หลังจากที่เราได้อธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆของ Balance sheet กันไปเรียบร้อยแล้ว คราวนี้จะเป็นการนำ Balance sheet มาประยุกต์ใช้ในการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของบริษัทต่างๆ โดยการใช้ Common-size balance sheet และอัตราส่วนต่างๆที่นำข้อมูลจาก Balance sheet มาใช้
Common-size Balance Sheet
เช่นเดียวกับ Common-size income statement, Common-size Balance sheet เป็นการแปลงค่าต่างๆในงบดุลให้กลายเป็นเปอร์เซ็นต์สัดส่วนเมื่อเทียบกับ Total assets (ซึ่งก็จะเท่ากับ Total liabilities and shareholder’s equity เช่นกัน) มีประโยชน์ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบทั้งงบดุลของบริษัทเดียวกันในช่วงเวลาที่ต่างกัน (Time-series analysis) และการเปรียบเทียบงบตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไปในช่วงเวลาเดียวกัน (Cross-sectional analysis) ตัวอย่างดังในตารางด้านล่าง
Source: https://365financialanalyst.com/knowledge-hub/accounting/what-is-a-common-size-balance-sheet/
จาก Common-size balance sheet ของบริษัท ABC ด้านบนจะเห็นว่ามีเงินสดเป็นสัดส่วนที่น้อยที่สุดในทั้ง 3 ปี แต่ก็มีสัดส่วนสินค้าคงเหลือ (Inventory) มากที่สุดเช่นกัน เป็นไปได้ว่าบริษัทมีการลงทุนซื้อสินค้ามาเก็บไว้เพื่อรออุปสงค์ที่สูงในอนาคต
Source: https://365financialanalyst.com/knowledge-hub/accounting/what-is-a-common-size-balance-sheet/
สมมติว่าบริษัท XYZ ทำธุรกิจเดียวกันกับบริษัท ABC เมื่อนำ Common-size balance sheet มาเปรียบเทียบกันแล้ว พบว่าบริษัท XYZ มีสัดส่วนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed assets) เป็นสัดส่วนที่สูงกว่าของ ABC มาก อีกทั้งยังมีเงินสดเป็นสัดส่วนที่น้อยผิดปกติ อาจตีความได้ว่าบริษัท XYZ มีการนำเงินสดไปลงทุนใน Fixed assets เป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะเติบโตในอนาคต จากนั้นในปี 2019 และ 2020 สัดส่วนเงินสดของ XYZ ก็ทะยอยเพิ่มขึ้นมาจนสูงกว่าสัดส่วนเงินสดของ ABC เล็กน้อย
อัตราส่วนจาก Balance Sheet
เราสามารถนำตัวเลขต่างๆใน Balance sheet มาคำนวณเป็นอัตราส่วนต่างๆ เพื่อดูความสามารถในการชำระหนี้ทั้งในระยะสั้น (Liquidity) และระยะยาว (Solvency) มีสูตรหลักๆดังนี้
Liquidity Ratios
Current ratio =Current assets / Current liabilities
Quick ratio = (Cash+Marketable securities+Receivables) / Current liabilities
Cash ratio = (Cash+Marketable securities) / Current liabilities
จากทั้ง 3 สูตรจะเห็นว่า Cash ratio เป็นการตรวจสอบความสามารถในการชำระหนี้ที่มีระยะสั้นที่สุด เนื่องจากใช้เพียงแค่เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ซึ่งเป็นรายการที่มีสภาพคล่องสูงที่สุดใน Current assets ส่วน Current ratio จะเป็นการเทียบสัดส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนทั้งหมดโดยตรง
Solvency Ratios
Long term debt to equity = Long term debt / Total equity
Total debt to equity = Total debt / Total equity
Debt ratio = Total debt / Total assets
Financial leverage = Total assets / Total equity
ถึงแม้ว่าอัตราส่วนทั้ง 4 แบบจะเป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้ในระยะยาวเหมือนกัน แต่บริษัทหนึ่งอาจมีค่าอัตราส่วนหนึ่งมากกว่าอีกบริษัท แต่กลับมีอีกค่าอัตราส่วนน้อยกว่า ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องพิจารณาจากหลายๆอัตราส่วนประกอบกันในการเปรียบเทียบระหว่างบริษัท
จบกันไปแล้วสำหรับเรื่อง Balance sheet บทความต่อไปจะเข้าสู่เรื่องเกี่ยวกับ Statement of cash flow ซึ่งเป็นงบที่เราสามารถดูการไหลของตัวเงินสดของบริษัทได้โดยตรง ในขณะที่ทั้ง Income statement และ Balance sheet ประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นเงินสดและส่วนที่ไม่ใช่เงินสดรวมกันอยู่นั่นเอง
หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Balance Sheet
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Balance Sheet (Part 1) ส่วนประกอบของงบแสดงฐานะทางการเงิน
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Balance Sheet (Part 2) สินทรัพย์
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Balance Sheet (Part 3) หนี้สิน
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Balance Sheet (Part 4) ส่วนของผู้ถือหุ้น
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Balance Sheet (Part 5) Common-size Balance Sheet และอัตราส่วนต่างๆ