ตลาดแรก (Primary market) เป็นการขายหลักทรัพย์ที่เพิ่งออกใหม่ แบ่งได้เป็น (1) หุ้นเพิ่มทุนที่บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้วต้องการระดมทุนเพิ่มเติม (Secondary issue) (2) หุ้นเพิ่มทุนที่บริษัทยังไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ออกหุ้นเพื่อเข้าตลาด (Initial public offering (IPO))
ตลาดรอง (Secondary market) เป็นตลาดสำหรับซื้อขายหลักทรัพย์ที่ออกมาแล้ว ดังนั้นการส่งคำสั่งซื้อหุ้นในตลาดรองจะไม่เป็นการเพิ่มทุนของบริษัทนั่นเอง
Public Offering
ไม่ว่าบริษัทต่างๆจะต้องการออกหุ้นสามัญหรือหุ้นกู้ โดยส่วนใหญ่จะดำเนินการผ่านบริษัทวาณิชธนกิจ (Investment banks) ซึ่งบริษัทวาณิชธนกิจจะทำการสำรวจความสนใจในการจองซื้อหุ้น (Indications of interest) ของนักลงทุน ถ้าหากนักลงทุนมีความสนใจที่จะซื้อมากกว่าจำนวนหุ้นที่จะเปิดให้จองก็อาจมีการปรับราคาจองหุ้น (Offering price) ขึ้น แต่ถ้าเป็นในทางตรงกันข้ามก็อาจปรับราคาจองลง
วิธีการที่บริษัทวาณิชธนกิจออกหุ้นส่วนใหญ่บริษัทจะทำหน้าที่เป็น Underwriter ซึ่งจะทำการซื้อหุ้นเพิ่มทั้งหมดตามราคาที่ตกลงกับบริษัทที่กำลังเข้าตลาดหุ้น แล้วก็ขายให้กับนักลงทุนที่จองหุ้นเอาไว้ โดยหากหุ้นถูกจองไม่หมด Underwriter จะต้องเป็นผู้ซื้อส่วนที่เหลือเอาไว้ทั้งหมด
Source: https://corporatefinanceinstitute.com/resources/equities/best-efforts/
นอกจากบริษัทวาณิชธนกิจจะออกหุ้นโดยเป็น Underwriter แล้ว ยังสามารถนำหุ้นเข้าตลาดด้วยวิธี Best efforts ซึ่งหากหุ้นที่ต้องการระดมทุนถูกจองไม่ครบก็ไม่จำเป็นต้องซื้อหุ้นส่วนที่เหลือ
ความขัดแย้งระหว่างบริษัทที่ต้องการเข้าตลาดหุ้นกับบริษัทวาณิชธนกิจจะอยู่ที่ราคาจองหุ้น IPO โดยบริษัทต้องการที่จะขายหุ้นที่จะออกใหม่ในราคาสูงที่สุดเท่าที่จะขายได้ แต่บริษัทวาณิชธนกิจต้องการที่จะขายหุ้นในราคาต่ำเพื่อที่จะไม่ให้มีหุ้นเหลือและยังสามารถขายหุ้นราคาถูกให้กับลูกค้าตัวเองอีกด้วย นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมราคาจองหุ้น IPO มักจะถูกกว่าราคาตามปัจจัยพื้นฐาน
อย่างไรก็ตามในอีกมุมหนึ่งบริษัทที่ต้องการออกหุ้น IPO ก็ไม่อยากที่จะออกหุ้นแพงเกินไปเช่นกัน เนื่องจากเมื่อหุ้นเข้าตลาดแล้วอาจซื้อขายกัยในราคาที่ต่ำกว่าราคาจอง ซึ่งจะส่งผลให้ภาพลักษณ์บริษัทดูไม่ดี
Private Placement and Other Transactions
Private placement (PP) เป็นการขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับนักลงทุนเฉพาะกลุ่ม โดยยังต้องมีการช่วยเหลือจากบริษัทวาณิชธนกิจในการออกหุ้น โดยการออกหุ้นประเภทนี้มักจะไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลบริษัทมากเท่ากับการออกหุ้น IPO และมีต้นทุนในการออกหุ้นที่ถูกกว่าอีกด้วย แต่ราคาหุ้นที่ออกก็จะมีราคาที่ถูกกว่าหุ้น IPO เนื่องจากหุ้นไม่สามารถซื้อขายในตลาดหุ้นได้
Shelf registration เป็นการประกาศจองหุ้นเป็นสาธารณะเหมือนกับการออกหุ้น IPO แต่ว่าจะเป็นการทยอยออกหุ้นเมื่อบริษัทต้องการใช้เงินทุนในช่วงเวลาต่างๆ ไม่ได้ออกหุ้นทีเดียวทั้งหมด
Dividend reinvestment plan (DRP) เป็นการให้สิทธิผู้ถือหุ้นนำเงินปันผลมาซื้อหุ้นเพิ่มในราคาที่ถูกกว่าตลาดเล็กน้อย
Right offering (RO) เป็นการเพิ่มทุนโดยให้สิทธิผู้ถือหุ้นในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วนที่บริษัทกำหนด ซึ่งนักลงทุนจะไม่ชอบวิธีการนี้เนื่องจากหุ้นของตัวเองจะมีค่าลดลง (Diluted) หากไม่ใช้สิทธิในการจองหุ้นเพิ่มทุนนี้
ความสำคัญของตลาดรอง
ตลาดรองมีความสำคัญต่อระบบทางการเงินเนื่องจากช่วยเพิ่มสภาพคล่อง และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับราคาและมูลค่าของหลักทรัพย์สู่สาธารณะ เมื่อหลักทรัพย์มีสภาพคล่องสูงก็จะสามารถขายได้ในราคาที่ไม่ต่างไปจากราคาตลาดมากนัก โดยตลาดรองที่ดีบริษัทจะสามารถระดมทุนในตลาดแรกได้ง่าย และมี Cost of capital ที่ต่ำตามมา
บทความที่เกี่ยวข้อง
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: Financial System (Part 1) บทนำ
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: Financial System (Part 2) Positions and Leverage
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: Financial System (Part 3) Order Execution
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: Financial System (Part 4) Primary and Secondary Market
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: Financial System (Part 5) Quote-Driven, Order-Driven, and Brokered Markets
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: Financial System (Part 6) ลักษณะของระบบการเงินที่ดี