Permanent difference เป็นความแตกต่างระหว่าง Taxable income ใน Tax return กับ Pretax income ใน Income statement ที่จะไม่ย้อนกลับมาเท่ากัน นั่นหมายความว่าจะไม่มี Deferred tax assets และ liabilities เกิดขึ้น สามารถเกิดได้จากรายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี, ค่าใช้จ่ายที่สามารถหักภาษีได้, หรือการได้รับการลดภาษีโดยตรง

Source: https://prepnuggets.com/glossary/permanent-differences/

Permanent difference ส่งผลให้อัตราภาษีที่แท้จริง (Effective tax rate) มีค่าต่างไปจากอัตราภาษีตามกฎหมาย (Statutory tax rate) มีสูตรคำนวณดังนี้

Effective tax rate = Income tax expense / Pretax income

นอกจากประเด็นเกี่ยวกับ Permanent different แล้ว การที่บริษัททำธุรกิจอยู่ในหลายประเทศก็ส่งผลให้ Effective tax rate กับ Statutory tax rate มีค่าแตกต่างกันได้เช่นกัน

Tax Rate Reconciliation

การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่าง Effective tax rate กับ Statutory tax rate จะทำให้เราสามารถประมาณการกำไรและกระแสเงินสดในอนาคตของบริษัทได้ดียิ่งขึ้น 

จากตารางเคสตัวอย่างด้านบนจะเห็นว่ามี Statutory tax rate อยู่ที่ 35.0% ส่วนอัตราภาษีที่จ่ายให้กับรัฐ (State taxes) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 2016 และ 2017 

อย่างไรก็ตาม Effective tax rate ปี 2016 ลดลงมา y-y เหลือ 33.5% เนื่องจากบริษัทได้รับ Tax credit ในการมาช่วยลดภาษีที่ต้องจ่ายจริงลง ส่วนรายการให้หุ้นกับพนักงาน (Share-based compensation) ที่เพิ่มขึ้นมาก็ถูกหักล้างไปกับรายการอื่นๆ (Other)

สำหรับปี 2017 Effective tax rate เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยเป็น 34.3% เนื่องจากรายการ Other ที่ลดลงจากปีก่อน และ Share-based compensation ที่เพิ่มขึ้นมานั่นเอง

จบกันไปเรียบร้อยแล้วสำหรับเนื้อหาเกี่ยวกับภาษีนิติบุคคลที่นักลงทุนควรทราบทั้ง 5 พาร์ท ในบทความถัดไปเราจะมาอธิบายเรื่องหนี้สินไม่หมุนเวียน (Non-current liabilities) ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับตราสารหนี้ เช่น หุ้นกู้ (Bonds) และพันธบัตรรัฐบาล (Government bonds)

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง