จากบทความที่แล้วที่เราอธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีที่ Franco Modigliani และ Merton Miller เสนอทั้ง 2 ข้อ ภายใต้เงื่อนไขต่างๆที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในโลกความเป็นจริง ในบทความนี้เราจะมาตัดเงื่อนไขบางอย่างออกไปเพื่อให้ทฤษฎีสามารถนำมาใช้กับของจริงได้มากยิ่งขึ้น

ในประเทศส่วนใหญ่ (รวมถึงประเทศไทย) บริษัทจะสามารถนำดอกเบี้ยจ่าย (Interest expense) มาลดหย่อยภาษีได้ เป็นเกราะป้องกันภาษีเรียกว่า Tax shield ส่งผลให้บริษัทต้องการกู้เงินในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อจ่ายภาษีให้น้อยลง

Source: https://analystnotes.com/cfa-study-notes-modigliani-miller-propositions.html

จากกราฟเมื่อเรานำประเด็นเรื่องภาษีมาผนวกเข้ากับทฤษฎีของ MM แรก รัฐบาลก็จะกินส่วนแบ่งของเงินทุนบริษัทอย่างส่วนหนึ่งเนื่องจากบริษัทต้องจ่ายภาษี แต่เมื่อบริษัทมีการกู้งเงินเป็นสัดส่วนสูงขึ้นเรื่อยๆก็จะจ่ายภาษีน้อยลง สัดส่วนภาษีที่ต้องจ่ายให้รัฐจะจะลดลงเรื่อยๆจนเหลือศูนย์เมื่อบริษัทมีสัดส่วนเงินกู้ 100% ส่งผลให้ค่าของทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (WACC) ลดลงเรื่อยจากสิทธิประโยชน์ทางภาษี แต่ต้นทุนของหุ้น (Cost of equity) ก็ยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆเมื่อมีสัดส่วนของหนี้เพิ่มขึ้นตามทฤษฎีข้อที่สอง

ส่งผลให้สูตรคำนวณ MM Proposition II เมื่อเพิ่มประเด็นเรื่องภาษีเข้าไปจะกลายเป็นดังนี้:

ในเมื่อการใช้สัดส่วนหนี้ 100% จะทำให้ต้นทุนของบริษัทต่ำที่สุด แต่ทำไมในโลกความเป็นจริงเรากลับไม่เห็นบริษัทใดเลยที่ใช้สัดส่วนหนี้สูงขนาดนี้? เนื่องจากการกู้เงินในปริมาณที่มากเกินไปจะก่อให้เกิดต้นทุนประเภทหนึ่งเรียกว่าต้นทุนภาวะกดดันทางการเงิน (Costs of financial distress) ประกอบด้วยต้นทุนต่างๆดังนี้:

ต้นทุนทางตรงและทางอ้อม โดยต้นทุนทางตรงประกอบด้วยต้นทุนค่าดำเนินการทางกฎหมายต่างๆเมื่อบริษัทล้มละลาย ส่วนต้นทุนทางอ้อมคือต้นทุนค่าเสียโอกาสในการลงทุนทางอื่นๆ รวมถึงต้นทุนความเชื่อมั่นของลูกค้า, ผู้ปล่อยเงินกู้, ซัพพลายเออร์, และลูกจ้าง

ความน่าจะเป็นในการเกิดภาวะกดดันทางการเงิน ยิ่งบริษัทมีสัดส่วนหนี้ที่สูงเท่าใด ยิ่งมีโอกาสที่จะเกินภาวะกดดันทางการเงินมากเท่านั้น รวมถึงคุณภาพในการบริหารบริษัทและโครงสร้างการบริหารก็ส่งผลต่อโอกาสในการเกิดภาวะดังกล่างเช่นกัน

ต้นทุนภาวะกดดันทางการเงินนี้ส่งผลให้บริษัทไม่ต้องการที่จะให้มีสัดส่วนหนี้ที่มาจนเกินไป เมื่อนำประเด็นเรื่องต้นทุนนี้ผนวกเข้าไปในกราฟ จะทำให้กราฟกลายเป็นแบบด้านล่างนี้

เมื่อบริษัทมีการกู้ถึงจุดจุดๆหนึ่ง จะทำให้เกิด Costs of financial distress ส่งผลให้ WACC และ Cost of debt ปรับตัวสูงขึ้นจากต้นทุนดังกล่าว ดังนั้นสัดส่วนระหว่างหนี้สินและหุ้นที่เหมาะสมที่สุดที่บริษัทควรใช้คือจุดที่มี WACC ต่ำที่สุดนั่นเอง และนี่คือสาเหตุที่ว่าทำไมในความเป็นจริงจึงไม่มีบริษัทใดที่ต้องการให้โครงสร้างเงินทุนเป็นหนี้ 100% ตามทฤษฎีของ MM ข้อที่สอง

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง