ในบางครั้งบริษัทอาจตัดสินใจเช่าสินทรัพย์ต่างๆมาใช้ แทนการซื้อขาด ซึ่งจะมีข้อดีตรงที่ :
(1) การเช่ามีกระแสเงินสดไหลออกในช่วงเริ่มต้นที่น้อยกว่าการซื้อ โดยบางครั้งอาจมีเงินดาวน์ในจำนวนที่กำหนด
(2) การเช่ามีสินทรัพย์ค้ำประกันเป็นตัวสินทรัพย์นั้นๆเอง ดังนั้นเมื่อผู้เช่าเกิดผิดนัดชำระ อัตราดอกเบี้ยในสัญญาเช่ามักมีอัตราที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในในการผ่อนเพื่อซื้อสินทรัพย์
(3) การเช่าลดความเสี่ยงที่สินทรัพย์จะล้าสมัย เนื่องจากผู้เช่า (Lessee) สามารถคืนสินค้าให้กับผู้ให้เช่า (Lessor) และไม่ต้องรับความเสี่ยงเกี่ยวกับมูลค่าสินทรัพย์ที่ลดลงไปจากการตกยุค
สินทรัพย์สำหรับการเช่าแบ่งได้เป็น 2 ประเภท หากประโยชน์และความเสี่ยงของสินทรัพย์นั้นๆถูกถ่ายโอนไปยังผู้เช่า เรียกว่าสัญญาเช่าการเงิน (Finance lease) แต่ถ้าประโยชน์และความเสี่ยงส่วนใหญ่ของสินทรัพย์นั้นๆไม่ได้ถูกถ่ายโอนไปยังผู้เช่า เรียกว่าเป็นสัญญาเช่าการดำเนินงาน (Operating lease)
Source: https://prepnuggets.com/cfa-level-1-study-notes/financial-statement-analysis-fsa-study-notes/non-current-liabilities/leases/
ในมาตรฐานบัญชีแบบ IFRS สัญญาเช่าทั้งหมดที่ไม่ใช่สัญญาเช่นระยะสั้น (ตั้งแต่ 12 เดือนลงไป) หรือมีมูลค่าไม่เกิน 5000 USD จะต้องบันทึกเป็นสินทรัพย์สิทธิการใช้ (Right-of-use asset) และหนี้สินจากสัญญาเช่า (Lease liability) ตามมูลค่าปัจจุบันของรายได้ทั้งหมดในอนาคตลงใน Balance sheet โดย Right-of-use asset จะถูกตัดจำหน่าย (Amortize) เป็นรายจ่ายใน Income statement ในขณะที่ Lease liability จะลดลงตามจำนวนเงินต้น (Principal) ที่จ่ายไป โดยมูลค่าเริ่มต้นและมูลค่าสุดท้ายของ Right-of-use asset กับ Lease liability จะมีค่าเท่ากัน แต่ว่าระหว่างอายุการใช้งานอาจมีค่าไม่เท่ากัน
สำหรับมาตรฐานบัญชีแบบ U.S. GAAP Finance lease จะมีการคิดมูลค่าเหมือนกับใน IFRS รวมถึง Lease liability ของ Operating lease ก็ใช้วิธีการคำนวณแบบเดียวกัน แต่ว่า Right-of-use asset จะถูกตัดจำหน่ายในมูลค่าที่เท่ากับ Lease liability ดังนั้น Interest expense และค่าตัดจำหน่ายจะถูกบันทึกรวมกันเป็นค่าใช้จ่ายในการเช่า (Lease expense) และเงินสดที่จ่ายค่าเช่าแต่ละงวดจะบันทึกเป็นกระแสเงินสดไหลออกจากการดำเนินงาน (CFO)
สำหรับ Finance lease ผู้ให้เช่าจะลบสินทรัพย์ที่ให้เช้าออกจาก Balance sheet และเปลี่ยนเป็น Lease receivable ที่มีมูลค่าเท่าค่าเช่าที่คาดว่าจะได้ทั้งหมดในอนาคตแทน ซึ่งถ้ามีค่าไม่เท่าสินทรัพย์เดิมก็ต้องบันทึกส่วนกำไรหรือขาดทุนใน Income statement จากนั้นก็จะใช้วิธีตัดจำหน่าย Lease receivable เหมือนกับที่ผู้เช่าทำกับ Lease liability ส่วนรายได้จากดอกเบี้ยก็บันทึกลงใน Income statement และบันทึกกระแสเงินสดไหลเข้าลง CFO
ส่วน Operating lease ทางผู้เช่าจะไม่ลบสินทรัพย์ออกจาก Balance sheet แต่บันทึกรายได้จากการให้เช่าเป็นรายรับ ส่วนค่าเสื่อมราคาและตัดจำหน่ายบันทึกเป็นรายจ่ายใน Income statement และบันทึกกระแสเงินสดไหลเข้าลง CFO
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Non-Current Liabilities (Part 1) บทนำ
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Non-Current Liabilities (Part 2) Discount and Premium Bonds
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Non-Current Liabilities (Part 3) Bond Fair Value Reporting
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Non-Current Liabilities (Part 4) Lease
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Non-Current Liabilities (Part 5) Pension