สารบัญ
การเทรดน้ำมัน | How to Trade Oil
- หนึ่งในสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีสภาพคล่องสูงที่สุดในโลก
- อุปสงค์และอุปทานจะเป็นตัวกำหนดราคาน้ำมัน
- การวิเคราะห์ทั้งปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยทางเทคนิค ต่างมีประโยชน์ในการเทรดน้ำมัน
- เทรดเดอร์ควรยึดมั่นในกลยุทธ์การเทรด เพื่อความต่อเนื่องและความมีประสิทธิภาพ
ตัวขับเคลื่อนราคาน้ำมัน
“อุปสงค์” และ “อุปทาน” เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนราคาน้ำมัน
ปัจจัยอุปทาน (ความต้องการขาย)
• การปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น : เป็นปัจจัยที่ต้องติดตาม เพราะจะมีผลต่อกำลังการผลิต และส่งผลต่อราคาน้ำมัน
• สงคราม : เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่มีผลต่อราคาน้ำมัน โดยเฉพาะสงครามใน Middle East อย่าง สงครามกลางเมืองใน Libyan ในปี 2011 ที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นกว่า 25% ภายใน 2 เดือน
• OPEC (Organization of the Petroleum Exporting Countries) : การเพิ่มหรือลดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC นั้นมีผลโดยตรงต่อราคาน้ำมัน เพราะกลุ่ม OPEC ถือเป็นกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันลำดับต้นของโลก อย่างเมื่อปี 2016 กลุ่ม OPEC ได้ตัดสินใจจำกัดกำลังผลิตน้ำมัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันในปีนั้นพุ่งจาก $44/bbl ไปสู่ $80/bbl
• ผู้ผลิตรายใหญ่ : เช่นเดียวกัน ผู้ผลิตรายใหญ่นั้นมีผลโดยตรงต่อราคาน้ำมันในตลาดโลก สามารถเข้าไปดูว่าใครเป็นผู้ผลิตรายใหญ่บ้างได้ที่ https://www.eia.gov/beta/international/
ปัจจัยอุปสงค์ (ความต้องการซื้อ)
• Seasonality : ในช่วง Summer และ Winter มักเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันสูงขึ้น เนื่องจากช่วงนั้นคนจะใช้เยอะ
• การบริโภคน้ำมัน : หลายประเทศหลักๆที่บริโภคน้ำมัน เช่น US , European และ Asian (โดยเฉพาะ Chani และ Japan) ซึ่งกลุ่มเหล่านี้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องจับตามอง หากประเทศเหล่านี้หากเศรษฐกิจเกิดชะลอ ก็อาจจะเป็นผลกระทบทำให้การบริโภคน้ำมันลดลง ซึ่งก็จะทำให้ราคาน้ำมันลดลงได้เช่นเดียวกัน
กลยุทธ์การเทรดน้ำมัน
ปกติเทรดเดอร์มืออาชีพที่เทรดน้ำมันจะใช้การดูปัจจัยพื้นฐานเพื่อดูภาพรวมของราคา จากนั้นใช้ปัจจัยทางเทคนิคเพื่อจับจังหวะในการเข้าออก และที่สำคัญใช้หลักการบริหารความเสี่ยงในการเทรดที่ดี เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการเทรดในระยะยาว
ตัวอย่างการเทรด
เมื่อช่วง 30 Nov 2017 , OPEC และ RUSSI ตกลงที่จะลดการผลิตน้ำมัน ทำให้อุปทานลดลง เป็นปัจจัยหนุนให้ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้น … ในแง่ Fundamental เป็นบวก
เมื่อในแง่ Funadamental เป็นบวก เราก็ควรจะอยู่ “ฝั่งซื้อ” เป็นหลัก … จากนั้นเรามาหาจังหวะในการเข้าซื้อโดยใช้ Technical Analysis โดยการใช้ RSI เมื่อ RSI ลงสู่ระดับ 30 เป็นสัญญาณ Oversold ราคามีโอกาสที่จะเกิดการฟื้นตัวกลับที่ระดับดังกล่าว (วงกลมสีเขียว)
ซึ่งการเทรดลักษณะนี้ทั้ง Fundamental และ Technical สอดคล้องกัน และที่สำคัญเทรดเดอร์ควรกำหนด Size ในการเทรด อีกทั้งการวางจุด Take-profits และ Stop-losses เพื่อควบคุมความเสี่ยงในการเทรดให้ดี ซึ่งนี่เป็นหนึ่งกลยุทธ์ที่สามารถสร้างประสิทธิภาพในการเทรด
Tips การเทรดน้ำมัน
ปกติ ราคาน้ำมันจะเทรดบนสัญญา Futures ซึ่งปกติมักจะเจออยู่ 2 ภาวะ คือ
- Contango : ภาวะที่ราคา Futures สูงกว่าราคา Spot … ปกติจะเป็นสัญญาณ Bearish
- Backwardation : ภาวะที่ราคา Spot สูงกว่า Futures … ปกติจะเป็นสัญญาณ Bullish
CFTC
เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สะท้อนถึงราคาน้ำมันในอนาคตได้ดี เนื่องจากรายการ CFTC เป็นรายงานยอดการเปิดสถานะ Futures ของนักลงทุนแต่ละกลุ่ม ทั้ง สถาบัน , ตัวผู้ผลิตเอง และ รายย่อย แต่ละผู้เล่นก็มีเงื่อนไขที่เข้ามาเปิดสถานะแตกต่างกันออกไป เราสามารถใช้ข้อมูลนี้ในการช่วยกำหนดสถานะการเทรดของเราได้
Key Reports เทรดเดอร์ที่เทรดน้ำมันต้องติดตาม
การรายงานตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบใน U.S. เป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ต้องติดตามในการเทรดน้ำมัน เพราะเจ้ารายงานนี้มักจะทำให้ราคาน้ำมันเกิดการเคลื่อนไหวได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบจะสะท้อนถึงปริมาณความต้องการของราคาน้ำมัน ยกตัวอย่างเช่น การรายงานสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์พุ่งสูงขึ้น แปลว่าปริมาณความต้องการน้ำมันลดน้อยลง ในขณะที่สต๊อกน้ำมันดิบลดต่ำลง ก็หมายความว่า ความต้องการน้ำมันสูงกว่าการผลิตน้ำมัน
- Amercan Petroleum Institure (API) : รายงานการกลั่นปิโตรเลียม โดยน้ำมันก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยจะประกาศทุกวันอังคาร 16:30ET/21:30 London time
- Department of Energy (DoE/EIA) : คล้ายกับ API แต่ Doe จะรวมถึงสต๊อกน้ำมันดิบด้วย โดยประเทศทุกวันพุธ 10:30ET/15:30 London time
Credit : Dailyfx