ethereum คือ

Ethereum (ETH) คืออะไร

Ethereum คือ แพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในรูปแบบ Open-Source ที่ให้ใครก็ได้นำไปต่อยอดในการสร้างสิ่งอื่นๆ ไม่จำกัดเฉพาะแค่เรื่องธุรกรรมทางการเงินเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้าง Application แบบไม่มีตัวกลางอื่นๆ เช่น เกมส์, เพลง และอีกมากมาย โดยใช้เหรียญ Ether เป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยนบนแพลตฟอร์มนี้

ข้อมูลสำคัญของ Ethereum 

  • Ethereum แพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในรูปแบบ Open-Source สามารถให้นักพัฒนานำไปต่อยอดได้อย่างอิสระ
  • เหรียญอันดับ 2 รองจาก Bitcoin ณ ปัจจุบัน
  • หนึ่งในผู้ก่อตั้ง ชื่อ Vitalik Buterin ชาวรัสเซีย เกิดเมื่อ 1994 (อายุน้อยมาก)
  • ใช้ภาษาของตัวเอง ชื่อว่า Solidity
  • Smart Contract สัญญาหรือข้อตกลงที่ถูกโปรแกรมไว้ในเครือข่ายของ Ethereum
  • Application บน Ethereum ที่เรียกว่า “Dapps” (แอฟที่ไม่มีตัวกลาง)
  • Ether เป็นเหรียญที่ใช้จ่ายบนเครือข่าย Ethereum
  • ค่าธรรมเนียม ที่เรียกว่า Gas ผู้สร้าง DApp จะจ่ายเพื่อรันโปรแกรมบน Ethereum
  • คนขุดบน Ethereum เรียกว่า Validator
  • Ethereum เป็นเหรียญที่ไม่จำกัดจำนวน (ไม่เหมือน Bitcoin ที่จำกัด แค่ 21 ล้านเหรียญ)
  • Ethereum 2.0 จะเปลี่ยนจากการขุดเหรียญ (Proof-of-work) มาใช้ระบบ “Proof-of-Stake”

Decentralized Application (Dapps)

เป็นแอปพลิเคชั่นที่ถูกสร้างขึ้นที่โดยที่ไม่ถูกควบคุมจากตัวกลาง โดยมี Smart contracts ทำงานอยู่เบื้องหลัง บนเครือข่ายของ Ethereum blockchain

หน้าตามันก็เหมือนๆกับ App ทั่วไปในปัจจุบัน แค่หลังบ้านมันทำงานต่างกัน

Smart Contract

Smart Contract เป็นเหมือนสัญญาที่ใช้ Code ใส่เข้าไปใน blockchain สามารถใช้เป็นบันทึกข้อตกลงต่างๆที่สามารถดำเนินการด้วยตัวเอง ไม่ต้องผ่านตัวกลาง ซึ่งสัญญานั้นจะถูกตรวจสอบและดำเนินการด้วยคอมพิวเตอร์แบบอัตโนมัติ

มันก็เหมือนกับ สัญญา ต่างๆที่เราใช้กัน เช่น ซื้อขายอสังหา หรือ กู้ยืมเงิน เป็นต้น ที่ต้องมีการทำสัญญา เป็นลายลักษณ์อักษรลงแผ่นกระดาษ แต่ Smart Contract จะเป็น สัญญา ที่เขียนขึ้นจาก Code นั้นเอง

ผู้คิดค้น Smart Contract ชื่อว่า Nick Szabo ได้ยกตัวอย่าง Smart Contract ว่ามันก็เหมือนกับ เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending) หากใครจะที่ซื้อสินค้าในตู้นั้น ต้องยอดเหรียญตามจำนวน เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าในตู้นั้น 

Gas Fee

คนจ่าย : คนที่สร้าง Application บน Ethereum ก็ต้องจ่าย “ค่าธรรมเนียม” ที่เรียกว่า “Gas fee” ในการใช้ Network นี้ 

คนรับ : นักขุด หรือ Validator ก็จะได้รับค่าตอบแทนในการขุด

มูลค่าเหรียญของ Ethereum

หลายคนอาจจะสงสัยว่าในเมื่อ Ethereum เป็นเหรียญที่ไม่ได้จำกัดจำนวนไว้เหมือน Bitcoin แต่ทำไมมันยังมีมูลค่า และราคายังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็เพราะว่า ในตอนนี้จำนวนผู้ต้องการใช้งานบนเครือข่าย Ethereum มีค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็น Dapps หรือ Smart contract พวกเขาเหล่านี้ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม (Gas fee) ในการใช้งาน ที่ใช้เหรียญ Ether ในการจ่าย ดังนั้นยิ่งจำนวนผู้ใช้งานบน Network นี้สูงเท่าไหร่ มูลค่าเหรียญของ Ethereum ก็ยิ่งมีมูลค่าสูงขึ้นนั่นเอง

Ethereum VS Bitcoin

Bitcoin ถูกสร้างมาเพื่อที่จะตัดตัวกลางในระบบการเงิน เพื่อเป็นอีกหนึ่งสกุลทางเลือก แต่เหรียญ Ethereum นั้น ถูกพัฒนามาเพื่อให้ใช้จ่ายในระบบเครื่อข่ายของ Ethereum ทำให้ 2 เหรียญนี้มีคุณลักษณะที่แตกต่างกันออกไป 

Ethereum 2.0

Ethereum 2.0 จะเปลี่ยนจากการขุดเหรียญ (Proof-of-work) มาใช้ระบบ “Proof-of-Stake” เป็นการยืนยันการทำธุรกรรมโดยผู้ที่ถือเหรียญแทน คนที่มีสิทธิ์จะเลือกจากผู้ที่มีเหรียญ Ether ในขั้นต่ำ 32 ETH เพื่อให้ได้เข้าไปอยู่ในเครือข่ายของผู้ยืนยันธุรกรรมบนบล็อกเชน

และอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือ แต่เดิม Ethereum 1.0 จะสามารถรับรองธุรกรรมได้ประมาณ 30 รายการต่อวินาที แต่ Ethereum 2.0 สามารถรองรับธุรกรรมได้ถึง 100,000 รายการต่อวินาที

คาดว่าจะเสร็จสิ้นในช่วงปี 2022

การลงทุนใน Ethereum

ก็เหมือน Bitcoin เลย ทำได้ 3 อย่าง คือ

  • ซื้อบนกระดานแลกเปลี่ยน (บน Exchange เช่น Bitkub และ Satang)
  • รับโอนจากบุคคลอื่นที่มี Bitcoin อยู่แล้ว
  • ทำการขุด

สรุป

Ethereum เป็นเทคโนโลยีที่ต่อยอดมา Bitcoin ก็เช่นเดียวกัน ยังเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ ยังต้องอาศัยระยะเวลาในการพิสูจน์ตัวเอง มันยังมีเหรียญใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อแข่งขันกับ Ethereum อย่าง Cardano (ก็ใช้หลักการเดียวกัน พัฒนาต่อมาจาก Ethereum อีกที) ก็ต้องดูกันว่าอะไรกันที่จะมาเปลี่ยนโลกในท้ายที่สุด

แหล่งข้อมูลอ้างอิง