เลิกคิดมากถ้าอยากสำเร็จ

สรุปหนังสือ เลิกคิดมากถ้าอยากสำเร็จ

การทุ่มเททำงานแทบเป็นแทบตาย แต่ผลงานกับออกมางั้น ๆ ถูกเจ้านายตำหนิวิธีการทำงานบ่อย ๆ เกิดความกังวลว่าจะทำให้เพื่อนร่วมงานไม่พอใจ ซึ่งหลายคนคงพยักหน้าเห็นด้วยการเอาแต่คิดว่าทำไมเป็นแบบนี้ นอกจากไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ในที่ทำงานดีขึ้น ยังอาจสะสมปัญหายิ่งกว่าเดิม เพราะแท้จริงแล้วยังแก้ปัญหาไม่ถูกจุด คุณทะกะชิ โทะริฮะระ ผู้เขียนหนังสือ เปลี่ยนวิธีคิดแค่ 5 วินาทีงานก็สำเร็จไปแล้ว 90% ซึ่งมียอดขายถล่มทลายกว่า 100,000 เล่มได้เผยเคล็ดลับการหยุดคิดสักนิดเพียง 5 วินาที เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย ครั้งนี้เขานำเสนอการทิ้งความคิดที่ไม่จำเป็นเพียง 5 วินาที ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ยอดเยี่ยมยิ่งขึ้น เพราะบางครั้งก็จำเป็นต้องทิ้งสิ่งไม่จำเป็น เพื่อเพิ่มพื้นที่แก่การทำสิ่งใหม่

การทำไปเพราะคิดว่าดีกลับทำให้ผลตรงข้าม

หนังสือเล่มนี้ไม่แนะนำให้คิดเพิ่ม แต่จะอธิบายวิธีการทำงานจากมุมมองของการทิ้งความคิดที่ไม่จำเป็น เพียงทิ้งความคิดที่ไม่จำเป็น ซึ่งเป็นตัวขัดขวางความสำเร็จก็จะสัมผัสถึงความเปลี่ยนแปลงของผลงานได้อย่างชัดเจน ที่จริงแล้วความคิดที่ไม่จำเป็นนั้นเกิดจากการใช้ทักษะมากเกินไป เช่น หากมีทักษะการคาดคะเนสูงมากเกินไป จะทำให้กลายเป็นคนขี้ระแวง หรือหากมีทักษะการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดมากเกินไป ก็จะกลายเป็นคนที่ด่วนตัดสินใจ คนที่ไม่ได้รับความไว้วางใจจากเจ้านายส่วนมาก จะแปลกใจว่าทำไมจึงไม่ได้รับความไว้วางใจ และพยายามพัฒนาจุดที่คิดว่าเป็นจุดแข็งของตนเองอย่างเต็มที่ แต่ผลสุดท้ายกลับทำให้ความคิดที่ไม่จำเป็นเพิ่มขึ้น คนเรานั้นหากไม่ได้รับคำชม หรือการประเมินที่ดีก็จะพยายามพัฒนา หรือเพิ่มบางสิ่งบางอย่างลงไป แต่ในความเป็นจริงการทิ้งเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า

คนที่ทำงานเป็นจะไม่ทำสิ่งที่ไม่จำเป็น

แน่นอนว่าคนที่พยายามแล้ว แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จ และคนที่ไม่รู้ว่าต้องพยายามอย่างไรดี ก็เป็นกลุ่มคนที่อยากให้อ่านหนังสือเล่มนี้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ในขณะที่อ่านขอให้ผู้อ่านคิดทบทวนและเปรียบเทียบไปด้วยว่า ตนเองมีความคิดเช่นไรเมื่อทำเช่นนั้น จะได้พบตัวเองที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ในหนังสือเล่มนี้จะมีตัวเองที่ไม่เคยรู้จักอยู่อย่างแน่นอน ลองค้นหาให้พบและหาวิธีพยายามอย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้พยายามอย่างสูญเปล่า สิ่งสำคัญที่ทำให้ไม่ต้องพยายามอย่างสูญเปล่าก็คือ การไม่คิดสิ่งที่ไม่จำเป็นนั่นเอง มาเรียนรู้เคล็ดลับการทำให้งานสำเร็จกันเถอะ

บทที่ 1

จงเริ่มจากการหยุดความคิด

  1. ความคิดที่ไม่จำเป็นจะขัดขวางการตัดสินใจที่ถูกต้อง

วัดทักษะการตัดสินใจในเสี้ยววินาทีด้วยวิธีคิดแบบ in basket โดยวิธีคิดแบบ in basket เป็นวิธีการฝึกอบรมที่เริ่มใช้ในช่วงทศวรรษที่ 1950 โดยกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ซึ่งวิธีฝึกอบรมหรือแบบทดสอบด้านการพัฒนาบุคลากร ที่นำมาใช้ในวงการธุรกิจหรือสถานศึกษา หลายวิธีนำมาจากระบบของกองทัพ วิธีฝึกอบรมจำนวนมากมีจุดเริ่มต้นมาจากกองทัพก็เพราะว่า สงครามมีเป้าหมายคือการเอาชนะอีกฝ่าย หรือกล่าวอย่างสุดโต่งก็คือ มีชีวิตเป็นเดิมพัน การทำผิดพลาดในสงครามหมายถึงความตาย การตัดสินใจผิดพลาดเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นไม่ได้ การอบรมหรือฝึกซ้อมจึงเป็นสิ่งจำเป็น

เหตุผล 2 ประการที่ทำให้คนตัดสินใจผิดพลาด

ไม่ว่าจะในสงครามหรือในธุรกิจ การตัดสินใจอย่างถูกต้องรวดเร็วต่างเป็นเรื่องจำเป็น แต่หลายคนมักจะประสบภาวะที่ต้องตัดสินใจผิดพลาดหรือตัดสินใจไม่ได้ สาเหตุประการหนึ่งก็คือไม่รู้วิธีตัดสินใจอย่างถูกต้อง สาเหตุอีกประการหนึ่งคือการคิดเรื่องที่ไม่จำเป็น สิ่งที่ควรตระหนักก็คือการเลิกคิดในสิ่งที่ไม่จำเป็น ซึ่งจะทำให้ทักษะและการตัดสินใจสูงขึ้น และส่งผลต่อความสำเร็จในการทำงานอย่างมากเช่นกัน ทั้งที่คิดง่าย ๆ ก็พอแล้วแต่ดันคิดอะไรให้ยุ่งยากจนทำผิดพลาด แม้จะได้รับวิธีคิดใหม่ ๆ มาแต่หากยังถูกผูกมัดด้วยความคิดที่ไม่จำเป็น ก็ไม่ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ควรจะเป็น

  1. การตัดสินใจทิ้งสำคัญกว่าการเพิ่ม

ผู้บริหารเป็นตำแหน่งที่ต้องตัดสินใจทิ้ง ผู้เขียนได้ศึกษารูปแบบการตัดสินใจของคนมาเป็นจำนวนมากพบว่า การตัดสินใจที่ยากที่สุดคือการตัดสินใจทิ้ง การตัดสินใจเริ่มสิ่งใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็ทำได้ แต่การตัดสินใจเลิกสิ่งที่ทำอยู่นั้น เป็นการกระทำที่ยากมาก

เปลี่ยนความคิดให้เรียบง่ายแล้วงานจะมีประสิทธิภาพ

ทำไมการตัดสินใจทิ้งจึงเป็นสิ่งสำคัญ คำตอบนั้นง่ายมาก เพื่อเพิ่มพื้นที่ว่างนั่นเอง สมองของพวกเราก็เช่นกัน แม้อยากทำเรื่องใหม่ ๆ แต่หากไม่มีเวลาก็ลงมือทำไม่ได้ เพราะการลงมือทำเรื่องใหม่ ๆ นั้นจำเป็นต้องทิ้งสิ่งที่เคยทำอยู่มาก่อน ดังนั้น เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์จะต้องเริ่มต้นจากการทิ้งความคิดไร้ค่า ที่ไม่ทำให้เกิดผลงานก่อน

  1. แทนที่จะพยายามทำให้เกินเป้าควรคิดถึงการทำให้บรรลุเป้าหมายก่อน

สำรวจว่าตนเองกำลังคิดเรื่องที่ไม่ทำให้เกิดผลอยู่หรือไม่ การคิดเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะว่าการคิดที่ไม่ทำให้เกิดผล หรือไม่ทำให้เกิดการกระทำคือ ความคิดที่ไม่จำเป็น คนที่คิดเรื่องที่ไม่จำเป็นส่วนมาก มักไม่รู้ตัวว่าตนเองกำลังคิดสิ่งที่ไม่จำเป็นอยู่

หากพื้นฐานไม่แน่นการต่อยอดก็ไม่มีความหมาย

อย่าพยายามทำให้ได้เกินเป้า เพราะต้องการจะสร้างผลงานตั้งแต่แรก ควรสร้างผลงานธรรมดา ๆ ให้สำเร็จก่อน นั่นคือจำเป็นต้องมุ่งเป้าไปยังการทำผลงานให้ได้ตามที่อีกฝ่ายคาดหวังเสียก่อน เพราะว่าโลกนี้คนที่ทำผลงานธรรมดา ๆ หรือทำผลงานได้ตามที่อีกฝ่ายคาดหวังนั้นมีน้อยมาก ดังนั้น หากอยากทำผลงานให้ได้เกินความคาดหมาย การมุ่งเป้าไปยังการทำงานให้ได้ตามปกติก่อนเป็นเรื่องสำคัญ

  1. หยุดความคิดที่ไม่จำเป็นงานจะลดลง 80%

งานที่ต้องทำจริง ๆ คืออะไร ความต้องการกับความจำเป็นไม่เหมือนกัน แท้จริงแล้ว งานที่ต้องทำคืองานที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้นแต่หากแยกงานออกเป็นความต้องการกับความจำเป็น จะพบว่างานหลายอย่างเป็นเพียงความต้องการ ซึ่งก็คืองานหลายงานเป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดที่ไม่จำเป็นนั่นเอง พูดง่าย ๆ ก็คืองานที่ไม่จำเป็นต้องทำนั่นมีอยู่ถึงร้อยละ 80 สิ่งเหล่านั้นก็คือการกระทำ หรือความคิดที่ไม่ก่อให้เกิดผลงานนั่นเอง

  1. การเลิกง่ายกว่าการสร้าง

ทิ้งความคิดที่ทำให้ตนเองต้องแบบละความเครียด in basket เป็นวิธีการอบรมให้เน้นการ เอาต์พุท (out put) คือการแสดงทักษะที่มีออกมา ลงมือทำสิ่งที่ทำให้เกิดผลงาน แต่ที่จริงแล้วควรเริ่มจากการทิ้งของที่แบกรับอยู่มากเกินไป ก่อนที่จะเริ่มเอาเทคนิคหรือความรู้ใหม่เข้ามา สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าอินพุต (in put) ได้มากเพียงแค่ไหน แต่อยู่ที่ว่าเอาต์พุดได้มากเพียงแค่ไหนต่างหาก

เลิกการไม่สะสางแห่งการสะสางงานอย่างมีประสิทธิภาพ

เอาต์พุตนั้นขึ้นอยู่กับว่าลงมือทำสิ่งที่ทำให้เกิดผลงานได้มากเท่าไหร่ การลงมือทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นก็รวมไปถึงการทิ้งสิ่งที่เคยทำมาตลอด ด้วยการรับเอาสิ่งใหม่ ๆ เข้ามา และทำสิ่งนั้นจนเป็นนิสัย ต้องใช้พลังงานมาก แต่การเลิกทำสิ่งที่เคยอยู่ทำนั้นเป็นเรื่องง่าย เช่น หากกำลังกลุ้มใจว่าแต่ละวันใช้เวลาเช็คอีเมลนาน จนรู้สึกว่าตัวเองเช็คอีเมลไม่ได้มีประสิทธิภาพ การเปลี่ยนแปลงโดยการตอบเฉพาะอีเมลที่จำเป็น นั้นเป็นวิธีที่ง่าย หากเปลี่ยนความคิดที่ไม่จำเป็นว่า จะต้องตอบอีเมลทุกฉบับไม่ได้ ก็หมายความว่าจะจัดการกับอีเมลได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ จึงต้องนั่งตอบอีเมลทั้งวันไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ดี

บทที่ 2

คุณกำลังใช้ทักษะมากเกินไปอยู่หรือเปล่า

  1. ใช่ว่าการทำงานอย่างประณีตจะดีเสมอไป

ทักษะการเขียนอีเมลที่มีเนื้อหา 3 บรรทัดให้ยาว 20 บรรทัด กลายเป็นความคิดที่ไม่จำเป็น เกิดจากการใช้ทักษะมากเกินไป เช่น ทักษะการมองเห็นปัญหา ทักษะการวิเคราะห์ปัญหา ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นทักษะที่ต้องการในวงการธุรกิจ หากแสดงทักษะเหล่านี้ออกมาได้ ก็จะสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมได้ ในทางกลับกันหากใช้ทักษะเหล่านี้มากเกินไป จะทำให้เกิดผลเสียดังต่อไปนี้คือ

ทักษะการมองเห็นปัญหา ทำให้เกิดความหวาดกลัวกับความเสี่ยงที่จะต้องเจอมากเกินไปจนไม่กล้าลงมือ

ทักษะการวิเคราะห์ปัญหา กลายเป็นคนที่ระแวงไม่สนความเป็นจริง

ทักษะความคิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นคนสร้างฝัน ไม่รักษากฎระเบียบ

คนที่ใช้ทักษะได้อย่างพอดีต่างหาก จึงจะเป็นพนักงานที่มีประสิทธิภาพ

ทักษะที่แสดงออกมามากเกินไปจะทำให้ตนเองลำบาก

หลายคนที่ใช้ทักษะมากเกินไป ทำให้เสียเวลากับกระบวนการมากจนไปไม่ถึงผลลัพธ์ เช่น คนที่ใช้ทักษะการวิเคราะห์ปัญหามากเกินไป จะเน้นส่วนของการวิเคราะห์จนทำให้ไปไม่ถึงการตัดสินใจสุดท้ายเสียที ทักษะนั้นหากจะใช้แต่พอดีจะดีที่สุด

  1. จงเลือกว่าจะทิ้งอะไร

คนที่จัดลำดับความสำคัญได้ก็จะสร้างผลงานได้ วิธีคิดแบบ in basket มีเป้าหมายเพื่อจัดการเรื่องหลายเรื่องภายในเวลาอันจำกัด

ทักษะการไม่แสดงทักษะเป็นสิ่งจำเป็น

หากไม่เลือกทิ้งบางอย่างจะไม่มีอะไรที่ทำได้ดีเลยสักอย่าง ทักษะเองก็เช่นกันทักษะที่ต้องการในตอนนี้ก็คือทักษะที่จะไม่แสดงทักษะ การวิเคราะห์ปัญหาว่าอยากจะวิเคราะห์มากกว่านี้ หรือไม่แสดงทักษะการรับผิดชอบว่า จะทำทั้งหมดด้วยตัวเอง สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจทิ้งเป็นพิเศษก็คือ ความเชื่อว่าจะต้อง… เช่น จะต้องทำทั้งหมด หรือจะต้องรวบรวมข้อมูลให้มากกว่านี้ ซึ่งความเชื่อเช่นนี้เป็นสิ่งเหนี่ยวนำให้ใช้ทักษะมากเกินไป หากมีความเชื่อเช่นนี้อยู่ อาจเป็นสิ่งที่ทำให้ผลลัพธ์ออกมาไม่ดีก็เป็นได้

  1. ความรอบคอบในการจัดการสภาพแวดล้อมให้พร้อมก่อนจะทำให้พลาดโอกาส

สำรวจว่าตัวเองมักพูดว่า ถ้ามีเวลามากกว่านี้คงจะทำได้แน่ ๆ หรือเปล่า การคิดว่า ก้าวหน้าช้ากว่าคนอื่น ไม่ได้รับความไว้วางใจจากคนรอบข้าง คนที่มีความกังวลเช่นนี้มีอยู่มากจนน่าตกใจ เส้นทางต่อจากนั้นของแต่ละคนแตกต่างกันไป ตามวิธีก้าวข้ามปัญหาเหล่านี้

คนรอบข้างนั่นแหละที่ไม่ดี เป็นตัวเราแบบนี้ก็ดีแล้ว คนที่คิดเช่นนี้ แล้วไม่เผชิญหน้ากับสถานการณ์ปัจจุบันจะไม่ก้าวหน้า และต้องใช้ชีวิตการทำงานอย่างเหี่ยวเฉาตลอดไป ในทางกลับกันคนที่คิดว่าต้องทำอะไรสักอย่าง แล้วลงมือทำ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีอย่างแน่นอน การทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีนั้น การทิ้งสำคัญกว่าการเพิ่ม ในสอบแม้จะเข้าใจโจทย์ดีเพียงใด หากไม่ตอบก็ไม่ได้คะแนน ภายในเวลาที่จำกัด ความคิดที่ว่าจะทำความเข้าใจกับสถานการณ์อย่างละเอียดเป็นความคิดที่ไม่จำเป็น หากต้องการสร้างผลงานจะต้องเลิกคิดเช่นนี้ก่อน

คำวิจารณ์ทางลบจะช่วยบอกความคิดใดที่ควรทิ้ง

คนที่เคยได้รับคำวิจารณ์จากคนรอบข้าง เช่น มีวิธีคิดไม่เหมือนคนอื่น คิดมากเกินไป มักเป็นคนที่มีความคิดที่ไม่จำเป็น และความคิดที่ไม่จำเป็นนั้น เคยส่งผลกระทบกับงานที่ทำอยู่อย่างแน่นอน การถูกคนรอบข้างวิจารณ์นั้น อาจกล่าวได้ว่าสถานการณ์เริ่มเลวร้ายถึงขั้นหนึ่งแล้ว เพราะโดยทั่วไป แม้จะคิดว่าคน ๆ นี้มีวิธีคิดแปลก ๆ แต่ถ้าไม่ได้ส่งผลอะไรกับตัวเอง ก็ไม่เลือกที่จะบอกให้เจ้าตัวรู้ ถ้าเผชิญหน้ากับคำวิจารณ์หรือสัญญาณด้านลบ อาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่คำพูดเหล่านั้นอาจเป็นคำพูดวิเศษ ที่จะช่วยเพิ่มเงินเดือนได้ในอนาคต

บทที่ 3

วิธีคิดแบบ in basket ที่ทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นใน 5 วินาที

ต่อจากนี้จะกล่าวถึงการนำไปใช้ สิ่งสำคัญของการนำวิธีคิดแบบ in basket ไปใช้คือ ทิ้งความคิดที่ไม่จำเป็นก่อนลงมือทำ 5 วินาที มาเริ่มจากชั้นต้น ชั้นกลาง ชั้นสูง และก้าวไปสู่ความเป็นคนทำงานเก่งกันเถอะ

  1. ทักษะการใส่ใจ

ทิ้งความคิดว่าคนอื่นจะมองเราอย่างไร แม้เนื้อหาจะยอดเยี่ยมเพียงใด แต่หากไม่ทันเวลาก็ไม่มีความหมาย ใบสมัครงานนั้นจะมีประวัติการศึกษาที่จำเป็น หรือที่อยู่เขียนไว้ แต่ในช่องเหตุผลที่ต้องการสมัคร หรือความคาดหวังนั้นว่างเปล่า การส่งใบสมัครงานโดยกรอกแค่ช่องที่จำเป็นนั้นไม่ใช่เรื่องผิด แต่หากมองจากมุมผู้ว่าจ้างงานแล้ว อย่างน้อยก็อยากให้เขียนเหตุผลที่ต้องการสมัครสักหน่อยก็ยังดี ที่จริงแล้วปัจจุบันนี้มีคนที่เขียนใบสมัครงานไม่เป็นเพิ่มขึ้น การเขียนใบสมัครงานนั้นไม่ได้มีจุดประสงค์อยู่ที่ใบสมัครงาน แต่เป็นการทดสอบเพื่อให้บริษัทที่ต้องการว่าจ้าง ดูใบสมัครแล้วเรียกสัมภาษณ์ ดังนั้นเมื่อได้เห็นใบสมัครงานเช่นนี้ ต้องคิดอยู่เสมอว่าให้คิดถึงภาพลักษณ์ของตัวเองอีกสักนิด แต่หากมัวใส่ใจกับภาพลักษณ์จนไม่บรรลุเป้าหมายที่แท้จริง สิ่งที่ทำลงไปก็ย่อมไร้ความหมาย

ความสำเร็จขึ้นอยู่กับว่าเราลงแรงและเวลาไปกับอะไร

ในเวลาเขียนหนังสือผู้เขียนจะใส่ใจกับชื่อเรื่องมาก ในกรณีเช่นนั้น จะให้เวลากับการพูดคุยเพื่อตกลงกันอย่างเต็มที่ บางครั้งก็ใช้เวลาอย่างยาวนานไปกับการถกเถียงเกี่ยวกับคำสันธานหรือคำวิเศษณ์เพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่เขารู้สึกเสียใจในภายหลังก็คือ การที่มัวแต่ใส่ใจกับรูปลักษณ์ภายนอกของหนังสือ ทั้งที่หน้าที่สำคัญคือ การทำให้เนื้อหามีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นไปอีก เวลาและแรงมีจำกัด ดังนั้นผลงานที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับว่าลงแรงและเวลาไปกับอะไร หากลงแรงผิดที่ก็จะไม่เกิดผลงาน ซึ่งก็คือแรงที่ลงไปจะกลายเป็น ความคิดที่ไม่จำเป็นนั่นเอง

การใส่ใจกับภาพลักษณ์ภายนอกนั้นเป็นเพียงการสร้างความพึงพอใจให้ตนเองเท่านั้น

หากใส่ใจกับภาพลักษณ์ภายนอกมากเกินไป จะทำงานที่ควรทำจริง ๆ ไม่ได้ ภาพลักษณ์เป็นสิ่งที่ผู้อื่นเป็นฝ่ายตัดสิน ไม่ใช่สิ่งที่ทำเพื่อความพอใจของตนเอง สิ่งที่ทำเพื่อความพอใจของตนเองนั้น เป็นเพียงแค่งานอดิเรกเท่านั้น จะทำงานโดยยึดความพอใจของตัวเองเป็นหลักไม่ได้ วิธีคิดแบบ in basket นั้นให้คุณค่ากับการใส่ใจผู้อื่นในฐานะทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ (human skill) แต่หากให้น้ำหนักกับทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์มากเกินไป จนสื่อใจความให้อีกฝ่ายเข้าใจไม่ได้ก็ถือว่าล้มเหลวตั้งแต่ขั้นแรก

  1. ทักษะการจัดการความเสี่ยง

ทิ้งความคิดว่าจะไม่เป็นไรจริง ๆ หรือ แล้วคิดว่าจะไม่เป็นไรจริง ๆ หรือเพียงครั้งเดียวก็พอ บนโลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่ไม่เป็นไรอย่างแน่นอน การลงมือทำบางอย่างย่อมมีความเสี่ยงเสมอ ปัญหาคือจะประเมินความเสี่ยงนั้นอย่างไร การตั้งสมมติฐานและรวบรวมข้อมูลโดยมีความคิดว่า จะไม่เป็นไรจริง ๆ หรือเป็นพื้นฐาน จากนั้นจึงคิดแผนการเพื่อรับมือและตัดสินใจ นี่เป็นวิธีการตัดสินใจแบบ in basket คนจำนวนไม่น้อยตกอยู่ในสถานการณ์ที่แม้แต่จะตั้งสมมติฐาน และรวบรวมข้อมูลมาแล้ว แต่กลับตั้งสมมติฐานขึ้นมาใหม่อีก ทำให้งานไม่ก้าวหน้า

ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้าเข้าไปเผชิญหน้า

การคาดคะเนความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยงต่ำ ความเป็นจริงแล้วล้วนเป็นเรื่องผิดในการตัดสินใจ คนที่คาดคะเนความเสี่ยงต่ำกว่าความเป็นจริง จะคิดโดยไม่มีหลักฐานมารองรับว่า คงจะไม่เป็นไรหรอก การคิดเช่นนี้เรียกว่าคิดไปเอง ในทางกลับกันหากประเมินความเสี่ยงสูงเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงด้านอื่นได้เช่นกัน ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ในอนาคต ซึ่งควรก้าวเข้าไปหา หากยอมรับความเสี่ยงไม่ได้ก็จะไม่เกิดผลงาน และต้องเสียโอกาสที่เข้ามา แม้จะคิดว่าไม่เป็นไรจริง ๆ หรือ แต่หากเป็นเรื่องที่ตัดสินใจ หลังจากนำขั้นตอนที่ควรทำก่อนตัดสินใจมาพิจารณาแล้ว ก็อย่าลังเลการเปลี่ยนใจไปมา จะทำให้ต้องเลื่อนเวลาลงมือทำออกไป และสุดท้ายจะกลายเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด เนื่องจากไม่ได้นำขั้นตอนที่ควรทำก่อนตัดสินใจมาพิจารณา

  1. ทักษะการสร้างคอนเน็กชัน

ทิ้งการให้ความสำคัญกับจำนวนไป เพราะมีคนรู้จักไม่กี่คนนั้นไม่สำคัญ คอนเน็กชันเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ แต่ก็ใช่ว่าการสร้างความสัมพันธ์จะเป็นประโยชน์เสมอไป ในทางกลับกันก็มีความสัมพันธ์ที่ทำให้ลำบากขึ้นเช่นกัน แต่ถึงอย่างนั้นความสัมพันธ์กับผู้คนก็ไม่มีคำว่าดีหรือเลว ความสัมพันธ์นั้นจะเป็นความสัมพันธ์ที่สำคัญ หรือเพียงแค่แลกนามบัตรกัน จำนวนของคนที่รู้จักนั้นไม่มีค่า สิ่งที่มีค่าคือความสัมพันธ์ที่ทั้งสองฝ่ายตอบสนองซึ่งกันและกันเท่านั้น คนที่แม้จะเจอได้ไม่นาน แต่กลับเอาแต่ขอ แล้วเป็นฝ่ายรับอย่างเดียว หรือแค่ได้รับนามบัตรจากอีกฝ่าย ก็ถือเป็นเรื่องดี ไม่อาจคาดหวังความสัมพันธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังได้

ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ที่มีมานานมากกว่าการพบเจอคนใหม่ๆ

จำนวนคอนเน็กชันที่เป็นความสัมพันธ์ที่พึ่งพิงได้ ไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่ขาดหายจากกันไปแล้ว  และแน่นอนว่าอีกฝ่ายก็ย่อมพึ่งพิงด้วยเช่นกัน ความสัมพันธ์ที่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้คือ ความสัมพันธ์ที่มีลักษณะเช่นนี้ คอนเน็กชันเป็นการให้และรับ แต่สิ่งที่ให้นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเงินหรือเวลาเท่านั้น ข้อมูลที่มีอยู่นั้นเป็นสิ่งมีค่าสำหรับอีกฝ่ายเช่นกัน ขอให้ทุกท่านเข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำว่า คอนเน็กชัน และการสร้าง คอนเน็กชันอย่างถูกต้อง ระวังอย่าให้เป็นคอนเน็กชันที่มีเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของตนเองเท่านั้น

  1. ทักษะการมองเห็นปัญหา

ทิ้งความคิดเรื่องการลดต้นทุนอย่างผิด ๆ เพราะการลดต้นทุนอย่างผิด ๆ จะทำให้ผลกำไรลดลงไปด้วย การลดต้นทุนผิดวิธีนั้นส่งผลกระทบต่อลูกค้า ต้นทุนของบริษัทก็ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด ในทางกลับกันหากพนักงานไม่ได้ทำหน้าที่ที่ควรทำ หรือทำหน้าที่เพิ่มมูลค่าให้สินค้า ยอดขายจึงตกลง

งานที่ต้องใช้แรงมากไม่ใช่เรื่องไม่ดีเสมอไป

ในวิธีคิดแบบ in basket การค้นพบว่าจุดใดเป็นจุดที่ไม่จำเป็น ก็คือทักษะการมองเห็นปัญหา การคิดว่าการที่ตนเองต้องเหนื่อยถือเป็นต้นทุน เป็นความคิดที่ไม่จำเป็น แต่การคิดว่าการต้องลงแรงไปในส่วนไหนต่างหากที่จำเป็น ซึ่งคือการเลือกโฟกัสนั่นเอง การลงแรงกับทุกเรื่องเท่า ๆ กัน จะทำให้เราเหนื่อยโดยที่ไม่ได้ผลงาน ดังนั้นจำเป็นต้องมีวิธีโฟกัสแรงและเวลาไปยังส่วนที่สำคัญ เพื่อเปลี่ยนความเหนื่อยให้ออกมาเป็นผลงาน วิธีคิดที่มองว่าจะลดงานที่ตัวเองต้องทำได้เท่าไหร่มากกว่าการมองผลลัพธ์นั้นนำมาใช้ทำธุรกิจไม่ได้ ดังนั้น การคิดว่าจะใช้แรงหรือทักษะที่ไหนและอย่างไร จึงจะสร้างผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างที่สุดนั้นเป็นเรื่องสำคัญ

ลองลงแรงเพิ่มอีกนิด

ทำความเข้าใจถึงความจริงที่ว่า หากลงแรงเพิ่มอีกนิดจะประสบความสำเร็จมากขึ้น หากลงแรงเพิ่มแล้วแต่ผลลัพธ์ที่ได้ไม่เปลี่ยนแปลงก็เพียงแค่เลิกทำเท่านั้น

  1. ทักษะการใช้ตัวช่วย

ทิ้งความยึดติดในตัวผู้ร่วมงาน หากพึ่งพิงผู้ร่วมงานมากเกินไป จะเสียทักษะในการคิด หากทำงานทั้งหมดด้วยตัวเองไม่ได้ จึงต้องร่วมมือกับคนรอบข้างเพื่อมุ่งไปยังเป้าหมาย หรืออาจกล่าวได้ว่า ทำงานอยู่ด้วยความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัย สิ่งที่พึ่งพาก็ไม่ได้เพียงเพื่อนร่วมงานเท่านั้น แต่ยังพึ่งพาอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำงาน และการใช้ชีวิต เช่น นาฬิกาปลุก รถโดยสาร หรืออุปกรณ์เพื่อการสื่อสารอย่างโทรศัพท์มือถือ มักจะรู้สึกเหมือนต้องทำงานด้วยตัวเองเพียงคนเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ได้รับความช่วยเหลือจากความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยอยู่เป็นอย่างมาก ทั้งนี้หากพึ่งพาคนรอบข้างมากเกินไป จะคิดหรือตั้งคำถามด้วยตัวเองไม่ได้

การพึ่งพาอีกฝ่ายอย่างเดียวมีความเสี่ยงสูง

การพึ่งพาบางสิ่งบางอย่างจะมาพร้อมกับความเสี่ยงว่า จะไม่ได้ทำในส่วนนั้นหรือจะทำส่วนนั้นไม่ได้ หากไม่คำนึงถึงความเสี่ยงของการพึ่งพาอีกฝ่ายอย่างเดียว จนทำเรื่องดังกล่าวไม่ได้เลย ก็มักพึ่งพาอีกฝ่ายมากเกินไป สิ่งสำคัญคือการรักษาสมดุลของการพึ่งพาอีกฝ่ายไปเสียทั้งหมด กับการพยายามจะทำทุกอย่างด้วยตัวเอง แต่การพึ่งพาคนอื่นนั้นเป็นเรื่องจำเป็น ดังนั้นไม่ได้ต้องการให้เลิกทั้งหมด แต่การพึ่งพานั้นจะทำให้เผลอหย่อนยาน

  1. ทักษะการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย

ทิ้งความยึดติดในเป้าหมาย อย่าเข้าใจผิดว่าการทำงานอย่างหนึ่งเสร็จคือเป้าหมาย การเขียนผังงานจำเป็นต้องตั้งเป้าหมายระยะสั้นและเป้าหมายระยะยาว เช่น การตั้งเป้าหมายของแต่ละเดือน ในการตั้งกำหนดเวลาตามงานย่อยที่ต้องทำแต่ละอย่าง จะทำให้ควบคุมความคืบหน้าได้ง่าย และยังช่วยรักษากำลังใจได้ดีอีกด้วย การบรรลุเป้าหมายของแต่ละวันนั้นเป็นเรื่องสำคัญ แต่ถ้าไม่บรรลุเป้าหมายอย่างสุดท้าย สิ่งที่ทำมาก็จะไม่มีความหมาย การคิดไปเองว่าการทำงานที่อยู่ตรงหน้าให้เสร็จคือเป้าหมาย โดยไม่สนใจเป้าหมายสุดท้ายนั้นเป็นความคิดที่ไม่จำเป็นอย่างหนึ่ง แม้ตนเองจะรู้สึกว่าทำงานเสร็จแล้ว แต่หากดูจากภาพรวมสิ่งที่สำเร็จเป็นเพียงงานส่วนหนึ่งเท่านั้น

ตระหนักถึงความต่างของเป้าหมายและจุดประสงค์

การคิดไปเองว่าการทำเป้าหมายที่อยู่ตรงหน้าให้สำเร็จคือ การไปถึงเส้นชัยนั้นปัญหาดังกล่าว เกิดจากทักษะการอ่านสถานการณ์ คือ ทักษะการตัดสินใจโดยมองจากสถานการณ์ในภาพรวม และคาดคะเนไปถึงสิ่งที่จะเกิดในอนาคต หากมองเห็นเพียงในจุดเล็ก ๆ จะเผลอคิดว่าเสร็จแล้ว ทั้งที่ยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกต่อไป ทักษะการรับผิดชอบก็เป็นสาเหตุหนึ่งเช่นกัน ทักษะดังกล่าวนั้นนอกจากจะเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบแล้ว ยังเป็นทักษะการรับรู้ว่าอีกฝ่ายต้องการให้ตนเองทำอะไรอีกด้วย การพักผ่อนหลังจากทำงานเสร็จไปส่วนหนึ่งนั้นไม่ใช่เรื่องไม่ดี แต่ต้องอย่าลืมมองเห็นถึงภาพรวมของงาน สิ่งที่คิดว่าเป็นเส้นชัยนั้นเป็นเพียงทางผ่าน อย่าเสียเวลากับการหยุดพักทุกครั้งที่ทำงานบางอย่างเสร็จ จะแยกเป้าหมายกับจุดประสงค์ให้ออกอย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดความคิดที่ไม่จำเป็นว่างานเสร็จแล้วนั่นเป็นสิ่งสำคัญ

ลองนึกถึงภาพรวมจนถึงเป้าหมาย

หากตั้งค่าแผนที่นำทางไว้เป็นรายละเอียด จะมองเห็นพื้นที่ในขอบเขต 1 เท่านั้น แต่ถ้าตั้งไว้เป็นภาพมุมกว้างจะมองเห็นได้ทันทีว่า อยู่ห่างจากเป้าหมายเท่าไร เวลางานหากมองเห็นภาพว่าสิ่งที่กำลังทำนั้น อยู่ในส่วนใดจะไม่ทำให้หยุดทำอย่างครึ่งครึ่งกลาง ๆ จงนึกถึงภาพรวมจนไปถึงเป้าหมายแล้วจึงลงมือทำ

  1. 7. ทักษะการเพิ่มผลกำไร

ทิ้งจากการแย่งผลกำไรจากอีกฝ่าย การที่คนอื่นได้ประโยชน์ไม่ใช่การเสียประโยชน์ของเรา ช่วงหนึ่งคำว่า ใครได้ ถูกใช้อย่างแพร่หลาย เป็นคำที่ย่อมาจาก ทำไปก็ไม่มีใครได้ประโยชน์ขึ้นมา การคิดว่าใครจะได้ผลประโยชน์นั้น อาจเป็นการศึกษาธุรกิจที่ดี แต่ในการตัดสินใจทางธุรกิจจะต้องคิดถึงผลประโยชน์ของตนเองก่อนเป็นอันดับแรก เพราะบริษัทถือเป็นกลุ่มแสวงหากำไร ดังนั้น การลดผลกำไรของตนเองเพื่อลดผลกำไรของผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งที่คนร้อยละ 99 ไม่ควรทำ ดังนั้นวิธีดังกล่าวใช้ล้มคู่แข่งที่อ่อนแอกว่าของบริษัทแนวหน้าเพียงร้อยละ 1 ที่มีเงินทุนมากกว่าเท่านั้น จงทิ้งความคิดที่ไม่จำเป็นเช่นนี้ไป โดยเฉพาะการนำความคิดที่ไม่มีเหตุผลเช่นนี้ไปทำธุรกิจเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง การที่บริษัทกำลังลำบากเพราะไม่มีผลกำไร แต่กลับมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้ผลกำไรของบริษัทอื่นน้อยลงนั้น ในทางธุรกิจอาจกล่าวได้ว่าจะยิ่งทำให้บริษัทของตนขาดทุนยิ่งขึ้น

หากพยายามแย่งผลกำไรจากผู้อื่น สุดท้ายตนเองก็จะขาดทุนด้วยเช่นกัน

การจัดโปรโมชั่นลดราคากระหน่ำเพื่อให้ร้านคู่แข่งขายไม่ออก เป็นวิธีการที่มีเป้าหมายในการแย่งผลกำไรจากอีกฝ่าย ถึงแม้ลูกค้าจะเพิ่มขึ้นในช่วงที่ลดราคา แต่เมื่อเลิกลดราคาลูกค้าก็จะกลับไปซื้อสินค้าจากร้านคู่แข่งตามเดิม และยิ่งไปกว่านั้นเนื่องจากร้านลดราคาไปมาก ทำให้มีภาพลักษณ์เป็นร้านของถูก จึงกลับมาตั้งราคาสูงเท่าปกติไม่ได้อีก สุดท้ายก็ทำให้ยอดขายตกลง กล่าวคือการตัดสินใจเช่นนั้น เป็นการกระทำที่ทำให้ตัวเองขาดทุนอย่างมหาศาล เพื่อที่จะลดกำไรของคู่แข่ง การทำธุรกิจนั้นหากคิดถึงเพียงแค่ผลกำไรของตนเอง มักจะคว้าเอาแต่ผลกำไรระยะสั้น ทำให้สุดท้ายได้กำไรน้อยลง แน่นอนว่าการตัดผลกำไรของอีกฝ่าย โดยการยอมเสียผลกำไรของตัวเองนั้น เป็นการกระทำที่ไม่เกิดผลดีใด ๆ ซ้ำยังทำให้ทั้งสองฝ่ายตกอยู่ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นความคิดที่ไม่จำเป็นอย่างแท้จริง

  1. ทักษะการวางตัว

ทิ้งความพยายามที่จะใส่ใจกับทุก ๆ คน คิดให้ดีว่ากำลังใส่ใจผิดคนหรือเปล่า การใส่ใจคนรอบข้างถือเป็นเรื่องสำคัญ บางคนอาจไม่ค่อยใส่ใจกับเรื่องเช่นนี้ ทักษะการแก้ปัญหาหรือทักษะการตัดสินใจสูงมักจะไม่ถนัดใส่ใจคนรอบข้าง เนื่องจากคนประเภทนี้คุ้นเคยกับการสื่อสารกับคนในทีมด้วยหลักเหตุผล มักขาดคำพูดหรือรักษาน้ำใจต่อคนรอบข้าง จึงทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าเป็นคนเย็นชา ในทางกลับกันก็มีใครบางคนที่เก่งในเรื่องการใส่ใจคนรอบข้าง คนที่ใส่ใจคนรอบข้างไม่ว่าตัวเองจะยุ่งแค่ไหน อาจเรียกได้ว่าเป็นคนที่มีทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์สูง ทักษะดังกล่าวก็เป็นทักษะหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญ แต่การใส่ใจผู้อื่นก็มีข้อจำกัดอยู่เช่นกัน การใส่ใจคนรอบข้างทุกคนโดยไม่จัดลำดับความสำคัญเป็นความคิดที่ไม่จำเป็น การเอาใจใส่ผู้อื่นนั้นไม่ใช่เรื่องผิด แต่การเลือกใส่ใจคนอื่นมากกว่าคนที่รู้สึกว่าตัวเองควรจะได้รับการใส่ใจมากกว่าต่างหาก ที่เป็นสาเหตุที่ให้เกิดปัญหา จะต้องจัดลำดับความสำคัญของคนที่จะใส่ใจนั่นเอง

มุมมอง 2 ข้อ ที่จำเป็นสำหรับการใส่ใจอย่างถูกต้อง

สิ่งที่ต้องระวังมีอยู่ 2 ข้อ ข้อแรกกำหนดบุคคลสำคัญ (key person) มนุษย์นั้นเท่าเทียมกันทุกคน แต่สำหรับความสัมพันธ์กับคนรอบข้างนั้น จะมีทั้งคนที่สำคัญและไม่สำคัญอยู่ ดังนั้นต้องจัดลำดับความสำคัญของคนที่จะใส่ใจ หากมองผิดว่าใครเป็นบุคคลสำคัญ ไม่ว่าพยายามจะสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเท่าไร นอกจากจะไม่เกิดผลใด ๆ แล้ว ยังทำให้เสียความไว้เนื้อเชื่อใจจากบุคคลสำคัญที่แท้จริงอีกด้วย

ข้อที่ 2 ระลึกถึงเป้าหมายที่แท้จริงของการกระทำ เมื่อหาบุคคลสำคัญและนึกถึงเป้าหมายของตัวเองได้แล้ว ก็จำเป็นต้องแสดงความใส่ใจออกมาเป็นการกระทำ หากวิธีการแสดงออกผิด ความใส่ใจนั้นอาจจะกลายเป็นสิ่งที่ทำร้ายความรู้สึกของผู้อื่นได้

ลองคิดว่าตนเองเป็นฝ่ายที่ควรใส่ใจ หรือฝ่ายที่ควรได้รับความเอาใจใส่

การใส่ใจนั้นไม่ใช่การกระทำที่ต้องทำ หรือต้องได้รับด้วยความตั้งใจ แต่เป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นอย่างธรรมชาติ กรณีที่พยายามใส่ใจมากเกินไปจนทำผิดพลาดหลายต่อหลายครั้ง ลองสงบใจแล้วคิดทบทวนอีกครั้งว่า ตนเองอยู่ในสถานะที่ควรใส่ใจอีกฝ่าย หรือได้รับความใส่ใจจากอีกฝ่าย หากทำเช่นนี้จะทำให้มองเห็นคนที่ควรใส่ใจได้ง่ายขึ้น หากลงแรงเพิ่มอีกนิดจะประสบความสำเร็จมากขึ้น

  1. ทักษะการคำนึงถึงผู้อื่น

ทิ้งการใส่ใจที่ไม่จำเป็น การรายงานข้อมูลบางครั้งไม่จำเป็นต้องรอจังหวะ เวลามีรายงานเรื่องร้าย ๆ เข้ามา หรือตอนที่มีปัญหาประดังเข้ามาหลายอย่าง ก็เป็นจังหวะที่ไม่เหมาะกับการรายงาน เพราะมักคิดว่าทำไมต้องเป็นตอนนี้ด้วย หลักของการรายงานคือความรวดเร็ว โดยเฉพาะการรายงานเรื่องร้าย ๆ ยิ่งต้องรายงานอย่างรวดเร็ว เพราะหากปล่อยเรื่องร้าย ๆ นั้นทิ้งไว้ ปัญหาหรือความเสียหายจะยิ่งลุกลามขึ้น โดยที่ไม่ได้ตั้งใจการรับมืออย่างทันท่วงที จะทำให้กำจัดต้นตอของปัญหาได้ ดังนั้น แทนที่จะใช้ความคิดกับสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น หาจังหวะหรือเกรงใจอีกฝ่าย การรีบรายงานอย่างทันท่วงทีนั้นสำคัญกว่า

ลงมือทำโดยคำนึงถึงระดับความเร่งด่วน

การจัดลำดับความสำคัญ จะใช้แกน 2 แกนคือ ความสำคัญและความเร่งด่วน ความคิดที่ไม่จำเป็นอย่างการใส่ใจอีกฝ่ายมากเกินไป แก้ไขได้ด้วยการเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับลำดับความเร่งด่วน หากตัดสินใจว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำตอนนี้ก็ควรให้ความสำคัญกับการลงมือทำทันที มากกว่าการหาจังหวะหรือคอยใส่ใจอีกฝ่าย แต่การรายงานเรื่องร้าย ๆ นั้นมีกรณีที่ความเสียหายจะยิ่งลุกลามขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นแทนที่จะคิดว่าควรรายงานตอนนี้ หรือควรรายงานภายหลังต้องตัดสินใจโดยคิดว่า หากไม่รายงานตอนนี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

  1. ทักษะการอ่านสถานการณ์

ทิ้งนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง จะยืดเวลาไปเพื่อใคร ในธุรกิจนั้นการต่อรองเป็นเทคนิคที่จำเป็น การจะบอกวันส่งของเผื่อไว้เล็กน้อยก็เป็นเรื่องที่เห็นได้บ่อย ๆ เป็นการทำเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดในกรณีที่เกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้น เช่น มีข้อผิดพลาดเรื่องการจราจรไม่เป็นใจ ทักษะการอ่านสถานการณ์ที่จะไม่ต้องกำหนดเวลาที่เฉียดฉิวมากเกินไป ผลลัพธ์จะกลายเป็นการผัดวันประกันพรุ่งได้ ความคิดเช่นนี้เป็นความคิดที่ไม่จำเป็น

การเลื่อนกำหนดเวลาต่างกับการผลัดวันประกันพรุ่ง

ทุกท่านจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การเลื่อนกำหนดเวลานั้นเป็นการเพิ่มเวลาให้ตนเอง แต่ในทางกลับกันก็เป็นการขโมยเวลาของอีกฝ่ายด้วยเช่นกัน การขโมยเวลาจากอีกฝ่ายเกินกว่าที่จะเป็นนั้น เป็นการสร้างความลำบากให้อีกฝ่าย แม้ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม ในทางธุรกิจก็จะมีเทคนิคว่าให้อีกฝ่ายรอ เพื่อทำให้เกิดความต้องการมากขึ้น จากนั้นจึงขายในจังหวะที่ตั้งราคาสูงขึ้นได้มาก ๆ แต่มีเพียงไม่กี่กรณีเท่านั้นที่ใช้เทคนิคนี้ได้ ในกรณีที่อีกฝ่ายรู้ระยะเวลาส่งของอยู่คร่าว ๆ ยิ่งยืดเวลาออกไปก็จะมีแต่ทำให้ราคาตกลงเท่านั้น หลายคนมักจะคิดว่าราคาของสินค้าอยู่ที่คุณภาพของตัวสินค้า แต่เวลาในการดำเนินการต่าง ๆ ก็เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อราคาของสินค้าเช่นกัน แต่การผัดวันประกันพรุ่งนั้นหากไม่มีเหตุผลที่เพียงพอมารองรับ ถือเป็นการกระทำที่เสี่ยงมาก นอกจากการยื่นเวลาออกไปเป็นการทำให้มูลค่าของงานลดลง การตัดสินใจเริ่มกำหนดเวลานั้น เป็นการกระทำที่จะได้รับการประเมินว่าดี ในบางกรณีแต่หากมีความคิดที่ไม่จำเป็นผสมอยู่ การกระทำเช่นนี้ก็จะกลายเป็นการผัดวันประกันพรุ่ง ยิ่งเป็นเรื่องสำคัญยิ่งควรรีบทำก่อน นี่เป็นนิสัยของคนที่ทำงานเก่งในระดับแนวหน้า คนที่คิดว่าค่อย ๆ ทำทีหลังดีกว่า ขอยืดเวลาไปก่อนแล้วกัน สุดท้ายก็จะได้ผลลัพธ์ที่น่าผิดหวัง

  1. ทักษะการแก้ไขปัญหา

ทิ้งความคิดเรื่องแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ทำเรื่องที่ควรทำก่อนจะไปแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ การรับมือปัญหานั้น จำเป็นต้องควบคุมความเสียหายให้น้อยที่สุดก่อน จากนั้นจึงหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องอีก นั่นคือต้องมีทั้งแผนการรับมือระยะสั้น และแผนการรับมือระยะยาว

อย่าหาแต่สาเหตุภายนอก

การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เริ่มต้นจากการหาสาเหตุที่แท้จริงก่อน แต่บางคนก็หาสาเหตุจากภายนอกเพียงอย่างเดียว การแก้ไขปัญหาที่รากฐานเป็นสิ่งจำเป็น แต่การห้ามเลือดที่ไหลอยู่ให้หยุดก็สำคัญเช่นกัน อาจกล่าวได้ว่าทั้งการควบคุมสถานการณ์ไม่ให้เกิดความเสียหายมากขึ้น และการค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา รวมเป็นสิ่งจำเป็นที่จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำเดิม

คำนึงถึงการกระทำที่ได้ผลทันที

การค้นหาต้นเหตุที่แท้จริง ควรหาเวลาเพื่อให้ได้คิดอย่างถี่ถ้วน นอกจากนี้สิ่งที่ต้องคำนึง คือการกระทำที่ได้ผลทันที ก่อนอื่นต้องคิดว่าการกระทำที่จะยับยั้งความเสียหายได้ทันทีคืออะไร จากนั้นจึงลงมือทำแล้วใช้เวลาในการคิดหาสาเหตุที่แท้จริง การกระทำเช่นนี้จะช่วยให้ถ่วงสมดุลระหว่างแนวทางการแก้ไขปัญหาระยะสั้นกับระยะกลางได้

  1. ทักษะการเพิ่มประสิทธิภาพ

ทิ้งความคิดเลือกเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อตนเอง การเพิ่มประสิทธิภาพอย่างผิดวิธีจะยิ่งทำให้ประสิทธิภาพแย่ลง หากคิดในแง่ของการบริหารจัดการการเพิ่มจำนวนพนักงาน เฉพาะช่วงที่ลูกค้าเยอะ อาจจะเป็นการกระทำที่ไม่มีประสิทธิภาพในแง่ของต้นทุน แต่การเพิ่มประสิทธิภาพอย่างผิดวิธี จะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ทรุดฮวบราวกับโดนหมัดฮุก การเพิ่มประสิทธิภาพอย่างผิดวิธีคือ การเพิ่มประสิทธิภาพที่มีแต่ตนเองเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ การที่ตัวเองได้รับประโยชน์แต่อีกฝ่ายเสียประโยชน์นั้น อาจจะทำให้ได้รับผลกำไรในระยะสั้น แต่ในระยะยาวผลกำไรจะลดลงเรื่อย ๆ

คำนึงถึงทั้งประสิทธิภาพและผลลัพธ์

คำกล่าวที่ว่า จงทำงานอย่างมีประสิทธิภาพนั้น บางคนเข้าใจจุดประสงค์ของการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพผิด กล่าวคือหากยึดแต่การเพิ่มประสิทธิภาพเป็นเป้าหมาย แทนที่ผลลัพธ์จะดีขึ้นกลับได้ผลตรงกันข้าม ยิ่งกว่านั้นยังมีคนยัดสิ่งที่จะทำลงในเวลาว่างที่มีอยู่จนหมด โดยบอกว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เป้าหมายของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานคือ การทำให้เหลือเวลามากขึ้น และนำเวลาที่เหลือมาเพิ่มคุณค่าแก่ผลงานของตน การทำในสิ่งที่ไม่ต้องทำก็ได้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพอย่างผิดวิธี มองในแง่มุมของประสิทธิภาพก็คือ จะรักษาผลลัพธ์ไว้อย่างต่อเนื่องด้วยทรัพยากรที่มีจำกัดอย่างไร ขณะเดียวกันการมองในแง่มุมของผลลัพธ์เป็นการมองว่า หากจะทำให้ได้แค่ผลลัพธ์สูงสุดจะต้องใช้ทรัพยากรเท่าไร การมองทั้ง 2 ด้าน จะทำให้แบ่งเวลาเพื่อสร้างผลงานได้ต้องมีวิธีคิดเพื่อใช้เวลาที่เหลือมากขึ้นจากการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไปลงทุนเพื่อสร้างผลลัพธ์ให้ได้มากที่สุด

คิดวิธีที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด

การเพิ่มประสิทธิภาพ เป็นแนวคิดในการรักษามาตรฐานที่เคยทำมาให้คงที่อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ควรคิดหาวิธีเพิ่มเติม ที่จะทำให้ผลลัพธ์ดีขึ้นด้วย แม้การคิดหาวิธีเพิ่มเติม หรือการพลิกแพลง อาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่หากช่วยให้ได้กำไรเพิ่มขึ้นมากพอนำมาหักลบกันได้ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ

  1. ทักษะการรับผิดชอบ

ทิ้งการจมอยู่กับความผิดพลาดในอดีต คนที่ทำงานเก่งคือคนที่สร้างการรับรู้ประสิทธิภาพของตนเอง อารมณ์ของมนุษย์นั้นมีทั้งขึ้นและลง คนที่จะประสบความสำเร็จนั้น ไม่ใช่ลูกน้องที่เคยทำผิดพลาด แต่เป็นลูกน้องที่ทำผิดพลาดแล้วตะเกียกตะกายขึ้นมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นคนที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบแค่ไหน สักวันหนึ่งก็ต้องประสบความผิดพลาด คนรอบตัวอาจจะคิดว่าขนาดคนนี้ยังทำผิดพลาดได้ด้วยหรือ แต่ไม่เคยเห็นใครที่ไม่เคยทำผิดพลาดมาก่อนเลย จะได้รู้ว่าคน ๆ นั้นเป็นคนที่ทำงานเก่งได้เพียงใดนั้น ก็ลองสังเกตว่าเขาฟื้นฟูสภาพจิตใจจากความผิดพลาดได้รวดเร็วเพียงใด คนที่ทำงานเก่งจะเป็นคนที่สร้างการรับรู้ประสิทธิภาพของตนเองได้ดี ดังนั้นแม้จะทำผิดพลาดแต่ก็ปรับสภาพอารมณ์ของตนเอง และลงมือทำสิ่งที่ต้องทำต่อไปได้ในทางกลับกัน คนที่ทำงานไม่เก่งนั้นเมื่อทำผิดพลาดจะหยุดชะงัก กว่าจะลงมือแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้นได้ก็ใช้เวลานาน และขุดเรื่องที่ผ่านไปแล้วมาคิดซ้ำไปซ้ำมา ช่วงเวลาเช่นนั้นสร้างผลงานใด ๆ ก็ไม่ได้ มีแต่จะทำให้ความรู้สึกทางด้านลบเพิ่มขึ้นเท่านั้น

  1. ทักษะการถ่ายทอด

ทิ้งประโยคหรือคำพูดที่ไม่จำเป็น ยิ่งรายงานยืดยาวยิ่งเข้าใจยาก เพราะกำลังใช้ประโยคหรือคำพูดที่ไม่จำเป็นอยู่หรือเปล่า บ่อยครั้งที่การให้ข้อมูลอีกฝ่ายมาก ๆ ทำให้อีกฝ่ายไม่เข้าใจหากเสริมส่วนเพิ่มเติมให้สาระสำคัญมากเกินไป ผู้ฟังจะไม่เข้าใจว่าสรุปแล้วต้องการจะสื่ออะไร ซึ่งต้องทำความเข้าใจว่าความเข้าใจของผู้ฟังไม่ได้แปรผันตามปริมาณของสารที่สื่อออกไป การจะรายงานเรื่องใดก็ให้ลองสรุปไว้ในหัวว่า จะรายงานอะไรเพียงประมาณ 1 ประโยค ก็จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายขึ้น

  1. ทักษะการร่วมมือ

ทิ้งความคิดเรื่องเป็นกลุ่มที่มีความสนิทสนมกลมเกลียว เป้าหมายของการทำงานไม่ใช่การรักษาทีมเวิร์ค การทำงานเป็นทีมนั้นจำเป็นจะต้องมีความร่วมมือกัน ความร่วมมือคือการช่วยเหลือกันและกันในการทำงาน โดยมุ่งไปยังเป้าหมายเดียวกัน แม้บางครั้งอาจจะมีความขัดแย้งกันบ้าง แต่หากมีความร่วมมือก็จะประนีประนอมกัน และก้าวไปข้างหน้าได้ อย่างไรก็ตาม การดึงดันรักษาทีมเวิร์คเป็นเป้าหมาย หรือนำความร่วมมือมาใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ปรับปรุงสิ่งที่ควรปรับปรุงนั้นถือเป็นปัญหาใหญ่ การรักษาทีมจนส่งผลกระทบกับเป้าหมายที่แท้จริงนั้นเป็นเรื่องที่ปล่อยให้เกิดขึ้นไม่ได้

ทีมเวิร์คต่างกับกลุ่มที่มีความสนิทสนมกลมเกลียว

ความร่วมมือนั้นเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในองค์กร เพราะหลายครั้งความสัมพันธ์ในองค์กรก็กลายเป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัย นั่นคือความสัมพันธ์แบบปกป้องกันและกัน และรักษาแผลให้กัน การทำธุรกิจคือการต่อสู้ องค์กรแสวงหากำไรเป็นกลุ่มที่ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างอย่างทันท่วงที เพื่อให้รับมือกับสถานการณ์ปัจจุบันได้ หากองค์กรใดเลือกทีมเวิร์คคือ การที่คนแต่ละคนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อก้าวไปยังจุดหมายเดียวกัน โดยที่ยังรักษาความเป็นตัวของตัวเองไว้ กลุ่มคนที่แต่ละคนทิ้งความเป็นตัวของตัวเอง แล้วหันมาคิดอะไรเหมือน ๆ กันหมด นั่นเป็นเพียงแค่ฝูงคนเท่านั้น ทีมเวิร์คที่แท้จริงคือการรวมพลังกัน และมุ่งไปยังจุดมุ่งหมายเดียวกัน และเป้าหมายของการรวมทีมในการทำธุรกิจคือ การนำพลังของสมาชิกแต่ละคนรวมกัน เพื่อให้แสดงพลังอันยิ่งใหญ่ออกมาได้ คนที่ทำงานเก่งจะเป็นคนที่สร้างการรับรู้ประสิทธิภาพของตนเองได้ดี

  1. ทักษะการวิเคราะห์ปัญหา

ทิ้งการคิดในเชิงลึก การคิดมากเกินไปจะทำให้ปัญหาซับซ้อนยิ่งขึ้น การหยุดคิดสักนิดเป็นสิ่งสำคัญ แต่หากคิดมากจนเกินไปจะกลายเป็นความคิดที่ไม่จำเป็น บางคนไม่ได้หยุดคิดเล็กคิดน้อยแต่หยุดคิดจนไม่ได้ก้าวไปไหน ต่อเนื่องจากคิดมากเกินไปจนทำให้เรื่องง่าย ๆ กลายเป็นเรื่องซับซ้อน

การทำเรื่องง่ายๆ ให้กลายเป็นเรื่องยากเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น

การทำเรื่องใหม่ ๆ นั้นไม่มีทางจะทำให้ทุกคนพอใจได้ การปรับเปลี่ยนให้คนส่วนใหญ่ยอมรับได้ไว้ล่วงหน้าคือการล็อบบี้เป็นสิ่งจำเป็น แต่หากเก็บความรู้สึกของคนรอบข้างมาคิดมากเกินไป จะกลายเป็นสถานการณ์ที่ดูเหมือนถูกเชือกผูกรัดไว้จนขยับตัวไปไหนไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เชือกเกือบทั้งหมดนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่อีกฝ่ายผูกไว้ แต่เป็นสิ่งที่ตัวเองผูกขึ้นเอง คนที่จะไปแก้ปมนั้นได้จึงไม่ใช่ใครอื่นแต่คือตัวเราเอง วิธีคิดแบบ in basket เลือกการคาดเดาล่วงหน้าว่าทักษะการวิเคราะห์ปัญหา คนที่เก็บความรู้สึกของคนอื่นมาคิดจนความคิดพันกันยุ่งเหยิง หรือคนที่คิดมากเกินไป ส่วนใหญ่จะมีทักษะนี้สูงมากเป็นพิเศษ ในวิธีคิดแบบ in basket เพื่อการกระทำที่ใส่ใจความรู้สึกอีกฝ่ายว่าทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ ทักษะนี้เป็นหนึ่งในทักษะที่จำเป็นในการสร้างผลงานให้ได้เช่นกัน แต่ทักษะนี้จะได้รับการประเมินค่าเมื่อลงมือกระทำแล้วเท่านั้น ดังนั้น การคิดถึงความรู้สึกของผู้อื่นอยู่ในหัวเพียงอย่างเดียว จึงไม่ได้ทำให้เกิดผลงานใด ๆ

  1. ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์

ทิ้งเวลาที่นำมาใช้จินตนาการ หากคิดเผื่อล่วงหน้าไกลเกินไปจะผิดพลาดได้ การพัฒนาสินค้าอย่างหนึ่งเพื่อเพิ่มยอดขายเช่นนี้ เป็นวิธีแก้ปัญหา (solution) ทางธุรกิจในรูปแบบหนึ่ง ย้อนกลับมาที่เรื่องนักศึกษาผู้จดสิทธิบัตรได้ สุดท้ายผลลัพธ์ก็ลงเอยที่พวกเขาต่อยอดเป็นธุรกิจไม่ได้ สาเหตุก็คือการคิดไกลเกินไปนั่นเอง ตอนแรกเขาวางแผนไว้ว่าจะให้หน่วยงานทางการแพทย์ใช้ผลิตภัณฑ์ของเขา แล้วจึงค่อย ๆ ขยายช่องทางการขายออกไป แต่ระหว่างที่คิดรายละเอียดของ project เขากลับคิดขึ้นว่าในไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้วให้หน่วยงานทางการแพทย์ชั้นนำที่ญี่ปุ่นใช้เลยดีกว่า ยิ่งไปกว่านั้นยังจินตนาการต่อไปอีกว่า ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ต้องจำกัดอยู่แค่ในญี่ปุ่นแต่ขยับขยายไปทั้งโลกเลยดีกว่า สุดท้ายโปรเจคต์นี้ก็จบลงเพราะต้องใช้เงินหลักร้อยล้านเยน เป็นเพียงการสร้างวิมานในอากาศเท่านั้น

ความคิดมีจุดที่ควรหยุดอยู่

คนส่วนใหญ่มักเริ่มต้นคิดจากเป้าหมายเล็ก ๆ แต่ระหว่างที่คิดกลับจินตนาการไปไกลจนทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้ในตอนแรกไม่สำเร็จ ดังนั้นจุดที่ควรหยุดความคิดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น คนที่มีทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์จะคิดถึงสิ่งที่คนทั่วไปคิดไม่ถึง ทักษะนี้เป็นทักษะที่น่าภูมิใจก็จริงแต่หากใช้มากเกินไป สิ่งที่ทำออกมาก็จะไม่ตรงกับความต้องการ ทำให้ผลงานออกมาไม่ดี ถ้าเช่นนั้นควรจะหยุดความคิดที่ไกลเกินจำเป็นได้อย่างไร ตอนที่จินตนาการออกไปไกลจนรู้สึกว่าเห็นโลกอีกใบ ขอให้ลองจดบันทึกไอเดียหรือภาพที่คิดออกในตอนนั้นไว้ จากนั้นหยุดคิดก่อนสักระยะแล้วค่อยกลับมาคิดใหม่อีกครั้ง หากลงมือทำโดยไม่ลืมเป้าหมายหลัก จะตัดสินใจได้อย่างรอบคอบว่า ไอเดียหรือภาพที่คิดนั้นอยู่ในขอบเขตของสิ่งที่ควรทำหรือไม่ เมื่อตัดสินได้ว่าไอเดียหรือภาพนั้นหลุดออกจากขอบเขตของสิ่งที่ควรทำ ก็จงวางไอเดียหรือภาพนั้นลงก่อน แล้วหันมาตั้งสมาธิกับสิ่งที่ควรทำ

  1. ทักษะการวางแผน

ทิ้งเหตุผลที่จะไม่สู้ คิดหาแผนการที่จะทำให้ชนะ ไม่ใช่เหตุผลที่จะไม่สู้ การคิดเหตุผลที่จะไม่สู้เป็นแผนการที่ไม่ฉลาด เนื่องจากเป็นการยอมรับว่าตนเองแพ้ไปแล้วตั้งแต่ตอนนั้นนั่นเอง การรักษากฎหรือเคารพกฎหมายเป็นเรื่องสำคัญ แต่หากนำไปตีความผิด ๆ เพื่อใช้เป็นเหตุผลในการไม่ต่อสู้ก็เท่ากับยอมแพ้ไปแล้วตั้งแต่ต้น หากพยายามหาเหตุผลในการไม่สู้ นอกจากจะไม่ทำให้เกิดผลงานแล้ว ยังเป็นการตัดกำลังขององค์กรหรือทีมอีกด้วย คนที่สร้างผลงานได้จะลงแรงไปกับการคิดแผนการที่ทำให้ตนเองชนะ ทำให้มุ่งถึงวิธีที่จะทำให้ตนเองชนะโดยไม่ต้องสู้ก็ได้ ในทางกลับกัน คนที่ไม่สร้างผลงานจะเอาแต่คิดหาเหตุผลที่จะไม่สู้ หรือเหตุผลที่จะหนี รวมถึงไม่ยอมลงมือทำอะไร

หากไม่สู้ก็สร้างกำไรไม่ได้

ความสัมพันธ์แบบ win win คือความสัมพันธ์ที่ทั้งสองฝ่ายมีแต่ชนะกับชนะ แต่การยอมเสียผลประโยชน์ด้วยเหตุผลว่าไม่อยากใช้เวลาถกเถียง หรือไม่กล้าแสดงความเห็นของตนเองให้อีกฝ่ายรู้ไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบ win win แต่เป็นความสัมพันธ์แบบ win lose ความสัมพันธ์แบบ win win เกิดจากการถกเถียงหรือต่อรองกันเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้กำไร หากเป็นสมาชิกในองค์กร สิ่งที่ต้องคิดคือการทำให้องค์กรได้กำไรสูงสุด การละทิ้งการต่อสู้ทั้งที่อาจทำให้เสียผลกำไรนั่นคือการทรยศต่อพวกพ้องอย่างหนึ่ง ดังนั้นจงอย่าหาเหตุผลที่จะไม่สู้ แต่จงคิดหาแผนการที่จะชนะ

  1. ทักษะการปกป้ององค์กร

ทิ้งการทำงานเพื่อกฎ อย่าทำงานเพื่อกฎ กฎเป็นสิ่งที่ต้องรักษาแม้จะไม่มีใครมองอยู่ก็ต้องทำสิ่งที่ถูกต้อง แต่การยึดติดอยู่กับกฎจนเกินไปเป็นปัญหาเช่นกัน หากไม่ทำงานโดยตระหนักอยู่เสมอว่า เป้าหมายของการทำงานคืออะไร จะกลายเป็นคนที่ทำงานเพื่อกฎ หรือความเคยชินไปโดยไม่รู้ตัว กล่าวคือมองวิธีการกับเป้าหมายสลับกันนั่นเอง หากเป็นเช่นนั้นจะทำให้เดินไปผิดทาง จากที่ควรจะเป็น และถูกประเมินทักษะจากคนรอบข้างต่ำลง หากเป้าหมายหลักคือการคำนึงถึงความพอใจของลูกค้าเป็นอันดับแรก การยกเว้นกฎในบางกรณีก็อาจเป็นเรื่องที่ควรจะทำ

อย่าทำงานเพื่อกฎแต่จงทำงานเพื่อเป้าหมายที่แท้จริง

หากอยู่ในองค์กร บางครั้งสิ่งที่หัวหน้าพูดอาจจะกลายเป็นกฎที่รู้กันโดยไม่ต้องบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร จงตรวจสอบอยู่เสมอว่ากำลังทำงานโดยมุ่งไปยังเป้าหมายที่แท้จริง หรือทำงานโดยมุ่งเป้าไปยังที่กฎหรือหัวหน้า นี่เป็นเคล็ดลับที่จะช่วยให้ไม่กลายเป็นเพียงผู้รักษากฎ

ตรวจสอบว่ากฎนี้มีไว้เพื่ออะไร

กฎนั้นสร้างขึ้นมาตามอำเภอใจไม่ได้ กฎจะถูกสร้างขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเกิดปัญหาบางอย่างขึ้น หากตรวจสอบเป้าหมายที่แท้จริงว่า กฎนี้มีไว้เพื่ออะไรแล้ว บางครั้งจะพบว่านำกฎมาใช้กับปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ได้ จึงไม่จำเป็นต้องฝืนใช้กฎเดียวกันกับทุกอย่าง

  1. ทักษะการหยั่งรู้ถึงอันตราย

ทิ้งความคิดว่าทุกอย่างคือความเสี่ยง การคิดว่าทุกอย่างอันตรายคือความอันตรายที่แท้จริง ในวิธีคิดแบบ in basket ผู้ที่มองเห็นถึงความเสี่ยงจะได้รับการประเมินว่ามีทักษะการมองเห็นปัญหา หากมองเห็นทุกอย่างเป็นความเสี่ยงก็จะกลายเป็นความคิดที่ไม่จำเป็น เพราะการคิดถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นมากไป กลับกลายเป็นความเสี่ยงเสียเอง จะต้องตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ โดยคำนึงอยู่เสมอว่า มีแนวโน้มที่จะมองเป็นโอกาสหรือความเสี่ยง

การเข้าไปในร้านใหม่ ๆ เป็นโอกาสหรือความเสี่ยง

เวลาผู้เขียนไปรับประทานอาหารนอกบ้าน มีแนวโน้มที่จะเดินเข้าร้านที่ไม่เคยเข้าเนื่องจากมองว่าเป็นร้านใหม่ ๆ คือโอกาส แต่สำหรับเพื่อนที่ไปด้วยมักจะชวนไปร้านที่เคยไปเพราะคิดว่า การเข้าร้านใหม่ ๆ นั้นมีความเสี่ยงที่จะไม่ชอบ หรือมองว่าเป็นความอันตราย เนื่องจากผู้เขียนมองว่าเป็นโอกาส จึงรู้จักร้านอาหารมากกว่าเพื่อนคนดังกล่าว ทำให้มีตัวเลือกมากขึ้น แต่ในทางกลับกันก็เจอหลายร้านที่ไม่อร่อยหรือไม่คุ้มราคา พูดง่าย ๆ ก็คือไม่ว่าจะมองเป็นโอกาสหรือความอันตรายก็ล้วนมีความเสี่ยงทั้งนั้น หากโอกาสและอุปสรรคต่างเป็นสิ่งที่สมองสร้างขึ้นเอง ดังนั้นเหตุการณ์หนึ่งจะเป็นได้ทั้งโอกาสและอุปสรรคตามวิธีคิด หากเปลี่ยนวิธีมอง การกระทำก็จะเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ และทำให้ผลลัพธ์ที่ได้เปลี่ยนไปด้วย

  1. ทักษะการนำเสนอตนเอง

ทิ้งความคิดว่าตนเองนั้นสุดยอด คนระดับแนวหน้าจะไม่โฆษณาตัวเอง ทักษะการนำเสนอตนเองเป็นทักษะที่จำเป็นในวงการธุรกิจ ว่ากันว่าเคล็ดลับของพนักงานขายคือ อย่าขายสินค้าแต่ขายตนเอง แต่หากพยายามนำเสนอตัวเองมากเกินไปจะได้ผลตรงกันข้าม เมื่อไหร่ที่รู้สึกว่าการนำเสนอตัวเองคือเป้าหมาย แสดงว่ากำลังมีความคิดที่ไม่จำเป็น

หากช่วยอีกฝ่ายแก้ปัญหาได้ การประเมินค่าจากคนรอบข้างก็จะสูงขึ้นเอง

การนำเสนอตัวเองที่ได้ผลที่สุดคือการนำเสนอในทางอ้อม สิ่งที่จะได้รับการประเมินค่าจากคนจำนวนมากคือ การทำให้ผลงานดีขึ้นไม่ใช่ทำเพียงเพราะต้องการให้คนอื่นเห็น การกระทำเพื่อให้คนอื่นประเมินค่าตนเอง มักเป็นการกระทำที่ฉาบฉวย ส่วนการกระทำที่จะได้รับการประเมินค่านั้น มีคนคอยมองอยู่เสมอแม้ตัวเองอาจไม่สังเกตก็ตาม ดังนั้นไม่จำเป็นต้องพยายามนำเสนอให้ผู้อื่นรู้ การจะได้รับการยอมรับจากคนรอบข้างนั้น จะต้องทำเพื่อคนอื่นไม่ใช่ทำเพื่อตนเอง ทั้งนี้การกระทำที่จะได้รับการประเมินค่าได้ง่ายคือ การช่วยอีกฝ่ายแก้ปัญหา ความคิดว่าหากมีช่องว่างต้องพยายามนำเสนอตนเอง จึงเป็นความคิดที่ไม่จำเป็น

  1. ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์

ทิ้งการคิดไปเอง ฝ่ายยัดเยียดสิ่งที่ตัวเองคิดไปเองใส่อีกฝ่าย วิธีคิดแบบ in basket ให้คุณค่ากับความคิดที่ว่าอีกฝ่ายหรือคนรอบข้างจะคิดเช่นไร การใส่ใจอีกฝ่ายแสดงความขอบคุณหรือขอโทษก็เป็นหนึ่งในทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์เช่นกัน แต่หากใช้ทักษะนี้มากเกินไปจะทำให้เกิดผลเสียอย่างที่คาดไม่ถึงได้ ถ้าเอาแต่คิดว่าคนรอบข้างหรืออีกฝ่ายจะคิดเช่นไร ก็จะจินตนาการเกินจริงและทำอะไรไม่ได้ จินตนาการจะกลายเป็นสิ่งผูกมัดตัวเอง กล่าวคือการใส่ใจว่า คนรอบข้างหรืออีกฝ่ายจะคิดอย่างไรมากเกินไป จนใช้จินตนาการเรื่องต่าง ๆ นานาไปเอง เป็นความคิดที่ไม่จำเป็น

สัญญาณนั้นเป็นสัญญาณเตือนถึงความเปลี่ยนแปลง หรือเป็นเพียงแค่เสียงรบกวน

เมื่อสื่อสารกับคนอื่น การจับสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของอีกฝ่ายเป็นเรื่องสำคัญ แต่หากจับสัญญาณทุกอย่างที่เป็นเพียงสิ่งรบกวนมาคิด จะต้องคอยเกรงใจทุกคนอย่างที่ไม่มีสิ้นสุด และบางครั้งอาจจะทำให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องอีกฝ่ายโดยไม่จำเป็นอีกด้วย การแยกให้ออกว่าสัญญาณนั้นเป็นสัญญาณเตือนถึงความเปลี่ยนแปลง หรือเป็นเพียงแค่เสียงรบกวนจึงเป็นเรื่องสำคัญ

การมองเห็นผิวเผินไม่ช่วยแก้ปัญหา

หากใช้ทักษะการมองเห็นปัญหา ในวิธีคิดแบบ in basket การรับรู้ถึงปัญหาว่าอีกฝ่ายกำลังโกรธไม่ใช่เรื่องไม่ดี แต่จะต้องไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาผิวเผินอย่างอีกฝ่ายกำลังโกรธ จนลืมสำรวจว่าทำไมอีกฝ่ายจึงโกรธ หากไม่เปลี่ยนแปลงมุมมองในการมองปัญหา ก็จะต้องทำงานโดยคอยคาดเดาอารมณ์ของอีกฝ่ายไปเรื่อย ๆ เมื่อไหร่ที่รู้สึกว่าการนำเสนอตัวเองคือเป้าหมายแสดงว่าเรากำลังมีความคิดที่ไม่จำเป็น

บทที่ 4

ควบคุมความคิดที่ไม่จำเป็น

  1. รู้โครงสร้างความคิดของตนเอง

สิ่งจำเป็นต่อการสร้างรากฐานของการพัฒนา การทำความเข้าใจลักษณะของตนเองเรียกว่า การตรวจสอบสภาพปัจจุบัน เพราะไม่ว่าจะเป็นแผนการ หรือโปรเจกต์ที่ดีเลิศเพียงใด หากพื้นฐานไม่แข็งแรงก็ไม่อาจสำเร็จได้ ดังนั้น การทำให้ส่วนติดลบในตัวลดลงใกล้ศูนย์มากที่สุด เพื่อให้ตนเองมีความเป็นกลางจึงสำคัญ หากสถานการณ์ปัจจุบันกำลังติดลบ ควรพยายามทำให้เข้าใกล้ศูนย์แทนที่จะพยายามทำให้เป็นบวก

เผชิญหน้ากับต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหา

การหาความรู้หรือเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ ๆ เป็นสิ่งสำคัญ แต่หากไม่วิเคราะห์ตนเองว่ามีพื้นฐานที่ดีพอหรือยัง ไม่ว่าจะสั่งสมทฤษฎีหรือความรู้มากขึ้นเท่าไหร่ก็นำไปใช้ไม่ได้ การมองเห็นที่ต้นเหตุที่แท้จริงอาจจะฟังดูเป็นเรื่องยาก แต่ในการมองที่ต้นเหตุที่แท้จริงคือการดูว่าจริง ๆ แล้วอะไรคือปัญหากันแน่ การคิดว่าความล้มเหลวที่ผ่านมาเกิดจากอะไรในตัวเรา ช่วยให้มองเห็นสาเหตุที่แท้จริงได้ สังเกตได้ว่ากำลังถูกความคิดที่ไม่จำเป็นแบบใดผูกมัดอยู่ และนั่นเองคือต้นเหตุที่คอยฉุดรั้งไม่ให้ประสบความสำเร็จทั้งที่พยายามมาตลอด การกำจัดต้นเหตุที่แท้จริงนี้จะทำให้ผลงานดีขึ้นอย่างแน่นอน

  1. แก้ความคิดที่ไม่จำเป็นไปทีละอย่าง

หากพยายามแก้ไขทั้งหมดในคราวเดียวจะทำให้สูญเสียทักษะที่จำเป็นไปด้วย การเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อไม่ให้คิดมากเกินไป แต่ความคิดของคนนั้นเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงไม่ได้ หากพยายามเปลี่ยนในคราวเดียว นั่นก็เป็นความคิดที่ไม่จำเป็นอย่างหนึ่ง ความคิดก็เป็นเหมือนร่างแยกที่ผ่านเวลามาด้วยกันอย่างยาวนาน อีกทั้งเป็นสิ่งที่ผ่านการหล่อหลอมจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างทั้งอิทธิพลของพ่อแม่ สภาพแวดล้อม และเพื่อน การเปลี่ยนความคิดโดยสิ้นเชิงก็เหมือนกับพยายามเปลี่ยนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีวิวัฒนาการอันยาวนานมาตั้งแต่ในอดีตกลายเป็นสัตว์น้ำ ดังนั้นแม้จะรู้ตัวว่าตัวเองคิดมากเกินไปก็ไม่ควรหยุดคิดทั้งหมด สิ่งที่ควรทิ้งไปคือความคิดที่ไม่จำเป็นต่างหาก ที่จริงแล้วความคิดที่ไม่จำเป็นนั้น หากมองในอีกด้านหนึ่งก็คือทักษะที่จำเป็นในการทำงานนั่นเอง หรือหากกล่าวให้ละเอียดลงไปอีก ความคิดที่ไม่จำเป็นคือสภาวะที่ปลดปล่อยทักษะออกมาไม่ได้ด้วยสาเหตุบางอย่าง ดังนั้นการทิ้งความคิดทั้งหมดกลับจะทำให้เกิดผลเสียในอีกด้านหนึ่งแทน เช่น เมื่อคนเรามีแนวโน้มที่จะวิเคราะห์เรื่องต่าง ๆ มากเกินไป จนรู้สึกว่านี่เป็นความคิดที่ไม่จำเป็นเลยหยุดวิเคราะห์ทุกอย่าง ทักษะการวิเคราะห์จะทำงานไม่ได้ ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิด ลดความคิดที่ไม่จำเป็น ไม่ใช่ทิ้งความคิดที่ไม่จำเป็นทั้งหมด เพียงแค่สร้างภาพขึ้นมาว่าตนกำลังหมุนก๊อกลดระดับปริมาณของทักษะที่ถูกปล่อยออกมา ผลงานที่ได้โดยภาพรวมจะเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน

ปรับระดับความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

การอยู่กับความคิดที่ไม่จำเป็นให้ได้เป็นสิ่งสำคัญ กล่าวคือเราไม่ควรทิ้งความคิดที่ไม่จำเป็นทั้งหมด แต่ควรควบคุมความคิดเหล่านั้นให้ได้ ทักษะการมองเห็นปัญหาที่มากเกินไปเป็นความคิดที่ไม่จำเป็น นี่เป็นเรื่องสำคัญจึงขอย้ำอีกครั้ง ทุกท่านไม่จำเป็นต้องทิ้งความคิดทั้งหมด แต่ขอให้อยู่ร่วมกับความคิดเหล่านั้นอย่างราบรื่น การคิดเป็นเรื่องสำคัญจึงไม่จำเป็นต้องหยุดคิด แต่ก็จำเป็นต้องคิดด้วยว่าจะใช้ทักษะกับคนรอบตัวหรือสภาพแวดล้อมในตอนนั้นหรือไม่ ไม่ควรอยู่คิดทั้งหมด สิ่งที่ควรทิ้งไปก็คือความคิดที่ไม่จำเป็นต่างหาก

  1. แยกความคิดที่ไม่จำเป็นกับการกระทำออกจากกัน

ทิ้งความคิดที่ไม่จำเป็นและเข้าไปคว้าโอกาส หลายคนอาจต้องพบความสูญเสียจากความคิดที่ไม่จำเป็นมาแล้วมากมาย มาลองเปลี่ยนชีวิตที่ต้องกลุ้มใจกับความคิดที่ไม่มีประโยชน์เช่นนี้กัน ผู้เขียนมีโอกาสได้เขียนหนังสือมากกว่า 10 เล่ม ตอนแรกเป็นคนขี้กลัว กังวลว่าถ้าตีพิมพ์หนังสือขึ้นมาไม่รู้ว่าคนรอบตัวจะว่ายังไงบ้าง ตอนเขียนหนังสือเล่มแรกจึงรู้สึกละล้าละลังมาก แต่จากประสบการณ์ในอดีตที่ต้องเสียโอกาสไปมากมายจากการคิดมากเกินไป จึงเปลี่ยนความคิดแล้วลองตีพิมพ์ดู ผู้เขียนเกิดที่โอซาก้า ตอนยังเป็นนักศึกษาเคยคิดว่าจะไม่ย้ายออกจากโอซาก้าไปชั่วชีวิต โอซาก้าดีสุดแล้ว ทว่าตัวผู้เขียนตอนนี้กำลังเขียนต้นฉบับอยู่ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตัวเขาที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ กำลังทำงานอยู่ในที่ที่ไม่รู้จักเพียงลำพัง

กล้าทิ้งอุดมคติ

การทิ้งความคิดที่ไม่จำเป็นนั้นไม่ได้หมายถึงการเลิกคิด แต่เป็นการยับยั้งไม่ให้ตนเองลงมือกระทำตามความคิดที่ไม่จำเป็น การหยุดความคิดที่ไม่จำเป็นและลงมือกระทำสิ่งที่ต่างจากเดิม จะทำให้ผลลัพธ์เปลี่ยนแปลง การต้องสูญเสียอะไรบางอย่างที่สำคัญไปก่อน จึงจะได้รับรู้ถึงความคิดที่ไม่จำเป็นนั้นน่าเสียดาย อาจกล่าวได้ว่าเป็นโศกนาฏกรรมเลยทีเดียว ตอนนี้ยังไม่สายเกินไป หากคิดถึงชีวิตข้างหน้าที่เหลืออีกยาวนาน คุณก็ยังหนุ่มยังสาวอยู่มาก ไม่ว่าพรุ่งนี้หรือวันมะรืนนี้ก็ยังมีประสบการณ์ใหม่ ๆ รออยู่มากมาย มาลองเปลี่ยนชีวิตที่ต้องกลุ้มใจกับความคิด ที่ไม่มีประโยชน์เช่นนี้กันเถอะ

บทส่งท้าย

ความคิดที่ไม่จำเป็น เป็นสิ่งที่ทุกคนมี หากลองสังเกตความคิดเหล่านี้ดี ๆ จะพบว่านั่นเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเรา แต่ในทางกลับกันก็เคยเห็นหลายคนที่ต้องทนทุกข์กับความคิดเหล่านั้น ผู้เขียนวางโครงหนังสือให้มีความยาวประมาณเล่มละ 100,000 ตัวอักษร แต่บางครั้งเมื่อเขียนไปแล้วกลับยาวถึง 150,000 ตัวอักษร จึงพยายามตัดประโยคที่ไม่จำเป็นออก เมื่อมองด้วยมุมมองว่าจะพยายามตัดให้สั้นลง ก็ทำให้เห็นส่วนที่ไม่จำเป็นมากมาย ส่วนที่ไม่จำเป็นเหล่านั้นเป็นผลมาจากความคิดที่ไม่จำเป็นว่า เล่าเรื่องโน้นเรื่องนี้ด้วยดีกว่า ซึ่งน่าประหลาดใจว่าตอนที่เขียนอยู่ ไม่ได้รู้ตัวแม้แต่น้อยว่านี่เป็นประโยคที่ไม่จำเป็น ได้เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาด้วยความตั้งใจว่า หากผู้คนที่ทำงานอยู่หลุดพ้นจากความทุกข์ที่ไม่จำเป็นต้องเผชิญได้ด้วยการทิ้งความคิดเพียงเล็กน้อย ผู้เขียนจะดีใจมาก ผู้อ่านเองก็ลองควบคุมความคิดที่ไม่จำเป็นของตนดูสักนิด เพื่อสร้างผลงานและกลายเป็นฮีโร่ดูไหม.