ประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF ทำอย่างไร

นักลงทุนหลายๆคนคงจะเคยได้ยินการประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF (Discounted cash flow models) แต่อาจไม่เคยลองนำมาใช้อย่างจริงจัง ด้วยความที่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าวิธีอื่นๆ เช่น การเทียบค่า P/E หรือ Asset-based model อย่างไรก็ตาม DCF ก็เป็นวิธีการประเมินมูลค่าหุ้นที่มีประสิทธิภาพมากสำหรับหุ้นที่มีผลดำเนินการสม่ำเสมอ ไม่เป็นวัฏจักรขึ้นๆลงๆ

การประเมินด้วย DCF มีอีกชื่อหนึ่งคือ Present value models เนื่องจากเป็นการคิดสดกระแสเงินสดในอนาคตกลับมาเป็นมูลค่าในปัจจุบันเพื่อหามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic value) ของหุ้นนั้นๆในปัจจุบันออกมา แบ่งออกเป็น 2 วิธีหลักๆดังนี้

Free Cash Flow to Firm (FCFF)

เป็นการประเมินมูลค่าจากกระแสเงินสดที่เป็นทั้งส่วนขอผู้ถือหุ้นและผู้ปล่อยกู้ มีสูตรคำนวณดังนี้

FCFF = กำไรสุทธิ + ดอกเบี้ยจ่าย (1-ภาษี) + ค่าเสื่อมราคา – ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินทรัพย์ถาวร – เงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น

วิธีนี้เหมาะกับการประเมินมูลค่าหุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุนบ่อยๆ เช่น มีการเพิ่มทุน หรือกู้เงินเพิ่มในจำนวนมากๆ เนื่องจากจะวิธีนี้จะคำนวณจากกระแสเงินสดที่ทำได้ทั้งจากฝั่งผู้ถือหุ้นและผู้ปล่อยกู้อยู่แล้ว FCFF จึงครอบคลุมกระแสเงินสดของทั้งบริษัท

Free Cash Flow to Equity (FCFE)

เป็นการประเมินมูลค่าจากกระแสเงินสดที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นเท่านั้น มีสูตรคำนวณดังนี้

FCFE = กำไรสุทธิ + ค่าเสื่อมราคา – ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินทรัพย์ถาวร – เงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น + หนี้สินที่เพิ่มขึ้น

วิธีนี้เหมาะกับการประเมินมูลค่าหุ้นที่มีโครงสร้างเงินทุนค่อนข้างคงที่ เนื่องจาก FCFE มีสมมติฐานว่าบริษัทจะไม่มีการกู้เงินเพิ่ม หรือลดปริมาณหนี้ลง

เมื่อเราหา FCFF หรือ FCFE มาได้แล้ว สามารถคิดลดกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบันก็ได้ราคาเหมาะสมออกมา โดยที่ FCFF จะคิดลดโดยใช้ WACC แต่ FCFE จะใช้ ke หรืออัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากหุ้นเพียงอย่างเดียว

Terminal Value

เมื่อเราหา FCF ของแต่ละปีได้จนถึงช่วงปีที่เราไม่สามารถหาต่อได้แล้ว แต่เราทราบว่า FCF ควรจะเติบโตต่อไปในอัตราปีละเท่าไหร่ เราสามารถใช้ Gordon growth model เพื่อหา Terminal value และคิดลดลงมากลายเป็นมูลค่าปัจจุบันได้ดังนี้

Terminal Value

ตัวอย่างการคำนวณมูลค่าด้วย DCF

ตัวอย่างเช่น หุ้น A จำนวน 1,000 ล้านหุ้น มี FCFF ปีที่ 1, 2, และ 3 เป็น 1000, 2000, และ 3000 ล้านบาท ตามลำดับ มี WACC 8% หลังจากปีที่ 3 เป็นต้นไป FCFF โต 5% ต่อปี สามารถคำนวณหาราคาเหมาะสมได้ดังนี้

ตัวอย่างการคำนวณมูลค่าด้วย DCF

จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่า เราสามารถประเมินมูลค่าหุ้นได้โดยที่บริษัทไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินปันผลออกมาเลย แต่เป็นการประเมินจากกระแสเงินสดอิสระที่บริษัททำได้โดยตรง วิธี DCF จึงถูกใช้อย่างแพร่หลายทั้งในกลุ่มนักลงทุนปัจจับพื้นฐาน ตลอดจนนักวิเคราะห์หุ้นทั่วโลก อย่างไรก็ตาม หากมีการตั้งสมมติฐานเพื่อหาผลประกอบการในอนาคตที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ก็จะทำให้การประเมินมูลค่าผิดไปด้วยเช่นกัน