กลยุทธ์การเทรด ICT (Inner Circle Trader) Concept  คืออะไร?

ICT (Inner Circle Trader) Concept คือ แนวคิดการเทรดที่พัฒนาโดย Michael J. Huddleston ซึ่งมุ่งเน้นการเข้าใจ โครงสร้างตลาด (Market Structure) และ พฤติกรรมของสถาบันการเงิน (Smart Money) ทำให้สามารถตัดสินใจในการเทรดได้อย่างแม่นยำขึ้นโดยใช้ความเข้าใจนี้เป็นหลัก

แนวคิดหลักของ ICT

กลยุทธ์การเทรด ICT ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้

1. Liquidity

Liquidity ในกลยุทธ์การเทรด ICT มีอยู่ 2 รูปแบบหลัก ได้แก่ Buy-Side Liquidity และ Sell-Side Liquidity

  • Buy-Side Liquidity หมายถึง โซนที่เทรดเดอร์ฝั่งขาย (Bearish Traders) วางคำสั่ง Stop Order ไว้เป็นจำนวนมาก
  • Sell-Side Liquidity หมายถึง โซนที่เทรดเดอร์ฝั่งซื้อ (Bullish Traders) วางคำสั่ง Stop Order ไว้เป็นจำนวนมาก

โดยทั่วไป โซนสภาพคล่องของทั้งสองฝั่ง มักพบได้ที่ จุดสูงสุด (High) และจุดต่ำสุด (Low) ของรูปแบบราคา เนื่องจากเทรดเดอร์รายย่อยมักตั้ง Stop Loss หรือปิดสถานะของตนเองในบริเวณดังกล่าว

Liquidity มีบทบาทสำคัญในกลยุทธ์การเทรด ICT เพราะช่วยให้เทรดเดอร์เข้าใจพฤติกรรมของ Smart Money และสามารถระบุ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาด (Market Structure Shift) ได้แม่นยำยิ่งขึ้น

2. Displacement

Displacement เป็นลักษณะของ การเคลื่อนที่ของราคาอย่างรวดเร็วและรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นขาขึ้นหรือขาลง บนกราฟราคา มักปรากฏเป็นแท่งเทียนขนาดใหญ่ติดต่อกันหลายแท่ง และทั้งหมดเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน

2 ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ Displacement ตามแนวคิดของ ICT:

  1. เป็นสัญญาณของแรงซื้อหรือแรงขายที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อราคาพุ่งไปถึง Liquidity Level
  2. Displacement มักนำไปสู่ 2 ผลลัพธ์หลัก ได้แก่
    • Market Structure Shift (MSS) : การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาด เช่น จากขาขึ้นเป็นขาลง หรือกลับกัน
    • Fair Value Gap (FVG) : ช่องว่างของราคาที่เกิดจากการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ซึ่งมักเป็นจุดที่ราคาจะย้อนกลับมาทดสอบในอนาคต

Displacement เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้เทรดเดอร์ ICT ระบุโอกาสในการเข้าเทรดตามพฤติกรรมของ Smart Money ได้แม่นยำมากขึ้น

3. Market Structure Shift

แนวโน้มของตลาด (Trends) ถูกกำหนดโดย:

  • แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) : ราคาทำจุดสูงสุดที่สูงขึ้น (Higher High – HH) และจุดต่ำสุดที่สูงขึ้น (Higher Low – HL)
  • แนวโน้มขาลง (Downtrend) : ราคาทำจุดสูงสุดที่ต่ำลง (Lower High – LH) และจุดต่ำสุดที่ต่ำลง (Lower Low – LL)

Market Structure Shift (MSS) คือ ระดับราคาบนกราฟที่แนวโน้มปัจจุบันถูกขัดจังหวะ

  • ในแนวโน้มขาขึ้น MSS เกิดขึ้นเมื่อราคาทำ จุดต่ำสุดใหม่ (Lower Low – LL)
  • ในแนวโน้มขาลง MSS เกิดขึ้นเมื่อราคาทำ จุดสูงสุดใหม่ (Higher High – HH)

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาดเหล่านี้ มักเกิดขึ้นหลังจากการเคลื่อนที่ของราคาแบบ Displacement

เมื่อราคาทะลุระดับ Market Structure Shift (MSS) เทรดเดอร์ ICT จะเริ่มมองหาสัญญาณเพิ่มเติมที่ยืนยันแนวโน้มใหม่ โดยใช้ระดับ MSS เป็นจุดอ้างอิงสำหรับการเข้าเทรด

4. Inducement

Inducements มักพบที่จุดสูงสุดหรือต่ำสุดของแนวโน้มย่อย (Mini Counter-Trends) ที่เกิดขึ้นภายในแนวโน้มหลักที่ใหญ่กว่า ตามแนวคิดของ ICT การเคลื่อนไหวเหล่านี้มักเป็นผลมาจาก Smart Money ที่พยายามไล่ล่า Stop-Loss ของเทรดเดอร์รายย่อยในกรอบเวลาที่เล็กลง

กลยุทธ์ ICT ที่ใช้ Inducement :

เทรดเดอร์ ICT เชื่อว่า เมื่อราคาไปถึงระดับ Inducement ราคามักจะกลับทิศทาง (Reversal) และเคลื่อนที่ต่อไปตามแนวโน้มหลักเดิม

กล่าวคือ Inducement เป็นเหมือน “กับดัก” ที่ทำให้เทรดเดอร์รายย่อยติดอยู่ ก่อนที่ตลาดจะเคลื่อนที่กลับไปตามแนวโน้มจริงของ Smart Money

5. Fair Value Gap

เมื่อราคาทะลุระดับ Liquidity และเกิดการกลับตัวของแนวโน้ม เทรดเดอร์มักจะสังเกตเห็นช่องว่างบนกราฟราคา ซึ่งในกลยุทธ์ ICT ช่องว่างนี้เรียกว่า Fair Value Gap (FVG)

ลักษณะของ Fair Value Gap:

  • ประกอบด้วย 3 แท่งเทียน
  • แท่งกลางจะมีขนาดใหญ่กว่าสองแท่งที่อยู่รอบข้าง
  • มีช่องว่างระหว่าง ไส้เทียน (Wicks) ของแท่งกลางกับไส้เทียนของแท่งเทียนรอบๆ

ช่องว่างเหล่านี้มักถูกเติมเต็มในอนาคต เนื่องจากตลาดมีแนวโน้มกลับไปทดสอบระดับราคาเหล่านี้ เทรดเดอร์ ICT ใช้แนวคิดนี้ ในการวางคำสั่งซื้อขาย โดยรอให้ราคากลับเข้ามาในโซน FVG เพื่อหาจุดเข้าเทรดที่เหมาะสม

6. Optimal Trade Entry

หลังจากเกิด Inducement และกระตุ้นให้ราคามีการเคลื่อนที่อย่างรุนแรง (Displacement) ซึ่งนำไปสู่ Market Structure Shift (MSS) และเกิด Fair Value Gap (FVG) ตามมา เทรดเดอร์ ICT จะใช้ Fibonacci Retracement เพื่อหาจุดเข้าเทรดที่เหมาะสม (Optimal Trade Entry – OTE) ก่อนทำการซื้อขาย

ระดับ Fibonacci ที่ใช้ในการเข้าเทรด :

โดยทั่วไป จุดเข้าเทรดตามกลยุทธ์ ICT มักอยู่ในช่วง 61.8% – 78.6%

กล่าวคือ เมื่อราคาย่อตัวกลับเข้าสู่ระดับนี้ เทรดเดอร์ ICT จะมองหาสัญญาณยืนยันก่อนทำการซื้อหรือขายตามแนวโน้มที่เกิดขึ้น

7. ICT Kill Zones

ICT Kill Zones เป็นช่วงเวลาที่ตลาดมี สภาพคล่องสูง และ การเคลื่อนที่ของราคาแข็งแกร่ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นักลงทุนสถาบัน (Smart Money) มีแนวโน้มเข้ามาทำธุรกรรมมากที่สุด

Michael J. Huddleston (ICT) พบว่า ตลาดมักเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญในช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งช่วยให้เทรดเดอร์สามารถระบุโอกาสในการเข้าเทรดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • Asian Kill Zone : 23:00 – 03:00 UTC
  • London Kill Zone : 07:00 – 10:00 UTC
  • New York Kill Zone : 13:00 – 16:00 UTC
  • New York Stock Exchange (NYSE) Kill Zone : 19:00 – 21:00 UTC

8. Order Block (OB)

Order Block (OB) เป็นโซนที่ Smart Money (นักลงทุนสถาบัน, Market Makers หรือธนาคารใหญ่) วางคำสั่งซื้อหรือขายจำนวนมากก่อนที่ราคาจะเคลื่อนที่อย่างมีนัยสำคัญ

OB เป็นแนวคิดสำคัญใน กลยุทธ์ ICT (Inner Circle Trader) ซึ่งช่วยให้เทรดเดอร์สามารถหาจุดเข้าและออกจากตลาดที่มีความแม่นยำสูงโดยอิงจากพฤติกรรมของสถาบันการเงิน

ประเภทของ Order Block

Bullish Order Block (OB ขาขึ้น)

  • เกิดขึ้น ในแนวโน้มขาขึ้น
  • เป็น แท่งเทียนขาลงสุดท้าย ก่อนที่ราคาจะพุ่งขึ้น
  • มักทำหน้าที่เป็นแนวรับ (Support) และใช้เป็นจุดเข้า Buy

Bearish Order Block (OB ขาลง)

  • เกิดขึ้น ในแนวโน้มขาลง
  • เป็น แท่งเทียนขาขึ้นสุดท้าย ก่อนที่ราคาจะร่วงลง
  • มักทำหน้าที่เป็นแนวต้าน (Resistance) และใช้เป็นจุดเข้า Sell

 

ตัวอย่างการใช้กลยุทธ์การเทรด ICT (Inner Circle Trader)

ตัวอย่างที่ 1: การใช้ Liquidity Sweep + Fair Value Gap (FVG)

สถานการณ์ :

  • ราคากวาด Buy-Side Liquidity โดยทะลุแนวต้านที่จุดสูงสุดก่อนหน้า
  • หลังจากนั้น ราคากลับตัวขึ้นและทิ้งช่องว่างของราคา Fair Value Gap (FVG) ไว้

วิธีเข้าเทรด (Buy Entry)

  1. รอให้ราคากลับมาทดสอบโซน FVG ที่เกิดจากการเคลื่อนที่ขึ้นแรง (Displacement)
  2. ตั้ง Buy Limit ที่ขอบล่างของ FVG
  3. วาง Stop Loss ใต้จุดต่ำสุดของแท่งเทียนที่ทำ Liquidity Sweep
  4. ตั้ง Take Profit ที่จุดสูงสุดก่อนหน้า

 

ตัวอย่างที่ 2 : Fair Value Gap (FVG) + Fibonacci Retracement

สถานการณ์ :

  • ราคาพุ่งขึ้นแรง (Strong Displacement) และเกิด Fair Value Gap (FVG)
  • ใช้ Fibonacci Retracement เพื่อหาระดับที่เหมาะสมในการเข้าเทรด

แผนการเทรด (Buy Entry)

  • วัด Fibonacci Retracement จาก Swing Low → Swing High
  • มองหา FVG ที่อยู่ในโซน 61.8% – 78.6% Fibonacci
  • ตั้ง Buy Limit ที่ FVG และใช้ Stop Loss ใต้โซนนี้
  • ตั้ง Take Profit ที่ระดับ 100% Fibonacci หรือจุดสูงสุดก่อนหน้า

ทั้งนี้ยังมีตัวอย่างการเทรดโดยใช้ ICT Concept อีกมากมาย อาทิ

  • ICT Kill Zones + Liquidity Grab + Order Block
  • Liquidity Sweep + MSS + OB
  • และอื่นๆ อีกมากมาย

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • https://www.youtube.com/c/InnerCircleTrader
  • https://howtotrade.com/wp-content/uploads/2023/11/ICT-Trading-Strategy-1.pdf