการทำสิ่งเลวร้ายต่อผู้อื่นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง คน ๆ นั้นจะต้องรู้สึกแน่ใจในความชอบธรรมของตัวเอง ความเชื่อของตัวเองและความพิเศษของตัวเองอย่างไม่สั่นคลอน คนชั่วร้ายไม่เคยเชื่อว่าตัวเองชั่วร้าย แต่คนเหล่านี้กลับเชื่อว่าคนอื่นต่างหากที่ชั่วร้าย

กฎการหลีกเลี่ยงของแมนสัน กฎนี้หมายความว่า ยิ่งมีอะไรที่คุกคามให้เปลี่ยนมุมมองที่มีต่อตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จความล้มเหลวที่เชื่อว่าตัวเองมี หรือความสามารถในการใช้ชีวิตตามค่านิยมที่เชื่อ ก็จะยิ่งพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นมากขึ้น การรู้คุณค่าของตัวเองในสังคม ให้ความรู้สึกที่ดี อะไรก็ตามที่จะมาสั่นคลอนความรู้สึกดี ๆ นี้ ต่อให้เป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น ก็จะถือว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัวโดยทันที เราทุกคนมีค่านิยมที่กำหนดให้กับตัวเอง และเราก็ต่างปกป้องค่านิยมเหล่านี้ เราให้เหตุผลกับมันและรักษามันเอาไว้ ถึงแม้เราจะไม่ได้ตั้งใจ แต่นี่คือสิ่งที่สมองของเราถูกกำหนดมาให้ทำ

จงฆ่าตัวตนของคุณ การมองชีวิตในลักษณะปล่อยวาง จากเรื่องราวที่พร่ำบอกตัวเองเกี่ยวกับตัวเราเอง ก็เท่ากับเราได้ปลดปล่อยตัวเอง เพื่อให้สามารถลงมือทำและเติบโต ยิ่งเลือกตัวตนที่แคบและเป็นไปได้ยาก ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะยิ่งดูเหมือนภัยคุกคาม ด้วยเหตุนี้เองจึงควรกำหนดตัวตนของตัวเองให้ง่าย และธรรมดาที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

จะแน่ใจกับอะไรต่าง ๆ ให้น้อยลงอีกนิดได้อย่างไร การตั้งคำถามและข้อสงสัยกับความคิด และความเชื่อของตัวเอง คือหนึ่งในทักษะที่ฝึกได้ยากที่สุด แต่ก็สามารถทำได้ โดยการใช้

คำถามที่ 1. ถ้าฉันผิด ?

สิ่งที่สำคัญที่ต้องเข้าใจก็คือ การตั้งคำถามว่า ถ้าคิดผิดหรือเปล่า ไม่ได้แปลว่าคิดผิด ต้องอย่าลืมว่าถ้าอยากเปลี่ยนแปลงต้องทำอะไรบางอย่างผิดก่อน

คำถามที่ 2. ถ้าฉันผิดแล้วมันหมายความว่าอย่างไร ?

อริสโตเติลเคยเขียนไว้ว่า ผู้มีการศึกษาคือผู้ที่พิจารณาความคิดได้ โดยที่ไม่ต้องยอมรับมัน ทักษะในการพิจารณาค่านิยมต่าง ๆ โดยที่ไม่ต้องยอมรับมัน อาจเป็นทักษะสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงชีวิตก็เป็นได้

คำถามที่ 3. ถ้าฉันเกิดผิดขึ้นมาจะทำให้เรื่องดีขึ้นหรือแย่ลงเมื่อเทียบกับตอนนี้ ?

คำถามนี้เป็นแบบทดสอบว่า ค่านิยมของเราดีจริงหรือไม่ กำลังเป็นตัวปัญหาให้กับคนรอบข้างหรือเปล่า จุดประสงค์ของคำถามนี้คือ การเลือกวิธีคิดและค่านิยมที่จะเป็นประโยชน์มากที่สุด แต่ไม่ได้หมายความว่าคนส่วนใหญ่จะไม่เคยผิดเลย และไม่ได้หมายความว่าจะผิดมากกว่าคนอื่นทุกครั้ง วิธีคิดก็คือ ถ้ารู้สึกว่ากำลังต่อสู้กับทุกคนบนโลก นั่นหมายความว่ากำลังต่อสู้กับตัวเองอยู่ต่างหาก

บทที่ 7 ความล้มเหลวคือการก้าวไปข้างหน้า

ผู้เขียนโตมาในครอบครัวที่มีอันจะกิน เงินไม่ใช่ปัญหาของเขา แต่ครอบครัวมักใช้เงินเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา แทนที่จะแก้ปัญหา เขาโชคดีที่ได้เรียนรู้ตั้งแต่เด็กว่า การหาเงินเพียงอย่างเดียวไม่ใช่ตัวชี้วัดที่เหมาะ อาจจะมีเงินมากมายแต่ต้องจมอยู่กับความทุกข์ก็เป็นได้ หรืออาจจะไม่มีเงินสักแดงเดียวแต่มีความสุขมากก็ได้เช่นกัน แล้วทำไมต้องใช้เงินเป็นตัวชี้วัดคุณค่าของตัวเองด้วย แทนที่จะทำแบบนั้น ให้เลือกค่านิยมอย่างอื่นแทน ซึ่งก็คืออิสรภาพและการเป็นตัวของตัวเอง

ผู้เขียนฝันถึงการเป็นเจ้าของธุรกิจมาตั้งแต่เด็ก เพราะไม่ชอบให้ใครมาสั่ง เขาสนใจทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต เพราะสามารถทำงานได้จากทุกที่ทุกเวลา ผู้เขียนถามคำถามง่าย ๆ กับตัวเองว่า อยากมีรายได้ดีจากการทำงานที่เกลียด หรืออยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต และต้องถังแตกไปพักใหญ่ เขารู้คำตอบที่ชัดเจนในทันที ว่าอยากเป็นเจ้าของธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต จากนั้นก็ถามตัวเองอีกครั้งว่า ถ้าลองแล้วล้มเหลวไปอีกหลายปี จนในที่สุดต้องไปเป็นลูกจ้างเขาจะต้องสูญเสียอะไรบ้าง คำตอบคือไม่มีเลย แทนที่ผมจะเป็นชายอายุ 22 ปีที่ถังแตกไม่มีงานทำ และไม่มีประสบการณ์ คงจะกลายเป็นชายอายุ 25 ปีที่ถังแตกไม่มีงานทำ และไม่มีประสบการณ์ช่างมันเถอะ

ความสำเร็จอยู่ที่ใจ การพัฒนาอะไรบางอย่างเกิดจากความล้มเหลวย่อย ๆ นับพัน ๆ ครั้ง เช่นเดียวกันความยิ่งใหญ่ในความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับว่าล้มเหลวมากี่ครั้ง ถ้ามีใครเก่งกว่าในเรื่องไหนสักเรื่อง ก็เป็นไปได้มากว่าเพราะคน ๆ นั้น เคยล้มเหลวมามากกว่า ถ้ามีใครเก่งไม่เท่าก็น่าจะเพราะคน ๆ นั้นยังไม่เคยผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ การเจ็บปวดเหมือนกับที่เคยผ่านมาแล้ว

ค่านิยมที่ดีต้องเป็นกระบวนการ มีตัวชี้วัด เช่น แสดงความจริงใจต่อผู้อื่น นี่คือปัญหาที่จะต้องจัดการอยู่อย่างต่อเนื่อง ทุกบทสนทนา ทุกความสัมพันธ์คือ ความท้าทายและโอกาสใหม่ที่จะแสดงความจริงใจ ค่านิยมนี้เป็นกระบวนการที่จะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ ตลอดชีวิต และไม่มีวันสิ้นสุด

ความเจ็บปวดเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ การปฏิเสธความเจ็บปวด จึงเท่ากับการปฏิเสธศักยภาพของตัวเราเอง การต้องทนต่อความเจ็บปวดทางกาย เพื่อสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรงยิ่งขึ้น เช่นเดียวกันเราต้องทนต่อความเจ็บปวดทางจิตใจ ต่อให้จิตใจสามารถฟื้นสภาพได้เร็วขึ้น รู้สึกในคุณค่าของตัวเองมากขึ้น ให้มีความเห็นอกเห็นใจมากขึ้น และมีชีวิตที่มีความสุขมากขึ้น การเปลี่ยนมุมมองจากหน้ามือเป็นหลังมือ มักจะเกิดขึ้นหลังจากที่เราผ่านช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุด

การรู้สึกถึงความเจ็บปวดอย่างรุนแรง เป็นวิธีเดียวที่ทำให้เต็มใจหันมามองค่านิยม และถามว่าเหตุใดค่านิยมเหล่านี้ ถึงทำให้ล้มเหลว จำเป็นต้องเจอวิกฤตของการรู้สึกไร้ค่า เพื่อจะได้พิจารณามุมมองที่มีต่อความหมายของชีวิตได้จากความเป็นจริง จากนั้นจึงได้เปลี่ยนแปลงเส้นทางที่เลือก จงเรียนรู้ที่จะอยู่กับความเจ็บปวดที่เลือก ทุกครั้งที่เลือกค่านิยมใหม่ หมายถึงกำลังเลือกที่จะนำความเจ็บปวดในรูปแบบใหม่เข้ามาในชีวิต จงลิ้มรสของมัน จงซึมซับมัน จงโอบกอดมันเอาไว้ แล้วจงลงมือทำถึงแม้จะต้องเจ็บปวด

หลักการทำอะไรสักอย่าง ปรับปรุงรูปแบบความคิดให้กลายเป็น การลงมือทำ ” แรงบันดาลใจ ” แรงจูงใจ ถ้ายังขาดแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตครั้งสำคัญ จงลงมือทำอะไรสักอย่างอะไรก็ได้ จากนั้นก็รับเอาปฏิกิริยาที่ได้จากการลงมือทำนั้น มาเป็นจุดเริ่มต้นในการจูงใจตัวเอง สิ่งนี้เรียกว่าหลักการทำอะไรสักอย่าง การบังคับตัวเองให้ทำอะไรสักอย่างแม้มันจะเป็นงานเล็ก แต่ก็ทำให้งานใหญ่กลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าต้องออกแบบเว็บไซต์ใหม่ทั้งหมด ให้บังคับตัวเองให้นั่งลงแล้วบอกกับตัวเองว่า เราออกแบบแค่หัวเว็บก่อนก็แล้วกันตอนนี้ แต่หลังจากที่ทำหัวเว็บเสร็จ ก็จะทำส่วนอื่น ๆ ของเว็บไซต์ต่อโดยอัตโนมัติ แล้วก็กลายเป็นทำทั้งเว็บไซต์ไปในที่สุด ถ้าเราทำตามหลักการทำอะไรสักอย่าง ความล้มเหลวก็แทบจะไม่สำคัญอีกต่อไป ถ้าเราตั้งมาตรฐานความสำเร็จไว้ที่การลงมือทำ

หลักการทำอะไรสักอย่างไม่ได้แค่ช่วยเอาชนะการผัดวันประกันพรุ่งเท่านั้น แต่ยังเป็นกระบวนการที่ช่วยให้นำค่านิยมใหม่ ๆ มาใช้อีกด้วย ทุกอย่างดูเหมือนจะไร้ความหมาย แต่ถ้าทุกตัวชี้วัดไม่เคยเพียงพอ และไม่รู้ว่าจะเดินไปทางไหนต่อ ถ้ารู้ว่ากำลังทำร้ายตัวเองด้วยการตามหาความฝันจอมปลอม หรือถ้ารู้ว่ามีตัวชี้วัดบางอย่าง ที่ควรใช้ประเมินตัวเอง แต่ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ทั้งหมดนี้มีคำตอบเดียวเท่านั้น ลงมือทำอะไรสักอย่าง แล้วอะไรสักอย่างนี้ จะเป็นบันไดขั้นเล็ก ๆ ที่จะนำให้ก้าวไปสู่สิ่งอื่นจะเป็นอะไรก็ได้

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้คือทั้งหมดที่จำเป็นต้องทำ เพื่อเป็นเชื้อไฟสำหรับการสร้างแรงจูงใจที่จะเดินต่อ สามารถเป็นบ่อเกิดของแรงบันดาลใจให้กับตัวเองได้ การลงมือทำเป็นเรื่องใกล้แค่เอื้อม แต่ใช้การลงมือทำอะไรสักอย่างเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ แค่นี้แม้แต่ความล้มเหลวก็ยังเป็นสิ่งที่จะผลักดัน ให้เดินก้าวไปข้างหน้าต่อไป

บทที่ 8 ความสำคัญของคำว่าไม่

การเดินทางเป็นเครื่องมือพัฒนาตัวเองที่ยอดเยี่ยม เพราะมันช่วยให้หลุดพ้นจากบ่วงค่านิยมของวัฒนธรรม และแสดงให้ ได้เห็นถึงคนในสังคมอื่น ที่เชื่อในค่านิยมอื่น แต่ก็ยังอยู่กันได้อย่างปกติสุข ไม่มีใครเกลียดตัวเอง การได้เห็นค่านิยมและตัวชี้วัดของวัฒนธรรมอื่น จึงเป็นการบังคับให้มองย้อนกลับมายังเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิต และพินิจพิจารณาว่าบางทีนั่นอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการใช้ชีวิต

คนในวัฒนธรรมตะวันตก มักจะยิ้มและพูดจาสุภาพต่อกัน ถึงแม้ว่าใจจริงจะไม่อยากก็ตาม อาจจะพูดปดหรือเห็นด้วยกับคนอื่น ทั้งที่จริง ๆ แล้วไม่เห็นด้วย นี่คือเหตุผลที่ทำให้เสแสร้งเป็นเพื่อนกับคนที่ตัวเองไม่ชอบ ซื้อของที่ตัวเองไม่อยากได้ ระบบเศรษฐกิจของตะวันตกคือ สิ่งที่ก่อให้เกิดการหลอกลวงเหล่านี้ขึ้น ข้อเสียของมันก็คือ จะไม่มีวันรู้ได้ว่าจะเชื่อใจคนที่กำลังคุยด้วยได้หรือไม่ ไม่เว้นแม้แต่เพื่อนสนิท หรือคนในครอบครัว คนในสังคมตะวันตกมักจะรู้สึกกดดัน ในการต้องทำให้คนอื่นมาชอบตัวเอง จนถึงขนาดยอมเปลี่ยนบุคลิกของตัวเองไปโดยสิ้นเชิง

การปฏิเสธทำให้ชีวิตดีขึ้น วัฒนธรรมการคิดบวกและวัฒนธรรมผู้บริโภค ยังทำให้หลายคนถูกปลูกฝังความเชื่อว่า เราควรพยายามยอมรับ และยินยอมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เปิดโอกาสให้ยอมรับในสิ่งต่าง ๆ และพูดว่าได้กับทุกเรื่องและทุกคน คนเราต้องรู้จักปฏิเสธบ้าง เพราะไม่อย่างนั้นก็เท่ากับว่า เรามองทุกอย่างดีเท่ากันหมด และการที่ทุกอย่างดี หรือสวยงามเหมือนกันหมดก็คือไม่มีอะไรดีสักอย่าง ชีวิตนั้นมันไร้ค่า มันแสดงว่าเราไม่มีเป้าหมายในชีวิตแม้แต่น้อย

การปฏิเสธเป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นต่อชีวิต ไม่มีใครอยากติดอยู่ในความสัมพันธ์ที่ไม่มีความสุข ไม่มีใครอยากติดอยู่กับงานที่เกลียด ไม่มีใครอยากที่จะรู้สึกว่า ไม่สามารถพูดสิ่งที่คิดได้ ความจริงใจเป็นสิ่งที่มนุษย์โหยหา แต่การที่จะมีความจริงใจได้นั้น จะต้องรู้สึกสบายใจกับการพูดและฟังคำว่าไม่ การปฏิเสธคือสิ่งที่จะทำให้ความสัมพันธ์ของเราดีขึ้นและอารมณ์ดีขึ้น

ขอบเขต คำว่าขอบเขตหมายถึงการแยกแยะความรับผิดชอบ และหน้าที่ของตัวเองออกจากอีกฝ่าย โดยทั่วไปแล้วคนที่รู้สึกว่าตัวเองพิเศษ จะติดกับดักด้านความสัมพันธ์หนึ่งในสองอย่างนี้คือ

  1. คาดหวังให้คนอื่นมาแก้ไขปัญหาของตัวเอง
  2. รู้สึกผิดต่อปัญหาของอีกฝ่ายมากเกินจำเป็น

คนที่รู้สึกว่าตัวเองพิเศษ มักจะทำแบบนี้กับความสัมพันธ์ของตน เช่นเดียวกับเรื่องอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาของตัวเอง ความสัมพันธ์ของพวกเขาจึงมักจะเปราะบางและไม่จริงใจ ซึ่งเป็นผลมาจากการพยายามหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดที่ซ่อนอยู่ภายใน แทนที่จะรู้สึกขอบคุณและเคารพอีกฝ่ายอยากจริงใจ

สำหรับผู้รับเคราะห์ เรื่องที่ยากที่สุดในโลกก็คือ การรับผิดชอบแก้ไขปัญหาของตัวเอง พวกเขาใช้เวลาทั้งชีวิตเชื่อว่า คนอื่นต้องเป็นผู้รับผิดต่อโชคชะตาของพวกเขา ก้าวแรกของการยืนด้วยลำแข้งของตัวเองเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก

สำหรับผู้ช่วยเหลือ เรื่องที่ยากที่สุดในโลกคือ การหยุดก้าวก่ายปัญหาของคนอื่น พวกเขาใช้เวลาทั้งชีวิตรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า และได้รับความรักก็ต่อเมื่อพวกเขาได้ช่วยเหลือคนอื่น การล้มเลิกความต้องการนี้ จึงเป็นเรื่องที่น่ากลัวเช่นเดียวกัน

คนที่มีขอบเขตชัดเจน จะเข้าใจว่าการคาดหวังให้คนสองคนคอยช่วยเหลือกันตลอดเวลานั้นไม่ถูกต้อง คนที่มีขอบเขตชัดเจน จะเข้าใจว่าในบางครั้งตัวเองอาจจะทำร้ายความรู้สึกของอีกฝ่าย แต่ในที่สุดแล้วพวกเขาย่อมไม่สามารถกำหนดความรู้สึกของอีกฝ่ายได้ คนที่มีขอบเขตชัดเจนจะเข้าใจว่าความสัมพันธ์ที่ดีนั้น ไม่ใช่การควบคุมอารมณ์ของกันและกัน แต่เป็นการที่แต่ละฝ่ายคอยเป็นกำลังใจให้อีกฝ่ายในการเติบโต และแก้ไขปัญหาของตัวเองให้ได้

วิธีสร้างความเชื่อใจ ถ้าสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเราคือ การทำให้ตัวเองรู้สึกดีตลอดเวลา หรือทำให้คู่ครองรู้สึกดีตลอดเวลา สุดท้ายแล้วย่อมไม่มีใครรู้สึกดี และความสัมพันธ์ก็จะพังทลายลงโดยที่เราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ หากปราศจากความขัดแย้ง ความเชื่อใจย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ความขัดแย้งทำให้เราเห็นว่า ใครบ้างที่คอยอยู่กับเราแบบไม่มีเงื่อนไข และใครที่อยู่กับเราเพื่อผลประโยชน์

ความเชื่อใจเป็นส่วนผสมที่สำคัญที่สุดสำหรับความสัมพันธ์ เหตุผลง่าย ๆ ก็คือถ้าไม่มีความเชื่อใจความสัมพันธ์ย่อมไม่มีความหมาย การนอกใจเป็นเรื่องร้ายกาจต่อความสัมพันธ์อย่างร้ายแรง ถ้าปราศจากความเชื่อใจ ความสัมพันธ์ก็จะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้อีก จึงเหลือแค่สองทางคือ สร้างความเชื่อใจขึ้นมาอีกครั้งหรือบอกลา

อิสระผ่านทางการผูกมัด เวลาเรามีโอกาสและทางเลือกต่าง ๆ มากเกินไป เราจะทุกข์กับสิ่งที่นักจิตวิทยาเรียกว่าปฏิทรรศน์ของทางเลือก (Paradox of Choice) การผูกมัดนั้นนำมาซึ่งอิสระและการปลดปล่อย ทำให้พบโอกาสมากขึ้น ได้รู้จักข้อดีของการปฏิเสธทางเลือก และสิ่งล่อตาล่อใจอื่น ๆ เพื่อหันไปทุ่มเทกับสิ่งที่สำคัญอย่างแท้จริง เพราะไม่ต้องหลงทางเสียเวลาไปกับเรื่องไร้สาระอีกต่อไป มันทำให้พุ่งความสนใจไปกับสิ่งเดียวซึ่งก็คือ สิ่งที่จะช่วยให้สบายใจและมีความสุขมากที่สุด

บทที่ 9 …แล้วคุณก็ตาย

บางทีช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดในชีวิต ก็เป็นช่วงเวลาที่สร้างความเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุดเหมือนกัน ความตายเป็นเรื่องน่ากลัว และเพราะมันทำให้กลัว จึงพยายามไม่นึกถึงมัน ไม่พูดถึงมัน และบางครั้งก็ไม่ยอมรับมัน แม้ว่ามันจะเกิดขึ้นกับคนใกล้ตัวก็ตามที แต่ด้วยวิธีการที่แปลกประหลาดและย้อนแย้ง ความตายกลับเป็นแสงสว่างของเงาแห่งความหมายชีวิตทั้งหมด หากปราศจากความตาย ทุกอย่างย่อมไร้ซึ่งความสำคัญ ทุกประสบการณ์ไร้ซึ่งกฎเกณฑ์ ทุกตัวชี้วัดและถูกค่านิยมไร้ซึ่งความหมายไปในทันที

บางอย่างที่ยิ่งใหญ่เหนือตัวเรา เออร์เนสต์ เบ็กเกอร์ เป็นนักวิชาการนอกคอก หนังสือของเขาการปฏิเสธความตาย (The Denial of Death) ชนะรางวัลพูลิตเซอร์และได้กลายเป็นหนึ่งในผลงานทางปัญญา ที่มีอิทธิพลมากที่สุดของศตวรรษที่ 20 หนังสือการปฏิเสธความตายนำเสนอประเด็นหลัก 2 ข้อด้วยกัน คือ

  1. 1. มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่พิเศษ เพราะเราเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียว ที่สร้างกรอบความคิดและคิดเกี่ยวกับตัวตนของเราเองได้ในแบบนามธรรม ในฐานะมนุษย์เราโชคดีที่เรามีความสามารถ ในการคิดถึงสถานการณ์สมมติรูปแบบต่าง ๆ พินิจพิเคราะห์ถึงอดีตหรืออนาคต และจินตนาการถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้น ในลักษณะที่แตกต่างออกไป ความจริงข้อนี้นำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า ความหวาดกลัวต่อความตาย ซึ่งเป็นสิ่งวิตกกังวลเชิงลึกต่อการมีตัวตนอยู่ และเป็นพื้นฐานของทุกสิ่งทุกอย่างที่เราคิดหรือทำ
  2. คนเรานั้นมีสองตัวตน โดยตัวตนแรกคือตัวตนทางร่างกาย ส่วนตัวตนที่สองคือตัวตนเชิงแนวคิด ซึ่งหมายถึงความเป็นตัวเรา หรือมุมมองที่มีต่อตัวเอง ทุกคนพอรู้ว่าตัวตนทางร่างกายต้องตายลงสักวัน ความตายนี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเพราะหลีกเลี่ยงไม่ได้มันจึงทำให้เราหวาดกลัวอย่างลึกซึ้งถึงระดับจิตใต้สำนึก

ดังนั้นเพื่อที่จะชดเชยความกลัวการสูญเสียตัวตนทางร่างกาย ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงได้พยายามสร้างตัวตนเชิงแนวคิดขึ้น ซึ่งจะคงอยู่ไปตลอดกาลขึ้นมาแทน ให้ชื่อของตัวเองไปสลักอยู่บนตึก บนรูปปั้น หรือบนปกหนังสือ เลือกความพยายามนี้ว่าผลงานชั่วลูกชั่วหลาน  (Immortality Projects) ซึ่งหมายถึงความพยายามที่จะทำให้ตัวตนเชิงแนวคิดคงอยู่ต่อไป หลังจากที่ร่างกายได้ตายไปแล้ว

ทางออกแทนที่จะพยายามนำพาตัวตนเชิงแนวคิดให้เป็นที่ประจักษ์ของโลก ซึ่งส่วนใหญ่มักจะต้องใช้กำลังถึงชีวิต ควรที่จะตั้งคำถามกับมัน และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความตายเอง เรียกสิ่งนี้ว่ายาถอนพิษรสขม และพยายามที่จะกลืนมันลงไป ในขณะที่กำลังจ้องมองความตายของตัวเอง ความตายเป็นสิ่งเลวร้าย แต่ก็ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงไม่ควรหลีกหนีจากมัน ควรเปิดใจรับมันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ด้านสว่างของความตาย ความเต็มใจและความเบิกบานของการเผชิญหน้ากับความตาย เป็นสิ่งที่มีมายาวนาน ตั้งแต่สมัยโบราณชาวกรีกและโรมันโบราณ ที่เชื่อในลัทธิสโตอิกอ้อนวอนให้ผู้คนละลึกถึงความตายอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้รู้สึกถึงคุณค่าของชีวิตและเจียมตนมากขึ้น เมื่อต้องเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ ความตายคือสิ่งเดียวที่แน่นอน จึงต้องใช้ความตายเป็นเหมือนกับเข็มทิศเพื่อนำทาง ค่านิยม และการตัดสินใจอื่น ๆ นี่คือคำตอบที่ถูกต้องสำหรับทุกคำถาม ที่ควรถามแต่ไม่เคยได้ถาม

วิธีเดียวที่จะช่วยให้เปิดใจยอมรับความตายได้ก็คือ เข้าใจและมองตัวเองในภาพกว้างกว่าที่เป็น การเลือกค่านิยมที่มากกว่าแค่สนองความต้องการของตัวเอง ค่านิยมที่เรียบง่ายส่งผลทันทีและควบคุมได้ รวมทั้งเปลี่ยนแปลงไปตามโลกอันวุ่นวายรอบตัว คนเราทุกวันนี้มีสมบัติทางวัตถุเพียบพร้อมทุกอย่าง แต่กลับพบกับความทรมานทางจิตใจที่ตื้นเขิน ละทิ้งความรักผิดชอบทั้งหมด และเรียกร้องให้สังคมตอบสนองความรู้สึกและเหตุผล สังคมสมัยใหม่ได้ทำให้เกิดกลุ่มคนที่รู้สึกว่าตนเองสมควรที่จะได้รับทุกอย่าง โดยที่ไม่ต้องพยายามเพื่อให้ได้มันมา

วัฒนธรรมของเราในทุกวันนี้กำลังสับสน ระหว่างการได้รับความสนใจอย่างยิ่งใหญ่ กับการประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าทั้งสองอย่างคือสิ่งเดียวกัน แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย ยิ่งใหญ่อยู่แล้วยิ่งใหญ่เพราะต้องให้เผชิญกับความสับสนที่ไม่มีสิ้นสุด และความตายที่แน่นอนยังคงสามารถเลือกได้ว่า อะไรควรแคร์และอะไรที่ควรช่างแม่ง ความจริงที่เป็นผู้เลือกค่านิยมให้กับชีวิตของตัวเองคือ สิ่งที่ทำให้เป็นเลิศ มีความสำเร็จ และเป็นที่รัก ถึงแม้อาจจะยังไม่รู้ตัวก็ตาม ยิ่งมองลึกลงไปในความมืดเท่าไหร่ ชีวิตก็จะยิ่งพบกับแสงสว่างมากขึ้นเท่านั้น.

สั่งซื้อหนังสือ “ชีวิตติดปีกด้วยศิลปะแห่งการช่างแม่ง” ได้ที่นี่ : คลิ๊ก