มองโลกให้เป็นต้องเห็นตัวเองก่อน
ผู้เขียน : Mentalist DaiGo
หนึ่งในปัญหาคลาสสิกที่ทุกคนทุกเพศทุกวัยต้องเจอ คือการไม่รู้ว่าสิ่งสำคัญสำหรับตัวเองคืออะไร เรามักจะเจอคำถามนี้ทุกครั้งที่เกิดจุดเปลี่ยนแปลงในชีวิตและเมื่อหาคำตอบไม่ได้ ชีวิตก็จะเต็มไปด้วยความกังวลใจ เพราะไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไรจึงไหลไปตามกระแสรอบตัว สับสนว่าจริงๆแล้วเราควรจะเริ่มแก้ไขปัญหาต่างๆจากจุดไหน แน่นอนว่าหนังสือเล่มนี้มีคำตอบให้คุณ
สั่งซื้อหนังสือ “มองโลกให้เป็นต้องเห็นตัวเองก่อน” ได้ที่นี่ : คลิ๊ก
บทที่ 1 : ความเชื่อที่เราคิดไปเองเกี่ยวกับการมองโลกตามความเป็นจริง 3 เรื่อง
ลองคิดตามหลักความเป็นจริงดูสิ เรามักจะได้ยินคำนี้อยู่บ่อยครั้งอย่าจมอยู่กับความคิดของตัวเองเพียงคนเดียวลองก้าวออกมาจากจุดนั้นแล้วค่อยคิด ถ้าทำตามนี้ได้จริงความกังวลและปัญหาต่างๆก็คงหมดไปอย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะมีมันสมองที่วิเศษขนาดไหนแต่เมื่อเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดแล้วสูญเสียความสามารถในการตัดสินใจอย่างรอบคอบไป ชีวิตจะได้สัมผัสกับวินาทีที่ทุกสิ่งที่สร้างมาทั้งหมดสูญเปล่าไป
ถึงกระนั้นเหตุใดการคิดโดยมองโลกตามความเป็นจริงจึงเป็นเรื่องไม่ถนัดนักสำหรับพวกเรา แม้จะเป็นทักษะที่ขาดไม่ได้ในการประสบความสำเร็จในชีวิต แต่ทำไมหลายคนยังทำอะไรโดยขาดสติอยู่ คุณคิดว่าปัญหาที่ว่านี้จริงๆแล้วคืออะไร ถ้าว่ากันตามตรงปัญหาที่กล่าวถึงมีคือ ทุกคนไม่ได้ต้องการทักษะการมองโลกตามความเป็นจริงอยู่แล้วตั้งแต่แรก
แต่สิ่งที่ผมต้องการจะเน้นย้ำตรงนี้คือ แม้ในหัวของทุกคนจะคิดว่าการมองโลกตามความเป็นจริงเป็นสิ่งที่สำคัญแต่ก็ไม่ได้มีความต้องการจะก้นบึ่งในจิตใจ ว่าอยากจะมีทักษะการมองโลกตามความเป็นจริง เหตุผลง่ายๆคือเพราะคนส่วนใหญ่ในโลกนี้ยังยึดติดกับความเชื่อที่เราคิดไปเอง เกี่ยวกับทักษะการมองโลกตามความเป็นจริงอยู่
เรื่องที่ 1 ฉันคือคนที่มองสิ่งต่างๆได้อย่างถูกต้อง
แต่โดยส่วนใหญ่มนุษย์มักมองเรื่องต่างๆด้วยสายตาที่ผิดเพี้ยน ทางด้านจิตวิทยาเรื่องสถานการณ์แบบนี้ว่าความลำเอียงเข้าข้างตน คนส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในทักษะหรือความสามารถในการตัดสินใจของตนเองสูงเกินไป และมีแนวโน้มคิดว่าตัวเองมีทักษะการมองโลกตามความเป็นจริงสูงกว่าค่าเฉลี่ยโดยทั่วไป จึงสรุปได้ว่า ภายในจิตใจของเรามักคิดไปเองว่าความสามารถของตัวเองสูงจากความเป็นจริงอยู่มาก
เรื่องที่ 2 ฉันคือคนที่รู้เรื่องเกี่ยวกับตัวเองดีที่สุด
แต่โดยส่วนใหญ่ทุกคนมาเข้าใจเรื่องของตัวเองได้ถูกเพียงสิบเปอร์เซ็นต์เท่านั้น ความเป็นจริงแล้วระดับความเข้าใจจะไม่มากไปกว่า 10-15 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากความสามารถในการวิเคราะห์ตัวเองของพวกเรามีจุดบกพร่องอยู่ จึงส่งผลให้เราไม่รู้ประสิทธิภาพและความสามารถของตัวเองได้อย่างถูกต้อง นอกจากพวกเรามีแนวโน้มที่จะประเมินรูปร่างหน้าตาและความสามารถของเราสูงเกินไป สรุปได้ว่าแม้แต่คนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญก็ยังมักมองว่าระดับความรู้ของตัวเองสูงเกินจริง
เรื่องที่ 3 เรื่องของตัวเองตัดสินใจเองดีที่สุด
การให้คนอื่นช่วยตัดสินใจมักจะมีความถูกต้องแม่นยำมากกว่า งานวิจัยเมื่อสิบกว่าปีก่อนแสดงให้เห็นแล้วว่าจริงๆคนอื่นเข้าใจเราได้ดีกว่าตัวเราเอง ยกตัวอย่างเรื่องใกล้ตัวอย่างการเลือกรูปโปรไฟล์ที่ดีที่สุดของตัวเอง เราก็ไม่สามารถเลือกรูปที่ดีที่สุดได้จริงๆ นักวิจัยได้แสดงความเห็นว่า คำแนะนำสำหรับการเลือกรูปโปรไฟล์ที่หน้าตาออกมาดีที่สุดคือต้องไม่เลือกเองแต่ให้คนอื่นเป็นคนเลือกให้ เพราะดูเหมือนว่าการเลือกรูปเองของเราจะใช้ความรู้สึกส่วนตัวมากเกินไป ทำให้ไม่สามารถเลือกรูปภาพที่ดีที่สุดหนึ่งรูปใด สรุปได้ว่าเมื่อเป็นเรื่องของเราเองเรามักจะสูญเสียการมองตามหลักความเป็นจริงไป
อัจฉริยะไม่ถูกผูกมัดไว้ด้วยความคิดที่เอาตัวเองเป็นหลัก
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วควรทำอย่างไรเพื่อให้มีทักษะการมองโลกตามความเป็นจริง ที่เราต้องพยายามเอื้อมไปไขว่ขว้า นับเป็นเรื่องโชคดีที่จะงานวิจัยในไม่กี่ปีที่ผ่านมาทำให้ได้ทราบถึงสองปัจจัย ที่ขาดไม่ได้ในการรักษาทักษะการมองโลกตามความเป็นจริงให้คงไว้ นั่นคือการทบทวนตัวเองและความถ่อมตนทางปัญญา ซึ่งก็คือจุดมุ่งหมายสูงสุดของหนังสือเล่มนี้ที่จะให้คุณได้รู้จักตัวเองมากขึ้น ปลดตัวเองจากความเชื่อผิดๆที่เคยมีและมองโลกตามสิ่งที่ควรจะเป็นได้มากขึ้น
บทที่ 2 : ทำความรู้จักตัวเองด้วยคำถาม 6 ข้อและรายการสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญ
จงทำความรู้จักตัวเอง เป็นเรื่องที่ถูกต้องทางวิทยาศาสตร์
จงรู้ตัวเองว่านิสัยลักษณะพิเศษของตนเป็นอย่างไรแล้วหาความรู้โดยคำนึงดูจากจุดนี้ และเลือกทำสิ่งที่ถูกต้อง เราเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับอะไรมีแพชชั่นต่อสิ่งใดกันแน่ เรามักจะทำอะไรโดยไม่รู้ตัวถ้าไม่ทำความเข้าใจข้อมูลเหล่านี้โดยมองตามความเป็นจริง ก็ไม่สามารถเลือกกระทำสิ่งที่ถูกต้องได้
สิ่งที่ทีมวิจัยศึกษาในเรื่องของจิตใจที่ทางจิตวิทยาเรียกว่าการนิยามตัวเองได้อย่างชัดเจน หมายถึงการมีความเชื่อเกี่ยวกับตัวเองที่ชัดเจน และสามารถบอกได้อย่างมั่นใจว่าอะไรคือสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญ หรือความสามารถของตนเองคืออะไรได้แม้ว่าเวลาจะผ่านไปเท่าไหร่คำนิยามนั้นก็ยังมั่นคงอยู่เสมอ สรุปง่ายๆว่า มีความหมายถึงการรู้จักตัวเองเป็นอย่างดีและมีจิตใจที่รู้สึกสบายใจ คนที่นิยามตัวเองได้อย่างชัดเจนมีแนวโน้มที่จะมีระดับความสุขอยู่ในระดับสูง มักไม่ยอมแพ้ต่อปัญหาแล้วไม่ค่อยมีเรื่องกังวลหรือไม่สบายใจมากนัก
เรื่องดีๆรออยู่เมื่อนิยามตัวเองได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
ยิ่งคนที่นิยามตัวเองได้อย่างชัดเจนมากเท่าไหร่ยิ่งมีแนวโน้มว่าจะมีระดับความสุขที่สูงและระดับความเครียดโดยรวมต่ำ และมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงรวมถึงมีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน ใช้ชีวิตอย่างมีชีวิตชีวา เพราะเมื่อเข้าใจเป็นอย่างดีว่าสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญหรือความสามารถของตัวเองคืออะไร เมื่อเกิดปัญหาก็จะไม่เสียกำลังใจง่าย
การนิยามตัวเองได้อย่างชัดเจนจะช่วยเติมเต็มความต้องการต่างๆมากมาย รวมไปถึงด้านสุขภาพจิต จริงอ่ะพูดได้ว่าหากต้องการปลูกฝังทักษะการมองโลกตามความเป็นจริงนี่คือแนวคิดหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญและไม่ควรมองข้าม
ตรวจสอบสิ่งที่สำคัญในชีวิต ด้วยรายการสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญ
พูดง่ายๆคือการนิยามตัวเองได้อย่างชัดเจนเป็นสิ่งที่ประกอบขึ้นมาด้วยปัจจัยต่อไปนี้ คือเข้าใจอย่างดีว่าตัวเองให้ความสำคัญกับเรื่องแบบไหน และรู้ให้แน่ชัดมากที่สุดว่าขีดจำกัดของความรู้หรือความสามารถตัวเอง อยู่ตรงไหน เวลาที่มีคนถามว่าอะไรคือสิ่งที่คุณให้ความสำคัญมากที่สุด หรือสิ่งใดที่คุณรู้สึกอยากทำ แม้จะไม่ได้เงินก็ตาม คุณสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ทันทีหรือไม่ ถ้าคุณรู้สึกลังเลที่จะตอบคำถามก็เป็นไปได้ว่าคุณยังไม่มีสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญที่ชัดเจน
ในการดำเนินชีวิตประจำวันคนส่วนใหญ่มักโดนงานที่ยุ่งวุ่นวายหรืองานบ้านไล่ตามจนลืมว่าตัวเองต้องการมีชีวิตแบบไหน ส่งผลให้ฟ้าทักษะการมองโลกตามความเป็นจริงไป ทั้งที่จริงๆแล้วถ้าได้ใช้เวลาไปกับงานอดิเรกที่ตัวเองชอบชีวิตจะรู้สึกเติมเต็มมากกว่านี้ แต่เราก็มักจะไปทำเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับตัวเองให้ความสำคัญอย่างการเล่นเกมโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ตแทน
สิ่งที่ดีที่สุดในการเผชิญหน้ากับปัญหานี้คือการทบทวนอะไรการสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญซ้ำบ่อยๆ จนการทบทวนสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญกลายเป็นนิสัย อย่าปล่อยให้เรื่องวุ่นวายในทุกวันมาทำให้เรายุ่งจนเกินไปใช้ประโยชน์จากรายการสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญให้เต็มที่กันดีกว่า
ผ่อนคลายสมองที่ยังไม่คุ้นชิน
รายการสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญ เป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่ายและมีประโยชน์ แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่พอเห็นจำนวนข้อแล้วก็ไปต่อไม่ถูก ดังนั้นเพื่อค้นหาสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญอย่างแท้จริง จึงควรมีการฝึกสมองที่ตึงเครียด โดยการตั้งคำถามเพื่อทำความรู้จักสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการหาคำตอบว่าตัวเองให้ความสำคัญกับอะไรโดยดูจากความสัมพันธ์ของคุณกับคนรอบข้าง
เทคนิคจุดกลางเป้า เพื่อทดสอบว่าคุณกำลังใช้ชีวิตตามสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญรึเปล่า
แม้ว่าจะมีความคิดที่ว่า เราให้ความสำคัญกับเรื่องการเติบโตมากแค่ไหนแต่ถ้าไม่ได้ถูกนำไปใช้จริงในชีวิตแต่ละวันก็ไม่มีความหมาย วิธีนี้ไม่ใช่เพียงการตรวจสอบให้มั่นใจว่าอะไรคือสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญ แต่ต้องดูด้วยว่าเราสามารถใช้ชีวิตโดยให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านั้นได้มากแค่ไหน เทคนิคที่จะนำมาใช้คือเทคนิคจุดกลางเป้า นักจิตวิทยาได้คิดค้นขึ้นมาซึ่งได้แบ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตออกเป็นสี่ส่วนใหญ่ๆ โดยเทคนิคนี้ถูกพัฒนาเพื่อตรวจสอบว่าในแต่ละส่วนนั้นเรากำลังใช้ชีวิตตามสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญอยู่รึเปล่า
- ทบทวนเรื่องการงานและการเรียน
หมายถึงการพัฒนาในการทำงาน อาชีพ การเบียน ความรู้ และทักษะ คุณอยากนำลักษณะเฉพาะตัวเรื่องไหนมาใช้ในการทำงานและอยากเพิ่มทักษะอะไรติดตัวไว้
- ทบทวนเรื่องเล่นและงานอดิเรก
เรื่องนี้คือส่วนสำหรับเขียนว่านอกจากเวลางาน คุณต้องการใช้เวลาในการทำอะไรในเวลาว่างคุณอยากเที่ยวเล่นในรูปแบบไหนอยากพักผ่อนอย่างไร ต้องการแรงกระสุนแบบไหนอยากทำกิจกรรมสร้างสรรค์แบบไหน
- ทบทวนความสัมพันธ์กับผู้คน
ทบทวนอีกครั้งว่าคุณอย่ามีความสัมพันธ์แบบไหนกับคนใกล้ตัว คุณจะสร้างความสัมพันธ์แบบไหนกับคนใกล้ชิด คุณอยากให้ลักษณะนิสัยแบบไหนของคุณดีขึ้น
- ทบทวนการเติบโตและสุขภาพ
คุณย่าพัฒนาความเป็นคนหรือจิตใจตัวเองอย่างไร อย่าเสริมสร้างสภาพร่างกายหรือปรับปรุงนิสัยการรับประทานในปัจจุบันอย่างไร
- กำหนดจุดกลางเป้า
เมื่อคุณเขียนทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็ลองนำทุกสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญมาวางในจุดกลางเป้า ให้คิดถึงสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญที่ตัวเองเขียนขึ้นมาอีกครั้งพร้อมกับคิดดูว่าในปัจจุบันเราได้ทำตามสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญมากแค่ไหน
- ระบุปัญหา
เมื่อทำขั้นตอนที่ผ่านมาคุณจะรู้มากขึ้นอย่างแน่นอนว่าคุณพยายามใช้ชีวิตตามสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญมากแค่ไหน คุณจะรู้ตัวว่าตัวเองในตอนนี้ใช้ชีวิตคาดเคลื่อนจากสิ่งนั้นมากแค่ไหน ดังนั้นจะขั้นตอนนี้เราจะมาระบุกันว่าอะไรเป็นความเสียหายที่ขัดขวางไม่ให้สิ่งที่คุณให้ความสำคัญผสานเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต
- วางแผนปฏิบัติ
ขั้นตอนสุดท้ายคือคิดว่าควรทำอย่างไรเพื่อให้ได้ใช้ชีวิตตามในสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญ ควรทำอย่างไรเพื่อกำจัดปัญหาที่เขียนขึ้นมาก่อนหน้านี้ และใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงกับสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญมากขึ้นสักนิด
บทที่ 3 : เทคนิคการทบทวนตัวเองเพื่อค้นหาว่าเราเป็นคนแบบไหน
อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าการสร้างวิธีคิดโดยมองโลกตามความเป็นจริง การเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับตัวเองอย่างลึกซึ้งนั้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ตัวเรามีความเชื่อแบบไหนอะไรที่เรารู้สึกสนุกสนานที่ได้ทำจริงๆ สามารถบอกได้อย่างมั่นใจหรือไม่ว่าตัวเองเป็นคนแบบไหนถ้าไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ทันทีแสดงว่าคุณยังนิยามตัวเองไม่ได้ชัดเจนมากพอ
อย่างไรก็ตามเรื่องการมองเรื่องของตัวเองตามความเป็นจริงอาจจะเป็นเรื่องที่ยากกว่าที่คิด สาเหตุหลักๆด้วยกันมีสองข้อ ข้อแรกคือปัญหาความลำเอียง ความลำเอียงคือความคิดที่แพร่หลายในโลกของเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม และชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงที่ว่า ความผิดพลาดที่พวกเรามนุษย์กระทำมีรูปแบบของกฎที่กำหนดไว้อยู่
อีกหนึ่งสาเหตุที่เป็นสิ่งขัดขวางการมองโลกตามความเป็นจริงของพวกเรา คือปัญหาเรื่องการมีความคิดเกินครึ่งในชีวิตประจำวันที่เราคิดโดยไม่รู้สึกตัว หลายงานวิจัยด้านประสาทวิทยาหรือจิตวิทยาการรู้คิด ระบุว่าในหนึ่งวันโดยเฉลี่ยมนุษย์เราคิดเรื่องต่างๆมากกว่าห้าหมื่นเรื่องและเกินครึ่งที่จะลืมไปทันที และเกินกว่าครึ่งเป็นความคิดด้านลบ
เพิ่มความตระหนักรู้ในตัวเองด้วยแผนผังความรู้สึกร่วม
เนื่องจากในชีวิตประจำวันแทบไม่มีโอกาสให้เราได้คิดสงสัย ซึ่งเป็นเหมือนการทบทวนตัวเองอย่างลึกซึ้งอยู่เลย ฉะนั้นถ้าอยู่อยู่จะมีคนบอกว่าจงไปคิดคำตอบออกมา ก็คงมีไม่น้อยที่ไม่รู้จะเริ่มที่ตรงไหน สิ่งสำคัญของเครื่องมือนี้คือให้นึกถึงสถานการณ์ขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม และให้ทำความเข้าใจตัวเองให้ลึกซึ้ง เนื่องจากการใช้วิธีการจินตนาการถึงสถานการณ์อย่างชัดเจน ทำให้คนที่ไม่ถนัดเรื่องการตอบคำถามเป็นนามธรรมก็สามารถปฏิบัติได้อย่างง่าย โดยการใช้แผนผังความรู้สึกร่วมมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- นึกถึงความรู้สึกที่เคยเกิดขึ้น
อันดับแรกให้นึกถึงประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกที่รุนแรงที่เคยเกิดขึ้นในชีวิต จะเป็นประสบการณ์ที่เป็นเรื่องบวกหรือลบก็ได้ ขอเพียงแค่ให้เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความรู้สึกรุนแรง
- แบ่งส่วนประสบการณ์
แบ่งพื้นที่กระดาษออกเป็นสี่ส่วน แล้วแบ่งตามประเภทสิ่งต่อไปนี้ สิ่งที่เห็น สิ่งที่ทำ สิ่งที่คิด สิ่งที่รู้สึก ถัดมาให้นึกถึงเหตุการณ์ที่ทำให้ความรู้สึกทำงานที่นึกออก และเขียนคำตอบลงไปในแต่ละส่วน สรุปแต่ละข้อง่ายๆให้ได้ความยาวประมาณสามบรรทัด สิ่งที่สำคัญของเทคนิคนี้คือเมื่อเราเริ่มสงสัยว่า ความรู้สึกของเราทำงานมากที่สุดในเหตุการณ์แบบไหน นั่นคือการเริ่มทำความเข้าใจตัวเองให้ลึกซึ้งขึ้นแล้ว เมื่อเข้าใจจุดนี้แล้วไม่ว่าจะเดินสถานการณ์อะไรมาใช้ก็ได้ผลนะ
- ทบทวนแผนพัง
ในขั้นตอนสุดท้ายเราจะมาทำความเข้าใจตัวเองให้ลึกซึ้งขึ้น โดยการนำขั้นตอนต่างๆก่อนหน้าเป็นฐานและคิดคำตอบของคำถามต่อไปนี้ คำถามเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ความรู้สึก ปฏิกิริยาตอบรับที่เกิดขึ้น สิ่งที่ได้เรียนรู้ เมื่อลงมือทำจริงก็จะรู้ว่าในการใช้แผนผังความรู้สึกร่วมจนเสร็จแล้วจะได้พบกับข้อมูลล้ำค่าที่ปกติไม่เคยตระหนักถึงเรื่องนี้มาก่อนและจะได้รู้อย่างลึกซึ้งถึงความหวังหรือจุดด้อยของตัวเอง ที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน
วิธีการสร้างบุคลิกลักษณะ
ถ้ารู้สึกว่าการลงมือปฏิบัติตามแผนผังความรู้สึกร่วมเป็นเรื่องยาก อาจเริ่มจากอีกหนึ่งวิธีหนึ่งคือการทดลองใช้วิธีการสร้างบุคลิกลักษณะ ที่กำลังจะพูดถึงต่อไปนี้ วิธีนี้เป็นหนึ่งในเทคนิคการวิเคราะห์ตัวเองที่ใช้ในโลกของการรักษาบำบัดจิต ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้สามารถทำความเข้าใจตัวเองได้อย่างลึกซึ้งโดยไม่กระทบจิตใจมากเกินไป
วิธีปฏิบัติสำหรับเทคนิคนี้ก็ตามชื่อคือ การคิดให้ละเอียดว่าคุณนายอุดมคติของตัวเองเป็นแบบไหน ซึ่งเป้าหมายสูงสุดคือการใช้ขั้นตอน ที่ทำให้รู้แน่ชัดว่าตัวเองเป็นคนแบบไหน
ถ้าภาพของตัวเองชัดเจนแล้วก็จะทำให้มองโลกตามความเป็นจริงมากขึ้น และใช้ชีวิตโดยรักษาความคิดที่เฉียบและไม่ได้ลองหาเวลาขุดตนเองให้ลึกลงไปกันเถอะ
บทที่ 4 : เทคนิคติดตามผลเพื่อเพิ่มทักษะการทบทวนตัวเอง
อย่างไรก็ตามเนื่องจากปัญหาความเชื่อที่เราคิดไปเองเป็นปัญหาที่หยั่งรากลึกมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ระมัดระวังจนทำให้กลับสู่สภาพที่ขาดทักษะการมองโลกตามความเป็นจริงไป ความเชื่อที่เราคิดไปเองคือกลไกสมองที่มาพร้อมกับมนุษย์ตั้งแต่ตอนเกิด
ดังนั้นถ้าไม่ตั้งสติให้รู้ถึงตัวตนที่แท้จริงไว้ก่อนก็จะกลับไปยังจุดเดิมทันที ถึงแม้จะเป็นปัญหาที่ยากแต่ความเชื่อที่เราคิดไปเองทำให้ขาดทักษะการมองโลกตามความเป็นจริง คือค่าเริ่มต้นของมนุษย์เรา ถึงค่ำควรไปก็ไม่ช่วยอะไร จงยอมแพ้ว่ามันก็เป็นเช่นนี้แหละ และเอาใจใส่รักษาการตระหนักรู้ในตัวเองอยู่เสมอนี่คือหนทางเดียว สู่การได้มาซึ่งมุมมองความเป็นจริงที่แท้จริง
การกระทำอีกหนึ่งอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มการตระหนักรู้ในตัวเองในการใช้ชีวิตในแต่ละวันคือ การติดตามผล ซึ่งหมายความว่าตามชื่อคือวิธีการบันทึกว่าทุกๆวันคุณทำอะไรบ้างเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการฝึกฝนทักษะการตระหนักรู้ในตนเอง แล้วถ้าให้ระบุอย่างชัดเจนเราควรวัดที่ข้อมูลใดกันล่ะ ในการพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองมีการเปลี่ยนแปลงสองฝ่ายใหญ่ที่ควรคำนึงถึงได้แก่
- การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
คือการสังเกตว่าจิตใจของคุณอยู่ในสภาวะไหน คงไม่จำเป็นต้องบอกว่าสภาวะของจิตใจส่งผลอย่างมากกับประสิทธิภาพในแต่ละวัน ความเครียดหรือความรู้สึกในแง่ลบจะส่งผลอย่างมากต่อการทำงานของสมอง สิ่งที่ควรบันทึกมีมากมายนับไม่ถ้วนแต่ในบรรดาสิ่งเหล่านี้มีสิ่งที่กล่าวต่อไปที่สามารถทำได้โดยง่าย
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการวัดค่าอารมณ์ โดยบันทึกความรู้สึกด้านลบจากเหตุการณ์ที่เจอจากการทำงานหรือเวลาส่วนตัวในแต่ละวัน การวัดค่าความเครียดมีความสำคัญเพราะความรู้สึกด้านลบคือตัวการสำคัญตัวหนึ่งที่ทำให้การมองโลกตามความเป็นจริงจางหาย
นี่คือปรากฏการณ์ที่เรียกแบบเฉพาะทางว่าปรากฏการณ์รอดอุโมงค์ ซึ่งมีความหมายตามชื่อคือสภาวะของจิตใจที่มีมุมมองที่แคบลง ซึ่งเป็นผลจากความรู้สึกด้านลบ
การบันทึกความเครียด แม้ว่าตลาดอารมณ์ประจำวันจะเพียงพอแล้วสำหรับการวัดค่าความเครียดแต่ถ้ามีเป้าหมายที่จะเข้าใจให้ลึกซึ้งก็อาจอยากลองให้ท้าทายเพิ่มด้วยการใช้การบันทึกความเครียด โดยส่วนใหญ่อัตราของการสูญเสียความคิดตามหลักความเป็นจริงโดยมีความเครียดเป็นตัวกลางจะลดลง เมื่อเรารู้ตัวว่าเรามาเครียดมากเมื่ออยู่ในสถานการณ์แบบไหน
- การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
ทำความรู้จักตัวเองให้ลึกซึ้งขึ้นด้วยการติดตามการนอน แม้จะไม่ใช่ตัวอย่างที่เข้าใจได้ง่ายแต่การมองโลกตามความเป็นจริงของพวกเราก็เป็นสิ่งที่ได้รับอิทธิพล จากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่ละเอียดอ่อน อย่างไรก็ตามความเป็นจริงเราไม่ได้รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เป็นจุดเล็กๆ ดังนั้นจะตัดเหลือเพียงสิ่งที่สำคัญที่มักส่งผลกระทบต่อความคิดของเรา ซึ่งก็คือ คุณภาพการนอนหลับและระดับกิจกรรมที่ทำ
สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกคือการติดตามคุณภาพของการนอนหลับ ทุกคนทราบกันดีว่าถ้าอยู่ในสภาวะที่เมื่อวานนอนหลับไม่สนิท สมองคนเราจะไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ สมัยนี้มีแอพพลิเคชั่นนับชั่วโมงการนอนหลับที่สามารถใช้ได้ผ่านสมาร์ทโฟนมากมาย ในขั้นแรกอาจจะเริ่มจากการลองใช้สิ่งเหล่านี้ก่อน
และอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของร่างกายคือการบันทึกระดับกิจกรรมที่ทำ แน่นอนว่าปริมาณกิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวันก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อทักษะการมองโลกตามความเป็นจริงของคุณ เราได้ทราบจากหลายงานวิจัยว่าคนที่ขยับร่างกายเป็นประจำ จะยิ่งมีความสามารถในการคิดสูง และมีหัวสมองที่ปลอดโปร่งในการคิดเรื่องต่างๆ
เนื่องจากเมื่อระดับการทำกิจกรรมของร่างกายอยู่ในระดับสูงจะส่งผลให้การทำงานของสมองสูงขึ้น และทำให้สามารถมองเรื่องต่างๆได้ตามความเป็นจริงและเป็นสิ่งที่สำคัญพอๆกับการนอนหลับ
บทที่ 5 : วิธีเผชิญหน้ากับศัตรูตัวฉกาจของทักษะการมองโลกตามความเป็นจริงอย่าง การเคี้ยวเอื้อง
การเคี้ยวเอื้องจะพลาดการมองโลกตามความเป็นจริงไปจากทุกคน
นี่คือความจริงที่เกิดขึ้นกับทุกคน ไม่มีใครที่สามารถรักษาความคิดที่เฉียบแหลมและมุมมองความเป็นจริงได้อย่างต่อเนื่องในทุกสถานการณ์ แม้กระทั่งคนที่ทุกคนมองว่าเป็นคนที่ไตร่ตรองอย่างสุขุม ถ้าไม่ให้ความสำคัญกับการรักษาการมองโลกตามความเป็นจริงไว้ ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ทักษะนี้จะถดถอยลดลง ดังนั้นในบทนี้เราจะมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้ทักษะการมองโลกตามความเป็นจริงต่ำลง และลงลึกไปถึงวิธีเผชิญหน้ากับสาเหตุเหล่านั้นจริงๆ
ความหมายของการเคี้ยวเอื้องคือพฤติกรรมของบัวที่สำรอกจากกระเพาะ แต่การเคี้ยวเอื้องในที่นี้หมายถึงพฤติกรรมการคิดถึงข้อด้อยหรือความผิดพลาดของตัวเองในอดีตซ้ำไปซ้ำมา นอกจากนี้จิตวิทยาสมัยใหม่ได้มีรายงานจากสถาบันวิจัยต่างๆว่าการคิดแบบเคี้ยวเอื้องคือหนึ่งในสาเหตุหลักของโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะคนที่เป็นคนเข้มแข็งจะยิ่งซึมเศร้าหรือรู้สึกเป็นกังวลได้ง่าย ดังนั้นมาระวังและรับมือกับการคิดแบบเคี้ยวเอื้อง รักษาสุขภาพจิตรวมถึงรักษาการมองโลกตามความเป็นจริงให้คงไว้กันเถอะ
การวัดระดับการคิดแบบเคี้ยวเอื้อง ด้วยแบบทดสอบการคิดแบบเคี้ยวเอื้อง
ไม่ว่าจะจัดการปัญหาเรื่องอะไร การแรกคือการทำความเข้าใจกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ดังนั้นอันดับแรกจงใช้แบบทดสอบการคิดแบบเคี้ยวเอื้องเพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ในปัจจุบันก่อน แบบทดสอบนี้มีการนำไปใช้ในวงการรักษาบำบัดจิตด้วยเช่นกัน
จงให้คะแนนคำถาม ในหน้าต่อไป โดยมีคะแนนดังนี้
1 คะแนน – แทบจะไม่
2 คะแนน – น้อยครั้ง
3 คะแนน – บางครั้ง
4 คะแนน – บ่อย
5 คะแนน – แทบจะทุกครั้ง
แบบทดสอบการคิดแบบเคี้ยวเอื้อง
- แม้ในเวลาที่ต้องการหยุดคิด ก็มักจะคิดถึงแต่เรื่องนั้นอยู่บ่อยๆ
- สิ่งที่ตัวเองได้พูดหรือทำไปจะวนอยู่ในหัวหลายครั้งซ้ำไปซ้ำ
- การหยุดความคิดในแง่ลบเกี่ยวกับตัวเองในบางครั้งก็เป็นเรื่องยาก
- บ่อยครั้งที่หวนคิดถึงเรื่องที่ดันทำลงไปแล้ว
- บ่อยครั้งที่คิดถึงสิ่งที่ตัวเองเคยทำในสถานการณ์หนึ่งในอดีต
- บ่อยครั้งที่กลับไปคิดถึงเรื่องโต้เถียงหรือขัดแย้งหลังจากสถานการณ์จบลงไปแล้วสักพัก
- บ่อยครั้งที่ใช้เวลาไปกับการนึกถึงเหตุการณ์ที่น่าอาย
วิธีคิดคะแนน
ให้คิดคะแนนเฉลี่ยโดยรวมคะแนนทั้งหมดและหารด้วยเจ็ด ถ้ามีเศษให้ปัดทิ้ง
- คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 1-2 คะแนน
เป็นคนประเภทที่แทบจะไม่มีการเคี้ยวเอื้องเลย หรือแม้เมื่อกำลังจะเริ่มเคี้ยวเอื้องความคิดในแง่ลบก็สามารถหยุดไว้ได้ ซึ่งทำให้ความสามารถในการทบทวนตัวเองเพิ่มสูงขึ้น
- คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3-4 คะแนน
ระดับการเคี้ยวเอื้องอยู่ในระดับปกติมีทั้งตอนที่รู้ว่าตัวเองกำลังเคี้ยวเอื้องแล้วสามารถหยุดได้และมีตอนที่ปล่อยเลยตามเลยด้วยเช่นกัน
- คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ >5 คะแนน
ระดับการเคี้ยวเอื้องอยู่ในระดับสูงมากแม้จะรู้สึกว่าตัวเองเคี้ยวเอื้องอยู่ก็ไม่สามารถหยุดได้ การจัดการปัญหานี้ต้องอุทิศตัวอย่างสุดความสามารถในการทำความเข้าใจ
การรับมือกับการเคี้ยวเอื้อง
- คำถามอะไร
เทคนิคที่ง่ายที่สุดในการซ่อมแซมการตระหนักรู้ในตัวเอง คือการตั้งคำถามซึ่งหมายความตามชื่อเรียกคือเป็นวิธีที่ใช้ถามคำถามอะไร ในการจัดการกับปัญหาหรือข้อสงสัยในชีวิตประจำวัน ซึ่งได้ผลอย่างชัดเจนสำหรับการคิดถึงสิ่งต่างๆด้วยการมองตามความเป็นจริง
อาจมีหลายคนที่เห็นตัวอย่างแล้วคิดว่าก็เริ่มปกติเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้วคิดว่าควรทำอะไรดีก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว ไม่เห็นต้องยกขึ้นมาเป็นเทคนิคสุดยอดให้ดูเป็นเรื่องพิเศษเลย แต่ทว่านั่นเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง เนื่องจากเมื่อเกิดปัญหาขึ้นเรามักมีแนวโน้มเผลอถามว่า ทำไม แทนที่จะเป็นคำว่า อะไร
เนื่องจากการตัดสินของพวกเราโดยพื้นฐานได้รับอิทธิพลมาจากอารมณ์และความรู้สึกอย่างมาก เพียงคำถามว่า ทำไม อาจทำให้มีโอกาสที่จะเลือกเส้นทางผิดเพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากนี้อีกหนึ่งเหตุผลที่คำถาม ทำไม ไม่ดีคือข้อเสียที่ว่ามาทำให้เกิดความคิดด้านลบ ไม่เพียงแต่ไม่เหมาะในการนำไปสู่คำตอบที่ถูกต้องแต่ยังมีความเป็นไปได้สูงที่ทำให้จิตใจเกิดอารมณ์เศร้าหมองด้วย
ในทางตรงกันข้ามคำถามว่า อะไร มีคุณสมบัติพิเศษทำให้สวิตช์การมองตามความเป็นจริงในสมองของพวกเราเปิดติดง่าย เพียงเปลี่ยนวิธีการถามตัวเองเพียงเล็กน้อยก็สามารถใช้ปัญหาเป็นวิธีวิเคราะห์ตนเองได้ เมื่อระดับความระมัดระวังเป็นประจำ ทำให้รู้จักตัวเองให้ลึกซึ้งขึ้น ด้วยคำถามเช่นนี้ ก็สามารถใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเป็นการฝึกฝนการตระหนักรู้ในตนเองได้
- เอาไว้ก่อน
วิธีการรับมือกับการเคี้ยวเอื้องในข้อที่สอง คือการ เอาไว้ก่อน หรือพูดง่ายๆว่าเป็นวิธีข้ามสถานการณ์ตอนนี้ไปก่อนโดยบอกกับตัวเองว่าเดี๋ยวค่อยคิดเรื่องแย่เรื่องนี้ พูดง่ายๆคือให้กำหนดรายละเอียดและเวลาของเรื่องที่จะกังวลไว้อย่างชัดเจนและเริ่มคิดกังวลตามตารางเวลาที่วางเอาไว้
อาจคิดว่าทำแบบนี้แล้วจะรับมือกับความคิดแบบเคี้ยวเอื้องได้หรอ แต่นี่คือวิธีที่ได้ผลจริงพบว่าผู้เข้าร่วมการทดลองที่ปฏิบัติวิธีนี้มีจำนวนความคิดในแง่ร้ายโดยรวมลดลงหัวสมองจะปลอดโปร่งได้ตลอดทั้งวัน สำหรับคนที่มักเผลอกังวลเกี่ยวกับความผิดพลาดของตัวเองหรือความไม่แน่นอนในอนาคตวิธีนี้เป็นวิธีที่ควรค่าแก่การนำไปใช้
- ฝึกสมาธิ
การคิดแบบเคี้ยวเอื้องคือสภาพจิตใจที่ถูกความไม่สบายใจเกี่ยวกับเรื่องในอนาคตครอบงำจนไม่สามารถคิดอย่างเฉียบแหลมได้ตามที่กล่าวไปแล้วก่อนหน้า หรือพูดอีกอย่างได้ว่าการคิดแบบเคี้ยวเอื้องคือการที่ไม่ได้อยู่กับปัจจุบันแต่ใช้ชีวิตในอนาคตเป็นสภาวะที่สูญเสียมุมมองตามความเป็นจริงไปเนื่องจากเอาตัวเข้าไปพัวพันกับความกลัวที่มีต่อเรื่องราวในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น
ดังนั้นการฝึกสมาธิจึงมีความสำคัญ เป้าหมายสูงสุดคือการฝึกสมาธิทำหน้าที่ตามชื่อของมัน ช่วยให้เกิดการปลดแอกจากจินตนาการที่เกิดขึ้นมาเอง แล้วหันกลับมามองปัจจุบันถึงแม้วิธีนี้จะใช้เวลากว่าที่จะรู้สึกถึงผลลัพธ์นานกว่าสองวิธีแรก แต่ถ้าทำต่อไปเรื่อยๆก็จะเห็นผลลัพธ์อย่างชัดเจน
บทที่ 6 : ความถ่อมตนทางปัญญา วิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจที่กูเกิลให้ความสำคัญมากที่สุด
มีการเผยว่าทักษะรู้ว่าตนไม่รู้ ช่วยให้ความสามารถในการตัดสินใจเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก และส่งผลให้มีทักษะการมองโลกตามความเป็นจริงอีกด้วย ในทางจิตวิทยาเรียกทัศนคติแบบนี้ว่า ความถ่อมตนทางปัญญา หมายถึง สภาวะที่รู้และเข้าใจขีดจำกัดความรู้ของตัวเองได้เป็นอย่างดี สามารถกล่าวได้ว่าเป็นวิธีคิดที่มีความใกล้เคียงกับ การรู้ว่าไม่รู้
หากไม่มีความถ่อมตนทางปัญญา ก็ไม่อาจเรียนรู้ว่าต้องแก้ไขอะไรจากข้อผิดพลาดที่ตัวเองทำ ทำให้ไม่ว่าเวลาผ่านไปนานแค่ไหน ทักษะการมองโลกตามความเป็นจริงก็ไม่เกิดขึ้น ความลำเอียงในการอนุมานหาสาเหตุ คือการที่จิตมีความคิดว่าเรื่องดีๆที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นเพราะตัวเอง แต่หากมีเรื่องเลวร้ายเกิดขึ้นนั่นเป็นเพราะคนอื่น เนื่องจากมนุษย์ทุกคนเป็นสิ่งมีชีวิตที่ตามใจตัวเอง ทำให้แม้แต่คนที่มีความรู้ระดับสูงก็มีแนวโน้มที่จะโยนความผิดพลาดหรือความล้มเหลวไปที่คนอื่น
ความลำเอียงในการอนุมัติหาสาเหตุ มักเกิดกับคนที่มีความรู้อยู่ในระดับสูง เมื่อมีเรื่องดีๆเกิดขึ้นพวกเขาจะคิดว่านั่นเป็นเพราะตัวเองเป็นอัจฉริยะ แต่ในทางกลับกันหากเกิดเรื่องเลวร้ายขึ้นพวกเขาคิดว่าเป็นเพราะคนอื่นนั้นโง่เง่าหรือสาเหตุเป็นเพราะตัวเองยังไม่ได้รับข้อมูลที่เพียงพอ
แน่นอนว่าหากมีความคิดแบบนี้ต่อไป คงไม่ต้องหวังถึงการพัฒนาเติบโต เพราะการคิดเป็นประจำว่าคนอื่นคือต้นเหตุของความล้มเหลวที่เกิดขึ้นไม่ก่อให้เกิดทักษะการมองโลกตามความเป็นจริงอย่างแน่นอน เนื่องจากไม่สามารถตัดสินเรื่องที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง
วิธีฝึกสำคัญเพื่อเพิ่มความถ่อมตนทางปัญญา
มาดูวิธีเพิ่มความสามารถ อย่างเป็นรูปธรรม เทคนิคเด่นมีดังนี้
- อธิบายโดยละเอียด
หลายคนมีแนวโน้มเชื่อว่าตัวเองเข้าใจความรู้ที่ตัวเองมีได้ลึกซึ้งมากกว่าความเป็นจริง ซึ่งเป็นความระเบียงที่เรียกได้ว่าภาวะที่คิดว่าตัวเองรู้ โดยเฉพาะถ้าเป็นสาขาวิชาที่คิดว่าตัวเองถนัด ยิ่งเกิดเหตุการณ์นี้ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ควรปฏิบัติเป็นประจำเพื่ออธิบายความรู้เฉพาะด้านโดยละเอียดเป็นวิธีที่สามารถปฏิบัติได้ง่าย
เมื่อฝึกฝนอย่างเป็นประจำแล้วทุกคนจะรู้ตัวทันทีว่าความรู้ที่ตัวเองมียังมีบางสิ่งที่ขาดอยู่ทำให้เกิดการตระหนักว่าความมั่นใจที่มีในรูปแบบของ เปรียบในตอนก่อนเริ่มอธิบายนั้นจริงๆแล้วเต็มไปด้วยช่องโหว่
- ถามคำถามเพื่อตรวจสอบความเชื่อที่เราคิดไปเอง
นอกจากความลำเอียงในการอนุมัติหาสาเหตุ และภาวะที่คิดว่าตัวเองรู้ที่อธิบายไปก่อนหน้า ยังมีความลำเอียงเรื่องอื่นๆอีกมากมายซึ่งทุกอย่างจะเป็นสิ่งที่พรากความถ่อมตนทางปัญญาไปจากคุณ เรามาดูตัวอย่างของความลำเอียงที่เป็นตัวขัดขวางความถ่อมตนทางปัญญาดังต่อไปนี้
- ปรากฏการณ์ที่จิตใจคิดว่าเมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นแล้วโดยส่วนใหญ่แล้วฉันมีดีกว่าค่าเฉลี่ย
หลายคนมีแนวโน้มว่าจะประเมินความสามารถของตัวเองสูงเกินไปในชีวิต เรียกได้ว่าปรากฏการณ์ที่เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของสภาวะสูญเสียมุมมองตามความเป็นจริง
- ปรากฏการณ์ที่คนไม่รู้ตัวเองว่าตัวเองขาดความสามารถ ส่งผลให้จิตใจตกอยู่ในสภาพมีความมั่นใจแต่จริงๆแล้วทำไม่ได้
เนื่องจากคนที่มีความสามารถต่ำจะมีความสามารถ ในการเข้าใจทักษะและความรู้ที่ตัวเองมีตามความจริงต่ำตามไปด้วย มักมีความมั่นใจมากเกินไป ในทางกลับกันคนที่ยิ่งมีความสามารถสูงยิ่งมีแนวโน้มว่าจะประเมินความสามารถของตัวเองต่ำ
- ปรากฏการณ์ที่จิตใจเชื่อว่าถ้าเป็นเราก็ไม่เป็นไรหรอก หรือคราวนี้ไม่มีปัญหาแน่ แม้แต่ในสถานการณ์ที่น่าจะเกิดปัญหาขึ้น
เป็นปรากฏการณ์ที่หลายคนพบเจอเป็นการประเมินสถานการณ์ต่ำเกินไป ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ที่มีความ เสียหายสูงแค่ไหนอยากอุบัติเหตุจราจรหรือปัญหาในการทำงาน
ตามที่ได้เห็นว่าไม่ว่าความเชื่อแบบไหนก็ออกมาในเชิงของการประเมินความสามารถของตัวเองสูงเกินไป และประเมินความเป็นไปได้ของปัญหาต่ำส่งผลให้ระดับความถ่อมตนทางปัญญาต่ำลง และไม่สามารถคิดตามหลักความเป็นจริงได้
บทที่ 7 : แบบฝึกหัดเพื่อสร้างความถ่อมตนทางปัญญา
อย่างไรก็ตามการรักษาความถ่อมตนทางปัญญาให้คงอยู่ต่อไปเป็นเรื่องยากมากในยุคนี้ ปรากฏการณ์ทางจิตที่ได้รับการพิสูจน์แล้วจากรายการทดสอบ ในปัจจุบันที่การค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องปกติทำให้หลายคนประเมินปริมาณความรู้ที่ตัวเองมีไว้มากเกินจริง พูดง่ายๆคือ ทุกครั้งที่ได้รับข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาโดยง่ายในหัวจะเกิดความรู้สึกว่าฉันนี่เป็นคนรอบรู้จริงๆ และทำให้ทักษะการสื่อสาร การมองสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงต่ำ
ดังนั้นเพื่อนำความถ่อมตนทางปัญญากลับคืนมาจึงจำเป็นต้องซ่อมแซมความรู้สึกอย่างละเอียดควบคู่ไปกับการฝึกเป็นประจำทุกวัน เนื่องจากในยุคปัจจุบันหากเผลอหรือไม่ระวังทักษะการมองโลกตามความเป็นจริงจะต่ำลงทันที ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามทุกเทคนิคที่แนะนำในบทนี้ สามารถเลือกสิ่งที่รู้สึกว่าน่าสนุก และค่อยนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
แบบฝึกหัดช่วยซ่อมแซมความถ่อมตนทางปัญญา
แบบฝึกระดับ 1
ท่องไว้ในใจเป็นประจำถึงความจริงที่ว่า เราไม่ได้มองโลกตามความเป็นจริง
วิธีนี้คือให้คิดเสมอว่าความคิดเห็นและความคิดของเรานั้นบิดเบี้ยว อย่างที่ได้บอกไปในหลายครั้งในบทที่ผ่านมาว่าสมองของเรา มีสิ่งที่ชัดจูงให้เกิดความคิดไปในทางที่ไม่ถูกต้องได้ จึงต้องจำกัดข้อเท็จจริงนี้เอาไว้ในหัวเสมอ จากรายงานวิจัยทำให้ทราบว่าคนส่วนใหญ่มองตามความจริงมากขึ้นหลังจากคิดว่าเราไม่ได้มองตามความเป็นจริง และผลที่เกิดขึ้นนี้จะคงอยู่ต่อไปอีก สองถึงสามสัปดาห์
มองโลกในมุมมองของคนอื่น
สิ่งที่ควรทำให้เป็นนิสัยคือมองในมุมมองของคนอื่น เป็นเทคนิคที่มีความหมายตามชื่อ ให้ลองคิดว่าถ้าเป็นคนนั้นจะรู้สึกหรือคิดอย่างไร ซึ่งมีผลลัพธ์ช่วยเพิ่มทักษะการจัดการปัญหาชีวิตประจำวันโดยมองตามความเป็นจริง
แบบฝึกระดับ 2
วิธีตรวจสอบตัวเองในหนึ่งวัน
ตามที่ได้กล่าวไปหลายครั้งแล้วว่าการวิเคราะห์ตัวเองเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ในการรักษาความทบต้นทางปัญญาให้คงอยู่ เพราะหากไม่มีความเข้าใจในตัวเองอย่างถูกต้องก็จะไม่คิดถึงความคิดที่ว่าฉันยังขาดความรู้อยู่ น่าเสียดายที่นายหลายสถานการณ์การทบทวนตัวเองไม่ใช่เครื่องมือในการทำความรู้จักตัวเอง เพราะคนส่วนใหญ่เมื่อเริ่มทบทวนตัวเองจะไปสนใจเรื่องด้านลบอย่างความผิดพลาดที่ตัวเองก่อนหรือความโชคร้าย
ดังนั้น สิ่งที่แนะนำให้ลองทำก่อนการทบทวน คือเทคนิคที่ชื่อว่าวิธีตรวจสอบตัวเองในหนึ่งวัน เป็นเทคนิคที่ถูกพัฒนาขึ้นในวงการบำบัดทางจิต เพื่อให้คนไข้ที่มีปัญหาเรื่องความซึมเศร้าหรือความกังวล ตรวจสอบตนเองได้
คำถามปาฏิหาริย์
คำถามปาฏิหาริย์คือเทคนิคคำถามที่ใช้ในการบำบัดจิตมีชื่อเรียกว่าวิธีเข้าหาโดยเน้นที่การแก้ปัญหา เป็นประโยชน์สำหรับตอนที่ไม่สามารถคิดตามความเป็นจริงได้ เพราะโดยปัญหายากในการทำงานหรือเรื่องส่วนตัวเล่นงานจนเกิดความกังวลและความตื่นตระหนก
วิธีนี้มีความสำคัญคือการทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างปัญหาในปัจจุบันกับปัญหาในอนาคตชัดเจนขึ้นโดยการลองคิดดูว่า ถ้าปัญหาที่อยู่ตรงหน้าทั้งหมดได้รับการแก้ไขจะเป็นอย่างไร เพราะถ้าเอาแต่คิดถึงปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบันเราก็จมอยู่กับความคิดของเราเองทำให้มองตามความเป็นจริง แต่ถ้าใช้คำถามปาฏิหาริย์ การทำงานของสมองจะเปลี่ยนไป สมองจะรับรู้ถึงความแตกต่างระหว่างปัจจุบันที่ปัญหายังแก้ไม่ถูก และอนาคตที่ปัญหาทุกอย่างได้รับการแก้ไข
เพิ่มแหล่งข้อมูล
คงไม่จำเป็นต้องบอกว่าความเอนเอียงเพื่อยืนยัน เป็นสิ่งที่ขัดขวางการคิดตามความเป็นจริง เพราะอย่างที่เห็นว่าการรวบรวมเฉพาะข้อมูลที่สนับสนุนตัวเองทำให้ไม่สามารถค้นหาจุดด้อยของตัวเองได้ และทำให้มีโอกาสสูงมากที่จะเดินหน้าต่อไปในทางที่ผิด
ความเอนเอียงเพื่อยืนยันเป็นปัญหาอย่างมากในยุคปัจจุบัน เพราะปัจจุบันโลกโซเชียลมีเดียอย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าในทวิตเตอร์หรืออินสตาแกรม เราสามารถเลือกติดตามเฉพาะผู้ใช้ที่เราชื่นชอบความเห็นของเขาได้ จึงควรท่องไว้ในใจว่าให้ตระหนักรู้และเลือกแหล่งข้อมูลที่หลากหลายเสมอ ถ้าตอนนี้มีข้อมูลจากแหล่งเดียวแนะนำให้ลองคิดว่า มีข้อมูลอื่นที่โต้แย้งเรื่องนี้อยู่หรือไม่
คำถามเพื่อหาสิ่งที่สำคัญที่สุด
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าการสร้างความถ่อมตนทางปัญญาต้องมีหลายแหล่งข้อมูลจึงจะได้ผล การตั้งคำถามกับตัวเองเสมอว่าแล้วถ้าข้อมูลนี้ผิดล่ะ จะช่วยให้คุณมีการมองโลกตามความเป็นจริงในระดับที่เหมาะสม แต่ถ้าปล่อยให้อารมณ์พาไปเราจะไม่สามารถคลานขึ้นมาจากหลุมความเอนเอียงเพื่อยืนยันได้เลย
หากไม่ตรวจสอบให้ดี อย่างมีสติว่าข้อมูลที่ทำให้เรารู้สึกไม่ดีนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนความพร้อมต้นทางปัญญาก็จะไม่เกิดขึ้น สิ่งที่อยากแนะนำคือเทคนิคคำถามเพื่อหาสิ่งที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นผลอย่างดีสำหรับตอนเจอความเห็นต่างแล้วทำให้สูญเสียความสุขุมเยือกเย็นไป
เเบบฝึกหัดระดับ 3
คำถามในทางตรงกันข้าม
คำถามในทางตรงกันข้าม คือการลองฝึกคิดถึงความเป็นไปได้อื่นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ลองคิดถึงความเป็นไปได้อื่นๆของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่เพียงเฉพาะเรื่องเลวร้ายที่เกิดขึ้นในชีวิต แต่เรื่องดีๆด้วยเช่นกัน
สามารถใช้คำถามในทางตรงกันข้ามได้ทุกเวลา แต่จะได้ผลดียิ่งขึ้นถ้าใช่ในตอนที่เกิดเรื่องดีๆ ลองใช้คำถามในทางตรงกันข้ามนี้ในตอนที่อารมณ์ดีโดยไม่ได้คาดคิด สรุปว่ายิ่งเจอเรื่องดีๆยิ่งเป็นโอกาสในการสร้างความผ่อนปรนทางปัญญาและเมื่อลองคิดว่าถ้าสถานการณ์ตอนนี้แย่ลงล่ะจะทำให้คุณถอยห่างออกมาจากสิ่งรอบข้างและมองโลกตามความเป็นจริงได้มากขึ้น
คำถามเปรียบเทียบ
อีกหนึ่งเทคนิคคำถามที่ควรรู้จัก คือการถามคำถามเปรียบเทียบ เทคนิคนี้คือวิธีคิดโดยลองเปรียบเทียบประสบการณ์การกระทำ ความรู้สึก แล้วความคิดของตัวเองที่ผ่านมากับสิ่งอื่น เป็นเทคนิคที่การให้คำปรึกษาเทคนิคหนึ่งที่ใช้ในวงการบำบัดจิต เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลกับคนที่กำลังเจอปัญหาแล้วไม่สามารถคิดตามปกติได้
ถ้าเกิดเจอปัญหาในการทำงานหรือชีวิตส่วนตัวให้ลองนึกถึงประสบการณ์ในอดีตที่เคยเจอและเปรียบเทียบอย่างรอบคอบดูว่า จริงๆแล้วสถานการณ์ในปัจจุบันมีอะไรที่แตกต่างกับอดีตที่เคยสัมผัส และในทางกลับกันสิ่งที่แทบจะเหมือนกันเลยคืออะไร
บทที่ 8 : การถามตอบ แบบโสกราติสเพื่อปลูกฝังความถ่อมตนทางปัญญาแก่ผู้อื่น
ขั้นตอนตรวจสอบระดับความหลงตัวเองของอีกฝ่าย
สิ่งที่แนะนำให้ทำในการกระตุ้นให้ผู้อื่นมองโลกตามความเป็นจริง คือการตรวจสอบระดับความหลงตัวเองของอีกฝ่าย
เหตุผลที่ต้องปฏิบัติขั้นตอนนี้ในขั้นแรกเป็นเพราะคนที่ไม่มองโลกตามความเป็นจริง โดยทั่วไปมีคนหลงตัวเองอยู่มาก ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเอาแต่เชื่ออยู่เสมอว่าเรามีความสามารถมากกว่าคนอื่น หรือสิ่งที่เราคิดนั้นไม่มีทางผิดพลาด ก็จะไม่มีทางที่จะมีมุมมองตามความจริง อย่างปัญหาที่ความจริงไม่สามารถแก้ไขได้ถ้ามีเพียงเจ้าตัว แต่ก็เอาแต่เชื่อว่าถ้าเป็นฉันเราก็ต้องผ่านไปได้แน่นอน หรือคิดว่าการตัดสินใจของเรานั้นถูกต้อง มีความเป็นไปได้สูงว่าการกระทำ ที่ทำโดยไม่มองตามความเป็นจริงเหล่านี้ มาจากปัญหาการรักตัวเองที่หยั่งรากลึก แอบซ่อนไว้อยู่
@UPTOREAD
สั่งซื้อหนังสือ “มองโลกให้เป็นต้องเห็นตัวเองก่อน” ได้ที่นี่ : คลิ๊ก