Source: https://fastercapital.com/topics/what-are-the-different-types-of-market-indices.html
หลักทรัพย์แต่ละประเภท อาทิ หุ้น, ตราสารหนี้ (FIxed-income securities) และสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) จะมีวิธีการนำมาคำนวณเป็นดัชนีต่างๆที่แตกต่างกันดังนี้
ดัชนีหุ้น (Equity Indexes)
ดัชนีหุ้นมีการคำนวณจากการนำหุ้นในตลาดต่างๆมาบรรจุในพอร์ตโฟลิโอในรูปแบบต่างๆ แบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้
Broad market index เป็นดัชนีที่วัดความสามารถในการทำกำไรของทั้งตลาด โดนมักมีหุ้นไม่ต่ำกว่า 90% ของตลาดในพอร์ตโฟลิโอของดัชนี ยกตัวอย่างเช่น SET Index ของไทย และ Wilshire 5000 Index ที่ประกอบด้วยหุ้นกว่า 6,000 ตัวในตลาดหุ้นสหรัฐฯ
Multi-market index เป็นดัชนีที่คำนวณจากหุ้นจากหลายๆตลาดในหลายๆประเทศ ใช้เพื่อวัดความสามารถในการทำกำไรของตลาดหุ้นในภูมิภาค, แบ่งตามประเภทของเศรษฐกิจ, หรือจะเป็นตลาดหุ้นทั้งโลก เช่น MSCI World Index
Multi-market index with fundamental weighting เป็นดัชนีที่คำนวณจากหุ้นหลายๆตาดเหมือนกับในข้อที่แล้ว แต่จะมีการให้นำหนักหุ้นจากตลาดต่างๆตามปัจจัยพื้นฐาน เช่น GDP ของประเทศนั้นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศที่มีผลตอบแทนจากหุ้นสูงในอดีตมีน้ำหนักในดัชนีสูงเกินไป
Sector index เป็นดัชนีที่คำนวณจากกลุ่มอุตสาหกรรมใดกลุ่มอุตสาหกรรมหนึ่ง เช่น ธนาคาร, อาหาร, หรือโรงพยาบาล ซึ่งนักลงทุนสามารถใช้ดัชนีประเภทนี้ในการดูวัฏจักรของอุตสาหกรรม โดยดัชนีสามารถคำนวณได้จากประเทศเดียวหรือทั้งโลกก็ได้
Style index เป็นดัชนีที่คำนวณจากผลตอบแทนที่ถ่วงน้ำหนักด้วยขนาดของบริษัท, กลยุทธ์ด้านมูลค่าหรือการเติบโต โดยบางดัชนีอาจนำสองปัจจัยมาผนวกกัน เช่น ดัชนีหุ้นขนาดเล็กที่มีแนวโฯ้มการเติบโตสูง เป็นต้น
ดัชนีตราสารหนี้ (Fixed Income Indexes)
ตราสารหนี้มีความหลากหลายมากกว่าหุ้น เนื่องจากมีทั้งปัจจัยเรื่องการจ่ายดอกเยี้ย, เรตติ้งของบริษัท, ระยะเวลา, และสิทธิต่างๆที่พ่วงมาด้วย เช่น สิทธิในการแปลงเป็นหุ้นสามัญ ดังนั้นจึงมีดัชนีตราสารหนี้รูปแบบต่างๆมากมาย รวมถึงส่วนที่คล้ายกับดัชนีหุ้น อาทิ ภูมิภาค, รูปแบบเศรษฐกิจ, และกลุ่มอุตสาหกรรม รวมถึงสามารถจัดกลุ่มดัชนีได้ตามประเภทของผู้ออกตราสารหนี้, สินทรัพย์ค้ำประกัน, ดอกเบี้ย, ระยะเวลา, ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระ, และความสามารถในการป้องกันเงินเฟ้อ โดยมีข้อควรรู้เพิ่มเติมดังนี้
– ตราสารหนี้มีรูปแบบที่หลากหลายกว่าหุ้นมาก และผู้ออกตราสารหนี้ไม่ได้มีเพียงบริษัทต่างๆ แต่ยังมีรัฐบาลอีกด้วย ซึ่งแต่ละองค์กรก็สามารถออกตราสารหนี้ได้หลายรูปแบบ อีกทั้งยังมีวันกำหนดไถ่ถอนซึ่งจะต้องถูกนำออกจากดัชนีและแทนที่ด้วยตราสารหนี้ตัวใหม่ ดังนั้นดัชนีตราสารหนี้จึงมีอัตราหมุนเวียนหักทรัพย์ที่สูงกว่าดัชนีหุ้น
– ตราสารหนี้มักจะถูกซื้อขายผ่านดีลเลอร์ ดังนั้นราคาที่คำนวณในดัชนีจะเป็นราคาล่าสุดที่ซื้อขายผ่านดีลเลอร์ ซึ่งตราสารหนี้ส่วนใหญ่จะมีสภาพคล่องต่ำจึงอาจทำให้ไม่มีราคาซื้อขาย ทำให้องค์กรที่คำนวณดัชนีต้องประมาณราคาซื้อขายเองจากตราสารหนี้ที่มีลักษณะคล้ายกันที่เพิ่งมีการซื้อขายไป
ดัชนีการลงทุนทางเลือก (Alternative Investment Indexes)
การลงุทนทางเลือกก็เป็นตัวเลือกที่นักลงทุนสนใจ เนื่องจากสามารถใช้สำหรับการกระจายความเสี่ยง โดยประเภทสินทรัพย์ทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดได้แก่ สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities), อสังหาริมทรัพย์ (Real estate), และ Hedge funds
ดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์เป็นการคำนวณจากราคาสัญญาซื้อขายล่วงหนี้ (Futures contracts) ของสินค้าแต่ละประเภท เช่น พืชสวน, พืชไร่, และโลหะต่างๆ เป็นต้น ซึ่งดัชีประเภทนี้มีข้อสังเกตตรงที่จะมีการถ่วงน้ำหนักสินค้าโภคภัณฑ์แต่ละประเภทต่างกัน โดยอาจให้นำหนักที่เท่ากัน (Equal weighting) หรือให้น้ำหนักตามมูลค่าการผลิต ดังนั้นแต่ละดัชนีจึงมีการเคลื่อไหวที่แตกต่างกัน อีกทั้งดัชนีเป็นการคำนวณจากสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สะท้อนราคาซื้อขายในอนาคต และมีการเปลี่ยนสัญญาที่หมดอายุด้วยสัญญาตัวใหม่ ดังนั้นผลตอบแทนจากสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจึงต่างไปจากผลตอบแทนซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์จริงๆ
ดัชนีอสังหาริมทรัพย์คำนวณจากราคาสินทรัพย์ที่เปลี่ยนไป หรือความสามารถในการทำกำไรของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (REITs) ซึ่งมีสภาพคล่องสูงกว่าการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์จริงๆ ตัวอย่างดัชนี REITs เช่น FTSE International
Hedge funds เป็นการนำเงินของนักลงทุนมารวมกันแล้วลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกต่างๆโดยใช้เงินกู้ยืมร่วมด้วย และมีการลงทุนในทั้งฝั่ง Short และ Long ดัชนี Hedge fund ส่วนใหญ่จะให้น้ำหนักแต่ละกองทุนในดัชนีเท่าๆกัน อย่างไรก็ตาม Hedge funds มักไม่ได้ถูกกำกับดูแลโดยองค์กรต่าๆ และไม่จำเป็นต้องรานงานผลตอบแทนไปในดัชนีต่างๆ ดังนั้นกองทุนประเภทนี้จึงมักไม่รายงานไปในดัชนีและมีผลตอบแทนที่หลากหลายมากในแต่ละกองทุน ซึ่งกองทุนที่รายงานผลตอบแทนให้กับดัชนีมักจะเป็ฯกองทุนที่มีกำไรเท่านั้น ส่วนกองทุนที่ขาดทุนก็มักจะเก็บข้อมูลเป็นความลับ ส่วนกองทุนที่เคยมีกำไรในอดีตแต่ขาดทุนในปัจจุบันก็มีกจะหยุดรายงานข้อมูลให้ดัชนี ส่งผลให้ดัชนี Hedge fund มีความลำเอียงไปในเชิงบวก
บทความที่เกี่ยวข้อง