เนื่องจากซื้อขายทองคำในตลาดโลกจะใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินสกุลหลักในการซื้อขาย ดังนั้นปัจจัยที่จะกล่าวถึงดังต่อไปนี้เป็นปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อราคาทองคำในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นหลัก ดังนี้
อุปสงค์ (demand) ของทองคำในตลาดโลก
อุปสงค์ของทองคำในตลาดโลกจะมาจาก 2 แหล่งใหญ่ ได้แก่
1. อุปสงค์ด้านอุตสาหกรรมหรืออุปสงค์จริง (real demand)
ซึ่งเป็นอุปสงค์จากอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และอุปสงค์จากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการแพทย์ ในส่วนของอุปสงค์จากอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับซึ่งเป็นอุปสงค์หลักของทองคำในช่วงที่ผ่านมานั้นจะขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจและราคาทองดำเป็นสำคัญ โดยถ้าเศรษฐกิจของตลาดหลักของทองคำ เช่น จีน อินเดีย และตะวันออกกลาง มีอัตราการเจริญเติบโตสูงและราคาทองคำอยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก ความต้องการทองคำจากตลาดหลักเหล่านี้ก็จะมากตามไปด้วย นอกจากนี้อุปสงค์ของทองคำในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับยังมีลักษณะเป็นฤดูกาล เช่น ในประเทศจีนจะมีความต้องการทองคำสูงสุดในช่วงตรุษจีน เป็นต้น ในส่วนของอุปสงค์ของทองคำจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการแพทย์นั้น ทองคำจะถูกใช้ในการทำเส้นลวดและแผ่นทองคำเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ทำฟันในด้านการแพทย์
อุปสงค์ด้านการลงทุน (investment demand)
เป็นอุปสงค์ที่เกิดจากการที่ทองคำมีลักษณะเป็นสกุลเงิน ทำให้มีผู้ใช้ทองคำเป็นเครื่องมือในการลงทุน
เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในต่างประเทศ กองทุนบริหารความเสี่ยง หรือแม้แต่นักลงทุนทั่วไป โดยความต้องการของนักลงทุนในส่วนนี้จะขึ้นกับปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่
ㆍค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
โดยถ้าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มจะอ่อนตัวลง จากการที่อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐปรับตัวสูงขึ้นหรือการที่สหรัฐขาดดุลการค้าและดุลการชำระเงินจำนวนมหาศาล นักลงทุนที่ถือสินทรัพย์ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐก็จะย้ายไปลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินประเภทอื่นๆ ซึ่งให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราที่ดีและมีความมั่นคงสูง จากการที่ทองคำถือว่าเป็นสินทรัพย์การลงทุนประเภทหนึ่งที่มีความมั่นคงสูงทองคำจึงมักจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่นักลงทุนจะเคลื่อนย้ายเงินเข้ามาลงทุน ทำให้ทองคำมีราคาสูงขึ้น
ㆍภาวะสงครามและความไม่แน่นอนทางการเมือง
ความต้องการทองคำมักจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเวลาที่มีความไม่แน่นอนสูง เช่น ในภาวะสงครามที่เงินอาจกลายเป็นเศษกระดาษ แต่ทองคำก็ยังคงเป็นทองคำ ในช่วงภาวะตึงเครียดทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความกังวลเกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจ เช่น สหรัฐอเมริกา และช่วงที่มีความสับสนในตลาดการเงิน เงินไม่รู้จะไปทางไหนก็จะเข้ามาลงทุนในทองคำ ทำให้ทองคำมีราคาสูงขึ้น
อุปทาน (supply) ของทองคำในตลาดโลก
อุปทานของทองคำในตลาดโลกจะมาจากสองแหล่งที่สำคัญ คือ
การเปิดเหมืองทองคำใหม่
ทองคำที่ผลิตจากเหมืองทองเป็นอุปทานหลักของตลาดทองคำ โดยเหมืองทองคำหลักๆ ของโลกจะกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกาใต้ และเอเชีย ซึ่งการกระจายตัวของแหล่งผลิตทองคำในภูมิภาคต่ำางๆ ทั่วโลก จะทำให้เกิดเสถียรภาพของอุปทานในตลาดทองคำ เนื่องจากความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้กำลังการผลิตทองคำทั่วโลกหายไปพร้อมกันจะมีอยู่นัอย แหล่งที่มาของอุปทานของทองคำในตลาดโลกอีกแหล่งหนึ่งคือการนำทองคำที่มีอยู่มาหลอมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ โดยในแต่ละปีจะมีผู้ที่เก็บทองคำในรูปแบบต่าง ๆ นำทองคำมาหลอมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่หรือนำออกมาขาย ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ราคาทองคำในแต่ละปีไม่เพิ่มสูงขึ้นมากนัก (ยกเว้นกรณีที่มีการเก็งกำไรในทองคำ)
ตันทุนในการทำเหมืองทองคำก็มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาดังแสดงในรูปด้่านล่าง ซึ่งตันทุนการ
ทำเหมืองดังกล่าวเป็นปัจจัยกำหนดระดับราคาทองคำขั้นต่ำได้ เพราะหากราคาทองคำอยู่ในระดับต่ำกว่าตันทุนการทำเหมืองทองคำ เหมืองต่างๆ จะยุติลงส่งผลให้อุปทานของทองคำลดน้อยลง และช่วยให้ราคาทองคำไม่ตกต่ำลงไปมากขึ้น
ต้นทุนการทำเหมืองทองคำ
ที่มา : https://www.gold.org/goldhub/gold-focus/2021/06/gold-mining-costs-continue-rising-q1-21
การนำทองคำที่ถือไว้ออกมาขายในท้องตลาด
ธนาคารกลางของบางประเทศมีแนวโน้มที่จะทยอยลดการสะสมทองคำลงบ้าง โดยประเทศเหล่านั้น
พยายามประดับประคองไม่ให้การขายทองคำของตนกระทบกระเทือนต่อราคาทองคำในตลาดโลกมากนัก ด้วยข้อตกลงระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องที่คาดเดาค่อนข้างยากว่าธนาคารกลางของแต่ละประเทศจะลดปริมาณทองคำที่ถืออยู่ลงมากน้อยเพียงใดและรวดเร็วเพียงใด นโยบายด้านการถือครองทองคำของธนาคารกลางของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ จะมีผลกระทบต่อราคาทองคำในตลาดโลกโดยตรง
จากที่ได้กล่าวมา จะเห็นได้ว่าราคาทองคำในตลาดโลกมีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย แต่ถ้าจะพิจารณาถึงปัจจัยที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการกำหนดราดาทองคำในระยะยาวแล้ว จะต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทานที่แท้จริงเป็นหลัก กล่าวคือ การที่ราคาทองคำในระยะยาวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหรือลดลง ต้องพิจารณาจากความต้องการทองคำที่เกิดจากอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการแพทย์เปรียบเทียบกับอุปทานที่เกิดจากการผลิตของเหมืองทองคำและการนำทองคำเก่ามาหลอมใช้ใหม่ ซึ่งโดยทั่วไปหากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มดีก็จะทำให้เกิดอุปสงค์ที่แท้จริงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ในขณะที่อุปทานทองคำที่มาจากเหมืองทองจะเพิ่มขึ้นได้ยากมากเพราะการที่จะทำเหมืองทองใหม่
เวลาประมาณ 10 ปี และการนำเหมืองทองที่ปิดไปแล้วมาดำเนินการใหม่จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 5 ปี ดังนั้นราคาทองคำในช่วงที่เตรษฐกิจดีก็มีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น แต่ถ้าราคาทองดำเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเมื่อใดก็จะมีอุปทานจากการนำทองคำเก่าออกมาขายเพิ่มขึ้นเพื่อรักษาเสถียรภาพและทำให้ราคาทองคำไม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง
ราคาทองคำในประเทศไทย
สำหรับราคาทองคำในประเทศไทยนั้นจะได้รับอิทธิพลโดยตรงจากราคาทองคำในตลาดโลก เพราะทองคำในประเทศไทยส่วนใหญ่มีการนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้ การซื้อขายทองคำในตลาดโลกจะใช้เงินสกุลคอลลาร์สหรัฐเป็นหลัก ทำให้ราคาทองคำในประเทศไทยนอกจากจะต้องอิงจากราคาทองคำในตลาดโลกแล้ว ราคาทองคำในประเทศไทยยังจะถูกกำหนดโดยอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยผู้ที่ซื้อทองคำในประเทศไทยมาเพื่อการลงทุนจะเปรียบเสมือนการถือครองสินทรัพย์ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ จากการที่ราคาทองคำในประเทศไทยได้รับอิทธิพลจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ ราคาทองคำในตลาดโลกและอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้สามารถสรุปผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อราคาทองคำในประเทศไทยได้ 4 กรณี ดังตารางนี้
โดยทั่วไป โอกาสที่ราคาทองคำในตลาดโลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้นพร้อมกับการที่เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นหรือการที่ราคาทองคำในตลาดโลกจะปรับตัวลดลงพร้อมกับการที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าลงมีน้อยมากเพราะราคาทองคำในตลาดโลกมักจะมีการเคลื่อนไหวในทางตรงกันข้ามกับค่เงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้นักลงทุนในทองคำในประเทศไทยจะขาดทุนในด้านหนึ่งและกำไรในอีกด้านหนึ่งเสมอ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- การวิเคราะห์การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอื่น CISA