ในแต่ละประเทศ กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลมักจะมีความแตกต่างกับการบันทึกในมาตรฐานบัญชีแบบต่างๆ ดังนั้นภาษีจ่ายที่บันทึกใน Income stament ก็อาจมีความแตกต่างไปจากปริมาณภาษีที่ต้องจ่ายจริงให้กับหน่วยงานรัฐบาล จึงจำเป็นต้องแยกออกเป็น แบบแสดงรายการภาษีเพื่อใช้สำหรับยื่นภาษี (Tax return) และงบการเงิน ซึ่งจะมีคำศัพท์ที่ต้องทำความเข้าใจดังนี้

Source : https://prepnuggets.com/glossary/income-tax-expense/

Tax Return Terminology

  1. Taxable income คือรายได้ที่เข้าเกณฑ์ในการเสียภาษี
  2. Taxes payable คือปริมาณภาษีที่ต้องจ่ายจริง คำนวณได้จาก Taxable income ซึ่งจะต่างจาก Income tax expense ใน Income statement
  3. Income tax paid คือกระแสเงินสดที่ใช้จ่ายภาษีออกไป รวมกับเงินภาษีที่ได้คืนจากงวดก่อนๆ
  4. Tax loss carry forward คือส่วนขาดทุนสามารถนำไปลดภาษีจ่ายในอนาคตได้
  5. Tax base คือมูลค่าของสินทรัพย์ หรือหนี้สินที่ใช้สำหรับการคำนวณภาษี

Financial Reporting Terminology

  1. Accounting profit คือกำไรที่บันทึกด้วยมาตรฐานบัญชีปกติ เป็นกำไรก่อนหักภาษีจ่าย หรือ EBT (Earnings before tax)
  2. Income tax expense คือรายจ่ายภาษีใน Income statement คำนวณได้ดังนี้

Income tax expense = Taxes payable + DTL – DTA

DTL คือ Deferred tax liabilities ที่เปลี่ยนแปลงไป

DTA คือ Deferred tax assets ที่เปลี่ยนแปลงไป

  1. Deferred tax liabilities คือส่วนเกินของ Income tax expense เมื่อถูกหักด้วย Taxes payable ซึ่งจะถูกจ่ายเป็นภาษีในอนาคต
  2. Deferred tax assets คือส่วนเกินของ Taxes payable เมื่อถูกหักด้วย Income tax expense ซึ่งจะกลายเป็นส่วนลดภาษีในอนาคต
  3. Valuation allowance คือส่วนที่ลดลงของ Deferred tax assets เมื่อมีความเป็นไปได้ว่าจะไม่สามารถนำมาใช้เป็นส่วนลดภาษีได้
  4. Carrying value คือมูลค่าของสินทรัพย์ หรือหนี้สินตาม Balance sheet
  5. Permanent difference คือความแตกต่างระหว่าง Taxable income และ EBT ที่ผลรวมจากทุกงวดจะไม่กลับมาสมดุลกันในอนาคต
  6. Temporary difference คือความแตกต่างระหว่าง Tax base และ Carrying value ของสินทรัพย์ และหนี้สินที่จะกลับมาเท่ากันในอนาคต

ในบทความถัดไป เราจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับ Deferred tax assets และ liabilities ซึ่งเป็นความแตกต่างระหว่าง Taxes payable และ Income tax expense ที่เกิดจากวิธีการบันทึกงบการเงิน และรายการยื่นภาษีที่แตกต่างกัน ส่งผลให้บริษัทต้องบันทึกส่วนต่างลงไปใน Balance sheet เพื่อแสดงส่วนที่เกินและส่วนที่ขาดระหว่างวิธีการบันทึกทั้งสองแบบ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง