ยกหิน 10 ตันออกจากอก ด้วยคำพูดเปลี่ยนชีวิต

สรุปหนังสือ ยกหิน 10 ตันออกจากอกด้วยคำพูดเปลี่ยนชีวิต

ความทุกข์คืออะไร ในการใช้ชีวิตประจำวันผู้คนส่วนใหญ่มักมีความทุกข์ที่แตกต่างกันออกไป หนังสือเล่มนี้จะช่วยปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากความทรมานอันเป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์เหล่านั้นเอง คน 3 ใน 4 กำลังมีความทุกข์ สัดส่วนของคนที่มีความทุกข์ มีน้อยมากแค่ไหน ผู้เขียน ลองหาคำตอบนี้โดยใช้ Twitter ของตัวเองถามผู้ติดตามที่มีกว่า 130,000 คนว่า มีความทุกข์ไหม มีคนตอบ 1,066 คนผลคือ มีผู้ที่ตอบว่ามีความทุกข์เจ็บ 5.9% และผู้ที่ไม่มีความทุกข์อะไรรุนแรง 24.1% พบว่ามีคน 3 ใน 4 กำลังมีความทุกข์

คนที่ตอบว่าไม่มีความทุกข์ ที่จริงแล้วมีความทุกข์แต่จัดการมันได้ จริง ๆ แล้วพวกเขาไม่น่าใช่คนที่ ไม่ทุกข์ร้อนใด ๆ และมีความสุขมาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เวลาที่ก้าวผ่านความทุกข์ไปได้จะเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้ความสามารถในการแก้ปัญหาจึงเพิ่มขึ้น ข้ามผ่านความทุกข์ที่อาจพบเจอหลังจากนั้นไปได้ง่ายกว่าเดิม ถ้ารู้วิธีคลายทุกข์จะหลุดพ้นจากความทรมานส่วนใหญ่ และใช้ชีวิตได้อย่างสนุกสนาน ไม่เครียด จะมั่นใจที่ตัวเองได้เติบโตขึ้น และมีความรู้สึกบวก นำไปสู่ชีวิตซึ่งมีความสุขในที่สุด

แก่นแท้ของความทุกข์คือ การหยุดชะงัก ตามพจนานุกรมจะบอกว่า ความทุกข์คือความกังวล ความทุกข์ใจ หมายถึง สภาวะของการเผชิญหน้ากับปัญหาอันหนักหนาด้วยความเจ็บปวดและอยู่ใน สภาวะหยุดชะงักที่ได้แต่ย่ำเท้าอยู่กับที่ ก้าวหน้าต่อไปไม่ได้ พลางคิดว่าทำไงดี แม้จะตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก แต่ถ้าก้าวไปข้างหน้าได้สักเล็กน้อย อาการจะดีขึ้น ความทุกข์จะค่อย ๆ เบาบางลง

เมื่อกำจัดความทุกข์ได้ก็จะมีความสุข แต่ละคนต่างมีเรื่องให้ทุกข์ใจแตกต่างกันไป แต่ถ้าคลี่คลายความทุกข์ออกไปได้ จะหลุดพ้นจากความไม่สบายใจและความกังวล จึงมีความสุข เริ่มแรกแม้จะเป็นความทุกข์ใจเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ถ้าปล่อยไปอาจกลายเป็นความทุกข์ที่หนักหนาขึ้นได้ และยังเป็นสาเหตุของความรู้สึกเชิงลบ อย่างความทรมานและความเครียดอีกด้วย ถ้าความเครียดเพิ่มขึ้น ก็จะควบคุมมันไม่ได้ มันจะเริ่มกัดกินจิตใจ และนำไปสู่ความเจ็บป่วยทางใจในที่สุด สุดท้ายเมื่อหมดหนทางแก้ และคนคนนั้นสิ้นหวังกับอนาคต การฆ่าตัวตายก็จะเกิดขึ้น

รู้วิธีจัดการความทุกข์เพื่อชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ถ้าทุกคนวิเคราะห์ได้ก็จะรับมือกับความทุกข์ทั้งหมดนั้นได้ ความทุกข์เรื่องต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม เรียกว่า 3 แกนแห่งความทุกข์ ซึ่งไม่ว่าใครก็สามารถทำความเข้าใจ และวิเคราะห์ความผิดของตัวเองได้ เมื่อวิเคราะห์เสร็จแล้วจะได้ข้อสรุปด้วยตัวเองว่า จะจัดการกับมันอย่างไรในอนาคต หลังจากนั้นเพียงทำตามวิธีจัดการนั้น ความทุกข์ก็จะเริ่มคลี่คลาย

บทที่ 1 อย่าแก้ไขความทุกข์

ก่อนอื่นมาเริ่มจากทำความเข้าใจความทุกข์เสียก่อน คนที่กำลังทุกข์จะมีจุดร่วมกันอยู่ 3 ประการ

  1. 3 สัญญาณแห่งทุกข์

จุดร่วมที่ 1 มีความรู้สึกเชิงลบ เช่น ความเจ็บปวดและความทรมาน จุดร่วมของคนที่กำลังเป็นทุกข์คือความรู้สึกเชิงลบ อย่างความทรมาน ความรู้สึกไม่ว่าจะเจ็บปวด ทรมาน ไม่เอาแล้ว ไม่สบายใจ อยากหนี อยากตาย เป็นอาการของความเครียด สิ่งสำคัญปัญหาหรือเรื่องยุ่งยากไม่ใช่ความทุกข์เสมอไป แล้วการคลายทุกข์ก็ไม่จำเป็นต้องขจัดจะต้นตอของปัญหาออกเสมอไป

จุดร่วมที่ 2 ไม่รู้วิธีรับมือไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรดี เมื่อไม่รู้วิธีก็ไม่สามารถทำอะไร ๆ กับความกังวล ภาวะคับขัน หรือปัญหาตรงหน้าได้ คนที่มีความทุกข์จะไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร เขาจึงไม่สบายใจและตื่นตระหนก ถ้าเขามีวิธีรับมือชัดเจน แค่ลงมือทำก็เพียงพอแล้ว

จุดร่วมที่ 3 นิ่งเฉยและหยุดคิด เพราะรู้สึกสิ้นหวังหรือหมดหนทาง ตอนที่รู้สึกหมดหนทางหรือสิ้นหวัง จะพูดว่าไม่รู้จะทำยังไง หรือทำอะไรไม่ได้สักอย่าง และจะยืนนิ่งอย่างงงงัน นั่นเรียกว่าการหยุดทำหรือการหยุดคิด ซึ่งก่อให้เกิดความไม่สบายใจ สภาวะอย่างนี้มีสาเหตุมาจาก นอร์อะดรีนาลิน สารในสมองซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งการตื่นตัวถูกหลั่งออกมามากเกินไป นับเป็นกลไกหนึ่งทางชีววิทยาและประสาทวิทยา จึงไม่เกี่ยวกับนิสัยหรือความสามารถ

ดังนั้นไม่จำเป็นต้องโทษตัวเอง ในทางกลับกันถ้าทำให้การหยุดชะงักนี้ดีขึ้นได้แม้เพียงเล็กน้อย ความรู้สึกหมดหนทางหรือสิ้นหวังก็จะหายไป จะเคลื่อนไหวได้และเกิดความคิดในสมอง อาจได้พบกับไอเดียหรือหนทางแก้ปัญหาดี ๆ แล้วความทุกข์ ปัญหา หรือความจริงอันน่าลำบาก ก็จะดีขึ้นในพริบตา

  1. กำจัดความทุกข์ไปทีละน้อย เมื่อเผชิญกับความทุกข์หลายคนจะแสวงหาวิธีแก้ปัญหาจากรากเหง้า พยายามกำจัดต้นเหตุออกไป และคิดว่าความทุกข์ก็จะหายไปได้ในทันที ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่านี่เป็นความคิดที่ผิด วางเป้าหมายไว้สูงเกินไป การแก้ปัญหามันยาก จึงเป็นทุกข์ การขจัดต้นเหตุออกไปแบบทันทีนั้นทำไม่ได้ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ถ้าฝืนทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ก็ไม่แปลกที่จะเจ็บปวดและทรมานมากยิ่งขึ้น

ถ้าอย่างนั้นควรทำเรื่องที่ทำได้ให้เสร็จไปทีละอย่าง เริ่มแรกให้ทำแค่นั้นก่อน ไม่จำเป็นต้องแก้ไขสาเหตุของความทุกข์ ปล่อยสาเหตุไว้อย่างนั้น สิ่งสำคัญคือสะสางเรื่องที่ทำได้ไปทีละน้อย อย่าแก้ไขความทุกข์ แต่จงผ่อนคลายโดยลบความเครียด ความมืดมน และความไม่สบายใจในหัวใจออกไป

  1. ข้อดี 3 ประการของความทุกข์ คนส่วนมากคิดว่าความทุกข์เป็นเรื่องเชิงลบ อาจเรียกได้ว่ามันเป็นสิ่งแปลกปลอมในใจ ที่เลวร้ายมากจึงอยากรีบกำจัดออกไปให้เร็วที่สุด นอกจากนั้นคนที่คิดว่า ความทุกข์=สิ่งเลวร้าย ยังมีระดับการยอมรับตัวเองที่ต่ำ เพราะคิดว่าตัวเองเป็นคนไม่เอาไหน เป็นคนที่แย่ที่สุด เมื่อไม่สบายใจมากขึ้น ด้วยเหตุนั้นพื้นที่ทำงานของสมองก็จะลดลงด้วย จนเข้าสู่สภาวะหยุดคิด แล้วยิ่งจมลึกลงสู่บ่อโคลนแห่งความทุกข์อันไร้จุดจบ แต่ความทุกข์ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายไปเสียทั้งหมด ข้อดีของความทุกข์มี 3 ประการ

ข้อดี 1 ความทุกข์คือรสชาติของชีวิต ในการแข่งขันกรีฑา มีการแข่งวิ่งข้ามสิ่งกีดขวางอยู่ ถ้าไม่มีรั้วกีดขวางการแข่งนั้นก็จะหมดสนุกไปเลย และคงไม่มีแข่งตั้งแต่แรกด้วยซ้ำ ช่วงเวลาตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ไม่มีมนุษย์คนไหนที่จะไม่ทุกข์เลยสักครั้ง และชีวิตของคนที่ไม่เคยทุกข์เลย คงขาดรสชาติโดยแท้จริง ดังนั้นแม้แต่มนุษย์เองก็ต้องเจอสิ่งกีดขวางกันอยู่แล้ว สิ่งสำคัญคือต้องไม่หยุดนิ่งอยู่ตรงหน้าสิ่งกีดขวางนั้น ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ล้มจนเกิดแผลเพราะมันด้วย

ถ้าไม่มีความทุกข์ ปัญหาหรือเรื่องแย่ ๆ มนุษย์เติบโตไม่ได้ ชีวิตที่ดำเนินไปอย่างราบรื่นไร้ซึ่งอุปสรรคในทุกวันคงจะน่าเบื่อน่าดู ความทุกข์คือเครื่องปรุงของชีวิต เป็นการปรุงรสที่ขาดไม่ได้ เพื่อให้ชีวิตสนุกขึ้นและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ข้อดี 2 ความทุกข์เป็นการฝึกฝนความแข็งแกร่งของหัวใจ ตอนที่กำลังทุกข์สามารถคิดได้ว่า ตอนนี้กำลังฝึกฝนความแข็งแกร่งของหัวใจ คนที่มีทุกข์กำลังแบบของถ่วงน้ำหนักที่เรียกว่าความเจ็บปวดและความทรมานอยู่ แต่เมื่อก้าวข้ามมันไปได้แล้ว จะได้พบกับการเติบโตครั้งยิ่งใหญ่ เพราะเจ็บปวดจึงเติบโต ถ้าเจอแต่เรื่องง่ายก็จะไม่เติบโต ความเจ็บป่วย และความทรมาน นับเป็นประสบการณ์ที่จำเป็น นี่อาจเป็นสิ่งที่ควรต้อนรับอย่างดีเสียด้วยซ้ำ

ถ้าไม่ฝึกให้หัวใจแข็งแกร่ง มันก็จะเปราะบางอย่างแก้ว ความเข้มแข็งทางจิตใจนับเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับการทำงานในฐานะผู้ใหญ่ ความเข้มแข็งทางจิตใจที่กล่าวถึงตรงนี้ หมายถึงความยืดหยุ่นทางจิตใจ ถ้ามีแรงยืดหยุ่นของสปริง ตอนที่มีความเครียดก็จะปล่อยผ่านไปได้อย่างยืดหยุ่น ความทุกข์ ความลำบาก การตกใจในภาวะคับขัน หรือเรื่องแย่ ๆ นับเป็นการฝึกความเข้มแข็งทางจิตใจ ที่จำเป็นอย่างยิ่งในชีวิต

ข้อดี 3 ความทุกข์คือป้ายบอกทางแห่งการเติบโต คนส่วนใหญ่มีสิ่งที่เรียกว่าความ ทะเยอทะยานกันอยู่แล้ว แต่คนที่จะรู้ว่าตอนนี้ตัวเองควรต้องทำอะไรเพื่อสิ่งนั้นมีอยู่สักกี่คนกัน คนที่กำลังย่ำอยู่กับที่โดยไม่ได้ลงมือทำอะไร และไม่รู้ด้วยว่าตัวเองควรเริ่มจากตรงไหนดีมีอยู่มากเลย เพราะมีกำแพงที่คอยขัดขวางไม่ให้ก้าวไปข้างหน้าอยู่ การก้าวข้ามผ่านมันไปได้คือการเติบโต และยังเป็นการทำสิ่งที่กำลังคิดว่า อยากจะ…มากกว่านี้ให้สำเร็จ

การเติบโตหมายถึงการทำสิ่งที่ทำเมื่อวานไม่สำเร็จ แต่กำลังทำได้ในวันนี้ หรือการทำเรื่องใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น หรือดีขึ้นกว่าเดิม ความทุกข์จะเป็นป้ายบอกทางของเส้นทางที่ควรเดิน เมื่อก้าวไปตามป้ายบอกทาง และก้าวข้ามความทุกข์ทั้งหลายไปได้แล้วจะเติบโตขึ้นมาก

ความทุกข์จะช่วยบอกจุดบกพร่อง ความทุกข์จะปรากฏขึ้นโดยสัมพันธ์กับข้อบกพร่อง  ข้อเสีย จุดอ่อน หรือสิ่งที่ต้องปรับปรุง ถ้าวิเคราะห์ความทุกข์ออกมาแล้ว จะได้รู้จักตัวเองทั้งจุดอ่อน สิ่งที่ต้องปรับปรุง หรือบางครั้งอาจรวมถึงสิ่งที่อยากหนีไปให้พ้น ๆ ความทุกข์เป็นโอกาสทองให้ได้เติบโต ต่อให้กำลังทุกข์ก็ไม่จำเป็นจะต้องมองในแง่ร้ายหรือท้อแท้ไปกับมัน

บทที่ 2 3 แกนแห่งความทุกข์

ไม่ควรมองการมีความทุกข์ หรือการต้องก้าวข้ามความทุกข์ในแง่ร้าย เพราะนั่นเป็นโอกาสทองที่จะได้เติบโต ไม่ใช่ว่าต้องกล้ำกลืนฝืนทนกับความทุกข์เพื่อให้เป็นอย่างนั้น แต่จำเป็นต้องวิเคราะห์ความคิดต่างหาก วิธีอย่างง่าย ๆ โดยจะยึดตาม 3 แกนแห่งความทุกข์

  1. แกนแห่งความควบคุมได้ กำจัดความทุกข์ด้วยความควบคุมได้ การรู้สึกหมดหนทางเป็นความเครียดที่ใหญ่ที่สุด ความต่างคือการควบคุมได้หรือควบคุมไม่ได้ ถ้าสิ่งนั้นไม่อยู่ในการควบคุม นั่นแปลว่ากำลังถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ แต่ถ้ารู้สึกว่าตัวเองควบคุมบางอย่างได้ จะรู้สึกสนุกและรู้สึกดีที่ได้ทำเต็มที่ ลดความเครียดด้วยความควบคุมได้ คนที่ควบคุมอะไรได้และจัดการงานยาก ๆ เก่ง จะกลายเป็นคนที่กระฉับกระเฉงในที่ทำงาน อยากเรียนรู้ มีแรงจูงใจในการทำงานสูง และจะรู้สึกอิ่มเอมใจที่ได้ทำเต็มที่

มีการวิจัยเรื่องความเครียดในที่ทำงาน เพื่อศึกษาเกี่ยวกับอาการป่วย หรืออัตราการฆ่าตัวตาย ผลที่ได้ก็คือ คนที่เครียดสูงมีโอกาสเป็นภาวะเลือดออกในสมองมากกว่าคนที่ไม่เครียดมากถึง 2.73 เท่า นอกจากนั้นคนที่มีอำนาจตัดสินใจต่ำ มีโอกาสฆ่าตัวตายมากกว่า คนที่มีอำนาจตัดสินใจสูงถึง 4.1 เท่า ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นได้อย่างดีว่า ความรู้สึกว่าตัวเองควบคุมได้หรือไม่ได้นั้น มีผลกระทบอย่างมากต่อร่างกายและจิตใจ เจ้าความรู้สึกนี้มีจุดสำคัญคือ เจ้าตัวต้องรู้สำนึกว่าตัวเองควบคุมได้ โดยไม่เกี่ยวกับประเภทของงาน

แม้จะทำงานอย่างเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน ถ้ารู้สึกว่าควบคลุมได้ความเครียดก็จะลดลงและสบายใจมากขึ้น ความรู้สึกว่าควบคุมอะไรไม่ได้ จะทำให้เครียดมากขึ้น ทรมานและทุกข์ใจ  พลังของความรู้สึกว่าตัวเองควบคุมได้ แม้ยังไม่ได้กำจัดสาเหตุของความทุกข์ออกไป แต่ถ้ารู้สึกว่าตัวเองควบคุมบางอย่างได้ ความรู้สึกที่ว่าต้องมีสักทางสิจะผุดขึ้น และจะเกิดพลังที่ช่วยผลักดันให้ก้าวไปข้างหน้า ถ้าพูดว่าทำอะไรไม่ได้แล้ว มันจบแล้ว แสดงว่ากำลังจนมุมสุด ๆ แต่ถ้าเปลี่ยนไปพูดว่า ต้องมีสักทางได้ ความทุกข์ก็จะคลี่คลายลง

3 คำพูดเพื่อเรียกความรู้สึกว่าตัวเองควบคุมได้กลับมา ความรู้สึกว่าตัวเองควบคุมได้นั้นสำคัญ คิดว่าคงมีคนอีกไม่น้อย ที่แม้จะรู้ว่ามันควบคุมได้ ก็ยังลงมือทำอะไรสักอย่างไม่ถูก ถ้าเป็นคนที่ต่อให้รู้วิธีรับมือ ก็ยังตัดความกังวลใจไม่ขาด ขอเสนอ 3 คำพูดที่ควรพูด เพื่อเรียกความรู้สึกว่า ตัวเองควบคุมได้กลับมา แค่ตั้งใจเอ่ยคำที่มักเผลอพูดโดยไม่รู้ตัว ก็ลดความทุกข์ลงไปได้แล้ว

คำพูดที่ 1 ต้องมีสักทางสิ ทางออกจะปรากฏแค่พูดว่าต้องมีสักทางสิ หลายคนอาจจะคิดว่าเหลือเชื่อ แต่ในทางวิทยาศาสตร์นี่เป็นเรื่องปกติของสมอง มีงานวิจัยพบว่า ถ้าส่งคำพูดออกจากสมองส่วน พรีฟรอนทัลคอร์เท็กซ์ ไปถึง อะมิกดาลา ความตื่นตัวของอะมิกดาลาจะถูกควบคุมไว้ คำพูดหรือภาษานั้นทางประสาทวิทยาถือว่ามีส่วนช่วยให้ความรู้สึกไม่สบายใจผ่อนคลายลงได้ การพึมพำว่าต้องมีสักทางสิ ทำให้ความตื่นตัวของอะมิกดาลาสงบลง และช่วยให้ความกังวลเบาบางลงได้ ถ้าพึมพำไปหลาย ๆ ครั้งก็จะช่วยให้จิตใจสงบขึ้นได้อีก ช่วยเรียกคืนความรู้สึกว่าตัวเองควบคุมได้กลับมา สุดท้ายแล้วเวลาพบเจอปัญหาก็จะไม่ตื่นตระหนก

คำพูดที่ 2 ฉันทำได้ ต่อให้คิดว่าไม่ไหวตอนที่จนมุม ก็ให้พูดคำว่าทำได้ออกมา เมื่อรู้สึกตื่นเต้นสารโดพามีนก็จะถูกหลั่งออกมา โดพามีนเป็นสารในสมอง ที่จะถูกหลั่งออกมาตอนทำตามเป้าหมายได้แล้ว มันจะช่วยเพิ่มความกระตือรือร้น สมาธิ ความจำ และประสิทธิภาพในการทำงานให้อย่างมาก เพราะที่พูดว่าทำได้แล้วเหมือนทำตามเงื่อนไขสำเร็จ โดยนึกถึงภาพตัวเองที่ทำสำเร็จแล้วสารโดพามีนก็จะหลั่งออกมาได้เร็วขึ้น

คำพูดที่ 3 ทำเท่าที่จะทำได้ เป้าหมายสูงที่ดูไม่น่าจะสำเร็จได้มีภัยนานับประการ และไม่มีประโยชน์เลยด้วย มีแต่ต้องทำเท่าที่จะทำได้เท่านั้น ตอนที่สูญเสียความรู้สึกว่าตัวเองควบคุมได้ไป ถ้าพูดว่าทำเท่าที่จะทำได้ออกมา จะกลับไปหาจุดเริ่มต้นและเหยียบเบรกตัวเอง ที่กำลังวิ่งเร็วเกินกำหนดได้

  1. แกนแห่งเวลา สนใจที่ปัจจุบันแล้วความทุกข์จะหายไป คนที่นึกถึงเรื่องในอดีตแล้วเสียใจ หรือกังวลกับเรื่องในอนาคตมีอยู่เยอะมาก แล้วความทุกข์นั้นเป็นความทุกข์ของเมื่อไหร่กัน สิ่งที่ควรคิดก็คือตอนนี้ทำอะไรได้บ้าง เมื่อไหร่ที่คิดถึงเรื่องไม่ชอบใจในอดีตขึ้นมาแล้วนึกเสียใจในภายหลัง หรืออารมณ์ไม่ดีจนเกิดความท้อแท้ ให้หันกลับมาอยู่กับปัจจุบัน แค่สนใจปัจจุบัน การนึกเสียใจภายหลังก็จะเปลี่ยนมาเป็นความสบายใจแล้ว

ไม่เป็นไรสุดยอดคำที่ช่วยสลัดอดีต เมื่อคิดถึงอดีตแล้วนึกเสียใจ หรือถึงอนาคตแล้วกังวลจะเสียเวลาเปล่า ถ้าสลัดอดีตออกไปไม่ได้ ไม่ว่าอย่างไรก็นึกถึงเรื่องแย่ ๆ ที่ผ่านมา มีคำที่อยากแนะนำให้พูดออกมา ไม่เป็นไร คำว่าไม่เป็นไรเป็นคำที่ช่วยเปลี่ยนมุมมองต่อปัญหาสุดสำคัญคือ  มันไม่ใช่ทั้งการปฏิเสธหรือยอมรับประเด็นความคิดหรือความรู้สึกของอีกฝ่าย ใช้คำว่าไม่เป็นไรเป็นคำเปลี่ยนอารมณ์ หรือความคิดของตัวเองได้ในหลายสถานการณ์ ถ้าความทรงจำแย่ ๆ เมื่อครั้งอดีตหวนกลับมาอีก หลังจากพูดว่าไม่เป็นไร ให้ลองพูดต่อว่าแล้วตอนนี้ทำอะไรได้บ้าง

3 แกนแห่งตัวเอง ถ้าเปลี่ยนตัวเองได้ ความทุกข์ก็จะหายไป คนเราเปลี่ยนอดีตกับคนอื่นไม่ได้ แต่เปลี่ยนอนาคตกับตัวเองได้ เรื่องที่พบได้มากที่สุดของความทุกข์ก็คือ ความทุกข์เกี่ยวกับอดีตที่เกิดขึ้นและจบสิ้นไปแล้ว และยังมีความทุกข์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วย การเปลี่ยนนิสัยหรือพฤติกรรมของคนอื่น ไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเจ้าตัวไม่ได้อยากจะเปลี่ยนก็คงทำได้ยาก และถึงแม้จะทำได้ก็ต้องใช้เวลา คาดเดาเรื่องเหล่านั้นไม่ได้ และบังคับให้ผู้อื่นทำตามใจก็ไม่ได้ คนอื่นอยู่นอกเหนือการควบคุม

บทที่ 3 3 วิธีกำจัดทุกข์

เมื่อรู้สาเหตุกันแล้วว่าทำไมตอนนี้ถึงทุกข์ทรมาน จงใช้ 3 แกนแห่งความทุกข์ เพื่อทำความเข้าใจความทุกข์ของตัวเองให้มากขึ้น แล้วจะนี้ไปมาคิดถึงวิธีกำจัดทุกข์กัน

  1. กำจัดทุกข์ด้วยการหาวิธีรับมือ เวลามองไม่เห็นทางข้างหน้า ไม่รู้จะเดินไปอย่างไรหรือที่พูดกันว่าอนาคตไม่แน่นอน นี่คือสาเหตุของความกังวล ถ้ารู้อย่างแน่นอนว่า อนาคตจะเป็นอย่างไรคงไม่เป็นทุกข์ พอมองไม่เห็นทางข้างหน้าก็จะเป็นกังวล แต่เมื่อเห็นแล้วก็จะสบายใจ

ถ้าค้นหาวิธีความทุกข์ก็จะเบาลง ยุคสมัยนี้นับเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนจะมีสมาร์ทโฟน ไม่ว่าใครก็เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ เป็นยุคสมัยที่สืบค้นข้อมูลได้ง่ายมาก ไม่ต้องทนทุกข์หลายวันหรือหลายเดือน ลองค้นหาวิธีรับมือกับความทุกข์นั้นดูก่อน มีเว็บไซต์หรือวีดีโอมากมายที่อธิบายถึงวิธีรับมือ แค่ค้นหาวิธีความทุกข์ก็จะเบาลง 90%

คนที่หาเจอกับคนที่หาไม่เจอ คนที่ค้นหาเจอต่อให้มีความทุกข์ก็จะหาวิธีรับมือได้เร็ว หลังจากค้นเจอแล้วก็จะคิดว่าเหลือแค่ทำสิ่งที่ควรทำเท่านั้น หรือไม่ก็แค่ต้องมีรายการของสิ่งที่ยังทำไม่ได้เท่านั้น

  1. กำจัดทุกข์ด้วยพลังแห่งการมองผ่าน ห้ามอดทนกับความเครียด การศึกษาด้านจิตวิทยาล่าสุดกล่าวว่า ไม่ควรเพิ่มความอดทนกับความเครียด แต่ควรเพิ่มความยืดหยุ่นทางจิตใจ สามารถเรียกความยืดหยุ่นทางจิตใจว่าสปริงของหัวใจ หรือพลังแห่งการฟื้นฟูก็ได้ ถ้ากลับมาสู่สถานการณ์ปกติได้เร็วเหมือนกับสปริงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นเรื่องดี ทำหัวใจยืดหยุ่นเข้าไว้ ต่อให้รู้สึกหมดหวังกับความเครียด หรือเรื่องทรมานใจต่าง ๆ ก็จะปล่อยมันผ่านไปได้ และกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ทันที สิ่งสำคัญคือการปล่อยผ่าน จากนี้ไปจะแนะนำ 3 คำพูดมหัศจรรย์เพิ่มพลังให้ตัวเองปล่อยผ่านปัญหาไปได้ คำมหัศจรรย์ที่จะเพิ่มพลังการปล่อยผ่านนั้นคือ
  2. อืม คำที่ทำให้มองผ่านไปได้ในพริบตา คนเรามีโอกาสเจอคนที่เข้ามาทำท่าทีน่ารังเกียจ พูดจาไม่ดีใส่ หรืออวดเก่งได้บ่อยมากเลย เวลาหัวเสียกับเรื่องแบบนี้ให้พูดออกไปว่า อืม ขณะที่ในใจกำลังคิดว่า อืม เข้าใจแล้ว (นั่นมันเรื่องของเธอ ฉันไม่เกี่ยว) หรือ อืม ขอบคุณที่บอก (เอาที่สะดวกเลย) การโต้แย้งอย่างเปิดเผยด้วยอารมณ์โกรธ ต่อต้าน หรือไม่ชอบ ความสัมพันธ์กับอีกฝ่ายจะยิ่งยุ่งเหยิง นับวันเขาจะยิ่งโจมตีรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าพูดว่าอืมอย่างสงบนิ่ง อีกฝ่ายจะรู้สึกเหมือนถูกปัด และรู้สึกว่าไม่สนุกเลย สุดท้ายก็จะมองผ่านไปเอง
  3. คนแบบนี้ก็มีด้วย คำที่จะช่วยให้มองผ่านการโจมตีทั้งปวง เมื่อได้ยินว่ามีคนกำลังแอบนินทาลับหลัง คงไม่พอใจเป็นธรรมดา แต่ให้เอ่ยขึ้นมาในใจว่า คนแบบนี้ก็มีด้วย โลกนี้มีคนหลากหลายทั้งคนนิสัยดี คนนิสัยแย่ คนจริงใจ คนขี้โกหก คนสุภาพ หรือคนขี้โมโห ทุกครั้งที่เจอคนไม่ดี คงมีแต่ที่ต้องโมโหหรือหดหู่ใจแบบไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น เมื่อไหร่ที่ถูกคนอื่นโจมตีหรือพูดจาไร้เหตุผลใส่ ให้พึมพำไปว่าคนแบบนี้ก็มีด้วย คำนี้จะแสดงความหลากหลาย เพราะบนโลกนี้มีคนหลากหลายประเภท
  4. ขอบคุณ คำที่จะช่วยให้มองผ่านการโจมตีจากคนที่อาวุโสกว่า เช่น หัวหน้าหรือคนที่อาวุโสกว่า ถ้าหมดกำลังใจเพราะคำพูดของคนเหล่านี้ ให้ลองพูดว่าขอบคุณดู ไม่มีใครรู้สึกแย่เมื่อมีคนพูดขอบคุณใส่หรอก ไม่ว่าจะโมโหหรือหงุดหงิดให้ลองพูดคำพูดที่ช่วยให้ปล่อยผ่าน และปล่อยมันไปโดยไม่ต้องสู้กลับ ให้ทำตัวราบเรียบและทำใจให้สงบ โดยไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ มันยากที่จะทำได้ในชั่วข้ามคืน แต่ถ้าฝึกฝนและมีสติต้องทำได้อย่างแน่นอน
  5. กำจัดทุกข์ด้วยการรีเซ็ตความทุกข์ ความทุกข์ที่คิดว่าควบคุมไม่ได้เลยอย่างเรื่องน้ำท่วม ที่จริงแล้วควบคุมได้แต่ก่อนอื่นเลยคงไม่มีใครย้ายบ้านเพราะแค่กลัวน้ำท่วมหรอก นั่นหมายความว่า ความกลัวต่อน้ำท่วมไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ที่ร้ายแรงมากขนาดนั้นนั่นเอง

มาลองรีเซ็ตความทุกข์นี้กัน เมื่อลองแยกความทุกข์นี้ออกเป็นส่วน ๆ อย่างละเอียดแล้วจะแบ่งได้ว่า กังวลว่าตัวเองและครอบครัวจะอันตราย กลัวบ้านจะพัง กลัวทรัพย์สินจะเสียหาย กังวล จะทำงานไม่ได้ เรื่องที่เตรียมได้ เรื่องที่ทำได้ทำให้หมด แล้วความรู้สึกว่าได้ทำทั้งหมดแล้วจะกลายเป็นความมั่นใจ และจะปัดเป่าความกลัวหรือความกังวลออกไป นี่คือการรีเซ็ตความทุกข์ แค่เปลี่ยนมุมมองของความทุกข์ สิ่งที่เคยคิดว่าควบคุมไม่ได้ หมดหนทาง ไม่รู้จะทำอย่างไร ก็จะแปรเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ควบคุมได้

3 คำถามเพื่อรีเซ็ตความทุกข์ คนที่ไม่รู้น่าจะมีอยู่พอสมควรมี 3 คำถามเพื่อรีเซ็ตความทุกข์ได้คือ

  1. จริง ๆ แล้วสิ่งที่กำลังเป็นทุกข์อยู่คืออะไร ถึงแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นแต่ถ้าไม่มีผู้เสียชีวิต หรือผู้ได้รับบาดเจ็บคงไม่ต้องไปกังวลขนาดนั้น นั่นแปลว่าความทุกข์ที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่แผ่นดินไหว จริง ๆ แล้วสิ่งที่กำลังเป็นทุกข์อยู่คืออะไรกันแน่ ไม่ใช่แผ่นดินไหว ใต้ฝุ่น หรือภัยพิบัติธรรมชาติ ปัญหาที่แท้จริงคือถูกข่าวเข้าครอบงำได้ง่าย และชอบให้ความสำคัญกับเรื่องที่เป็นลบ

เมื่อคิดอย่างนั้นแล้ววิธีรับมือก็ชัดเจนมากคือ ไม่รับข่าวสารที่สร้างความหวาดกลัวจากโทรทัศน์ ลดเวลาที่ใช้อ่านข่าวในอินเตอร์เน็ตลง เขียนบันทึกประจำวันในเชิงบวก และแก้ไขนิสัยที่ชอบจดจ่อกับเรื่องเชิงลบ ถ้าทำอย่างนี้ไป 3 เดือน ความกังวลจากเรื่องแผ่นดินไหว หรือภัยพิบัติอื่น ๆ จะเบาบางลงไปมาก

  1. เมื่อคลายความทุกข์นั้นได้แล้วจะพอใจไหม คนที่มีปมด้อยบนจุดต่าง ๆ ของร่างกายมีอยู่มาก สิ่งที่กำลังเป็นทุกข์อยู่จริง ๆ ไม่ใช่จุดต่าง ๆ ของร่างกาย แต่เป็นเพราะไม่มั่นใจในตัวเอง ถ้าความไม่มั่นใจเป็นความทุกข์จริง ๆ ก็ต้องทำให้ตัวเองมีความมั่นใจมากขึ้น เพราะวินาทีที่เติบโตความมั่นใจจะเกิดขึ้น ประสบการณ์ที่ทำอะไรสำเร็จสักอย่าง จะนำความมั่นใจมาให้เอง
  2. เมื่อคลายความทุกข์นั้นได้แล้วมีความสุขขึ้นไหม เช่น กลัวน้ำท่วม ถ้าระหว่างที่มีชีวิตอยู่ไม่เคยเจอน้ำท่วมเลย คิดว่านั่นเป็นชีวิตที่มีความสุขไหม แล้วถ้าสุขภาพดีอายุยืนถึง 90 ปีโดยไม่เจอน้ำท่วมหรือภัยพิบัติ ไม่เจออุบัติเหตุหรือปัญหาใหญ่ ๆ และไม่ป่วยหนักเลยคิดอย่างไร จะคิดว่านี่เป็นชีวิตที่มีความสุขใช่ไหม ความทุกข์ไม่ใช่กลัวน้ำท่วมแต่เป็นกลัวเสียสุขภาพ หรือกลัวไม่ปลอดภัยต่างหาก ดังนั้น จะตระหนักได้ว่าไม่ควรมาเสียเวลาไปกับความกังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างเรื่องกลัวน้ำท่วม แต่ควรใช้เวลากับกิจกรรมที่ช่วยเสริมสุขภาพอย่างการนอนหลับ หรือการออกกำลังกายมากกว่า

คำถามมหัศจรรย์ที่จะทำให้มีความสุข เมื่อถามตัวเองด้วย 3 คำถามนี้ ก็จะรู้ว่าความทุกข์ของตัวเองนั้น ไม่ใช่ความทุกข์ที่สำคัญที่สุด หรือความทุกข์ที่แท้จริง แม้จะนำวิธีที่เรียนรู้มาทั้งหมดไปใช้จริง ก็อาจจะยังมีคนที่ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วอยากจะทำอะไร หรือต้องการอะไร ความทุกข์ที่แท้จริงไม่ใช่นิสัยที่ไม่ดี แต่เป็นไม่อยากถูกคนอื่นมองด้วยสายตาแปลก ๆ หรือไม่อยากเป็นคนประหลาดต่างหาก ดังนั้น ความปรารถนาที่แท้จริงก็คือ อยากมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น การรีเซ็ตความทุกข์ จะช่วยปลดปล่อยจากคาถาผูกมัดที่เรียกว่า ปมด้อย

บทที่ 4 ทุกอย่างจะง่ายขึ้นแค่เปลี่ยนมุมมอง

แค่เปลี่ยนมุมมองความทุกข์ส่วนมากก็จะคลี่คลายลงไปได้แล้ว ไม่ว่าจะเรื่องอะไรการเริ่มทำอะไรใหม่ ๆ นั้นยากเสมอ แต่การเปลี่ยนมุมมองไม่ได้ยากขนาดนั้น นั่งเฉย ๆ ก็ยังทำได้ การเปลี่ยนมุมมองหมายถึง การเปลี่ยนวิธีมองหรือวิธีคิด ซึ่งเต็มไปด้วยความทุกข์เสียใหม่

  1. พอเปลี่ยนมุมมองทิวทัศน์ก็เปลี่ยน ตอนนี้ถ้ามีหินขนาดใหญ่ที่สูงหลายเมตร หนักเป็น 10 ตันปรากฏขึ้นมาอยู่ตรงหน้า คิดว่าจะเคลื่อนย้ายมันออกไปได้ไหม คำถามนี้ไม่ได้บอกว่าต้องออกแรงย้ายก้อนหินเอง จะอาศัยความช่วยเหลือของผู้อื่น เครื่องจักร หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวก โปรแกรมหรือเทคนิคทางไอทีก็ย่อมได้ แต่คนที่เป็นทุกข์ส่วนมาก ไม่ว่าอย่างไรก็คิดจะแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง โดยไม่ปรึกษาผู้อื่น และไม่คิดแม้แต่จะไปขอความช่วยเหลือ เพื่อทำเป้าหมายให้เป็นจริง

ถ้าจำเป็นจะไปขอยืมแรงคนอื่นก็ได้ นี่ก็เป็นแนวคิดอย่างหนึ่งในการเปลี่ยนมุมมอง ต้องย้ายหินก้อนนั้นออกไปเพื่ออะไร เป้าหมายคือการก้าวไปข้างหน้า ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องฝืนย้ายหินนั่นออกไปเลยก็ได้ วินาทีที่ยอมรับได้ว่าการย้ายก้อนหินไม่ใช่เป้าหมาย สุดท้าย ก็จะมีวิธีรับมืออื่น ๆ ได้อีกมาก นี้คือการเปลี่ยนมุมมอง

ไม่สบายใจเพราะมีข้อมูลไม่เพียงพอ มุมมองหมายถึงตำแหน่งในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ วิสัยทัศน์หรือจุดยืนในการมองเรื่องต่าง ๆ มีกำแพงขนาดใหญ่สูงกว่า 10 เมตรอยู่ตรงหน้า ถ้ามองผิวเผินคงแทบเป็นไปไม่ได้ถ้าจะข้ามกำแพงนั้น ถ้าอย่างนั้นลองถอยห่างออกมา แล้วมอง กำแพงนั่นใหม่ดู จะพบว่าถัดไปตรงด้านขวาประมาณ 50 เมตร กำแพงถล่มลงมาจึงมีช่องโหว่อยู่ตรงนั้น

เมื่อได้เปลี่ยนมุมมอง และปรับมุมมองให้สูงขึ้นแล้ว จะรู้ได้ด้วยตัวเองว่าสถานการณ์ในคราวนี้ ไม่ได้ยากเย็นแสนเข็ญขนาดนั้น เมื่อรู้ว่าไม่จำเป็นต้องขยับก้อนหินออกไปก็ได้ จนรู้สึกสบายใจขึ้นแล้ว จะนึกวิธีรับมือหรือวิธีแก้ปัญหาออก คนที่เป็นทุกข์มักจะมองอะไรในระยะสั้น ๆ มองเห็นเพียงความทุกข์ตรงหน้าตัวเองเท่านั้น ถ้ามีข้อมูลไม่เพียงพอก็จะไม่สบายใจ ยิ่งไม่สบายใจ ก็ยิ่งขาดวิสัยทัศน์มากขึ้นไปอีก ดังนั้น สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักรู้ และเปลี่ยนมุมมองให้ได้ด้วยตัวเอง

วิธีอื่นล่ะ คำพูดมหัศจรรย์ที่จะช่วยให้เปลี่ยนมุมมองง่ายขึ้น มีคำพูดมหัศจรรย์ที่จะช่วยให้เปลี่ยนมุมมองได้ คำพูดนั้นคือ วิธีอื่นล่ะ ตอนที่คิดคนเดียวแล้วยังนึกไม่ออกว่า ต้องแก้ไขปัญหาอย่างไร แค่ลองถามตัวเองว่าวิธีอื่นล่ะ ก็จะเปลี่ยนมุมมองได้ จากที่เคยคิดว่าไม่มีทางแล้ว ก็จะเปลี่ยนเป็นต้องมีสักทาง

2. มุมมองสามแบบที่ควรรู้

  1. มองอย่างเป็นกลางความคิดเชิงบวกมันผิด ไม่ควรยอมแพ้ตั้งแต่ต้น และไม่ควรบังคับตัวเองให้คิดว่านี่คือโอกาส ปล่อยวางอคติ อย่าใช้อารมณ์ รวบรวมมูลเหตุ หลักฐาน และข้อมูล จากนั้นวิเคราะห์หรือพิจารณาอย่างใจเย็น แล้วค่อยลงมือทำถึงจะควานหาความเป็นไปได้ในเชิงบวกอย่างใจเย็น นี่ต่างหากความคิดเชิงบวกที่แท้จริง

ในจิตวิทยาเชิงบวกมีหนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยาเชิงบวกมากมายที่ได้รับการตีพิมพ์ แต่น่าเสียดายมากที่มีคนจำนวนมากถูกคำว่าแง่บวก ชักจูงไปให้เข้าใจแบบผิด ๆ ทั้งที่ยังไม่ได้อ่านหนังสือเลยด้วยซ้ำ คำว่า แง่บวก ให้ภาพจำว่าเป็นความหมายตรงกันข้ามกับแง่ลบคิดว่าคนแง่บวก ในความคิดคงจะเป็นคนที่ร่าเริง กระชับกระเฉง และมองในแง่บวก แต่คำว่า Positive (แง่บวก) ในภาษาอังกฤษกลับมีความหมายว่า การเห็นพ้อง การยอมรับ

นั่นหมายความว่า จุดยืนดั้งเดิมของจิตวิทยาเชิงบวกก็คือ การสังเกตสถานการณ์ปัจจุบันและยอมรับมัน การมีสติจดจ่ออยู่กับปัจจุบันก็มาจากอิทธิพลของจิตวิทยาเชิงบวกเช่นเดียวกัน ในทางกลับกัน ถ้าพูดว่าคนที่มีการยอมรับในตัวเองสูง อาจดูเป็นคนที่มีความมั่นใจในตัวเองอย่างล้นเหลือนี่ก็ผิดเหมือนกัน แม้จะไม่ได้เรื่องสักแค่ไหน แต่การยอมรับมันให้ได้ก็คือ การยอมรับในตัวเองอย่างแท้จริง

ลักษณะที่กล่าวมานี้เรียกมันว่า วิธีคิดแบบเป็นกลาง หมายถึง ไม่ทั้งสุขและเศร้า ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ ไม่ถูกครอบงำโดยข้อมูลเพียงชิ้นเดียว ต้องรวบรวมข้อมูล ขจัดอคติและความลำเอียง มองในภาพรวม ไม่ใช่เพียงส่วนเดียว แล้วค่อยพิจารณาอย่างเป็นกลาง และลงมือปฏิบัติ ไม่ยอมแพ้ในทันที สังเกตอย่างใจเย็น และก้าวต่อไปอย่างเข้มแข็ง ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ชี้ว่า คนที่คิดอย่างนี้ได้แม้จะเจอสถานการณ์ลำบาก เขาก็จะไม่ทั้งสุขและเศร้า เขาจึงไม่เครียด มีความยืดหยุ่นในจิตใจสูง และสามารถเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง

อคติทางความคิดจะบิดเบือนการตัดสินใจ และความคิดคนที่มองสิ่งต่าง ๆ เป็นลบ มักจะกังวลมากเกินไป แม้กระทั่งกับเรื่องที่มีโอกาสเกิดเพียง 1% ในทางกลับกันการมองโลกเป็นบวกมากเกินไปก็ไม่ได้สร้างผลดีอะไรเลย ลองนึกภาพคนที่ต่อให้ตะโกนเป็นร้อยครั้งว่าไม่เป็นไร แต่ก็ไม่อ่านหนังสือ ผลสอบก็คงไม่ดีขึ้น การคิดลบมากเกินไปหรือคิดบวกเกินเหตุคือ อคติ คนที่คิดลบจะเก็บแต่ข้อมูลที่ไม่ดีต่อตัวเอง ส่วนคนที่คิดบวกมากเกินไปจะมองแต่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองเท่านั้นไม่ว่าอย่างไหนก็เป็นนิสัยเสียไปทั้งนั้น แต่ที่กล่าวมานี้เป็นอคติทางความคิดมันคือการที่ไตร่ตรองอะไรอย่างไม่สมเหตุสมผล เพราะความลำเอียงหรือเรียกง่าย ๆ ว่าการคิดไปเอง  ชีวิตมนุษย์จะดำเนินไปอย่างราบรื่นด้วยการมองอย่างเป็นกลาง

  1. มองอยู่ห่าง ๆ การจับตามองอย่างใกล้ชิดนำมาซึ่งโศกนาฏกรรม มีคำที่เรียกว่ามองระยะสั้น ทั้งนี้หมายถึงการที่หมกมุ่นอยู่แต่กับสิ่งตรงหน้า โดยขาดการมองเห็นอนาคตหรือภาพรวม สรุปง่าย ๆ ก็คือการมองเพียงแค่บางส่วน หรือไม่มองในภาพรวม ให้เป็นหนึ่งในวิธีการมองที่ไม่ดี ถ้ามองสิ่งต่าง ๆ ในระยะใกล้จะเห็นแต่สิ่งลบ ทั้งข้อเสียของตัวเอง จุดด้อย และเรื่องที่ทำได้ไม่ดี แต่ถ้ามองอยู่ในระยะไกล จะรับรู้ได้ว่านั่นไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร จะรู้ว่ามันมีทั้งเรื่องที่กำลังไปได้ดี และเรื่องที่ก็ไม่ได้แย่อะไร ถ้าอยากคลายทุกสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การเปลี่ยนมุมมองให้มองจากระยะไกล การเลือกใช้มุมมองได้อย่างอิสระ เหมือนกับการตัดเข้าภาพซูมนี้ นับเป็นเทคนิคคลายทุกข์อย่างหนึ่งเช่นกัน
  2. ปล่อยวางความคิดที่สุดโต่ง ถ้าให้เรียกการคิดแบบไม่เป็นกลางเสียใหม่ จะพูดว่าเป็นการคิดแบบสุดโต่ง คนที่คิดสุดโต่งจะมองแค่ 0 กับ 100 จะเรียกว่าการคิดแบบ 2 ขั้วก็ได้ นี่คือการคิดจากตัวเลือกแค่ 2 ทาง นี่คือความคิดแบบสุดโต่งที่ไม่มีตรงกลาง ถ้าคิดถึงสิ่งต่าง ๆ โดยต้องเลือกจาก 1 ใน 2 ตัวเลือก ก็จะมีแค่ตัวเลือก 2 อย่างที่สุดโต่ง สุดท้ายก็จะยิ่งรู้สึกว่าควบคุมอะไรไม่ได้หนักขึ้นและเครียดได้ง่าย ถ้าละจากศูนย์กับร้อยได้ ตัวเลือกก็จะเพิ่มขึ้น ความคิดจะยืดหยุ่นขึ้น แล้วไอเดียหรือวิธีรับมือก็จะผุดขึ้นมาอีกหลายอย่างเลย
  3. ถ้าใส่ความธรรมดาจะสบายใจขึ้น คนที่เป็นทุกข์ ท้อแท้ หรือโทษตัวเอง เพราะยอมรับในตัวเองต่ำมีจำนวนมาก แต่คนที่คิดว่ายอมรับในตัวเองสูงกลับมีเพียงน้อยนิด แก้ไขอคติทางความคิด และยอมรับในความธรรมดา ให้คิดว่าดี ธรรมดา ไม่ดี ไม่ใช่คิดว่าดีหรือไม่ดี ให้คิดว่าชอบ เฉย ๆ ไม่ชอบ ไม่ใช่คิดว่าชอบหรือไม่ชอบ แค่เปลี่ยนความคิดได้แบบนี้ ก็จะรู้สึกสบายขึ้นมากจากอคติในแง่ลบ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในอคติทางความคิดของมนุษย์ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะถูกชักจูงด้วยสิ่งต่าง ๆ ในแง่ลบมากกว่าแง่บวก

ตัวอย่างเช่น สนใจแต่ข้อด้อยของตัวเอง แทนที่จะเป็นข้อดี สนใจแต่สิ่งที่ทำได้ไม่ดีมากกว่าสิ่งที่ทำได้ดี ในการทำงานจดจำคำวิจารณ์มากกว่าคำชม ดูแต่ข่าวร้ายมากกว่าข่าวดี สรุปก็คือ อคติในแง่ลบเป็นอคติทางความคิด และยังเป็นเหมือนโปรแกรมพื้นฐานของสมองที่สั่ง การคิดลบไม่ใช่นิสัยแต่เป็นกลไกของสมอง มันเป็นเหมือนโปรแกรมของสมอง ดังนั้น ถึงจะสั่งมันว่าเลิกคิดลบเถอะก็เลิกไม่ได้ง่าย ๆ มาคิดแบบ 3 ตัวเลือกกัน เพิ่มธรรมดาเข้าไปในตัวเลือก เมื่อทำอย่างนั้นแล้วไม่ว่าใครก็ทำได้จริงตั้งแต่วันนี้

ต้นเหตุของความทุกข์ คือตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์อย่างไหน สำหรับเจ้าตัวแล้วคิดว่าคงจะเป็นความทุกข์ที่สาหัสทั้งนั้น คงต้องใช้ชีวิตโดยที่ขจัดความรู้สึกเจ็บปวด และทรมานออกไปไม่ได้ อย่าไปคิดว่ามีแต่ตัวเองที่เจอเรื่องแบบนี้ หรือมีแต่ตัวเองที่โชคร้าย คนส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวว่า อีกหลายคนบนโลกใบนี้ต่างมีความทุกข์เดียวกัน มักคิดไปเองว่าตัวเองไม่ได้เรื่อง  ประณาม และด้อยค่าตัวเองว่ามีแต่โชคร้าย สร้างบาดแผลให้จิตใจ และสร้างความรู้สึกลุกขึ้นมาด้วยตัวเอง จึงยิ่งทุกข์หนักหน่วงขึ้นไปอีก สาเหตุความทุกข์มาจากตัวเอง ความทุกข์ส่วนมากคลี่คลายลงได้ ดังนั้น ในก้าวแรกต้องดูว่าตัวเองปกติ และเป็นคนหมู่มากเสียก่อน ถ้าเข้าใจจริง ๆ ว่าทุกคนก็มีความทุกข์อย่างเดียวกัน ความรู้สึกด้านลบจะหายไปได้มากเลย

บทที่ 5 อย่าทุกข์แค่คนเดียว

  1. มองในมุมมองของคนอื่น ถ้าคิดเพียงใช้มุมมองของตัวเอง ประสบการณ์สิ่งที่ได้พบเจอมา หรือความคิดของตัวเอง ขอบเขตของคำตอบหรือตัวเลือกที่มีจะแคบลง แต่ถ้าขอยืมความคิดของผู้อื่น ยืมประสบการณ์หรือความรู้ของผู้อื่น ขอคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ปัญหาที่ทนทุกข์มานานหลายเดือน จะมีทางแก้ปรากฏขึ้นทันที ถ้าทุกข์อยู่คนเดียวมาครบสัปดาห์ หลังจากนี้จะนับว่าเสียเวลาเปล่า จะกลายเป็นคนมืดบอด และขาดวิสัยทัศน์ ยิ่งกว่านั้นคืออาจตื่นตระหนกก็เป็นได้

คนที่มีประสบการณ์มาก เช่น รุ่นพี่ หัวหน้า หรือผู้เชี่ยวชาญ กำลังมองสิ่งต่าง ๆ ให้มุมมองที่กว้างกว่า ถ้าให้พูดอีกแบบ การขอยืมมุมมองของผู้อื่น ก็หมายถึงไปปรึกษา หรือไปค้นหานั่นแหละ อาจจะคิดว่าวิธีง่าย ๆ ใครก็ทำได้ แต่เพราะยังมีคนที่ทำไม่ได้อยู่ด้วยเหมือนกัน มีบ่อยครั้งที่ปัญหาที่ทนทุกข์อยู่คนเดียวมานานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน ถูกแก้ไขในพริบตาเพราะความคิดเห็นหรือคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ บางครั้งการสู้อยู่คนเดียวไม่ใช่การกระทำที่น่ายกย่อง แต่เป็นการเสียเวลา

  1. ลองเป็นคนอื่น การขอยืมมุมมองของคนอื่น หรือการมองสิ่งต่าง ๆ ในฐานะคนอื่นเป็นการเพ้อฝัน หรือความคิดเพ้อเจ้อก็ได้ ลองเป็นคนอื่นที่ชอบมาก ๆ ดู พูดคุยแบบเป็นผู้อื่นเมื่อถูกต่อว่าหรือตักเตือน เช่น ถูกหัวหน้าแผนกดุหนักมากเพราะทำงานพลาด จิตใจจะว้าวุ่นต่อให้มีคนพูดว่า มองอย่างเป็นกลางสิ แต่ในหัวก็จะมีแต่ความโกรธเคืองอยู่เต็มไปหมด เวลาที่เป็นอย่างนั้นให้มองในมุมมองของหัวหน้าก็ได้ ลองสมมุติตัวเองเป็นหัวหน้า แล้วมีลูกน้องทำผิดพลาดจะรับมืออย่างไร จะดุด่าอย่างรุนแรงไหม หรือว่าตักเตือนด้วยเหตุและผลอย่างใจเย็น

ลองจินตนาการตัวเองเป็นหัวหน้าแล้วนึกถึงบทสนทนาดู ให้ลองพูดกับตัวเองในฐานะที่ตัวเองเป็นหัวหน้า ซึ่งต้องให้คำแนะนำหรือชี้แนะ ตอนแรกอาจใช้อารมณ์เกินไป และอาจข้ามข้อเท็จจริงบางอย่าง แต่จะสามารถจัดการมันได้อย่างเรียบร้อย นอกจากนั้น ก็จะเห็นเสียงตอบรับได้ชัดเจนขึ้น และจะช่วยป้องกันไม่ให้ทำผิดพลาดซ้ำอีก

วิธีแอบมองข้างในหัวของหัวหน้า สาเหตุที่มนุษย์มีปัญหาระหว่างกัน เพราะไม่รู้ว่าอีกฝ่ายคิดอะไรอยู่ ถ้ารู้ว่าเขาคิดอะไร ก็จะหาวิธีรับมือได้อย่างง่ายดาย ยกตัวอย่างเช่น หัวหน้ารู้ไหมว่าเขากำลังคิดอะไร ให้ความสำคัญกับอะไร และจะสั่งงานรูปแบบไหน สาเหตุหนึ่งที่ความสัมพันธ์ในที่ทำงานพัง เพราะลูกน้องไม่เข้าใจว่าหัวหน้าต้องการอะไร แม้จะไม่ได้มีความรู้สึกร่วมอะไรกับเขา ถ้าอ่านหนังสือจะพบว่ามีคำตอบเขียนอยู่ในนั้น มันอาจจะไม่ถูกต้องเสมอไป แต่ยิ่งสะสมจำนวนหนังสือที่อ่านไปมากเท่าไหร่ จะยิ่งได้แนวทางในการพัฒนาความคิด หรือการทำงานมากขึ้นเท่านั้น

3. มีมุมมองของอนาคต

  1. ทำตอนนี้ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แค่ต้องเติบโตขึ้น และทำตัวเองให้เก่งขึ้นเท่านั้นเอง ตอนนี้ไม่ได้เรื่องก็ไม่เป็นไร แค่ในอีก 6 เดือนต่อจากนี้เริ่มทำได้ก็เพียงพอแล้ว ในระยะเวลาครึ่งปีให้พยายาม และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ให้ได้ คนส่วนใหญ่มักตัดสินอนาคตจากความสามารถในตอนนี้ว่า ตัวเองทำได้หรือไม่ได้ แต่มนุษย์ต้องเติบโตต่อไปเรื่อย ๆ และเติบโตขึ้นได้อีก เก่งขึ้นได้ทีละนิดจากการศึกษา การเรียนรู้ และการฝึกฝน ถึงในตอนนี้จะยังทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ถ้าทำเรื่องที่ทำไม่ได้เมื่อวานให้ทำได้ในวันนี้ นั่นคือถือว่าได้เติบโต การเชื่อตัวเองในอนาคตคือ การเชื่อตัวเองที่เติบโตขึ้นแล้วในอนาคต ถ้าอยากเป็นคนที่เติบโตขึ้น ต้องลงมือทำ ต้องพยายาม และต้องฝึกฝน ถ้าไม่ทำอะไร เอาแต่ใช้ชีวิตเหม่อลอยไปวัน ๆ สมองและร่างกายจะถดถอย มีแต่จะแก่และเสื่อมลง

2. เป็นมิตรกับเวลา รอดูสถานการณ์ จงรออย่างใจเย็นเฝ้ามองให้มันผ่านพ้นไปโดยไม่ต้องทำอะไร การใช้ประโยชน์จากการผ่านพ้นของเวลา นับว่าเป็นสิ่งที่ได้ผลดีมากในการรับมือกับความทุกข์ การดูสถานการณ์เป็นสิ่งที่ดี คำว่ารอดูอาการไปก่อนหมายถึง รอดูอาการไปก่อน เพราะไม่ต้องสั่งยาให้ก็หายเองได้ ถ้าไปทำให้อาการแย่ลงคนไข้ก็จะบ่นเอาได้อีก ไม่เพียงคนไข้ในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่มีคนส่วนมากที่ไม่ชอบรอดูสถานการณ์ไปก่อน

นอร์อะดรีนาลินจะหลั่งออกมาเพื่อเรียกร้องให้ทำอะไรบางอย่าง เพื่อต่อสู้กับความวิตกกังวล ยิ่งถ้าไม่ทำอะไรก็จะยิ่งกังวลมากขึ้น นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมใจจึงไม่เป็นสุขเมื่อไม่ได้ทำอะไร จะต้องเชื่อฟังแพทย์เพื่อการรักษาในโรงพยาบาล ส่วนในเรื่องธุรกิจต้องเชื่อการคาดเดาอนาคตของตัวเอง ในการคลายทุกข์เวลามักจะเป็นมิตรเสมอ เรื่องนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า ทำเรื่องที่ควรทำให้เต็มที่ แต่การที่โวยวายหรือเปลี่ยนการตัดสินใจอยู่บ่อยครั้ง จะส่งผลในทางลบมากกว่า เชื่อการเติบโตในอนาคตของตัวเอง เชื่อตัวเองหรือพวกของในอนาคต เชื่อในเวลา จากนั้นก็เฝ้ารอ การเฝ้าดูสถานการณ์นับเป็นวิธีรับมือที่สำคัญมาก

จงใช้เวลา 1 ในความทุกข์ที่พบเจอมากที่สุดคือ หมดแรงลุกขึ้นสู้ เพราะเสียใจที่คนหรือสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รักตายจากไป เป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องแบกรับแผลทางใจขนาดใหญ่ และก็จินตนาการไม่ออกเลยว่าภายใน 1 เดือนจะกลับมาเข้มแข็งได้อย่างไร มันเป็นสภาวะทางจิตใจตามธรรมชาติที่จะรู้สึกช็อค แต่ถ้าเวลาผ่านไปหลายปี สุดท้ายแล้วก็จะยอมรับการตายของคนสำคัญคนนั้นได้ ถ้ามัวแต่แก้ไขและพูดเรื่องเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมา มีแต่จะเป็นการตอกย้ำความทรงจำ  และอาจส่งผลในทางตรงกันข้าม จงปล่อยให้เวลาผ่านไป แล้วจะยอมรับและทำใจได้ในที่สุด

  1. เชื่อเพื่อนจากอนาคต จะมีมุมมองของอนาคตไม่ใช่แค่เชื่อการเติบโตในอนาคตของตัวเองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังต้องเชื่อการเติบโตในอนาคตของพวกพ้องด้วย แม้คนเดียวจะสู้ไม่ไหว ถ้ารวมพลังกับเพื่อนต้องมีสักทางให้ทำสำเร็จได้แน่นอน อย่ายอมแพ้ตั้งแต่ต้นว่าตัวเองทำไม่ได้ มีมุมมองของอนาคต ลองเชื่อตัวเองในอีก 6 เดือนหรือ 1 ปีข้างหน้าดู คิดย้อนกลับจากในครึ่งปีหรือ 1 ปีข้างหน้า และทำในสิ่งที่ต้องทำให้ชัดเจน แม้ตอนนี้จะยังทำไม่ได้แต่ค่อยทำไป ทำได้ดีในตอนสุดท้ายก็ได้ ค่อยไปปรับให้มันเหมาะสมเอาตอนท้ายที่สุดก็ได้

บทที่ 6 เมื่อเปลี่ยนเป็นคำพูดความทุกข์ก็จะหายไป

  1. ประโยชน์อันน่าทึ่งของการเปลี่ยนเป็นคำพูด ถ้าเปลี่ยนความรู้สึกมืดมนในใจให้กลายเป็นคำพูดได้ หัวใจจะโล่งขึ้น ในทางกลับกันถ้าพูดกับใครไม่ได้ เช่น บอกใครไม่ได้ หรือปรึกษาใครไม่ได้ ความมืดมนนั้นจะกลายเป็นความเครียดก้อนใหญ่ ถ้าเก็บเอาไว้ในใจคนเดียว พูดไม่ได้หรือไม่ยอมพูดจะเครียด ในทางกลับกันการพูดสิ่งที่คิดกับคนอื่น แม้จะเป็นแค่การตะโกนใส่บ่อน้ำเพราะพูดกับใครไม่ได้ ความรู้สึกก็จะเบาขึ้น แค่พูดออกมาความเครียดก็จะหายไปแล้ว

หนึ่งในเป้าหมายของการให้คำปรึกษาของจิตแพทย์คือ การเปลี่ยนเป็นคำพูด แค่เอ่ยออกมาเป็นคำพูดจากที่ไม่รู้ตัวก็จะเปลี่ยนเป็นรู้ตัว ว่ากันว่า 95% ของความคิดถูกประมวลผลโดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งถ้าไม่รู้ตัวแม้อยากจะทำให้ดีขึ้น หรือผ่อนคลายมันลงไปก็ย่อมทำไม่ได้ การพูดออกมาจะเปลี่ยนสิ่งที่คลุมเครือและเข้าใจยาก ให้กลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้และจัดการได้ การพูดออกมาทำให้วิเคราะห์ตัวเองเรื่องความทุกข์ที่คุมเครือได้ จากตรงนั้นมีคนไม่น้อยเลย ที่หาทางแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง

  1. เขียนแล้วพูดความทุกข์ก็จะเบาบาง ในหัวของคนที่กำลังทุกข์จะคิดอะไรซับซ้อน และมักคิดอะไรวนเวียนไปมา ความคิดเดิมเลยผุดขึ้นแล้วก็หายไป อยู่ในหัวซ้ำ ๆ ไม่ว่าจะเช้าสายบ่ายเย็น มันจะคอยวนเวียนอย่างนั้น สาเหตุเป็นเพราะพื้นที่การทำงานของสมองมีขนาดเล็กมาก ว่ากันว่าสมองจะรับข้อมูลมาจัดการได้พร้อมกันเพียง 3 เรื่องเท่านั้น นึกภาพตามง่าย ๆ ว่าสมองมีแค่ 3 ถาดแล้วกัน ถ้าจัดการได้ 1 ถาดมีโอกาสสมองก็จะมีพื้นที่ว่าง แล้วค่อยไปจัดการกับความคิดใหม่ได้ เรียกพื้นที่การทำงานของสมองนี้ว่า ความจำเพื่อใช้งาน

จำนวนถาดลดลงไปเพราะสมองเหนื่อยล้า สมองของคนที่เป็นทุกข์จะมีความจำเพื่อการใช้งานลดลง เพราะความกังวล ความประมาท หรืออาการสมองเหนื่อยล้า ถ้าเป็นทุกข์ เจ็บปวด และทรมานอยู่ทุกวัน จะมีอาการสมองล้าถาดในสมองอาจลดลงเหลือ 2 หรือ 1 ถาด เมื่อเป็นเช่นนั้นไม่ว่าจะคิดอะไรก็จะคิดไม่ออกหัวไม่แล่น ตกอยู่ในสภาพที่เหมือนมีหมอกมาปกคลุมเอาไว้ ถ้าพยายามจะแก้ปัญหาแค่ภายในหัว ความจำเพื่อการใช้งานจะเต็ม

วิธีหลุดพ้นจากการคิดวนเวียนก็คือ การเปลี่ยนเป็นคำพูด เมื่อต้องการเผชิญหน้ากับความทุกข์ของตัวเอง ให้นึกถึงมัน พยายามเขียนลงในบันทึก แล้วจะก้าวไปข้างหน้าได้ ถ้าลองเขียนเรื่องกังวลใจลงในสมุดบันทึก ขณะก้าวไปข้างหน้า จะวิเคราะห์สถานการณ์ได้อย่างใจเย็น แล้วก็จะหาวิธีจัดการได้ด้วยตัวเอง สาเหตุที่ฝ่าฟันความทุกข์ กำแพง หรืออุปสรรคไม่ได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่เพราะความสามารถต่ำ แต่เป็นเพราะกลไกของสมองทำให้เป็นอย่างนั้น ภาระที่สมองต้องแบกรับจะเบาลง จากการเปลี่ยนเป็นคำพูด ไม่ว่าจะใช้การเขียนหรือการพูด เมื่อสมองเบาลงแล้ว ก็จะจัดสรรทรัพยากรสมอง ไปใช้กับปัญหาแต่ละเรื่องได้อย่างเต็มที่ และจะคิดได้อย่างรอบคอบและใจเย็น

เมื่อเอาออกมาข้างนอกก็จะรู้สึกโล่ง วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความคิดอธิบายเรื่องการเอาออกมาข้างนอกว่า เป็นการนำความคิดในหัวไม่ว่าจะเป็นตัวหนังสือหรือรูปภาพออกมาสู่ภายนอก การเอาออกมาข้างนอกมีประโยชน์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการช่วยให้ได้มองอะไรชัดเจนขึ้น มีส่วนร่วมกับผู้อื่น และสามารถบันทึกเรื่องต่าง ๆ ไม่ให้ลืมไปก่อนได้ ยิ่งเอาออกมาข้างนอกได้มากเท่าไหร่ สมองก็จะยิ่งเบาและจะยิ่งรู้สึกโล่ง

สมองได้เรียบเรียงความคิดเมื่อพูดออกมา คนเราสามารถบอกเล่าสิ่งที่กำลังนึกหรือคิดอยู่ ออกมาเป็นคำพูด โดยการพูดหรือเขียนนั่นหมายความว่า ด้านหนึ่งของ output ก็คือ การเปลี่ยนเป็นคำพูด จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงมือทำ การพูดหรือแสดงออกมานั้นสำคัญมาก นี่ไม่ใช่แค่การพูดหรือเขียนออกมาลอย ๆ แต่เป็นการคลายความทุกข์ ความทรมาน และความมืดมนออกมาเป็นคำพูด ความคิดจะกลายเป็นคำพูด การพูดออกมาจะช่วยให้ความทุกข์คลี่คลายลง และได้รับการเยียวยาอย่างแท้จริง

  1. เบาใจขึ้นด้วยความเข้าใจ คนที่รู้สึกทรมานจริง ๆ มักจะรู้สึกได้เพียงว่าตัวเองทรมานและเจ็บปวด แต่อธิบายไม่ได้ว่าตรงไหนที่ทรมาน ตรงไหนที่เจ็บปวด หรือทำไมถึงทรมาน การพูดออกมาจะช่วยนำความทุกข์สู่ภายนอก จึงแบ่งปันเรื่องราวนั้นกับผู้อื่นได้ เมื่อความทุกข์อันคลุมเครือเปลี่ยนเป็นเรื่องราวที่แบ่งกันได้สำเร็จ เมื่อนั้นความรู้สึกเห็นใจจะเกิดขึ้น เมื่อได้รับความเห็นอกเห็นใจ คนไข้ก็จะสบายใจขึ้น

ถ้าเปลี่ยนความคิดเป็นคำพูดไม่ได้ นั่นคืออธิบายไม่ได้ เมื่ออธิบายไม่ได้จะเริ่มหงุดหงิดและเริ่มเครียด เมื่อรับมือกับความรู้สึกทรมานอันคลุมเคลือไม่ได้ ก็จะไปปรึกษาใครไม่ได้ ในทางกลับกัน เมื่อพูดออกมาได้อธิบายได้จะเจอเบาะแสมากมาย ยิ่งมีเบาะแสมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเข้าใกล้ตัวคนร้ายได้เร็วยิ่งขึ้น ยิ่งพูดออกมาได้ยิ่งหาคำใบ้ในการคลายความทุกข์นั้นได้มาก และจะยิ่งช่วยให้อาการดีขึ้นได้ไวด้วย

ทำไมแค่พูดถึงช่วยรักษาได้ เวลาได้พูดคุยกับเพื่อนสนิทที่ร้านกาแฟ 1 ชั่วโมง คงคิดว่าสนุกจังเลย ฮอร์โมนที่ถูกหลั่งออกมาในเวลาเช่นนี้คือ ออกซิโตซิน ฮอร์โมนออกซิโตซินถูกเรียกอีกชื่อว่าเป็นสารแห่งความสุข มันจะหลั่งออกมาเวลาที่รู้สึกสนุก มีความสุข หรือได้รับการหลั่งออกมาเป็นจำนวนมากที่ร่างกายของคนเราสัมผัสกัน เช่น เวลาที่แม่กอดลูกหรือคู่รักกอดกัน นอกจากนั้นงานวิจัยล่าสุดพบว่า มันจะหลั่งออกมาแม้จะเป็นเพียงการพูดคุยหรือการสบตาอีกด้วย พูดง่าย ๆ ก็คือ ออกซิโตซินจะหลั่งออกมาเมื่อรับรู้ได้ว่าหัวใจสื่อถึงกัน และตอนเข้าใจกัน แล้วก็จะรู้สึกมีความสุข

ออกซิโตซินถือเป็นสารแห่งความสุขซึ่งมีผลช่วยเยียวยาเป็นอย่างมาก มันช่วยคลายเครียด ช่วยให้หัวใจ และร่างกายได้ผ่อนคลาย และขจัดความกังวล มีผลวิจัยหลายชิ้นชี้ว่า เมื่อออกซิโตซินหลั่งออกมาจะช่วยลดความรู้สึกเชิงลบ ทั้งความเครียดและความกังวลไปได้ มันจึงหลั่งออกมากับคนที่เชื่อใจได้ หรือกับคนที่รู้สึกสบายใจด้วย

แต่เมื่อคุยกับศัตรูไม่เพียงแต่ออกซิโตซินจะไม่หลั่งออกมาเท่านั้น ฮอร์โมนแห่งการเตรียมสู้ ไม่ว่าจะคอร์ติซอล (ฮอร์โมนแห่งความเครียด) อะดรีนาลิน (ฮอร์โมนแห่งความโกรธ) และนอร์อะดรีนาลิน (ฮอร์โมนแห่งความกังวล) ยังถูกหลั่งออกมามากอีกด้วย ความรู้สึกเชิงลบจึงยิ่งเพิ่มขึ้น  แค่เปลี่ยนความทุกข์ให้เป็นคำพูดแล้วพูดออกมา มันจะถูกแบ่งปันออกไป จะได้รับความเข้าใจกลับมา ตอนนั้นมีที่จะได้รับการเยียวยา

บทที่ 7 กล้าที่จะเปลี่ยนเป็นคำพูด

  1. ถ้าได้ปรึกษาก็จะสบายใจขึ้น คนกว่า 30% เลือกปรึกษาในทันที เพื่อแก้ไขความทุกข์ และก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว ส่วนคนอีก 70% รู้ว่าตัวเองทุกข์ แต่ก็ไปปรึกษาใครไม่ได้ ปล่อยให้ความทุกข์ขยายใหญ่ขึ้นจนเครียดและทรมาน การปรึกษาเป็นการยืมมุมมองของคนอื่น ดังนั้น จะมีความสามารถหรือไม่ไม่ใช่ปัญหา ในทางกลับกัน คนที่มีความสามารถน้อย และแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองไม่ได้นั้น ก็ควรจะขอยืมพลังของคนอื่นมาใช้

วิธีแก้ปัญหาที่ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่รู้ ไม่มีประโยชน์อะไรเลยที่จะอดทนกับความไม่สบายใจอยู่หลายวันหลายสัปดาห์ ทั้งที่ปัญหาแก้ได้ในพริบตาถ้าไปปรึกษาแพทย์ ถ้าไม่พูดกับแพทย์อาการป่วยก็คงไม่หายไปอย่างแน่นอน ข้อมูลพวกนี้จำเป็นมากสำหรับการรักษา มันคือเบาะแสสำคัญ แพทย์อาจจะต้องสร้างบรรยากาศให้คุยได้ง่ายขึ้นกว่านี้ แต่ไม่ว่าแพทย์คนนั้นจะเกลียดหรือดุ ก็ต้องปรึกษาเขา ถ้าไม่ทำก็ไม่หายป่วย มีคนไข้หลายคนที่อาการป่วยหายยากมาก เพราะไม่ยอมปรึกษาแพทย์ เรียกสิ่งนี้ว่า อาการไม่ยอมปรึกษา แต่นี่คือเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วไปซ้ำ ๆ และยังเกิดได้กับทุกคน

ความกล้าที่จะเปิดเผยตัวเอง การไปปรึกษาหมายความว่า ต้องเปิดเผยตัวเอง การเปิดเผยตัวเองเป็นคำทางจิตวิทยา หมายถึง การเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง ต้องเล่าเรื่องราวให้อีกฝ่ายฟัง ไม่เพียงแค่จุดแข็งเท่านั้น แต่ยังต้องแสดงถึงความทุกข์ จุดด้อย รวมถึงประสบการณ์อันเลวร้ายในอดีตด้วย การกลัวที่จะเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง ถือเป็นจิตวิทยาโดยธรรมชาติของมนุษย์ การเปิดเผยตัวตนคือ การเปิดเผยความลับสำคัญของตัวเอง ให้คนอื่นรู้แบบที่ไม่เคยพูดกับใครมาก่อน ถ้าเป็นไปได้ก็ไม่มีใครอยากพูดหรอก เรื่องนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยความกล้าเป็นอย่างมาก ทุกอย่างเริ่มจากต้องกล้าเปิดเผยตัวตนก่อน

การเปิดเผยตัวตนซึ่งกันและกัน การเปิดเผยตัวตนใช่ว่าจะทำกับใครก็ได้ เพราะถ้าทำกับคนที่ไม่คุ้นเคย จะไม่ได้รับความเข้าใจกลับมา การเปิดเผยตัวตนจะค่อย ๆ เปิดประตูหัวใจของอีกฝ่าย แล้วเมื่อมีฝ่ายเปิดเผยตัวตนกลับ ประตูหัวใจก็จะเริ่มเปิดด้วยเช่นกัน นี่คือความสัมพันธ์ที่จะช่วยเยียวยาซึ่งกันและกัน สิ่งที่ควรระวังคือ ถ้าการเปิดเผยตัวตนไม่สามารถเปิดประตูหัวใจของอีกฝ่ายได้ก็ไร้ความหมาย ดังนั้น การปรึกษาความทุกข์จะต้องเลือกจากคนที่สนิทสนม หรือเชื่อใจได้ในระดับหนึ่ง สิ่งที่ควบคุมได้คือจะปรึกษาหรือไม่ปรึกษา การเปิดเผยตัวตนจะช่วยให้อีกฝ่ายเปิดใจ เพิ่มความสนิทสนมและยอมรับมากขึ้น ถ้าไม่ปรึกษาระยะห่างระหว่างสองคนจะห่างกันตลอดไป กุญแจชิ้นสำคัญสำหรับคลายทุกข์คือความกล้าที่จะปรึกษา ถึงจะถูกอีกฝ่ายไม่ชอบหน้า หรือปฏิเสธก็ไม่เป็นไร เพราะสุดท้ายก็ยังดีกว่าไม่ได้เริ่มปรึกษาใครเลยนั่นเอง

ความกล้าที่จะเปลี่ยนเป็นคำพูดจะช่วยรักษาชีวิต เมื่อจนมุมมักจะขาดวิสัยทัศน์ ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง และมองทุกอย่างในแง่ลบไปเสียหมด นี่เป็นนิสัยในทางจิตวิทยาที่ทุกคนมี การมองไม่เห็นว่า มีคนที่เป็นห่วงหรือคนที่พร้อมให้คำปรึกษานั้น ถือเป็นอคติทางความคิดอย่างชัดเจน ในความเป็นจริงมีคนที่คอยรับฟัง หรือคนที่ให้คำปรึกษาอย่างแน่นอน เมื่ออาการไม่ยอมปรึกษาไปถึงขีดสุด จะถูกความผิดหวังครอบงำว่า ไม่มีใครสนใจ และไม่นานจะเริ่มไร้ทางออก มีทางเดียวคือต้องหายตัวไป จนอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด เปลี่ยนความทุกข์ให้เป็นคำพูด เข้าใจว่าลำบากใจที่จะเล่าปัญหาของตัวเองให้คนอื่นฟัง แต่ถ้ากล้าพูดมันออกมา จะสามารถแบ่งปันความทุกข์กับอีกฝ่าย และจะได้รับความเห็นอกเห็นใจกลับมา ไม่มีใครรู้ว่ากำลังต่อสู้กับปัญหานั้น เว้นแต่จะพูดมันเอง

  1. เมื่อละบายแก๊สออก ก็จะสบายใจขึ้น คำว่าปรึกษามีความจริงจังแฝงไว้อยู่ จึงมักไม่กล้าที่จะไปปรึกษาใครง่าย ๆ ถ้าการปรึกษานั้นเหมือนการมีกำแพงสูงตั้งขวางอยู่ ไม่เป็นไร ไม่ต้องปรึกษาก็ได้ ทำใจเย็น ๆ แล้วมาระบายแก๊สกันเถอะ ระบายแก๊สคือ ถ้าปล่อยปัญหาและความทุกข์เอาไว้ อารมณ์ด้านลบ เช่น ความเครียดและความทรมาน จะค่อย ๆ สะสมจนเยอะขึ้น ลองจินตนาการถึงลูกโป่งก็ได้ มันคือลูกโป่งแห่งความเครียดและอารมณ์ด้านลบ ถ้าเก็บมันไว้โดยไม่ละบายแก๊สออก มันจะขยายใหญ่ขึ้นและเตรียมที่จะแตก ถ้าปล่อยทิ้งไว้ต่อไป มันก็คงระเบิดออกที่ไหนสักแห่ง การระบายแก๊สก็แค่พูดสิ่งที่กำลังคิดหรือรู้สึกออกมา จะเรียกว่าการคร่ำครวญก็ได้ แค่พูดออกมาว่าทรมาน ความเครียดและความรู้สึกเชิงลบก็จะหายไป

สิ่งที่ห้ามทำในการระบายแก๊ส อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่า จะระบายทุกอย่างออกมาได้ บางครั้งอาจตั้งใจระบายแก๊สออกมา แต่การระบายแก๊สยังมีเรื่องควรระวัง ที่ไม่ควรทำด้วย คือ

นินทา ถ้าพูดเรื่องเดิม 3 ครั้งขึ้นไปภายใน 2 สัปดาห์ เรื่องนั้นจะถูกเก็บเป็นความทรงจำ  ประสบการณ์เชิงลบควรปล่อยด้วยการระบายไม่ใช่ตอกย้ำ

ตอกย้ำประสบการณ์ ยิ่งพูดถึงประสบการณ์อันเจ็บปวดมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นการเขียนทับความทรงจำ ส่งเสริมให้มันรุนแรงขึ้น และส่งผลตรงข้ามกับการคลายทุกข์ คลายเครียด และขจัดอารมณ์ด้านลบอย่างแท้จริง

ด้อยค่าตัวเอง คนจำนวนมากสร้างความเสียหายให้ตัวเอง ด้วยการทิ้งขยะจำนวนมากลงมหาสมุทรแห่งจิตใต้สำนึกของพวกเขาทุกวัน ถ้าพูดคำที่ด้อยค่าตัวเอง 10 ครั้งทุกวัน เท่ากับจะพูดคำแง่ลบไปมากกว่า 3,000 คำในปีเดียว คำพูดตำหนิตัวเองหรือคำนินทาของคนอื่น ก็เหมือนกับขยะในทะเล เมื่อโยนทิ้งไปแล้ว มันจะหายไปทันที และดูเหมือนจะไม่ส่งผลใด ๆ แต่มันจะจมลงสู่ก้นทะเล และสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ก้นทะเลสำหรับสมองคือ ความไม่รู้ตัว ขยะด้านลบจะสะสมอยู่ในห้วงแห่งความไม่รู้ตัวจนท่วมท้นขึ้นมาจนไม่ทันตั้งตัว

เมื่อเผลอพูดคำเชิงลบออกไป อะมิกดาลาจะตื่นตัว และนอร์อะดรีนาลินจะหลั่งออกมา นอร์อะดรีนาลินเป็นตัวเพิ่มหน่วยความจำที่แข็งแกร่งที่สุด คำพูดเชิงลบจะติดอยู่ในสมอง เพราะผลจากการเพิ่มความจำนี้ อาจจินตนาการถึงขยะที่จมอยู่ในทะเลซึ่งขยายเป็น 10 เท่าของขนาดเดิม เมื่อมันดูดซับน้ำเข้าไปก็ได้

คนที่เปลี่ยนได้ทันทีกับคนที่เก็บไปตลอด ประสบการณ์แง่ลบพูดครั้งเดียวก็ลืม นี่เป็นกฎ 1 ครั้ง ของการระบายแก๊ส การนินทาหรือผู้ประสบการณ์ที่เจ็บปวดซ้ำ ๆ นาน ๆ ไม่ได้ช่วยคลายเครียด แต่กลับจะเป็นการฝึกให้อะมิกดาลาตื่นตัวมากขึ้น แล้วจะวิตกกังวลต่อไปเรื่อย ๆ วงจรแง่ลบที่วนไปเวียนมามีแต่จะสร้างความเสียหาย และไม่ได้สร้างผลดีสักข้อเดียว

มีเพื่อนคนเดียวก็พอ คนประมาณ 60% ไม่มีเพื่อน หรือมีเพื่อนเพียงคนเดียว ถ้าไม่มีเพื่อนหรือมีเพื่อนเพียงคนเดียว นี่ถึงเป็นเรื่องปกติ อย่ากังวลหรือรู้สึกแย่ อย่าปล่อยให้ตัวเองอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีเพื่อนให้ปรึกษา ถ้าเป็นปัญหาเล็กน้อยมันมักแก้ไขได้เพียงคุยกับเพื่อน ถึงจะกำจัดมันทันทีไม่ได้ แต่จะได้ที่ปลดปล่อยความเครียด และอารมณ์ด้านลบด้วยการระบายแก๊ส ถ้าไม่ได้ทำเช่นนั้น ความเครียดคงสะสมมากขึ้นทุกวัน

วิธีหาเพื่อนแบบง่าย ๆ เมื่อพูดถึงการหาเพื่อน หลายคนจะนึกถึงภาพของกลุ่มเพื่อน 3-4 คน โดยเฉพาะกลุ่มของนักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลาย แต่กับสังคมวัยทำงานคงไม่มีใครได้เที่ยวเล่นทุกวันหลังเลิกงาน แค่รวมกัน 2 คนได้ก็ดีมากแล้ว ถึงจะใช้คำว่าเป็นเพื่อนหรือหาเพื่อนก็ไม่จำเป็นต้องประกาศว่ามาเป็นเพื่อนกันเถอะ เพราะถ้าค้นหาสิ่งที่มีเหมือนกันและติดต่อกันบ่อย ๆ จะกลายเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันได้โดยธรรมชาติสิ่งสำคัญอยู่ที่ความเหมือนกัน แค่พบสิ่งที่เหมือนกันเพียงอย่างเดียว บทสนทนาก็จะมีชีวิตชีวาจะพูดคุยกันได้มากขึ้น และความสัมพันธ์และจะลึกซึ้งขึ้นเองตามธรรมชาติ

การฝึกความเห็นอกเห็นใจที่ดีที่สุด การมีเพื่อนสักคนให้ปรึกษาเวลามีปัญหานับเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก่อนที่จะขอให้ใครรับฟังความทุกข์ การรับฟังความทุกข์ของคนอื่นไปก่อนก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะการปรึกษาคือการเปิดเผยตัวตน เมื่อรับฟังความทุกข์ของอีกฝ่ายจะสนิทกันมากขึ้นอย่างแน่นอน มีคำกล่าวที่ว่าลงเรือลำเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างการขอคำปรึกษากับการให้คำปรึกษา เป็นเหมือนของสิ่งเดียวกันที่มี 2 ด้าน

ถ้ามีความสัมพันธ์กับเขาในฐานะคนรับฟัง เมื่อมีเรื่องทุกข์ใจบ้างเขาเองก็จะรับฟังด้วยเช่นกัน การรับฟังช่วยให้มีความเห็นอกเห็นใจเพิ่มขึ้น การรับฟังคำปรึกษาของผู้อื่นน่ารำคาญหรือรู้สึกกดดันในบางครั้ง แต่มันจะเป็นวิธีฝึกความเห็นอกเห็นใจได้ดีที่สุด ความเห็นใจช่วยรักษาคนอื่นได้ และจะสร้างความสัมพันธ์ที่เข้าอกเข้าใจกันและกันได้ แล้วจะกลายเป็นคนที่คนอื่นอยากปรึกษาด้วย

  1. แค่เขียนก็มีความสุขขึ้น ทางออกสุดท้ายเมื่อไม่มีใครให้ปรึกษา ใครยังคิดว่าตัวเองไม่มีใครให้ปรึกษาหรือไม่มีเพื่อน ถึงจะไม่มีเพื่อนเลยสักคนก็ยังระบายแก๊สได้ แค่หยิบสมุดโน๊ตหรือปากกาออกมาเขียนความทุกข์ลงไปบนนั้นก็ทำได้แล้ว แค่เขียนความกังวลก็จะหมดไป ไม่ จำเป็นต้องมีใครอีกคน แค่คนเดียวก็พอแล้ว นอกจากนั้นแค่มีเวลาสัก 15-30 นาทีก็เสร็จแล้ว ถ้าคิดที่จะทำให้ทำตอนนี้เลยก็ยังได้ จริง ๆ แล้วการเขียนความทุกข์ของตัวเองเป็นเรื่องที่ยากและ หนักหนามากสำหรับจิตใจ เพราะจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับส่วนที่ไม่ดีของตัวเองอย่างข้อเสีย จุดด้อย และประสบการณ์อันเจ็บปวดที่ไม่อยากจะคิดถึง

แค่เขียนความทุกข์จะคลายลง 90% การสรุปความทุกข์ให้กระชับและชัดเจนเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถ้าสรุปความทุกข์ของตัวเองได้อย่างชัดเจนและกระชับ ก็เท่ากับว่าความกังวลกว่า 90% ถูกคลี่คลายลงไปแล้ว ถ้าเปลี่ยนความทุกข์ให้มองเห็นได้ด้วยการเปลี่ยนมันเป็นคำพูด ก็จะรับมือกับมันได้ด้วยตัวเอง จะค้นหาวิธีรับมือจากในอินเตอร์เน็ตก็ได้ จะซื้อหนังสือมาอ่าน หรือจะไปปรึกษาเพื่อนหรือคนรู้จักก็ได้

ผลลัพธ์อันน่าทึ่งของการเขียน มีการทดลองด้านจิตวิทยามากมาย เกี่ยวกับการแสดงออกเป็นลายลักษณ์อักษร ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ เช่น ช่วยเพิ่มการยอมรับในตัวเอง เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ มีภูมิคุ้มกันดีขึ้น เข้าโรงพยาบาลน้อยลง ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น อาการซึมเศร้าดีขึ้น และความสุขเพิ่มขึ้น การศึกษาของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดในอังกฤษ ให้ผู้ที่มีปัญหาด้านการนอนหลับ 14 ราย ลองใช้วิธีเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเวลา 3 วัน พบว่าเวลาที่ใช้ในการเคลิ้มหลับของพวกเขาดีขึ้น จากที่ก่อนการทดลองต้องใช้เวลาถึง 40 นาที กลายเป็นลดลงเพียง 14 นาที

วิธีแสดงออกเป็นลายลักษณ์อักษรมีหลายรูปแบบ แต่วิธีที่นิยมใช้กันมีดังต่อไปนี้ บรรทึกแง่บวก 3 บรรทัดเป็นงานที่ต้องทำประจำก่อนเข้านอน คนที่มีอารมณ์ด้านลบมาก ๆ  จำเป็นต้องระบายอารมณ์นั้นออกมา แต่คนอื่น ๆ ทั่วไปไม่จำเป็นต้องบังคับตัวเองให้นึกเหตุการณ์เชิงลบและเขียนมัน การฝืนนึกและเขียนตอกย้ำเรื่องที่อาจลืมมันไปได้เอง เป็นผลเสียมากกว่าผลดี เป็นความผิดที่ดีที่จะเขียนบันทึกแง่บวก 3 บรรทัดก่อนนอน และนอนโดยนึกถึงเรื่องสนุกที่สุดที่เกิดขึ้นในวันนี้ เพื่อจบวันด้วยอารมณ์แห่งความสุข

การเปลี่ยนเป็นคำพูดไม่เกี่ยวอะไรกับเขียนเก่งหรือไม่เก่ง สิ่งสำคัญคือถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด ไม่ต้องสนว่าจะเก่งหรือไม่เก่ง ในช่วงแรกไม่ว่าจะพูดหรือเขียนอาจนึกคำไม่ค่อยออก นั่นถือเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อเขียนต่อไปเรื่อย ๆ หรือจะแค่ระบายแก๊สออกมาก็ได้ อาการต่อต้านจะหมดไปในไม่ช้า แล้วจะเปลี่ยนเป็นคำพูดได้ดีขึ้นในช่วงเวลาอันสั้น ถ้าทำติดต่อกันได้ถึง 3 เดือน จะเปลี่ยนเป็นคำพูดได้ง่ายกว่าเดิม นี่ถือเป็นการผ่อนคลายความเครียด ความทุกข์จะเบาลงมาก อีกไม่นานทุกอย่างก็จะคลี่คลายไปได้

บทที่ 8 ถ้าลงมือทำความทุกข์ก็จะหายไป

เมื่อไม่ลงมือทำความทุกข์ก็จะเพิ่มขึ้น อาจกล่าวได้ว่ารูปปั้นคนครุ่นคิดของรอแด็งเป็นรูปสัมฤทธิ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก คนช่างคิดหรือคนเป็นทุกข์ถูกจินตนาการว่าต้องนั่งเท้าคางอยู่บนเก้าอี้ ไม่ก็ยกมือขึ้นกุมศีรษะ แต่ที่จริงแล้วการนั่งคิดอยู่อย่างนั้น ไม่ทำให้ความทุกข์คลี่คลายลงไปได้ ถ้าเดินไปด้วยคิดไปด้วย จะแก้ไขเรื่องที่กังวลได้ในทันที ถ้าเดินไปด้วยทุกข์ไปด้วย ก็จะนำไปสู่การคลี่คลายความทุกข์ เดิมทีการนั่งอยู่กับที่นาน ๆ เพราะไม่ดีต่อสุขภาพอยู่แล้ว

ว่ากันว่าถ้านั่งติดต่อกันเกินชั่วโมงอายุขัยจะสั้นลง 22 นาที แล้วถ้านั่งไปเรื่อย ๆ การทำงานของสมองก็จะลดลง ในทางกลับกันแค่ยืนขึ้นสมองก็จะกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาแล้ว ถ้าออกกำลังกายสมองก็จะได้รับการกระตุ้นอย่างมาก มีผลสำรวจออกมาว่าคนที่นั่งมากกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน มีสุขภาพจิตแย่กว่าคนที่นั่งไม่เกิน 6 ชั่วโมงถึง 3 เท่า ถ้านั่งจมทุกข์นาน ๆ ก็จะส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจด้วยเหมือนกัน

  1. จัดระเบียบชีวิต นอน ออกกำลังกาย เดินตอนเช้า ความทุกข์ ความเจ็บปวด และความคิดด้านลบที่อยู่ในใจ มักผุดขึ้นมา ไม่ว่าทำอย่างไรก็สลัดไปจากหัวไม่ได้สักที สภาวะที่เปลี่ยนไม่ได้นี้จะเกิดกับคนส่วนใหญ่ที่มีความทุกข็ใจอย่างมาก วิทยาศาสตร์เรียกอาการนี้ว่า สมองส่วนหน้าเหนื่อยล้า ซึ่งมีหน้าที่เปลี่ยนความคิดในหัว หรือถ้าเป็นสารในสมอง เซโรไทนินคือตัวทำหน้าที่หลัก พูดที่เข้าใจง่าย ๆ คือ คนที่เปลี่ยนความคิดหรืออารมณ์ไม่ได้มีสมองส่วนหน้าเหนื่อยล้า และมีเซโรโทนินน้อย

สภาวะสมองเหนื่อยล้าไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด ถ้าตกอยู่ในสภาพที่มีเรื่องให้กังวลใจ  งานยุ่ง หรือนอนไม่หลับติดต่อกันไป 1-2 อาทิตย์ ไม่ว่าใครก็สมองล้าได้ นอกจากนี้ เมื่อสมองล้า จะควบคุมอารมณ์ได้ยาก มีแนวโน้มที่จะหงุดหงิดง่าย โกรธง่าย และมักคิดลบ จากนั้นก็จะคิดอย่างมีเหตุผลไม่ได้ ในภาวะที่อารมณ์แปรปรวน ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีก็จะยิ่งแย่ลง จะได้รับการปฏิบัติที่ย่ำแย่จากผู้อื่นมากขึ้นกว่าเดิม ความสัมพันธ์กับผู้อื่นจะเลวร้ายลงมาก และจะจัดการไม่ได้อีกต่อไป

อีกทั้ง ถ้าสมองเหนื่อยล้ามากขึ้น จะสูญเสียความกระตือรือร้นและแรงจูงใจ ไม่ว่าจะทำอะไร ทุกอย่างจะกลายเป็นเรื่องน่ารำคาญ แล้วในที่สุด อาการเหล่านี้จะพัฒนาเป็นความเจ็บป่วยทางจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า การศึกษาของมหาวิทยาลัยเพนซินเวเนียในสหรัฐอเมริกา พบว่าการนอนแค่ 6 ชั่วโมงต่อเนื่องเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จะลดสมาธิและทำให้ร่างกายมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการอดนอน คนที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงเท่ากับทำงานแบบอดหลับอดนอนทุกวัน แล้วถ้าคิดจมกับความทุกข์ในสภาพเหมือนอดนอนมาทั้งคืน จะหาวิธีรับมือดี ๆ ไม่ได้ ต้องมีร่างกายและจิตใจที่พร้อมจึงจะคลายทุกข์ได้

สมองที่เหนื่อยล้า จะทำให้อะมิกดาลาซึ่งเป็นเซ็นเซอร์เตือนภัย มีความอ่อนไหวสูงตอบสนองทันที แม้เป็นเพียงเรื่องอันตรายเล็ก ๆ น้อย ๆ เมื่ออะมิกดาลาตื่นตัวและร้องเตือน สถานการณ์ฉุกเฉิน มันจะทำให้รู้สึกไม่สบายใจ วิตกกังวล และกลัว เมื่ออารมณ์ด้านลบ เช่น ไม่สบายใจ วิตกกังวล และกลัวเกิดขึ้นทุกวัน สมองจะอ่อนล้ามากขึ้น ยิ่งสมองเหนื่อยล้ารุนแรงขึ้น ความไวของต่อมอะมิกดาลาจะยิ่งเพิ่มขึ้น แล้วจะไม่อาจสลัดความกังวลไปจากหัวได้เลยตลอดทั้งวัน

วิธีดึงบังเหียนอมิกดาลากลับคืนมา เมื่อสมองเหนื่อยล้าน้อยลง มันจะส่งสัญญาณเตือนความวิตกกังวลออกมาน้อยลง แม้สาเหตุจะยังไม่ถูกแก้ไขก็ตาม แล้วก็จะเลิกไม่สบายใจหรือเป็นกังวลกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ วิธีช่วยให้สมองเหนื่อยล้าน้อยลงคือ การจัดการร่างกายและจิตใจ เช่น นอนหลับ ออกกำลังกาย เดินในตอนเช้า สิ่งที่คนที่ไม่สบายใจ กังวล หรือทุกข์ใจอะไรบางอย่างควรทำเป็นอย่างแรกคือ เดินในตอนเช้า

เพราะการเดินในตอนเช้า ๆ กระตุ้นให้เซโรโทนินทำงาน มันจะ ถูกกระตุ้นเมื่อได้รับแสงแดด ได้เคลื่อนไหวเป็นจังหวะ และเคี้ยวอาหาร ถ้าใช้เวลาเดิน 15 นาทีในตอนเช้า ท่ามกลางแสงแดดแล้วกินอาหารเช้าอร่อย ๆ เซโรโทนินจะถูกกระตุ้นอย่างเต็มที่  แสงอาทิตย์เป็นสัญญาณเริ่มต้นทำงานของโรงงานเซโรโทนิน คนที่เอาแต่นอนจนเกือบจะถึงบ่าย หรือคนที่ทำงานที่บ้านโดยไม่ได้ออกไปข้างนอกเลยสักก้าวเดียว โรงงานเซโรโทนินก็จะไม่เริ่มทำงาน สุดท้ายแล้วก็จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนเซโรโทนิน

ลองปรับปรุงการใช้ชีวิตดู ให้คลายความทุกข์โดยการนอนหลับ ออกกำลังกาย เดินในตอนเช้า ใช้ชีวิตอย่างมีระบบหรือผ่อนคลาย มองเผิน ๆ มันอาจดูไม่เกี่ยวข้องกัน แต่ที่จริงแล้วเกี่ยวข้องอย่างมากเลย

  1. เปลี่ยนจากทำไม่ได้ให้เป็นทำได้ สมมุติว่าตอนนี้ที่บ้านมีหินขนาดใหญ่อยู่ 1 ก้อน และมีหินก้อนเล็ก ๆ อยู่รอบ ๆ อีกประมาณ 10 ก้อน ถ้าอยากจะย้ายหินเหล่านั้นออกเพื่อให้สวนดูดี คนส่วนใหญ่ก็คงจะสนใจหินก้อนใหญ่ที่ดีเด่นมากที่สุด และคงจะพยายามแทบตายเพื่อขจัดมันออกไป แต่หินก้อนใหญ่ไม่ได้เอาออกไปได้ง่าย ๆ จึงสูญเสียพลังงานทางจิตใจไปเยอะมาก กับการคิดว่าทำยังไงดี

ในทางกลับกัน ตอนนี้ยังมีหินก้อนเล็กที่เคลื่อนย้ายได้ทันทีกระจายอยู่เต็มไปหมด ก่อนอื่นให้ลองหยิบหนึ่งในหินก้อนเล็กที่ใกล้ตัวที่สุดออกก่อน จากนั้นก็เอาออกอีกก้อน ในเวลาไม่ถึง 10 นาทีเมื่อเอาหิน 10 ก้อนออกไปได้แล้ว สวนก็คงจะดูดีขึ้นมาพอสมควร อันดับแรกให้ทำเรื่องที่ควบคุมได้ไปก่อน หินก้อนเล็กเอาออกไปได้ง่าย เริ่มจากตรงนั้นก็ได้ ให้เริ่มจากแก้ไขปัญหาเล็กหรือเรื่องที่ทำได้ก่อน ถ้ายังมีแรงเหลือค่อยไปจัดการปัญหาใหญ่ต่อก็ได้ จดจ่อกับสิ่งที่ทำได้ตอนนี้ อะไรที่ทำไม่ได้ก็พักไว้ก่อน ถ้ามีเวลาค่อยคิดหรือลงมือทำยังไม่สายเกินไป

เมื่อเคลื่อนไหวความไม่สบายใจก็จะหายไป ทำไมต้องลงมือทำ นั่นเป็นเพราะอะมิกดาลาจะสงบลงเมื่อลงมือทำ แล้วจะตัดความไม่สบายใจ และความกังวลที่มากเกินไป ออกจากต้นตอได้ เดิมทีบทบาทของอะมิกดาลาคือ การรับรู้อันตราย เช่น เวลาเจอสัตว์ป่า อามิกดาลาจะตื่นตัว สารนอร์อะดรีนาลินในสมองจะหลั่งออกมา เมื่อนอร์อะดรีนาลินหลั่ง สมาธิ และการตัดสินใจจะพุ่งสู่จุดสูงสุดในทันที นำไปสู่การตัดสินใจอย่างฉับพลันว่าจะสู้หรือหนี ถ้าตัดสินว่าอันตรายหนีก็จะวิ่งหนีให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความวิตกกังวลจะลดลงเมื่อลงมือทำ แต่ความวิตกกังวลและความกลัวจะเพิ่มขึ้น ถ้าไม่ทำอะไรเลย นี่คือวิธีทำงานของสมอง

  1. เรื่องที่ควรหยุดเพื่อคลายทุกข์ ถ้ายังคลายทุกข์ลงไม่ได้ แสดงว่ากำลังทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเกือบทั้งหมดในรายการต่อไปนี้ ติดมือถือมากเกินไป นอนดึก ดื่มหนัก นินทา สนใจแต่เรื่องลบ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวการของอาการสมองเหนื่อยล้า ถ้าไม่ปล่อยวางในตอนนี้ ไม่ว่าจะพยายามเปลี่ยนมุมมอง หรือพูดออกมามากแค่ไหน ความทุกข์ก็จะไม่หายไป การเปลี่ยนความคิดและจิตใจไม่ใช่เรื่องง่าย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือวิถีชีวิตก็ไม่ง่ายเช่นกัน แต่ถ้าทำรับรองได้ผลแน่นอน และมีผลในทันทีด้วย

1.สิ่งที่ควรทำ อ่านอย่างถูกต้อง สิ่งที่ควรหยุด ตีความผิด วิธีจัดการปัญหาได้ง่าย ๆ โดยใช้วิธี เช่น ค้นหาและอ่านหนังสือ แต่สิ่งที่น่าผิดหวังก็คือ คนส่วนใหญ่ยังคลี่คลายความทุกข์ไม่ได้ ปัญหายังไม่ถูกแก้ คงมีคนจำนวนมากที่อ่านหนังสือไม่ถูกต้อง ถ้าจะอ่านให้ถูกต้อง ต้องอ่านมันให้ได้ดังต่อไปนี้ อ่านให้ถูกต้องตามหลักภาษา อ่านตามบริบทที่ผู้เขียนพยายามจะสื่อ อย่าเข้าใจเจตนาของผู้เขียนผิด ถอดอคติทิ้ง อ่านอย่างเป็นกลาง

ถ้าไม่เข้าใจเนื้อหาของหนังสืออย่างถูกต้อง การอ่านให้มากก็ไม่มีความหมายอะไร แล้วถ้าลงมือทำทั้งที่ยังเข้าใจผิด ผลที่ได้จะกลับกลายเป็นลบ ค่าอ่านโดยมีอคติจะเข้าใจมันด้วยความคิดที่ตายตัวเท่านั้น ไม่มีทางเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และไม่มีการเติบโต ผลค่อนข้างเป็นลบ การค้นหาและการอ่านเป็นวิธีขจัดความทุกข์กับความวิตกกังวลที่ได้ผลมาก แต่ถ้าอ่านผิดและเข้าใจเนื้อหาแบบผิด ๆ จะยิ่งเพิ่มเมล็ดพันธุ์ของความไม่ปลอดภัย จะยิ่งฝังลึกลงไปอีก เป็นการคิดหรือทำผิดวิธี ก่อนอื่นมาปรับนิสัยให้ร่างกาย และพัฒนาความเข้าใจในการอ่านกันดีกว่า เริ่มจากลองเขียนรีวิวหนังสือ และเขียนบันทึกความประทับใจไว้ แม้จะเขียนเพียง 3 เล่มทักษะการอ่านจะดีขึ้น

  1. สิ่งที่ควรทำ ปล่อยใจให้ล่องลอย สิ่งที่ควรหยุด รับข้อมูลมากเกินไป หนึ่งในสาเหตุใหญ่ของความทุกข์คือ ใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไป กล่าวกันว่าสมองของมนุษย์ใช้ทรัพยากรถึง 80-90% ในการประมวลผลข้อมูลที่ได้จากการมองเห็น ยิ่งใช้สมองและตาซึ่งเหนื่อยล้าจากงาน ข้อมูลจากสมาร์ทโฟนยิ่งนำไปสู่ความเหนื่อยล้ามากกว่าการพักผ่อน นี่ก็เหมือนกับการเฆี่ยนม้าที่กำลังวิ่งแข่งอย่างสุดกำลัง แต่ไม่ว่าจะไปที่ใดภาพที่ทุกคนจ้องไปที่สมาร์ทโฟน ได้กลายเป็นภาพที่คุ้นตาไปเสียแล้ว

ดังนั้น มาลองปล่อยใจให้ล่องลอยกันดีกว่า การปล่อยใจให้ล่องลอยเป็นสิ่งสำคัญมากกับสมอง เพราะมันทำให้โครงข่ายในสมอง ที่ทำงานในขณะพัก (Default Brain Network: DMN) จะเริ่มทำงานอยู่ในสมอง DMN คือ สถานะพร้อมทำงานของสมอง ในสถานะพร้อมทำงานนี้ จะจำลองสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จัดระเบียบความคิด บูรณาการประสบการณ์ และความทรงจำในอดีต และวิเคราะห์สถานการณ์ที่เป็นอยู่ ในขณะที่นึกถึงภาพและความทรงจำต่าง ๆ สมองกำลังเตรียมการทำให้อนาคตดีขึ้น

บางครั้งลองปล่อยใจให้ล่องลอยบ้าง เพราะ DMN จะคลายความทุกข์ให้ การเหม่อลอยไม่ใช่เรื่องเสียเวลา แต่เป็นสุดยอดเทคนิคคุ้มค่าที่ยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัว หรืออาจจะ 3 ตัวเลย

  1. สิ่งที่ควรทำ ใช้ชีวิตอย่างเป็นระเบียบ สิ่งที่ควรหยุด นอนดึก คนที่งานยุ่งหรือมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นแย่ เมื่อกลับถึงบ้านแล้วทั้งร่างกายและจิตใจจะไร้เรี่ยวแรงไม่มีกำลังเหลือพอไปออกกำลังกายหรืออ่านหนังสือ แต่สามารถเล่นเกมหรือดูซีรีย์ได้แม้จะหมดแรง นอกจากนี้ตอนกำลังเล่นเกมดูซีรีย์ ยังไม่ต้องคิดถึงสิ่งที่ไม่อยากคิดถึง คนที่เหนื่อยหรือเครียดส่วนมาก จึงชอบเล่นเกมและดูซีรีย์ เพราะทั้งสองสิ่งนี้ช่วยให้พวกเขาหลบหนีจากความทุกข์ได้ดี

บางคนอาจแย้งว่ามันช่วยเปลี่ยนอารมณ์ได้ แต่ความสนุกของเกมหรือซีรีย์เป็นความเพลิดเพลินที่มาพร้อมกับความตื่นเต้น และสิ่งเหล่านี้ซึ่งทำให้สารโดพามีน และอะดรีนาลินหลั่งออกมา แต่สิ่งที่สมองอันเหนื่อยล้าต้องการจริง ๆ คือ การผ่อนคลาย

การนอนดึกไม่ดีต่อสุขภาพอย่างมาก เมื่อนาฬิกาชีวิตเปลี่ยน ไม่เพียงแต่สภาพจิตใจเท่านั้น แต่ยังเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ อีกด้วย นี่เท่ากับว่าไม่สามารถกำจัดความเหนื่อยล้าของวันก่อน และยังอาจป่วยเพิ่มได้ด้วย

จงใช้ชีวิตอย่างมีระเบียบ การใช้ชีวิตอย่างมีระเบียบหมายถึง การเข้านอนและตื่นนอนเวลาเดิมทุกวัน แนะนำให้นอนมากกว่า 7 ชั่วโมง ถ้านอนน้อยกว่าถือว่าพักผ่อนไม่เพียงพอ

  1. สิ่งที่ควรทำ เลิกเหล้าหรือดื่มแต่พอประมาณ สิ่งที่ควรหยุด ดื่มมากเกินไป อีกสิ่งหนึ่งที่คนส่วนใหญ่ทำเวลาเครียดคือดื่มเหล้า แต่อยากให้ทุกคนรู้ไว้ว่าการดื่มเหล้าไม่ได้ช่วยคลายความเครียด มันกลับยิ่งทำให้เครียดมากขึ้นด้วย การดื่มเหล้าทำให้คุณภาพการนอนย่ำแย่ เวลานอนจะสั้นลง และเวลานอนหลับได้ไม่ลึก นอกจากนี้การดื่มทุกวันจะเพิ่มฮอร์โมนความเครียด มีหลักฐานทางชีววิทยา ที่เห็นว่าความเครียดเพิ่มขึ้นมาอย่างชัดเจน นอกจากนี้การดื่มเหล้าทุกวันยังลดความสามารถในการจัดการกับปัญหา และยังลดความสามารถในการรับมือกับความเครียดด้วย การดื่มเหล้าไม่ได้ช่วยคลายเครียดแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับมีโทษมากมาย และไม่เกิดประโยชน์อะไรทั้งสิ้น
  2. สิ่งที่ควรทำ จดจ่อแต่สิ่งที่เป็นบวก สิ่งที่ควรหยุด จดจ่อแต่สิ่งที่เป็นลบ สมมุติว่ามีสิบเหตุการณ์เกิดขึ้นใน 1 วันในจำนวนนั้นมี 5 เหตุการณ์เป็นเหตุการณ์ที่สนุก ส่วนอีก 5 เหตุการณ์ที่เหลือเป็นเหตุการณ์ที่เจ็บปวด ทรมาน และเลวร้าย ในตอนท้ายของวันจะต้องนึกถึงเหตุการณ์ขึ้นมา 3 เหตุการณ์ คิดว่าตัวเองจะจำเหตุการณ์ไหนได้บ้าง

คนที่จำ 3 เหตุการณ์ในเชิงบวกได้ จะคิดว่าวันนี้สนุก และเป็นอีกวันที่มีความสุข ส่วนคนที่จำเหตุการณ์เชิงลบ 3 เหตุการณ์ได้ จะคิดว่าวันนี้แสนทรมาน และเป็นอีกวันที่เลวร้ายที่สุด คนที่คิดลบอย่างรุนแรง แม้ความทุกข์หนึ่งจะถูกแก้ไขไปแล้ว เขาก็จะหยิบความทุกข์อื่นขึ้นมาอีก เขาจึงไม่มีวันหลุดพ้นจากความทุกข์ หรือความทรมานไปตลอดชีวิต

ถ้าอยากหลุดพ้นจากความทุกข์ และใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข สิ่งสำคัญคือต้องเลิกสนใจเรื่องเชิงลบและหันไปสนใจเรื่องเชิงบวก ปล่อยวางเรื่องร้าย ๆ และหันมาหาเรื่องดี แค่เปลี่ยนมุมมอง วันที่ไม่มีความสุขก็จะกลายเป็นวันที่มีความสุขได้

บทที่ 9 สุดยอดวิธีกำจัดทุกข์

สุดยอดวิธีกำจัดทุกข์ 1 ยอมแพ้ นั่งคิดคนเดียวก็แก้ปัญหาไม่ได้ ไปปรึกษาคนอื่นก็แล้วก็ยังไม่รู้จะทำอย่างไร ทั้งที่พยายามจะทำอะไรสักอย่างแล้ว แต่ก็ไม่เป็นผลเลย ถ้าทำขนาดนี้แล้วยอมแพ้ก็ได้ ยอมแพ้เดิมเป็นศัพท์ทางพุทธศาสนา ซึ่งมาจากคำว่าเห็นแจ้ง ได้มองเห็นชัดแล้วว่าสิ่งใดที่ทำได้สิ่งใดที่ทำไม่ได้ จงล้มเลิก จงละทิ้งไป แล้วเมื่อละทิ้งจากสิ่งที่ต้องการ จะได้ปล่อยวางและเลิกยึดติดกับสิ่งต่าง ๆ

การยอมแพ้จะปล่อยจิตใจเป็นอิสระ การทุกข์ใจเกี่ยวกับสิ่งที่ทำไม่ได้ หรือควบคุมไม่ได้เลยนั้น เป็นการเสียทั้งเวลาและพลังงานทางจิตใจโดยเปล่าประโยชน์ ถ้าสุดท้ายแล้วเรื่องนั้นหมดหนทางแก้ หรือแก้ไขไม่ได้จริง ๆ ยิ่งดิ้นรนหรือพยายามต่อไปมีแต่จะยิ่งทรมาน การตัดสินใจยอมแพ้หมายถึง การหยุดเป็นทุกข์ ปล่อยความอารมณ์ด้านลบ หยุดความรู้สึก แล้วไปต่อ มันไม่ใช่การกระทำที่เลยร้ายเลยสักนิด แต่เป็นการกระทำในทางบวกอย่างมาก นับเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการกำจัดความทุกข์

สุดยอดวิธีกำจัดทุกข์ 2 ล้มเลิกปล่อยมือ มันมีสำนวนหนึ่งบอกว่า จงหนีเมื่ออยู่ในสถานการณ์คับขัน มีความหมายว่าเมื่อสถานการณ์พลิกผันจนเสียเปรียบ แทนที่จะคิดหาวิธีต่าง ๆ การหนีนับเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ถ้าฝืนตัวเองให้สู้จนแพ้จะสูญเสียทุกอย่าง สิ่งที่ต้องทำคือหนีไปก่อนกลับไปตั้งหลักใหม่ สร้างความแข็งแกร่งให้กองทัพและอาวุธ แล้วค่อยกลับมาเอาชนะในศึกหน้า เมื่อคิดดูแล้วนี่เป็นเรื่องตามธรรมชาติด้วยซ้ำ แต่คนส่วนมากกลับทำไม่ได้

การยอมแพ้หรือการล่าถอยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าพบว่าตัวเองถูกต้อนเข้าไปในสถานการณ์ที่ไร้หนทางสู้ อยากให้กล้าที่จะถอนตัวจากสถานการณ์นั้น ไม่ใช่เลิก แต่เป็นถอย ถอยเพื่อเตรียมสู้ครั้งหน้า แม้ครั้งนี้จะแพ้ แต่เอาไว้ไปชนะในครั้งหน้าก็ได้

สุดยอดวิธีกำจัดความทุกข์ 3 ทำเพื่อคนอื่น การอุทิศตนเพื่อผู้อื่นเป็นวิธีแก้ไขความทุกข์ขั้นสูงสุด ในทางจิตวิทยาของแอดเลอร์ คนที่เป็นทุกข์เรื่องต่าง ๆ จะไม่ไว้ใจคนอื่น เอาแต่ใจตัวเอง เอาผลประโยชน์ของตัวเองเป็นที่ตั้ง คิดแต่ว่าคนอื่นจะทำอะไรให้ เรียกคนเหล่านี้ว่า คนเอาแต่ได้ เพราะคิดแต่เรื่องของตัวเองโดยไม่สนใจคนอื่น จึงมองเห็นแต่ข้อเสียและข้อบกพร่องของตัวเอง การสนใจแต่เรื่องเชิงลบยังทำให้ค้นหาความทุกข์ได้เก่ง คนเอาแต่ได้จะไม่เป็นที่ต้องการ และถูกผู้อื่นรังเกียจ ก็คงเป็นเรื่องธรรมดาเพราะคิดถึงแต่ตัวเอง

จิตวิทยาในการทำเพื่อผู้อื่น หนึ่งในข้อความที่มักเขียนอยู่ในหนังสือพัฒนาตัวเองคือ เมื่อได้ทำเพื่อผู้อื่นแล้วสิ่งต่าง ๆ จะดีขึ้น การทำเพื่อผู้อื่นคือ การมีเมตตาต่อผู้อื่น ร่างกายจะหลั่งสารออกซิโตซินเมื่อทำดีต่อผู้อื่น ออกซิโตซินไม่ได้หลั่งออกมาเฉพาะในคนที่ทำดีกับผู้อื่นเท่านั้น แต่ยังถูกหลั่งในผู้ที่ได้รับการปฏิบัติอย่างใจดีนั้นด้วย การกล่าวขอบคุณช่วยให้สารเอ็นดอร์ฟินหลั่งออกมา สารเอ็นดอร์ฟินถือเป็นสารเสพติดในสมอง ที่ทำให้เกิดความรู้สึกสบาย โดยมีฤทธิ์ช่วยระงับอาการปวดได้ดีกว่ามอร์ฟีนถึง 6.5 เท่า นับเป็นสุดยอดสารแห่งความสุข

จึงอาจกล่าวได้ว่า เมื่อสารเอ็นดอร์ฟินถูกหลั่งออกมาจะเปี่ยมไปด้วยความสุข เมื่อขอบคุณแล้วเอ็นดอร์ฟินไม่เพียงถูกหลั่งออกมาจากผู้ขอบคุณเท่านั้น แต่ยังหลั่งออกมาจากคนที่ขอบคุณด้วย แล้วความสุขก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อมีใครเมตตา จงขอบคุณ เมื่อขอบคุณได้อย่างเป็นธรรมชาติ ก็จะได้รับความขอบคุณกลับมา การไปเป็นอาสาสมัครหรือการบริจาคเงิน ไม่ใช่วิธีเดียวในการทำกับผู้อื่น เรื่องมหัศจรรย์จะเกิดขึ้นเมื่อมีน้ำใจต่อผู้อื่น ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของอีกฝ่าย เพื่อที่จะมีน้ำใจต่อผู้อื่น

ถ้าไม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา และสังเกตพฤติกรรมของเขาว่า คนคนนี้กำลังลำบากอยู่หรือเปล่า ก็จะมีน้ำใจกับผู้อื่นไม่ได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งนี่คือการฝึกเอาใจใส่นั่นเอง ละทิ้งจากการคิดถึงแต่ตัวเอง เมตตาต่อผู้อื่น จะเปลี่ยนตัวเองจากคนที่เอาแต่ได้ เป็นผู้ให้ได้ด้วยการรู้จักทำเพื่อผู้อื่น จะเปลี่ยนมุมมองจากมองแต่ด้านลบของตนเอง เป็นมองแต่ด้านบวกของผู้อื่น น้ำใจ การขอบคุณ หรือการทำเพื่อผู้อื่นอาจทำไม่ง่าย แต่เมื่อทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ จะหลุดพ้นจากความทุกข์ และเต็มไปด้วยความรู้สึกด้านบวก เกิดความรู้สึกที่เป็นสุขตามมา

บทส่งท้าย

ความหมายของคำพูดเปลี่ยนชีวิต คำพูดมีพลังวิเศษซ่อนอยู่ ความมหัศจรรย์ของการเปลี่ยนเป็นคำพูดคือ แค่เปลี่ยนเป็นคำพูดก็จะรู้สึกโล่งขึ้นแล้ว นอกจากนี้คำพูดยังเป็นการให้กำลังใจผู้อื่น และยังเป็นการให้กำลังใจตัวเองได้ด้วย การเปลี่ยนเป็นคำพูดคือการพูด เขียน ถ่ายทอด และชี้แจงความคิดเห็นของตัวเองด้วย คำพูดมันเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล เทคนิคนี้ใช้ได้ทุกสถานการณ์ ทั้งเรื่องส่วนตัวและในการทำงาน ถ้าถ่ายทอดความรู้สึกและความคิดออกมาเป็นคำพูดได้ดี ชีวิตก็จะเดินไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

การเปลี่ยนเป็นคำพูดช่วยเปลี่ยนความเป็นจริง ตราบใดที่ยังไม่เปลี่ยนความคิดของตัวเองเป็นคำพูด มันก็จะไม่ถูกสื่อสารไปถึงผู้อื่น เมื่อเปลี่ยนความคิดเป็นคำพูดจนกลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน ทักษะการสื่อสารก็จะพัฒนาขึ้น แต่ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนบุคลิกที่ชอบเก็บตัว ให้กลายเป็นคนที่เปิดเผย สิ่งที่ต้องทำคือพัฒนาทักษะการพูด แม้จะเป็นเพียงคำพูดไม่กี่คำ แต่ถ้าถ่ายทอดออกมาอย่างตรงประเด็น ในเวลาที่จำเป็น ทักษะการสื่อสารจะดีขึ้นมาก ความสัมพันธ์ต่อผู้อื่นก็จะดีขึ้น ชื่อเสียงในที่ทำงานก็อาจดีขึ้นด้วย ความมหัศจรรย์ของการเปลี่ยนเป็นคำพูดนั้น มีพลังมหาศาล คิดถึงเรื่องนี้เสมอในชีวิตประจำวันและในการทำงาน

มนุษย์ขับเคลื่อนด้วยคำพูด คำพูดมีพลังที่ช่วยกระตุ้นให้เปลี่ยนแปลง พฤติกรรม คำพูดที่ดังอยู่ในใจ ยังส่งผลถึงอารมณ์ด้วย เป็นผลให้ขับเคลื่อนคน ๆ นั้นได้ เมื่ออารมณ์ถูกกระตุ้น มนุษย์จะเริ่มลงมือทำ หลักฐานวิทยาศาสตร์สามารถโน้มน้าวใจคนได้ก็จริง และยังมีความจำเป็นอย่างยิ่ง แต่ในทางกลับกัน คนอีกมากบนโลกนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยอารมณ์มากกว่าทฤษฎี จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สู่ยุคแห่งการเล่าเรื่อง เมื่อเร็ว ๆ นี้ในโลกของจิตเวชศาสตร์การแพทย์เชิงเรื่องราวกำลังได้รับความสนใจมาก มันคือการรักษาโดยพยายามฟังคำพูด ถึงเรื่องเล่าของผู้ป่วยมากขึ้น นี่ถือเป็นศาสตร์ที่ตรงข้ามกับการรักษาตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

มีกระแสในหมู่จิตแพทย์ว่า ควรสนใจเรื่องเล่าของผู้ป่วยมากขึ้น เพราะถ้าสนใจวิทยาศาสตร์และหลักฐานเกินไป อาจละเลยคำพูด เรื่องราว ประสบการณ์ และความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วยแต่ละรายไป วิกฤตโควิด 19 ได้เปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมไปมาก ยุคนี้ต้องอาศัยการเล่าเรื่องมากกว่าหลักฐาน คิดว่าคำพูดและเรื่องราวจะสะท้อนใจคนได้มากกว่า และกระตุ้นการกระทำได้เยอะมาก ในยุคที่การสื่อสารตกอยู่ในความเสี่ยง มีโอกาสพบปะกันน้อย ลง การพูดจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะฝ่าวิกฤตนี้ไปได้ ถ้ารู้จักเปลี่ยนความคิดให้เป็นคำพูดจนกลายเป็นกิจวัตร การสื่อสารจะราบรื่นขึ้น ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างจะดีขึ้น และการใช้ชีวิตก็จะง่ายขึ้น ผลที่ตามมาคือความเจ็บป่วยทางใจ และกายก็จะลดลงอย่างแน่นอน.