หลังจากที่เราพูดถึงทั้งเรื่อง Efficient frontier ของ Markowitz และค่า Beta ไปแล้ว คราวนี้เราจะมาดูกันถึงสัดส่วนในการกระจายการลงทุนจะส่งผลต่อระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนขนาดไหนกัน โดยใน เราจะเริ่มต้นด้วย Capital allocation line และ Capital market line กันก่อน

Capital Allocation Line

Capital Allocation Line

Source: https://ift.world/booklets/portfolio-management-portfolio-risk-and-return-part-ii-part1/

Capital allocation line (CAL) แต่ละเส้นเป็นพอร์ตที่ผสมกันระหว่างสินทรัพย์ไร้ความเสี่ยง (Risk-free assets) เช่น พันธบัตรรัฐบาล และสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง (Risky assets) เช่น หุ้น เป็นต้น ซึ่งทางฝั่งซ้ายสุดของเส้น CAL แต่ละเส้นในกราฟด้านบนจะมีสัดส่วนของ Risk-free assets 100% เมื่อขยับมาทางขวาก็จะมีสัดส่วนของ Risky assets เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ โดยที่ระดับความเสี่ยง และผลตอบแทนก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

จากกราฟด้านบน Indifference curve แสดงถึงความต้องการในการลงทุนของนักลงทุนคนหนึ่ง ซึ่งจากทั้งสามพอร์ต A, B, และ C มีเพียงแต่พอร์ต C เท่านั้นที่เป็นพอร์ตที่เหมาะสม เนื่องจากมีสัดส่วนของสินทรัพย์ทั้งสองแบบ รวมถึงระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่นักลงทุนคนดังกล่าวต้องการ ส่วนพอร์ต A กับ B ให้ผลตอบแทนที่น้อยเกินไปบนระดับความเสี่ยงที่เท่ากัน

Capital Market Line

Capital Market Line

Source: https://ift.world/booklets/portfolio-management-portfolio-risk-and-return-part-ii-part1/

Capital Market Line (CML) มีเป็นสัดส่วนระหว่าง Risk-free assets กับ Risky assets เหมือนกันกับ CAL เพียงแต่ว่า Risky assets ของ CML จะเป็น Market portfolio ที่ประกอบด้วยสินทรัพย์เสี่ยงทั้งหมดในตลาด ดังนั้น CML จึงมีเพียงเส้นเดียวสำหรับนักลงทุนทุกคน และในเมื่อ CML ใช้ Total risk ในแกน X ดังนั้นจึงมีเพียงแค่พอร์ตที่ดีที่สุดในแต่ละระดับความเสี่ยงเท่านั้นที่จะตัดกับ CML ได้

Capital Market Line (CML)

Source: https://ift.world/booklets/portfolio-management-portfolio-risk-and-return-part-ii-part1/

ต่อมาเราจะมาพูดถึง Security market line (SML) ซึ่งเป็นเส้นที่พล็อตสัดส่วนระหว่าง Risk-free assets กับ Risky assets (Market portfolio) เหมือนกับ CML แต่ในแกน X จากเดิมที่เป็น Total risk จะเปลี่ยนเป็นค่า Beta ซึ่งแสดงถึง Systematic risk แทน ซึ่งจะใช้งานแตกต่างจาก CAL และ CML อย่างไร มาดูกันต่อ

คราวนี้เราจะมาพูดถึงเส้นที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง Systematic risk กับผลตอบแทนที่คาดหวัง ซึ่งเป็นการใช้ Capital asset pricing model (CAPM) ที่เคยอธิบายไปในบทความก่อนๆมาพลอตเป็นกราฟให้เห็น

Security Market Line

Security Market Line

Source: https://ift.world/booklets/portfolio-management-portfolio-risk-and-return-part-ii-part2/

Security market line (SML) คือเส้นที่แสดงถึงความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยเมื่อมี Systematic risk ที่สูงขึ้น ก็จะมีผลตอบแทนที่คาดหวังสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งหากหุ้นตัวใดมีค่า Beta เท่ากับหนึ่งหมายความว่าจะมีการเคลื่อนไหวของราคาเหมือนกันกับตลาด และมี Systematic risk เท่ากับตลาดนั่นเอง ส่วนหุ่นที่มีค่า Beta มากกว่า 1 ก็ควรจะมีผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาดด้วยเช่นกัน SML อธิบายได้ด้วยสมการ CAPM ที่เคยอธิบายในบทความเรื่อง WACC

ความชันของ SML จะถูกกำหนดโดย Market risk premium หรือ E(Rmkt)-Rf ในสมการ CAPM ซึ่งยิ่งมีค่ามาก ก็จะทำให้เส้น SML มีความชันมากตามไปด้วย

วีธีหาค่า Beta

ค่า Beta เป็นการวัดความผันผวนของแต่ละสินทรัพย์เทียบกับตลาด มีสูตรคำนวณดังนี้

การนำ SML มาประยุกต์ใช้

การนำ SML มาประยุกต์ใช้

Source: https://en.wikipedia.org/wiki/Security_market_line

เราสามารถนำเส้น SML มาใช้ประเมินมูลค่าหุ้นได้ โดยที่หุ้นที่พลอตอยู่เหนือ SML จะเป็นหุ้นที่มีราคาถูกกว่าตลาด เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาดในระดับ Systematic risk ที่เท่ากัน ส่วนหุ้นที่พลอตอยู่ใต้ SML แปลว่ามีราคาแพงกว่าตลาด เพราะให้ผลตอบแทนต่ำกว่าตลาดบนระดับ Systematic risk ที่เท่ากันนั่นเอง

เมื่อเราเข้าใจเกี่ยวกับทั้งเรื่อง CAL, CML และ CAPM กับ SML แล้ว ก็จะเข้าใจความหมายของประโยค “High risk, high return” มากยิ่งขึ้น โดยความเสี่ยงรวม (Systematic risk + unsystematic risk) ที่สูง อาจไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่สูงตาม ซึ่งต้องพิจารณาผลตอบแทนจากตัว Systematic risk เป็นหลักจึงจะถูกต้อ