Source: https://www.ig.com/en/trading-strategies/taking-a-long-vs–short-position–which-should-i-use-220526
นักลงทุนที่ซื้อสินทรัพย์ หรือถือสิทธิ/ข้อผูกมัดในการซื้อสินทรัพย์ในอนาคตจะเรียกว่ามีสถานะ Long (Long position) ส่วนสถานะ Short (Short position) เป็นการยืมสินทรัพยมาเพื่อขายก่อน แล้วซื้อสินทรัพย์นั้นคืนในอนาคต (Covering the short position) ดังนั้นการทำกำไรจากการ Short จะต้องขายในราคาที่แพงกว่าราคาซื้อคืนนั่นเอง
ผู้ป้องกันความเสี่ยง (Hedgers) จะทำการขาย Short เพื่อลดความเสี่ยงตามตัวอย่างที่เราเคยอธิบายไปในบทความก่อนหน้า
สำหรับอนุพันธ์ชนิด Options ผู้ที่ทำการซื้อสัญญาจะอยู่ในสถานะ Long (Long position) ส่วนผู้ขาย (Short) จะเรียกว่าเป็นผู้เขียนสัญญา Option เนื่องจากสถานะ Short สำหรับ Options ถือว่าเป็นข้อผูกมัดในการซื้อ/ขายตามสัญญา ในขณะที่สถานะ Long สำหรับ Options เป็นเพียงสิทธิในการซื้อ/ขาย ดังนั้นการซื้อสิทธิในการขาย (Long put) จึงไม่เหมือนกับการขายข้อผูกมัดในการซื้อ (Short call) นั่นเอง
Leveraged position
เป็นการซื้อหลักทรัพย์โดยกู้เงินมาลงทุนบางส่วน เรียกว่าเป็นการซื้อบนมาร์จิ้น (Buy on margin) ซึ่งสินเชื่อที่กู้มาลงทุนเรียกว่า Margin loan และอัตราดอกเบี้ยในการกู้เรียกว่า Call money rate
Source: (Errold, 2020)
เมื่อผู้ใช้บัญชี Margin ซื้อหุ้นตัวนั้นๆครั้งแรกจะต้องใช้เงินตัวเองซื้อตามสัดส่วน Initial margin requirement (IMR) เช่น หากหุ้น A มี IMR 50% แปลว่านักลงทุนจะต้องใช้เงินตัวเองซื้อหุ้นเป็นจำนวนอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของมูลค่าหุ้นรวมที่ซื้อ
การซื้อหลักทรัพย์บนมาร์จิ้นจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยง โดยสามารถเพิ่มได้ทั้งส่วนที่เป็นกำไรและส่วนขาดทุนโดยใช้เงินลงทุนในจำนวนที่เท่ากับการลงทุนด้วยการซื้อด้วยเงินตัวเอง 100%
Source: (Errold, 2020)
เมื่อนักลงทุนถือหลักทรัพย์นั้นไปเรื่อยแล้วราคาเกิดปรับตัวลงจนสัดส่วนหุ้น (Equity) ที่มีต่ำกว่า Maintenance margin requirement (MMR) นักลงทุนจะได้รับ Margin call ซึ่งนักลงทุนสามารถทำได้ 2 ทาง (1) โดนบังคับขายหุ้นส่วน Margin ทิ้งไปจนส่วน Equity กลับมาสูงเท่าสัดส่วน MMR (2) เติมเงินเข้าไปเพื่อซื้อหุ้นเพิ่มจนส่วน Equity กลับมาสูงเท่าสัดส่วน MMR เราสามารถคำนวณหาราคาที่จะเกิด Margin call ได้ด้วยสูตรดังนี้:
บทความที่เกี่ยวข้อง
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: Financial System (Part 1) บทนำ
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: Financial System (Part 2) Positions and Leverage
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: Financial System (Part 3) Order Execution
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: Financial System (Part 4) Primary and Secondary Market
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: Financial System (Part 5) Quote-Driven, Order-Driven, and Brokered Markets
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: Financial System (Part 6) ลักษณะของระบบการเงินที่ดี