MONEY 101 : เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข
ผู้เขียน : The Money Coach
สำนักพิมพ์ : ซีเอ็ดยูเคชั่น
สั่งซื้อหนังสือ “MONEY 101 : เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข” ได้ที่นี่ : คลิ๊ก
กลุ่มคำถามที่ผมถูกถามบ่อยมากก็คือ อยากเริ่มต้นศึกษาการเงินต้องเริ่มต้นยังไง และนั่นคือที่มาของหนังสือเล่มนี้ ผมเริ่มเขียนด้วยความมุ่งหวังให้หนังสือเล่มนี้เป็นประตูบาทแรกสำหรับคนที่ใส่ใจเรื่องการเงิน และอยากที่จะเริ่มต้นควบคุมอนาคตทางการเงินตัวเอง โดยเป็นหนังสือที่เขียนให้กับผู้เริ่มต้นเนื้อหาในหนังสือจึงเน้นไปที่การครอบคลุมประเด็นสำคัญ ในเรื่องการเงินส่วนบุคคลและให้หลักคิด สักปฏิบัติอย่างง่าย เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเริ่มต้นได้ทันทีที่อ่านจบแต่ละบท มากกว่าที่จะลงลึกรายละเอียดที่มีความซับซ้อน
หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยแง้มประตูสู่โลกแห่งความรู้ทางการเงินให้กับคุณผู้อ่านทุกท่าน และช่วยให้ทุกท่านไปถึงเป้าหมายชีวิตการเงินที่อุดมไปด้วยความสุขในแบบที่หวังและตั้งใจเอาไว้ครับ
ตอนที่ 1 วิชาที่หายไปจากห้องเรียน
ถ้าเราถามแต่ละคนที่อยากรวย ว่าเขานิยามคำว่ารวยคืออะไร เราจะได้คำตอบที่แตกต่างหลากหลาย แบบที่หาข้อสรุปตรงกันไม่ได้เลย บางคนแค่มีเงินพอกินพอใช้ไม่ขาดมือ มีเหลือเก็บสะสม ต่อยอดได้ตลอด ข้าจะรู้สึกว่าตัวเองรวยแล้ว แต่สำหรับบางคนอาจจะต้องมี พันล้านหรือมากกว่านั้น ถึงจะเรียกว่ารวยในแบบของเขา
ครั้งหนึ่งในงานสัมมนาผมเคยโดนไมค์จ่อปากถามว่า เป้าหมายการเงินของคุณคืออะไร มีสินทรัพย์ร้อยล้านภายในห้าปี ผมทะลึ่งบอกไปแบบอัตโนมัติเหมือนถูกโปรแกรมสั่งการ แล้วจะเอาเงินไปทำอะไร เป็นคำถามที่แม่ถาม แล้วเดินจากไปโดยไม่รอคำตอบคำถามนี้ถ้าฟังผ่านๆก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไร แต่วันนั้นผมจำได้ว่ายากที่จะตอบคำถามผมแม่ให้ได้ สุดท้ายก็เพียงแค่มีบ้านสักหลังขนาดพออยู่ทั้งครอบครัว มีรถสักคัน มีเงินเก็บสักสิบล้าน เอาไว้สะสมและลงทุนต่อยอด มีเงินใช้จ่ายไม่ขาดมือ ซึ่งเอาเข้าจริงเราก็ไม่ได้ใช้เปลืองอะไร มีเวลาอยู่กับครอบครัว และมีเวลาทำในสิ่งที่รัก
ทั้งหมดที่ว่ามาไม่ได้ใช้เงินมากมายเท่าไรนัก ค่อยๆเก็บค่อยๆสะสมไปก็สามารถมีได้ ไม่ต้องเอาเวลาทั้งหมดไปหมกมุ่นกับการหาเงินเยอะๆ แถมเหลือเวลาให้กับมิติอื่นของชีวิตอย่างเช่นสุขภาพและความสัมพันธ์ การเงิน การพัฒนาตัวเอง การตอบแทนคืนสู่สังคม
คนเราควรตั้งเป้าหมายชีวิตเสียก่อน แล้วจึงตั้งเป้าหมายการเงิน ไม่ใช่เอาเป้าหมายการเงินเป็นตัวตั้ง เริ่มต้นจากการกำหนดรูปแบบชีวิตที่ต้องการให้ชัดเจนเสียก่อน ตั้งคำถามกับตัวเองว่า ต้องการใช้ชีวิตแบบไหนใช้อย่างไร แล้วจึงมาดูว่ารูปแบบชีวิตที่อยากได้นั้นจำเป็นต้องใช้เงินสนับสนุนมากน้อยแค่ไหน เมื่อเป้าหมายชีวิตชัดและเป้าหมายการเงินก็ชัด การเรียนรู้และการลงมือทำเพื่อก้าวสู่ชีวิตในแบบที่เราต้องการก็จะง่ายตามไปด้วย
แต่สำหรับคนที่ยังมีเป้าหมายชีวิตไม่ชัดเจน ก็ใช่ว่าจะมีเป้าหมายทางการเงินไม่ได้นะ พอแม้จะยังไม่ชัดเจนว่าชีวิตของเราอยากได้ หรืออยากเป็นอะไร แต่เราก็ยังต้องมีเงินเป็นเครื่องสนับสนุนชีวิตอยู่ดี ภายใต้เป้าหมายการเงินพื้นฐานดังต่อไปนี้
- มีรายได้เพียงพอกับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
- เติมเต็มความสุขได้ตามฝัน
- พร้อมรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
- มีความมั่งคั่งเพียงพอ
ตอนที่ 2 การเงินง่าย เมื่อเข้าใจชีวิต
ถ้าจะบริหารเงินให้ประสบความสำเร็จ มีชีวิตการเงินที่สบายไร้กังวล เราน่าจะต้องรู้จักกับสองคำศัพท์ที่สำคัญในโลกการเงินเสียก่อน
- สภาพคล่อง
คือสภาวะชีวิตที่มีกินมีใช้ มีเหลือเก็บ ซึ่งถ้าจะให้ดีต้องมีเหลือเก็บให้ได้อย่างน้อยสิบเปอร์เซ็นต์ ของรายได้ทุกบาททุกสตางค์ที่เข้ากระเป๋า ในแต่ละเดือน ถ้ามีไม่พอกินหรือมีกินใช่แต่ไม่เหลือเก็บ หรือแม้จะเหลือเก็บแต่เก็บได้ไม่ถึงสิบเปอร์เซ็นต์ แบบนี้เรียกว่ายังไม่มีสภาพคล่อง และต้องรีบปรับแก้ให้คล่องก่อน เพราะถ้าสภาพคล่องยังทำไม่ได้ความมั่งคั่งก็ยังคงอีกไกล ถังตักน้ำใหญ่แค่ไหนถ้ามันรั่ว มันก็เก็บกักน้ำไว้ไม่ได้ การเงินของเราก็เป็นแบบเดียวกัน
- ความมั่งคั่ง
คือสภาพคล่องที่เหมาะสมในรูปแบบ ทรัพย์สินทุกรูปแบบ วัดดาวด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ดังนั้นจบแรกสำหรับทุกคนที่คิดฝันอยากประสบความสำเร็จ ก็คือต้องบริหารสภาพคล่องในแต่ละเดือนให้เป็นบวกเพราะถ้าสภาพคล่องแต่ละเดือนเป็นบวก กระแสเงินสดที่เหลือก็จะสะสมเพิ่มมากพอให้เรานำไปต่อยอดกลายเป็นความมั่งคั่งได้
อย่างไรก็ดีสิ่งที่อาจจะต้องปรับเปลี่ยนสักนิดเพื่อให้เหมาะสมกับโลกยุคปัจจุบัน ก็คือการบริหารเงินให้เหลือมีสภาพคล่องนั้นถือว่าเป็นแนวทางที่ค่อนข้างเก่าและไม่ง่าย เพราะทุกวันนี้เราต่างถูกกระตุ้น ด้วยสิ่งเหล่าจากโฆษณาและการตลาด สมการการออมในยุคปัจจุบันที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพจึงต้องเปลี่ยนเป็น เหลือเก็บค่อยเอาไปใช้ แทนที่จะเป็นจ่ายก่อนค่อยเอาไปเก็บเหมือนในอดีต
สิ่งที่สังเกตเห็นจากตัวเองก็คือ พอเราเริ่มเก็บเงินได้ต่อเนื่องก็เริ่มรู้สึกว่ามันไม่ยาก เราทำมันได้ จากนั้นก็จะเริ่มอยากเก็บเงินให้มากขึ้น เริ่มงกมากขึ้น ใช่จ่ายน้อยลง และที่สำคัญที่สุดก็คือเริ่มมีความหวังกับชีวิตมากขึ้น การเงินเราต้องคล่องมีกินมีใช่มีเหลือเก็บก่อน จากนั้นค่อยๆสะสมจนเหลือล้น พร้อมไว้สำหรับการนำไปต่อยอดให้งอกเงย และกลายเป็นความมั่งคั่งในที่สุด ซึ่งทั้งหมดมีจุดเริ่มต้นจากการออมเงิน
ตอนที่ 3 งบการเงินส่วนบุคคล
ในบทนี้เราจะมาคุยถึงรายการแสดงข้อมูลสำคัญทางการเงินของเรา ซึ่งเป็นเครื่องมือวัดที่จะช่วยบอกหรือสะท้อนให้เห็นว่า การเงินของเราเป็นอย่างไรสภาพคล่องเป็นบวกหรือลบมากน้อยแค่ไหน และความมั่งคั่งแต่ละคนเป็นอย่างไร โดยรายการแสดงข้อมูลสำคัญทางการเงินที่ว่านี้ ก็คืองบการเงินส่วนบุคคล ซึ่งประกอบด้วยสองงบการเงินย่อย
- งบรายรับ รายจ่าย
มีโครงสร้างประกอบไปด้วย รายรับ เงินออม รายจ่าย และเงินคงเหลือ ซึ่งจะอธิบายการไหลข้าวของเงิน เพื่อดูว่าเงินที่เราได้รับมา จากช่องทางใดบ้าง และจ่ายไปกับอะไรบ้าง ในแต่ละเดือน ซึ่งค่าใช้จ่ายอาจจะแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ หมายถึงรายจ่ายประจำเช่นรายจ่ายที่เป็นภาระผูกพันจากภาระหนี้ ค่าใช้จ่ายผันแปร หมายถึงค่าใช้จ่ายที่บริหารจัดการได้แพร่พันธุ์ตามการจัดการของแต่ละบุคคลในแต่ละเดือน
- งบแสดงฐานะการเงิน
แบ่งโครงสร้างออกเป็นสองส่วน ด้านซ้ายระบุรายการทรัพย์สินที่เราครอบครองอยู่ ส่วนด้านขวาระบุรายการหนี้สินที่เราติดค้างอยู่ทั้งหมด ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งควรจะทำอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งเพื่อทบทวนสถานะการเงิน
ตอนที่ 4 เป้าหมายแรกของการออม
มีเงินอยู่ก้อนนึงลงทุนอะไรดี ผมมักไม่ตอบกลับว่าควรลงทุนอะไรเพราะแค่ฟังคำถามก็รู้แล้วว่า เจ้าของคำถามน่าจะยังไม่ได้ศึกษาเครื่องมือในการลงทุนชนิดใดจริงจังเลยสักอย่างก็เลยไม่รู้ว่าจะลงทุนอะไรดี แทบทุกครั้งผมจะย้อนกลับไปถามเสมอ เมื่อก่อนจะลงทุนมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินแล้วหรือยัง สิ่งนี้สำคัญมากและสำคัญถือเป็นระดับที่ควรตั้งให้เป็นเป้าหมายแรกของการออม สำหรับทุกคนในทีเดียว โดยส่วนตัวแบ่งการออมออกเป็นสามตะกร้า
- ตะกร้าเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน
เป็นแหล่งที่เก็บเงินสำรองเผื่อไว้สำหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจส่งผลกระทบกับเงินของเรา
- ตะกร้าเงินเกษียณรวย
ตะกร้านี้เป็นแหล่งสะสมเงินสำหรับไว้ใช้ในยามเกษียณจากการทำงาน เน้นทยอยสะสมลงทุนในเครื่องมือกลุ่มตราสารการเงิน
- ตะกร้าเงินเกษียณเร็ว
ตะกร้านี้เป็นแหล่งเงินที่จะนำไปลงทุนในทรัพย์สินที่สร้างกระแสเงินสดเพื่อความมั่งคั่งอย่างรวดเร็ว ทำให้หมดกังวลเรื่องการเงินได้ก่อนเกษียณอายุจากการทำงาน
เหตุผลที่คนเราควรให้ความสำคัญกับตะกร้าเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินเป็นเป้าหมายแรกของการออม ก็เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของการปกป้องสภาพคล่องเพื่ออนาคตอันไม่แน่นอนในระยะสั้น ทำให้เราสามารถพร้อมรับมือได้ก่อนจะก้าวไปสู่ขั้นตอนการสร้างความมั่งคั่ง โดยหลักๆแล้ว เงินสำรองที่เหมาะสมสำหรับเรา ควรมีหกถึงสิบสองเท่าของรายจ่ายรวมต่อเดือน อีกประเด็นนึงที่ต้องพิจารณาในการเก็บเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน ก็คือเราควรทำเงินสะสมไปเก็บไว้ที่ไหนดี
หลักการที่สำคัญในการบริหารเงินสำรองก็คือ ต้องพอสำหรับเหตุฉุกเฉินที่จะผ่านเข้ามาในชีวิต เนื่องจากเราไม่รู้ว่าเหตุไม่คาดฝันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ดังนั้นเงินก็นี้ต้องเก็บไว้ในที่ที่มีสภาพคล่องสูง แล้วมูลค่าไม่ผันผวน ไม่เพิ่มหรือลดลงตามภาวะตลาด เช่นเงินฝาก สลากออมทรัพย์ หรือกองทุนรวมตลาดเงิน
ตอนที่ 5 การไม่มีหนี้ (จน) คือลาภอันประเสริฐ
การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ ไม่รู้ว่าจะผิดไหมหรือขัดใจผู้ใหญ่รุ่นเก่าๆหรือเปล่า ถ้าผมจะบอกว่าคำพูดประโยคนี้เป็นคำพูดที่ไม่ถูกต้องทั้งหมด เป็นจริงเพียงแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น เพราะไม่ใช้หนี้ทุกแบบทุกประเภทที่จะนำความจนและความทุกข์มาให้ ในทางการเงินเราสามารถแยกภาระนี้ได้ออกเป็นประเภทใหญ่นั่นก็คือ
- หนี้จน
เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มยิ่งมีมากยิ่งจน ย่อยได้อีกสองกลุ่ม หนี้บริโภคหมายถึงหนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ใช้แล้วหมดไปไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มมาเป็นนี้ประเภทที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน หนี้เพื่อการประกอบอาชีพและปัจจัยพื้นฐาน หมายถึงสิ่งที่ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพและเป็นปัจจัยพื้นฐานตามความจำเป็นของแต่ละบุคคล
- หนี้รวย
สิ่งที่สร้างรายได้เพิ่มเป็นลักษณะของการกู้ยืมเงินเพื่อนำไปลงทุนในทรัพย์สินที่สร้างกระแสเงินสด โดยมีกระแสเงินสดสุทธิ
แล้วทำไมคนส่วนใหญ่ถึงมีหนี้จนกันเยอะ และนำพาตัวเองไปสู่ปัญหาทางการเงิน คำตอบจากการทำงานให้คำปรึกษาคนจำนวนมากเกี่ยวกับเรื่องหนี้สินพบว่าสาเหตุของการก่อหนี้ของคนส่วนใหญ่มีด้วยกันดังนี้
- การใช้จ่ายเกินตัว เกินตัวไม่ใช้คำว่าฟุ่มเฟือย การใช้จ่ายในสภาวะที่ตัวเองไม่พร้อม ฟุ่มเฟือยในสิ่งที่ตัวเองไม่สามารถจ่ายได้และนำมาซึ่งวิธีการดำรงชีวิตแบบจ่ายทีหลัง พอลทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่อนได้สร้างรายจ่ายคงตัวจนรายรับเอาไม่อยู่และจ่ายไม่ไหวในที่สุด
- การอุปถัมภ์เกินกำลัง ถ้าผมไม่ได้ทำงานด้านการเงินส่วนบุคคล ไม่ได้เดินทางให้คำแนะนำกับการแก้ปัญหาเรื่องนี้ ผมคงไม่เห็นและไม่รู้ว่าคนกลุ่มนี้ เป็นหนี้จากการอุปถัมภ์คนในครอบครัวเกินกำลังมีจำนวนมากแค่ไหน ไม่ปฏิเสธว่าการอุปถัมภ์หรือการช่วยเหลือคนในครอบครัวเป็นสิ่งที่ดีและพึงกระทำ แต่หากทำแล้วเกินกำลังตัวเองสุดท้ายแล้วมักจะเกิดปัญหาหนัก ด้วยกันทั้งสิ้น
- การลงทุนที่ผิดพลาด ในช่วงหลังพบว่า หนี้สินประเภทนี้มีมากขึ้น สืบเนื่องมาจากผลตอบแทนต่ำบวกกับการสร้างกระแสความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ด้วยความรู้ความสามารถทางการเงินและการลงทุนที่ยังไม่มากพอ ทำให้หลายคนติดกับดักทั้งจากการลงทุนที่ผิดพลาดไปถึงจนถูกหลอกลวงจากมิจฉาชีพจนทำให้ชีวิตการเงินต้องจมอยู่กับสิ่งที่หาทางออกไม่ได้
ตอนที่ 6 ฝันอยากได้อะไร ต้องมีแผน
ความฝันและความต้องการล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ต้องวางแผนให้ดีก่อนจ่าย โดยเฉพาะเรื่องของความพร้อมที่ต้องพิจารณากันให้ดี ยกตัวอย่างเรื่องการซื้อรถยนต์สักคันก็จะพบว่ามีเรื่องให้พิจารณากันทั้งก่อนซื้อและหลังซื้อ ต้องดูทั้งเรื่องความจำเป็นและค่าใช้จ่ายในการใช้งาน ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเด็นให้ขบคิดกันได้ดังนี้
- ความจำเป็นในการซื้อและความเหมาะสมในการใช้งาน
คำถามนี้เป็นคำถามที่สำคัญที่สุดเพราะการซื้อรถยนต์แต่ละครั้งใช้เงินจำนวนไม่น้อย ด้วยเหตุนี้เรื่องของความจำเป็นจึงเป็นหัวข้อที่ต้องพิจารณาเป็นอันดับแรก ทั้งนี้เราไม่ควรซื้อรถเพราะโปรโมชั่นการตลาด หายเราจะเป็นเจ้าของรถสักคันควรเปรียบเทียบและอดทนรออีกหน่อยเพื่อให้พร้อมแล้วค่อยซื้อ
- สภาพคล่องหลังการซื้อหรือเป็นเจ้าของ
เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญด้านสุดท้ายที่ควรประเมินก่อนมีรถยนต์เป็นของตัวเอง หากซื้อรถมาแล้วทำให้สภาพคล่องหรือเงินคงเหลือใช้จ่ายในแต่ละเดือนไม่เพียงพอ พูดง่ายๆก็คือจำเป็นแต่เรายังไม่พร้อมแบบนี้คุณก็ควรที่จะเลื่อนระยะเวลาในการซื้อออกไป อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายต่างๆที่จำเป็นต่อการพิจารณาหลังจากการซื้อ เช่นค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน ค่าดูแลบำรุงรักษา ค่าประกัน และภาษีของรถยนต์
ตอนที่ 7 วางแผนรับมือกับเรื่องร้ายๆ
การเงินในชีวิตจริงใช่ว่าทุกอย่างจะง่ายดั่งใจนึก แค่เรื่องเงินสะสมไปเรื่อยๆก็จะถึงเป้าหมายความมั่งคั่งได้ เพราะระหว่างที่เรากำลังสะสมความมั่งคั่งมีเรื่องราวร้อยแปดที่อาจจะเป็นภัยกับความมั่งคั่งของเราเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเสียชีวิตเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ รวมถึงการขาดหายไปของรายได้ สำหรับบุคคลทั่วไปเรามีความเสี่ยงทางการเงินที่อยู่ในข่ายต้องพิจารณา
ยกตัวอย่างเช่นความเสี่ยงต่อบุคคลได้แก่การสูญเสียชีวิต ความเสียหายต่อทรัพย์สินได้แก่ การสูญหายหรือเสียหายของทรัพย์สินที่เราเป็นเจ้าของ ความเสี่ยงต่อการรับผิด ได้แก่ความรับผิดในหน้าที่การงานหรือการค้ำประกัน
ส่วนความเสี่ยงที่สามารถจัดการได้ ซึ่งไม่นานทางจัดการความเสี่ยงที่สำคัญอยู่สองอย่างนั่นก็คือการป้องกันและวางแผนรับมือ การป้องกันนั้นเน้นที่การหลีกเลี่ยงและลดโอกาสในการเกิดปัญหาซึ่งจะว่าไปก็เป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพราะถ้าไปไม่เกิดขึ้นเกิดได้ยาก ความเสี่ยงหรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเงินของเราก็จะลดน้อยลงไปด้วย
ส่วนการจัดการความเสี่ยงในรูปแบบที่สองคือการวางแผนรับมือและเตรียมเครื่องมือให้พร้อม โดยแนวทางที่นิยมใช้กันสำหรับการเตรียมรับมือกับความเสี่ยงก็คือการรับความเสี่ยงไว้เองและการทำประกัน การรับความเสี่ยงไว้เองไม่ได้หมายถึงการรอให้ความเสี่ยงเกิดขึ้นแล้วค่อยจัดการตามมีตามเกิด แต่มันคือการเตรียมพร้อมโดยการประเมินผลกระทบไว้เรียบร้อยแล้วว่าแค่ไหนอย่างไรและทำให้มั่นใจว่าตัวเองพร้อมรับมือกับภัยที่เกิดขึ้น การทำประกันก็สามารถทำได้ทั้งในแบบของประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองชีวิต และประกันวินาศภัยเพื่อคุ้มครองทรัพย์สิน หรืออุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นกับเราในอนาคต
ตอนที่ 8 บริหารภาษีให้เป็น
ภาษี จะเป็นความรู้ทางการเงินอีกหัวข้อที่สำคัญแต่กลับเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้เรียนรู้จากมหาวิทยาลัย เมื่อมีรายได้ก็ต้องเสียภาษี แล้วภาษีคำนวณกันยังไง วิธีแรกคือวิธีเงินได้สุทธิ ได้ยินคำว่าสุทธิก็ต้องมีการตัดทอนหักออกให้เหลือเป็นตัวเลขสุทธินั่นเอง ประกอบไปด้วยคำศัพท์สำคัญนั่นคือ
- เงินได้พึงประเมิน เงินที่ได้ต้องเสียภาษีหรือพูดง่ายน้อย ก็คือรายได้ที่หาได้ตลอดทั้งปี
- ค่าใช้จ่าย รายจ่ายที่สรรพากรอนุญาตให้เราหักเป็นค่าใช้จ่ายหรือเป็นต้นทุนในการสร้างรายได้ของเรา ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้ก็มีทั้งค่าใช้จ่ายจริงและค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ที่สรรพากรกำหนด
- ค่าลดหย่อน รายจ่ายที่สรรพากรอนุญาตให้หากเพิ่มเติมได้นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายในข้อสองและมีเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตามจึงจะได้สิทธิ์ลดหย่อนตามที่รัฐกำหนด
- เงินได้สุทธิ เงินได้พึงประเมินที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆแล้ว
วิธีคิดภาษีเงินได้แบบที่สอง เรียกว่าวิธีเงินได้พึงประเมิน ตั้งชื่อกันแบบนี้ก็ไปความหมายกันง่ายๆ วิธีนี้ไม่ต้องไปหากลบอะไรให้เสียเวลาคิดจากเงินได้ตลอดทั้งปี คุณตัวเลขศูนย์จุดห้าเปอร์เซ็นต์ แล้วจะได้ออกมาเป็นภาษีที่ต้องเสีย
ส่วนตัวผมเองคิดว่าไม่มีเทคนิคหรือวิธีที่จะทำให้เสียภาษีน้อยลง แต่เชื่อในเรื่องของการศึกษากฎเกณฑ์ให้เข้าใจและใช้สิทธิประโยชน์ให้ถูกต้องและเหมาะสมมากกว่า เพราะถ้าเราศึกษาโครงสร้างการคิดภาษีจนเข้าใจเราก็จะพอมองออกด้วยตัวเองว่าสามารถวางแผนภาษีได้อย่างไร
ตอนที่ 9 วางแผนเกษียณรวย
เมื่อการเงินของเราเริ่ม เมื่อการเงินของเราเริ่มเข้าที่เข้าทาง สภาพคล่องดีมีกินมีใช้ มีเหลือเก็บสะสมในตะกร้าเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน จะเริ่มรู้สึกปลอดภัย และมีการจัดการความเสี่ยงทางการเงินส่วนบุคคลไว้อย่างเพียงพอ ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องมาพิจารณากันถึงเรื่องการบริหารเงินเพื่อความมั่งคั่งกันแล้ว โดยส่วนตัวแบ่งเป้าหมายความมั่งคั่งเป็นสองเป้าหมายด้วยกัน
- เกษียณเร็ว
การสร้างทรัพย์สินเพื่อให้มีกระแสเงินสด เพียงพอจัดการกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และมีอิสระทางการเงินก่อนถึงวัยเกษียณจากการทำงาน
- เกษียณรวย
การทยอยออมและลงทุนในระยะยาวเพื่อสะสมเงินไว้ให้เพียงพอในการใช้จ่ายช่วงหลังเกษียณ ซึ่งเป็นช่วงที่หลายคนอยากพักผ่อนอยากหยุดทำงาน หรือทำงานแต่น้อยแล้ว
สำหรับการเกษียณรวยนั้น หมายถึงการเก็บ ซึ่งแผนนี้จะเน้นเงินไว้ในช่วงเลิกทำงาน ซึ่งแผนนี้จะเน้นไปที่การทยอยสะสมความมั่งคั่งทีละเล็กน้อย เน้นวินัยในการออมและลงทุนอย่างสม่ำเสมอ พึ่งพาพลังของผลตอบแทนแบบทบต้น ช่วยพาเงินสะสมของเราไปให้ถึงเป้าหมาย
ปัจจัยที่ทำให้ทุนเกษียณเติบโต ประกอบไปด้วยเงินออมที่สม่ำเสมอ อัตราผลตอบแทนที่ได้รับ และระยะเวลาในการลงทุน ดังนั้นสำหรับคนรุ่นใหม่แนวคิดวางแผนเกษียณรวยที่ถูกต้องและปลอดภัย นั่นก็คือควรวางแผนเกษียณตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำงาน เพราะด้วยระยะเวลาในการสะสมที่นานจะช่วยผ่อนแรงในการสะสมเงินต่อเดือนในอัตราที่ต่ำ และมีระยะเวลาให้ผลตอบแทนแบบทบต้นทำงานได้เต็มที่
โดยรูปแบบแผนที่จะเริ่มต้นวางแผนเกษียณรวยให้กับตัวเอง อาจจะคำนึงถึงคำถามสำคัญ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผน เช่น เช่น รูปแบบชีวิตหลังเกษียณที่เราอยากได้หน้าตาเป็นอย่างไร แหล่งรายได้หลังเกษียณของเรา ส่วนที่ขาดก็ต้องเก็บสะสมเพิ่ม
การคำนวณทุนเกษียณที่ต้องการ สามารถประมาณการได้อย่างง่ายๆ เพียงแค่ประเมินรายจ่ายรายเดือนหลังเกษียณ ลองตั้งโจทย์ว่าพรุ่งนี้เราเกษียณจากการทำงานแล้วยังจะมีค่าใช้จ่ายอะไรที่มีความจำเป็นอยู่ว่าและคิดเป็นเงินเท่าไหร่เมื่อเทียบกับค่าครองชีพปัจจุบัน โดยอาจจะประเมินว่าหลังเกษียณรายจ่ายบางอย่างของเราอาจจะลดลงโดย โดยเฉพาะภาระหนี้สิน
ปรับทุนเกษียณต่อเดือนด้วยผลกระทบจากเงินเฟ้อ การประเมินทุนเกษียณรวยที่ต้องใช้เวลาสะสมยาวนานกว่าจะได้ใช้เงินจึงจำเป็นต้องมีการนำอัตราเงินเฟ้อเข้ามาร่วมพิจารณาด้วย โดยหากเราคิดอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในระยะยาวที่สองเปอร์เซ็นต์ ตัวเลขปรับค่าเงินเฟ้อสำหรับการลงทุนเกษียณในแต่ช่วงเวลา ก็จะปรับขึ้นตามอัตราเกษียณที่เรากำหนด รวมถึงควรประเมินแหล่งรายได้หลังเกษียณ เพื่อประเมินว่าหลังเกษียณเราจะมีแหล่งรายได้ใดบ้างที่เข้ามา จัดการกับค่าใช้จ่ายที่วางแผนไว้ได้มากน้อยแค่ไหน และเหลือเงินอีกเท่าไหร่ที่เราต้องเก็บสะสมเพิ่มเพื่อให้มีเงินพอใช้หลังเกษียณ
โดยช่องทางการสะสมทุนเกษียณแบบสะสมเอง สามารถทำได้ทั้งในช่องทางของเงินฝาก สลากออมสิน หรือสลากออมทรัพย์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ พันธบัตรกู้หุ้นกู้ ประกันชีวิต และกองทุนรวม
ตอนที่ 10 ทำให้ชีวิตมีรายได้หลายทาง
ถ้าคุณต้องการสร้างอัตราเร่งให้ความมั่งคั่ง และลดความเสี่ยงเรื่องการขาดหายไปของรายได้บางจังหวะชีวิต แนวคิดที่ควรจะเข้าใจและสร้างให้เกิดขึ้นกับตัวเอง ก็คือการมีรายได้หลายทาง ยุคนี้เราต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งที่ว่าเรามาถึงยุคที่มีการมีรายได้ทางเดียวถือเป็นความเสี่ยงอย่างมาก เพราะหากรายได้ดังกล่าวขาดหายไปก็จะกระทบกับสภาพคล่องทางการเงินของพวกเราในทันที
ถ้าพบว่าใครวางแผนการเงินพื้นฐานได้ดีและมีชีวิตการเงินเริ่มมั่นคงแล้ว ผมก็มักจะแนะนำให้พวกเขาคิดถึงการสร้างรายได้เสริมควบคู่ไปกับรายได้ปัจจุบันโดยเน้นไปที่การพัฒนาทุนปัญญาที่มี อาทิเช่นความรู้ ทักษะงานอดิเรก เป็นรายได้อื่นไปด้วย ทั้งนี้คนเราสามารถหยิบเอาความรู้ ทักษะและประสบการณ์รวมไปถึงไอเดียมาสร้างเป็นอาชีพเสริมได้สามแนวทางง่ายๆ สร้างเป็นสินค้าขึ้นมาขาย สร้างเป็นบริการขึ้นมา หรือสร้างเป็นทรัพย์สินทางปัญญา
กลับมาคำถามตั้งต้นว่าแล้วเราจะเริ่มต้นสร้างรายได้เสริมให้กับตัวเองได้อย่างไร สำหรับคนที่อยากเริ่มต้นสร้างรายได้เสริมผมแนะนำให้วิเคราะห์โอกาสในการสร้างรายได้จากต้นทุนทางปัญญาต่อไปนี้
ความรู้และทักษะที่มีโดยพิจารณาจากวุฒิการศึกษาหรือการฝึกอบรมที่เคยผ่านมา งานอดิเรกหรือประสบการณ์ที่เคยผ่านมา พิจารณาจัดงานที่เคยทำหรืองานอดิเรกต่างๆแล้วค้นหาตลาดของตัวเองให้เจอ สายสัมพันธ์ที่นำไปสู่โอกาสทางธุรกิจ ถ้าคิดออกจากตัวเองไป มันจะทำให้คุณ ได้รู้จักและเปิดโลกดูว่าพวกเขาทำอะไรแล้วหาทางเชื่อมโยงกับมาเพื่อสร้างเป็นรายได้เสริม
ตอนที่ 11 เรียนรู้วิธีใช้พลังทวี
เมื่อลงทุนไปสักพักก็เริ่มเข้าใจว่าถ้าเรามีเงินเพียงเล็กน้อยแล้วนำไปลงทุนในทรัพย์สินที่ไม่มีพลังทวี อยู่ในทรัพย์สินกลุ่มของตราสารการเงิน การสร้างความมั่งคั่งโดยใช้เครื่องมือกลุ่มนี้จำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาและวินัยลงทุนต่อเนื่องและยาวนานกว่าเงินก้อนเล็กๆที่ทยอยลงทุนไปจะบรรลุเป้าหมายทางการเงินในแบบที่ต้องการ
เครื่องมือการเงินที่ไม่มีพลังทวีเหล่านี้เหมาะสำหรับใช้เป็นแผนเกษียณรวย เพื่อเก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณ แต่ไม่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการความรวดเร็ว ลองคิดดูว่าถ้าเราพบบ้านหลังนึงราคาสามล้าน และต้องการที่จะลงทุนปล่อยเช่าเพื่อสร้างกระแสเงินสดเราจะใช้ทางเลือกใดในการหาเงินเพื่อนำมาซื้อบ้านหลังนี้
หรือในกรณีที่คุณมีไอเดียจะเปิดกิจการส่วนตัวแต่กิจการส่วนตัวที่ว่านี้จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเป็นจำนวนมาก อันที่จริงถ้าคุณอยากจะเลือกเก็บเงินให้ครบก่อนแล้วค่อยซื้อหรือค่อยลงทุนก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่ถ้าคุณต้องการความรวดเร็วและการคว้าโอกาสที่รออยู่ข้างหน้าผมเชื่อว่าการลงทุนโดยใช้พลังทวีจากเงินของคนอื่นน่าจะเป็นทางเลือกที่ช่วยคุณได้ อย่างเช่นเงินกู้ สินเชื่อที่คนเรามักนึกถึงเป็นอันดับแรกจะสถาบันการเงิน รวมไปถึงการใช้เงินคนอื่นผ่านสินเชื่อของสถาบันการเงินนั้นมีอยู่หลากหลายรูปแบบด้วยกัน นอกจากธนาคารและสถาบันการเงินทั่วไปแล้วก็ยังมีห้องช่องทางให้สินเชื่อจากแหล่งอื่นๆ
แม้การใช้เงินในทรัพยากรของคนอื่นจะช่วยเพิ่มโอกาสในการลงทุนและช่วยเพิ่มความมั่งคั่งให้กับเราได้ แต่ก็เป็นวิธีที่ต้องอาศัยเทคนิคและความรู้ด้านการลงทุนที่สูงด้วยไม่ว่าจะเป็นจังหวะเวลาของการใช้หรือรูปแบบโครงการลงทุน ทุกอย่างล้วนมีข้อดีข้อเสีย การใช้เงินและทรัพยากรของคนอื่นเพื่อสร้างโอกาสความมั่งคั่งให้กับตัวเอง ในมุมหนึ่งก็ถือเป็นข้อดีช่วยสร้างอัตราเร่งทางการเงินให้กับเราได้ แต่อีกมุมหนึ่งก็มีค่าใช้จ่ายที่ผู้ใช้ต้องทราบและทำความเข้าใจ
ตอนที่ 12 หัดพิมพ์เงินใช้เอง
ที่จริงแล้ววลีนี้ไม่ได้หมายถึงการพิมพ์เงินขึ้นมาใช้จริงๆ แต่เป็นการอุปมาถึงการที่เราครอบครองหรือเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่สร้างกระแสเงินสด ให้เราเป็นจำนวนมากโดยที่ไม่ต้องทำงานทุกวันเพื่อให้ได้มาใช้จ่าย
โดยหลักการแล้วการสร้างทรัพย์สินให้กระแสเงินสดนั้นแสนจะเรียบง่ายและมีหลากหลายวิธีที่จะพิมพ์เงินใช้เองจากทรัพย์สินที่เราสร้างขึ้น หากคุณมีเงินก้อนก็ฝากหรือซื้อพันธบัตรกินดอกเบี้ย ใช้พลังทวีของหุ้นกู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ให้เช่า สร้างธุรกิจขึ้นอย่างวางระบบให้คนอื่นมาทำงานให้ สร้างงานที่เป็นงานลิขสิทธิ์ ทั้งดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าฉาว กำไร ก็คือเงินสดที่ทรัพย์สินของเราพิมพ์ออกมาให้เราใช้ไปตลอดตราบเท่าที่เรายังคงถือครองมันและตัวมันยังสามารถทำประโยชน์ได้อยู่
ตอนที่ 13 วางแผนรวยก่อนเกษียณ
ในบทนี้เราจะมาเร่งระยะเวลาเกษียณทางการเงินของเราให้เร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถมีความสุขและมีอิสระทางการเงินได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ประกาศพื้นฐานของแผน ไม่ได้ยุ่งยากอะไรเพียงแค่เรามีรายได้จากทรัพย์สินมากกว่ารายจ่ายรวมต่อเดือน เพียงเท่านี้เราก็จะเริ่มมีอิสระทางการเงินแล้ว
ฟังดูแล้วเหมือนจะง่ายแต่เรื่องแบบนี้ไม่ได้บอกว่าต้องทำโดยไม่มีแผ่น ไม่มีกลยุทธ์ อาจต้องใช้เวลานานกว่าจะไปถึงเป้าหมาย แล้วกลับมาที่โจทย์ของคำว่าอิสรภาพทางการเงินจะเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่ รายได้จากทรัพย์สินมากกว่ารายจ่ายรวม ดังนั้นหากจะวางแผนการเงินเพื่อเกษียณเร็วก็จะมีขั้นตอนสำคัญที่ต้องดำเนินการดังนี้
- กำหนดรูปแบบชีวิตที่ต้องการ
- ประเมินค่าใช้จ่ายรายเดือนของรูปแบบชีวิตที่ต้องการ
- ตั้งเป้าหมายรายได้จากทรัพย์สิน
- วางแผนสร้างทรัพย์สินและลงมือทำ
ทั้งหมดนี้ก็คือแนวคิดการจัดพอร์ตเกษียณเร็วเบื้องต้น ค่อยๆเรียนรู้กันไปสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้แผนการนี้ประสบความสำเร็จได้ก็คือการมีเวลาให้และการอดทนพอที่จะลงมือทำ
ตอนที่ 14 ชีวิตคนเป็นผลของการ เลือก
ชีวิตของคนเรานั้นสั้นล้วนแล้วแต่จะเป็นผลมาจากการเลือกของตัวเราเองทั้งสิ้น ในแต่ละวันบางวันเรามีเรื่องให้ต้องคิดเยอะตัดสินใจอยู่ตลอด บางเรื่องอาจไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่ตัดสินใจไป แล้วจะเกิดผลกระทบอะไรกับชีวิตมากมาย แต่ถ้ามีเรื่องบางเรื่องที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับชีวิตชนิดเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ ในแต่ละวันเราจะมีเรื่องที่ต้องตัดสินใจกับเงินที่เราได้รับมาอยู่ตลอดตั้งแต่ตื่นเช้าจนถึงเข้านอนเป็นกิจวัตรและเวียนมา บรรจบพบกันอีกครั้ง
ทุกครั้งที่คุณตัดสินใจเล่าเรื่องนี้ล้วนแล้วแต่ต้องมีผลกับสภาพคล่องและสถานะทางการเงินของคุณทั้งสิ้น
- ทุกครั้งที่มาได้เงินมาเลือกจ่ายให้กับตัวเองก่อน
หลักการนี้ หมายถึงการหักเงินออมไว้ให้ตัวเองก่อนจะนำเงินที่เหลือไปใช้จ่าย ขอแค่ให้ได้ออมก่อนใช้จ่ายเพียงเท่านี้ก็ถือว่าเป็นการเลือกเติมความมั่งคั่งให้กับตนเองแล้ว
- ทุกครั้งที่ต้องการใช้จ่ายเลือกโดยยึดหลักสภาพคล่อง
หลักการนี้ง่ายมากทุกครั้งที่ต้องตัดสินใจง่าย ว่าจะต้องจ่ายเงินออกไปหรือกู้ยืมเงินมาใช้ ให้พิจารณาถึงเหตุผลที่ตามมาจากการตัดสินใจทุกครั้งว่าหากเกิดเลือกทำแบบขีดแล้วจะเกิด มีผลต่อสถานะการเงินของเราอย่างไร
เรื่องการเงินไม่มีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดและไม่มีคำตอบที่ใช้ได้กับทุกรูปแบบชีวิตหรือทุกคน แต่ละคนต้องออกแบบชีวิตด้วยตัวเองวางแผนเลือกการเงินของตัวเอง แล้วตัดสินใจ
ตอนที่ 15 การเงินส่วนบุคคล
ผมว่ามีคุณสมบัติสำคัญสามข้อที่คนจะประสบความสำเร็จทางการเงินมักมีเหมือนกันหมด นั่นคือ
- มีความรับผิดชอบทางการเงิน
การมองปัญหาการเงินที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบกับชีวิตเรา เป็นภาระหน้าที่ เป็นภาระหน้าที่ของตัวเองที่ต้องเข้าไปควบคุมและจัดการเปลี่ยนแปลงปัญหา ไปสู่ผลลัพธ์ทางการเงินที่ดีขึ้น
- มีความรู้ทางการเงิน
มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับบริหารจัดการทางการเงินทั้งสี่ด้าน ได้แก่การหารายได้ ค่าใช้จ่าย
การอดออม และการลงทุน สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางการเงินกับชีวิตตัวเองได้อย่างเหมาะสม
- มีวินัยทางการเงิน
ทั้งนี้การนำความรู้ทางการเงินมากำหนดเป็นเป้าหมายและแผนการเงินของตัวเอง ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางการเงินที่ดีขึ้นกับชีวิต หากคนเรามีคุณสมบัติครบทั้งสามข้อก็มั่นใจได้เลยว่าสามารถก้าวไปสู่การมีสุขภาพทางการเงินที่ดีและเป็นผู้ประสบความสำเร็จทางการเงินได้ไม่ยาก
สั่งซื้อหนังสือ “MONEY 101 : เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข” ได้ที่นี่ : คลิ๊ก