การวิเคราะห์การลงทุนในตราสารทุน [ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]
หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในหนังสือของกลุ่มวิชาที่ 3: การวิเคราะห์หลักทรัพย์และการบริหารกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนภายใต้หลักสูตร CISA ใหม่ระดับที่ 1 (หลักสูตรการวิเคราะห์และการจัดการลงทุนขั้นพื้นฐาน)
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตราสารทุน
ตราสารทุนเป็นตราสารทางการเงินประเภทหนึ่งที่กิจการหรือบริษัทเป็นผู้ออกให้แก่ผู้ถือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมเงินทุนไปใช้ในกิจการ
ตราสารทุนเป็นตราสารที่แสดงสิทธิเรียกร้องของกิจการในฐานะเจ้าของกิจการ ทำให้ผู้ถือตราสารทุนมีส่วนร่วมได้เสียกับบริษัทหรือกิจการ
ผู้ถือตราสารทุนจะมีสิทธิในทรัพย์สินและกระแสเงินสดของกิจการในส่วนที่เหลือหลังจากผู้ถือตราสารหนี้ นอกจากนั้น ผู้ถือตราสารทุนยังมีสิทธิ (แต่ไม่ใช่ภาระผูกพัน) ที่จะได้รับส่วนแบ่งกำไร (ที่เหลือหลังจากหักชำระดอกเบี้ยและเงินต้นที่ครบกำหนด) ในรูปแบบของเงินปันผล รวมถึงขายหุ้นเพื่อทำกำไรเมื่อหุ้นของบริษัทมีราคาสูงขึ้น
รูปแบบกิจการ
- ธุรกิจเจ้าของคนเดียว
- ห้างหุ้นส่วนสามัญและห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- บริษัทจำกัด
- บริษัทมหาชนจำกัด
ลักษณะและประเภทของตราสารทุน
- หุ้นบุริมสิทธิ: ตราสารทุนซึ่งผู้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการเหมือนกับหุ้นสามัญ แต่
- ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิมีสิทธิได้รับเงินปันผลก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในอัตราคงที่
- ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิมีสิทธิในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากเจ้าหนี้ แต่จะได้รับก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่เลิกกิจการ
- ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิไม่มีสิทธิในการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ประเภทของหุ้นบุริมสิทธิ
- หุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมและไม่สะสมเงินปันผล
- หุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมเงินปันผล: หากบริษัทไม่ได้จ่ายเงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิในปีนี้ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินปันผลปีนี้ + เงินปันผลที่ประกาศจ่ายในปีถัดไป
- หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสมเงินปันผล: หากบริษัทไม่ได้จ่ายเงินปันผลในปีนี้ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินปันผลในปีที่ประกาศจ่ายเท่านั้น
- หุ้นบุริมสิทธิชนิดไถ่ถอนคืนและไม่สามารถไถ่ถอนคืน
- หุ้นบุริมสิทธิชนิดไถ่ถอนคืน: บริษัทสามารถไถ่ถอนหุ้นบุริมสิทธิตามเงื่อนไขที่กำหนด
- หุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมและไม่สะสมเงินปันผล
- หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สามารถไถ่ถอนคืน: บริษัทไม่สามารถไถ่ถอนได้
- หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับและไม่ร่วมรับ
- หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับ: ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิมีสิทธิได้รับเงินปันผลเพิ่มเติมจากอัตราที่กำหนดไว้ร่วมกับผู้ถือหุ้นสามัญ
- หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่ร่วมรับ: ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลเพิ่มเติมจากอัตราที่กำหนดไว้ร่วมกับผู้ถือหุ้นสามัญ
- หุ้นบุริมสิทธิชนิดแปลงสภาพได้และแปลงสภาพไม่ได้
- หุ้นบุริมสิทธิชนิดแปลงสภาพได้: ให้สิทธิผู้ถือในการแปลงเป็นหุ้นสามัญ
- หุ้นบุริมสิทธิชนิดแปลงสภาพไม่ได้: ไม่ให้สิทธิผู้ถือในการแปลงเป็นหุ้นสามัญ
- หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่จ่ายเงินปันผล
- หุ้นสามัญ: ตราสารทุนที่ทำให้ผู้ลงทุนมีส่วนได้เสียในสินทรัพย์ รายได้และกำไรของธุรกิจในฐานะที่เป็นเจ้าของธุรกิจที่ออกหุ้นสามัญนั้น โดย
- ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับผลตอบแทนเป็นลำดับสุดท้าย
- ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิในสินทรัพย์ของกิจการเป็นลำดับสุดท้ายในกรณีที่เลิกกิจการ
- ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิในการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ประเภทของหุ้นสามัญ
แบ่งตามลักษณะของหุ้น
- หุ้นบลูชิพ: หุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ มีความน่าเชื่อถือ มีความมั่นคงทางการเงิน มีความสม่ำเสมอในการเติบโตของผลกำไรและมีการจ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่อง
- หุ้นปันผล: หุ้นของบริษัทที่มีการขยายตัวไม่สูงมาก แต่มีรายได้และกำไรสม่ำเสมอ สามารถจ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูงอย่างต่อเนื่อง
- หุ้นคุณค่า: หุ้นที่มีราคาหรือมูลค่าต่ำกว่าราคาทางทฤษฎี มีอัตราส่วนราคากำไรต่อหุ้นหรืออัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้นต่ำ หรือมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง
- หุ้นเติบโต: หุ้นของบริษัทที่ธุรกิจอยู่ในช่วงเติบโต มีผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างรวดเร็ว มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวก และมีการจ่ายเงินปันผลในอัตราต่ำเมื่อเทียบกับผลกำไรที่เกิดขึ้น
- หุ้นวัฏจักร: หุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีความผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ ระดับราคาสินค้าของบริษัทมีความผันผวนตามกลไกของอุปสงค์อุปทาน ส่งผลให้ผลประกอบการและราคาหุ้นของบริษัทผันผวนตามวัฏจักรธุรกิจ
- หุ้นสวนทางกับวัฏจักรเศรษฐกิจ: หุ้นของบริษัทที่มีผลการดำเนินงานสวนทางกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม
- หุ้นตั้งรับ: หุ้นของบริษัทที่อยู่ในธุรกิจที่ไม่ค่อยผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ มีความสัมพันธ์ค่อนข้างต่ำกับวัฏจักรธุรกิจ
- หุ้นเก็งกำไร: หุ้นของบริษัทใหม่หรือเป็นหุ้นของบริษัทขนาดเล็กที่มีความไม่แน่นอนของธุรกิจสูง
- หุ้นต่ำบาท: หุ้นของบริษัทที่มีราคาซื้อขายต่ำ
แบ่งตามมูลค่าตามราคาตลาด
- หุ้นขนาดใหญ่: หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีมูลค่าตลาดสูงสุด 50 อันดับแรก
- หุ้นขนาดกลาง: หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีมูลค่าตลาดตั้งแต่อันดับที่ 51-100
- หุ้นขนาดเล็ก: หุ้นของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดในตลาดหุ้นไทยที่ไม่ได้อยู่ในดัชนี SET100
แบ่งตามประเภทของอุตสาหกรรม – แบ่งออกเป็น 8 กลุ่มอุตสาหกรรมและ 28 หมวดธุรกิจ คุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
- ตราสารที่เกี่ยวเนื่องกับตราสารทุน
3.1 ใบสำคัญแสดงสิทธิ หมายถึง ตราสารที่ผู้ออกให้สิทธิแก่ผู้ลงทุนในการซื้อสินทรัพย์อ้างอิงของบริษัทโดยตรงจากบริษัทที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธินั้น ตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้โดยบริษัทผู้ออกใบสำคัญแสดงสิทธินั้น
ประเภทของใบสำคัญแสดงสุทธิ
แบ่งตามข้อกำหนดการใช้สิทธิ
- แบบยุโรป: ใช้สิทธิในวันสุดท้ายของอายุสัญญาเท่านั้น
- แบบอเมริกัน: ใช้สิทธิในวันใดก็ได้ภายในอายุสัญญา
- แบบอเมริกันเทียม: ใช้สิทธิในวันที่กำหนดเวลาไว้เป็นช่วง ๆ ภายในอายุสัญญา
แบ่งตามสถานะ
- สถานะที่ได้ประโยชน์: ราคาใช้สิทธิ < ราคาตลาดของหุ้นสามัญ
- สถานะที่ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์: ราคาใช้สิทธิ = ราคาตลาดของหุ้นสามัญ
- สถานะที่เสียประโยชน์: ราคาใช้สิทธิ > ราคาตลาดของหุ้นสามัญ
แบ่งตามเงื่อนไขการผูกติดกับตราสารทางการเงิน
- Detachable Warrant: ใบสำคัญแสดงสิทธิที่ออกมาจำหน่ายเดี่ยว ๆ หรือจำหน่ายโดยขายร่วมกับหลักประเภทอื่น แต่เมื่อผู้ลงทุนซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิที่ขายร่วมกันไปแล้ว สามารถแยกใบสำคัญแสดงสิทธิมาขายต่างหากจากสินทรัพย์ที่ซื้อร่วมกันได้
- Non-detachable Warrant: ใบสำคัญแสดงสิทธิที่ไม่สามารถแยกออกจากหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินที่ใบสำคัญแสดงสิทธินั้นผูกติดอยู่
3.2 ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หมายถึง
- ตราสารที่ผู้ออกให้สิทธิแก่ผู้ถือในการที่จะซื้อหรือขายสินทรัพย์อ้างอิง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในตราสารโดยผู้ออก หรือ
- ตราสารที่ผู้ออกให้สิทธิแก่ผู้ถือในการได้รับชำระเงิน ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้ในจำนวนที่คำนวณได้จากส่วนต่างของราคาสินทรัพย์อ้างอิงกับราคาใช้สิทธิที่กำหนดในตราสาร
ประเภทของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
แบ่งตามประเภทสิทธิ
- สิทธิซื้อ หมายถึง ตราสารที่ผู้ออกให้สิทธิที่จะซื้อหรือให้สิทธิแก่ผู้ถือสิทธิในการได้รับชำระเงิน ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้ตามจำนวนที่คำนวณได้จากส่วนต่างของราคาสินทรัพย์อ้างอิงกับราคาใช้สิทธิที่กำหนดในตราสาร เมื่อราคาของสินทรัพย์อ้างอิงสูงกว่าราคาใช้สิทธิที่กำหนดไว้
- สิทธิขาย หมายถึง ตราสารที่ผู้ออกให้สิทธิที่จะขายหรือให้สิทธิแก่ผู้ถือสิทธิในการได้รับชำระเงิน ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้ตามจำนวนที่คำนวณได้จากส่วนต่างของราคาสินทรัพย์อ้างอิงกับราคาใช้สิทธิที่กำหนดในตราสาร เมื่อราคาของสินทรัพย์อ้างอิงต่ำกว่าราคาใช้สิทธิที่กำหนดไว้
แบ่งตามประเภทของหลักทรัพย์อ้างอิง
- หุ้นหรือกลุ่มหุ้นที่อยู่ในองค์ประกอบของดัชนีหุ้น SET50
- หุ้นหรือกลุ่มหุ้นที่อยู่ในองค์ประกอบของดัชนีหุ้น SET100
- ดัชนีหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นไทยที่เผยแพร่โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- หน่วยลงทุนของกองทุนรวม ETF ที่มีนโยบายสร้างผลตอบแทนตามความเคลื่อนไหวของราคากลุ่มหุ้นหรือดัชนีหลักทรัพย์ที่กล่างข้างต้น
- หลักทรัพย์หรือกลุ่มหลักทรัพย์อื่นใดตามที่ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
แบ่งตามการฝากหลักทรัพย์เป็นประกัน
- มีทรัพย์สินที่เป็นประกันเต็มจำนวน: ผู้ออกจัดให้มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นประกันเต็มจำนวนตามอัตราการใช้สิทธิที่ระบุไว้ในใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
- มีทรัพย์สินที่เป็นประกันบางส่วน: ผู้ออกจัดให้มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นประกันเพียงบางส่วนตามอัตราการใช้สิทธิที่ระบุไว้ในใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
- ไม่มีทรัพย์สินที่เป็นประกัน – ผู้ออกไม่จัดให้มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นประกัน ผู้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือระดับ AAA (สูงสุด), AA, A และ BBB (ต่ำสุด)
3.3 ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR) คือ ตราสารที่ออกโดยบริษัท ไทย เอ็นวีดีอาร์ จำกัด ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ลงทุนชาวต่างประเทศที่สนใจในบริษัทจดทะเบียนไทย แต่ไม่สามารถลงทุนในหลักทรัพย์นั้นได้ เนื่องจากการควบคุมสัดส่วนการถือครองหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนชาวต่างประเทศตามกฎหมายไทย
3.4 ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง คือ ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงในหุ้นสามัญหรือหุ้นกู้ ซึ่งเป็นช่องทางในการลงทุนหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านตลาดหลักทรัพย์ท้องถิ่น
3.5 ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ คือ ตราสารที่บริษัทจดทะเบียนออกให้แก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนจำนวนหุ้นสามัญที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีอยู่ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นนั้นหรือบุคคลอื่นที่รับโอนตราสารดังกล่าวใช้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียนนั้น
ผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารทุน
หุ้มบุริมสิทธิ: กำไรจากการซื้อขายและเงินปันผล
หุ้นสามัญ: เงินปันผลและกำไร/ขาดทุนจากส่วนต่างของราคา
ใบสำคัญแสดงสิทธิ: ส่วนต่างของราคา
ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์: กำไร/ขาดทุนจากส่วนต่างของราคา
ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย: เหมือนกับหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญ
ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง: เหมือนกับหุ้นสามัญ
ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้: กำไรจากการซื้อขายและสิทธิในการจองซื้อหุ้นใหม่
ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารทุน
หุ้มบุริมสิทธิ ได้แก่
- ความเสี่ยงด้านราคาตลาดที่ซื้อขายอาจมีการปรับตัวในทิศทางตรงกันข้ามกับที่คาดไว้
- ความเสี่ยงที่กิจการอาจไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ เป็นต้น
หุ้นสามัญ: ความเสี่ยงทางธุรกิจและความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทผู้ออกตราสารทุน
ใบสำคัญแสดงสิทธิ ได้แก่
- ความเปลี่ยนแปลงของราคาตลาดของหุ้นสามัญที่อ้างอิง และ
- ความเสี่ยงด้านระยะเวลาการลงทุน
ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์: คล้ายคลึงกับใบสำคัญแสดงสิทธิ แต่เพิ่มเติมด้วย
- ความเสี่ยงจากอัตราทด
- ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง และ
- ความเสี่ยงด้านการผิดนัดชำระของคู่สัญญา
ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย: เหมือนกับหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญ
ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง ได้แก่
- ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในต่างประเทศ
- ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
- ความเสี่ยงจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศที่ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์จดทะเบียนและในประเทศที่หุ้นสามัญอ้างอิงจดทะเบียน
- ความเสี่ยงเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้ลงทุนที่แตกต่างกัน
- ความเสี่ยงด้านเวลาในการรับรู้ข่าวสารและการซื้อขายเนื่องจากอยู่คนละประเทศกัน
ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้: คล้ายคลึงกับใบสำคัญแสดงสิทธิ
ภาษีของการลงทุนในตราสารทุน
- กรณีบุคคลธรรมดา (ไทยหรือต่างชาติ) ที่ประกอบกิจการในไทย
- กำไรจากการขายหลักทรัพย์: ยกเว้นภาษี
- เงินปันผล: หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% (ยกเว้นเงินปันผลจากกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับยกเว้นภาษี)
- กรณีบุคคลธรรมดา (ต่างชาติ) ที่ไม่ประกอบกิจการในไทย
- กำไรจากการขายหลักทรัพย์: ยกเว้นภาษี
- เงินปันผล: หักภาษี ณ ที่จ่าย 10%
- กรณีนิติบุคคล (ไทยหรือต่างชาติ) ที่ประกอบกิจการในไทย
- กำไรจากการขายหลักทรัพย์: ยกเว้นภาษี แต่นำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
- เงินปันผล: หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% (ได้รับยกเว้นภาษีในบางกรณี)
- กรณีนิติบุคคล (ต่างชาติ) ที่ไม่ได้ประกอบกิจการในไทย
- กำไรจากการขายหลักทรัพย์: หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
- เงินปันผล: หักภาษี ณ ที่จ่าย 10%
บทที่ 2 ตลาดตราสารทุน
ตลาดตราสารทุนแบ่งออกเป็นตลาดแรกและตลาดรอง
ตลาดแรก หมายถึง ตลาดที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ระหว่างผู้ลงทุนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์
การออกหุ้นสามัญเพื่อระดมทุนในตลาดแรกสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- การออกหุ้นสามัญใหม่ขายเป็นครั้งแรก หมายถึง การที่บริษัทนำหุ้นสามัญใหม่ออกขายให้สาธารณชนเป็นครั้งแรก
- การออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน หมายถึง การที่บริษัทออกหุ้นสามัญใหม่และออกขายให้สาธารณชนโดยที่บริษัทนั้นมีหุ้นสามัญหมุนเวียนกันอยู่แล้วในตลาดหุ้น
ตลาดรอง หมายถึง ตลาดที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เคยออกขายมาแล้วในตลาดแรก
ตลาดรองทำให้ผู้ลงทุนขายหลักทรัพย์ที่ซื้อจากตลาดแรก และราคาหลักทรัพย์ในตลาดรองสามารถนำไปใช้อ้างอิงในการกำหนดราคาขายหลักทรัพย์ในตลาดแรกได้
ตลาดรองแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
- ตลาดหลักทรัพย์ที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ หมายถึง ตลาดที่ผู้ซื้อและผู้ขายหลักทรัพย์ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ภายใต้กฎระเบียบที่ตลาดที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการกำหนดขึ้น
- ตลาดโอทีซี หมายถึง ตลาดที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์โดยตรงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยไม่ผ่านศูนย์ซื้อขายที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ
บทบาทและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องในตราสารทุน
- ผู้ลงทุน: ผู้จัดการทุนของตนไปลงทุนสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อหวังผลตอบแทนทางการเงิน
- บริษัทจดทะเบียน: บริษัทที่ประสงค์จะระดมทุนระยะยาวเพื่อใช้สำหรับการขยายธุรกิจ โดยยอมแบ่งสิทธิความเป็นเจ้าของในบริษัทให้แก่ผู้สนใจ
- บริษัทหลักทรัพย์: บริษัทที่ประกอบธุรกิจการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนเพื่อการซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่น โดยได้รับค่านายหน้า ค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่นเป็นการตอบแทน
- ผู้ค้าหลักทรัพย์: สถาบันการเงินที่ทำการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อตนเองโดยคาดหวังผลตอบแทนเป็นส่วนต่างของราคาซื้อและราคาขาย
- ผู้รับฝากทรัพย์สิน: สถาบันการเงิน เช่น ธนาคารที่ทำหน้าที่ดูแลและเก็บรักษาใบหุ้นและสินทรัพย์อื่น ๆ ให้แก่กองทุนส่วนบุคคล บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่เป็นลูกค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนต่างประเทศ
- ผู้ค้ากำไร: ผู้ที่สามารถทำกำไรจากการทำธุรกรรมหลายธุรกรรมพร้อมกันโดยปราศจากความเสี่ยงและไม่ต้องใช้เงินตัวเองลงทุน
- ผู้ดูแลสภาพคล่อง: บริษัทสมาชิกของตลาดหุ้นที่ได้รับอนุญาตให้ทำหน้าที่ดูแลหุ้นของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เพื่อให้หุ้นดังกล่าวมีสภาพคล่องในการซื้อขายอย่างต่อเนื่อง
- องค์กรกำกับดูแล: กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุน โดยทำหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการเงินและการทำธุรกรรมทางการเงินในตลาดทุนให้เกิดความยุติธรรมและเท่าเทียมกันทุกฝ่าย
ตลาดหลักทรัพย์
ลักษณะของตลาดที่ดี
- ตลาดที่สามารถให้ข้อมูลได้ถูกต้องและทันเวลา
- ตลาดที่มีสภาพคล่อง
- มีค่าใช้จ่ายในการซื้อขายต่ำ
- ตลาดที่ราคาซื้อขายสะท้อนข้อมูลใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
ประเภทของตลาดหลักทรัพย์
- ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์แบบประมูล: ผู้ซื้อและผู้ขายหลักทรัพย์ที่มีความต้องการซื้อหรือขายติดต่อกับนายหน้าเพื่อช่วยให้จัดส่งคำสั่งซื้อขายผ่านระบบเข้ามายังศูนย์ของตลาดหลักทรัพย์ที่จะทำหน้าที่จับคู่คำสั่งซื้อขายนั้น นายหน้าจะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเป็นตัวแทนซื้อหรือขายโดยไม่ได้เป็นเจ้าของหลักทรัพย์ที่ซื้อขาย
- ระบบการซื้อขายกับผู้ค้าหลักทรัพย์: ผู้ต้องการซื้อหรือขายหลักทรัพย์จะต้องติดต่อเจรจาต่อรองกับผู้ค้าหลักทรัพย์แต่ละคนซึ่งมีหลักทรัพย์ที่ผู้ซื้อผู้ขายต้องการอยู่ในความครอบครอง ผู้ค้าหลักทรัพย์จะทำหน้าที่เป็นคนสร้างสภาพคล่องให้กับผู้ลงทุนโดยการซื้อหลักทรัพย์จากผู้ลงทุนเก็บไว้และขายหลักทรัพย์ที่มีอยู่ให้ผู้ที่ต้องการ
โครงสร้างและบทบาทของตลาดหลักทรัพย์
- ตลาดหลักทรัพย์เอกชน: จัดตั้งขึ้นโดยบุคคลหรือองค์กรเอกชน เพื่อจุดประสงค์ในการซื้อขายหลักทรัพย์ แต่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยภาครัฐ
- ตลาดหลักทรัพย์รัฐบาล: องค์กรภาครัฐที่มีนายหน้าซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐบาล มีการซื้อขายในลักษณะผูกขาด ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายถูกกำหนดโดยรัฐบาล
- ตลาดหลักทรัพย์ของนักการธนาคาร: ในบางประเทศ เช่น เยอรมนี ออสเตรเลีย สวิสเซอร์แลนด์ สแกนดิเนเวียและเนเธอร์แลนด์ ธนาคารเป็นผู้ค้าหลักทรัพย์รายใหญ่ ซึ่งมาพร้อมกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น
ดัชนีราคาหลักทรัพย์
ดัชนีราคาหลักทรัพย์ หมายถึง ตัวเลขที่ใช้เป็นเครื่องมือแสดงให้เห็นถึงภาพรวมการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของราคากลุ่มหลักทรัพย์ใด ๆ หรือของกลุ่มหลักทรัพย์ตลาดใด ๆ
ประโยชน์ของดัชนีราคาหลักทรัพย์
- สามารถใช้เป็นตัวแทนกลุ่มหลักทรัพย์เสี่ยงทั้งหมดในตลาด เมื่อต้องการวัดความเสี่ยงที่เป็นระบบ
- สามารถนำมาใช้สร้างกลุ่มหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนใกล้เคียงกับตลาดหรือดีกว่าตลาด
- สามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์ทิศทางและแนวโน้มของราคาหลักทรัพย์ในอนาคตได้
- สามารถนำไปใช้ในการศึกษาและค้นคว้าวิจัยเพื่อกำหนดปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ในอนาคต
- สามารถนำไปใช้ในการอ้างอิงเพื่อประเมินความสำเร็จในการลงทุนของผู้บริหารการลงทุน
ประเภทและวิธีการคำนวณของดัชนีราคาหลักทรัพย์
ปัจจัยที่ใช้ในการสร้างดัชนีราคาหลักทรัพย์
- ตัวอย่างหลักทรัพย์ที่ใช้ในการสร้างดัชนี – สุ่มเลือกอย่างอิสระหรือใช้เทคนิคที่สร้างขึ้นเฉพาะ
- วิธีที่ใช้ในการคำนวณเพื่อสร้างดัชนี
- การคำนวณหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของตัวอย่างที่อยู่ในกลุ่มดัชนี
- การคำนวณหาค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของตัวอย่างที่อยู่ในกลุ่มดัชนี
- การคำนวณมูลค่าดัชนีและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือการเปลี่ยนแปลงมูลค่าโดยเปรียบเทียบกับดัชนีฐาน
- วิธีการถ่วงน้ำหนักตัวอย่างในดัชนี
- วิธีการใช้ราคาหลักทรัพย์ถ่วงน้ำหนัก: หุ้นที่มีราคาสูงมีน้ำหนักมากกว่าหุ้นที่มีราคาต่ำ
- วิธีการใช้มูลค่าตลาดถ่วงน้ำหนัก: หุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูงจะมีอิทธิพลต่อดัชนีมากกว่าหุ้นที่มีมูลค่าตลาดต่ำ
- วิธีที่ไม่มีการถ่วงน้ำหนัก: หุ้นทุกตัวมีน้ำหนักเท่ากัน
ดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่เผยแพร่โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ
- กลุ่มดัชนีตลาดหลักทรัพย์
- ดัชนีตลาดหลักทรัพย์: แสดงความเคลื่อนไหวโดยรวมของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ดัชนีกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ: แสดงความเคลื่อนไหวในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ
- ดัชนี SET50: แสดงความเคลื่อนไหวของ 50 หลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง มูลค่าตลาดสูงและมูลค่าซื้อขายสูงอย่างสม่ำเสมอ
- ดัชนี SET100: แสดงความเคลื่อนไหวของ 100 หลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง มูลค่าตลาดสูงและมูลค่าซื้อขายสูงอย่างสม่ำเสมอ
- ดัชนี sSET: แสดงความเคลื่อนไหวของหุ้นที่อยู่นอกเหนือดัชนี SET50 และ SET100
- กลุ่มดัชนีตลาดหลักทรัพย์
- กลุ่มดัชนีตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ
- ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ: แสดงความเคลื่อนไหวโดยรวมตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ
- ดัชนีกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ: แสดงความเคลื่อนไหวในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ
- กลุ่มดัชนี SET Thematic Index Series
- ดัชนี SETCLMV: สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคากลุ่มหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีรายได้จากกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์และเวียดนาม)
- ดัชนี SETHD: หุ้นสามัญที่มีมูลค่าตลาดสูง สภาพคล่องสูงและมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงรวม 30 หลักทรัพย์
- ดัชนี SETTHSI: สะท้อนการเคลื่อนไหวราคาของกลุ่มหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนซึ่งมีขนาดและสภาพคล่องผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด
- ดัชนี SETWB: สะท้อนการเคลื่อนไหวของกลุ่มหลักทรัพย์ 30 หลักทรัพย์ใน 7 หมวดธุรกิจที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันและเป็นธุรกิจที่ผู้ลงทุนต่างชาติให้ความสนใจ
- กลุ่มดัชนีผลตอบแทนรวม: ดัชนีที่ใช้วัดผลตอบแทนรวมจากการลงทุนในหลักทรัพย์ เช่น ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจากส่วนต่างของราคาและเงินปันผล
นอกจากนี้แล้ว ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกเพื่อจัดทำดัชนีราคาหลักทรัพย์ เช่น ความร่วมมือกับ FTSE Group ในการสร้างดัชนีราคา FTSE SET เป็นต้น
ดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่สำคัญทั่วโลก เช่น
- F/TS&P-Actuaries World Index: ดัชนีที่สร้างขึ้นจากหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุน 2,271 หลักทรัพย์จาก 30 ประเทศ ครอบคลุมอย่างน้อย 70% ของมูลค่าทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียนในแต่ละประเทศและต้องเป็นหลักทรัพย์ที่ผู้ลงทุนต่างชาติสามารถถือครองได้
- Morgan Stanley Capital International Index: เลือกหุ้นบริษัทจดทะเบียน 1,375 บริษัทจาก 19 ประเทศ ซึ่งมีมูลค่าตลาดรวมกันประมาณ 60% ของมูลค่าตลาดรวมของตลาดหลักทรัพย์ทุกประเทศรวมกัน
- Dow Jones World Stock Index: ประกอบด้วยหุ้น 2,200 บริษัททั่วโลก และจัดอยู่ในธุรกิจ 120 ประเภท ซึ่งดำเนินงานอยู่ใน 33 ประเทศรวมกัน และครอบคลุมมากกว่า 80% ของมูลค่าตลาดรวมของทุกประเทศรวมกัน
การซื้อขายตราสารทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดให้มีการซื้อขายครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 ภายใต้วิธีการซื้อขายแบบประมูลราคาอย่างเปิดเผย
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปลี่ยนมาใช้ระบบการซื้อขายด้วยคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรกภายใต้ระบบ ASSET วันที่ 31 พฤษภาคม 2534
เดือนสิงหาคม 2551 ระบบการซื้อขายเปลี่ยนเป็น ARMS เพื่อรองรับรูปแบบการดำเนินธุรกรรมใหม่ ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งจัดให้มีระบบสำรองกรณีระบบขัดข้อง
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดตัวระบบซื้อขายใหม่ที่เรียกว่า SET CONNECT เพื่อตอบสนองการขยายตัวทางธุรกิจของอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ในวันที่ 3 กันยายน 2555
วิธีการและขั้นตอนการซื้อขายตราสารทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
- การซื้อขายด้วยวิธีจับคู่อัตโนมัติ: ผู้ซื้อและผู้ขายส่งการเสนอซื้อและเสนอขายด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเข้ามายังระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยที่ระบบคอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะทำการเรียงลำดับและจับคู่คำสั่งซื้อขายให้โดยอัตโนมัติ
- การซื้อขายด้วยวิธีบันทึกการซื้อขาย: การซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้ทำการต่อรองเพื่อตกลงซื้อขายกันแล้วจึงบันทึกรายการซื้อขายนั้นเข้ามาในระบบซื้อขาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- การซื้อขายระหว่างสมาชิก: หากมีการซื้อขายตกลงกันแล้ว ให้สมาชิกทั้งผู้ซื้อและผู้ขายบันทึกรายการซื้อขายเข้าในระบบการซื้อขายก่อนเพื่อจับคู่ซื้อขาย
- การซื้อขายโดยสมาชิกผู้ซื้อและผู้ขายเป็นรายเดียวกัน: หากมีการตกลงซื้อขายกัน ให้สมาชิกบันทึกรายการซื้อขายเข้ามายังตลาดหลักทรัพย์ฯ
หลักเกณฑ์การซื้อขายตราสารทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ช่องทางการส่งคำสั่งซื้อขาย
- การส่งคำสั่งซื้อขายด้วยตนเองที่ห้องค้าหลักทรัพย์
- การส่งคำสั่งซื้อขายโดยโทรศัพท์ผ่านทางผู้แนะนำการลงทุน
- การส่งคำสั่งซื้อขายทางระบบอินเทอร์เน็ต
- การส่งคำสั่งซื้อขายผ่านระบบ Direct Market Access (DMA)
- การใช้ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์สำหรับส่งคำสั่งซื้อขายโดยอัตโนมัติ
เวลาทำการซื้อขาย: ตารางเวลาทำการซื้อขายของตลาดหุ้นไทย
หน่วยการซื้อขาย ช่วงราคา ราคาสูงสุด-ต่ำสุด
1 หน่วยการซื้อขาย = 100 หลักทรัพย์ ยกเว้นกรณีที่หลักทรัพย์มีราคาปิดตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไปเป็นระยะเวลา 6 เดือนติดต่อกัน หน่วยการซื้อขายของหลักทรัพย์จะเท่ากับ 50 หลักทรัพย์
ช่วงราคา หมายถึง การเคลื่อนไหวขั้นต่ำของราคาหลักทรัพย์สำหรับการเสนอซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยวิธีจับคู่อัตโนมัติ ซึ่งช่วงราคาขึ้นอยู่กับระดับราคาของแต่ละหลักทรัพย์
การกำหนดราคาเสนอซื้อขายสูงสุดและต่ำสุดของหลักทรัพย์: ราคาเสนอซื้อขายหลักทรัพย์สามารถเพิ่มขึ้นหรือลดลงสูงสุดไม่เกิน 30% ของราคาปิดวันก่อนหน้าของหลักทรัพย์นั้น
Program Trading หมายถึง ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์สำหรับการเสนอซื้อขายที่สามารถสร้าง และบันทึกการเสนอซื้อขายได้โดยอัตโนมัติ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
- Market Making – ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์สำหรับสมาชิกที่เป็น Market Maker เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องของหลักทรัพย์
- ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นที่ได้รับอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์ฯ
การซื้อขายหลักทรัพย์นอกเวลาทำการ
- ระยะเวลาซื้อขาย: เวลาปิด – 17.00 น.
- วิธีการซื้อขาย: การซื้อขายด้วยวิธีบันทึกการซื้อขายเท่านั้น
ข้อกำหนดการหยุดการซื้อขายเป็นการชั่วคราวกรณี Circuit Breaker
กรณีที่สภาวะการซื้อขายมีความผันผวนรุนแรง ราคาหลักทรัพย์โดยรวมเปลี่ยนแปลงลดลงมาก ตลาดหลักทรัพย์จะหยุดทำการซื้อขายโดยอัตโนมัติเป็นการชั่วคราว
ครั้งที่ 1: เมื่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงลดลงถึง 10% ของค่าดัชนีปิดในวันทำการก่อนหน้า ตลาดหลักทรัพย์จะพักการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมดเป็นเวลา 30 นาที และ
ครั้งที่ 2: เมื่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงลดลงถึง 20% ของค่าดัชนีปิดในวันทำการก่อนหน้า ตลาดหลักทรัพย์จะพักการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง
หลังจากการทำงานครั้งที่ 2 ของ Circuit Breaker ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเปิดทำการซื้อขายต่อไปจนถึงเวลาปิดทำการปกติ โดยไม่มีการหยุดพักการซื้อขายอีก
การขึ้นเครื่องหมายสิทธิประโยชน์และเครื่องหมายประกอบการซื้อขาย
เครื่องหมายแสดงสิทธิประโยชน์ เช่น
- XD: ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับเงินปันผล
- XR: ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่
- XW: ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหลักทรัพย์
เครื่องหมายประกอบการซื้อขาย เช่น
- NP: บริษัทมีข่าวสารหรือสารสนเทศต้องชี้แจงหรือรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์
- NR: บริษัทจดทะเบียนได้ชี้แจงหรือรายงานข่าวสารหรือสารสนเทศต่อตลาดหลักทรัพย์แล้ว และข่าวสารดังกล่าวได้เผยแพร่แก่ผู้ลงทุนแล้ว
- NC: หลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน
ประเภทคำสั่งซื้อขาย
- คำสั่งซื้อขายตามราคาตลาด: คำสั่งซื้อหรือขายหุ้นในราคาที่ดีที่สุดในปัจจุบันหรือราคาตลาด
- คำสั่งซื้อขายราคากำหนด: คำสั่งซื้อหรือขายที่ผู้ลงทุนระบุไว้ว่าจะต้องการซื้อหรือขายหุ้นในราคาเท่าใด
- คำสั่งพิเศษ เช่น คำสั่งหยุดซื้อ – ผู้ลงทุนที่ขายหุ้นชอร์ตและต้องการลดความเสี่ยงจากการที่ราคาหุ้นสูงขึ้นอาจจะส่งคำสั่งแบบมีเงื่อนไขว่า ให้หยุดการซื้อเมื่อราคาหุ้นขึ้นสูงกว่าราคาที่ขายชอร์ตไปในระดับใด
- การขายชอร์ต: การขายหุ้นที่ไม่ได้อยู่ในความครอบครองหรือหุ้นที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ โดยมีความตั้งใจที่จะซื้อหุ้นนั้นกลับคืนมาในราคาต่ำกว่า
คำสั่งซื้อขายอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการชำระเงินค่าซื้อขาย
- การซื้อขายแบบเงินสด: การซื้อขายหลักทรัพย์โดยชำระค่าหลักทรัพย์เต็มจำนวนด้วยเงินสด
- การซื้อขายแบบสินเชื่อ: การซื้อขายที่ผู้ลงทุนสามารถใช้สินเชื่อในการซื้อหุ้นโดยจ่ายเงินสดค่าซื้อหุ้นส่วนหนึ่งและค่าซื้อหุ้นส่วนที่เหลือจ่ายโดยการกู้ยืมจากบริษัทนายหน้าโดยมีหลักทรัพย์ที่ซื้อนั้นเป็นหลักประกัน
บทที่ 3 การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์ปัจจัยมหภาค
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นแนวทางในการประเมินหามูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์ ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจลงทุนด้วยการเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าที่แท้จริงกับราคาตลาด
- ผู้ลงทุนควรตัดสินใจซื้อหลักทรัพย์ที่มีราคาตลาดต่ำกว่าที่ควรจะเป็นหรือต่ำเกินจริงเมื่อมูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์ที่คำนวณได้สูงกว่าราคาหลักทรัพย์ในอนาคต
- ผู้ลงทุนควรตัดสินใจขายหรือหลีกเลี่ยงหลักทรัพย์ที่มีราคาตลาดสูงกว่าที่ควรจะเป็นหรือสูงเกินจริงเมื่อมูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์ที่คำนวณได้ต่ำกว่าราคาหลักทรัพย์ในอนาคต
ความสำคัญของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
- ผู้บริหารบริษัท: สามารถคาดการณ์ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่มีผลต่อกระแสเงินสดของกิจการในอนาคต สามารถคาดการณ์ความเชื่อมโยงผลกระทบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นทั้งในระดับโลก ระดับประเทศและระดับอุตสาหกรรมที่มีต่อบริษัท ทำให้สามารถกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารกิจการได้อย่างเหมาะสม
- ผู้ลงทุนปัจจุบันของบริษัท: ประเมินผลการบริหารของผู้บริหารของบริษัทว่าสามารถวางกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและภาวะอุตสาหกรรมในขณะนั้น ๆ หรือไม่
- บุคคลภายนอก: ทำให้สามารถคัดเลือกหลักทรัพย์ลงทุนอย่างมีเหตุมีผล ไม่ได้อ่อนไหวตามกระแสการลงทุน ไม่ได้ตื่นตระหนกไปตามข่าวลือต่าง ๆ
Three Step Process ที่ใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
ขั้นตอนที่ 1: การวิเคราะห์ปัจจัยมหภาคของเศรษฐกิจแต่ละประเทศ (ซึ่งในบทนี้จะพูดถึงเรื่องนี้)
ขั้นตอนที่ 2: การวิเคราะห์เลือกอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับภาพรวมของเศรษฐกิจที่ได้วิเคราะห์ไว้
ขั้นตอนที่ 3: การวิเคราะห์ในระดับบริษัทซึ่งจะเป็นการพิจารณาทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งจะทำให้สามารถตัดสินใจได้ว่า หุ้นสามัญของบริษัทใดเป็น
- หุ้นที่มีราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง หรือ
- หุ้นที่มีราคาตลาดสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง
หลักการวิเคราะห์ปัจจัยมหภาค
การวิเคราะห์ปัจจัยมหภาคจะช่วยทำให้สามารถพยากรณ์ภาวะเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยทั่วไปแล้ว ภาวะเศรษฐกิจจะมีการเคลื่อนไหวขึ้นลงสลับไปมาเป็นลูกคลื่น ทั้งนี้ วัฏจักรหนึ่งรอบมักจะมีช่วงเวลาประมาณ 5 – 10 ปี
วัฏจักรเศรษฐกิจ
- ระยะเศรษฐกิจฟื้นตัว: ธุรกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น หลังจากตกต่ำสุด ความต้องการสินค้าและบริการเริ่มขยับสูงขึ้น การผลิตและการจ้างงานเพิ่มขึ้น
- ระยะเศรษฐกิจรุ่งเรือง: จุดสูงสุดของวัฏจักร ระบบเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งการผลิตและการบริโภค
- ระยะเศรษฐกิจถดถอย: กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มชะลอลง ธุรกิจเริ่มสูญเสียความเชื่อมั่น การผลิตลดลง ชะลอการลงทุนในอนาคต การจ้างงานเริ่มลดลง
- ระยะเศรษฐกิจตกต่ำ: ธุรกรรมทางเศรษฐกิจแตะระดับต่ำสุด การลงทุนโดยรวมลดลง
ปัจจัยมหภาคและผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท
การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยมหภาคอาจส่งผลกระทบทางบวกและทางลบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน และส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นสามัญและอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียน
ในทางกลับกัน การดำเนินการใด ๆ ของบริษัทจดทะเบียนก็อาจส่งผลกระทบทางบวกและลบต่อปัจจัยมหภาคเช่นกัน
การวิเคราะห์ปัจจัยมหภาคด้านเศรษฐกิจ
- ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจ
- ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ: ตัวแปรทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวก่อนสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจะเปลี่ยนแปลง
- ดัชนีชี้พร้อมเศรษฐกิจ: ตัวแปรทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวไปพร้อม ๆ กับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
- ดัชนีชี้ตามเศรษฐกิจ: ตัวแปรทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวล่าช้าว่าการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรส่วนใหญ่
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ: การวัดมูลค่าผลผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง โดยไม่คำนึงว่าเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการเป็นของประชาชนในประเทศ (หรือของชาวต่างประเทศ) ขอเพียงให้อยู่ในขอบเขตพื้นที่ในประเทศเท่านั้น
- ดุลการชำระเงิน: บัญชีสรุปการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างผู้มีถิ่นฐานในประเทศหนึ่ง กับผู้มีถิ่นฐานในประเทศอื่นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติจะเท่ากับ 1 ซึ่งประกอบด้วย
3.1 ดุลบัญชีเดินสะพัด: ผลรวมสุทธิของดุลการค้าและดุลบริการ ในทางปฏิบัติมักนิยมรวมบัญชีเงินบริจาคหรือเงินโอนที่ได้รับสุทธิจากต่างประเทศ
- ดุลการค้า: ผลต่างสุทธิระหว่างมูลค่าส่งออกและมูลค่านำเข้า โดยอ้างอิงข้อมูลจากกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
- ดุลบริการ: ผลต่างสุทธิที่แสดงถึงการค้าระหว่างประเทศด้านบริการ เช่น ค่าขนส่ง ค่าใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยว ค่าบริการทางการเงิน ค่าสื่อสารโทรคมนาคม เป็นต้น
- เงินโอนและเงินบริจาค: เงินบริจาคหรือเงินช่วยเหลือต่าง ๆ ที่ผู้มีถิ่นฐานในประเทศได้รับหรือโอนให้ผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ
3.2 ดุลบัญชีทุนเคลื่อนย้าย: บันทึกรายการด้านการเงินจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
3.3 บัญชีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ: บัญชีที่แสดงปริมาณเงินตราต่างประเทศที่เป็นเงินสกุลหลักที่เป็นยอมรับกันทั่วโลก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร เยน เป็นต้น และสิทธิถอนพิเศษ รวมถึงบัญชีเงินสำรองที่ประเทศนั้น ๆ มีอยู่ที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
- อัตราการใช้กำลังการผลิต: เครื่องมือพยากรณ์การถดถอยหรือการขยายตัวของภาคการผลิต เพราะการใช้การผลิตสูงขึ้นในตลาดใด ๆ หมายถึง การมีต้นทุนต่อหน่วยลดลง และทำให้กำไรต่อหน่วยสูงขึ้น
- ต้นทุนแรงงานต่อหน่วย: แยกพิจารณาเป็น 2 มิติร่วมกัน
- พิจารณาตัวเลขต้นทุนโดยพิจารณาจากดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม: เครื่องชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงชั่วโมงการทำงาน และระดับการจ้างงานในแต่ละอุตสาหกรรม
- พิจารณาตัวเลขผลผลิตที่ผลิตได้โดยพิจารณาจากตัวเลขดัชนีผลิตภาพแรงงาน: เครื่องชี้ถึงผลผลิตที่ได้รับต่อแรงงานหนึ่งหน่วย และเป็นเครื่องชี้ถึงทิศทางหรือแนวโน้มของผลิตภาพแรงงานว่าสามารถผลิตได้มากขึ้นหรือน้อยลง
- การว่างงาน: ตัวชี้วัดสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศว่ากำลังเป็นไปในทิศทางที่ขยายตัวหรือหดตัว
- เงินเฟ้อ: ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สามารถวัดด้วยอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งแบ่งออกเป็น
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไป: การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการที่บริโภคโดยทั่วไป ซึ่งคำนวณทุกกลุ่มรายการสินค้า
- อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน: เหมือนกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป แต่ไม่นำสินค้ากลุ่มอาหารสดและพลังงานมาใช้คำนวณ
- ราคาน้ำมัน: เมื่อราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ต้นทุนและระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปปรับสูงขึ้น กระทบกับกำลังซื้อในประเทศ ขณะเดียวกัน ความสามารถในการส่งออกลดลง
- อัตราดอกเบี้ย: อัตราผลตอบแทนที่พึงได้จาการลงทุน ขณะเดียวกัน ก็เป็นต้นทุนทางการเงินของผู้ที่ต้องการลงทุน อัตราดอกเบี้ยสำคัญที่ควรติดตาม ได้แก่
- อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร: อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมในตลาดเงินระยะสั้น เพื่อใช้ในการปรับสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้: อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์ใช้อ้างอิงในการเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อจากลูกค้า ซึ่งแบ่งได้ 3 ประเภท
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR: อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบมีระยะเวลาที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MOR: อัตราดอกเบี้ยประเภทเงินเบิกเกินบัญชีที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR: อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบมีระยะเวลาที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี
- อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน: อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางเรียกเก็บจากสถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมในวงเงินที่กำหนดจากฐานเงินฝากของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง
- อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร: อัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการซื้อขายพันธบัตรที่มีสัญญาซื้อคืน/ขายคืนพันธบัตรที่ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
- อัตราแลกเปลี่ยน: ราคาของเงินตราสกุลหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง เช่น 1 บาทเทียบกับ 36 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งระบบอัตราแลกเปลี่ยนสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระบบหลัก
- ระบบที่ผูกค่ากับเงินสกุลอื่น: การผูกค่ากับเงินสกุลเดียวหรือกลุ่มเงินตราหลายสกุลที่เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญ
- ระบบที่มีความยืดหยุ่นจำกัด: ระบบที่ผูกค่ากับเงินสกุลอื่น แต่อัตราแลกเปลี่ยนสามารถเคลื่อนไหวในช่วงที่กว้างกว่า
- ระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง: ขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ ซึ่งค่าเงินจะมีความผันผวนมากกว่า 2 ระบบแรก ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น
- ระบบลอยตัวภายใต้การจัดการ: ปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด แต่หากอัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มผันผวนรุนแรง ธนาคารกลางจะดำเนินการแทรกแซงค่าเงิน เพื่อไม่ให้กระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
- ระบบลอยตัวเสรี: ระบบที่ค่าเงินลอยตัวตามกลไกตลาดที่สุด ธนาคารกลางอาจแทรกแซงเพื่อชี้นำทิศทาง แต่มิใช่เพื่อสวนทางกับการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนในตลาด
การวิเคราะห์ปัจจัยมหภาคอื่น ๆ
- ปัจจัยด้านสังคม: การวิเคราะห์วิถีการดำรงชีวิตของคนในสังคม ทั้งในสถานะปัจจุบันและแนวโน้ม เช่น การวิเคราะห์โครงสร้างอายุของประชากร อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ขนาดของครอบครัว เป็นต้น
- ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม: การวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ในระดับประเทศและระดับโลกทางด้านการอนุรักษ์และปรับปรุงสภาพแวดล้อม
- ปัจจัยด้านเทคโนโลยี: การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางด้านต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์ผลที่อาจมีต่อธุรกิจและตลาดทุน
- ปัจจัยด้านการเมือง: การวิเคราะห์สภาวะทางการเมืองในปัจจุบันและแนวโน้ม เช่น การวิเคราะห์เสถียรภาพของรัฐบาล นโยบายการปล่อยเสรีทางการเงิน เป็นต้น
- ปัจจัยด้านกฎหมาย: การวิเคราะห์กฎข้อบังคับต่าง ๆ ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับโลก ที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจและตลาดทุน เช่น กฎหมายแรงงาน การคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
บทที่ 4 การวิเคราะห์อุตสาหกรรม
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมเป็นการวิเคราะห์การผลิตสินค้าหรือบริการและการค้าในแต่ละภาคส่วนโดยเฉพาะเจาะจง
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมมีความสำคัญกับการตัดสินใจลงทุน
- ทำให้เข้าใจสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจและลักษณะการดำเนินธุรกิจของบริษัทอย่างชัดเจน
- ทำให้สามารถกำหนดโอกาสในการลงทุนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักลงทุนที่มีกลยุทธ์การลงทุนเชิงรุก
การจำแนกประเภทอุตสาหกรรม
จำแนกตามลักษณะสินค้าและบริการ: คนส่วนมากนิยมจัดประเภทอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตามประเภทของผลิตภัณฑ์ (สินค้า+บริการ) ที่อุตสาหกรรมนั้นผลิต เช่น โรงพยาบาล บริษัทผู้ผลิตยา บริษัทผู้ค้าเวชภัณฑ์ ฯลฯ ถูกจัดว่าเป็น “อุตสาหกรรมบริการทางการแพทย์”
จำแนกตามวัฏจักรอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น 4 ช่วง
- ขั้นบุกเบิกหรือแนะนำตลาด: อุตสาหกรรมเพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก มีผู้ผลิตเพียงไม่กี่ราย ผู้ผลิตยังต้องใช้เวลาในการปรับปรุงและทดสอบตลาด แนะนำสินค้าและบริการ
- ขั้นขยายตัวหรือเติบโต: ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับ การเติบโตของยอดขายเป็นไปอย่างรวดเร็ว คู่แข่งขันเริ่มเข้ามาในตลาด ภาวะการแข่งขันไม่รุนแรงมากสามารถขยายตลาดได้
- ขั้นตอนการคงตัวหรือเติบโตเต็มที่: ยอดขายจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง (เนื่องจากตลาดเริ่มอิ่มตัว) กำไรมีแนวโน้มลดลง คู่แข่งมีมาก
- ขั้นตอนการถดถอย: ยอดขายลดต่ำเรื่อย ๆ เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมาทดแทน
จำแนกตามความสัมพันธ์ระหว่างอุตสาหกรรมกับเศรษฐกิจ
- อุตสาหกรรมเติบโตสูง: มีอัตราขยายตัวทั้งทางด้านยอดขายและกำไรสูงอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
- อุตสาหกรรมเติบโตสม่ำเสมอ: ผลประกอบการค่อนข้างจะมีเสถียรภาพ ไม่ว่าเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศจะเป็นอย่างไรก็ตาม
- อุตสาหกรรมที่ผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ: ถ้าเศรษฐกิจดี ผลประกอบการจะออกมาดีมาก แต่ถ้าเศรษฐกิจแย่ ผลประกอบการจะทรุดตัวลงค่อนข้างมากเช่นกัน
จำแนกตามตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: แบ่งออกเป็น 8 กลุ่มอุตสาหกรรมและ 28 หมวดธุรกิจ
จำแนกตามมาตรฐานอุตสาหกรรม: จำแนกประเภทอุตสาหกรรมที่ใช้เป็นสากล ใช้รหัสสองตัวแทนอุตสาหกรรมหลัก 11 หมวด โดยรหัสหมวดสามารถจำแนกเป็นประเภทย่อยลงไปอีก โดยใช้รหัสสาม สี่หรือห้าตัวแทนอุตสาหกรรมที่ย่อยลงเรื่อย ๆ
นักวิเคราะห์มักจะวิเคราะห์ตัวเลขต่าง ๆ โดยตั้งข้อสมมติว่า “ประวัติศาสตร์จะต้องซ้ำรอย” ซึ่งนักวิเคราะห์จะคาดการณ์แนวโน้มของยอดขายในอนาคตของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ด้วยการต่อยอดข้อมูลอนุกรมเวลา แม้การคาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมที่เกิดใหม่ไม่ใช่เรื่องง่ายก็ตาม
ปัจจัยและข้อมูลที่สำคัญของอุตสาหกรรม
ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม
- ภาวะเศรษฐกิจระหว่างประเทศ: อุตสาหกรรมแต่ละประเภทจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่แตกต่างกัน
- ภาวะความเชื่อมั่นของผู้บริโภค: แสดงถึงความมั่นใจของผู้บริโภคในการจับจ่ายใช้สอยและกู้เงินเพื่อซื้อสินค้าที่มีราคาสูง
- อัตราเงินเฟ้อ: ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เกิดความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น
- อัตราดอกเบี้ย: อุตสาหกรรมธนาคารเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลจากสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย
แหล่งข้อมูลของปัจจัยที่สำคัญของอุตสาหกรรม
- แหล่งข้อมูลปัจจัยมหภาคทางเศรษฐกิจ
- ธนาคารแห่งประเทศไทย
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
- หน่วยงานของธนาคารพาณิชย์
- แหล่งข้อมูลปัจจัยภายนอกอื่น ๆ
- สำนักงานสถิติแห่งชาติ
- แหล่งข้อมูลปัจจัยภายในอุตสาหกรรม
- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การวิเคราะห์การกระจุกตัวและการแข่งขันในอุตสาหกรรม
ในการวิเคราะห์กลยุทธ์ในการแข่งขัน มีประเด็นคำถามสำคัญที่ควรพิจารณาอยู่ 2 ประการ
- อะไรคือปัจจัยกำหนดความน่าสนใจของตัวอุตสาหกรรม ซึ่งก็คือความสามารถในการทำกำไรในระยะยาวของอุตสาหกรรม
- อะไรคือตัวกำหนดสถานะในการแข่งขัน โดยเปรียบเทียบระหว่างบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่ภายใต้อุตสาหกรรมเดียวกัน
การวิเคราะห์โครงสร้างตลาด
- การแข่งขันสมบูรณ์: ผู้ผลิตจำนวนมากราย มีสินค้าที่มีลักษณะเหมือน ๆ กัน การแข่งขันสูงมาก ไม่มีผู้ผลิตรายใดสามารถกำหนดราคาสินค้าได้
- การแข่งขันกึ่งสมบูรณ์: มีผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างกัน ผู้ผลิตมากรายโดยแต่ละรายจะพยายามใช้จ่ายเงินเพื่อการโฆษณาให้ลูกค้ารับรู้ว่าตรายี่ห้อของตนดีกว่าคู่แข่ง
- ผู้ผลิตน้อยราย: ผู้ผลิตไม่กี่ราย ผลิตสินค้าเหมือน ๆ กัน ผู้ผลิตรายใหญ่จะเป็นผู้นำการกำหนดราคา ใช้เงินลงทุนสูงมาก
- การผูกขาด: ผู้ผลิตรายเดียว ไม่อาจหาสินค้าทดแทนได้ง่าย
การวิเคราะห์การกระจุกตัวในอุตสาหกรรม
- การใช้อัตราส่วนบริษัทขนาดใหญ่ N บริษัท และ
- การวัดระดับการรวมตัวกันด้วยดัชนี Herfindal
เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์อุตสาหกรรม
- Porter’s 5-forces Model: วิเคราะห์ปัจจัยที่กำหนดสถานการณ์แข่งขันของกิจการในอุตสาหกรรม 5 ปัจจัย
- การแข่งขันระหว่างคู่แข่งขันที่มีอยู่ในปัจจุบัน
- อุปสรรคต่อการเข้ามาของคู่แข่งขันรายใหม่
- แรงกดดันจากสินค้าทดแทน
- อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ
- อำนาจต่อรองของผู้ขาย
- การวัดระดับการรวมตัวกันด้วยดัชนี Herfindal: วัดโดยการหาผลรวมของส่วนแบ่งการตลาดยกกำลังสอง
- การใช้อัตราส่วนบริษัทขนาดใหญ่ N บริษัท: การหาส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทใหญ่จำนวน N บริษัทในอุตสาหกรรม
บทที่ 5 การวิเคราะห์บริษัท
การวิเคราะห์บริษัทคือกระบวนการที่ผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ใช้ในการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ เพื่อพิจารณาว่าหลักทรัพย์ของบริษัทนั้น ๆ มีความน่าสนใจลงทุนหรือไม่
ประเภทของข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์บริษัท
ข้อมูลเชิงคุณภาพ หมายถึง ข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลขที่จะช่วยทำให้นักวิเคราะห์สามารถวิเคราะห์ถึงกลยุทธ์การบริหารจัดการของบริษัท ได้แก่
- ภาวะเศรษฐกิจ
- ปัจจัยมหภาคอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อบริษัท
- ข้อมูลความเป็นมา
- ข้อมูลลักษณะการดำเนินงาน
- ข้อมูลแผนงานในอนาคต
- ผู้บริหารระดับสูง
- พนักงาน
- โครงสร้างการถือหุ้น
- การกำกับดูแลกิจการ
ข้อมูลเชิงปริมาณ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นตัวเลข ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้และค่าใช้จ่าย ฯลฯ ซึ่งจะปรากฏในงบการเงิน
แหล่งที่มาของข้อมูล
- หนังสือชี้ชวน: เอกสารที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์จะต้องจัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดขึ้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทราบข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์และหลักทรัพย์ที่เสนอขาย
- รายงานทางการเงิน: บันทึกที่สื่อสารข้อมูลทางการเงินทั้งหมดของกิจการจากผู้บริหารของบริษัทถึงผู้ถือหุ้นและผู้สนใจทุกฝ่าย
- แบบ 56-1 One Report: เอกสารที่บริษัทจดทะเบียนจะต้องจัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนดขึ้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทได้ติดตามข้อมูลสำคัญของบริษัท เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน
- บทวิเคราะห์หลักทรัพย์: จัดทำโดยนักวิเคราะห์ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านวิเคราะห์สถานะทางการเงิน การบริหารจัดการ และแนวโน้มในอนาคตของกิจการ พร้อมประเมินมูลค่าของกิจการนั้น ๆ เทียบกับราคาตลาด ณ ขณะใดขณะหนึ่ง รวมถึงให้คำแนะนำในการลงทุนของผู้จัดทำรายงานต่อผู้อ่าน
- รายงานการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ: รายงานความเห็นของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เพื่อเป็นดัชนีชี้ถึงความสามารถของผู้กู้ในการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นได้เต็มตามจำนวน
การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ 1: ข้อมูลพื้นฐานของธุรกิจ
การวิเคราะห์เชิงคุณภาพจากข้อมูลพื้นฐานของธุรกิจจากแหล่งต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ แบบ 56-1 One Report ซึ่งช่วยให้นักวิเคราะห์เข้าใจปรัชญาและแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมาในอดีตของฝ่ายบริหาร และสามารถคาดการณ์ได้ว่าภายใต้ปัจจัยมหภาคทั้งทางเศรษฐกิจและอื่น ๆ รวมทั้งภาวะอุตสาหกรรม และปัจจัยต่าง ๆ ฝ่ายบริหารจะมีแนวทางในการดำเนินธุรกิจอย่างไรในอนาคต
เครื่องมือที่ใช้สนับสนุนการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
กลุ่มกลยุทธ์การเติบโต
- กลยุทธ์การเติบโต
1.1 กลยุทธ์การเติบโตจากภายใน: กลยุทธ์ที่บริษัทใช้สร้างความเติบโตอย่างต่อเนื่องจากการดำเนินธุรกิจตามปกติโดยอาศัยทรัพยากรภายในบริษัทที่มี
1.2 กลยุทธ์การเติบโตจากภายนอก: กลยุทธ์ที่บริษัทใช้สร้างความเติบโตโดยอาศัยทรัพยากรอื่น ๆ เพิ่มเติมจากที่บริษัทมีอยู่
- BCG Matrix คือแบบจำลองที่พิจารณาอัตราการเติบโตของตลาดร่วมกับส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทเพื่อกำหนดลำดับของการจัดสรรทรัพยากรและเงินทุนในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัท โดยจะแสดงระดับความสามารถในการทำกำไรของสินค้าหรือบริการของบริษัทด้วยการใช้สัญลักษณ์ 4 ประเภท
- ดาว: สินค้า/บริการที่มีอัตราการเติบโตของตลาดสูง ส่วนแบ่งการตลาดของสินค้าหรือบริการของบริษัทเมื่อเทียบกับตลาดโดยรวมสูง บริษัทได้กำไรในอัตราที่สูง
- เครื่องหมายคำถาม: สินค้า/บริการที่มีอัตราการเติบโตของตลาดสูง แต่ส่วนแบ่งการตลาดของสินค้าหรือบริการของบริษัทเมื่อเทียบกับตลาดโดยรวมต่ำ บริษัทได้กำไรในอัตราที่ต่ำ
- วัวทำเงิน: สินค้า/บริการที่มีอัตราการเติบโตของตลาดต่ำ แต่ส่วนแบ่งการตลาดของสินค้าหรือบริการของบริษัทเมื่อเทียบกับตลาดโดยรวมสูง บริษัทได้กำไรในอัตราที่สูง
- สุนัข: สินค้า/บริการที่มีอัตราการเติบโตของตลาดต่ำ ส่วนแบ่งการตลาดของสินค้าหรือบริการของบริษัทเมื่อเทียบกับตลาดโดยรวมต่ำ บริษัทได้กำไรในอัตราที่ต่ำ
- วงจรชีวิต: สินค้าหรือบริการต่าง ๆ จะมีอายุในการตอบรับจากผู้บริโภคในเวลาที่จำกัด โดยจะมีลักษณะที่มีพัฒนาการ 4 ขั้นตอน
3.1 ขั้นแนะนำ: เพิ่งเริ่มพัฒนาสินค้าหรือบริการและผลิตเพื่อนำมาขายในตลาด โดยอาจต้องแนะนำให้ผู้บริโภครู้จักด้วยการให้ทดลองใช้สินค้าหรือบริการ กำไรค่อนข้างต่ำ
3.2 ขั้นเจริญเติบโต: ผู้บริโภคยอมรับและต้องการสินค้าหรือบริการของบริษัท อัตราการเติบโตของยอดขายสูงมาก ขณะที่มีคู่แข่งน้อยราย กำไรสูงมาก
3.3 ขั้นอิ่มตัว: อัตราการเติบโตของตลาดค่อนข้างต่ำ แต่การแข่งขันในตลาดค่อนข้างสูงมาก กำไรไม่สูงเหมือนกับขั้นเจริญเติบโต
3.4 ขั้นถดถอย: สินค้าหรือบริการได้รับความต้องการลดลง ยอดขายโดยรวมลดลง ขณะที่ค่าใช้จ่ายทางการตลาดสูงเพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดไม่ให้ลดลงมาก
กลุ่มกลยุทธ์การแข่งขัน
- SWOT Analysis: การวิเคราะห์ปัจจัยภายในของบริษัท (จุดอ่อนจุดแข็งของบริษัท) และการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกของบริษัท (ระบุโอกาสและอุปสรรคของบริษัท) แล้วนำผลที่ได้มาประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน และวิเคราะห์ความเหมาะสมของกลยุทธ์บริษัท
- กลยุทธ์ผู้นำทางด้านต้นทุน: คาดหวังที่จะเป็นบริษัทหนึ่งเดียวในอุตสาหกรรมที่มีต้นทุนต่ำที่สุด เพื่อมุ่งตอบสนองต่อความต้องการของตลาดในวงกว้างโดยไม่เน้นว่าจะต้องเป็นกลุ่มลูกค้าใดโดยเฉพาะ
- กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง: มีเป้าหมายที่จะมุ่งสร้างความโดดเด่นในตัวสินค้าในสายตาของผู้ซื้อ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทสามารถตั้งราคาขายที่แพงกว่าสินค้าของบริษัทคู่แข่งได้
เครื่องมืออื่น ๆ
นักวิเคราะห์ควรตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างลักษณะของกิจการและลักษณะของหุ้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
- กิจการที่มีการเติบโตสูงและหุ้นที่มีการเติบโตสูง
- กิจการที่มีการเติบโตสูง: บริษัทที่มีความสามารถในการได้รับอัตราผลตอบแทนที่มากกว่าอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังหรือต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของเงินทุน
- หุ้นที่มีการเติบโตสูง: หุ้นที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นตัวอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงในระดับเดียวกันในตลาด
- กิจการที่มั่นคงและหุ้นที่มั่นคง
- กิจการที่มั่นคง: กิจการที่ผลประกอบการไม่ผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ ความเสี่ยงในการดำเนินงานและความเสี่ยงทางการเงินต่ำ
- หุ้นที่มั่นคง: หุ้นที่อัตราผลตอบแทนไม่ลดลงหรือลดลงน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดที่ลดลง
- กิจการที่มีความผันผวนสูงและหุ้นที่มีความผันผวนสูง
- กิจการที่มีความผันผวนสูง: กิจการที่ผลประกอบการได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะเศรษฐกิจ
- หุ้นที่มีความผันผวนสูง: หุ้นที่อัตราผลตอบแทนมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดที่เปลี่ยนแปลง
- กิจการเพื่อการเก็งกำไรและหุ้นเพื่อการเก็งกำไร
- กิจการเพื่อการเก็งกำไร: กิจการที่มีสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง และให้อัตราผลตอบแทนสูงด้วยเช่นกัน
- หุ้นเพื่อการเก็งกำไร: หุ้นที่มีโอกาสสูงที่อัตราผลตอบแทนจะมีค่าต่ำมาก ๆ และมีโอกาสต่ำที่อัตราผลตอบแทนจะมีค่าสูงมาก ๆ
การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ 2: กลยุทธ์และความสามารถในการแข่งขัน
นักวิเคราะห์ต้องใช้เครื่องมือสนับสนุนในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ 1 มาประกอบกับ Porter’s 5-forces Model อันเป็นแนวคิดที่ใช้ในการทำความเข้าใจและประเมินโครงสร้างของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของอุตสาหกรรมและของบริษัทใดบริษัทหนึ่งเพื่อให้สามารถระบุความน่าสนใจในการลงทุนของบริษัท
การวิเคราะห์เชิงปริมาณ 1: ข้อมูลพื้นฐานทางการเงินของธุรกิจ
งบการเงินพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ
- งบแสดงฐานะการเงิน: งบที่แสดงฐานะการเงินของบริษัท ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ
- งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ: งบการเงินที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของบริษัทในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ
- งบกระแสเงินสด: งบการเงินที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายของบริษัทในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
นอกจากนี้แล้ว นักวิเคราะห์ควรอ่านและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้สอบบัญชีที่แสดงในรายงานผู้สอบบัญชีว่ามีความเห็นเกี่ยวกับงบการเงินอย่างไร ซึ่งแบ่งออกเป็น
- แบบไม่มีเงื่อนไข: ไม่พบสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปในการจัดทำรายงานงบการเงินโดยผู้บริหารของบริษัท
- แบบมีเงื่อนไข: มีความไม่แน่นอนอย่างมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการรับรู้รายการที่เกิดขึ้นหรือการกำหนดมูลค่าของสินทรัพย์หรือหนี้สิน หรือการที่บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงในนโยบายการบัญชีที่ใช้
- แบบไม่แสดงความคิดเห็น: ไม่สามารถให้ความเห็นต่อความถูกต้องตามที่ควรของงบการเงินทั้งหมด
- แบบไม่ถูกต้อง: ไม่สามารถรับรองความถูกต้องของงบการเงินตามเกณฑ์มาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป
หลังจากอ่านงบการเงินแล้ว นักวิเคราะห์ควรสรุปภาพรวมและประเด็นสำคัญต่าง ๆ ดังนี้
- รายงานความเห็นชอบผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่มีต่องบการเงิน
- ฐานะทางการเงิน
- ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ความสามารถในการทำกำไร และกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน
- ภาพรวมการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ และกระแสเงินสดจากการลงทุน
- สัดส่วนของหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นในปัจจุบัน โครงสร้างเงินทุนเป้าหมาย การจัดหาเงินทุนของบริษัทในช่วงปีที่ผ่านมาด้วยการออกหุ้นเพิ่มทุน หุ้นกู้แปลงสภาพและการซื้อหุ้นคืน รวมทั้งกระแสเงินสดจากการจัดหาเงินทุน
เครื่องมือที่ใช้สนับสนุนการวิเคราะห์เชิงปริมาณ
- การวิเคราะห์งบการเงินเป็นร้อยละ: การวิเคราะห์รายการต่าง ๆ แต่ละรายการที่ปรากฎในงบการเงิน (งบแสดงฐานะการเงิน + งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ) โดยการเปรียบเทียบกับรายการหลักบนงบการเงินนั้น ๆ ซึ่งเป็นรายการที่อยู่ในคอลัมน์เดียวกัน
- การวิเคราะห์แนวโน้ม: การพิจารณาการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางการเงินตามช่วงระยะเวลา โดยกำหนดให้ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา 1 ช่วงก่อนหน้าเป็นฐานในการคำนวณ แล้วคำนวณหาอัตราการเปลี่ยนแปลงซึ่งแสดงถึงอัตราการเจริญเติบโต
- การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน: การทำให้ข้อมูลทางการเงินต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในงบการเงินอยู่ในฐานเดียวกัน เพื่อให้ข้อมูลทางการเงินเหล่านี้สามารถเปรียบเทียบกันได้ ซึ่งแบ่งออก 5 ประเภทใหญ่
- การวิเคราะห์สภาพคล่องของกิจการ
- การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
- การวิเคราะห์ความสามารถในการสร้างกำไรของกิจการ
- การวิเคราะห์ความสามารถในการจัดโครงสร้างทางการเงิน
- ข้อมูลทางการเงินต่อหุ้นของกิจการ
การวิเคราะห์เชิงปริมาณ 2: ข้อมูลผลการวิเคราะห์งบการเงิน
- การวิเคราะห์สภาพคล่องของกิจการ: ความสามารถในการปลดเปลื้องภาระผูกพันที่มีอยู่ในปัจจุบันได้ ได้แก่
- อัตราส่วนทุนหมุนเวียน
- อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว
- อัตราส่วนเงินสด
- อัตราส่วนกระแสเงินสด
- การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน: วัดประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกรรมทางธุรกิจ
- การประเมินประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมระยะสั้น
- อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ
- อัตราวันเฉลี่ยที่สินค้าคงคลัง
- อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า
- จำนวนวันที่ยอดสินเชื่อคงค้าง
- อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน
- การประเมินประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมระยะยาว
- อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร
- อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม
- การประเมินประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมระยะสั้น
- การประเมินความสามารถในการจัดโครงสร้างทางการเงิน: แสดงความสามารถในการบริหารหนี้สินของกิจการ ซึ่งจะมีผลต่อการดำรงอยู่และเจริญเติบโตของกิจการในระยะยาว
- อัตราส่วนที่แสดงถึงโครงสร้างเงินทุน
- อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม
- ตัวคูณของส่วนของผู้ถือหุ้น
- อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
- อัตราส่วนที่แสดงความสามารถในการชำระดอกเบี้ย
- อัตราส่วนที่แสดงความสามารถในการชำระดอกเบี้ย
- อัตราการเงินปันผล
- อัตราส่วนที่แสดงถึงโครงสร้างเงินทุน
- การประเมินความสามารถในการสร้างกำไร: อาจเพื่อชี้ให้ผู้บริหารเห็นถึงองค์ประกอบและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการและฐานะทางการเงินของกิจการ ตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติการว่าสัมฤทธิ์ผลเพียงใด
- อัตราส่วนแสดงความสามารถในการดำเนินธุรกรรมทางธุรกิจ
- อัตรากำไรขั้นต้น
- อัตรากำไรจากการดำเนินงาน
- อัตรากำไรสุทธิ
- อัตราส่วนแสดงผลตอบแทนต่อเจ้าของเงินทุน
- อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม
- อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
- การวิเคราะห์แบบ DuPont
- อัตราส่วนแสดงความสามารถในการดำเนินธุรกรรมทางธุรกิจ
- ข้อมูลทางการเงินต่อหุ้น ได้แก่
- กำไรสุทธิต่อหุ้น
- มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น
บทที่ 6 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประมาณการทางการเงินเพื่อการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ
การประเมินมูลค่าเพื่อการตัดสินใจลงทุน หมายถึง การคาดการณ์กระแสเงินสดทั้งหมดที่ผู้ลงทุนจะได้รับการลงทุนในหลักทรัพย์ใด ๆ ตลอดระยะเวลาการถือครองแล้วคิดลดด้วยต้นทุนค่าเสียโอกาสเพื่อคำนวณเป็นมูลค่าปัจจุบัน ซึ่งต้องคำนึงถึงทั้งเงินสดที่ได้รับในแต่ละงวด เวลาที่ได้รับเงินสดแต่ละงวด และความเสี่ยงของเงินสดที่จะได้รับทั้งหมดในอนาคต
การประเมินมูลค่าเพื่อตัดสินใจลงทุนมีความสำคัญดังนี้
- การให้คำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนอย่างมีเหตุผล
- การประเมินกลยุทธ์และรูปแบบการดำเนินธุรกิจ
- การประเมินผลกระทบจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับบริษัท
- การเสนอความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลและเป็นกลาง
- การกำหนดราคาอ้างอิงสำหรับบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
กระบวนการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 เรียนรู้และเข้าใจธุรกิจ
ขั้นตอนที่ 2 พยากรณ์ผลการดำเนินงานของบริษัท
ขั้นตอนที่ 3 เลือกแบบจำลองการประเมินมูลค่าที่เหมาะสม
ขั้นตอนที่ 4 คำนวณมูลค่าหุ้นสามัญตามแบบจำลองการประเมินมูลค่าที่เหมาะสม
ขั้นตอนที่ 5 แปลความหมายของมูลค่าหุ้นสามัญที่คำนวณได้เพื่อกำหนดแนวทางในการตัดสินใจลงทุนที่เหมาะสม
การจัดทำงบประมาณทางการเงินเพื่อการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ หมายถึง การคาดการณ์สถานะทางการเงินของบริษัทในอนาคต ซึ่งรวมทั้งสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ ค่าใช้จ่าย กระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่าย ทั้งนี้ เพื่อนำตัวแปรทางการเงินต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตไปใช้ในการคาดการณ์กระแสเงินสดอิสระของบริษัทหรือของผู้ถือหุ้นสามัญ และเงินปันผลของผู้ถือหุ้นสามัญ เพื่อนำไปใช้ในการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ
หลักการจัดทำประมาณการทางการเงิน
แนวทางของการประเมินมูลค่าหุ้นที่นิยมใช้ ได้แก่ วิธีการคิดลดกระแสเงินสดและวิธีการสัมพัทธ์ ซึ่งต่างก็ต้องใช้ข้อมูลตัวแปรทางการเงินต่าง ๆ ที่สามารถสะท้อนความสามารถในการเพิ่มมูลค่าแก่ทรัพย์สินของกิจการ หรือความสามารถในการสร้างผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกิจการในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญที่ต้องจัดทำประมาณการตัวแปรต่าง ๆ ที่มีส่วนในการกำหนดมูลค่าที่แท้จริงเพื่อหักต้นทุนค่าโอกาสของกระแสเงินสดทั้งหมดที่จะได้รับในอนาคตกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน
แนวทางการจัดทำประมาณทางการเงิน
การประมาณการตัวแปรทางการเงินรายตัว: การคาดการณ์ถึงการขยายตัวของตัวแปรทางการเงิน เช่น ยอดขาย กระแสเงินสด มูลค่าตามบัญชี ในงวดเวลาถัดไป ซึ่งในทางปฏิบัติสามารถประมาณการอัตราการขยายตัวของตัวแปรได้จาก วิธีการประมาณการอัตราการขยายตัวของตัวแปรทางการเงินจากการใช้ข้อมูลในอดีต ซึ่งประกอบด้วย
- ค่าเฉลี่ยเลขคณิต: การหาผลรวมของอัตราการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรทางการเงินของกิจการที่เกิดขึ้นในแต่ละปีแล้วคิดเฉลี่ยด้วยจำนวนข้อมูลของตัวแปรทางการเงินที่มีอยู่
- ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต: อีกวิธีหนึ่งในการคำนวณค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยงวดเวลา
- สมการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย: การถดถอยที่มีตัวแปรอิสระเดียวตัวแปรเดียว และตัวแปรตามเพียงตัวแปรเดียว
- สมการถดถอยเชิงเส้นแบบลอการิทึม: ทำให้ค่าของตัวแปรอยู่ในรูปของลอการิทึมแบบธรรมชาติ
การประมาณการตัวแปรทางการเงินแบบภาพรวม: การประมาณการกระแสเงินสดส่วนของกิจการโดยใช้การพยากรณ์งบการเงินของกิจการล่วงหน้า ซึ่งทำให้สามารถมองเห็นภาพรวมของการหมุนเวียนกระแสเงินสดส่วนของกิจการ
ตัวแปรที่ใช้ในการประมาณการทางการเงิน
- กระแสเงินสดของกิจการ: ความสามารถของกิจการในการสร้างผลตอบแทนหรือกำไรให้กับเจ้าของเงินทุนของกิจการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นของกิจการและกระแสเงินสดอิสระ
- อัตราคิดลด: อัตราที่ใช้คิดลดกระแสเงินสดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเทียบให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน โดยสะท้อนถึงอัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการจากการลงทุนในสินทรัพย์ หรืออัตราผลตอบแทนที่ต้องการ
ขั้นตอนการจัดทำประมาณการทางการเงิน
- วิเคราะห์ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ
- ประมาณการตัวแปรสำคัญในงบการเงิน
- จัดทำงบประมาณการลงทุนของกิจการ
- จัดทำงบประมาณการเงินสดของกิจการ
- จัดทำประมาณการงบการเงิน
วิธีการจัดทำประมาณการงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
การจัดทำประมาณการงบกำไรขาดทุนเพื่อคาดการณ์ความสามารถในการทำกำไรหรือผลการดำเนินงานในอนาคต โดยจะเป็นการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงกำไรสะสมหรือในส่วนของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นมากจากรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไร/ขาดทุนในอนาคตจากการดำเนินงาน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้จัดทำประมาณงบกำไรขาดทุนสามารถทำการพยากรณ์กระแสเงินสดในอนาคตได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น
วิธีการจัดทำประมาณการงบแสดงฐานะการเงิน
การจัดทำประมาณงบแสดงฐานะการเงินต้องอาศัยข้อมูลจากประมาณการงบกำไรขาดทุน งบประมาณเงินสด งบประมาณการลงทุนและงบแสดงฐานะการเงินในปัจจุบัน
ประมาณการงบแสดงฐานะการเงินประกอบด้วย
- ประมาณการสินทรัพย์: ทรัพย์สินที่อยู่ในความควบคุมของบริษัทและคาดการณ์ว่าจะสามารถสร้างกระแสเงินสดจากการถือครองในอนาคต
- ประมาณการหนี้สิน: ภาระผูกพันที่มีอยู่ในปัจจุบันของบริษัทและคาดการณ์ว่าจะสร้างกระแสเงินสดจ่ายในการชำระภาระผูกพันดังกล่าวในอนาคต
- ประมาณการส่วนของเจ้าของ: สินทรัพย์สุทธิหรือสินทรัพย์คงเหลือของบริษัทหลังจากการชำระคืนหนี้สิน
วิธีการจัดทำประมาณการงบกระแสเงินสด
การจัดทำประมาณการงบกระแสเงินสดเพื่อคาดการณ์กระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายของบริษัทในอนาคต โดยพิจารณาจากธุรกรรมต่าง ๆ ของบริษัทที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและส่งผลการเปลี่ยนแปลงเงินสดและรายการเทียบเท่าของเงินสด
ประมาณการงบกระแสเงินสดสามารถแบ่งออกเป็น
- กระแสเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงาน คาดการณ์
- กระแสเงินสดรับจากการขายสินค้า/บริการ และ
- กระแสเงินสดจ่ายค่าสินค้า เงินเดือน ค่าจ้างแรงงาน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่าง ๆ และภาษีเงินได้
- กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน ครอบคลุมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนต่าง ๆ ที่มีอายุการใช้งานนานกว่า 1 ปีและกิจกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ลงทุน (ไม่รวมเงินสดและรายการเทียบเท่า)
- กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหาเงินทุน เกี่ยวข้องกับการจัดหาแหล่งเงินทุนภายนอก ทั้งในรูปของการจัดหาเงินทุนจากการกู้ยืมจากเจ้าหนี้ และการจัดหาเงินทุนจากการเพิ่มทุนจากเจ้าของ
บทที่ 7 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ
การประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ หมายถึง การประมาณการมูลค่าของหลักทรัพย์ โดยคำนึงถึงตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในอนาคต หรือโดยการเปรียบเทียบกับหลักทรัพย์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน
วัตถุประสงค์ของการประเมินมูลค่า
ความต้องการที่จะทราบมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ว่ามีมูลค่าเท่ากับเท่าใด เพื่อต้องการที่จะใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการคัดเลือกสินทรัพย์สำหรับการลงทุนในพอร์ตลงทุนของผู้ลงทุน
นักวิเคราะห์ใช้แนวคิดและแบบจำลองในการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญเพื่อ
- ตัดสินใจเลือกหุ้น
- ชี้ให้เห็นถึงความคาดหวังในอนาคต
- ประเมินเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบริษัท
- เสนอความคิดเห็นที่เป็นกลาง
- ประเมินกลยุทธ์และรูปแบบการดำเนินธุรกิจ
- สื่อสารกับนักวิเคราะห์และผู้ถือหุ้น
- ประเมินมูลค่าหุ้นสามัญของบริษัทเอกชนที่ไม่ได้เสนอขายหุ้นต่อสาธารณชน
บทบาทของการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ
- บทบาทในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
แนวคิดการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญโดยใช้ปัจจัยพื้นฐานเป็นแนวคิดที่มุ่งประเมินมูลค่าของปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดมูลค่าหุ้นสามัญ อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงการลงทุน ซึ่งประเมินภาวะเศรษฐกิจ การเมือง อุตสาหกรรมและตัวของบริษัทเพื่อนำมาใช้ในการกำหนดมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นสามัญ
- บทบาทในการบริหารกลุ่มหลักทรัพย์
การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินกลยุทธ์ในการบริหารกลุ่มหลักทรัพย์ โดยเฉพาะการบริหารกลุ่มหลักทรัพย์เชิงรุก
- บทบาทของนักวิเคราะห์ในการประเมินมูลค่า
ในการประเมินมูลค่า นักวิเคราะห์จะมีบทบาทสำคัญในการเก็บรวบรวม จัดระบบ วิเคราะห์และสื่อสารข้อมูลของบริษัท ตลอดจนเสนอแนะทางเลือกในการลงทุนที่เหมาะสมภายใต้การวิเคราะห์อย่างมีประสิทธิผล
แนวคิดในการประเมินมูลค่า
- แนวคิดการประเมินมูลค่าโดยพิจารณาสินทรัพย์: ผู้ลงทุนเชื่อว่ามูลค่าหุ้นของกิจการเกิดขึ้นจากปริมาณสินทรัพย์สุทธิที่กิจการมีอยู่ (ส่วนของเจ้าของ) โดยมีตัวชี้วัดมูลค่า 4 แบบ
- มูลค่าทางบัญชี: มูลค่า (ราคา) ของสินทรัพย์ที่ถูกบันทึกไว้ในบัญชีของบริษัท
- มูลค่าสินทรัพย์ตามราคาตลาดกรณีมีการซื้อทดแทน: มูลค่าสินทรัพย์ตามราคาตลาดปัจจุบัน
- มูลค่าชำระบัญชี: มูลค่าสินทรัพย์ที่สามารถขายได้ในกรณีเลิกกิจการ
- มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ: มูลค่าสินทรัพย์ตามราคาตลาดลบด้วยหนี้สิน
- แนวคิดการประเมินมูลค่าโดยประโยชน์ที่ได้จากสินทรัพย์: ข้อมูลที่แสดงการเปลี่ยนแปลงของกิจการในงวดเวลานั้น ๆ เช่น ข้อมูลยอดขาย กำไรสุทธิ เป็นต้น ทำให้การประเมินมูลค่าของกิจการจากข้อมูลทางการเงินสะท้อนมูลค่าของกิจการได้ในอีกลักษณะหนึ่ง
การประมาณการอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ
วิธีคำนวณอัตราผลตอบแทนที่ต้องการจากต้นทุนของหุ้นสามัญ: ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนที่ต้องการแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัยหลัก
- อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงที่ปราศจากความเสี่ยง
- อัตราเงินเฟ้อ
- ส่วนชดเชยความเสี่ยง
วิธีคำนวณอัตราผลตอบแทนที่ต้องการจากต้นทุนของหนี้สินทางการเงิน: บวกส่วนชดเชยความเสี่ยงในต้นทุนของหนี้สินทางการเงิน
วิธีการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ
- วิธีคิดลดกระแสเงินสดของกิจการ: อาศัยการประมาณการตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- กระแสเงินสดในรูปแบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากความสามารถในการใช้สินทรัพย์ของกิจการ และ
- อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ (ซึ่งจะนำมาใช้เป็นอัตราคิดลด)
- วิธีกำไรคงเหลือ: การนำต้นทุนค่าเสียโอกาสของผู้ถือหุ้นมาใช้ในการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ เนื่องจากวิธีการคำนวณกำไรทางบัญชีตามปกติไม่ได้นำต้นทุนของเงินทุนส่วนของผู้ถือหุ้นมาคำนวณ
- วิธีสัมพัทธ์: เปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้นสามัญกับตัวแปรทางการเงินที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการ เช่น
- อัตราส่วนราคาต่อกำไร: วิธีที่ใช้กันมากที่สุดในการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ แนวคิดคือมูลค่าของสินทรัพย์ใด คือ ค่าปัจจุบันของผลตอบแทนในอนาคต
- อัตราส่วนราคาต่อกระแสเงินสด: คล้ายคลึงกับอัตราส่วนราคาต่อกำไร กระแสเงินสดที่นิยมใช้คือ กระแสเงิน EBITDA
- อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชี: มูลค่าเบื้องต้นที่ชี้วัดถึงมูลค่าสินทรัพย์ซึ่งธุรกิจได้มีการจดบันทึกไว้จึงเป็นมูลค่าที่มีความน่าเชื่อถือและใช้ได้ดีกับสินทรัพย์ที่ไม่ค่อยเปลี่ยนมูลค่าตามภาวะของตลาด
- อัตราส่วนราคาต่อยอดขาย: ประเมินในสถานการณ์ที่บริษัทหรือกิจการมีแนวโน้มจะปรับแต่งมูลค่าของกำไรหรือเงินสด ไม่สามารถใช้ประเมินข้ามอุตสาหกรรมได้
ข้อดีและข้อจำกัดของการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญแต่ละวิธี
วิธีคิดลดกระแสเงินสดของกิจการ
ข้อดี
- ตรงไปตรงมาชัดเจน
- ใช้ได้ง่ายที่สุด โดยเฉพาะการคิดลดกระแสเงินสดจากเงินปันผล
ข้อจำกัด
- เงินปันผลที่จ่ายจะต้องมีการอัตราการขยายตัวคงที่
- บริษัทที่ต้องการประเมินมูลค่าบริษัทเพิ่งก่อตั้งยังไม่มีการจ่ายเงินปันผล และยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถจ่ายเงินปันผลเมื่อไหร่
- การคาดการณ์กระแสเงินสดหรือเงินปันผลทำได้ค่อนข้างยาก
วิธีกำไรคงเหลือ
ข้อดี
- แบ่งการประเมินมูลค่าออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกจากมูลค่าทางบัญชี (หาง่าย) และส่วนที่สองจากมูลค่าคงเหลือที่เพิ่มขึ้นจากการประมาณกำไรคงเหลือในอนาคตแล้วคิดลดเป็นมูลค่าปัจจุบัน (มีความผันผวน)
- ประยุกต์ใช้กับบริษัทที่ยังไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ในปัจจุบัน รวมถึงบริษัทที่อาจคาดการณ์เงินปันผลหรือกระแสเงินสดอิสระได้ยาก
- สะท้อนถึงแนวคิดของกำไรทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งทำให้อธิบายมูลค่าของหุ้นสามัญที่ประเมินได้เข้าใจง่ายขึ้น
ข้อจำกัด
- อาจได้รับผลกระทบจากการตกแต่งข้อมูลทางบัญชีและขึ้นอยู่กับนโยบายในการบันทึกบัญชีที่อาจทำให้การเปรียบเทียบระหว่างบริษัทเป็นไปได้ยาก
วิธีสัมพัทธ์
ข้อดี
- อ้างอิงกับราคาที่เกิดขึ้นปัจจุบันในตลาด ซึ่งจะทำให้ราคาที่คำนวณได้เป็นค่าปัจจุบันมากที่สุด
ข้อจำกัด
- ไม่สามารถสรุปได้ว่าราคาตลาดในขณะนั้นสูงกว่าหรือต่ำกว่าระดับที่ควรเป็น ทำให้ไม่สามารถแน่ใจว่ามูลค่าที่คำนวณได้เป็นราคาที่เหมาะสมหรือไม่
แนวทางในการเลือกใช้วิธีการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญให้เหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจและอุตสาหกรรม
- สอดคล้องกับลักษณะของบริษัทที่ถูกวิเคราะห์
- เหมาะสมกับจำนวนและคุณภาพของข้อมูลที่มีอยู่
- สอดคล้องกับเป้าหมายของการประเมินราคา
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ควรพิจารณาอีกสามประเด็นที่มีผลต่อการใช้และการแปลความวิธีการประเมินมูลค่า คือ
- ส่วนเพิ่มที่ได้จากการมีอำนาจควบคุม
- ส่วนลดจากการไม่ซื้อขายหุ้นในตลาด
- ส่วนลดด้านสภาพคล่อง
การปรับตัวเข้าหามูลค่าที่เหมาะสม และการตัดสินใจลงทุน
การตัดสินใจลงทุนจะเป็นการเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าที่แท้จริงกับมูลค่าตามราคาตลาด การตัดสินใจลงทุนตามการวิเคราะห์จะเกิดขึ้นเมื่อราคาหลักทรัพย์ที่คำนวณได้สูงกว่าราคาตลาด (มูลค่าที่แท้จริงสูงกว่าราคาตลาด)
บทที่ 8 การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญด้วยวิธีคิดลดกระแสเงินสด
หลักการสำคัญของการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ด้วยการคิดลดกระแสเงินสดคือ การประเมินมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตด้วยอัตราคิดลดที่เหมาะสม
ปัญหาที่พบ
- ผู้ประเมินมูลค่าต้องเข้าใจว่ากระแสเงินสดที่จะนำมาใช้ประเมินมูลค่ามีแหล่งที่มาและแหล่งไปใช้อย่างไร ระยะเวลาของกระแสเงินสดนั้นยาวนานมากน้อยแค่ไหน
- การประมาณอัตราคิดลดที่เหมาะสม เพื่อใช้คิดลดกระแสเงินสดที่ได้ประมาณการไว้ให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการคิดลดกระแสเงินสด
ผู้ประเมินมูลค่าต้องนำกระแสเงินสดทั้งหมดที่เกิดขึ้นไปใช้ในการคำนวณ ทั้งนี้ หากมีกระแสเงินสดบางส่วนที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้คำนวณมูลค่าจะส่งผลให้การคำนวณมูลค่าไม่ถูกต้อง
กระแสเงินสดที่ใช้ในการประเมินมูลค่าแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
- กระแสเงินสดจากเงินปันผล: กระแสเงินสดที่เกิดขึ้นจากความสามารถของกิจการในการหารายได้
- กระแสเงินสดอิสระ
- กระแสเงินสดอิสระของบริษัท: กระแสเงินสดหลังจากหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินงาน ตลอดจนภาษีของกิจการไปแล้ว
- กระแสเงินสดอิสระส่วนของผู้ถือหุ้น: กระแสเงินสดที่ได้หักการจ่ายคืนหนี้สิน ดอกเบี้ยจ่ายแก่เจ้าหนี้ของกิจการ รวมถึงรายจ่ายเพื่อการลงทุน และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนหมุนเวียนแล้ว
- กำไรคงเหลือ: รายละเอียดอยู่ในบทที่ 9
การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญด้วยการคิดลดกระแสเงินสดมีข้อจำกัดในการใช้สำหรับ
- กิจการที่มีปัญหาทางการเงินที่มักขาดทุน และมีกระแสเงินสดเป็นลบ
- ธุรกิจที่มีกระแสเงินสดและผลกำไรเป็นไปตามวัฏจักรทางเศรษฐกิจซึ่งมีการถดถอยและขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจ
- กิจการที่มีสินทรัพย์ไม่ได้ใช้งาน
- กิจการที่มีสิทธิบัตร สัมปทานหรือได้รับสิทธิทางเลือกในการผลิต
- กิจการที่อยู่ในระหว่างการปรับโครงสร้าง
- กิจการที่เกี่ยวข้องในการควบรวมหรือซื้อกิจการ
- กิจการที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์
แนวคิดเรื่องมูลค่าปัจจุบันสุดท้าย
การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญด้วยการคิดลดกระแสเงินสด อาจไม่สามารถคาดการณ์กระแสเงินสดในอนาคตได้ตลอด รวมทั้งไม่สามารถที่จะคิดลดกระแสเงินสดทั้งหมดที่ไม่มีอายุเป็นมูลค่าปัจจุบัน นั่นจึงทำให้เกิดมูลค่าปัจจุบันสุดท้าย
การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญด้วยวิธีคิดลดเงินปันผล
แนวคิดขั้นพื้นฐานของการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ เนื่องจากเงินปันผลเป็นกระแสเงินสดรับที่ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับโดยตรงจากกิจการ วิธีการนี้จึงเหมาะสมกับกิจการที่มีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ
วิธีการพื้นฐาน: แบบจำลองกอร์ดอน โดยมีสมมติฐานว่า
- อัตราการเติบโตของเงินปันผลจะต้องเป็นค่าคงที่เท่ากันทุกปี
- อัตราการคิดลดหรืออัตราผลตอบแทนที่ต้องการจะต้องมากกว่าอัตราการเติบโต
การประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธีคิดลดเงินปันผล กรณีที่ผู้ลงทุนถือหุ้นเป็นเวลา 1 ปี
หากผู้ลงทุนมีระยะเวลาการลงทุน 1 ปีและต้องการที่จะประเมินราคาหรือมูลค่าหุ้นในปัจจุบัน ผู้ลงทุนต้องพยากรณ์จำนวนเงินปันผลที่จะได้รับจากบริษัทในปีหน้า ซึ่งจะหาได้จากการประเมินกำไรในปีหน้าของบริษัท
เมื่อผู้ลงทุนมีข้อมูลการพยากรณ์ผลกำไรในอนาคตและข้อมูลนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัท ผู้ลงทุนจะสามารถประเมินจำนวนเงินปันผลที่ได้รับในปีหน้า
ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการพยากรณ์ราคาที่คาดว่าจะสามารถขายได้ในอีก 1 ปีข้างหน้า หลังจากนั้น ประเมินอัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการ
การประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธีคิดลดเงินปันผล กรณีที่ผู้ลงทุนถือหุ้นมากกว่า 1 ปี
ปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาใช้การประมาณการเงินปันผลที่จะได้รับในอนาคตคือ การเติบโตของกำไรในอนาคตซึ่งจะทำให้สามารถคาดการณ์การจ่ายเงินปันผลในอนาคตได้
เมื่อได้ประเมินกำไรที่คาดว่าจะเติบโตขึ้นและประเมินนโยบายการจ่ายเงินปันผลแล้ว จะนำเอาข้อมูลทั้งสองมาประมาณการเงินปันผล
ขั้นตอนต่อไป พยากรณ์ราคาขายในอนาคตของหุ้นสามัญที่คาดว่าจะขายได้และการประเมินอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ
การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญด้วยวิธีการคิดลดกระแสเงินสดอิสระ
หลักการคำนวณเช่นเดียวกันการประเมินมูลค่าหุ้นด้วยการคิดลดเงินปันผล เพียงแต่เงินปันผลเป็นข้อมูลที่ถูกประกาศแก่สาธารณชน แต่นักวิเคราะห์ต้องคำนวณกระแสเงินสดอิสระเอง
การประเมินมูลค่าหุ้นด้วยการคิดลดกระแสเงินสดอิสระเหมาะกับ
- กิจการที่ไม่จ่ายเงินปันผล
- กิจการที่มีการจ่ายเงินปันผล แต่เงินปันผลที่จ่ายไม่สอดคล้องกับความสามารถของกิจการในการสร้างกำไรสุทธิ หรือความสามารถในการจ่ายเงินปันผลที่แท้จริง
การประเมินมูลค่าหุ้นด้วยการคิดลดกระแสเงินสดอิสระแบ่งออกเป็น 2 วิธีหลัก
- วิธีคิดลดกระแสเงินสดส่วนของกิจการ
- วิธีคิดลดกระแสเงินสดส่วนของผู้ถือหุ้น
การประมาณการกระแสเงินสดอิสระของกิจการ (FCFF)
การคำนวณหากระแสเงินสดอิสระของกิจการจากกำไรสุทธิ
FCFF = กำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้น + ค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เงินสดสุทธิ + ดอกเบี้ยจ่ายของกิจการ x (1 – อัตราภาษีเงินได้ของกิจการ) – เงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร – เงินลงทุนหมุนเวียน
การคำนวณหากระแสเงินสดอิสระของกิจการจากงบกระแสเงินสด
FCFF = กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการดำเนินงาน + ดอกเบี้ยจ่ายของกิจการ x (1 – อัตราภาษีเงินได้ของกิจการ) – เงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร
การคำนวณหากระแสเงินสดอิสระของกิจการจากกำไรจากการดำเนินงาน (EBIT) และกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (EBITDA)
กรณีของกำไรจากการดำเนินงาน
FCFF = EBIT (1 – อัตราภาษี) + ค่าเสื่อมราคา – เงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร – เงินลงทุนหมุนเวียน
กรณีของกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดจ่าย
FCFF = EBITDA (1 – อัตราภาษี) + ค่าเสื่อมราคา x (อัตราภาษี) – เงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร – เงินลงทุนหมุนเวียน
การประมาณการกระแสเงินสดอิสระของผู้ถือหุ้น (FCFE)
การคำนวณหากระแสเงินสดอิสระของผู้ถือหุ้นจากกำไรสุทธิ
FCFE = กำไรสุทธิ + ค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เงินสดสุทธิ – เงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร – เงินลงทุนหมุนเวียน + เงินกู้ยืมสุทธิ
การคำนวณหากระแสเงินสดอิสระของผู้ถือหุ้นจากงบกระแสเงินสด
FCFE = กระแสเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงาน – เงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร + เงินกู้ยืมสุทธิ
การคำนวณหากระแสเงินสดอิสระของผู้ถือหุ้นจากกระแสเงินสดของกิจการ
FCFE = กระแสเงินสดของกิจการ – ดอกเบี้ยจ่าย (1 – อัตราภาษี) + เงินกู้ยืมสุทธิ
การประเมินมูลค่าหุ้นโดยใช้กระแสเงินสดอิสระ กรณีมีอัตราการเติบโตเดียว
สามารถประยุกต์ใช้แบบจำลองกอร์ดอน
การประเมินมูลค่าหุ้นโดยใช้กระแสเงินสดอิสระ กรณีมีอัตราการเติบโตมี 2 และ 3 อัตรา
การประเมินมูลค่าซึ่งมีการแบ่งอัตราการเติบโตออกเป็น 2 อัตรา ช่วงแรกจะเป็นระยะเวลาสั้นกว่าช่วงหลัง โดยช่วงหลังจะเป็นช่วงที่มีอัตราการเติบโตที่มีเสถียรภาพในระยะยาว
แบบจำลองการประเมินมูลค่ากระแสเงินสดแบบมีอัตราการเติบโตสองช่วงแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ
- อัตราการเติบโตช่วงแรกคงที่ ก่อนที่จะลดลงไปอยู่ที่อีกระดับหนึ่งในช่วงที่สอง
- อัตราการเติบโตช่วงแรกค่อย ๆ ลดลง จนถึงช่วงที่สองอัตราการเติบโตจึงเริ่มคงที่
การประเมินมูลค่าซึ่งมีการแบ่งอัตราการเติบโตออกเป็น 3 อัตรา อัตราการเติบโตในแต่ละช่วงเวลาอาจจะกำหนดให้คงที่ หรืออาจกำหนดให้อัตราการเติบโตของกระแสเงินสดอิสระมีค่าคงที่ในช่วงเวลาที่หนึ่ง และค่อย ๆ ลดลงในช่วงเวลาที่สอง และคงที่ในช่วงเวลาที่สามเป็นต้นไป ซึ่งเป็นสมมติฐานที่นักวิเคราะห์นิยมใช้
การวิเคราะห์ความไวของการประเมินมูลค่า
การศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอัตราการคิดลดหรืออัตราการเติบโตที่มีต่อมูลค่าหุ้นสามัญของบริษัท
วิธีการวิเคราะห์ความไวของการประเมินมูลค่า
วิธีการวิเคราะห์ความไวของการประเมินมูลค่าของหุ้นสามัญจะเริ่มต้นจากการกำหนดตัวแปรที่จะส่งผลต่อมูลค่าของหุ้นสามัญ ทั้งนี้ ตัวแปรหลักที่จะส่งผลต่อมูลค่าหุ้นสามัญ ได้แก่ อัตราคิดลด และอัตราการเติบโตของกระแสเงินสด
หลังจากกำหนดตัวแปรทั้งหมดที่อาจส่งผลต่อมูลค่าหุ้นสามัญแล้ว นักวิเคราะห์ต้องกำหนดช่วงของตัวแปรทั้งหมดที่เป็นไปได้ โดยต้องพิจารณาถึงค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดที่เป็นไปได้ของตัวแปรที่เป็นปัจจัยนำเข้าทั้งหมด
ถัดไป ทำการประเมินมูลค่าของหุ้นสามัญ โดยการเปลี่ยนแปลงตัวแปรนำเข้าทีละตัวแปรและกำหนดให้ตัวแปรที่เป็นปัจจัยนำเข้าอื่น ๆ คงที่ แล้วทำการวิเคราะห์ความหมายของการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรที่เป็นปัจจัยนำเข้าทั้งหมดที่จะส่งผลกระทบต่อมูลค่าของหุ้นสามัญหรือมูลค่าของกิจการ
บทที่ 9 การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญด้วยวิธีกำไรคงเหลือ
แนวคิดการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญด้วยวิธีกำไรคงเหลือคือ การนำเอากำไรสุทธิหักออกด้วยต้นทุนค่าเสียโอกาสของเงินทุนในส่วนของเจ้าของ
แบบจำลองกำไรคงเหลือจะมีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชีอย่างมาก
- ถ้ามูลค่าปัจจุบันของกำไรคงเหลือเป็นบวก อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชีที่แท้จริงจะมากกว่า 1
- ถ้ามูลค่าปัจจุบันของกำไรคงเหลือเป็นลบ อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชีที่แท้จริงจะน้อยกว่า 1
แบบจำลองกำไรคงเหลือมีความผันผวนต่อวิธีการจัดทำบัญชีและมาตรฐานการบัญชี อันจะส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในการประเมินมูลค่าหุ้น
แนวคิดการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญด้วยวิธีกำไรคงเหลือ
มูลค่าส่วนเพิ่มทางเศรษฐกิจ (EVA): เครื่องหมายการค้าของบริษัท Stern Stewart & Company ซึ่งคำนวณโดย
EVA = กำไรจากการดำเนินงานหลังภาษี – (ต้นทุนของเงินทุน x เงินทุนรวม)
มูลค่าตลาดส่วนเพิ่ม (MVA): ธุรกิจที่สามารถสร้าง EVA ต่อเนื่องกันจะเป็นการสร้างมูลค่าตลาดของธุรกิจเพิ่มขึ้น ซึ่งคำนวณโดย
MVA = มูลค่าตามราคาตลาดของธุรกิจ – เงินทุนรวม
วิธีการคำนวณกำไรคงเหลือของกิจการ แบ่งเป็น 2 วิธีคือ
การคำนวณกำไรคงเหลือจากกำไรสุทธิของกิจการ
- ปริมาณเงินทุนที่มาจากส่วนของผู้ถือหุ้น x อัตราต้นทุนเงินทุนของผู้ถือหุ้น = ต้นทุนเงินทุนของผู้ถือหุ้นในรูปของจำนวนเงิน
- ต้นทุนเงินทุนของผู้ถือหุ้นในรูปของจำนวนเงิน – กำไรสุทธิของกิจการ = กำไรคงเหลือ
- กำไรคงเหลือมีค่าเป็นบวก = กิจการมีกำไรสุทธิเพียงพอหรือมากกว่าต้นทุนเงินทุนของผู้ถือหุ้นในรูปของจำนวนเงิน
กำไรคงเหลือมีค่าเป็นลบ = กิจการมีกำไรสุทธิไม่เพียงพอสำหรับต้นทุนเงินทุนของผู้ถือหุ้นในรูปของจำนวนเงิน
การคำนวณกำไรคงเหลือจากกำไรสุทธิของกิจการ
กำไรคงเหลือ = [กำไรสุทธิ – ดอกเบี้ยจ่าย x (1 – อัตราภาษี)] – [อัตราต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยของกิจการ x สินทรัพย์รวม]
หรือ
กำไรคงเหลือ = กำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษี – ต้นทุนเงินทุนของกิจการในรูปของจำนวนเงิน
ต้นทุนเงินทุนของกิจการในรูปของจำนวนเงิน = ปริมาณเงินทุนของกิจการทั้งที่มาจากเจ้าหนี้และส่วนของผู้ถือหุ้น x อัตราต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยของกิจการ
การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญด้วยวิธีกำไรคงเหลือ
การประเมินมูลค่าด้วยกำไรคงเหลือแบบขั้นเดียว
แบบจำลองกำไรคงเหลือไม่ได้มีการระบุถึงสมมติฐานเกี่ยวกับอัตราการเติบโตของเงินปันผลแต่อย่างใด แต่หากสมมติว่าอั ตราการเติบโตของกำไรและเงินปันผลมีค่าคงที่เท่ากับ (g) จะสามารถจัดรูปแบบของแบบจำลองกำไรคงเหลือได้ใหม่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพิจารณาค่าตัวแปรสำคัญที่เป็นตัวกำหนดกำไรคงเหลือ โดยอาศัยความสัมพันธ์อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชีที่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง
การประเมินมูลค่าด้วยกำไรคงเหลือแบบหลายขั้น
การประเมินหลายขั้นคือ การพยากรณ์ค่ากำไรคงเหลือไปในหลายช่วงราคา และประเมินมูลค่าปัจจุบันขั้นสุดท้ายของกำไรคงเหลือต่อไป
กำไรคงเหลือต่อไป หมายถึง กำไรคงเหลือที่เกิดขึ้นสืบต่อไปหลังจากช่วงเวลาที่ใช้พยากรณ์
การประเมินมูลค่าด้วยแบบจำลองกำไรคงเหลือควรใช้กับ
- กรณีที่กิจการไม่มีการจ่ายเงินปันผลหรือไม่สามารถพยากรณ์เงินปันผลได้
- กรณีที่นักวิเคราะห์ทำการประเมินกระแสเงินสดอิสระในอนาคต แล้วพบว่ามีค่าติดลบในช่วงที่ทำการประเมินมูลค่า หรือ
- กรณีที่ไม่สามารถคำนวณหามูลค่าปัจจุบันสุดท้ายได้ หรือมูลค่าปัจจุบันสุดท้ายที่คำนวณได้มีความไม่แน่นอนสูง
การประเมินมูลค่าด้วยแบบจำลองกำไรคงเหลือไม่เหมาะสมในสถานการณ์ดังต่อไปนี้
- ข้อมูลที่ใช้มีลักษณะที่เบี่ยงเบนไปจากแนวทางตามความสัมพันธ์ของส่วนเพิ่มตามปกติอย่างเห็นได้ชัด
- ตัวแปรสำคัญในการคำนวณกำไรคงเหลือไม่สามารถพยากรณ์มูลค่าได้ เช่น ข้อมูลมูลค่าตามบัญชีและอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไม่สามารถพยากรณ์ได้อย่างถูกต้อง
ประเด็นทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับแบบจำลองกำไรคงเหลือ
การประเมินมูลค่าด้วยแบบจำลองกำไรคงเหลือจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลทางบัญชีอย่างมาก
ในกรณีที่นักวิเคราะห์ต้องการให้แบบจำลองคงเหลือสามารถประเมินมูลค่าได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น นักวิเคราะห์ต้องปรับปรุงมูลค่าตามบัญชีของส่วนของผู้ถือหุ้น สำหรับรายการนอกงบแสดงฐานะการเงินและปรับปรุงกำไรสุทธิเพื่อให้ได้กำไรสุทธิเป็นกำไรแบบสมบูรณ์
นักวิเคราะห์ยังต้องเข้าใจวิธีการใช้ข้อมูลในอดีตของตัวแปรต่าง ๆ ในการใช้ประมาณการอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นและมูลค่าตามบัญชีในอนาคต
ประเด็นที่นักวิเคราะห์ควรต้องพิจารณาเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติทางบัญชีเพื่อนำไปใช้ในการประเมินมูลค่าด้วยวิธีการกำไรคงเหลือคือ
- ความขัดแย้งกับความสัมพันธ์ส่วนเพิ่มตามปกติ: เกิดขึ้นในกรณีที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินอนุญาตให้บันทึกรายการบางรายการเข้าไปที่ส่วนของผู้ถือหุ้นโดยตรง โดยที่กิจการไม่ต้องรับรู้ในงบกำไรขาดทุน
- การปรับปรุงงบแสดงฐานะการเงินให้เป็นมูลค่ายุติธรรม: รายการนอกงบแสดงฐานะการเงินต้องนำมาปรับปรุงให้เป็นมูลค่ายุติธรรมก่อน
- สินทรัพย์ไม่มีตัวตน: ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อมูลค่าตามบัญชีของกิจการ
- รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำ: การนำรายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำไปรวมเป็นส่วนหนึ่งของรายได้จากการดำเนินงาน สามารถทำให้การคาดการณ์กำไรคงเหลือในอนาคตสูงหรือต่ำเกินจริงได้
- วิธีการบัญชีแบบเชิงรุก: กำไรของกิจการสูงกว่าความเป็นจริง และทำให้มูลค่าตามบัญชีสูงกว่าความเป็นจริง
- การพิจารณาความเหมาะสมในระดับระหว่างประเทศ: วิธีปฏิบัติทางบัญชีที่แตกต่างกัน ทำให้รายการทางบัญชีสำคัญที่ใช้การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญแตกต่างกัน
บทที่ 10 การประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธีสัมพัทธ์
การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญด้วยวิธีสัมพัทธ์แบ่งออกเป็น
- การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญด้วยตัวเปรียบเทียบราคา
- การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญด้วยตัวเปรียบเทียบมูลค่ากิจการ
การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญด้วยตัวเปรียบเทียบราคา
ตัวเปรียบเทียบราคาคือ เครื่องมือหรืออัตราส่วนทางการเงินที่แสดงผลกระทบจากมูลค่าผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจากสินทรัพย์ของกิจการที่มีต่อราคาตลาดของหุ้นสามัญ
เมื่อจัดทำเป็นอัตราส่วน รายการที่เป็นตัวส่วนจะอยู่ในรูป 1 หน่วยของเงินตรา ทำให้สามารถเปรียบเทียบได้ว่าราคาตลาดของหุ้นสามัญที่ตัวเศษนั้นเป็นกี่เท่าของรายการที่เป็นตัวส่วน
ตัวเปรียบเทียบราคาที่มักใช้ประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธีสัมพัทธ์
- อัตราส่วนราคาต่อกำไร = ราคาตลาดของหุ้นสามัญของกิจการ / กำไรต่อหุ้น
อัตราส่วนราคาต่อกำไรสามารถแบ่งออกเป็น
- อัตราส่วนราคาต่อกำไรในอดีต: ราคาตลาดปัจจุบันของหุ้นสามัญ / กำไรสุทธิต่อหุ้นในอดีต
- อัตราส่วนราคาต่อกำไรในอนาคต: ราคาตลาดปัจจุบันของหุ้นสามัญ / ประมาณการกำไรต่อหุ้นในอนาคต
- อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชี = ส่วนของผู้ถือหุ้นลบด้วยหุ้นบุริมสิทธิ แล้วหารด้วยจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้ว
- อัตราส่วนราคาต่อยอดขาย = ราคาตลาดของหุ้นสามัญ / ยอดขายต่อหุ้น
ยอดขายต่อหุ้น = ยอดขายประจำปี / จำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้ว
- อัตราส่วนราคาต่อกระแสเงินสด มีหลายรูปแบบ
- กระแสเงินสด = กำไรสุทธิ + ค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ตัวเงิน
- กระแสเงินสดจาการดำเนินงาน = กระแสเงินสด – การเปลี่ยนแปลงของเงินทุนหมุนเวียน
- กระแสเงินสดอิสระสำหรับผู้ถือหุ้น = กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน – เงินทุนในสินทรัพย์ถาวรประจำงวด + [เงินกู้ยืมประจำงวด – การชำระเงินกู้ยืมประจำงวด]
- กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย = กำไรสุทธิ + ดอกเบี้ยจ่าย + ภาษี + ค่าเสื่อมราคา + ค่าตัดจำหน่าย
- อัตราส่วนราคาต่อเงินปันผลและอัตราผลตอบแทนของเงินปันผล: อัตราผลตอบแทนของเงินปันผล ซึ่งสามารถแสดงได้สองรูปแบบ
- การใช้เงินปันผลในอดีต: เงินปันผลต่อหุ้นที่จ่ายในไตรมาสสุดท้ายคูณด้วย 4 แล้วหารด้วยราคาตลาดของหุ้นปัจจุบัน
- การใช้ค่าพยากรณ์ของเงินปันผลต่อหุ้นที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต: เงินปันผลที่คาดว่าจะได้รับในปีหน้าหารด้วยราคาตลาดของหุ้นในปัจจุบัน
การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญด้วยตัวเปรียบเทียบกิจการ
ตัวเปรียบเทียบกิจการคือ อัตราส่วนระหว่างมูลค่าของกิจการกับปัจจัยที่เป็นตัวแทนหรือที่มาของมูลค่ากิจการ
เนื่องจากตัวเปรียบเทียบราคามีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเงินทุนที่มีการกู้ยืมน้อยกว่าตัวเปรียบเทียบกิจการ นักวิเคราะห์จึงมักเลือกใช้ในการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญโดยเฉพาะกรณีที่มีการเปรียบเทียบมูลค่าหุ้นสามัญของกิจการที่มีโครงสร้างเงินทุนแตกต่างกัน
- อัตราส่วนระหว่างมูลค่ากิจการและกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย: นำมาใช้เพื่อสะท้อนมูลค่ารวมของธุรกิจมากกว่ามูลค่าหุ้นสามัญ และมีการใช้แพร่หลายมากที่สุด
- อัตราส่วนระหว่างมูลค่ากิจการและยอดขาย: ทางเลือกในการใช้ประเมินมูลค่าของกิจการในอุตสาหกรรมที่มีโครงสร้างเงินทุนค่อนข้างแตกต่างกัน
- อัตราส่วนระหว่างมูลค่ากิจการอื่น ๆ เช่น
- อัตราส่วนระหว่างมูลค่ากิจการและกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี
- อัตราส่วนระหว่างมูลค่ากิจการและกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษีและค่าเสื่อมราคา
- อัตราส่วนระหว่างมูลค่ากิจการและกระแสเงินสดอิสระของบริษัท
ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการประเมินมูลค่าด้วยวิธีใช้ตัวเปรียบเทียบราคา
การหาค่าอัตราส่วนราคาต่อกำไรที่เป็นเกณฑ์มาตรฐาน: ต้องคำนวณค่าอัตราส่วนราคาต่อกำไรและค่าอัตราส่วนราคาต่อกำไรที่เป็นเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อวิเคราะห์ว่าหุ้นสามัญมีราคาต่ำเกินไปหรือสูงเกินไป
การคำนวณค่าอัตราส่วนราคาต่อกำไรที่เป็นเกณฑ์มาตรฐานอาจคำนวณจากบริษัทหรือกลุ่มบริษัทที่มีลักษณะเทียบเคียงกันได้ หรืออาจคำนวณได้จากค่าพยากรณ์พื้นฐาน
การหาค่าอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชีที่เป็นเกณฑ์มาตรฐาน: พิจารณาตัวเปรียบเทียบราคาจากบริษัทที่อยู่ในกลุ่มเทียบเคียง หรือจากการพยากรณ์ตัวแปรพื้นฐานต่าง ๆ ที่เป็นที่มาของราคาหุ้นสามัญหรือมูลค่าของกิจการ
การหาค่าอัตราส่วนราคาต่อยอดขายที่เป็นเกณฑ์มาตรฐาน: พิจารณาตัวเปรียบเทียบราคาจากบริษัทที่อยู่ในกลุ่มเทียบเคียง หรือจากการพยากรณ์ตัวแปรพื้นฐานต่าง ๆ ที่เป็นที่มาของราคาหุ้นสามัญหรือมูลค่าของกิจการ
การหาค่าอัตราส่วนราคาต่อกระแสเงินสดที่เป็นเกณฑ์มาตรฐาน: เช่นเดียวกับอัตราส่วนราคาต่อกำไร อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชีและอัตราส่วนราคาต่อยอดขาย
การหาค่าอัตราผลตอบแทนของเงินปันผลที่เป็นเกณฑ์มาตรฐาน: เช่นเดียวกับหัวข้อข้างต้น
การหาค่าอัตราส่วนมูลค่ากิจการต่อกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดจ่ายที่เป็นเกณฑ์มาตรฐาน: เช่นเดียวกับหัวข้อข้างต้น
การประเมินมูลค่าโดยใช้ตัวเปรียบราคาได้รับความนิยมอย่างมากเป็นเพราะ
- ใช้ตัวแปรและตัวแปรทางการเงินของบริษัทอื่นมาเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นตัวเลขที่หาได้รวดเร็ว ง่าย และข้อจำกัดน้อยกว่าการประเมินมูลค่าด้วยการคิดลดกระแสเงินสด
- ง่ายในการทำความเข้าใจ และนำเสนอให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ
- ตัวเลขของตัวเปรียบเทียบราคาที่อ้างอิงจากราคาที่อยู่ในตลาดซึ่งจะสะท้อนสถานการณ์ที่เป็นปัจจุบันของตลาดได้ดีกว่า
นักวิเคราะห์ต้องระวังและเข้าใจประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณตัวเปรียบเทียบราคา
- วิธีการทางบัญชีที่อาจมีผลกระทบต่อการประเมินมูลค่าโดยใช้ตัวเปรียบเทียบราคา
- ความสัมพันธ์ของตัวเปรียบเทียบราคากับปัจจัยพื้นฐานของกิจการ
- การประเมินมูลค่าโดยใช้ตัวเปรียบเทียบราคาเหมาะสมกับสถานการณ์หรือไม่
- การนำวิธีการประเมินมูลค่าโดยตัวเปรียบเทียบราคาไปใช้ในการวิเคราะห์การลงทุนระหว่างประเทศจะต้องมีการปรับเปลี่ยนอย่างไร
บทที่ 11 ใบสำคัญแสดงสิทธิและใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
ใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนท์) คือ สัญญาทางการเงินประเภทหนึ่งที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหุ้นสามัญอ้างอิงตามราคาใช้สิทธิและจำนวนหุ้น ภายในระยะเวลาที่บริษัทผู้ออกวอร์แรนท์กำหนด
ผู้ถือวอร์แรนท์มีสิทธิเลือกที่ใช้สิทธิหรือไม่ใช้สิทธิตามวอร์แรนท์ก็ได้ แต่บริษัทผู้ออกวอร์แรนท์มีภาระผูกพันในการขายหรือส่งมอบหุ้นสามัญอ้างอิงตามราคาและจำนวนที่ผู้ลงทุนใช้สิทธิ
หากผู้ถือวอร์แรนท์ไม่ใช้สิทธิตามเวลาที่กำหนด วอร์แรนท์ก็จะหมดอายุไป และผู้ถือจะไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จากการถือวอร์แรนท์นั้น
วอร์แรนท์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- Detachable Warrant คือ วอร์แรนท์ที่ออกมาจำหน่ายเดี่ยว ๆ หรือจำหน่ายโดยขายร่วมกับหลักประเภทอื่น แต่เมื่อผู้ลงทุนซื้อวอร์แรนท์ที่ขายร่วมกันไปแล้ว สามารถแยกวอร์แรนท์มาขายต่างหากจากสินทรัพย์ที่ซื้อร่วมกันได้
- Non-detachable Warrant คือ วอร์แรนท์ที่ไม่สามารถแยกออกจากหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินที่วอร์แรนท์นั้นผูกติดอยู่
ประโยชน์ของการลงทุนในวอร์แรนท์
ผู้ออกวอร์แรนท์
- ไม่ทำให้กำไรต่อหุ้นของกิจการลดลงทันที
- เพิ่มความน่าสนใจแก่ผู้ลงทุน
- ช่วยให้กิจการสามารถระดมทุนได้ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจซบเซา
- การกระตุ้นให้ฝ่ายบริหารของกิจการพยายามบริหารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ผู้ถือวอร์แรนท์
- เงินลงทุนต่ำ
- ผลขาดทุนจำกัด
- โอกาสได้รับผลตอบแทนสูง
ข้อควรระวังของการลงทุนในวอร์แรนท์
- ไม่มีรายได้ระหว่างการถือครองวอร์แรนท์
- ความซับซ้อนของการลงทุนวอร์แรนท์
- อัตราทดจากการลงทุน
ความสัมพันธ์ของราคาวอร์แรนท์และราคาหุ้นสามัญอ้างอิง
โดยปกติแล้ว การเปลี่ยนแปลงของวอร์แรนท์จะมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นอ้างอิงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนในวอร์แรนท์
ผลตอบแทนจากการซื้อขายวอร์แรนท์: ผู้ถือวอร์แรนท์มีโอกาสที่จะได้รับกำไรและผลขาดทุนได้ในอัตราที่สูงกว่าการลงทุนในหุ้นอ้างอิงโดยตรงเมื่อราคาหุ้นอ้างอิงมีการเปลี่ยนแปลง
ผลตอบแทนจากการใช้สิทธิตามวอร์แรนท์
- ราคาใช้สิทธิ < ราคาหุ้น ณ เวลาใช้สิทธิ ผู้ถือวอร์แรนท์ควรเลือกใช้สิทธิ
- ราคาใช้สิทธิ > ราคาหุ้น ณ เวลาใช้สิทธิ ผู้ถือวอร์แรนท์ไม่ควรเลือกใช้สิทธิ
ความเสี่ยงจากการลงทุนในวอร์แรนท์
- อัตราทดจากการลงทุน
- ความเสี่ยงด้านระยะเวลาในการลงทุน
ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หมายถึง ตราสารที่ผู้ออกให้สิทธิแก่ผู้ถือในการที่จะซื้อหรือจะขายสินทรัพย์อ้างอิง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในตราสารโดยผู้ออก และจะได้รับชำระเงิน ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้ในจำนวนที่คำนวณได้จากส่วนต่างของราคาสินทรัพย์อ้างอิงกับราคาใช้สิทธิที่กำหนดในตราสาร
ประเภทของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
แบ่งตามประเภทสิทธิ
- สิทธิซื้อ
- สิทธิขาย
แบ่งตามข้อกำหนดการใช้สิทธิ
- แบบยุโรป
- แบบอเมริกัน
- แบบอเมริกันเทียม
แบ่งตามประเภทของหลักทรัพย์อ้างอิง
- หุ้นหรือกลุ่มหุ้นที่อยู่ในองค์ประกอบของดัชนี SET50
- หุ้นหรือกลุ่มหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของดัชนี SET100
- ดัชนีหลักทรัพย์ของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่เผยแพร่โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- หน่วยลงทุนของกองทุนรวม ETF ที่มีสร้างผลตอบแทนตามความเคลื่อนไหวของหุ้นและดัชนีหลักทรัพย์ตามที่กล่าวข้างต้น
- หลักทรัพย์หรือกลุ่มหลักทรัพย์อื่นใดตามที่ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
แบ่งตามลักษณะการใช้สิทธิ
- ส่งมอบด้วยสินทรัพย์อ้างอิง
- ส่งมอบส่วนต่างของราคาด้วยเงินสด
แบ่งตามการฝากหลักทรัพย์เป็นประกัน
- มีทรัพย์สินที่เป็นประกันเต็มจำนวน
- มีทรัพย์สินที่เป็นประกันบางส่วน
- ไม่มีทรัพย์สินที่เป็นประกัน
ความแตกต่างระหว่างใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์กับวอร์แรนท์
ความแตกต่าง | ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ | วอร์แรนท์ |
ประเภทของสิทธิที่เสนอขาย | สิทธิซื้อและสิทธิขาย | สิทธิซื้อ |
อายุของใบสำคัญแสดงสิทธิ | ไม่เกิน 2 ปี | ไม่เกิน 10 ปี |
ผู้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ | สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาต | บริษัทจดทะเบียนผู้ออกหุ้นสามัญอ้างอิง |
รายละเอียดสัญญา | กำหนดโดยผู้ออก | กำหนดโดยบริษัทจดทะเบียน |
ความเสี่ยงในการผิดนัดการส่งมอบ | ความเสี่ยงทางเครดิต | ไม่มีความเสี่ยง |
วิธีการชำระราคา | เงินสด | ส่งมอบหุ้นสามัญอ้างอิงเท่านั้น |
หลักทรัพย์ที่ใช้ส่งมอบ | ใช้หลักทรัพย์ที่มีอยู่เดิม | ใช้หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ |
ผู้ดูแลสภาพคล่อง | ต้องมีอย่างน้อย 1 ราย | ไม่ต้องมี |
วัตถุประสงค์ของการออก | เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงิน | เพื่อระดมทุนให้กับผู้ออก |
ภาษีจากการใช้สิทธิ | ถือเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี | ไม่มีการเรียกเก็บภาษี |
การปรับสิทธิจากการที่หุ้นสามัญอ้างอิงจ่ายปันผล | ปรับสิทธิทุกกรณี | ปรับสิทธิเฉพาะกรณีที่เงินปันผลสูงกว่าอัตราที่กำหนดไว้ |
ประโยชน์ของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
ผู้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
- การสร้างตราสารทางการเงินเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุน
- การสร้างรายได้จากการบริหารความเสี่ยง
ผู้ลงทุน
- เงินลงทุนต่ำ
- ผลขาดทุนจำกัด
- อัตราทดในการลงทุน
- เครื่องมือทำกำไรทั้งขาขึ้นและขาลง
- เครื่องมือบริหารความเสี่ยง
- ไม่ต้องวางหลักประกันก่อนการซื้อขายเหมือนสัญญาออปชัน
ข้อควรระวังของการลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
คล้ายคลึงกับข้อควรระวังของการลงทุนในวอร์แรนท์
ความสัมพันธ์ของราคาใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์กับราคาหุ้นสามัญที่อ้างอิง
การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นสามัญอ้างอิง/ดัชนีหลักทรัพย์อ้างอิงมีผลกระทบต่อราคาใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์มากเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจัยอื่น
- ถ้าราคาหุ้นสามัญอ้างอิง/ดัชนีหลักทรัพย์อ้างอิงเพิ่มขึ้น
- ราคาสิทธิซื้อจะเพิ่มขึ้น
- ราคาสิทธิขายจะลดลง
- ถ้าราคาหุ้นสามัญอ้างอิง/ดัชนีหลักทรัพย์อ้างอิงลดลง
- ราคาสิทธิซื้อจะลดลง
- ราคาสิทธิขายจะเพิ่มขึ้น
ผลตอบแทนของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
ผลตอบแทนจากการซื้อขายก่อนครบกำหนดอายุ: กำไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจากส่วนต่างของราคา
ผลตอบแทนจากการซื้อแล้วถือจนครบกำหนดอายุ: ชำระส่วนต่างของราคาหุ้นสามัญอ้างอิงกับราคาใช้สิทธิที่กำหนดด้วยเงินสด
ความเสี่ยงของใบสำคัญแสดงสิทธิ
- ความเสี่ยงด้านราคาตลาด
- ความเสี่ยงจากอัตราทด
- ความเสี่ยงด้านการผิดนัดชำระของคู่สัญญา
- ความเสี่ยงจากการที่ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์มีอายุจำกัด
- ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
การปรับสิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์เมื่อหุ้นสามัญอ้างอิงมี Corporate Action
Corporate Action คือ การประกาศดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งของกิจการที่จะมีผลต่อมูลค่าตลาดของส่วนของผู้ถือหุ้น ตัวอย่างเช่น
- การจัดสรรหุ้นสามัญใหม่ให้กับผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท
- การจ่ายปันผลต่อหุ้น
- การจ่ายปันผลเป็นเงินสด ทั้งปันผลปกติและปันผลพิเศษ
- การแตกพาร์หรือรวมพาร์ของหุ้นสามัญ
ผู้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์จะปรับสิทธิใหม่ โดยปรับที่
- ราคาใช้สิทธิ โดยใช้สูตรการคำนวณตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดสิทธิ
- อัตราการใช้สิทธิ โดยใช้สูตรการคำนวณตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดสิทธิ
การประเมินมูลค่าวอร์แรนท์และใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
- มูลค่าตามทฤษฎี: มูลค่าที่แท้จริง + มูลค่าตามเวลา
- Parity Ratio: ราคาหุ้นสามัญอ้างอิง / ราคาใช้สิทธิ
- การใช้สิทธิ: ใช้สิทธิเมื่อวอร์แรนท์และใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์มีมูลค่าที่แท้จริงมากกว่าศูนย์ หรืออยู่ในสถานะที่ได้ประโยชน์
- ราคาใช้สิทธิ < ราคาหุ้นสามัญอ้างอิง วอร์แรนท์และสิทธิซื้ออยู่ในสถานะที่ได้ประโยชน์
- ราคาใช้สิทธิ > ราคาหุ้นสามัญอ้างอิง สิทธิขายอยู่ในสถานะที่ได้ประโยชน์
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อมูลค่าวอร์แรนท์และใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
ราคาตลาดของหุ้นสามัญอ้างอิง
- ราคาตลาดของหุ้นสามัญอ้างอิงเพิ่มขึ้น
- ราคาตลาดของวอร์แรนท์และสิทธิซื้อจะเพิ่มขึ้น
- ราคาตลาดของสิทธิขายจะลดลง
- ราคาตลาดของหุ้นสามัญอ้างอิงลดลง
- ราคาตลาดของวอร์แรนท์และสิทธิซื้อจะลดลง
- ราคาตลาดของสิทธิขายจะเพิ่มขึ้น
ความแปรปรวนของราคาหุ้นสามัญอ้างอิง
- หากราคาหุ้นสามัญอ้างอิงมีความแปรปรวนสูง ราคาของวอร์แรนท์และใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์มีราคาสูงขึ้น
- หากราคาหุ้นสามัญอ้างอิงมีความแปรปรวนต่ำ ราคาของวอร์แรนท์และใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์มีราคาต่ำลง
เงินปันผลของหุ้นสามัญอ้างอิง
- ราคาของวอร์แรนท์ลดลงตามจำนวนเงินปันผลจ่าย
- ไม่มีผลกระทบต่อใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ เนื่องจากผู้ออกปรับสิทธิใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ใหม่เพื่อรักษาผลประโยชน์ให้กับผู้ลงทุน
ราคาใช้สิทธิของวอร์แรนท์และใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
- มูลค่าที่แท้จริงของวอร์แรนท์และสิทธิซื้อจะเพิ่มขึ้นเมื่อราคาใช้สิทธิของวอร์แรนท์และสิทธิซื้อลดลง
- มูลค่าที่แท้จริงของสิทธิขายจะเพิ่มขึ้นเมื่อราคาใช้สิทธิของสิทธิขายเพิ่มขึ้น
อายุคงเหลือของวอร์แรนท์และใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์: ราคาของวอร์แรนท์และใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์จะแปรผันตามอายุคงเหลือของวอร์แรนท์และใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ยิ่งอายุคงเหลือยาวนาน โอกาสที่ราคาหุ้นสามัญอ้างอิงเปลี่ยนแปลงไปมีมากขึ้น
อัตราดอกเบี้ย
- หากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
- ราคาของวอร์แรนท์และสิทธิซื้อจะมีค่าสูงขึ้น
- ราคาของสิทธิขายจะมีค่าลดลง
จำนวนของวอร์แรนท์: จำนวนวอร์แรนท์ที่ออกจำหน่ายมากขึ้นจะส่งผลให้ราคาวอร์แรนท์ปรับตัวลดลง
การวิเคราะห์วอร์แรนท์และใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์โดยอัตราส่วนประเภทต่าง ๆ
- อัตราส่วนพรีเมียม: ค่าที่ใช้เปรียบเทียบส่วนเกินระหว่างการลงทุนซื้อวอร์แรนท์หรือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์กับการลงทุนในหุ้นสามัญอ้างอิงโดยตรง
- Gearing Ratio: ค่าที่ใช้วัดระดับของการเปิดรับความเสี่ยงของวอร์แรนท์หรือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนในหุ้นสามัญ
- Delta: วัดความอ่อนไหวของราคาวอร์แรนท์หรือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่มีต่อราคาหุ้นสามัญอ้างอิง
- Leverage: แนวคิดเดียวกับ Delta เพียงแต่หน่วยของการเปลี่ยนแปลงจะเป็นเปอร์เซ็นต์
- Breakeven: ค่าที่แสดงถึงอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นสามัญอ้างอิงต่อ 1 งวดเวลาจนถึงวันสิ้นอายุของวอร์แรนท์ โดยอัตราการเพิ่มขึ้นดังกล่าวจะทำให้ต้นทุนในการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญอ้างอิงตามวอร์แรนท์เท่ากับราคาตลาดของหุ้นสามัญอ้างอิงพอดี (จุดคุ้มทุน)
- Time Decay: ค่าที่แสดงว่าราคาของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์จะลดลงกี่บาท เมื่อเวลาผ่านไป 1 วัน หากราคาหุ้นสามัญที่อ้างอิงหรือดัชนีที่อ้างอิงคงที่
- Implied Volatility: ค่าที่แสดงว่าราคาใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ถูกหรือแพงเมื่อเปรียบเทียบกับใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตัวอื่น ๆ
กลยุทธ์การลงทุนในวอร์แรนท์และใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
กลยุทธ์การลงทุนในวอร์แรนท์มี 2 แบบคือ การซื้อวอร์แรนท์แล้วใช้สิทธิหุ้นสามัญอ้างอิงจนกว่าจะครบกำหนดอายุหรือการซื้อขายเก็งกำไรก่อนหมดอายุ ซึ่งผลขาดทุนสูงสุดเท่ากับจำนวนเงินที่ซื้อวอร์แรนท์
การลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ผู้ลงทุนต้อง
- คาดการณ์ราคาเป้าหมายของหุ้นสามัญอ้างอิงหรือดัชนีอ้างอิงที่สนใจ
- เลือกระหว่างสิทธิซื้อ/สิทธิขาย
- เลือกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่จะลงทุน
- กำหนดราคาและระยะเวลาที่ต้องตัดขาดทุน
- กำหนดกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยง
- ไม่ถือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์จนครบกำหนดอายุ
บทที่ 12 การวิเคราะห์การลงทุนโดยคำนึงถึงความยั่งยืน
การลงทุนที่คำนึงถึงความยั่งยืนเป็นรูปแบบการลงทุนที่พิจารณาปัจจัยการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมและบรรษัทภิบาล (ESG) ในการคัดสรรหลักทรัพย์และบริหารกลุ่มหลักทรัพย์
แนวคิดการลงทุนอย่างยั่งยืนมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในกลุ่มนักลงทุนในไทยและทั่วโลก
ในปี 2558 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยร่วมกับก.ล.ต. สมาคมบริษัทจัดการลงทุน สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยและมูลนิธิเพื่อคนไทย จัดทำรายชื่อจดทะเบียนที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ‘หุ้นยั่งยืน’
นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังจัดทำดัชนี SETTHSI – ดัชนีที่สะท้อนการเคลื่อนไหวราคาของกลุ่มหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งมีขนาดและสภาพคล่องผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด
ประโยชน์ของการลงทุนอย่างยั่งยืน
- ต่อประเทศ: ภาวะเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศได้รับการยกระดับสูงขึ้น
- ต่อบริษัท: ลดผลกระทบเชิงลบ เช่น ความสูญเสียในการผลิตสินค้าหรือบริการลดลง และอาจมีผลกระทบเชิงบวกเพิ่มขึ้น เช่น เพิ่มความสามารถในการสร้างทั้งมูลค่าที่จับต้องได้และมูลค่าที่จับต้องไม่ได้
- ต่อผู้ลงทุน: กิจการมีมูลค่าที่จับต้องไม่ได้เพิ่มขึ้นจากการยอมรับของลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย นักลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนที่คำนึงถึงความยั่งยืน
ประเภทของการลงทุนที่คำนึงถึงความยั่งยืน
Global Sustainable Investment Alliance ได้จำแนกแนวทางการลงทุนอย่างยั่งยืนออกเป็น 7 แนวทาง
- Negative / Exclusionary Screening: การไม่ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทที่ผลิตสินค้าหรือบริการที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมหรือขัดต่อหลักศีลธรรมจรรยา
- Positive / Best-in-class Screening: การมุ่งลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทที่เป็นเลิศด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ที่เทียบเคียงกัน
- Norms-based Screening: การมุ่งลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทที่ผ่านการคัดสรร โดยพิจารณาจากการที่บริษัทนั้น ๆ มีแนวปฏิบัติตามบรรทัดฐานด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในระดับสากล
- Integration of ESG Factors: การลงทุนที่อยู่บนฐานการวิเคราะห์บริษัทที่ผนวกปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมเข้ากับการวิเคราะห์ทางการเงินแบบดั้งเดิม
- Sustainability Themed Investing: การลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทที่มีแนวทางหลักเกี่ยวข้องกับความยั่งยืน
- Impact / Community Investing: การลงทุนในกิจการที่มุ่งแก้ไขปัญหาสังคมและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการลงทุนในชุมชน การลงทุนในธุรกิจที่มีเป้าหมายชัดเจนเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม
- Corporate Engagement and Shareholder Action: การใช้พลังผู้ถือหุ้นผลักดันผ่านผู้บริหารระดับสูงหรือคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้ปฏิบัติตามแนวทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
กระบวนการวิเคราะห์การลงทุนที่คำนึงถึงความยั่งยืน
- การเก็บรวบรวมข้อมูล: ข้อมูลทางการเงิน + ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
- การวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญ: การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินและ ESG ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดปัจจัยทางการเงินและ ESG ที่เป็นสาระสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อบริษัท อุตสาหกรรมและ/หรือประเทศ
- การประเมินการเคลื่อนไหวด้วยความเป็นเจ้าของ: การประเมินปัจจัยทางการเงินและ ESG ที่เป็นสาระสำคัญกับบริษัท และติดตามผลลัพธ์ของการมีส่วนร่วมและ/หรือกิจกรรมการลงคะแนนเสียง
- การวิเคราะห์หลักทรัพย์และกลุ่มหลักทรัพย์: การประเมินผลกระทบของปัจจัยทางการเงินและปัจจัยด้าน ESG ที่เป็นสาระสำคัญที่มีต่อบริษัทและผลการดำเนินงานของบริษัท อุตสาหกรรม ประเทศและ/หรือกลุ่มหลักทรัพย์
- การตัดสินใจลงทุน: การกำหนดและประเมินปัจจัยทางการเงินและปัจจัยด้าน ESG ที่เป็นสาระสำคัญจะนำไปสู่การตัดสินใจในการซื้อ/เพิ่มน้ำหนักการลงทุน ถือ/คงน้ำหนักการลงทุน ขาย/ลดน้ำหนักการลงทุนหรือไม่ลงทุน
ข้อมูลและแหล่งข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์การลงทุนที่คำนึงถึงความยั่งยืน
ความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนของธุรกิจ
- กระบวนการติดตามและรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนเพื่อช่วยให้บริษัทประเมินและพัฒนาประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ รวมถึงลดความเสี่ยงและสร้างโอกาสในการหารายได้หรือลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
- กระบวนการช่วยในการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียและประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ช่วยธุรกิจได้สื่อสาร สร้างความเข้าใจ และเรียนรู้ประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำคัญ ซึ่งธุรกิจควรบริหารจัดการให้อย่างเหมาะสมเพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน
- ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ธุรกิจ ด้วยการสะท้อนบทบาทความรับผิดชอบของธุรกิจที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสีย และการนำเสนอผลการดำเนินงานในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
- เครื่องมือในการสะท้อนศักยภาพของธุรกิจและดึงดูดความสนใจของนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในธุรกิจที่มีคุณภาพและมีโอกาสสร้างผลตอบแทนในระยะยาว
ข้อมูลด้านความยั่งยืนขององค์กร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
- ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับองค์กร
- ข้อมูลผลการดำเนินงานและตัวชี้วัดด้านความยั่งยืน
การเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนโดยบริษัทจดทะเบียน
รายงานการเปิดเผยประจำปี (ภาคบังคับ) ได้แก่ แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปี (แบบ 56-2) กำหนดขึ้นเพื่อให้นักลงทุนสามารถศึกษาติดตามข้อมูลที่สำคัญของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทจดทะเบียนเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนได้
อย่างไรก็ตาม ก.ล.ต. กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปลี่ยนมาใช้แบบ 56-1 One Report แทน โดยจะเริ่มใช้กับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564
รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ภาคสมัครใจ) คือการเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาลของบริษัท เพื่อตอบสนองความต้องการนอกเหนือจากรายงานทางการเงินและรายงานประจำปีที่ยังไม่สามารถสะท้อนผลการดำเนินงานในมุมดังกล่าวให้แก่นักลงทุน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า ชุมชนและผู้มีส่วนได้เสียอื่นที่เกี่ยวข้องได้อย่างครบถ้วน
ข้อมูลจากบุคคลภายนอก
- บริษัทที่ให้บริการข้อมูล: ให้บริการทั้งข้อมูลดิบหรือข้อมูลที่นำไปผ่านกระบวนการวิเคราะห์หรือเปรียบเทียบต่าง ๆ
- บริษัทผู้จัดอันดับ: ให้บริการข้อมูลคะแนน ESG หรืออันดับ ESG
- บริษัทที่จัดทำดัชนีด้านความยั่งยืนต่าง ๆ
- องค์กรพัฒนาเอกชน
- หน่วยงานภาครัฐ
- แหล่งข่าวต่าง ๆ
- สื่อสังคม
การวิเคราะห์ข้อมูล ESG เพื่อการลงทุนที่คำนึงถึงความยั่งยืน
แนวทางการวิเคราะห์ ESG เพื่อการลงทุนคำนึงถึงความยั่งยืน
การวิเคราะห์บริบทความยั่งยืนของธุรกิจ: การวิเคราะห์ ESG จะทำให้รูปแบบใหม่ของกระบวนการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ดังนี้
- การทบทวนรายงานความยั่งยืนของบริษัท
- การประเมินการมองข้ามหรือละเลยประเด็นด้าน ESG ที่เป็นสาระสำคัญ
- การประเมินความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ ESG
- การหาความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่ค้นพบกับปัจจัยพื้นฐาน เช่น การเติบโต การดำเนินงานและแนวทางร่วมกันของฝ่ายบริหารและผู้ถือหุ้น
การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
ห่วงโซ่คุณค่าคือ กิจกรรมต่าง ๆ ที่บริษัทซึ่งดำเนินธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรมดำเนินการเพื่อส่งมอบสินค้าและ/หรือบริการที่มีคุณค่าให้กับลูกค้าหรือผู้บริโภค ซึ่งได้แก่
- การขนส่งและจัดเก็บวัตถุดิบ
- การผลิตสินค้าหรือบริการ
- การจัดเก็บและกระจายสินค้า
- การตลาดและการขาย
- การบริการ
การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่ธุรกิจ
- การขนส่งและจัดเก็บวัตถุดิบ: ผู้จัดหาวัตถุดิบ ผู้จัดส่ง รวมถึงภาครัฐ
- การผลิตสินค้าหรือบริการ: ลูกจ้าง/พนักงาน ชุมชน หน่วยงานกำกับดูแล
- การจัดเก็บและกระจายสินค้า: ผู้ดูแลคลังสินค้า ผู้กระจายสินค้า
- การตลาดและการขาย: ลูกค้า พนักงานขาย สื่อ
- การบริการ: ลูกจ้าง/พนักงาน ลูกค้า
การวิเคราะห์โอกาสและจำแนกประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของธุรกิจที่มีผลกระทบต่อความเสี่ยงและโอกาสของธุรกิจ
การวิเคราะห์ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม: คาดการณ์ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับทั้งธุรกิจทั้งในด้านของกระแสเงินสดหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
การวิเคราะห์ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมอาจไม่ได้สะท้อนราคาหรือต้นทุนออกมาให้เห็นโดยตรงเป็นตัวเลขที่ชัดเจน แต่จะสะท้อนถึงกระแสเงินสดรับหรือจ่ายขององค์กรธุรกิจในระยะยาว
การวิเคราะห์ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมจะต้องครอบคลุมทุก ๆ กิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
การวิเคราะห์ปัจจัยด้านสังคม: การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท
การวิเคราะห์ปัจจัยด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี: บริษัทที่มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีจะเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียครอบคลุมทุก ๆ กิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโอกาสและความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ
การจำแนกและการจัดลำดับประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบกับความยั่งยืนของธุรกิจ: ทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่าประเด็นใดเป็นประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กรเพื่อนำไปสู่การพิจารณาผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากแนวทางการบริหารจัดการแต่ละประเด็นของธุรกิจ
การวิเคราะห์และประเมินผลกระทบของประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของธุรกิจผ่าน Material Topics Matrix: พิจารณาใน 2 มิติ
- ความสำคัญต่อตัวธุรกิจจากผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม และ
- ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสียโดยมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการประเมินและการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสีย
การวิเคราะห์ความเหมาะสมของแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงในประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของธุรกิจ
- การวิเคราะห์กระบวนการกำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนขององค์กร
- การวิเคราะห์กระบวนการขับเคลื่อนความยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติ
- การวิเคราะห์บทบาทของกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานในการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน
การให้ข้อมูลคะแนน ESG และอันดับ เพื่อวิเคราะห์การดำเนินงานด้านความยั่งยืนของธุรกิจ: ช่วยให้นักลงทุนทราบว่าบริษัทใดเป็นผู้นำหรือผู้ตามในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และช่วยทำให้นักลงทุนสามารถเปรียบเทียบผลกระทบที่มีต่อโอกาสและความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจจากปัจจัยด้าน ESG ของบริษัทเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ที่เทียบเคียงกัน
ข้อควรระวังในการวิเคราะห์ข้อมูล ESG เพื่อการลงทุนที่คำนึงถึงความยั่งยืน
- ความแตกต่างของธุรกิจในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม และแต่ละประเทศ
- ความแตกต่างในด้านขนาดของธุรกิจ
- ช่วงกรอบระยะเวลาในการพิจารณา
การคัดเลือกและการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญเพื่อการลงทุนที่คำนึงถึงความยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของการคัดเลือกและการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญเพื่อการลงทุนที่คำนึงถึงความยั่งยืน
- หลีกเลี่ยงการลงทุนในบริษัทที่อาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงด้าน ESG ต่าง ๆ ในอนาคต
- เพื่อค้นหาหลักทรัพย์ลงทุนที่มีผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนและสามารถสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าปกติให้กับนักลงทุน
แนวทางการนำปัจจัยด้าน ESG มาเป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกและประเมินมูลค่าหลักทรัพย์เพื่อการลงทุนที่คำนึงถึงความยั่งยืน
- การเพิ่มปัจจัยด้าน ESG เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน
- การนำปัจจัยด้าน ESG มาปรับค่าตัวแปรที่ใช้ในการจัดทำงบประมาณทางการเงินเพื่อประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ด้วยวิธีคิดลดกระแสเงินสด
แนวทางการนำผลการวิเคราะห์และการประเมินมูลค่ามาประกอบการตัดสินใจเพื่อการลงทุนที่คำนึงถึงความยั่งยืน
นักลงทุนอาจใช้ผลการวิเคราะห์และการประเมินมูลค่ามาประกอบการตัดสินใจเพื่อการลงทุนที่คำนึงถึงความยั่งยืนไปใช้ในการลงทุน โดยเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีการคำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG และมีมูลค่าที่แท้จริงสูงกว่าราคาตลาด
บทความนี้เป็นแค่สรุปหนังสือ หากคุณต้องการอ่านฉบับเต็ม คุณสามารถสั่งซื้อที่ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์