MONEY SUMMARY

สรุปเรื่องเงินให้เข้าใจง่ายใน 1 เล่ม

ผู้เขียน : จักรพงษ์ เมษพันธุ์ และ วิฑูรย์ สูงกิจบูลย์

สรุปหนังสือ MONEY SUMMARY สรุปเรื่องเงินให้เข้าใจง่ายใน 1 เล่ม

สั่งซื้อหนังสือ “MONEY SUMMARY สรุปเรื่องเงินให้เข้าใจง่ายใน 1 เล่ม” ได้ที่นี่ : คลิ๊ก

หนังสือที่รวบรวมพื้นฐานความเข้าใจทางการเงินอย่างรอบด้านที่ทุกคนควรรู้ เหมาะกับผู้มีรายได้ทุกคนที่อยากเริ่มต้นศึกษาด้วยตัวเอง สำหรับมือใหม่แม้จะไม่มีพื้นฐานความรู้ด้านการเงินมาก่อนก็ทำความเข้าใจได้ไม่ยาก เพื่อดีเริ่มวางแผนการเงินอย่างมีเป้าหมาย ส่วนมือเก๋าที่ต้องต่อยอดความมั่งคั่งไปสู่อิสรภาพทางการเงินก็จำเป็นต้องทบทวนซ้ำให้ขึ้นใจตลอด

40 ความรู้ทางการเงิน ที่ถูกต้องจาก Money coach ได้ถูกย่อสรุปความให้เหลือเพียงหนึ่งเล่มแบบเข้าใจง่าย สามารถอ่านจบได้ภายในสามชั่วโมง แล้วคุณจะพบคำตอบของ “วิธีการจัดการ การเงินให้มีเงินใช้ไปตลอดชีวิต”

  1. เรียนรู้ครั้งเดียวใช้ได้ตลอดชีวิต

วิชาการเงินจะเป็นวิชาที่คุ้มค่ากับการลงทุนเวลาเพื่อเรียนรู้อย่างมาก เพราะเรียนรู้ครั้งเดียวใช้ได้ตลอดชีวิต เมื่อเทียบกับสาขาวิชาอื่นๆที่หลักคิดเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัยแต่เรื่องการเงินนั้นแม้เครื่องไม้เครื่องมืออาจมีการปรับเปลี่ยนไปบ้างแต่หลักคิดหลักการก็ยังเหมือนเดิมไม่เคยเปลี่ยน ซึ่งหนีไม่พ้นสามเสาหลักสำคัญ นั่นคือ

  1. ทุกจังหวะของชีวิตต้องไม่ขาดสภาพคล่อง
  2. ในวันที่อะไรยังดีๆก็ให้รู้จักเตรียมพร้อมรับมือกับเรื่องร้ายๆราย
  3. ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ค่อยๆสะสมความมั่งคั่งตามความรู้และจิตของตัวเอง

ดังนั้น ทุกคนบนโลกใบนี้ที่มีชีวิตผูกพันกับการเงิน ทุกคนต้องวางแผนการเงินให้กับชีวิตของตัวเองด้วยกันทั้งสิ้น

  1. เก่งงานไม่พอต้องเก่งเงินด้วย

เป็นครั้งแรก ที่ผมตระหนักรู้ว่าการทำงานเก่งอย่างเดียวอาจไม่พอที่จะทำให้ชีวิตมีความสุขและอยากยั่งยืน แต่ถ้าเก่งทั้งงานและการเงินปัญหาชีวิตอาจแก้ได้ง่ายขึ้น ผมคงไม่รอดและไม่มีชีวิตอย่างที่ต้องการถ้าไม่รู้จักมันนี่โค้ช และความรู้ทางการเงินที่ใช้ได้จริง ความรู้ทั้งหมดที่ว่ามา สรุปอยู่ในหนังสือเล่มนี้แล้ว

  1. สิ่งที่สำคัญกว่าเงิน

การเงินที่แข็งแกร่งเริ่มจากการมีความรู้ทางการเงิน ความรู้ทางการเงินเริ่มจากความคิดที่ถูกต้อง

ความคิดที่ถูกต้อง = Google Map บอกวิธีไปยังจุดหมายให้เรารู้กำหนดเส้นทางที่ต้องไปได้ชัดเจนเพียงเดินตามเส้นทางนี้ยังไงก็สำเร็จ

ความรู้ทางด้านการเงิน = พาหนะเดินทาง พาหนะเดินทางที่ดีช่วยเราไปถึงเป้าหมายของชีวิตเร็วและง่ายมากขึ้น

ถ้าอยากมีความมั่งคั่งเพิ่มก็ต้องเพิ่มความรู้ทางการเงินความรู้ทางการเงินที่จะเพิ่มได้ก็ต้องมาจากการเพิ่มชุดความคิดที่ถูกต้องในจำนวนที่มาพอ

  1. 4 เป้าหมายทางการเงินพื้นฐานที่ควรรู้

คุณเคยรู้สึกอึดอัด เวลามีใครมาประกาศเป้าหมายทางการเงินให้ได้ยินไหม เป้าหมายทางการเงินของแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเท่ากันขึ้นอยู่กับว่ากำลังพูดถึงเป้าหมายในพื้นฐานข้อใด

  1. พอเพียงเลี้ยงชีพ
  2. เติมสุข
  3. ลดเสียง
  4. บางครั้งมากพอ

ทฤษฎีมาสโลว์กับรายได้

  • รายได้เพื่อความอยู่รอด รายได้ขั้นต่ำที่ทำให้ดำรงชีพได้
  • รายได้เพื่อความปลอดภัย รายได้ที่ทำให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมั่นคงแม้มีเหตุฉุกเฉิน
  • รายได้เพื่ออิสรภาพ รายได้มากพอให้เราใช้จ่ายเพื่อเติมความสุขในชีวิต
  • รายได้เพื่อความรัก รายได้เพื่อแบ่งปันให้คนอื่นที่ควรได้รับการช่วยเหลือแทนความรัก
  • รายได้เพื่อความฝัน รายได้ที่ช่วยให้เราค้นพบความสุขและความต้องการที่แท้จริง
  1. การเงินของคุณสุขภาพดีแค่ไหน

สุขภาพทางการเงินที่ดีมีขั้นตอนของมันเราไม่สามารถวางแผนเกษียณได้อย่างมั่นคงและเป็นจริงได้ถ้าในแต่ละเดือนยังไม่เหลือออมเลยสักบาท การเงินที่แข็งแรงเริ่มจะมีท่านฐานที่ดีเสมอ ให้เริ่มต้นจากก้าวแรกเมื่อทำได้แล้วความมั่นใจจะมาเอง

  1. สภาพคล่องดี มีกินมีใช้มีเหลือเก็บมากกว่าเท่า 10% ของรายได้ต่อเดือน
  2. ปลอดนี้จน ไม่มีหนี้บริโภค ค้างชำระในบัญชี
  3. พร้อมชนความเสี่ยง มีเงินสำรองหรือตัวช่วยกรณีเกิดเหตุไม่คาดคิด
  4. มีเสบียงสำรอง มีเงินจัดการค่าใช้จ่ายมากกว่า 6 เดือนแม้ไม่มีรายได้
  5. สอดคล้องเกณฑ์ภาษี วางแผนภาษีเองได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้ประโยชน์สูงสุด
  6. บั้นปลายมีทุนเกษียณ รู้เป้าหมายเงินเพื่อเกษียณวางแผนและลงมือทำ

6. 3 คุณสมบัติของคนสำเร็จทางการเงิน

ไม่ว่าโจทย์ทางการเงินของเราจะยากแค่ไหนขอเพียงรับผิดชอบ มีวินัย ใฝ่รู้เราก็สามารถพลิกเกมจากการเงิน ที่พ่ายแพ้ให้กลายเป็นชนะได้

  1. มีความรับผิดชอบทางการเงิน ตระหนักว่าเรามีหน้าที่ควบคุมจัดการเงินของตัวเอง
  2. มีความรู้ทางการเงิน มีความเข้าใจที่ถูกต้องในการบริหารจัดการเงิน
  3. มีวินัยทางการเงิน นำความรู้มากำหนดเป้าหมายและแผนการเงินของตัวเองและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด จนเกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ

7. หลักความมั่งคั่งทางการเงิน

หลักความมั่งคั่งทางการเงินง่ายๆ 4 อย่าง

  1. หาได้ หารายได้เพียงพอเลี้ยงชีพ
  2. ใช้เหลือ จัดการค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม
  3. เผื่อออม สะสมความมั่งคั่งเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ
  4. ต่อยอด สร้างทรัพย์สินให้เพิ่มพูนมั่งคั่ง

8. 9 กฎทองของความมั่งคั่ง

    1. เริ่มต้นที่ใช้จ่าย
    2. สร้างสินทรัพย์ก่อนหนี้สิน
    3. วางแผนเกษียณตั้งแต่ทำงานวันแรก
    4. พร้อมรับมือกับเรื่องร้ายๆ
    5. ลงทุนในความรู้
    6. ลงทุนในกระแสเงินสด
    7. บริหารจัดการเงินให้เป็นระบบระเบียบ
    8. รวยไม่ได้ถ้าให้ไม่เป็น
    9. คิด ทำ มี
  1. สมการของการสร้างรายได้

ความมั่งคั่ง = คุณค่า x พลังทวี

คุณค่า คือความสามารถของเราที่เป็นประโยชน์กับคนอื่นเป็นที่ต้องการของคนอื่น

พลังทวี คืออะไรก็ได้ที่ทำให้คุณค่าของเราได้รับการยอมรับ รับรู้ในวงกว้างโดยมีผลลัพธ์สำคัญคือช่วยให้คนรับรู้มากขึ้น แก้ปัญหาได้มากขึ้น หรืออีกนัยก็คือทำให้คุณค่าของคุณมากขึ้นนั่นเอง

  1. เงิน 4 ด้านของพ่อรวย (ที่ถูกต้อง)

รายได้มี 4 รูปแบบไม่มีอันไหนดีหรือด้อยกว่า ได้แก่

E รายได้จากงานประจำ สม่ำเสมอมีสวัสดิการโอกาสรายได้ เพิ่มมากกว่ารถ

S รายได้จากกิจการส่วนตัว รายได้ขึ้นกับคุณค่าและปริมาณไม่สม่ำเสมอมีขึ้นมีลง

B รายได้จากธุรกิจส่วนตัว บางครั้งได้ถ้าสร้างระบบที่ดีมักมีรายจ่ายสูงมีโอกาสขาดทุน

I รายได้จากการลงทุน ใช้สินทรัพย์สร้างสินทรัพย์มีโอกาสขาดทุนจากการลงทุน

ใครที่เคยอ่านหนังสือในซีรีส์ พ่อรวยสอนลูก น่าจะรู้จักกับสัญลักษณ์เหล่านี้ กันแทบทุกคนซึ่งเงิน 4 ด้านหมายถึงช่องทางหรือแหล่งที่มาของรายได้ 4 ช่องทางดังกล่าว แม้จะมีเงิน 4 ด้านแต่ก็ไม่ผิดอะไรหากคุณรักงานประจำของคุณและอยากทำมันไปจนเกษียณแต่อย่าลืมมีรายได้จากแหล่งอื่นควบคู่ไปด้วยเพื่อป้องกันความเสี่ยงของตัวเอง

  1. วางแผนสร้างรายได้แบบ Passive income

หลักคิดง่ายๆของการสร้าง Passive income จากธุรกิจก็คือ สร้างธุรกิจให้มีระบบที่เราไม่ต้องลงมือทำเองแต่ควบคุมและตรวจสอบได้ทั้งหมด เริ่มจากกิจการที่มีกำไรมากพอที่จะจ้างคนอื่นทำงานได้จากนั้นก็แค่วางระบบ วางมือ วางใจเพียงเท่านี้เราก็ทำธุรกิจเป็นทรัพย์สินที่สร้างกระแสเงินสดได้แล้ว

  1. ลงมือ ทำเองจนสร้างรายได้มากพอ
  2. วางระบบ ที่ใครก็ทำได้ผลลัพธ์เหมือนกัน
  3. วางมือ ไม่ทำเองแต่พัฒนาคนและวิธีควบคุม
  4. วางใจ ให้คนอื่นทำแล้วก็อย่าทุกข์ รู้สึกได้ดั่งใจ
  1. ชีวิตผ่อนคลายเมื่อมีรายได้หลายทาง

การมีรายได้หลายช่องทางเพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดรายได้หลักยังเป็นตัวช่วยสะสมความมั่งคั่งให้เร็วยิ่งขึ้นได้อีกด้วย ทุกวันนี้ผมมีหลากหลายรายได้จากหลายช่องทาง ใครที่ยังทำงานประจำอยู่หรือยังมีรายได้ปัจจุบันเพียงทางเดียวต้องหาทางทำให้ชีวิตคุณมั่นคงและปลอดภัยด้วยรายได้ทางดูนะครับ เพราะการมีรายได้เพียงทางเดียวต่อให้เยอะยังไงมันก็มีทางที่จะหายไปได้เสมอไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม

  1. ไอเดียหารายได้เสริมแบบ Money coach

ส่วนตัวผมเชื่อว่าเราทุกคนล้วนมีความสามารถบางอย่างที่แก้ปัญหา ช่วยเหลือใครสักคนให้เขาได้ประโยชน์ได้และถ้ามีดีพอรายได้ก็จะตามมาเองให้โอกาสตัวเองค้นหาความสามารถที่เสริมรายได้ดูแล้วจะรู้ว่ามันง่ายกว่าที่คิด โดยหลักการง่ายๆดังนี้

  1. ความรู้ทักษะ เรียนอบรม ประสบการณ์
  2. งานอดิเรกความถนัด สิ่งที่ชอบทำคนชอบมาขอให้ช่วย
  3. สายสัมพันธ์เครือข่าย ธุรกิจเพื่อนคนรู้จักต่อยอดได้
  4. ไอเดียการสังเกต มองปัญหาคิดวิธีแก้ที่ตอบโจทย์

16. ตัดสินใจรวย

ตัดสินใจ ผมชอบคำนี้จังเพราะมันหมายถึงการคิดไตร่ตรองเป็นอย่างดีในสิ่งที่จะทำ แล้วลงมือทำอย่างต่อเนื่อง ทำแบบเอาจริงเอาจังจนสำเร็จเด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นไหว ตัดสินใจไม่ใช่แค่ปากแต่ใช้ทั้งสมองใจ กายและจิตวิญญาณเพื่อที่จะทำในสิ่งที่มุ่งหวังให้เป็นจริง

คนสำเร็จแทบทุกคนล้วนแล้วแต่ต้องเคยตัดสินใจ ที่จะเป็นคนสำเร็จในเรื่องที่คิดฝันด้วยกันทั้งสิ้น แล้ววันนี้คุณตัดสินใจที่จะประสบความสำเร็จอะไรสักอย่างแล้วหรือยัง

  1. เริ่มเหลือ เริ่มรวย

การใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลเป็นจุดเริ่มต้นของความร่ำรวย การรู้จักออมเก็บเงิน และคิดให้ถี่ถ้วน ก่อนใช้เงิน เป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ ให้เมื่อคุณเจอวิกฤตต่างๆคุณจะสามารถปกครองได้ทั้งความสุข ของตัวเองการเงินและครอบครัว

  1. หนี้จน vs หนี้รวย

หนี้จน หนี้ที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม ทำให้กระแสเงินสดลดลง ยิ่งมีมากยิ่งจนแบ่งได้สองกลุ่ม

  1. หนี้บริโภค กรอบเพื่อจ่ายในชีวิตประจำวันใช้แล้วหมดไปไม่เกิดมูลค่าเพิ่มมักเป็นหนี้บัตรเครดิตบัตรกดเงินสด แต่หนี้นอกระบบ เป็นหนี้ที่ควรเลี่ยงเพราะส่วนใหญ่มีภาระทางการเงินสูงมาก
  2. หนี้เพื่อประกอบอาชีพและปัจจัยพื้นฐาน ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพและปัจจัยพื้นฐานตามความจำเป็นส่วนบุคคล จัดเป็นหนี้ที่ยอมรับได้แต่ต้องไม่ให้เกินความสามารถในการชำระ

หนี้รวย สร้างรายได้เพิ่มทำให้กระแสเงินสดเพิ่มเป็นการกู้ยืมไปลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างกระแสเงินสดโดยที่กระแสเงินสดสุทธิหลังรับและจ่ายเป็นบวก

แม้หนี้รวยจะเป็นหนี้ที่ดีแต่ไม่ได้หมายความว่าการกู้เพื่อสร้างกระแสเงินสดเป็นบวกจะประสบความสำเร็จทุกครั้งเราจำเป็นต้องมีความรู้ในการลงทุนที่ดีด้วยเสมอ

  1. 5 ขั้นตอนปลดหนี้
    1. หยุด หยุดก่อหนี้จน หยุดขุดหลุมหนี้ให้ลึกกว่าเดิมด้วยการไม่ก่อหนี้เพิ่ม
    2. ตรวจ ตรวจสอบหนี้คงค้างทั้งหมดเราไม่สามารถแก้ปัญหาได้ถ้าไม่รู้สภาพความเป็นจริง
    3. โปะ หาเงินก่อนมาโปะหนี้ แนวทางการชำระหนี้ คือนำรายได้ก้อนใหญ่ที่คาดว่าจะได้รับ เช่น ค่าคอมมิสชั่นโบนัสหรือนำสินทรัพย์บางส่วนมาแปลงเป็นเงินเพื่อชำระ เลือกชำระหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อนถ้าเบี้ยชำระ เท่ากันชำระงวดเงินน้อยกว่าก่อน
    4. รวม รวมหนี้เพื่อผ่อนชำระเป็นก้อนเดียว อาจจะใช้การรีไฟแนนซ์หรือทำสัญญากู้ใหม่ นำหนี้หลายก้อนมาร่วมเป็นก้อนเดียว
    5. วางแผน วางแผนชำระหนี้ด้วยเงินคงเหลือ เงินที่จะพอชำระหนี้เพิ่มได้หลังจากชำระขั้นต่ำทุกรายการด้วยการโปะหนี้ด้วยเงินก้อนใหญ่ คือทัพหลวงที่มีพลานุภาพสูงสุด
  1. วิธีปลดหนี้ด้วยยาแรง

สำหรับกรณีที่ภาระหนี้รุนแรงมากระดับการจ่ายชำระขั้นต่ำก็ไม่ไหววิธีการปลดหนี้จะต่างออกไป

  1. ประนอมหนี้ เป็นวิธีที่ง่ายและตรงไปตรงมาคือการสื่อสารกับเจ้าหนี้ตรงเพื่อขอลดดอกเบี้ยยืดเวลาผ่อนชำระและปรับสัญญาใหม่เท่าที่จะตกลงกันได้
  2. ถอนทรัพย์ ใช้วิธีนำทรัพย์สินที่มีอยู่ เช่นเงินตั้งใจสะสมไว้ยามเกษียณ อย่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันบำนาญ หรือทรัพย์สินมีค่ามาชำระหนี้
  3. ขายหนี้ ถ้าไม่สามารถชำระได้จริงๆก็ขายนี้เพื่อนำส่วนต่างที่มีมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นดีกว่า
  4. จำนอง นำสินทรัพย์ใหญ่อย่างบ้านปลอดภาระไปจำนองคล้ายการรีไฟแนนซ์รวมหนี้เป็นก้อนเดียว
  5. หยุดชำระ หากคุยกับเจ้าหนี้ไม่ได้ผลไม่มีทรัพย์สินให้ขายหรือจำนอง ต้องใช้วิธีตนเป็นที่พึ่งแห่งตนยอมเสียเครดิตทางการเงินผิดชำระนัดชั่วคราวเพื่อสะสมเงินทยอยคืนเจ้าหนี้ทีละราย

19. 3 อัตราส่วนทางการเงินที่ควรรู้

สภาพการเงินดีไม่ดีใช้อัตราส่วนบอกได้

 เงินออมและเงินลงทุน  (เงินออมและเงินลงทุน x 100) / รายได้รวมทั้งเดือน >= 10% (สภาวะการเงินที่ดี)

เงินชำระหนี้ต่อรายได้ (เงินชำระหนี้รายเดือน x 100) / รายได้รวมทั้งเดือน <= 30% ถ้าไม่มีหนี้รถ บ้าน และ <= 50%ถ้ามีนี้รถ บ้าน (สภาวะทางการเงินที่ดี)

ความมั่งคั่งสุทธิ สินทรัพย์รวม – หนี้สินรวม = สินทรัพย์สุทธิเป็นบวก (สภาวะการเงินที่ดี)

  1. 3 รูปแบบการออมสไตล์ Money coach

สภาพคล่องและความมั่งคั่งเริ่มต้นจากเงินออม

  1. หักออมก่อนใช้จ่ายแบบอัตโนมัติ
  2. ออมจากเศษเหรียญ
  3. หักภาษีฟุ่มเฟือยกับตัวเอง ทุกครั้งเมื่อใช้จ่าย ไปกับสิ่งของฟุ่มเฟือย

21. ออมเงินยังไง เก็บเงินได้ เก็บเงินอยู่

การออมที่ดีเริ่มต้นที่การวางแผนแต่สำเร็จได้ด้วยการลงมือทำอย่างต่อเนื่อง ออมเงินเท่าไหร่จึงเรียกว่าดีตามที่สถิติการเงินต้องตอบว่าสิบเปอร์เซ็นต์ของรายได้ทุกช่องทาง แต่เอาเข้าจริงเราไม่สามารถใช้หลักการนี้ได้กับทุกคน ดังนั้นหลักคิดการออมเท่าไหร่จะดีจึงเป็นดังนี้

  1. ดีต่อใจ ไม่มากจนรู้สึกลำบากแต่ก็ไม่น้อยจนไม่ต้องใช้ความพยายาม
  2. สม่ำเสมอ การออมที่ประสบความสำเร็จนั้นประกอบด้วยอีกหนึ่งปัจจัยคือออมให้สม่ำเสมอและต่อเนื่อง
  3. ขยับเป้า การออม เงินจำนวนหลักแสนได้โมเมนตัมชีวิตคุณจะเปลี่ยนไป เพราะการออมเงินจำนวนขนาดนี้ได้ต้องมีความคิดวินัยนิสัยดีๆหลายอย่างที่ทำให้คนจะรู้สึกดีและรักตัวเองเพิ่มขึ้น เมื่อไรก็ตามที่เราเริ่มมั่นใจว่าออมเงินเท่าที่ทำอยู่ได้สบายๆลองขยับเป้าให้สูงขึ้นเรื่อยๆดู

22. บ่อน้ำแห่งความหวัง

ทำไมคนผิดพลาดต้องมองแต่อดีตเราแก้ปัญหาในอดีตไปพร้อมกับการสร้างอนาคตควบคู่กันไปไม่ได้เหรอ ชีวิตคนเราอยู่ได้ด้วยความหวัง วันนี้ใครที่เจ็บจนอย่าลืมสร้างอนาคตไปพร้อมๆกับการแก้ไขอดีตชีวิตคนเราอยู่ได้ด้วยความหวัง เป็นหนี้มากแค่ไหนก็เริ่มต้นสร้างความร่ำรวยได้

  1. เปลี่ยนชีวิตด้วยการออมเงินเดือนให้ใช้ได้ 45 วัน

เริ่มจากเอาเงินรายได้มาวางแผน หักค่าใช้จ่ายสำคัญอาทิเช่น ค่าผ่อนคอนโด ค่าน้ำ ค่าไฟ การออมที่ตั้งไว้อัตโนมัติและค่าใช้จ่ายคงตัวอื่นๆ ส่วนเงินที่เหลือสำหรับกินใช้ส่วนตัวเธอนำมาหารด้วย 45 หรือพูดง่ายๆว่าเอาเงินที่เหลือมาวางแผนกิน 45 วัน แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าเราชื่อฟุ่มเฟือยบ้างไม่ได้เพราะการที่เราควบคุมการใช้จ่ายในวันอื่นๆมาดีมันก็ทำให้เรากินเกินที่กันไว้บ้าง

ไม่ได้บอกว่าวิธีนี้ดีสำหรับทุกคนพ่อที่ดีคือควรจะแผนการออมให้ตรงกับลักษณะและนิสัยประจำตัวของเราอันนั้นคือดีที่สุดไม่ว่าจะวิธีไหนถ้าคุณถนัดและเก็บได้อย่างต่อเนื่องมันก็ดีต่อใจทั้งสิ้น

  1. ความลับของการลงทุนแบบ DCA

DCA คือกลยุทธ์การลงทุนซื้อหุ้น กองทุนด้วยเงินเท่าๆกันในจังหวะที่สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนในระยะยาวไม่แพ้ตลาด โดยที่ไม่สนใจราคาที่ซื้อ มุ่งที่จะสะสมหุ้นหรือหน่วยลงทุนเป็นสำคัญ ถึงแม้ DCA จะไม่ใช่การลงทุนที่ดีที่สุด แต่ก็ช่วย สร้างวินัยและเน้นสะสมเงินในการลงทุน และเชื่อว่าในท้ายที่สุดเราจะ ได้รับการสะท้อนมูลค่า หลังจากลงทุนระยะยาว อย่างสม่ำเสมอ การลงทุนแบบ DCA อาจจะได้หุ้นในราคาที่ไม่ได้ถูกที่สุดแต่ก็ไม่ได้แพงที่สุดเช่นกัน

  1. ออมกองทุนหุ้นวันละ 10 บาทก็มั่งคั่งได้

ตัดเศษเงินหลักสิบทุกวันมาลงทุนในกองทุนหุ้นที่สามารถสั่งซื้อหน่วยลงทุนขั้นต่ำหลักสิบได้เพื่อสร้างความรู้สึกดีให้กับตัวเอง หากคุณยังมีหนี้ที่ติดตัวและยังชำระไม่หมดสมมุติว่า ในหนึ่งเดือนคุณมีเงินสามหมื่นบาทแต่เงินที่ได้มาทั้งหมดต้องเอาไปให้คนอื่นจนไม่เหลือให้ตัวเองเลยความรู้สึกแบบนี้แย่มาก บางครั้งการที่เราจมอยู่กับปัญหา เพราะว่าเรากำลังรู้สึกแย่กับตัวเอง

ถ้าถามว่าเทคนิคการเงินสอนกันได้ไหม สอนได้แต่อาจจะสู้ต่อ ไม่ไหว ก็เป็นได้เพราะฉะนั้นเราจะหาวิธีการอะไรก็ได้ที่ทำให้ตัวเองมีความสุขมีกำลังใจและขับเคลื่อนชีวิตเราไปข้างหน้าลงทุนแบบนี้อาจจะไม่ได้ทำให้รวยทรัพย์แต่มันทำให้รู้สึกยินดีกับตัวเอง ลองนำไอเดียไปปรับใช้ดูนะครับ

  1. 3 พลังทวีที่เศรษฐีใช้
    1. เงินของคนอื่น
  • เงินกู้ แหล่งสินเชื่อที่คนมักนึกถึงเป็นอันดับแรก ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงินทั้งในและนอกระบบซึ่งมักจะมีหลักเกณฑ์ในการกู้ยืมอยู่พอสมควร
  • หุ้นส่วน การร่วมทุนกันของหุ้นส่วนกิจการเพื่อนำทุนที่ลงร่วมกันไปใช้ในการสร้างและขยายกิจการ
  1. ทรัพยากรของคนอื่น

2.1 ลิขสิทธิ์ หรือในกรณีที่เรามีลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรแต่ไม่มีทรัพยากรเพียงพอที่จะลงทุน กล้าจะอนุญาตให้ผู้อื่นใช้ลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรของเราไปต่อยอดธุรกิจเพื่อสร้างรายได้และรับผลตอบแทนกลับคืนในรูปแบบค่าลิขสิทธ์ ได้

  1. ถูกโกงดอกเบี้ยได้ถ้าไม่รู้สิ่งนี้

จะฝากเงินกินดอกหรือจะใช้เงินกู้ควรรู้วิธีคิดดอกเบี้ย สิ่งสำคัญที่อยากฝากเอาไว้ ดอกเบี้ยเป็นเหมือนดาบสองคม ให้ทั้งคุณและโทษขึ้นอยู่กับการใช้ เรื่องการจ่ายดอกเบี้ยที่เป็นหนี้จน ด้วยการไม่ใช้จ่ายเกินตัวคุมความเสี่ยงดอกเบี้ยที่เป็นหนี้รวย ด้วยการหาความรู้ทางการเงินและหาวิธีรับดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดี

ดอกเบี้ยรายปี = เงินต้น x อัตราดอกเบี้ย x จำนวนปี

ดอกเบี้ยรายเดือน = เงินต้น x อัตราดอกเบี้ย x (จำนวนวัน / 365)

  1. มือใหม่ลงทุนในอะไรรวยเร็วสุด

สำหรับคนที่เริ่มต้นลงทุนก่อนที่เราจะเอาเงินที่เราเก็บของเราไปให้คนอื่นหรือเอาไปลงทุน สิ่งแรกที่เราควรลงทุนเป็นอันดับแรก ก็คือการลงทุนในความรู้ โดยเราควรลงทุน 3 รู้ด้วยกัน

  1. รู้เป้าหมาย สิ่งที่ควรทำคือการรู้จักเป้าหมายของตัวเองก่อนที่เราจะลงทุนต้องรู้ให้ชัดเจนก่อนว่า เราจะลงทุนเพื่ออะไร เท่าไรเมื่อไร
  2. รู้จักตัวเอง เมื่อรู้เป้าหมายว่าตัวเองต้องการอะไรแล้วทีนี้ก็ต้องมาดูว่าตัวเราเป็นคนรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้มากน้อยแค่ไหน
  3. รู้จักเครื่องมือลงทุน และความรู้วันสุดท้ายที่สำคัญไม่แพ้สองอันก่อนหน้านี้คือการรู้จักเครื่องมือการลงทุนหรือพาหนะที่จะนำพาเงินของเราไปสู่เป้าหมาย
  4. 3 แผนการสร้างกำไรที่เศรษฐีอสังหาฯ ไม่เคยบอกคุณ

ถ้าการลงทุนมันง่าย แค่มีเงินก็ลงทุนได้แล้วทำไมคนส่วนใหญ่ถึงลงทุนแล้วขาดทุนกันล่ะ การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าก็ไม่ต่างอะไรกับการลงทุนอื่นๆ ที่ต้องมีแผนการลงทุนที่ดีตั้งแต่การเข้าซื้อถือครองไปถึงการขายออกเพื่อทำกำไร ซึ่งถ้าหากคุณวางแผนการลงทุนของตัวเองได้ดีก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการขาดทุนและเพิ่มโอกาสการทำกำไรได้มากทีเดียว ดังนั้นจึงมีแผนที่ต้องพิจารณาอยู่ 3 ขั้นตอนด้วยกัน

  1. แผนการเข้าซื้อหรือครอบครองทรัพย์สิน หมายถึงการเริ่มสำรวจและคัดเลือกอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าที่น่าสนใจ ประเมินราคาซื้อเสนอซื้อและหาเงินทุนเพื่อซื้อสินทรัพย์นั้น
  2. แผนการบริหารจัดการทรัพย์สิน หมายถึงแผนการปรับปรุงทรัพย์สินแผนการใช้งานการบริหารจัดการทรัพย์สินให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นนี้ลดลงรายรับเพิ่มและควบคุมค่าใช้จ่าย
  3. แผนการออก แผนการเลิกครอบครองสินทรัพย์นั้นทั้งในสถานการณ์ที่ดีและเลวร้ายโดยสถานการณ์ที่ดีอาจหมายถึงการได้รับข้อเสนอซื้อในราคาที่พอใจ
  4. 5 กฎทองของการลงทุนอสังหาริมทรัพย์

การลงทุนทุกประเภทล้วนมีเคล็ดลับที่นำไปสู่ความสำเร็จสำหรับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ก็มีเคล็ดลับสำคัญ 5 ประการที่ผู้ลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจดังนี้

  1. ลงทุนในพื้นที่เช่าที่มีความต้องการเช่าสูง เป็นความจริงที่ว่าหัวใจของการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ก็คือทำเล
  2. ซื้อทรัพย์สินที่มีส่วนลด หมายถึงการซื้อในราคาที่ถูกกว่ามูลค่าของทรัพย์สินที่เราจะลงทุน หลักคิดคล้ายๆกันกับการลงทุนหุ้นคุณค่า
  3. ซื้อเพื่อกระแสเงินสด เราต้องการกระแสเงินสดที่ไหลเข้ากระเป๋าเป็นประจำทุกเดือนดังนั้นทุกครั้งที่ลงทุนจึงสนใจเฉพาะแต่ทรัพย์ที่ให้กระแสเงินสดสุทธิในแต่ละเดือนที่เป็นบวกเท่านั้น
  4. ลงทุนระยะยาวซื้อและถือไว้ ลงทุนเพื่อกระแสเงินสดถือไว้ต้องได้เงินและเมื่อถือนานวันเข้าด้วยเงินเฟ้อและความต้องการอสังหาริมทรัพย์ที่นับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้น เพราะที่อยู่อาศัยในแต่ละพื้นที่มีจำกัด เป็นตัวผลักดันราคาอสังหาริมทรัพย์ให้สูงขึ้นตามเวลา
  5. สำรองเงินสดเผื่อฉุกเฉินเสมอ การวางแผนเพื่อความล้มเหลวและหาทางรับมือกับมันให้ได้ คือหัวใจสำคัญในการวางแผนของการลงทุน
  1. ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ยังไงให้ได้กำไรตั้งแต่เข้าซื้อ

การประเมินราคาบนโต๊ะเป็นเรื่องสำคัญมากมันจะช่วยลดระยะเวลาในการทำงานได้มากถ้าหากราคาที่เราประเมินกับราคาที่ผู้ขายประกาศขายต่างกันเกินสิบเปอร์เซ็นต์ เราก็ไม่ควรลงพื้นที่ให้เสียเวลา

ทำการประเมินราคาให้ง่ายขึ้น การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ให้เช่านั้นเรานิยมใช้เงินกู้มาลงทุนดังนั้นอัตราตอบแทนที่คุณต้องการจึงไม่ควรต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่กู้ยืมมาจากธนาคาร จึงมีสูตรการคำนวณราคาซื้อข้างต้น ดังนี้

ราคาเสนอซื้อ = กำไรสุทธิต่อปี / อัตราดอกเบี้ยเงินกู้

สำหรับตอนนี้ถ้าลองประเมินราคาแล้วราคาที่คำนวณได้กับราคาที่ประกาศขายต่างกันไม่เกินสิบเปอร์เซ็นต์ ก็ควรลุยสำรวจพื้นที่จริงได้เลย โดยเรายังมีวิธีการประเมินราคาสินทรัพย์ 3 แบบด้วยกัน

  1. ประเมินตามราคาตลาด วิธีนี้ค่อนข้างง่าย ใช้หลักที่ว่าทรัพย์สินที่มีขนาดและพื้นที่ใกล้เคียงกันขายเท่าไหร่เราก็ขายเท่านั้นเป็นวิธีคนที่ส่วนใหญ่เลือกใช้มากที่สุด พอง่ายและรวดเร็ว
  2. ประเมินตามต้นทุนทดแทน ประเมินโดยใช้หลักที่ว่าหากเราต้องสร้างทรัพย์สินในแบบเดียวกันกับทรัพย์สินที่เรากำลังให้ความสนใจต้องใช้เงินทุนเท่าไหร่ อาจจะต้องอาศัยความรู้ด้านการก่อสร้างอาจต้องพึ่งพาผู้รับเหมาที่ช่วยประเมิน
  3. วิธีตามความสามารถในการทำกำไร วิธีนี้ประเมินโดยการนำกระแสเงินสดหรือกำไรที่ได้จากการเป็นเจ้าของมาคำนวณกลับเป็นราคาซื้อที่เหมาะสมตามอัตราผลตอบแทนการลงทุนที่ต้องการ
  4. ผลตอบแทนแบบอานันต์ และ Cash back

ถ้าเราลงทุนโดยไม่ใช้เงินตัวเองเลยเช่นกู้ยืมเงินทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์มาเพื่อซื้อทรัพย์สินแบบนี้อัตราผลตอบแทนของเรา จะไม่สามารถคำนวณได้แต่เราจะเรียกอัตราผลตอบแทนในลักษณะนั้นว่าผลตอบแทนแบบอนันต์ ซึ่งถือเป็นผลตอบแทนสูงสุดสำหรับการลงทุนแล้ว อย่างไรก็ดีแนวคิดการกู้เงินเพื่อมาลงทุนหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดีคือ     ไม่ต้องใช้เงินตัวเอง เพิ่มโอกาสในการลงทุนและมีคนมาช่วยแชร์ความเสี่ยง

ข้อเสียคือ หากพิจารณาไม่ดีไม่รอบคอบการกู้เงินหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์เพื่อลงทุนจะทำให้ค่างวดในการผ่อนชำระธนาคารค่อนข้างสูงและเสี่ยงต่อการขาดสภาพคล่อง

  1. เอทีเอ็มส่วนตัว

เงินสดคือกุญแจสำคัญสู่อิสรภาพทางการเงิน การลงทุนในทรัพย์สินแทบทุกประเภทในโลกมักให้ผลตอบแทนกับเราในสองรูปแบบคือ

  1. กำไรส่วนต่าง กำไรส่วนต่างเป็นผลตอบแทนที่ได้จากการซื้อทรัพย์สินในราคาถูกและขายออกไป ในราคาที่แพงกว่า
  2. กระแสเงินสด เป็นผลตอบแทนที่ได้จากการนำทรัพย์สินไปใช้หรือสร้างประโยชน์ เช่น ให้เช่า ให้กู้ยืม ไม่มากเท่าไหร่แต่ก็มีเงินให้ทุกเดือน

ผลตอบแทนแบบไหนดีกว่ากัน หลายครั้งที่ผมได้ยินคนเถียงกันเรื่องนี้ แต่ต่อให้เถียงกันแทบตายมันก็ไม่มีคำตอบที่ถูกหาทั้งคู่ยืนอยู่บนกลยุทธ์และแผนการลงทุนที่แตกต่างกัน กำไรจากส่วนต่างมักจะได้มาเป็นเงินก้อนใหญ่แต่ได้เป็นครั้งคราวส่วนกำไรจะกระแสเงินสดนั้นมักได้ข่าวละไม่มากแต่ต่อเนื่องและยาวนาน จริงอยู่ถ้าลงทุนเพื่อกระแสเงินสดแล้วถือยาวสักนิดก็จะได้กำไรส่วนต่างเป็นของแถม ด้วยอยู่แล้ว

  1. ลงทุนเวลาและความสัมพันธ์

หลังชีวิตเริ่มเบาสบายทางการเงินมีชีวิตในแบบที่ออกแบบเองได้สองสิ่งที่ผมยึดถือเป็นเป้าหมายหลักของการดำรงชีวิตจากวันนี้ไปจนถึงวาระสุดท้ายก็คือ เลี้ยงลูกให้เป็นคนดีมีความสุข และเผยแพร่ความรู้ทางการเงินให้กับคนไทย

  1. เช็คดวงรวยด้วยงบรายรับ – รายจ่าย

ก่อนหน้านี้เราพูดคุยกันถึงคำว่าสภาพคล่องกับความมั่งคั่งไปแล้ว บทนี้เราจะมาพูดคุยกันถึงรายการแสดงข้อมูลทางการเงินของเราซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยบอกหรือสะท้อนให้เห็นว่าการเงินของเราเป็นอย่างไรสภาพคล่องเป็นบวกหรือลบมากน้อยแค่ไหนและความมั่งคั่งของแต่ละคนเป็นอย่างไร โดยการแสดงข้อมูลสำคัญทางการเงินที่ว่านี้คือ งบการเงินส่วนบุคคล ซึ่งประกอบด้วยสงบการเงินย่อยนั่นคือ

งบรายรับรายจ่าย มีโครงสร้างประกอบด้วย รายรับ เงินออม และเงินคงเหลือโดยมีความสัมพันธ์กันแบบง่ายๆคือ รายรับ – เงินออม – ค่าใช้จ่าย = เงินคงเหลือ ซึ่งสามารถอธิบายการไหลเข้าออกของเงิน ที่เราได้รับมาจากช่องทางใดบ้างและจะจ่ายไปกับอะไรบ้างในแต่ละเดือน

  1. ตรวจความมั่งคั่งเรื่องงบแสดงฐานะการเงิน

บทก่อนหน้านี้เราพูดถึงงบรายรับรายจ่ายไปแล้ว ในบทนี้จะมีผู้อีกงบหนึ่งนั่นคืองบแสดงฐานะการเงิน หรือเรียกง่ายๆว่ารายการทรัพย์สินหนี้สิน

งบแสดงฐานะการเงิน แบ่งโครงสร้างออกเป็นสองส่วน ด้านซ้ายระบุรายการทรัพย์สินที่เราครอบครองอยู่ส่วนด้านขวาก็ระบุรายการหนี้สินที่เราติดค้างอยู่ทั้งหมด

งบการเงินจัดทำอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งเพื่อทบทวนสถานะทางการเงินซึ่งโดยหลักการบริหารเงินที่ในแต่ละปีและควรมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมีหนี้สินลดลงหรือหากปีใดมีหนี้สินเพิ่มขึ้นก็ควรมีทรัพย์สิน เพิ่มขึ้นด้วย

ทรัพย์สินสุทธิ = มูลค่าทรัพย์สินรวม – หนี้คงค้างรวม

หากเรามีทรัพย์สินสุทธิเป็นบวกหมายถึงสถานะการเงินที่ดีมีทรัพย์สินรวมมากกว่าหนี้สิน และนิทานตรงกันข้าม ถ้าทรัพย์สินสุทธิติดลบก็อาจจะหมายถึงการสร้างหนี้ที่มากเกินกว่าทรัพย์สินที่สะสม

  1. อยากมี1 ล้านแรกต้องเก็บเงินยังไง

เรื่องของการเก็บออมเงินยังไงมันต้องใช้ความอดทนและความพยายามเท่านั้นแหละ แต่การที่จะไปสู่ล้านต่อไปได้ง่ายขึ้นเป็นเพราะว่าจากล้านแรกที่เรามีผลตอบแทนที่ได้มันช่วยทำให้เราไปถึงเป้าหมายต่อไปได้เร็วขึ้นต่างหาก ไม่ได้เป็นเรื่องของการเก็บออมซึ่งก็ยังคงต้องใช้ความพยายามเหมือนเดิม ถ้าอยากเก็บเงินล้านแรกให้ได้วิธีมันค่อนข้างจะกำปั้นทุบดินสักนิด หลักๆก็คือต้องเก็บเงินให้ได้สม่ำเสมอและนำเงินออมที่ได้ไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนสูง

  1. แนวทางจัดการเงินสู้วิกฤต

เมื่อวิกฤต เกิดรายได้หดหายอะไรที่เคยไปได้ดีก็ติดขัดไม่เหมือนเดิม แล้วจัดการเงินในวิกฤตกันอย่างไรให้ตัวเองอยู่รอดได้หลักคิดสำคัญของการจัดการเงินในช่วงวิกฤต หัวใจสำคัญคือ สภาพคล่อง ประกอบไปด้วย 5 สิ่ง

  1. ทำงบล่วงหน้า จัดทำงบประมาณใช้จ่ายล่วงหน้าวิกฤติที่รายได้มักหดตัวอย่างรุนแรง สิ่งที่ต้องทำคือ ทำไรการรับจ่ายล่วงหน้าหกเดือน ประเมินรายรับแบบที่น่าจะเป็น ตรวจสอบข้อมูลรายจ่ายให้ครบถ้วนทั้งค่าใช้จ่ายส่วนตัวและภาระหนี้ต่างๆ
  2. ลดค่าใช้จ่าย ลดค่าใช้จ่ายและภาระผ่อนหลังจากที่ประเมินเรียบร้อย หากพบว่าสภาพคล่องเป็นลบต้องหาวิธีปรับให้เป็นบวก สิ่งที่ต้องทำ บีบลดควบคุมค่าใช้จ่ายส่วนตัว เจรจาลดค่าใช้จ่ายที่คงที่ ลดภาระผ่อน
  3. ทลายความเสี่ยง รักษาสุขภาพลดความเสี่ยงค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ในสภาวะที่สภาพคล่องน้อยลงอยู่แล้วหากต้องการใช้เงินก้อนใหญ่รักษาตัวด้วยยิ่งทำให้การเงินมีปัญหาวิธีที่ง่ายและควรเป็นอย่างยิ่งคือการรักษาสุขภาพไม่พาตัวเองไปติดโรคหรือป่วยเพิ่ม
  4. หาเสบียงรายได้เพิ่ม หารายได้จากอาชีพเสริมสร้างช่องทางหารายได้ ลดค่าใช้จ่ายส่วนตัวแล้ว สภาพคล่องติดลบ เหมือนเดิม ก็ไม่ได้หมายความว่าจะหมดทางเพราะเราสามารถสร้างรายได้เพิ่มได้ จงคิดไว้ว่าอย่าดูถูกตัวเองจริงๆแล้วในตัวเราและมีความรู้และมีความสามารถ
  5. เสริมวินัยใช้นำทาง รักษาวินัยควบคุมการใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผน อย่างที่เขียนไว้ในบทความก่อนหน้านี้เพื่อจะรอได้ในวิกฤตสิ่งที่สำคัญไม่แพ้ความรู้ทางการเงินก็คือความรับผิดชอบและวินัย
  6. ไอเดียวางแผนการเงินก่อนออกจากงานประจำ

ว่ากันว่ามีจุดเปลี่ยนสำคัญอยู่สองช่วงอายุครั้งแรกคืออายุ 25 ปี เรียนปริญญาโท เปลี่ยนที่ทำงาน หรือจะเลิกรากับคนรักล่ะครั้งที่สองในช่วงอายุ 38 ปีเปลี่ยนอาชีพจากพนักงานประจำและเป็นฟรีแลนซ์เจ้าของกิจการ ผมได้เรียนรู้และประยุกต์ใช้ประสบการณ์ทางการเงินของผมเป็น 3 วิธีดังนี้

  1. เตรียมพร้อมตั้งแต่วันที่ยังไม่วิกฤต ไม่ต้องรีบก่อหนี้รถ บ้าน ใช้สวัสดิการของบริษัทอย่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเต็มประสิทธิภาพซื้อประกันออมทรัพย์เพื่อลดหย่อนภาษีรวมไปถึงนำเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนในหุ้นเพื่อรับปันผล
  2. ตรวจสอบสุขภาพทางการเงินและวางแผนให้ดีก่อนตัดสินใจ ตรวจสอบสภาพคล่องจากรายได้ที่จะหายไปเป็นจำนวนมาก ต้องแน่ใจว่าปลอดหนี้จน พร้อมชนกับความเสีย มีเสบียงสำรอง และสอดคล้องกับเกณฑ์ภาษี
  3. ทำชีวิตให้ผ่อนคลายด้วยการมีรายได้หลายทาง เมื่อการเงินพื้นฐานนิ่ง อยากให้ลองหาอาชีพใหม่ๆแบบไร้กังวล เน้นรายรับหลายทาง มากกว่าทางเดียว
  4. บทส่งท้าย

ผมเชื่อเสมอว่าความมั่งคั่งเป็นสิทธิ์ของทุกคน แล้วทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตการเงินไปในทางที่ดีได้ด้วยความรู้และวินัยทางการเงิน

สั่งซื้อหนังสือ “MONEY SUMMARY สรุปเรื่องเงินให้เข้าใจง่ายใน 1 เล่ม” ได้ที่นี่ : คลิ๊ก