ในบทความที่แล้วเราอธิบายเกี่ยวกับคำศัพท์ทางภาษีต่างๆที่นักลงทุนจำเป็นต้องเข้าใจก่อนที่จะลงรายละเอียดต่างๆกันไปแล้ว ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงส่วนต่างระหว่างแบบแสดงรายการภาษีเพื่อใช้สำหรับยื่นภาษี (Tax return) และงบการเงินตามมาตรฐานบัญชีปกติ เรียกส่วนต่างนี้ว่า Deferred Tax Assets และ Deferred Tax Liabilities

Source: https://taxadda.com/deferred-tax-asset-deferred-tax-liability-dta-dtl/

Deferred Tax Assets

Deferred tax assets (DTA) เกิดขึ้นเมื่อ Taxes payable สูงกว่า Income tax expense แปลว่าภาษีที่จ่ายออกไปจริงมีค่ามากกว่าภาษีจ่ายที่บันทึกใน Income statement ซึ่งการบันทึก DTA เอาไว้เพื่อที่จะสามารถลดหย่อน Taxable income ได้ในอนาคต เนื่องจากเราได้จ่ายส่วนเกินออกไปแล้ว เกิดได้จากเหตุการณ์ดังนี้:

– รายได้ที่ถูกนำไปคิดภาษีก่อนที่จะถูกบันทึกลงใน Income statement

– รายจ่ายที่ถูกบันทึกลงใน Income statement ก่อนที่จะถูกนำไปคิดภาษี

– ภาษีของส่วนขาดทุน (Tax loss carryforwards) สำหรับนำไปลดภาษีในอนาคต

เมื่อเวลาผ่านไป DTA จะถูกนำไปใช้เพื่อลดกระแสเงินสดสำหรับจ่ายภาษีในอนาคต มักเกิดจากค่าใช้จ่ายประกันสินค้า ซึ่งจะบันทึกลงใน Income statement ก่อนที่จะถูกนำไปจ่ายจริง แต่จะถูกบันทึกใน Tax return เมื่อมีการจ่ายไปแล้วเท่านั้น ส่งผลให้มีการจ่ายภาษีออกไปมากกว่าที่บันทึกตามมาตรฐานบัญชีนั่นเอง

Deferred Tax Liabilities

Deferred tax liabilities (DTL) เกิดขึ้นเมื่อ Income tax expense สูงกว่า Taxes payable หมายความว่าภาษีจ่ายที่บันทึกลง Income statement มีค่ามากกว่าภาษีที่จ่ายออกไปจริงๆ ส่งผลให้เกิดการบันทึกหนี้สินที่เป็นส่วนต่างเพื่อที่จะนำไปจ่ายภาษีเพิ่มเติมในอนาคต เกิดได้จากเหตุการณ์ดังนี้:

– รายได้ถูกบันทึกลงใน Income statement ก่อนที่จะถูกนำไปคิดภาษี

– ค่าใช้จ่ายที่ถูกนำไปคิดภาษีก่อนที่จะถูกบันทึกลงใน Income statement

เมื่อเวลาผ่านไป DTL ควรที่จะถูกนำไปจ่ายเพิ่มเติม ส่งผลให้เกิดกระแสเงินสดไหลออกมากขึ้น ตามปกติแล้ว DTL มักเกิดจากการคิดค่าเสื่อมราคาด้วยวิธีการเร่งค่าเสื่อมให้สูงในช่วงต้นใน Tax return แล้วใช้วิธีแบบ Straight-line ใน Income statement ทำให้เกิดส่วนต่างของกำไรในงบทั้ง 2 แบบในช่วงต้นและช่วงท้าย อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมค่าเสื่อมทุกงวดแล้ว จะมีผลรวมสุดท้ายเท่ากัน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง