Tax base คือมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินสำหรับการคำนวณ Taxes payable ส่วน Carrying value คือ มูลค่าทางบัญชีในงบการเงิน ซึ่งอาจมีค่าไม่เท่ากับ Tax base เนื่องจากมีวิธีการบันทึกที่แตกต่างกัน แบ่งได้เป็น Tax base of assets และ Tax base of liabilities
Source: https://www.cpdbox.com/the-unconventional-guide-to-tax-bases/
Tax Base of Assets
Tax bases of assets เป็นมูลค่าของสินทรัพย์สำหรับการคิดภาษีจ่ายจริง (Taxes payable) โดยที่การคำนวณค่าเสื่อมราคาและตัดจำหน่ายอาจมีค่าไม่เท่ากับ Depreciation expense ใน Income statement เนื่องจากเป็นการคำนวณมูลค่าของส่วนที่ควรนำไปคิดภาษี ตัวอย่างเช่น:
เครื่องจักรมูลค่า 100,000 บาท มีค่าเสื่อมราคาตาม Income statement 10,000 บาทต่อปีเป็นเวลา 10 ปี ส่วนค่าเสื่อมราคาใน Tax return เป็น 20,000 บาทต่อปีเป็นเวลา 5 ปี ดังนั้นในปีแรก Tax base ของเครื่องจักรนี้จะเหลือ 80,000 บาท (ต้นทุน 100,000 บาท – ค่าเสื่อมราคาทางภาษี 20,000 บาท) ส่วน Carrying value จะเหลือ 90,000 บาท (ต้นทุน 100,000 บาท – ค่าเสื่อมราคา 10,000 บาท) จากส่วนต่างของ Tax base และ Carrying value เกิดเป็น Deferred tax liability 10,000 บาท (Carrying value 90,000 บาท – Tax base 80,000 บาท) เนื่องจากภาษีที่จ่ายจริง (Taxes payable) ต่ำกว่า Income tax expense ใน Income statement ซึ่งการบันทึกเป็น Deferred tax liability จะถูกนำไปชดเชยเพื่อจ่ายภาษีเพิ่มเติมในภายหลัง
Tax Base of Liabilities
สำหรับ Tax base ของหนี้สินจะมีวิธีการคำนวณต่างจากของ Assets โดยนำ Carrying value มาหักลบด้วยมูลค่าที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ในอนาคต มีสูตรคำนวณดังนี้
Tax base of liabilities = Carrying value-Future deductible amount
ตัวอย่างเช่น หากบริษัทได้รับเงินจากลูกค้ามาล่วงหน้า 10,000 บาท โดยเงินจำนวนนี้จะต้องนำไปคิดภาษีทันทีตั้งแต่ได้รับมา แต่ว่าจะยังไม่ถูกบันทึกลงใน Income statement เนื่องจากยังไม่มีการส่งมอบสินค้าเกิดขึ้น ดังนั้น Carrying value ของรายได้นี้คือ 10,000 บาท และจำนวนที่สามารถลดภาษีได้ในอนาคตก็คือ 10,000 บาทเช่นกัน ทำให้ Tax base มีค่าเป็นศูนย์
อีกตัวอย่างหนึ่งเป็นการตั้งสำรองรายจ่ายจากประกันสินค้าสำหรับปีหน้าจำนวน 5,000 บาท (Carrying value 5,000 บาท) โดยจะสามารถหักภาษีได้ก็ต่อเมื่อมีการจ่ายประกันแล้วเท่านั้นในปีหน้า ดังนั้นจำนวนที่จะสามารถหักภาษีในอนาคตได้ก็ยังเป็น 5,000 บาทเต็มๆ ทำให้ Tax base มีค่าเป็นศูนย์เช่นกัน
ในบทความถัดไปจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนอัตราภาษี ซึ่งจะมีผลกระทบต่อมูลค่าของ Deferred tax assets, Deferred tax liabilities และ Income tax expense
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Income Taxes (Part 1) บทนำ
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Income Taxes (Part 2) Deferred Tax Assets and Liabilities
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Income Taxes (Part 3) Tax Base
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Income Taxes (Part 4) Changes in Tax Rates
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Income Taxes (Part 5) Permanent Differences