ส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholder’s equity) คือส่วนประกอบสุดท้ายของ Balance sheet เป็นสินทรัพย์สุทธิของบริษัทหลังจากที่หักหนี้สินทั้งหมดของบริษัทแล้ว ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่างที่สะท้อนถึงความมั่นคงและศักยภาพทางการเงินของบริษัท มีสูตรการหา Shareholder’s equity ดังนี้:

Total shareholder’s equity=Total assets-Total liabilities

หรือ

Total shareholder’s equity= Contributed capital+Preferred stock+Noncontrolling interest                                               +Retained earnings-Accumulated other comprehensive income-Treasury stock

ส่วนประกอบของ Shareholder’s Equity

เงินทุนที่ชำระแล้ว (Contributed Capital) คือเงินทุนที่บริษัทได้รับจากการออกหุ้นเพื่อขายให้กับผู้ถือหุ้น เป็นแหล่งเงินทุนหลักในการขยายธุรกิจ

– หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นหุ้นที่มีลักษณะพิเศษ เช่น การได้รับเงินปันผลก่อนหุ้นสามัญ, ได้รับเงินปันผลในจำนวนที่ระบุไว้เท่าเดิมตลอดกาล, และมีสิทธิ์ในการได้รับเงินคืนก่อนในกรณีที่บริษัทถูกยุบ

– ส่วนที่ไม่มีอำนวจควบคุม (Noncontrolling Interest) คือส่วนของสินทรัพย์ที่บริษัทแม่ไม่มีอำนาจควบคุมเต็มที่ในบริษัทลูก แต่ยังคงมีส่วนได้เสียทางการเงิน

– กำไรสะสม (Retained Earnings) คือกำไรที่บริษัทเลือกที่จะไม่จ่ายออกไปเป็นเงินปันผลและเก็บไว้เพื่อการลงทุนหรือขยายธุรกิจในอนาคต

– หุ้นซื้อคืน (Treasury Stock) เป็นหุ้นที่บริษัทซื้อคืนและตัดสินใจที่จะไม่จำหน่ายออกไปอีก ทำให้มูลค่าหุ้นของผู้ถือหุ้นเหลืออยู่ในตลาดเพิ่มขึ้น หุ้นส่วนนี้จะไม่ได้รับปันผลและไม่มีสิทธิในการออกเสียง

– กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสะสม (Accumulated Other Comprehensive Income) คือการบันทึกการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินที่ยังไม่ได้รับการรับรู้ในงบกำไรขาดทุน เช่น Unrealized gain/loss ต่างๆ

การวิเคราะห์ส่วนของผู้ถือหุ้น ไม่เพียงแค่ช่วยให้นักลงทุนเข้าใจถึงสภาพคล่องและความสามารถในการขยายธุรกิจเท่านั้น แต่ยังชี้ให้เห็นถึงการจัดการที่มีประสิทธิภาพและความสามารถในการสร้างรายได้สำหรับบริษัท อีกหนึ่งส่วนย่อยของ Shareholder’s equity ก็คือ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น(Statement of changes in stockholder’s equity) ซึ่งเป็นส่วนที่สรุปการเปลี่ยนแปลงของ Shareholder’s equity ในแต่ละงวดว่ามีส่วนไหนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงไปเท่าไหร่เมื่อเทียบกับช่วงสิ้นสุดของงวดก่อนหน้า

ตัวอย่าง Statement of changes in stockholder’s equity (Johnston, n.a.)

พาร์ทต่อไปจะเป็นพาร์ทสุดท้ายของ Balance Sheet ซึ่งจะมาอธิบายเกี่ยวกับทั้ง Common-size balance sheet และอัตราส่วนทางการเงินต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ balance sheet เพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ของแต่ละบริษัท ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Balance Sheet