Leveraged Buyouts (LBOs) คืออะไร

LBOs เป็นการเข้าซื้อหุ้นของกิจการหนึ่งโดยใช้เงินกู้ยืม (debt financing) เป็นแหล่งเงินทุนสำคัญ อันมีผลทำให้กิจการซึ่งเดิมเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เปลี่ยนสถานะเป็นบริษัทเอกชนที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ วัตถปุระสงค์ของการทำ LBOs เพราะกลุ่มผู้ดำเนินการคาดว่าเมื่อซื้อกิจการมาเป็นของตนแล้วจะสามารถพลิกฟื้นกิจการ (business turnaround) จนในที่สุดสามารถนำบริษัทออกขายแก่สาธารณชน (IPO) และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้อีกครั้งหนึ่ง LBOs มักจะเริ่มจากฝ่ายจัดการของบริษัทร่วมกับกลุ่มนักลงทุนจากภายนอก ตัดสินใจที่จะเข้าซื้อหุ้น

ของกิจการที่เป็นบริษัทมหาชนมาเป็นของตน ด้วยเหตุนี้ในบางครั้งจึงมีการเรียก LBOS อีกชื่อหนึ่งว่า MBOs (management buyouts) หรือ EBOS (executive buyouts) ทั้งนี้บริษัทที่มักจะเป็นเป้าหมายของการทำ LBOSมักเป็นบริษัทที่มีฐานะการเงิน ผลประกอบการและปัจจัยพื้นฐานดี แต่ผลประกอบการอาจจะไม่โดดเด่นอย่างที่คาดเนื่องจากการบริหารจัดการขาดประสิทธิภาพ หรือเป็นบริษัทที่มีทรัพย์สินในการดำเนินงาน (เช่น โรงงานผลิต รวมถึงทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนที่มีมูลค่าและศักยภาพเชิงพาณิชย์) ที่ไม่ได้รับการใช้ประโยชน์ทางธุรกิจอย่างเต็มศักยภาพ

ข้อดีของการทำ LBOS หรือ MBOS คือ ฝ่ายจัดการอาจไม่ต้องแบกรับความกดดันในการบริหารภายหลังการนำบริษัทออกจากการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ฝ่ายจัดการไม่ต้องคอยตอบคำถามนักลงทุน และไม่ต้องเผยแพร่ข้อมูลการบริหารงานเป็นวงกว้างเหมือนเช่นเดิม ทำให้ฝ่ายจัดการสามารถกำหนดและประยุกต์ใช้แผนการบริหารงานได้อย่างเป็นอิสระและมีความคล่องตัวและยืดหยุ่นมากกว่าตอนที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่ข้อเสียของการทำ LBOs คือ กิจการมีความเสี่ยงทางการเงินสูงมาก เนื่องจากกิจการจะใช้แหล่งเงินทุนจากการกู้ยืมเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ภาระหนี้จึงเป็นปัญหาหลักของกิจการที่ทำ LBOS

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • การวิเคราะห์การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอื่น CISA