ปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่อราคาซื้อขายยางพาราในตลาดโลกและในประเทศไทย ได้แต่ ปัจจัยเรื่องของอุปสงค์และอุปทานของยางพารา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ปัจจัยในเรื่อง Supply ของยางพาราในตลาดโลก

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ supply ของยางพาราในตลาดโลกในช่วงเวลาใดๆ ได้แก่ พื้นที่เพาะปลูก สภาพภูมิอากาศ นโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก ฤดูการผลิต รวมถึงปริมาณวัตถุดิบในสต็อกของประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางพาราที่สำคัญ โดยในกรณีที่มี Supply มากกว่า Demand ราคาของยางพาราในตลาดโลกจะลดลง

ปัจจุบันประเทศที่เป็นแหล่งผลิตและส่งออกยางพาราที่สำคัญของโลก คือ ประเทศไทยที่ประมาณ 4.8 ล้านตัน เป็นอันดับที่ 1 ประเทศอินโดนีเซียที่ประมาณ 3.4 ล้านตัน เป็นอันดับที่ 2 และประเทศเวียดนามที่ประมาณ 1.1 ล้านตัน เป็นอันดับที่ 3 ซึ่งปริมาณการเพาะปลูกยางพาราในประเทศเหล่านี้จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อระดับราคาตลาดของยางพาราในตลาดโลก

ปัจจัยในเรื่องความต้องการใช้ยางพารา (demand)

  • ภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งถ้าภาวะเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงการชะลอตัว จะทำให้ความต้องการใช้ยางพาราลดลง
  • ราคาน้ำมัน ซึ่งที่ผ่านมา ราคาน้ำมันและราคายางพารามักเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  • ราคายางสังเคราะห์ ซึ่งถ้าราคายางสังเคราะห์แพง ผู้ผลิตจะหันมาใช้ยางธรรมชาติมากขึ้น
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เนื่องจากยางพาราเป็นสินค้าส่งออก หากเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เช่น USD, JPY, EUR จะทำให้ราคายางสูงขึ้น
  • ปริมาณวัตถุดิบในสต็อกของประเทศผู้ใช้ยาง ถ้าสินค้าในสต็อกมีน้อย ผู้ซื้อก็จะเร่งซื้อเพื่อป้องกันสินค้าขาดตลาด

หากพิจารณาที่การเคลื่อนไหวของราคาน้ำมัน และราคายางพาราดังแสดงในรูปด้านล่าง จะพบว่าในบาง

ช่วงเวลาราคายางพาราและน้ำมันเคลื่อนไหวสอดคล้องกันในช่วงสั้นๆ ของการเปลี่ยนแปลงราคา ซึ่งช่วงระยะเวลาดังกล่าวเกิดจากปัจจัยที่สินค้าบางประเภทสามารถผลิตได้ทั้งจากยางสังเคราะห์ที่มาจากน้ำมัน และจากยางธรรมชาติ ดังนั้น หากสินค้าใดมีราคาที่แพงขึ้นผู้บริโภคก็จะหันไปใช้สินค้าอีกประเภทหนึ่งทดแทน ทำให้ราคาน้ำมันดิบและยางพาราเคลื่อนไหวสอดคล้องกัน อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา เพราะในช่วงเวลาอื่นราคาน้ำมันและยางพาราอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยเฉพาะตัวมากกว่า

ยางพารา กับ น้ำมัน