ในการเปรียบเทียบผลดำเนินงานของหุ้นแต่ละตัว หรือแม้แต่ตัวเดียวกันในช่วงเวลาที่ต่างกัน เป็นเรื่องยากที่เราจะเทียบค่าต่างๆ เช่น กำไรสุทธิ, ต้นทุน, และค่าใช้จ่ายต่างๆใน Income statement ได้ตรงๆ เนื่องจากบริษัททำรายได้ในแต่ละช่วงเวลาออกมาได้ต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ Common-size income statement มาเพื่อแก้ปัญหานี้

Common-size Income Statement คืออะไร?

Common-size income statement คือการแปลงค่าต่างๆภายใน Income statement ให้กลายเป็นสัดส่วนของรายได้ เพื่อที่จะนำไปใช้เปรียบเทียบกับผลประกอบการของทั้งบริษัทเดียวกันในช่วงเวลาอื่น และบริษัทอื่นๆว่ามีค่าใดที่บริษัทสามารถทำได้ดีหรือแย่กว่ากัน

Source: https://365financialanalyst.com/knowledge-hub/accounting/what-is-a-common-size-income-statement/

จากรูปด้านบนจะเห็นว่ากำไรสุทธิของบริษัท ABC เติบโตอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่ปี 2018 – 2020 แต่เมื่อแปลงงบเป็น Common-size แล้ว สัดส่วนกำไรสุทธิกลับอยู่มาเท่าๆเดิมและลดลงเล็กน้อยอีกด้วยในปี 2020 หมายความว่าเมื่อเทียบกำไรสุทธิต่อรายได้แล้ว บริษัทยังคงมีความสามารถในการทำกำไรเท่าๆเดิมนั่นเอง

Source: https://365financialanalyst.com/knowledge-hub/accounting/what-is-a-common-size-income-statement/

จากรูปด้านบน สมมติว่าบริษัท XYZ ทำธุรกิจแบบเดียวกับบริษัท ABC จะเห็นว่าค่า Direct costs ของ XYZ มีสัดส่วนที่น้อยกว่าต้นทุนของ ABC อย่างมีนัยสำคัญ อาจมีสาเหตุมาจากการที่ XYZ มีเทคโนโลยีในการผลิตที่ดีกว่า หรือมีอำนาจในการต่อรองราคาวัตถุดิบที่สูงกว่าบริษัท ABC นั่นเอง ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าเราสามารถเปรียบเทียบบริษัทต่างๆที่มีขนาดของรายได้ต่างกันได้ด้วย Common-size income statement

อัตรากำไร (Profit Margin)

อัตราส่วนที่นักลงทุนนิยมใช้เพื่อดูความสามารถในการทำกำไรของแต่ละบริษัทประกอบด้วย อัตรากำไรขั้นต้น (Gross profit margin), อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating profit margin), และอัตรากำไรสุทธิ (Net profit margin) มีสูตรคำนวณดังนี้

Gross profit margin = Gross profitRevenue

Operating profit margin = Operating profitRevenue

Net profit margin = Net profitRevenue

จะเห็นว่าอัตรากำไรทั้ง 3 แบบมีตัวหารเป็นรายได้ทั้งสิ้น นั่นหมายความว่าตัวเลขสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของ Gross profit, Operating profit, และ Net profit ใน Common-size income statement ก็คืออัตรากำไรของแต่ละค่านั่นเอง

จบกันไปแล้วสำหรับหลักการวิเคราะห์ Income statement ทั้ง 5 พาร์ท ในบทความต่อไปเราจะมาพูดถึงหลักการวิเคราะห์งบแสดงฐานะทางการเงิน (Balance sheet/Statement of financial position) ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้ Income statement ในการวิเคราะห์พื้นฐานของหุ้นแต่ละตัว

หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Income Statement