Circuit Breaker คืออะไร
Circuit Breaker คือ การหยุดการซื้อขายชั่วคราวในกรณีที่ตลาดหุ้น (SET Index) เกิดการปรับตัวลงอย่างรุนแรง เพื่อให้นักลงทุนมีเวลาในการตั้งสติ ตรวจสอบข้อมูลข่าวสารต่างๆ
โดย Circuit Breaker มีหลักเกณฑ์ดังนี้
- ครั้งที่ 1 เมื่อ SET Index ปรับตัวลดลงถึง 8% ของค่าดัชนีปิดในวันทำการก่อนหน้า โดยจะหยุดการซื้อขายทั้งหมด 30 นาที
- ครั้งที่ 2 เมื่อ SET Index ปรับตัวลดลงถึง 15% ของค่าดัชนีปิดในวันทำการก่อนหน้า โดยจะหยุดการซื้อขายทั้งหมด 30 นาที
- ครั้งที่ 3 เมื่อ SET Index ปรับตัวลดลงถึง 20% ของค่าดัชนีปิดในวันทำการก่อนหน้า โดยจะหยุดการซื้อขายทั้งหมด 1 ชั่วโมง
ทั้งนี้ หลังจากการทำงานครั้งที่ 3 ของ Circuit Breaker แล้ว ตลาดหลักทรัพย์จะเปิดให้ทำการซื้อขายต่อไปจนถึงเวลาปิดทำการตามปกติโดยไม่มีการหยุดพักการซื้อขายอีก
ประวัติการเกิด Circuit Breaker ในตลาดหุ้นไทย
ครั้งที่ 1 : วันที่ 19 ธันวาคม 2549 – ธนาคารประเทศไทย ออกมาตรสำรอง 30% เพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท
ครั้งที่ 2 : วันที่ 10 ตุลาคม 2551 – วิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger) หรือ วิกฤตซับไพรม์ (Subprime Mortgage Crisis)
ครั้งที่ 3 : วันที่ 27 ตุลาคม 2551 – ยังเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger) หรือ วิกฤตซับไพรม์ (Subprime Mortgage Crisis)
ครั้งที่ 4 : วันที่ 12 มีนาคม 2563 – การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 (โควิด 19)
ครั้งที่ 5 : วันที่ 13 มีนาคม 2563 – ติดเนื่องการสถานการณ์โรค COVID-19
ข้อสังเกต
ในช่วงที่เกิด Circuit Breaker ของตลาดหุ้นไทย มักจะเป็นช่วง Low ของรอบใหญ่ ดังนั้นนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง สามารถใช้จังหวะดังกล่าว เป็นจังหวะในการเข้าเก็งกำไร หรือ จะใช้เป็นจังหวะในการเข้าลงทุนเพื่อเล่นรอบใหญ่ได้ เพราะสุดท้ายดัชนีมักจะกลับมาเคลื่อนไหวในเชิงบวกหลังจากนั้น