Source: https://www.linkedin.com/pulse/rebalancing-your-index-portfolio-does-have-so-hard-charles-glah-2j5oe/

การปรับมูลค่า (Rebalancing) เป็นการปรับจำนวนหลักทรัพย์ในพอร์ตโฟลิโอเมื่อเวลาผ่านไป (ราคาหลักทรัพย์เปลี่ยนไป) เพื่อให้แต่ละหลักทรัพย์ในพอร์ตโฟลิโอมีมูลค่าตามความต้องการ วิธีการปรับมูลค่านี้ถูกใช้มากที่สุดใน Equal-weighted portfolio ซึ่งเมื่อราคาหลักทรัพย์แต่ละตัวเปลี่ยนไปจะต้องมีการปรับมูลค่าเป็นช่วงๆ

Source: https://www.nasdaq.com/articles/what-to-know-about-the-annual-russell-index-changes

การปรับโครงสร้าง (Reconstitution) เป็นการเพิ่มหรือลดหลักทรัพย์ในดัชนี โดยเป็นการนำหลักทรัพย์ออกจากดัชนี เมื่อหลักทรัพย์นั้นไม่อยู่ในเกณฑ์แล้ว และนำหลักทรัพย์อื่นๆที่เข้าเกณฑ์ของดัชนี นั้นๆเข้ามาแทน 

ซึ่งเมื่อหลักทรัพย์ถูกนำเข้ามาบรรจุในดัชนี ราคาของหลักทรัพย์นั้นก็มักจะสูงขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากผู้จัดการกองทุนมักจะซื้อหลักทรัพย์นั้นเพื่อให้พอร์ตโฟลิโอมีองค์ประกอบเหมือนกับดัชนีนั่นเอง ส่วนหลักทรัพย์ที่ถูกถอดออกจากดัชนีก็มักจะมีราคาต่ำลงเนื่องจากผู้จัดการกองทุนขายหลักทรัพย์นั้นออกไป

การใช้งานดัชนีหลักทรัพย์

เราสามารถนำดัชนีหลักทรัพย์มาใช้งานได้ในรูปแบบดังนี้:

– บอกอารมณ์ของตลาด (Market sentiment) ดัชนีต่างๆเป็นการวัดผลตอบแทนของตลาด ดังนั้นจึงเป็นตัวที่บอกความมั่นใจของนักลงทุนเช่นกัน อย่างไรก็ตามดัชนีเช่น Dow Jones เป็นการคำนวณผลตอบแทนจากหุ้นเพียง 30 ตัวเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการสะท้อนอารมณ์ตลาด

– ใช้วัดความสามารถของผู้จัดการกองทุน เนื่องจากผู้จัดการกองทุนบริหารกองทุนชนิด Active funds (จัดการพอร์ตโฟลิโอเองโดยไม่ได้ลงทุนตามดัชนี) ต้องการบริหารกองทุนให้มีผลตอบแทนชนะตลาด ดังนั้นดัชนีที่ใช้เปรียบเทียบกับผลตอบแทนของพอร์ตโฟลิโอของผู้จัดการกองทุนจึงควรเป็นดัชนีที่เกี่ยวข้องกัน เช่น กองทุนที่ลงทุนในหุ้นขนาดเล็กก็ควรจะเปรียบเทียบกับดัชนีหุ้นขนาดเล็ก ไม่ใช้ดัชนีหุ้นทั้งตลาด

– ใช้วัดผลตอบแทนและความเสี่ยงของตลาด เนื่องจากดัชนีเป็นการคำนวณผลตอบแทนอยู่แล้ว และเรายังสามารถนำค่าดัชนีในอดีตมาคำนวณหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ซึ่งก็คือระดับความเสี่ยงของตลาดได้

– ใช้คำนวณค่า Beta และผลตอบแทนเทียบกับควาทเสี่ยง (Risk-adjusted return) การคำนวณค่า Beta ของแต่ละหลักทรัพย์จำเป็นจะต้องเปรียบเทียบความเสี่ยงของหลักทรัพย์นั้นกับความเสี่ยงของตลาด ดังนั้นดัชนีของตลาดจึงจำเป็นในการคำนวณค่า Beta และเมื่อได้ค่า Beta มาแล้วก็สามารถหาผลตอบแทนที่คาดหวัง (Expected return) ของแต่ละหลักทรัพย์ได้จากสมการ CAPM

– ใช้ดัชนีเป็นพอร์ตโฟลิโอตัวอย่างของกองทุนดัชนี (Index funds) เป็นกองทุนชนิด Passive funds ที่จะมีการจัดพอร์ตโฟลิโอตามดัชนีต่างๆ ดังนั้นผลตอบแทนที่ได้จากกองทุนก็จะใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนีด้วยนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง