นิสัยคนเก่งระดับท็อป 5 ที่ AI ค้นพบ

สั่งซื้อหนังสือ “นิสัยคนเก่งระดับท็อป 5% ที่ AI ค้นพบ” ได้ที่นี่ : คลิ๊ก

นิสัยคนเก่งระดับท็อป 5% ที่ AI ค้นพบ

ผู้เขียน : ชินจิ โคชิคาวะ

สิ่งที่ได้จากการทดสอบนี้คือ คนเราสามารถประสบความสำเร็จได้โดยเรียนรู้จากความผิดพลาดแล้วนำไปแก้ไขเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การนิ่งเฉยโดยไม่ทำอะไรเลยจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น การถ่ายทอดเทคนิคการทำงานของคนที่ประสบความสำเร็จก็เปรียบเสมือนทางลัดที่ช่วยให้พนักงานอีก 95% มีผลงานที่ดีขึ้น

ต่อให้เราย้ายพนักงานระดับท็อปเหล่านี้ไปทำงานแผนกอื่นพวกเขาก็ยังสร้างผลงานได้ และต่อให้ต้องเปลี่ยนไปทำงานในสาขาที่ไม่ถนัดพวกเขาก็ยังคงสร้างผลตอบแทนออกมาได้อย่างแน่นอน

บทนำ : กฎ 5 ข้อของพนักงานระดับท็อป ที่สรุปได้จากการวิเคราะห์ด้วย AI

กฎข้อที่ 1 : 98% ของพนักงานระดับท็อป คำนึงถึงแต่เป้าหมาย

ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์มากกว่าขั้นตอน

 ผลจากการสำรวจพบว่าพนักงานระดับท็อปให้ความสำคัญกับผลลัพธ์มากกว่าขั้นตอน เพราะผู้ที่ทำงานได้โดดเด่นไม่ได้รับการประเมินจากขั้นตอนการทำงาน แม้พวกเขาจะคอยตรวจสอบความคืบหน้าระหว่างการทำงานแต่นั่นเป็นเพียงขั้นตอนเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ ไม่ใช่เพื่อสร้างความรู้สึกสำเร็จระหว่างทาง

พนักงานทั่วไปมักคิดว่าถึงล้มเหลวแต่เราก็พยายามทำเต็มที่แล้ว ทุกคนก็ให้ความช่วยเหลือกันเป็นอย่างดีด้วย แต่พนักงานระดับท็อปจะคิดต่างออกไป พวกเขารู้ว่าการให้ความสำคัญกับขั้นตอนการทำงาน เป็นเรื่องดี แต่ไม่ควรใช้จุดนี้เป็นข้ออ้างหรือยอมรับความล้มเหลวที่เกิดขึ้นแต่ควรใช้เป็นโอกาสเพื่อค้นหาสาเหตุของความผิดพลาดแล้วแก้ไขให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป

ให้ความสำคัญกับเวลา

จะกล่าวว่าคนที่ให้ความสำคัญกับเวลาทุกวินาทีคือคนที่จัดอยู่ในกลุ่มพนักงานระดับท็อปก็ได้ ดังนั้นพนักงานระดับท็อปจึงมองว่าแม้จะเป็นเวลาเพียงหนึ่งวินาทีก็ไม่ควรเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำงานตัวเป็นเกลียวตลอดเวลา พวกเขารู้ดีว่าหากไม่พักผ่อนให้เพียงพอ ยอมทำงานได้ไม่ดีจึงให้ความสำคัญกับทั้งเวลาทำงานและเวลาพักผ่อน นี่เป็นวิธีคิดที่แตกต่างจากพนักงานทั่วไปอย่างมาก

กำหนดเป้าหมายด้วยตัวเองและมุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จ

ลักษณะเด่นอีกอย่างของพนักงานระดับท็อปคือมีความมุ่งมั่นมากกว่าคนทั่วไปหลายเท่าตัว พนักงานทั่วไปมักคิดว่าแค่ทำให้ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้ก็อยากเต็มที่ แต่พนักงานระดับท็อปมักสั่งสมความพยายามในระดับสูงกว่านั้นมาก

จึงกล่าวได้ว่าคนที่จะตั้งเป้าหมายสูงขนาดนั้นต้องเอื้อมจนสุดปลายนิ้วใช้ความพยายามด้วยความตั้งใจของตัวเองเพื่อทำให้สำเร็จและพิชิตเป้าหมายได้จริงคือกลุ่มเป้าหมายระดับท็อปของบริษัท

ไม่ใช่เรื่องผิดที่เราจะทำงานไปเรื่อยๆเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย แต่หากทำผิดวิธีจะยิ่งทำให้เราถอยหลังไปไกลกว่าเดิม การตั้งสมาธิเพื่อตั้งหน้าตั้งตาทำงานเป็นเรื่องดี แต่หากสิ่งนั้นไม่ช่วยให้เรามุ่งไปสู่ความสำเร็จย่อมเป็นการสูญเปล่า พนักงานระดับท็อปจะให้ความสำคัญกับประเด็นที่ว่าเรากำลังทำงานเพื่อมุ่งไปสู่จุดหมายได้และเข้าใจดีว่าจะไม่ได้รับคำชื่นชมเพียงเพราะทำงานได้มาก

สิ่งสำคัญในการทำงานคือคุณภาพไม่ใช่ปริมาณ

 บริษัทหลายแห่งได้เปลี่ยนมาใช้วิธีการทำงานแบบมุ่งเน้นผลงานเป็นหลักเพื่อให้พนักงานที่ทำงานนอกสถานที่ ได้ กล่าวได้ว่ายุคนี้เป็นยุคที่พนักงานได้รับการประเมินจากคุณภาพของผลงานที่ได้จากการทำงานอย่างหนัก แทนที่จะประเมินจากระยะเวลาในการทำงาน

พนักงานระดับท็อปจะใช้เวลาทำเอกสารน้อยกว่าพนักงานทั่วไป 20% โดยเอกสารที่ทำขึ้นจะมีจำนวนหน้าไม่มากและมีตัวอักษรน้อยพอที่จะเขียนลงไปในพรีเซนเทชั่นแค่หน้าเดียว คนกลุ่มนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่ต้องการสื่อสารมากกว่าการสื่อสาร

พูดง่ายๆว่าพนักงานระดับท็อปไม่ใช่คนที่ทำสไลด์นำเสนองานเก่งแต่เป็นคนที่กำหนดเนื้อหาที่ควรเขียนลงไปในเอกสารเก่ง คนกลุ่มนี้จะหากลยุทธ์ว่าต้องทำอย่างไรเพื่อจูงใจให้อีกฝ่ายเห็นพ้องด้วยหรือทำในสิ่งที่เราต้องการ จึงค่อยออกแบบการนำเสนอออกมาเป็นพรีเซนเทชั่นที่ดูเรียบง่าย

กฎข้อที่ 2 : 87% ของพนักงานระดับท็อป แสดงจุดอ่อนออกมา

จิตวิทยาการจูงใจด้วยเทคนิคการให้ต่างตอบแทน

เวลาที่พนักงานระดับท็อปรู้ว่าตัวเองไม่เข้าใจอะไรพวกเขาจะตั้งคำถามและพยายามหาคำตอบเพื่อให้ตัวเองได้รับความรู้ใหม่ นอกจากนี้เวลาที่ใครสักคนเปิดใจกับเราเราก็มักจะเปิดใจกับคนนั้นซึ่งตรงกับหลักจิตวิทยาที่เรียกว่า ทฤษฎีการให้ต่างตอบแทน นั่นเอง

ทฤษฎีนี้ ยังนำมาใช้ในการสื่อสารกับผู้คนได้ด้วย การกระทำเช่นนี้นอกจากจะมีผลในการลดระดับการปิดกั้นทางจิตใจแล้วยังสร้างความรู้สึกสบายใจให้กับพูดคุยกันได้ทุกเรื่อง จึงทำให้เราถามข้อมูลจากอีกฝ่ายได้ง่าย ด้วยเหตุนี้พนักงานระดับท็อปจึงมักจงใจใช้เทคนิคนี้เพื่อขอความคิดเห็นหรือข้อมูลจากผู้อื่น

นอกจากนี้การไม่ยัดเยียดความเห็นของตัวเองให้กับผู้ฟังก็สำคัญเช่นกัน การจะสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้คนที่มีความเห็นต่างจากเราต้องละทิ้งทัศนคติส่วนตัวหรือค่านิยมที่ไม่จำเป็น ด้วยเหตุนี้พนักงานระดับท็อปจึงไม่โอ้อวดถึงจุดแข็งของตัวเองแต่แสดงจุดอ่อนออกมาให้คนอื่นเห็นแทน

พวกเขาจะเริ่มพูดคุยจากเรื่องสัพเพเหระก่อน เมื่อรถระยะห่างทางจิตใจกับอีกฝ่ายและสร้างความสัมพันธ์ได้แล้วพวกเขาจะยิงเผยจุดอ่อนของตัวเองออกมา สิ่งนี้นอกจากเป็นทัศนคติแล้วยังถือเป็นวิธีสื่อสารอย่างหนึ่งอีกด้วย

วัตถุประสงค์ไม่ใช่เพื่อแสดงจุดอ่อนของเราให้ผู้อื่นเห็นแต่เพื่อเข้าไปนั่งในใจของอีกฝ่าย โดยใช้การเผยจุดอ่อนของตัวเองเป็นเครื่องมือ ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือในรูปแบบใหม่ ดังนั้นพนักงานระดับท็อปจึงพยายามที่จะทำให้คนเหล่านั้นแสดงนิสัยหรือทักษะของตัวเองออกมา

สร้างความเชื่อใจด้วยการเปิดเผยตนเอง

การให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองออกไปโดยตรงโดยไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝง รวมไปถึงการแสดงความรู้สึกของตัวเองให้อีกฝ่ายรับรู้ก็ถือเป็นการเปิดเผยตนเองเช่นกัน ดังนั้นการที่เราแสดงความรู้สึกหรือความเห็นของตัวเองออกมาโดยไม่ปกปิดจะช่วยให้อีกฝ่ายเกิดความรู้สึกร่วมและเข้าใจในสิ่งที่เราพูดได้ง่าย

วิธีเปิดเผยตนเองอย่างเป็นรูปธรรม

การตั้งคำถามยังช่วยให้การพูดคุยมีรสชาติมากขึ้นเวลาที่เราเปิดเผยตนเองออกไปแล้ว อีกฝ่ายจะรู้สึกอย่าพูดเรื่องตัวเองบ้าง ดังนั้นการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้ตอบแสดงความเห็นได้อย่างอิสระ ถือเป็นเทคนิคที่ช่วยให้เราดูข้อมูลหรือความคิดของอีกฝ่ายมากขึ้น

พนักงานระดับท็อปรู้ว่าข้อมูลเชิงลึกที่ต้องการเป็นสิ่งที่ได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ไม่ใช่จากอินเทอร์เน็ต ดังนั้นพวกเขาจะรู้จักใส่ใจผู้อื่นเพื่อสร้างบุคลิกให้เกิดความเชื่อใจ

กฎข้อที่ 3 : 85% ของพนักงานระดับท็อปมองความท้าทายเป็นการทดลอง

พนักงานระดับท็อปมักลงมือทำด้วยความตั้งใจเพื่อค้นหาสิ่งที่ตัวเองทำได้ดี พวกเขาจะสนทนาหรือส่งข้อความมากกว่าพนักงานคนอื่นๆและจำนวนครั้งของการแสดงความเห็นในที่ประชุมจะมากกว่าพนักงานทั่วไป รวมทั้งเวลาที่ลุกจากโต๊ะเพื่อติดต่องานกับคนอื่นๆในบริษัท ก็ยังมากกว่าพนักงานทั่วไป

คิดว่าทุกอย่างคือการเรียนรู้

การโยนความผิดพลาดให้คนอื่นรับผิดชอบไม่ช่วยให้เราพัฒนาตัวเองจึงไม่มีวันสร้างผลงานได้ แต่หากนำความผิดพลาดนั้นมาแก้ไขและปรับปรุงให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป เราจะพัฒนาและเข้าใกล้ความสำเร็จมากขึ้น

พนักงานระดับท็อปมักไม่มองว่าความผิดพลาดเป็นเรื่องร้ายแรงที่แก้ไขไม่ได้ พวกเขาจะฝึกนิสัยให้คิดว่าประสบการณ์ย่ำแย่ในครั้งนี้ทำให้เราได้เรียนรู้ ครั้งต่อไปจะไม่ทำพลาดอีก แล้วเปลี่ยนความผิดพลาดนั้น เป็นบทเรียน

เวลาลังเลให้เลือกทางที่ยากกว่า

สังเกตมั้ยว่าคนเก่งๆมักทำการทดลองเล็กๆด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง เพื่อให้ได้รับประสบการณ์ใหม่โดยบางครั้งพวกเขาอาจจงใจเลือกตัวเลือกที่ยากหรือลำบากกว่า พนักงานระดับท็อปเข้าใจว่าสิ่งที่ช่วยเสริมความสามารถในการปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงไม่ใช่ทักษะเฉพาะเพียงด้านเดียว แต่การฝึกฝนทักษะและความสามารถที่หลากหลายต่างหากที่ช่วยเพิ่มมูลค่าตลาดให้กับพวกเขา

ดังนั้นจึงมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะแบบทวีคูณแทนที่จะเป็นการบวกเพิ่ม การสั่งสมประสบการณ์และพัฒนาทักษะในหลายๆด้านเช่นนี้ช่วยเพิ่มมูลค่าตลาดให้สูงขึ้นไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกบริษัทก็ตาม

การว่าจ้างโดยดูจากประวัติการทำงานเพียงอย่างเดียวเป็นเรื่องอันตราย

การว่าจ้างพนักงานจึงไม่ควรตัดสินจากประสบการณ์หรือประวัติการทำงานในอดีตเพียงอย่างเดียว การดูถึงความสามารถในการปรับตัวหรือทักษะที่หลากหลายจะช่วยให้เราได้คนเก่งมาร่วมงาน

64% ของบริษัทที่เลือกคนจะประสบการณ์และประวัติการทำงานมักจะได้พนักงานที่ดี ส่วนบริษัทที่เลือกคนโดยดูจากทักษะการทำงานที่หลากหลายมักจะได้พนักงานที่เก่งถึง 84%

ข้อมูลนี้ทำให้เราเข้าใจได้ว่าคนที่สั่งสมประสบการณ์การทำงานหลายด้านมีมูลค่าสูงกว่าคนที่มีผลงานโดดเด่นเพียงด้านเดียว

กฎข้อที่ 4 : 74% ของพนักงานระดับท็อปไม่เปลี่ยนทัศนคติ

จริงอยู่ที่การเปลี่ยนทัศนคติเป็นเรื่องที่จำเป็น แต่พนักงานระดับท็อปเข้าใจดีว่าการเฝ้ารอเฉยๆไม่ช่วยให้เกิดประโยชน์อะไร

ลงมือทำก่อนเปลี่ยนทัศนคติ

แทนที่จะเปลี่ยนทัศนคติแล้วค่อยลงมือทำ เราต้องลงมือทำก่อนแล้วทัศนคติจึงเปลี่ยนตาม เมื่อได้ลองลงมือทำและเห็นความเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเองทัศนคติว่าสิ่งนี้คุ้มค่าแก่การลงมือทำจะเกิดขึ้นตามมา หากทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆเราจะรู้จักปรับพฤติกรรมของตนเองจนเป็นกิจวัตร ทำให้พยายามเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองอยู่เสมอโดยไม่รู้ตัว

แน่นอนว่าการให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนทัศนคติเป็นเรื่องจำเป็น แต่อาจยังไม่ใช่เงื่อนไขที่เพียงพอ สิ่งที่จำเป็นกว่านั้นคือการสร้างเงื่อนไขที่ช่วยให้เราลงมือทำได้ด้วยตัวเองต่างหาก คนที่รู้ว่าต้องลงมือทำก่อนแล้วทัศนคติจะเปลี่ยนตามเองมักออกตัวเร็วและใช้ความคิดริเริ่มในการท้าทายสิ่งใหม่

เมื่อรับรู้ด้วยตัวเองแล้วว่าทัศนคติเปลี่ยนไปเราจะเริ่มรู้สึกมั่นใจในตัวเองที่ได้ทำในสิ่งนั้นและคิดบวกมากขึ้น ยิ่งถ้าลงมือทำพร้อมกับเพื่อนร่วมทีมก็จะรู้สึกถึงความสำเร็จไปด้วยกัน คนที่มองโลกในแง่ดีมักเข้าหาคนที่เสริมสร้างทักษะในการปรับตัวให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงไปด้วยกัน จึงเกิดเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

การณ์อื่นในตอนต้นว่าตัวเองก็เคยกังวลหรือมีปัญหาเช่นเดียวกับอีกฝ่ายเพื่อแสดงความรู้สึกร่วม แล้วจึงค่อยอธิบายจากประสบการณ์ตรงของตัวเองว่าทำอย่างไรจึงแก้ไขปัญหานั้นได้จะช่วยสร้างบรรยากาศให้อีกฝ่ายเห็นพ้องมากขึ้น

กฎข้อที่ 5 :  68% ของของพนักงานระดับท็อปคำนึงถึงช่องว่างอยู่เสมอ

 คิดโดยคำนวณถอยหลังจากเป้าหมาย

 พนักงานระดับท็อปจะเปรียบเทียบการทำให้สำเร็จตามเป้าหมายเหมือนการปีนเขา ตอนแรกเราต้องคิดถึงการปีนไปถึงยอดเขา คำนวณถอยหลังว่าต้องใช้เวลาหรือค่าใช้จ่ายเท่าไหร่จึงจะขึ้นไปถึงยอดเขาได้สำเร็จ แล้วจึงค่อยลงมือทำตามนั้น

พนักงานระดับท็อปจะเริ่มต้นจากการวางแผนการเดินทาง แม้จะตั้งเป้าหมายที่ยอดเขาแล้วถือเข็มทิศเดินไปตามทางที่ถูกต้องแต่ในระหว่างทางพวกเขาจะคอยหันกลับไปมองข้างหลังด้วย หากเริ่มรู้สึกว่าผิดท่านก็จะรีบย้อนกลับทันที การพิจารณาตนเองระหว่างทางมีจุดประสงค์เพื่อให้เราได้ปรับปรุงพฤติกรรมแล้วขึ้นไปถึงยอดเขาโดยใช้เวลาน้อยสุด

หากมองพื้นๆเราอาจจะคิดว่าการที่พนักงานระดับท็อป ต้องทบทวนหรือปรับพฤติกรรมระหว่างทางน่าจะใช้เวลาไม่น้อย แต่เนื่องจากพวกเขาเริ่มลงมือทำโดยไม่ลังเลและตัดสินใจได้อย่างเฉียบขาดว่าควรแก้ไขหรือไม่ จึงทำให้ไปถึงยอดเขาเร็วกว่าพนักงานทั่วไปที่ใช้เวลาวางแผน

นอกจากนี้การตัดสินใจของเราอาจไม่ถูกต้องเสมอไปจึงต้องคอยตรวจสอบเป็นระยะและปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานอย่างยืดหยุ่น เพื่อไม่ให้เกิดการทำงานที่สูญเปล่า

ลดช่องว่างระหว่างตัวเรากับอีกฝ่าย

จะมีวิสัยทัศน์กว้างขวางจะช่วยลดช่องว่างระหว่างตัวเรากับหัวหน้า หากมัวแต่จัดการกับงานตรงหน้าทั้งหมดเราก็จะไม่ทัน สังเกตเห็นงานที่ไม่จำเป็น นอกจากนี้เราควรใส่ใจลูกทีมที่ตั้งตั้งใจทำงานให้เราด้วย หัวหน้าทีมที่ทำงานเก่งจะคอยตรวจสอบและรายงานลูกค้า หรือผู้บังคับบัญชาถึงเรื่องที่ทำได้ดีและเรื่องที่ทำได้ไม่ดีโดยไม่ปิดบัง เพราะพวกเขารู้ดีว่าเวลาที่มีใครมาบอกในตอนท้ายว่าทำไม่ได้หรือทำไม่ทันมันสร้างความลำบากให้กับคนอื่นมากแค่ไหน

พนักงานระดับท็อปจะทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าให้ได้ก่อนจากนั้นจึงปรับความต้องการของตัวเองให้ใกล้เคียงกับสิ่งนั้นมากที่สุดแล้วนำเสนอข้อมูลออกไป นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมพนักงานระดับท็อปจึงถามความต้องการของลูกค้าก่อนเริ่มงานมากกว่าพนักงานทั่วไป

บทที่ 1 :  ความเข้าใจผิดของพนักงานทั่วไป ที่ทำไปเพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี

พนักงานทั่วไปจมอยู่กับความรู้สึกอิ่มเอมใจในหน้าที่

กว่าพนักงานแต่ละคนจะพัฒนาความสามารถของตัวเองและสร้างผลงานที่ยิ่งใหญ่ได้ในเวลาจำกัด จำเป็นต้องสั่งสมประสบการณ์ทำงานมาอย่างยาวนาน พนักงานระดับท็อปจะรู้จักการวางแผนเพื่อสร้างผลงานให้สำเร็จภายในเวลาที่กำหนด แต่พนักงานที่เหลือ กลับเอาแต่บ่นเรื่องเวลาการทำงาน

พนักงานหลายคนทำงานหัวหมุนโดยมีรายการสิ่งที่ต้องทำเขียนใส่กระดาษโน้ตแปะไว้รอบจอคอม พวกเขาต้องการทำงานให้เสร็จเมื่อเสร็จงานหนึ่งจึงดึงกระดาษออกทำให้รู้สึกถึงความสำเร็จ การพึงพอใจเพียงเพราะทำงานเสร็จไม่ช่วยให้เราประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ที่สำคัญยุคนี้พนักงานไม่ได้ถูกประเมินโดยดูจากระยะเวลาในการทำงานเหมือนสมัยก่อนแล้ว และเงินเดือนจะถูกกำหนดจากผลงานของผลประกอบการบริษัท บวกกับปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ

พนักงานระดับท็อปหลายคนรู้สึกพึงพอใจเมื่องานที่ตนสร้างผลงานได้ภายหลัง พูดง่ายๆว่าพนักงานทั่วไปจะรู้สึกพึงพอใจเมื่อทำงานเสร็จ ในขณะที่พนักงานระดับท็อปจะมุ่งเป้าหมายไปที่ความรู้สึกสำเร็จเมื่อสร้างผลงานใหม่ได้

เราไม่ควรใช้เวลาไปกับการทำงานโดยไร้เป้าหมาย แต่งานที่มีคุณค่าและทำขึ้นในเวลาอันสั้นต่างหากที่จะได้รับการประเมิน ดังนั้นขอให้ทุกคนเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ของแต่ละงานเสมอ

ฟีดแบ็กเปรียบเสมือนของขวัญ

การที่เรารู้สึกพึงพอใจเมื่อได้ทำงานเสร็จไปทีละอย่างไม่ใช่เรื่องที่ผิดแต่คุณได้ติดตามผลงานหลังจากนั้นรึเปล่า พนักงานระดับท็อปจะทำอะไรสักอย่างเพื่อขอฟีดแบ็กจากคนอื่น พวกเขาจะเป็นฝ่ายเข้าไปถามผู้ฟัง ผู้นำการประชุม หรือลูกค้าเมื่อถูกปฎิเสธการขาย

 พนักงานทั่วไปเช็คอีเมลตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นวันหยุดหรือวันทำงาน

จุดร่วมที่เหมือนกันของคนที่ไม่ได้รับการประเมินที่ดีนั่นคือเชื่อว่าถ้าทำงานโต้รุ่งหรือมาทำงานในวันหยุดจะช่วยให้ตัวเองได้รับการยอมรับ

พนักงานระดับท็อปทำงานโดยเน้นที่ความสำคัญ

พนักงานระดับท็อป มักจะทำงาน ที่เน้นความสำคัญ โดยดูจากความเร่งด่วน และความสำคัญเป็นหลักแน่นอนว่าต่อให้เป็นงานด่วนแต่หากไม่สำคัญพวกเขาก็ยังไม่ลงมือทำทันที โดยพวกเขามักจะแบ่งเวลาให้กับงานที่ไม่ด่วนแต่สำคัญ

แสดงศักยภาพของตัวเองด้วยการพักสมอง

ความสามารถในการจดจ่อของคนเรามีจำกัดหากสมองถูกใช้งานหนักอย่างต่อเนื่องโดยไม่พักผ่อน อาจจะส่งผลเสียต่องานและยังส่งผลเสียต่อสุขภาพอีกด้วยสมองทำงานหนักตลอดเวลาตั้งแต่จันทร์ถึงศุกร์จำเป็นต้องได้รับการพักผ่อน โดยวิธีการพักผ่อนของพนักงานระดับท็อป สามารถสรุปได้ดังนี้

  1. เลือกสิ่งที่ชอบและทำด้วยตัวเอง
  2. ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ
  3. อ่านหนังสือ

 พนักงานทั่วไปชอบจัดเตรียมเอกสารที่คิดว่าน่าจะสำคัญ

หลายคน ตั้งใจเต็มที่กับการทำเอกสารสำหรับการประชุม แต่เอกสารที่ตั้งใจทำมานั้นมักจะถูกใช้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และมักจะคิดไปเองว่าถ้าทำเอกสารเยอะๆอาจจะทำให้ได้รับการประเมินที่ดีจึงตั้งหน้าตั้งตาทำจนดึกพอเสร็จก็รู้สึกอิ่มเอมใจในหน้าที่ทั้งที่ไม่ถูกนำมาใช้จริงและไม่ได้รับการประเมินเลยนี่คือสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นได้กับกลุ่มพนักงานทั่วไป

 เร่งการทำงานในทีมด้วยการตอบกลับอย่างรวดเร็ว

คุณสมบัติของพนักงานระดับท็อป คือความรวดเร็วในการติดต่อกับหัวหน้า คนในทีม หรือลูกค้า ต่อให้เป็นเรื่องเล็กน้อยพวกเขาจะรีบแจ้งโดยไม่จำเป็นต้องเก็บเอาไว้คนเดียว ความทันสมัยของเครื่องมือสื่อสารและปัจจุบันทำให้เราติดต่อกับคนอื่นได้ทุกที่ทุกเวลา ดังนั้นการติดต่อกลับโดยรวดเร็วจึงเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจ แต่เราไม่จำเป็นต้องรีบตอบในตอนนอกเวลางาน

 เลี่ยงที่จะแก้ปัญหาแบบผิวเผิน

เวลาที่เกิดปัญหาพนักงานทั่วไปมักไม่รู้ว่าจะเริ่มจัดการจากตรงไหนทำให้เดินหน้าต่อไม่ได้ จึงลงมือทำอะไรสักอย่างไปก่อน ผลที่ได้คือไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างราบรื่นทำให้เกิดปัญหาซ้ำขึ้นมาอีกรอบ แต่หากเรารู้จักค้นหาและเรียบเรียงประเด็นสำคัญของปัญหา แล้วแก้ไขไปตามขั้นตอนจะช่วยให้จัดการได้ราบรื่นกว่า

ในทางกลับกันพนักงานระดับท็อปจะมีแบบแผนในการแก้ปัญหาพวกเขาจะสั่งสมวิธีแก้ปัญหาที่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้เพื่อให้ตัวเองสร้างผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม ทั้งนี้แบบแผลที่ว่าไม่ได้มีเพื่อการแก้ปัญหาเพียงอย่างเดียวแต่ยังเป็นประโยชน์ต่อการตลาดหรือสร้างธุรกิจใหม่อีกด้วย โดยมักจะใช้การแก้ปัญหาแบบกระบวนการคิดเชิงออกแบบ

บทที่ 2 :  แนวคิดและสไตล์การทำงานของพนักงานระดับท็อป

พนักงานระดับท็อปจะรู้สึกมีความสุขไม่เฉพาะคืนวันศุกร์

พนักงานทั่วไปที่รู้สึกเหนื่อยล้าและสูญเปล่าเมื่อไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ตั้งใจไว้ มักจะรู้สึกมีความสุขในเช้าวันเสาร์ พอได้ปลดปล่อยตัวเองจากพันธนาการเหล่านั้น แต่ในขณะที่พนักงานระดับท็อปจะรู้สึกมีความสุขเมื่อได้ทำงานสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

เพราะมีเป้าหมายจึงสำเร็จ

จากการสัมภาษณ์พนักงานระดับท็อปเพิ่มเติม ทำให้ค้นพบว่าแต่ละคนมีวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ชัดเจน พูดง่ายๆว่าพวกเขามีเป้าหมายที่จะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นและตั้งใจที่จะทำงานโดยมุ่งไปยังเป้าหมายนั้น เป้าหมายไม่ได้อยู่ที่ตัวงานแต่คือการสร้างผลลัพธ์จากการทำงาน

หากทุกคนในองค์กรมีแนวคิดเช่นนี้แค่การทำงานโดยมีเป้าหมายที่เรียบง่ายก็ช่วยให้เกิดผลสำเร็จได้โดยไม่ต้องใช้คำศัพท์ที่เข้าใจยากอะไรเลย เราทำงานนี้เพื่อไร จะต้องทำอย่างไรจึงจะสำเร็จ ลองถามตัวเองด้วยคำถามเช่นนี้ดู การลงมือทำโดยคำนึงถึงการพัฒนาไปสู่ตัวตนในแบบที่เราตั้งเป้าเอาไว้ จะช่วยให้ทำเป้าหมายนั้นสำเร็จและมีกำลังใจในการทำงานได้ง่ายกว่าการยึดติดกับผลตอบแทนทางการเงิน

การท้าทายทุกอย่างล้วนมีข้อดี

พนักงานระดับท็อปเชื่อว่าความผิดพลาดคือการเรียนรู้เพื่อมุ่งหน้าไปสู่ความสำเร็จ ดังนั้นพวกเขาจึงคิดว่าการไม่ทำอะไรเลยย่อมไม่ส่งผลดี แน่นอนว่าก่อนการท้าทายสิ่งใหม่เราจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูล วางแผนและพยายามลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด แต่ไม่ว่าการรวบรวมข้อมูลมากเท่าไหน หากไม่ลงมือทำอะไรก็จะไม่มีวันรู้ว่าการท้าทายนี้จะสำเร็จหรือล้มเหลว มีเรื่องมากมายที่เราต้องลงมือทำด้วยตัวเองถึงจะรู้

พวกเขารู้ดีว่าสภาพแวดล้อมภายนอกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการไม่เปลี่ยนแปลงตัวเองจะทำให้ศักยภาพของตนเองถดถอยลดลงและมีคุณค่าน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับตัวเองในอดีต

 วิธีที่ดีที่สุดในการสร้างความสำเร็จคือการผิดพลาดให้มาก

การท้าทายสิ่งใหม่ก็มีข้อเสียเช่นกันแต่การมองแต่ข้อเสียแล้วพยายามทำให้ความเสี่ยงเป็นศูนย์จะส่งผลให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย จนลงมือทำให้เกิดผลสำเร็จได้ยาก การเอาแต่พูดถึงความเสี่ยงที่ยังมองไม่เห็นจะทำให้เราไม่มีวันเดินหน้า การเริ่มลงมือจากสิ่งเล็กเล็กแล้วปรับแก้ไขไปเรื่อยๆเพื่อลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุดจะนำพาเราเข้าใกล้ความสำเร็จมากขึ้น

 ไม่รอจนรวบรวมข้อมูลได้ครบ

แทนที่จะตั้งเป้าที่ความสมบูรณ์แบบตั้งแต่แรกการดำเนินงานไปพร้อมกับค่อยปรับแก้ไปเรื่อยๆจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ง่ายกว่า พนักงานระดับท็อปเจระลึกอยู่เสมอว่าต้องลงมือทำทันทีหลังจากรวบรวมข้อมูลได้ส่วนหนึ่ง ดังนั้นพวกเขาจึงรวบรวมข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยกำหนดเวลาและความถูกต้องในระดับนึงเอาไว้

พวกเขาจะกำหนดระดับความถูกต้องหรือเป้าหมายไว้ที่แปดสิบเปอร์เซ็นต์ กำหนดเวลาที่ต้องใช้ในการทำงาน เราไม่ตั้งเป้าที่ความสมบูรณ์แบบ วิธีนี้จะช่วยให้งานเดินหน้าและนำไปสู่ผลลัพธ์ได้ง่าย

 พนักงานระดับท็อปบางคนจงใจให้เกิดความผิดพลาดเล็กน้อย

แม้แต่พนักงานหัวกะทิของบริษัทก็ทำผิดพลาดได้ บางคนก็กลัวความผิดพลาดหรือคนที่กลัวจนหวาดระแวงก็มีไม่น้อย พนักงานระดับท็อปให้ความสำคัญกับการสร้างผลงานอย่างต่อเนื่อง พวกเขาจึงต้องเรียนรู้รูปแบบที่ก่อให้เกิดความผิดพลาด รวมถึงวิธีที่หลีกเลี่ยงความผิดพลาดในเวลาสำคัญหรือลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด การได้ลองทำพลาดด้วยความตั้งใจทำให้มีประสบการณ์ว่าหากทำพลาดขึ้นมาจริงๆจะเกิดอะไรขึ้น การลองทำพลาดทำให้รู้ว่าการตั้งเป้าหมายที่ความสมบูรณ์แบบเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์

 ไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลวก็ต้องหาสาเหตุให้เจอ

การพิจารณาตนเองเฉพาะเวลาที่ทำพลาด อาจช่วยป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำแต่ไม่ช่วยเพิ่มโอกาสในการทำสำเร็จ ความสำเร็จย่อมมีสาเหตุเสมอหากค้นหาสาเหตุนั้นให้เจอเราจะรู้เส้นทางสู่ความสำเร็จ เมื่อเส้นทางนั้นมั่นคงแล้วจะนำไปสู่การสร้างผลสำเร็จได้อย่างต่อเนื่อง

 สร้างขั้นตอนและทำให้เป็นกิจวัตร

สิ่งที่ผมเรียนรู้จากการสำรวจพนักงานระดับท็อป คือความสำคัญของการสร้างขั้นตอนเวลาทำสิ่งใดสำเร็จพวกเขาจะสรุปขั้นตอนต่างๆเอาไว้ เมื่อสรุปขั้นตอนใดแล้วพวกเขาจะเตือนตัวเองให้ทำสิ่งนั้นซ้ำๆจนเป็นกิจวัตร ไม่ใช่แค่ทางลัดไปสู่ความสำเร็จแต่ยังช่วยลดเวลาให้สั้นลงด้วย อย่างไรก็ตามพนักงานระดับท็อปจะไม่คิดว่าขั้นตอนนี้ถูกต้องที่สุด

พวกเขาจะไม่หยุดที่ความพอใจกับสภาพในปัจจุบันแม้จะได้รับการประเมินที่ดีก็ตาม ด้วยสาเหตุพวกนี้เขาจึงทำการทดลองเชิงพฤติกรรมด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในแต่ละวัน พิจารณาและปรับปรุงให้ดีขึ้นจนเป็นกิจวัตรอยู่เสมอ พนักงานระดับท็อปคือคนที่สร้างความมั่นคงและความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่องครั้งแล้วครั้งเล่าพร้อมๆกับการตั้งเป้าหมายเพื่อพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น

 กำหนดเวลาเพื่อพิจารณาการทำงานของตน

พนักงานระดับท็อปจะกำหนดเวลาเพื่อพิจารณาตัวเองเสมอ พวกเขาจะคิดทบทวนเป็นระยะว่าทำไมงานถึงยุ่ง มีอะไรที่ควรเลิกทำบ้าง เราเสียเวลากับเรื่องอะไรไปโดยเปล่าประโยชน์หรือเปล่า เราเรียนรู้จากสิ่งที่ค้นพบเพื่อแก้ไขพฤติกรรมของตนเองต่อไป หุ้นเหล่านี้จะพิจารณาตนเองในเวลาต่างๆกัน

 สิ่งที่เป็นที่ต้องทำคือการลงมือ ร่วมกับประสบการณ์

คนที่ไม่ลังเลกับการทำสิ่งใหม่และมีความคิดว่าต้องลองทำดูก่อนมักจะได้รับการประเมินว่ามีความสามารถในการทำงาน การจะท้าทายสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนย่อมต้องใช้แรงกายแรงใจอย่างมาก ทำให้คนจำนวนไม่น้อยเกียจการท้าทายบ่อยครั้งที่คนเหล่านี้ได้รับการประเมินโดยดูจากความมุ่งมั่นในการท้าทายสิ่งใหม่แค่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ถามถึงผลงานเลย แน่นอนว่าหากทำงานสำเร็จอาจช่วยให้ได้รับการประเมินสูงขึ้น ดังนั้นหากเรากล้าที่จะท้าทายสิ่งต่างๆโดยไม่เกรงกลัวรวมถึงมีทักษะการสร้างความสำเร็จ เราย่อมได้รับการประเมินที่สูงขึ้น

 การลงมือทำโดยอาศัยประสบการณ์ที่ผ่านมา

พนักงานระดับเขามองว่าการพัฒนาส่วนใหญ่เกิดจากประสบการณ์ทำงานในแต่ละวัน ต่อให้ไม่ลาออกไปทำงานที่ใหม่แต่การย้ายสังกัดภายในบริษัทเดิมก็เหมือนการเปลี่ยนงานใหม่ พนักงานระดับท็อปเหล่านี้จะนำประสบการณ์ที่สั่งสมมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับงาน ความคิดที่ว่าประสบการณ์ที่ผ่านมาของเราไม่ใช่เรื่องไร้ค่า จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานได้ดียิ่งกว่าสิ่งใด

 ตอบสนองได้อย่างยืดหยุ่น

ในการเรียนรู้จากประสบการณ์ เราจำเป็นต้องกำหนดเวลาเพื่อพิจารณาตัวเองด้วย สมมุติว่าเราตั้งหน้าตั้งตาทำงานและทำผลงานได้ดีแต่กลับเกิดปัญหาหรือเรื่องไม่คาดคิดขึ้น คนที่พิจารณาตนอย่างมีระบบจะไม่ตื่นตระหนกทำให้รับมือกับปัญหาได้ดี

พูดง่ายๆว่าพนักงานระดับท็อป คือคนที่รับมือได้อย่างยืดหยุ่นเวลาเกิดปัญหาหรือเรื่องไม่คาดคิด แม้จะเจอกับเหตุการณ์เฉพาะหน้าพวกเขาก็ไม่หวั่นไหวหรือตื่นตระหนก แต่จะวิเคราะห์สถานการณ์ด้วยเหตุผลอย่างมีสติ เบื้องหลังที่ทำให้พนักงานระดับท็อปเป็นที่พึ่งพาของคนรอบข้างและได้รับความไว้ใจจากหัวหน้า ก็คือความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินนั่นเอง

 ฟีดแบ็กคือสิ่งล้ำค่า

การถามความคิดเห็นระหว่างขั้นตอนการทำงานเช่นนี้ ยังช่วยให้อีกฝ่ายรู้สึกมีส่วนร่วมด้วย เมื่อผลงานประสบความสำเร็จหากอีกฝ่ายคิดว่าฉันก็มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในผลงานนี้ เขาจะเกิดความรู้สึกว่านี่คือผลงานของฉัน การที่ลูกค้าหรือหัวหน้าคิดว่านี่คือผลงานของตัวเองจะช่วยให้เขายอมรับงานชิ้นนั้นได้ง่าย เกิดความรู้สึกเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจึงสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้

เพราะว่าแม้จะได้รับความเห็นในแง่ลบก็ไม่ต้องคิดมากแค่นำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้แก้ไขกับงานครั้งใหม่ก็พอ จะประสบการณ์ทำให้ผมรู้ว่าการได้รับฟีดแบ็กแต่เรื่องที่ดีเป็นเรื่องอันตราย หากอีกฝ่ายเกรงใจหรือไม่ใส่ใจจริงๆ เพราะเราไม่ได้รับฟีดแบ็กเพื่อปรับปรุงตนเองจึงไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์มากนัก

 แสดงความคิดเห็นผ่านเอ๊าท์พุท

หลายคนคงมีประสบการณ์ที่ว่าเวลามีคนบอกให้เสนอไอเดียดีๆมาสิ แล้วเราก็คิดอะไรไม่ออก แต่พออีกฝ่ายพูดว่าลองเสนอไอเดียอะไรมาก็ได้กลับแสดงความเห็นออกมาได้มากมาย ในบรรดาไอเดียเหล่านั้นอาจมีไอเดียที่ไร้สาระปะปนอยู่ด้วย แต่เมื่อพูดไปเรื่อยๆก็คิดไอเดียที่สร้างสรรค์ออกมาได้เช่นกัน

พนักงานระดับท็อปเข้าใจจุดนี้เป็นอย่างดีพวกเขาจึงเสนอแผนงานหรือสิ่งที่คิดได้ออกมาเป็นคำพูดหรือข้อความอยู่เสมอ ในบรรดาไอเดียที่เสนอออกมานั้นย่อมมีไอเดียสร้างสรรค์อยู่ด้วย จึงเกิดการต่อยอดนำไปสู่ผลงานใหม่ๆในที่สุด การทำเช่นนี้ซ้ำๆทำให้พนักงานระดับท็อปสร้างผลงานได้ดีขึ้นเรื่อยๆ

 พนักงานระดับท็อปคำนึงถึงความประทับใจใน 5 วินาทีแรก

พนักงานระดับท็อปจากบริษัทผู้ค้าปลีกรายหนึ่ง บอกผมว่าการใช้ชีวิตโดยไม่ยิ้มแย้มจะส่งผลเสียต่อตัวเรา เวลาจดจ่อกับการทำงานเรามักขมวดคิ้ว ทำมุมปากตกจนดูเหมือนอารมณ์ไม่ดี รวมถึงเก่งไล่หรือนั่งหลังค่อมโดยไม่รู้ตัว พนักงานคนนี้พูดไว้อย่างน่าประทับใจว่ารอยยิ้มเป็นเครื่องมือจำเป็นที่ช่วยให้ผู้อื่นคิดว่าอยากทำงานกับคนนี้จัง

นอกจากนี้ยังมีผลการสำรวจอื่นที่ชี้ว่าคนเรามักตัดสินว่าอีกฝ่ายเป็นคนน่าเชื่อถือหรือไม่โดยดูจากห้าวินาทีแรก ดังนั้นพนักงานระดับท็อป จึงยิ้มแย้มอยู่เสมอเพื่อสร้างพวกพ้องได้ง่ายกว่าพนักงานทั่วไปที่ไม่ค่อยยิ้ม

รอยยิ้มส่งต่อกันได้

การพัฒนาทักษะการสื่อสารให้อย่างพนักงานระดับท็อปเหล่านี้อาจต้องใช้ระยะเวลานาน แต่เราสามารถเริ่มต้นได้ทันทีด้วยการฝึกยิ้มแย้มให้เป็นนิสัยอยู่เสมอ การทำงานด้วยรอยยิ้มทำให้คนอื่นรู้สึกประทับใจและช่วยให้เราทำงานได้อย่างราบรื่น เมื่อคนหนึ่งยิ้มคนรอบข้างก็จะเกิดรอยยิ้มตามไปด้วย ในการพูดคุยกับลูกค้า หากเราพยายามยิ้มแย้มและเริ่มต้นด้วยการพูดคุยเรื่องทั่วไปก่อน ก็จะช่วยให้สร้างบรรยากาศที่ดี อีกทั้งอีกฝ่ายยังคิดว่าพูดกับเขาต้องมีความรู้สึกที่แท้จริงดีกว่า

 ทำ To do list เพื่อให้ตรวจดูได้ก่อนลงมือทำ

การนั่งคิดว่าวันนี้ต้องทำอะไรบ้าง กับการรู้ว่าตัวเองต้องทำอะไรบ้างและเริ่มลงมือทำทันทีผลต่างกันอย่างมาก พนักงานระดับท็อปจะทำ To do list ตามวิธีของตัวเองเอาไว้ล่วงหน้า นอกจากนี้บางครั้งอาจมีงานด่วนแทรกเข้ามาหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ภูเขาจะเปลี่ยนแปลงรายการงานที่ต้องทำอย่างยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งนี่จะทำให้ง่ายก็ต่อเมื่อเราจดรายการสิ่งที่ต้องทำเอาไว้แล้ว

 พนักงานระดับท็อปมักทำงานแต่เนิ่นๆ

 การสำรวจพบว่า ช่วงราวๆหนึ่งทุ่มของวันธรรมดา งานของพนักงานระดับท็อปมักเหลือน้อยมาก ขณะที่พนักงานทั่วไปมักงานยุ่งช่วงก่อนเลิกงาน ในทางกลับกันพนักงานระดับท็อปจะมีงานยุ่งมากในช่วงก่อนเที่ยง เมื่อถึงตอนเย็นพวกเขาจะจัดการงานที่ต้องทำในวันนั้นจนหมดแล้วออกจากออฟฟิศได้ทันทีเมื่อถึงเวลาเลิกงาน

ทำไมจึงทำเช่นนั้นได้ พนักงานระดับท็อปรู้ว่าหากรอให้ถึงวันจริงหรือถึงเวลาแล้วค่อยทำจะทำให้คุณภาพของงานลดลง พวกเขาจึงมีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าเพื่อลดความสูญเสียจากการเร่งรีบ อีกทั้งพวกเขายังมีนิสัยชอบวางแผนที่จะทำงานสำคัญในช่วงเช้าอีกด้วย

ช่วงเช้าเป็นเวลาที่มีอีเมล โทรศัพท์ และการประชุมหน่อย ทำให้เรากำหนดตารางงานเองได้ง่าย พูดง่ายๆก็คือพวกเขารู้ว่าในช่วงเช้าเป็นเวลาที่ทำงานได้โดยไม่มีใครรบกวน นอกจากนี้หลังพักกลางวัน โดยเฉพาะช่วงบ่ายสามโมงเป็นต้นไประดับน้ำตาลในเลือดที่ลดลงจะส่งผลให้สมาธิน้อยลงตามไปด้วย ส่วนมากจึงเลือกทำงานที่ไม่ต้องใช้ความคิดมากนักในช่วงเวลานี้ เพื่อลดการสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงานให้ได้มากที่สุด

บทที่ 3 :  คำพูดติดปากของพนักงานระดับท็อปที่สร้างทีมให้แข็งแกร่ง

พอมีเวลาสักครู่ไหม

พนักงานระดับท็อป จะรักษาระยะห่างกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างพอเหมาะ พวกเขาจะพูดเล่นกันในระดับที่ไม่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกแย่ การสื่อสารกันภายในบริษัทได้อย่างราบรื่นไม่จำเป็นต้องมีขั้นตอนอะไรเป็นพิเศษ สิ่งที่สำคัญคือการทักทายและให้ความสนใจผู้อื่นแล้วสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันไว้

ผมไม่แน่ใจว่าพนักงานระดับท็อปรู้จักปรากฏการณ์นี้หรือไม่แต่พวกเขามักคิดว่าคำพูดติดปากที่ว่าพอมีเวลาสักครู่ใหม่อยู่บ่อยๆ เมื่อทุกคนในบริษัทสื่อสารกันได้อย่างสบายจึงทำให้มีกำลังใจและความพึงพอใจในการทำงานมากขึ้นซึ่งส่งผลดีต่อการทำธุรกิจไปด้วย

 เทคนิคการสื่อสารที่ทำให้อีกฝ่ายตอบตกลงด้วยความยินดี

 เวลาพนักงานระดับท็อปแสดงความเห็นพวกเขาจะไม่ลืมใส่ใจและขอบคุณคนอื่น ไม่เพียงเท่านั้นพวกเขายังมีคุณสมบัติเด่น คือมักเป็นฝ่ายเสนอตัวให้ความช่วยเหลือก่อนใครโดยไม่อิดออด พูดง่ายๆว่าการที่พวกเขาให้ความช่วยเหลือคนอื่นอยู่เสมอถือเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้คนอื่นเห็นด้วยในเวลาที่ต้องการนำเสนอความเห็นของตัวเอง

สิ่งที่สำคัญคือความสุขุมและการขยายมุมมองด้วยการยอมรับความเห็นของผู้อื่นและพยายามทำให้เกิดความคิดของตนเองดีขึ้นไปอีก ก่อนอื่นให้เริ่มจากการรับความเห็นของผู้อื่น แล้วจึงค่อยยืนยันความคิดของตัวเอง

กล่าวโดยสรุปได้ว่าคุณสมบัติร่วมของคนทำงานเก่งคือคนที่ขอความร่วมมือจากคนอื่นเก่งนั่นเอง เพราะงานที่เราทำจนเสร็จได้ด้วยตนเองเพียงลำพังนั้นมีน้อยมาก งานส่วนใหญ่มักต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้อื่นหรือความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเสมอ

 แสดงความรู้สึกขอบคุณชัดเจน

พนักงานระดับท็อปบ้างเอ่ยคำว่าขอบคุณกับคนรอบข้างอยู่เสมอ โดยเฉพาะกับคนทำงานตำแหน่งบริหารที่อยู่ในกลุ่มระดับท็อปจะเอ่ยชมลูกน้องบ่อยกว่าคนที่ทำงานตำแหน่งบริหารทั่วไป พวกเขามักเอ่ยคำที่แสดงถึงการยอมรับความรู้สึกซาบซึ้งหรือความรู้สึกขอบคุณสำหรับการทำงานหนักบ่อยๆ พอเข้าใจถึงความยินดีเวลาได้รับการยอมรับจากผู้อื่นจึงพยายามถ่ายทอดสิ่งนั้นไปสู่คนรอบข้าง ไม่ใช่คำพูดหวังผลหรือคิดวางแผนอะไรแต่เป็นการพูดขอบคุณติดปากโดยธรรมชาติ

การได้รับคำขอบคุณหรือยอมรับทำให้ระดับความสุขสูงขึ้นจึงเชื่อมโยงกับความมุ่งมั่นและแรงบันดาลใจด้วย แน่นอนว่าการเอ่ยชมอย่างที่ไหล่ที่มาที่ไปไม่มีความหมาย การเอ่ยชมโดยไม่จำเป็นจะทำให้อีกฝ่ายเหลิงจนไม่รู้จักพิจารณาตนเอง

 ผลจากการปรบมือและพยักหน้า

พนักงานระดับท็อปมาเคลื่อนไหวร่างกายขณะคนอื่นพูด ขยับมือหรือแสดงสีหน้าโต้ตอบ การที่พวกเขาฟังพร้อมกับเคลื่อนไหวร่างกายมากกว่าพนักงานทั่วไปทำให้เป็นที่สะดุดตาของคนรอบข้าง นอกจากนี้พวกเขายังพูดโดยหันตัวเข้าหาผู้ฟัง และฟังโดยให้ระนาบของไหล่หันเข้าหาผู้พูด ระหว่างที่ฟังก็จะพยักหน้าและแสดงสีหน้ายิ้มแย้มไปด้วย

สิ่งที่น่าสนใจคือเมื่อถูกปฏิบัติเช่นนี้อีกฝ่ายจะเกิดรอยยิ้มขึ้นเองโดยธรรมชาติ ทำให้พวกเขายังพยักหน้าช้าๆและพูดคุยอย่างมีความสุข สิ่งสำคัญคือการรู้จักอีกฝ่ายถ้าเปิดโอกาสให้ผู้พูดคุยแสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมไม่ใช่การพูดเพียงฝ่ายเดียว

 พลังของการยอมรับผ่านคนกลาง

การพูดแสดงการยอมรับตรงต่อหน้าทำให้ผู้ฟังดีใจก็จริง แต่การได้ฟังผ่านบุคคลที่สามจะให้ผลดีกว่า พนักงานระดับท็อปมักไม่เอ่ยถ้อยคำแสดงการยอมรับกับเจ้าตัวตรงๆแต่จะบอกผ่านคนกลาง การยอมรับแบบอ้อมอ้อมเช่นนี้ทำให้ต้องใช้เวลานานกว่าจะรู้ไปถึงเจ้าตัว แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้หลายคนได้รับรู้ไปด้วย

 จำนวนครั้งในการแสดงความเห็นมากกว่า แต่ใช้เวลาพูดน้อยกว่าพนักงานทั่วไป

ความสำเร็จอย่างหนึ่งของการประชุม คือการเลิกประชุมตรงเวลา วิธีพูดของพนักงานระดับท็อปมากเรียบง่ายและตรงประเด็นไม่อ้อมค้อมเพื่อดูปฏิกิริยาจากผู้ฟังก่อน และมักพูดคำว่าใช่หรือไม่ใช่อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังยกตัวเลขอ้างอิงบ่อยครั้งรวมทั้งใช้หลักเหตุผลเพื่อจูงใจผู้ฟัง

พนักงานระดับท็อปจะไม่คิดถึงเหตุผลว่าทำไมจึงทำไม่ได้แต่จะพยายามคิดหาวิธีที่จะทำให้ได้ ดังนั้นเวลาแสดงความเห็นในที่ประชุมพวกเขามักเริ่มต้นด้วยการพูดว่าใช่มากกว่าไม่ใช่ แล้วจะปิดท้ายด้วยใช่เพื่อให้ทุกคนเกิดความรู้สึกในแง่บวก

พนักงานระดับท็อปบางคนถึงกับพูดว่า หนึ่งในเป้าหมายของการประชุมคือการทำให้ผู้ร่วมประชุมรู้สึกมีกำลังใจขึ้นหลังจบการประชุม

 สร้างความประทับใจแรกด้วยคำว่า ใช่

พนักงานระดับท็อปมาคิดว่าจะทำอย่างไรอีกฝ่ายจึงทำตาม ทำอย่างไรอีกฝ่ายจึงตอบตกลง พวกเขาเข้าใจว่าความลับที่ว่ายากหากเรายอมรับในสิ่งที่อีกฝ่ายชื่นชอบทำความเข้าใจราวกับเป็นเรื่องของเราเอง จะช่วยให้อีกฝ่ายทำตามความต้องการของเราได้ ด้วยเหตุนี้พนักงานระดับท็อปจึงมักเริ่มต้นบทสนทนาด้วยคำว่า ใช่ เพื่อแสดงการยอมรับและทำให้อีกฝ่ายรู้สึกสบายใจ โดยคนเราจะรู้สึกสบายใจก็ต่อเมื่อพึงพอใจที่ได้เป็นคนสำคัญและมีคนยอมรับ

บทที่ 4:  นิสัยลงมือทำทันทีของพนักงานระดับท็อป

 ลุกไปมาเพื่อดึงคนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม

พนักงานระดับท็อปใช้เวลานั่งอยู่ที่โต๊ะทำงานน้อยกว่าพนักงานปกติทั่วไปมาก อาจเป็นเพราะพวกเขาถูกเรียกพบหรือต้องเข้าประชุมบ่อยแต่ไม่ใช่แค่นั้น พวกเขายังจงใจลุกจากที่นั่งบ่อยครั้ง เพื่อออกไปพูดคุยกับลูกค้านอกบริษัทหรือทักทายคนในแผนกอื่น

คุณสมบัติที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของพนักงานระดับท็อปคือมีจุดเชื่อมโยงกับคนอื่นมาก นอกจากการออกไปพบลูกค้าแล้วพนักงานระดับท็อปยังมากไปตรงนั้นตรงนี้ภายในบริษัทอยู่เสมอแล้วพยายามสร้างจุดเชื่อมโยงกับผู้อื่น พวกเขามักมีทักษะการส่งข้อความอย่างเชี่ยวชาญ การมีพวกเพราะในที่ทำงานมากขึ้นหมายถึงการมีคนที่เราขอให้ช่วยงานได้เพิ่มขึ้น คนเก่งเหล่านี้จะมอบหมายงานที่ไม่จำเป็นต้องทำเองหรืองานที่ให้ใครทำก็ได้ให้พวกพ้องเหล่านั้นช่วย ดังนั้นการไม่อยู่กับที่จึงส่งผลต่อการเพิ่มคุณภาพของงานและลดขั้นตอนการทำงานด้วย

 ต้องรู้จักให้ก่อน เพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ

 พนักงานระดับท็อป รู้ดีว่าเงื่อนไขสำคัญอย่างยิ่งในการได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น คือการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้ได้ก่อนเมื่อทำได้แล้ว จึงค่อยคิดเนื้อหาวิธีที่จะสื่อให้อีกฝ่ายรับรู้

สิ่งสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์แบบไว้เนื้อเชื่อใจ คือการทำอะไรสักอย่างให้อีกฝ่ายก่อน จากนั้นเมื่อถึงเวลาที่เรามีปัญหาจึงคอยรับความช่วยเหลือจากอีกฝ่าย ด้วยเหตุนี้พนักงานระดับท็อปจึงพยายามช่วยเหลือผู้อื่นอย่างเต็มที่ นี่คือหลักการง่ายๆของจิตวิทยาการจูงใจด้วยเทคนิคการให้ต่างตอบแทน ที่เมื่อใครทำอะไรให้แล้วเราจะรู้สึกอยากตอบแทนคนนั้น

 ความรวดเร็วในการตอบรับ

คุณสมบัติเด่นของพนักงานระดับท็อปคือโต้ตอบรวดเร็ว พวกเขามักตอบอีเมลหรือข้อความอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะส่งจากคนภายในหรือภายนอกบริษัท ยิ่งปล่อยให้อีกฝ่ายรอนานเท่าไหร่งานก็ยิ่งเดินต่อไปได้ช้า นอกจากนี้การปล่อยให้อีกฝ่ายรอจะทำให้เขาตอบกลับเราช้าไปด้วย

สิ่งที่น่าสนใจคือจากผลการสำรวจพบว่าอีเมลของพนักงานระดับท็อปมักดูเรียบง่ายมาก ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ ชี้ให้เห็นว่าหากอีเมลยาวเกินไปจะทำให้ความเป็นไปได้ที่อีกฝ่ายเปิดอ่านจะลดลง  ถึงแม้อีเมลของพนักงานระดับท็อปเหล่านี้จะกระชับ ก็ไม่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าเย็นชา การเขียนอีเมลสั้นๆนั่นทำให้ไม่เสียเวลาพิมพ์จึงมีเวลาเหลือไปทำอย่างอื่น นอกจากนี้ยังทำให้อีกฝ่ายตอบกลับเด่นได้ด้วย งานจึงดำเนินต่อไปได้อย่างไม่ติดขัด

 ไม่ปล่อยให้หรอ

พนักงานระดับท็อปมักใส่ใจเรื่องเวลาของอีกฝ่าย ดังนั้นก่อนจะปรึกษาใครจึงเข้าไปถามว่า ตอนนี้พอมีเวลาว่างไหม  หากอีกฝ่ายตอบรับก็จะพยายามพูดคุยให้ครบถ้วนภายในเวลาที่จำกัด ทำให้พูดถึงเฉพาะประเด็นสำคัญและรู้สึกสบายใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย

พนักงานระดับท็อปมักจัดการกับปัญหาอย่างรวดเร็ว การลงมือคันแรกถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการปัญหา ดังนั้นพนักงานระดับท็อปจึงมักรายงานหัวหน้าและปรึกษาเพื่อหาวิธีแก้ไขในทันที

 สิ่งสำคัญคือการลงมือขั้นแรก

ในการทำงานมากมีปัญหาเกิดขึ้นได้เสมอ พนักงานระดับท็อปเข้าใจดีว่าสิ่งสำคัญคือการลงมือจัดการก่อนที่ปัญหาจะบานปลาย อย่างไรก็ตามหากลงมือคันแรกผิดพลาดต่างฝ่ายมักเกิดความรู้สึกต่อต้านซึ่งกันและกัน ทำให้ปัญหาบานปลายจนไม่อาจแก้ไขได้ กรณีเช่นนี้จำเป็นต้องหาวิธีจัดการที่ถูกต้องและรวดเร็ว ดังนั้นการปรึกษาบุคคลที่สามซึ่งเคยแก้ปัญหาเช่นนี้มาก่อนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ปัญหาไม่บานปลาย  แต่ว่าการขอความช่วยเหลือจากคนภายนอกย่อมมีค่าใช้จ่ายตามมาด้วย

 มอบหมายหน้าที่แล้วลงมือทำ

การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนจำเป็นต้องมีมาตรการแก้ไขที่หลากหลาย การขอกำลังสนับสนุนจากหลายคนและรวบรวมไอเดียถือเป็นเรื่องที่ดี แต่สำหรับกรณีเร่งด่วนที่ต้องการความฉับไว สิ่งที่สำคัญคือความสามารถเชิงปฏิบัติของแต่ละคน

ความคิดสร้างสรรค์คือสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานเป็นทีมที่เน้นความหลากหลาย ในขณะที่ความสามารถเชิงปฏิบัติคือสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานคนเดียวที่เน้นความรวดเร็ว การรักษาสมดุลในจุดนี้คือสิ่งที่หัวหน้าทุกองค์กรควรมี

 ควรตั้งเป้าหมายที่การปฏิรูปการเรียนรู้

บริษัทส่วนใหญ่มักทุ่มเทให้กับการฝึกอบรมพนักงาน ทว่าเป้าหมายของการฝึกอบรมไม่ใช่การเรียนรู้ แต่เป็นการนำสิ่งที่ยังรู้ไปใช้ในการทำงาน หากเราไม่ตั้งเป้าหมายให้ถูกต้องต่อให้เนื้อหาการอบรมดีแค่ไหนก็ไม่สามารถทำเป้าหมายให้สำเร็จได้

การเข้ารับการอบรมในสภาวะที่มีความอยากเรียนรู้สูง ย่อมทำให้เราซึมซับความรู้ได้มาก ส่งผลให้นำความรู้นั้นไปใช้ในการทำงานได้ นอกจากนี้ผลการสำรวจยังพบว่าหากระดับความพอใจในการเข้ารับการฝึกอบรมสูง จะช่วยเชื่อมโยงต่อการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและประสิทธิภาพของพนักงาน กล่าวได้ว่ามีผลให้อัตราการลาออกลดลงรวมถึงควบคุมอาการป่วยทางจิตใจได้อีกด้วย

แทนที่บริษัทจะเป็นผู้เลือกหัวข้อฝึกอบรมให้พนักงาน การใช้เทคนิคเพื่อสร้างความรู้สึกอยากเรียนหรือทำให้พนักงานเลือกที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง ช่วยให้พนักงานซึมซับความรู้ได้มากและส่งผลดีต่อธุรกิจ หากระหว่างโครงสร้างให้พนักงานสามารถใช้ทักษะที่เรียนรู้มาไปกับการปฏิรูปการทำงานหรือพัฒนาธุรกิจได้ จะทำให้เหล่าพนักงานมีความมุ่งมั่นที่จะฝึกฝนทักษะนั้น

 จัดระเบียบสิ่งที่ต้องทำก่อนกลับบ้าน

พนักงานระดับท็อปมักกำหนดงานที่ต้องทำในวันพรุ่งนี้เอาไว้ล่วงหน้าก่อนเลิกงาน แม้จะเป็นการประเมินแต่การรู้ว่าพรุ่งนี้มีงานต้องทำมากแค่ไหน จะช่วยเสริมแรงออกตัวในการทำงานของวันรุ่งขึ้น

การคอยตรวจสอบตารางการทำงานว่ามีงานมากแค่ไหน จะทำให้รู้ว่าเราสามารถตอบรับงานที่มอบหมายมาไม่ได้หรือไม่ ส่งผลให้ตารางการทำงานของเราไม่แน่นจนเกินไป นอกจากนี้พนักงานระดับท็อปยังใช้แอพพลิเคชั่นสำหรับการจัดระเบียบต่างๆได้เก่งอีกด้วย

 จดบันทึกทันที

การจดบันทึกทำให้เราเห็นข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษร จึงสามารถแบ่งปันข้อมูลนั้นกับคนอื่นได้ด้วย นอกจากนี้การเขียนข้อมูลต่างๆที่อยู่ในหัวออกมายังช่วยให้เราค้นพบสิ่งอื่นเพิ่มเติมได้ง่าย การมองหาจุดร่วมและจุดต่างแล้วนำข้อมูลมาเชื่อมโยงจะก่อให้เกิดไอเดียใหม่ๆ

ข้อดีของการจดบันทึกด้วยลายมือคือเราสามารถเลือกได้เองว่าจะเขียนลงตรงไหนของหน้ากระดาษ พนักงานระดับท๊อปจึงใช้ประโยชน์จากข้อดีในจุดนี้ด้วยการจดบันทึกและเว้นที่ว่างให้มากๆเพื่อช่วยให้บันทึกอ่านง่าย

บทที่ 5 :   กิจวัตรของพนักงานระดับท็อป ที่ทำตามได้เลยตั้งแต่หัววัน

รวบรวมข้อมูลข่าวสาร ทำให้เป็นกิจวัตรด้วยเทคนิคการเสริมสร้างแรงบันดาลใจ

เมื่อได้วิเคราะห์พฤติกรรมของพนักงานระดับท็อปทำให้รู้ว่า เวลาจะทำสิ่งใดให้เป็นกิจวัตรพวกเขาจะคิดหากลไกที่ช่วยให้ไม่เลิกพฤติกรรมนั้น ไม่ใช่ว่าจะเริ่มต้นทำอย่างไรแต่ต้องคิดว่าจะทำให้ต่อเนื่องได้อย่างไร หลักการของ Premack คือรายการเพื่อสร้างพฤติกรรมให้เข้มแข็ง หลักการนี้อธิบายว่าก่อนที่จะทำพฤติกรรมที่เป็นกิจวัตร หากเราจับคู่กับพฤติกรรมอื่นจะช่วยให้ทำกิจวัตรนั้นได้ง่ายขึ้น

เราอาจตั้งเงื่อนไขว่าเมื่อถึงออฟฟิศแล้วจะใช้เวลาในการจัดระเบียบสิ่งของต่างๆให้เสร็จแล้วจึงเช็คอีเมล หลักปฏิบัติคือทำสิ่งที่ควรทำหรือทำเป็นประจำอยู่แล้วหลังกิจวัตรใหม่

เทคนิคการทำอินพุชให้ได้ผลดี

พนักงานระดับท็อปจะพยายามรวบรวมข้อมูลหรือความรู้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาจำกัด ดังนั้นเวลาทำอิน พุชพวกเขาจะต้องกำหนดเดดไลน์เอาไว้ด้วย เวลาต้องทำงานที่ไม่มีประสบการณ์มาก่อนหรือเจอปัญหาได้โปรเจคที่เราไม่มีความรู้มากพอ พวกเขาจะเริ่มต้นจากหนังสือสำหรับมือใหม่หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง ไปจนถึงวารสารหรือหนังสือเฉพาะทางเป็นการทำอินพุชที่ขยายกว้างออกไปอย่างรวดเร็วราวกับก้อนหิมะเล็กๆที่กิ่งลงทางลาดจนกลายเป็นหิมะก้อนใหญ่

สร้างกลไกไม่ให้หยุดใช้ความคิด

สิ่งที่พนักงานระดับท็อปกลัวคือ การทำตามคำสั่งโดยไม่คิดอะไรเลย พูดอีกอย่างคือการหยุดใช้ความคิดนั่นเอง พนักงานระดับท็อปมีเป้าหมายที่จะได้รับการประเมินที่ดีทั้งภายในและภายนอกบริษัท ดังนั้นพวกเขาจะไม่ถูกผูกมัดไปกับกฎอันเข้มงวดของบริษัทโดยเด็ดขาด พวกเขาเชื่อว่าการรับรู้ถึงความเคลื่อนไหวในสังคมแล้วปรับความคิดหรือพฤติกรรมของตนให้สอดคล้องกับสิ่งนั้นคือสิ่งที่ถูกต้อง

หาเวลาสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้คน

พนักงานระดับท็อปไม่ชอบการไม่ทำอะไรจนรู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นกบโดนต้มไปเสียแล้ว ดังนั้นพวกเขาจึงค้นหาโอกาสและเหตุจูงใจในสังคมอยู่เสมอ คำว่าทักษะในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความฉลาดหรือความสามารถเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงเรื่องเวลาด้วย พวกเขาจะค้นหาโอกาสและเหตุจูงใจผ่านการรวบรวมข้อมูลและสร้างสายสัมพันธ์กับผู้คนในสังคมแล้วจึงใช้ความคิดอย่างมีเป้าหมาย ยกเลิกการกระทำที่สูญเปล่า ตรวจสอบเวลาที่มีแล้วจงลงมือทำ

สร้างความสัมพันธ์ในชีวิตจริงกับผู้คนนอกบริษัท

แล้วเราควรสร้างสัมพันธ์กับผู้คนอย่างไร ผมขอแนะนำวิธีโดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้

  1. พบเจอคนใหม่ๆ
  2. ทำอะไรสักอย่างให้อีกฝ่าย
  3. เพิ่มความเชื่อใจ
  4. สร้างความเกี่ยวข้องเรื่องงาน
  5. ให้อีกฝ่ายแนะนำคนใหม่ๆ

การจะขยายความสัมพันธ์ให้กว้างก่อนอื่นต้องเริ่มจากการสร้างโอกาสในการพบเจอคนใหม่ๆ หากเป็นไปได้เราควรพยายามสร้างความสัมพันธ์กับคนที่มีประสบการณ์ต่างจากเรา

หากรถสร้างความสัมพันธ์กับคนในแวดวงการทำงานต่างกันหรือมีประสบการณ์ต่างไปจากเรา จะช่วยให้ขอบเขตความสัมพันธ์ของเรายิ่งขยายวงกว้างขึ้นอย่างมากในภายหลัง การเอาแต่เชื่อมสัมพันธ์กับคนในแวดวงเดียวกันจะทำให้เรารู้สึกสบายใจและไม่รู้สึกต่อต้าน แต่การรู้จักคนในวงแคบจะทำให้ความคิดของเราหยุดนิ่งและยังจำกัดขอบเขตการรับรู้ข้อมูล จึงทำให้เกิดไอเดียใหม่ๆได้ยาก

ถัดมาเราต้องทำอะไรสักอย่างให้กับคนที่เราสร้างความสัมพันธ์ได้แล้ว ลองถามถึงปัญหาหรือเรื่องทุกข์ใจของอีกฝ่ายและให้ความช่วยเหลือเขาโดยไม่ต้องคาดหวังสิ่งตอบแทน การช่วยเหลือโดยไม่คาดหวังเช่นนี้จะช่วยเพิ่มความเชื่อใจของอีกฝ่ายที่มีให้กับคุณ เมื่อสร้างความเชื่อใจได้แล้วเราจะสร้างความเกี่ยวข้องเรื่องงานได้ การทำงานด้วยกันจะทำให้ต่างฝ่ายต่างยอมรับในความสามารถของกันและกัน เมื่อความสัมพันธ์ดำเนินมาถึงขั้นตอนการทำงานด้วยกันได้แล้วให้ลองพบปะกับคนที่อีกฝ่ายแนะนำ การที่คนหนึ่งแนะนำอีกคนนึงให้รู้จักจะช่วยขยายความสัมพันธ์ให้กว้างขึ้น

การพิจารณาตนเองนำไปสู่การปรับปรุงพฤติกรรม

พนักงานระดับท็อปจะพิจารณาตัวเองแม้กระทั่งในเรื่องที่ประสบความสำเร็จแล้ว หากเพียงรับรู้ว่าสำเร็จหรือล้มเหลวแล้วจบแค่นั้นเราจะไม่มีวันได้เรียนรู้อะไรเลย ดังนั้นไม่ว่าเวลาจะผ่านไปแค่ไหนก็ไม่มีความมั่นใจเพิ่มขึ้น

พวกเขาจะสร้างเกณฑ์การตัดสินใจในแบบของตัวเองหรือความมั่นใจว่าคิดแบบนี้ก็ดีนะ ผ่านการพิจารณาตนเอง การทำแบบนี้ซ้ำซ้ำเป็นระยะจะทำให้มีทัศนคติและเกณฑ์การตัดสินใจของตัวเองโดยกล้าที่จะยืนยันความคิดของตน

พิจารณาตนเองสัปดาห์ละ 15 นาที โลกจะเปลี่ยนไป

พนักงานระดับท็อปจะใช้เวลาพิจารณาตัวเอง 15 นาที แล้วจะพยายามนำข้อผิดพลาดหรือสิ่งที่เรียนรู้มาใช้ประโยชน์ในงานต่อไปโดยเฉพาะ 3 สิ่งที่เป็นตัวขโมยเวลาในการทำงาน ได้แก่ ประชุมภายในบริษัท การทำเอกสาร การเช็คอีเมล หากไม่ทบทวนพฤติกรรมการทำงานของตัวเองเราก็จะไม่รู้ว่าทำสำเร็จหรือไม่ ทำไมถึงทำพลาด อะไรคือต้นตอของปัญหา ทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จโดยใช้เวลาน้อยสุด เราต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้แล้วค่อยปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมให้ถูกต้อง

ใช้คีย์ลัดให้เป็น

พนักงานระดับท็อปมักใช้คีย์ลัดบนคีย์บอร์ดได้อย่างคล่องแคล่วเพื่อประหยัดเวลาในการทำงาน การใช้คีย์ลัดอาจช่วยให้เราทำงานบางอย่างได้เร็วขึ้นแค่ไม่กี่วินาที ซึ่งในแต่ละวันเราอาจจะใช้เวลาหลายสิบครั้ง และเมื่อนำมารวมเวลาที่ประหยัดไปทั้งหมดจะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนเพราะไม่ต้องย้ายมือจากคีย์บอร์ดไปที่เมาส์ เวลาแก้ไขข้อความจึงทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 เลิกกินมื้อกลางวันคนเดียว

ยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในที่ทำงานดียิ่งส่งผลต่อการทำงานให้ราบรื่น ดังนั้นหากมีคนที่เราคุ้นหน้าคุ้นตาแต่ไม่เคยพูดคุยกันเลยควรขยายขอบเขตความสัมพันธ์ด้วยการรวบรวมความกล้าแล้วชวนไปทานมื้อกลางวันด้วยกัน

การกินมื้อกลางวันอย่างผ่อนคลายกับคนที่สนิทด้วยหรือคนที่เปิดใจให้กันเป็นเรื่องดีก็จริง แต่ละคนจงใจกินอาหารกับคนในบริษัทให้หลากหลายแล้วเปิดใจให้กัน เพื่อฝึกทักษะในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและการเข้าหาผู้อื่น หากเป็นการประชุมหรือกินมื้อเย็นอีกฝ่ายอาจจะรู้สึกเกร็งและปฏิเสธเราได้ แต่ถ้าแค่ชวนไปกินมื้อกลางวันแบบสบายๆด้วยกันอีกฝ่ายน่าจะตอบตกลงได้ง่าย

@uptoread

สั่งซื้อหนังสือ “นิสัยคนเก่งระดับท็อป 5% ที่ AI ค้นพบ” ได้ที่นี่ : คลิ๊ก